อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 447/2561ปลัด ศธ.ติดตามโครงการนำร่อง ส่งเสริมพัฒนาทักษะฟัง-พูดภาษาไทย เพื่อการสื่อสารสำหรับผู้ใหญ่บนพื้นที่สูง ที่แม่สอด
ปลัด ศธ. ลงพื้นที่แม่สอด ติดตามโครงการนำร่องส่งเสริมพัฒนาทักษะฟัง-พูดภาษาไทย เพื่อการสื่อสารสำหรับผู้ใหญ่บนพื้นที่สูง ตาม พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันนี้ (27 พฤศจิกายน 2561) นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อเ ป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "การติดตาม ประเมิน และสรุปรายงานโครงการนำร่องการส่งเสริมพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาไทย เพื่อการสื่อสารสำหรับผู้ใหญ่บนพื้นที่สูง ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" ที่ห้องประชุมโรงแรมอีโค่อินน์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก แม่ฮ่องสอน น่าน, ผู้แทนของหน่วยงานจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งคณะครูและเจ้าหน้าที่โครงการนำร่อง จัดโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย คือ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ได้น้อมนำพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการช่วยเหลือประชาชนบนพื้นที่สูงและในถิ่นทุรกันดารให้สามารถฟังและพูดภาษาไทยในการดำรงชีวิตได้ จึงได้ร่วมกันดำเนินงานโครงการนำร่องเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร สำหรับผู้ใหญ่บนพื้นที่สูง ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ระหว่างเดือนตุลาคม 2560-ธันวาคม 2560
โดยเป็นการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการฟังพูดภาษาไทยเพื่อการสื่อสารให้ผู้ใหญ่บนพื้นที่สูง ที่ยังฟัง-พูดภาษาไทยเพื่อการสื่อสารไม่ได้ สามารถใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารกับคนในชุมชนและนอกชุมชนได้ โดยไม่อาย ไม่กลัว ด้วยวิธีธรรมชาติในชีวิตประจำวันแบบไร้กระบวนท่าของครู ผู้ช่วยครู ที่เป็นบุตรหลาน ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน และผู้นำกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน ผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีที่มีในชุมชนด้วย เช่น การใช้ภาษาไทยในการติดต่อซื้อขายสินค้า การสื่อสารกับหมอ แพทย์ พยาบาลยามป่วยไข้ หรือการใช้ภาษา เพื่อติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของโครงการนำร่องในครั้งนี้ โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ที่ยังพูดภาษาไทยไม่ได้ ฟังภาษาไทยยังไม่เข้าใจ อายที่จะพูดคุยกับคนแปลกหน้า 2) กลุ่มที่พอจะพูด-ฟังและสื่อสารภาษาไทยได้บ้างแต่ยังไม่ชัดเจน
"การประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานโครงการนำร่อง ซึ่งจะนำข้อมูลไปพัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการขยายผลการดำเนินงานต่อเนื่องใน 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ตาก เชียงราย น่าน และแม่ฮ่องสอน ในระหว่างปี 2561-2564 รวมทั้งจะได้สรุปรายงานโครงการเพื่อนำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีต่อไป" ปลัด ศธ.กล่าว
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 447/2561ปลัด ศธ.ติดตามโครงการนำร่อง ส่งเสริมพัฒนาทักษะฟัง-พูดภาษาไทย เพื่อการสื่อสารสำหรับผู้ใหญ่บนพื้นที่สูง ที่แม่สอด
ปลัด ศธ. ลงพื้นที่แม่สอด ติดตามโครงการนำร่องส่งเสริมพัฒนาทักษะฟัง-พูดภาษาไทย เพื่อการสื่อสารสำหรับผู้ใหญ่บนพื้นที่สูง ตาม พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันนี้ (27 พฤศจิกายน 2561) นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อเ ป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "การติดตาม ประเมิน และสรุปรายงานโครงการนำร่องการส่งเสริมพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาไทย เพื่อการสื่อสารสำหรับผู้ใหญ่บนพื้นที่สูง ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" ที่ห้องประชุมโรงแรมอีโค่อินน์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก แม่ฮ่องสอน น่าน, ผู้แทนของหน่วยงานจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งคณะครูและเจ้าหน้าที่โครงการนำร่อง จัดโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
โดยเป็นการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการฟังพูดภาษาไทยเพื่อการสื่อสารให้ผู้ใหญ่บนพื้นที่สูง ที่ยังฟัง-พูดภาษาไทยเพื่อการสื่อสารไม่ได้ สามารถใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารกับคนในชุมชนและนอกชุมชนได้ โดยไม่อาย ไม่กลัว ด้วยวิธีธรรมชาติในชีวิตประจำวันแบบไร้กระบวนท่าของครู ผู้ช่วยครู ที่เป็นบุตรหลาน ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน และผู้นำกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน ผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีที่มีในชุมชนด้วย เช่น การใช้ภาษาไทยในการติดต่อซื้อขายสินค้า การสื่อสารกับหมอ แพทย์ พยาบาลยามป่วยไข้ หรือการใช้ภาษา เพื่อติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของโครงการนำร่องในครั้งนี้ โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ที่ยังพูดภาษาไทยไม่ได้ ฟังภาษาไทยยังไม่เข้าใจ อายที่จะพูดคุยกับคนแปลกหน้า 2) กลุ่มที่พอจะพูด-ฟังและสื่อสารภาษาไทยได้บ้างแต่ยังไม่ชัดเจน
"การประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานโครงการนำร่อง ซึ่งจะนำข้อมูลไปพัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการขยายผลการดำเนินงานต่อเนื่องใน 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ตาก เชียงราย น่าน และแม่ฮ่องสอน ในระหว่างปี 2561-2564 รวมทั้งจะได้สรุปรายงานโครงการเพื่อนำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีต่อไป" ปลัด ศธ.กล่าว
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น