อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 444/2561รมช.ศธ." ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร" ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบาย Partnership School ที่ นครศรีธรรมราช
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานมอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) เมื่อวันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงเรียนชุมชนบ้านสี่แยก อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยการสนับสนุนของมูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ ร่วมกับบริษัท IKEA Southeast Asia โดยมี รศ.นพ.ปรีชา สุนทรานันท์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายมีชัย วีระไวทยะ คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา, นายสนิท แย้มเกษร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู นักเรียน ตลอดจนผู้นำชุมชน ให้การต้อนรับ
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งว่า ต้องการเดินทางมาให้กำลังใจกับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ สู่เป้าหมายในการทำให้ทุกเขตพื้นที่การศึกษา มีโรงเรียนที่ดีมีคุณภาพ และมาตรฐานที่ใกล้เคียงกันทั่วทุกพื้นที่ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนใกล้บ้าน สร้างความอบอุ่นและปลอดภัยของสถาบันครอบครัว ส่งผลต่อสภาพสังคมที่ดีทั้งในชุมชน ตำบล อำเภอ สู่ระดับจังหวัด พร้อมเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านการจัดการศึกษาของประเทศต่อไป
ดังนั้น การดำเนินโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาในระยะแรกของโรงเรียนทั้ง 50 แห่งใน 31 จังหวัดทั่วประเทศ จะสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการศึกษา และส่งต่อถึงการพัฒนาประเทศด้านอื่น ๆ ในอนาคต ดังนี้
-
การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อมาร่วมดูแล ร่วมพัฒนา และร่วมสนับสนุนอย่างจริงจัง ตั้งแต่ผู้ปกครอง ภาคประชาสังคม องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนสถานศึกษา สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น
-
ปลดล็อคกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อสร้างความคล่องตัว อาทิ การบริหารบุคคล การเงิน การบริหารทั่วไป เป็นต้น เพื่อให้การทำงานของหน่วยงานมีความรวดเร็ว คล่องตัว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-
ปรับเปลี่ยนหลักสูตรเพื่อสร้าง "โรงเรียนเตรียมอาชีพ เตรียมอนาคต" เมื่อมีการปลดล็อคกฎระเบียบ ก็จะช่วยให้โรงเรียนสามารถปรับเปลี่ยนหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนใหม่ ที่เน้นบริบทของโรงเรียน และความต้องการของพื้นที่ ในขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และโลกอนาคต ดังเช่นโรงเรียนชุมชนบ้านสี่แยก ที่มีกิจกรรมการเรียนเพื่อดำรงชีวิตและสร้างอาชีพ ทั้งการปลูกผักบุ้งตะกร้า ผัก-ผลไม้เข่ง เป็นต้น รวมทั้งการร่วมมือกับสถานศึกษาในพื้นที่ เพื่อนำองค์ความรู้ ทักษะ และเทคโนโลยีมาช่วยสอน นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและประดิษฐ์ในหลายส่วน อาทิ การแปรรูปอาหารผักผลไม้ การสกัดสารจากมังคุดเพื่อใช้เป็นยา โดยองค์การเกษตรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน่วยนครศรีธรรมราช, การเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เป็นต้น ทั้งนี้ การศึกษาวิจัยและสร้างนวัตกรรมนักเรียนทุกระดับสามารถทำได้ และไม่จำเป็นต้องทำในสิ่งใหญ่ ๆ หรือมีราคาแพง แต่ขอให้เน้นวิถีชีวิตและความต้องการของโรงเรียน และชุมชน เพื่อทำให้คนมีความสุข มีชีวิตที่ดีขึ้น และอาจพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ทั้งในชุมชนและตลอดภายนอกได้ในอนาคต
-
การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณภาพชีวิต ของชุมชน ที่เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ ปราชญ์ชาวบ้าน ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่จะถ่ายทอดสู่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ทั้งเชิงเกษตรกรรม ศิลปหัตถกรรม และภูมิปัญญาต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนของจริงในสถานที่จริงและสืบสาน โดยผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้ประกอบการในชุมชน ที่จะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้คิดวิเคราะห์ได้ เรียนจากการปฏิบัติและการทำงานจริง ในขณะเดียวกัน โรงเรียนก็ต้องมีส่วนช่วยเหลือชุมชน คิดค้นและแก้ไขปัญหาตามความต้องการในแต่ละบริบทด้วย
ทั้งนี้ การดำเนินงานระยะแรกของปีการศึกษา 2561 จำนวน 50 โรงเรียนใน 31 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่เนื่องจากเป็นโครงการใหม่ จะต้องใช้เวลาศึกษาเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานของกระทรวงศึกษาธิการเอง ที่จะต้องมีความเข้าใจหลักการ และกระบวนการทำงาน ตลอดจนกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ปรับแก้ให้มีความยืดหยุ่นและสร้างความคล่องตัวมากขึ้น อาทิ การบริหารงานบางส่วนที่ส่งตรงไปยังโรงเรียน หรือการขึ้นตรงกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
ส่วนการดำเนินงานในระยะที่ 2 มีแนวคิดที่จะขยายโครงการไปยังโรงเรียนในพื้นที่ต่าง ๆ อีก 100 แห่ง เพื่อไปสู่เป้าหมายการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนกว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อมีจำนวนโรงเรียนมาก ก็ต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินการ แต่เมื่อสร้างต้นแบบที่ดีของโรงเรียน 50 แห่งในระยะแรกแล้ว ก็จะช่วยให้โรงเรียนต่าง ๆ ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ที่จะช่วยให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น ตามวัตถุประสงค์และชื่อโครงการ "โรงเรียนร่วมพัฒนา" ต่อไป
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 444/2561รมช.ศธ." ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร" ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบาย Partnership School ที่ นครศรีธรรมราช
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานมอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) เมื่อวันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงเรียนชุมชนบ้านสี่แยก อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยการสนับสนุนของมูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ ร่วมกับบริษัท IKEA Southeast Asia โดยมี รศ.นพ.ปรีชา สุนทรานันท์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายมีชัย วีระไวทยะ คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา, นายสนิท แย้มเกษร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู นักเรียน ตลอดจนผู้นำชุมชน ให้การต้อนรับ
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งว่า ต้องการเดินทางมาให้กำลังใจกับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ สู่เป้าหมายในการทำให้ทุกเขตพื้นที่การศึกษา มีโรงเรียนที่ดีมีคุณภาพ และมาตรฐานที่ใกล้เคียงกันทั่วทุกพื้นที่ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนใกล้บ้าน สร้างความอบอุ่นและปลอดภัยของสถาบันครอบครัว ส่งผลต่อสภาพสังคมที่ดีทั้งในชุมชน ตำบล อำเภอ สู่ระดับจังหวัด พร้อมเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านการจัดการศึกษาของประเทศต่อไป
ดังนั้น การดำเนินโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาในระยะแรกของโรงเรียนทั้ง 50 แห่งใน 31 จังหวัดทั่วประเทศ จะสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการศึกษา และส่งต่อถึงการพัฒนาประเทศด้านอื่น ๆ ในอนาคต ดังนี้
- การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อมาร่วมดูแล ร่วมพัฒนา และร่วมสนับสนุนอย่างจริงจัง ตั้งแต่ผู้ปกครอง ภาคประชาสังคม องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนสถานศึกษา สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น
- ปลดล็อคกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อสร้างความคล่องตัว อาทิ การบริหารบุคคล การเงิน การบริหารทั่วไป เป็นต้น เพื่อให้การทำงานของหน่วยงานมีความรวดเร็ว คล่องตัว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ปรับเปลี่ยนหลักสูตรเพื่อสร้าง "โรงเรียนเตรียมอาชีพ เตรียมอนาคต" เมื่อมีการปลดล็อคกฎระเบียบ ก็จะช่วยให้โรงเรียนสามารถปรับเปลี่ยนหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนใหม่ ที่เน้นบริบทของโรงเรียน และความต้องการของพื้นที่ ในขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และโลกอนาคต ดังเช่นโรงเรียนชุมชนบ้านสี่แยก ที่มีกิจกรรมการเรียนเพื่อดำรงชีวิตและสร้างอาชีพ ทั้งการปลูกผักบุ้งตะกร้า ผัก-ผลไม้เข่ง เป็นต้น รวมทั้งการร่วมมือกับสถานศึกษาในพื้นที่ เพื่อนำองค์ความรู้ ทักษะ และเทคโนโลยีมาช่วยสอน นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและประดิษฐ์ในหลายส่วน อาทิ การแปรรูปอาหารผักผลไม้ การสกัดสารจากมังคุดเพื่อใช้เป็นยา โดยองค์การเกษตรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน่วยนครศรีธรรมราช, การเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เป็นต้น ทั้งนี้ การศึกษาวิจัยและสร้างนวัตกรรมนักเรียนทุกระดับสามารถทำได้ และไม่จำเป็นต้องทำในสิ่งใหญ่ ๆ หรือมีราคาแพง แต่ขอให้เน้นวิถีชีวิตและความต้องการของโรงเรียน และชุมชน เพื่อทำให้คนมีความสุข มีชีวิตที่ดีขึ้น และอาจพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ทั้งในชุมชนและตลอดภายนอกได้ในอนาคต
- การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณภาพชีวิต ของชุมชน ที่เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ ปราชญ์ชาวบ้าน ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่จะถ่ายทอดสู่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ทั้งเชิงเกษตรกรรม ศิลปหัตถกรรม และภูมิปัญญาต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนของจริงในสถานที่จริงและสืบสาน โดยผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้ประกอบการในชุมชน ที่จะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้คิดวิเคราะห์ได้ เรียนจากการปฏิบัติและการทำงานจริง ในขณะเดียวกัน โรงเรียนก็ต้องมีส่วนช่วยเหลือชุมชน คิดค้นและแก้ไขปัญหาตามความต้องการในแต่ละบริบทด้วย
ทั้งนี้ การดำเนินงานระยะแรกของปีการศึกษา 2561 จำนวน 50 โรงเรียนใน 31 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่เนื่องจากเป็นโครงการใหม่ จะต้องใช้เวลาศึกษาเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานของกระทรวงศึกษาธิการเอง ที่จะต้องมีความเข้าใจหลักการ และกระบวนการทำงาน ตลอดจนกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ปรับแก้ให้มีความยืดหยุ่นและสร้างความคล่องตัวมากขึ้น อาทิ การบริหารงานบางส่วนที่ส่งตรงไปยังโรงเรียน หรือการขึ้นตรงกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
ส่วนการดำเนินงานในระยะที่ 2 มีแนวคิดที่จะขยายโครงการไปยังโรงเรียนในพื้นที่ต่าง ๆ อีก 100 แห่ง เพื่อไปสู่เป้าหมายการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนกว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อมีจำนวนโรงเรียนมาก ก็ต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินการ แต่เมื่อสร้างต้นแบบที่ดีของโรงเรียน 50 แห่งในระยะแรกแล้ว ก็จะช่วยให้โรงเรียนต่าง ๆ ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ที่จะช่วยให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น ตามวัตถุประสงค์และชื่อโครงการ "โรงเรียนร่วมพัฒนา" ต่อไป
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น