หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

สรุป รอบรู้ ข่าวเด่น รอบสัปดาห์ ม.ค.2560

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 

-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่

-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559

            -คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

สรุป รอบรู้ ข่าวเด่น รอบสัปดาห์ ม.ค.2560
    1. นายกฯ เผย “ในหลวง” ทรงมีพระราชกระแสจำเป็นต้องแก้ รธน.ปมพระราชอำนาจ คาดใช้เวลา 1 เดือน ก่อนทูลเกล้าฯ ใหม่ใน 3 เดือน! 
สรุปข่าวเด่นในรอบสัปดาห์ 8-14 ม.ค.2560
(บน) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. (ล่าง) การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)
        เมื่อวันที่ 10 ม.ค. ได้มีการประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) หลังประชุมแล้วเสร็จ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.และนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เข้าประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ต่อ โดยมีรายงานว่า นายวิษณุได้ชี้แจงให้ที่ประชุม ครม.ทราบว่า ที่ประชุม คสช.และ ครม.ได้มีมติร่วมกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 เพื่อให้สามารถนำไปสู่การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติได้ เนื่องจากสำนักราชเลขาธิการได้แจ้งมายังสำนักนายกรัฐมนตรีว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชกระแสให้มีการปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติใน 3-4 มาตรา จึงต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อให้สามารถนำร่างรัฐธรรมนูญที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้ว กลับมาแก้ไขตามพระราชกระแสได้
       
        ต่อมา พล.อ.ประยุทธ์ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวว่า เป็นไปตามขั้นตอน เนื่องจากเมื่อวันที่ 9 ม.ค. องคมนตรีได้มาพบ เนื่องจากทางสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง ได้ทำเรื่องมาที่รัฐบาลว่า มีประเด็นที่ต้องหารือในเรื่องรัฐธรรมนูญหมวดพระมหากษัตริย์ ทางฝ่ายองคมนตรีได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายไปแล้ว และมีพระราชกระแสลงมาว่า มี 3-4 รายการที่จำเป็นต้องแก้ไขให้เป็นไปตามพระราชอำนาจของพระองค์ท่าน ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันว่า เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่เป็นเรื่องพระราชอำนาจของพระองค์ท่าน รัฐบาลก็รับสนองตามพระบรมราชโองการ
       
        พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันด้วยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวคงใช้เวลาไม่นาน “ประมาณไม่เกิน 1 เดือน แต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวจะแก้ไขได้ก่อน ส่วนร่างรัฐธรรมนูญที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ไป จะต้องเอาลงมาก่อน แล้วแก้และดำเนินการให้เร็วที่สุด ฉะนั้นยังอยู่ในกรอบเวลา จะครบในวันที่ 6 ก.พ. เมื่อนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติมาแก้ไข จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ไม่เกิน 2-3 เดือน คาดว่าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงมาอีกครั้ง” 
       
        พล.อ.ประยุทธ์ ยังยืนยันด้วยว่า ไม่เคยเลื่อนขั้นตอนโรดแมป ขั้นตอนยังเหมือนเดิมทุกประการ เวลาทุกอย่างมีหมดตามเวลา 240 วัน 150 วัน 90 วัน สุดแต่ว่าขั้นตอนไหนจะไปอยู่ตรงไหน มันทำได้แค่ไหนก็อยู่ตรงนั้น ทุกอย่างเริ่มสตาร์ดเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรลงมา เมื่อลงก็นับไป คุณจะไปเลือกตั้งเมื่อไรก็ไปเลือกตามนั้น ...ปลายปี 2560 หลังงานพระราชพิธีพระบรมศพ และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ผมก็จะให้เดินการเมืองได้ จากนั้นก็เริ่มพูดคุย เตรียมคน จะเลือกตั้งอะไรก็ว่าไป ...เลือกตั้งปลายปี 2560 และได้รัฐบาลต้นปี 2561
       
        ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 13 ม.ค. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้ประชุมพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 แก้ไขเพิ่มเติมจากร่างของ ครม.และ คสช.โดยมีตัวแทนจาก ครม.เข้าชี้แจง ประกอบด้วย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ และนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
       
        โดยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว มีการเพิ่มเติมเนื้อหาในมาตรา 3 คือ ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 “เมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักรหรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หรือไม่ก็ได้ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง และเมื่อกรณีเป็นไปตามมาตรานี้แล้ว มิให้นำความในมาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 20 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาใช้บังคับ” 
       
        ซึ่งสาระสำคัญของมาตรา 18, 19 และ 20 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ระบุว่า กรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ และในระหว่างที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน
       
        ทั้งนี้ หลังพิจารณาแล้วเสร็จ ที่ประชุม สนช.ได้มีมติรับหลักการวาระแรก จากนั้นได้มีการตั้งกรรมาธิการเต็มสภา และพิจารณา 3 วาระรวด โดยมีมติเอกฉันท์ 228 เสียงเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญ
       
        ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเสร็จในวันที่ 13 ม.ค.แล้ว นายกฯ จะต้องไปรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติกลับลงมาภายใน 30 วัน เมื่อไปรับพระราชทานมาแล้ว จะมีการแต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกาเพื่อดำเนินการยกร่างมาตราที่จะมีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติให้เป็นไปตามข้อสังเกตพระราชทานทันที โดยคณะกรรมการชุดนี้ ประกอบด้วย ตน, นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.), นายอภิชาต สุขัคคานนท์ รองประธาน กรธ., นายอัชพร จารุจินดา กรธ., นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช., นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ, นายอำพน กิตติอำพน อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, นายวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา, ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริการ อัยการสูงสุด และนายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
       
        นอกจากเรื่องแก้รัฐธรรมนูญแล้ว สัปดาห์ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ยังได้เป็นประธานประชุมเตรียมการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ เมื่อวันที่ 12 ม.ค. พร้อมย้ำว่า การประชุมดังกล่าวมีความสำคัญเพราะประชุมเรื่องจัดตั้ง “คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง(ป.ย.ป.)” ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ย้ำว่า เป็นคณะกรรมการที่สำคัญที่สุดสำหรับประเทศไทยในเวลานี้ และเป็นคณะกรรมการที่จะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของประเทศในทุกด้าน 
       
        ทั้งนี้ คณะกรรมการ ป.ย.ป.ประกอบด้วย 4 กรรมการย่อย ได้แก่ 1.คณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ 2.คณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ 3.คณะกรรมการเตรียมการสร้างความสามัคคีปรองดอง และ 4.คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ โดยทั้ง 4 กรรมการจะมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแลทุกชุด
       
       2. ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ลดโทษจำคุก “ณัฐวุฒิ-วีระกานต์-นพ.เหวง-วิภูแถลง” จาก 4 ปี เหลือ 2 ปี 8 เดือน คดีนำม็อบบุกบ้าน “ป๋าเปรม” ! 

สรุปข่าวเด่นในรอบสัปดาห์ 8-14 ม.ค.2560
บรรดาแกนนำ นปช. จำเลยคดีนำม็อบปิดล้อมบ้านพัก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เมื่อปี 2550
        เมื่อวันที่ 9 ม.ค. ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีชุมนุมล้อมบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ปี 2550 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายนพรุจหรือนพรุฒ วรชิตวุฒิกุล แกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006, นายวีระศักดิ์ เหมะธุลิน, นายวันชัย นาพุทธา, นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ( นปช.), นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช., นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และ นพ.เหวง โตจิราการ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. เป็นจำเลยที่ 1-7 ข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยมีอาวุธ โดยเป็นหัวหน้า หรือผู้มีหน้าที่สั่งการ , ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังขู่เข็ญ และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเลิกไปแล้วไม่เลิก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง ,215, 216, 297, 298 ประกอบมาตรา 33, 83 และ 91 กรณีเมื่อวันที่ 22 ก.ค.2550 แกนนำ และแนวร่วม นปช. นำขบวนผู้ชุมนุมหลายพันคน จากเวทีปราศรัยเคลื่อนที่สนามหลวง ไปยังบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เพื่อเรียกร้องกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งระหว่างเหตุการณ์ดังกล่าว ได้มีการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังขู่เข็ญ ซึ่งนายนพรุจ จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไม้เสาธงตีประทุษร้ายร่างกาย ร.ต.อ. ทวีศักดิ์ นามจันทร์เจียม เป็นเหตุให้กระดูกข้อมือแตกได้รับอันตรายสาหัส
       
        คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2558 ให้จำคุกนายนพรุจ จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี 8 เดือน ฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่ฯ ส่วนนายวีระกานต์, นายณัฐวุฒิ, นายวิภูแถลง และ นพ.เหวง จำเลยที่ 4-7 ให้จำคุกคนละ 4 ปี 4 เดือน ฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายฯ และเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานฯ และให้ยกฟ้อง นายวีระศักดิ์ และนายวันชัย จำเลยที่ 2-3 พร้อมให้ริบของกลางทั้งหมด
       
        ต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ต่อสู้ว่า จำเลยไม่อยู่ในวันที่เกิดเหตุ ส่วนจำเลยที่ 4 -7 ยื่นอุทธรณ์ต่อสู้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดเพียงกรรมเดียวและเป็นการกระทำเพื่อปกป้องการถูกคุกคาม ซึ่งเป็นข้อยกเว้นในการลงโทษ ส่วนนายวีระศักดิ์ และนายวันชัย จำเลยที่ 2-3 ซึ่งศาลยกฟ้องนั้น อัยการโจทก์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์
       
        ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนและประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า โจทก์มีตำรวจ 2 นาย ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ปฏิบัติหน้าที่สลายการชุมนุม เบิกความว่า ขณะเกิดเหตุชุมนุม นายนพรุจ จำเลยที่ 1 ยืนอยู่ด้านหลังรถกระบะ มือข้างหนึ่งถือด้ามธง อีกมือหนึ่งถืออิฐตัวหนอนซึ่งโดดเด่นเป็นพิเศษเป็นที่จดจำและสนใจให้กับผู้ที่พบเห็น และระหว่างนั้น ได้มีการปาอิฐตัวหนอนใส่กลุ่มเจ้าพนักงานตำรวจที่พยายามเข้าจับกุม แล้วยังได้มีการขับรถกระบะพุ่งใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งจำเลยที่ 1 ยืนอยู่ท้ายรถกระบะ แต่รถกระบะได้เสียหลักหักหลบชนขอบฟุตบาท แต่ที่จำเลยที่ 1 ต่อสู้อ้างว่าขณะนั้นตนไม่อยู่ในที่เกิดเหตุ ไปรับป้านั้น ชั้นพิจารณาจำเลยเบิกความยอมรับว่าเป็นแกนนำกลุ่มพิราบขาว ดังนั้นการที่จำเลยอยู่ในที่เกิดเหตุเป็นไปได้ ประกอบกับจำเลยไม่มีบุคคลอื่นมาเบิกความสนับสนุน จึงเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอยๆ ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ซึ่งพยานโจทก์ที่อยู่ในที่เกิดเหตุรู้เห็นเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง และเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในขณะนั้นไม่มีเหตุปรักปรำจำเลย จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้ ส่วนที่จำเลยขอให้ศาลลดโทษโดยอ้างเหตุมีภาระที่จะต้องเลี้ยงดูบิดามารดาและบุตร รวม 5 คนนั้น ศาลเห็นว่าเป็นเหตุผลส่วนตัว อีกทั้งเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง ทำร้ายเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ
       
        ส่วนจำเลยที่ 4-7 นั้น มีพยานเป็นตำรวจหลายนายรวมทั้งสื่อมวลชนเบิกความสอดคล้องกับภาพถ่ายและวิดีโอบันทึกการชุมนุม แต่ที่จำเลยอุทธรณ์สู้ว่าไม่มีเจตนาใช้กำลัง ไม่ได้เป็นแกนนำและสั่งการปลุกระดมให้เกิดความรุนแรง ส่วนการใช้อิฐตัวหนอนตอบโต้เพื่อป้องกันการคุกคาม เป็นการป้องกันตัวโดยชอบตามกฎหมาย ศาลเห็นว่า ระหว่างการชุมนุมซึ่งมีการปาขวดน้ำและอิฐตัวหนอนใส่เจ้าหน้าที่จนผ่านจุดสกัดกั้น และเจ้าหน้าที่ถอยร่นไปบริเวณหน้าสโมสรกองทัพบก ซึ่งระหว่างนั้น กลุ่มจำเลยได้ผลัดเปลี่ยนกันปราศรัยปลุกเร้าระบุว่าให้ลุยเข้าไป ยึดรถเลย บุกมาแค่ไหนไม่กลัว สู้กันเลย ต่อไปเป็นสงครามประชาชน ใครมีมือถือโทรตามพี่น้องเข้ามาร่วม ฯลฯ ซึ่งมีเสียงเฮและปรบมือตอบรับจากกลุ่มผู้ชุมนุม และระหว่างนั้น ตำรวจได้แจ้งให้ยุติการชุมนุม แต่จำเลยไม่ยอมยุติ จนกระทั่งเวลา 23.00 น. ตำรวจจึงบุกเข้าจับกุมจำเลย
       
       ซึ่งแม้จะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ทำร้ายเจ้าหน้าที่ แต่การปราศรัยของจำเลยมีลักษณะเป็นการใช้ถ้อยคำยุยงให้ผู้ชุมนุมรู้สึกฮึกเหิมกล้าสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่ระหว่างนั้น จำเลยกับพวกสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการยุติการชุมนุม และที่จำเลยอ้างว่าเป็นการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานในการชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญฯ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าแม้รัฐธรรมนูญทุกฉบับจะให้สิทธิรับรองไว้ แต่การชุมนุมนั้นจะต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น สุจริต ไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝง แต่พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การชุมนุมของจำเลยไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบ มีเจตนาพิเศษให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และมีอำนาจสั่งการใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งการที่จำเลยอ้างว่าการกระทำต่อเจ้าหน้าที่เป็นการป้องกันการคุกคามนั้นฟังไม่ขึ้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่สลายการชุมนุมโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นจำเลยจึงมีความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป เพื่อก่อให้เกิดความวุ่นวายฯ ตามมาตรา 215 และ 216
       
        ส่วนที่จำเลยที่ 4-7 อุทธรณ์ต่อสู้ว่า การกระทำเป็นความผิดกรรมเดียวนั้นฟังขึ้นบางส่วน เนื่องจากการชุมนุมของจำเลยมีเจตนาเดียวเพื่อให้เกิดความวุ่นวาย และความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานนั้น ก็รับฟังได้ว่า จำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ไม่ใช่ตัวการร่วม
       
        ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานฯ ตามมาตรา 138 วรรคสอง ให้จำคุกคนละ 1 ปี และมีความผิดฐานมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อให้เกิดความวุ่นวายโดยเป็นหัวหน้าสั่งการ ซึ่งเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก ตามมาตรา 215 วรรคหนึ่งและวรรคสาม, มาตรา 216 ประกอบมาตรา 83 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 215 วรรคสาม 1 กระทง ให้จำคุกคนละ 3 ปี รวมจำคุกคนละ 4 ปี แต่คำให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีอยู่บ้าง ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยที่ 4-7 คนละ 2 ปี 8 เดือน นอกเหนือจากที่แก้ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งในส่วนของนายนพรุจ จำเลยที่ 1 คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน
       
        หลังฟังคำพิพากษา ทนายความจำเลยได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ 500,000 บาท ขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งห้าระหว่างฎีกาสู้คดี ซึ่งศาลพิจารณาแล้ว อนุญาตให้ประกันตัวจำเลยทั้งห้า โดยตีราคาประกันคนละ 500,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขเดิมคือ ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
       
        ด้านนายณัฐวุฒิ จำเลยที่ 5 ให้สัมภาษณ์หลังได้รับการประกันตัวว่า ขอบคุณศาลที่ให้ความเมตตาให้ประกันตัว จากนี้ตนจะหารือกับทนายความเพื่อรวบรวมหลักฐานต่อสู้คดีในชั้นฎีกาต่อไป
       
       3. อัยการสั่งไม่ฟ้อง “หลวงพี่แป๊ะ” คดีรถเบนซ์ “สมเด็จช่วง” เลี่ยงภาษี อ้างไม่มีพยานหลักฐาน แถมชี้คดีขาดอายุความแล้ว ด้าน “ดีเอสไอ” จ่อทำความเห็นแย้ง! 

สรุปข่าวเด่นในรอบสัปดาห์ 8-14 ม.ค.2560
(บน) สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือสมเด็จช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ กับรถเบนซ์โบราณหลบเลี่ยงภาษี (ล่าง) พระมหาศาสนมุนี หรือหลวงพี่แป๊ะ เลขานุการสมเด็จช่วง และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำฯ
        เมื่อวันที่ 12 ม.ค. เรือโท สมนึก เสียงก้อง โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เผยถึงการสั่งคดีที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวหาพระมหาศาสนมุนี หรือหลวงพี่แป๊ะ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และเลขานุการสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือสมเด็จช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำฯ กับพวก เอกชนอู่ประกอบรถยนต์ รวม 7 คน กรณีเลี่ยงภาษีนำเข้ารถเบนซ์โบราณ หมายเลขทะเบียน ขม 99 กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นรถในครอบครองของสมเด็จช่วงว่า อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาที่เป็นเอกชนในคดีนี้ ประกอบด้วย นายพิชัย วีระสิทธิกุล เจ้าของอู่รถยนต์ ผู้ต้องหาที่ 1, หจก.ซี.ที.ออโต้พาร์ท โดยนายวสุ จิตติพัฒนกุลชัย ผู้ต้องหาที่ 2, นายวสุ ผู้ต้องหาที่ 3 ในฐานะส่วนตัว ฐานร่วมกันนำของที่ยังไม่ได้เสียค่าภาษีเข้ามาในราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 และประมวลกฎหมายอาญา และยังสั่งฟ้องนายเกษมศักดิ์ ภวังคนันท์ หุ้นส่วนผู้จัดการ หจก.อ๊อด 89 เอ็นเตอร์ไพรส์(ประเทศไทย) ซึ่งนำเข้าชิ้นส่วนรถโบราณ ผู้ต้องหาที่ 4 ฐานร่วมกันนำของที่ยังไม่ได้เสียค่าภาษีฯ เข้ามาในราชอาณาจักร ส่วนนายเมธีนันท์ หรือชลัช นิติฐิติวงศ์ ผู้ต้องหาที่ 5 และนายสมนึก บุญประไพ ผู้ต้องหาที่ 6 อัยการสั่งฟ้องด้วยข้อหาร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี และร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จฯ ใช้เอกสารที่จดข้อความอันเป็นเท็จฯ ตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ และประมวลกฎหมายอาญา
       
        ทั้งนี้ อัยการได้สั่งไม่ฟ้องพระมหาศาสนมุนี ผู้ต้องหาที่ 7 ข้อหามีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยไม่รู้ว่าเป็นสินค้าที่เสียภาษีไม่ครบถ้วน เนื่องจากไม่มีพยานหลักฐาน นอกจากนี้ให้ยุติการดำเนินคดีพระมหาศาสนมุนี ข้อหามีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่เสียภาษีไม่ครบถ้วนกรณีครอบครองรถโบราณช่วงแรก เนื่องจากคดีขาดอายุความ
       
        เรือโทสมนึกกล่าวด้วยว่า หลังจากพนักงานอัยการมีคำสั่ง ได้นำตัวนายเมธีนันท์ และนายสมนึก ผู้ต้องหาที่ 5-6 ซึ่งได้รับการประกันตัวและมารายงานตัวต่ออัยการ ไปยื่นฟ้องเป็นจำเลย พร้อมกับนายเกษมศักดิ์ ผู้ต้องหาที่ 4 ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำต่อศาลอาญา ส่วนนายพิชัย ผู้ต้องหาที่ 1, หจก.ซี.ที.ออโต้พาร์ท โดยนายวสุ ผู้ต้องหาที่ 2 และนายวสุ ผู้ต้องหาที่ 3 ได้ขอเลื่อนนัดการส่งตัวฟ้อง ซึ่งพนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ 1 ได้นัดผู้ต้องหาที่ 1-3 มาเพื่อนำตัวยื่นฟ้องต่อศาลอาญาอีกครั้งในวันที่ 10 ก.พ.นี้
       
        ด้าน พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ กล่าวถึงกรณีที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องพระมหาศาสนมุนี หรือหลวงพี่แป๊ะ ว่า ยังไม่เห็นคำสั่งไม่ฟ้องอย่างเป็นทางการของอัยการ จึงต้องรอเอกสารในคำสั่งไม่ฟ้องว่าพนักงานอัยการใช้ดุลพินิจหรือมีเหตุผลอย่างไร เบื้องต้นยืนยันว่าพนักงานสอบสวนผู้ทำสำนวนเห็นพยานหลักฐานและเชื่อว่าพยานหลักฐานที่รวบรวมไว้มีเหตุผลเพียงพอที่จะสั่งฟ้องได้ และว่า หากพิจารณารายละเอียดในคำสั่งไม่ฟ้องแล้ว ดีเอสไอยังยืนยันในพยานหลักฐานในชั้นสอบสวนก็จะทำความเห็นแย้ง เพื่อให้อัยการสูงสุดพิจารณาใช้ดุลพินิจชี้ขาดว่าจะมีความเห็นสั่งฟ้องตามความเห็นของดีเอสไอหรือไม่
       
        อธิบดีดีเอสไอ กล่าวถึงการขออนุมัติหมายค้นวัดพระธรรมกายรอบที่ 3 เพื่อจับกุมตัวพระธัมมชโย ผู้ต้องหาคดีสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร จากการรับเช็คของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นด้วยว่า ต้องมีการเข้าปฏิบัติการเพื่อให้ได้ตัวผู้ต้องหาตามหมายจับ หากเจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการ จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อย่างไรก็ตาม ในการเข้าค้นต้องประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ และต้องสนธิกำลังร่วมตำรวจและทหาร เนื่องจากดีเอสไอไม่มีกำลังเพียงพอ คาดว่าเร็ว ๆ นี้สามารถเข้าปฏิบัติการได้
       
       4. ศาลให้ประกัน “ตู่-จตุพร” แล้ว หลังทนายยื่นขอปล่อยตัวรอบที่ 7 พร้อมขีดเส้นหากทำผิดเงื่อนไขซ้ำอีก จะไม่ปล่อยตัวอีกต่อไป! 

สรุปข่าวเด่นในรอบสัปดาห์ 8-14 ม.ค.2560
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. จำเลยคดีก่อการร้าย
        เมื่อวันที่ 10 ม.ค. ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ได้มีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) จำเลยคดีก่อการร้ายแล้ว ซึ่งนายจตุพรเป็นจำเลยที่ 2 ในบรรดาแกนนำ นปช. 24 คนที่เป็นจำเลยคดีนี้ และถูกศาลสั่งเพิกถอนการประกันตัวเมื่อวันที่ 11 ต.ค.2559 เนื่องจากมีพฤติการณ์กระทำผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวของศาล
       
       สำหรับคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวนายจตุพรครั้งนี้มีขึ้นหลังจากทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวเป็นครั้งที่ 7 ซึ่งศาลให้ประกันตัวโดยตีราคาประกัน 6 แสนบาท พร้อมห้ามเดินทางออกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล พร้อมกำชับให้จำเลยระมัดระวัง อย่ากระทำผิดข้อกำหนดและเงื่อนไขอีก มิฉะนั้นจะเพิกถอนสัญญาประกัน และจะไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวอีกต่อไป
       
       ด้านนายจตุพร ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อช่วงก่อนสิ้นปี 2559 เกิดอาการป่วยระหว่างถูกคุมขัง โดยติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ จนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ได้แพร่ภาพสดผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์ หลังจากศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวว่า หลังจากที่ตนกินยาครบตามที่แพทย์สั่ง ก็จะเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง โดยหมอบอกว่าเชื้อที่ลุกลามเข้าไป อาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งได้ ซึ่งตนก็จะใช้เวลาจากนี้ไปในการรักษาตัว
       
       นายจตุพร กล่าวอีกว่า ตนบอกเสมอว่า เกิดมามีสมบัติเดียว คือ จิตใจ หัวใจ และอุดมการณ์เพื่อระบอบประชาธิปไตย เมื่อศาลท่านให้โอกาสอีกครั้ง และกระชับย้ำในคำสั่งว่าจะให้โอกาสเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ตนก็จะระมัดระวังขั้นสูงสุดในการทำหน้าที่ภายหลังรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว และว่า หลังจากร่างกายกลับมาเป็นปกติ คงมีโอกาสมาพูดคุยด้วยความระมัดระวังต่อไป
       
       5. “ในหลวง” ทรงห่วงน้ำท่วมภาคใต้ รับสั่งรัฐบาลดูแลให้ดีที่สุด ด้านรัฐบาลเตรียมจัดงานรับบริจาคอาทิตย์นี้ ทีวีพูลถ่ายทอดสด “บิ๊กตู่” นำทีมรับโทรศัพท์เอง! 

สรุปข่าวเด่นในรอบสัปดาห์ 8-14 ม.ค.2560
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.กับลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ประชาชน ทรงขอเป็นกำลังใจในการร่วมกันฟื้นฟูและพัฒนาหลังน้ำท่วมภาคใต้
        ความคืบหน้าสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 13 ม.ค. นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) เผยว่า ฝนที่ตกหนักตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดอุทกภัย วาตภัย น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคใต้และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ รวมแล้วมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ 12 จังหวัด ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,603,541 คน มีผู้เสียชีวิต 36 ราย สูญหาย 1 ราย สถานที่ราชการเสียหาย 17 แห่ง
       
        ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ว่า เมื่อวันที่ 9 ม.ค. องคมนตรีได้น้อมนำกระแสรับสั่งของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอให้รัฐบาลดูแลเรื่องน้ำท่วมให้ดีที่สุด พล.อ.ประยุทธ์เผยเมื่อวันที่ 13 ม.ค.ด้วยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานลายพระหัตถ์ถึงประชาชนทุกคนด้วย ความว่า “ด้วยความรักและห่วงใย ขอเป็นกำลังใจในการร่วมกันฟื้นฟูและพัฒนาเพื่อขวัญที่ดี จิตใจและร่างกายที่เข้มแข็ง นำมาซึ่งความสุขและความมั่นคงของชาติ” 
       
        ทั้งนี้ สำนักนายกรัฐมนตรีได้เปิดศูนย์ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมเงินบริจาคของพี่น้องประชาชนทั่วประเทศจัดส่งให้จังหวัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัย โดยผู้ประสงค์จะบริจาคสามารถบริจาคเงินเข้ากองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสำนักนายกรัฐมนตรี โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) สาขาทำเนียบรัฐบาล เลขที่บัญชี 067-0-06895-0 ซึ่งผู้บริจาคสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 1.5 เท่าของวงเงินที่บริจาค
       
        นอกจากการเปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้แล้ว รัฐบาลยังจะจัดงาน “ประชารัฐร่วมใจ ช่วยอุทกภัยภาคใต้” ขึ้นในช่วงเย็นวันที่ 15 ม.ค.นี้ ตั้งแต่เวลา 18.00-20.00 น. โดยถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย แทนรายการเดินหน้าประเทศไทย ซึ่งในช่วงแรกจะมีการเชิญนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี มารับโทรศัพท์ในการรับบริจาค 5 คู่สาย และคณะรัฐมนตรี ศิลปิน ดารา นักแสดงอีก 20 คู่สาย ที่ตึกสันติไมตรีหลังนอก นอกจากนี้ยังมีสายด่วน 1111 เพื่อรับแจ้งปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากภัยพิบัติด้วย โดย พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า หากผู้ใดประสงค์จะเดินทางเข้าไปบริจาคเงินที่ทำเนียบรัฐบาลโดยตรง สามารถเข้าไปได้ แต่ขอให้รวมกลุ่ม โดยการรับบริจาคจะมีไปจนถึงเวลา 23.00 น.
       
       6. กทค.เปลี่ยนมติ ไม่บังคับค่ายมือถือคิดค่าโทรเป็นวินาทีทุกแพคเกจ แต่ให้คิด 50% และเหมาจ่ายได้ 50% ยันไม่ได้เอาใจผู้ให้บริการ! 

สรุปข่าวเด่นในรอบสัปดาห์ 8-14 ม.ค.2560
(บนซ้าย) พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. (ล่าง) องค์กรผู้บริโภคต้องการให้ค่ายมือถือคิดค่าโทรตามจริงเป็นวินาที
        เมื่อวันที่ 9 ม.ค. บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือเอไอเอส และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ได้ออกคำชี้แจงกรณีที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) จะประชุมเพื่อพิจารณาการคิดอัตราค่าบริการตามการใช้จริงเป็นวินาทีทุกรายการส่งเสริมการขาย ตามมติ กทค.เมื่อวันที่ 17 พ.ค.2559 ว่า เอไอเอสและบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือทรูมูฟ เอช บริษัทในเครือของทรู คอร์ปอเรชั่น น้อมรับมติ กทค.และจะปฏิบัติตามอย่างไม่มีเงื่อนไข แต่ขอชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาในที่ประชุม กทค.ว่า ประเมินว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ 70-80% จะได้รับผลกระทบแน่นอน เพราะบริษัทจำเป็นต้องยกเลิกการส่งเสริมการขายที่เป็นแพคเกจและโปรโมชั่นเหมาจ่าย และบริษัทได้นำอัตราค่าบริการตามอัตราที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) กำหนดมาใช้ในการคำนวณ ได้แก่ คลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ หรือ 3 จี คิดค่าบริการนาทีละ 82 สตางค์ จะหารออกมาเป็นวินาทีละ 1.37 สตางค์ คลื่น 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ หรือคลื่น 4 จี กสทช.กำหนดให้คิดต่ำกว่านาทีละ 69 สตางค์ หรือสูงสุดได้ไม่เกินนาทีละ 68 สตางค์ บริษัทนำมาหารเฉลี่ยแล้ว ตกวินาทีละ 1.13 สตางค์ ดังนั้น ยิ่งโทรนานเท่าไร ผู้บริโภคจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
       
        ทั้งนี้ มีรายงานว่า บริษัททั้งสองเคยยื่นอุทธรณ์ขอให้ กทค.และ กสทช.พิจารณาทบทวนมติดังกล่าว พร้อมระบุว่า แนวทางที่เหมาะสมควรปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกการแข่งขันของตลาด คือมีทั้งการคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาทีและการคิดแบบเหมาจ่าย เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกใช้ตามความจำเป็น และว่า หากมติของ กทค.ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโดยรวม กทค.และกลุ่มที่เรียกร้องให้ กทค.ยืนยันใช้มติเมื่อวันที่ 17 พ.ค.2559 ต้องรับผิดชอบกับผลที่เกิดขึ้น
       
        เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเอไอเอสและทรูมูฟ เอชฯ ออกคำชี้แจงและเคยยื่นอุทธรณ์ให้ทบทวนการคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาทีทุกแพคเกจตามมติ กทค.เมื่อวันที่ 17 พ.ค.2559 ปรากฏว่า ที่ประชุม กทค.เมื่อวันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้มีมติเปลี่ยนแปลงมติบอร์ด กทค.เมื่อเดือน พ.ค.2559 จากการให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ รวมถึงผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายคิดค่าโทรเป็นวินาทีทุกแพคเกจ เปลี่ยนเป็นให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบ่งสัดส่วนการให้บริการในตลาดเป็น 50% คิดค่าโทรตามจริงเป็นวินาที ส่วนอีก 50% คิดค่าบริการเหมารวมเป็นนาที เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ประชาชน เนื่องจากที่ผ่านมา มีภาคประชาชนและหลายฝ่ายส่งความเห็นเข้ามาจำนวนมาก มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยให้คิดค่าโทรตามจริงเป็นวินาที และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเพราะเห็นว่าการคิดแบบเหมาจ่าย มีค่าบริการที่ถูกกว่า ทั้งนี้ กทค.ยืนยันว่า การเปลี่ยนแปลงมติบอร์ด กทค.ครั้งนี้ ไม่ได้พิจารณาจากความเห็นของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่อย่างใด เพราะไม่มีน้ำหนักพอ แต่คำนึงถึงผลประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก และว่า การเปลี่ยนแปลงมติดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทยอยปรับรูปแพคเกจให้เป็นไปตามมติบอร์ด กทค.ทันที โดยหลังจากนี้ 6 เดือน สำนักงาน กสทช.จะประเมินอีกครั้งว่า ผลตอบรับของประชาชนใช้งานแพคเกจในรูปแบบใดมากกว่ากัน 
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

-คลากรการศึกษา  ที่ 
ติวสอบดอทคอม "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม