อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 16/2560 ศธ.นำเด็กและเยาวชนดีเด่นฯ เข้าพบนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม 2560 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำเด็กและเยาวชนดีเด่นและนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศ จำนวน 781 คน เข้าเยี่ยมคารวะและรับโอวาทจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2560 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมี พล.ท. โกศล ประทุมชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมเป็นเกียรติ ส่วนในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมโครงการสภานักเรียนระดับประเทศ ประจำปี 2560 ที่เดอะไพน์ รีสอร์ท
นายกรัฐมนตรี กล่าวมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า เด็ก เยาวชน และลูกหลานทุกคน คือผู้ขับเคลื่อนประเทศไทย และคำขวัญที่ได้มอบให้เด็กและเยาวชน “เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง” ก็เพื่อให้ทุกคนได้คำนึงถึงประเทศชาติด้วย โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ชาติที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ มีความเกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการในฐานะทำหน้าที่ผลิตและจัดการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับอนุบาล ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา ตลอดจนระดับอุดมศึกษา และการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งตามยุทธศาสตร์ในช่วงปี 2559-2560 เป็นระยะของการเตรียมการเปรียบเสมือนการหว่านพืชหวังผลเก็บเกี่ยว ก็คือการสร้างเด็กและเยาวชนที่มีความเข้มแข็งให้กับประเทศชาติเพื่อขับเคลื่อนประเทศในปี 2561 ตามแผนแม่บทของรัฐบาลต่อไป
ในส่วนของเด็กและเยาวชน ขอให้ช่วยคิดในชั้นเรียน คิดอย่างเป็นระบบ และมีกระบวนการคิดในระยะยาวเพื่อพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ในสิ่งที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับที่นายกรัฐมนตรีที่วันหนึ่ง ๆ คิดเป็นร้อยเรื่องเพราะปัญหาประเทศมีจำนวนมาก และต้องบริหารประเทศอย่างไรเพื่อให้คนไทยกว่า 70 ล้านคนอยู่อย่างมีความสุข
นอกจากนี้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีจากการอ่านหนังสือ จึงขอฝากให้เด็ก ๆ แบ่งเวลาเพื่ออ่านหนังสือให้มากขึ้น เพราะจะทำให้เกิดกระบวนการคิดอย่างต่อเนื่อง และเป็นวิธีเรียนรู้ที่ดีกว่าการอ่านจากสื่ออินเทอร์เน็ตหรือ Youtube ซึ่งสื่อสารข้อความสั้น ๆ เพียง 3-4 บรรทัด ไม่ช่วยสื่อถึงความเป็นมาเป็นไปในเรื่องนั้น ๆ
ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยี ควรใช้ประโยชน์ในการค้นหาความรู้และถ่ายทอดความรู้สู่คนในครอบครัว ไม่ควรใช้เทคโนโลยีเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว และไม่ควรจะเชื่อทุกเรื่องที่อยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ ควรต้องวิเคราะห์ก่อนที่จะเชื่อเรื่องใด ส่วนในเรื่องของภาษาอังกฤษ ควรปรับการเรียนการสอนโดยเน้นฝึกพูดประโยคสนทนาที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น และเด็ก ๆ ไม่ต้องอายที่จะสื่อสารกับชาวต่างชาติ เพราะเขาพยายามที่จะเข้าใจเราอยู่แล้ว
โดยส่วนตัว เชื่อมั่นว่าการศึกษาของไทยไม่ได้ล้มเหลว และแม้ที่ผ่านมาจะเปลี่ยนรัฐมนตรีมาหลายคนก็ไม่กระทบมาก เพราะทุกอย่างอยู่ที่การบริหารจัดการ แผนงาน และเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งย้ำตลอดว่าให้สอนเด็กให้มีความรู้คู่คุณธรรม และผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ เช่น ผลิตคนโดยดูความต้องการของตลาดเป็นที่ตั้ง ประสานและหาข้อมูลความต้องการจากกระทรวงแรงงาน เพื่อผลิตให้เพียงพอและตรงกับสาขาที่ขาดแคลน ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัยเพื่อรองรับการขับเคลื่อน Thailand 4.0, วิศวกรด้านต่าง ๆ รองรับการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ของประเทศ เป็นต้น
ในส่วนของครูผู้สอน การอบรมครูที่ดำเนินการขณะนี้ อาจยังไม่ทันการณ์ ขอให้หาแนวทางปรับวิธีสอนของครูให้ดีขึ้น หรือนำครูที่มีชื่อเสียงมาสอนผ่านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการต้องพัฒนาขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนกับครูที่เก่งเหมือน ๆ กัน นอกจากนี้ได้สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการเพิ่มข้อสอบเป็นคะแนนเสริมใน 2 ส่วน คือ 1) ข้อสอบเชิงคุณธรรมจริยธรรม 2) ข้อสอบเขียนประวัติศาสตร์ชาติไทยด้วย ทั้งนี้ ในช่วงท้ายนายกรัฐมนตรีกล่าวฝากให้ผู้ที่ได้รับรางวัลมีความภาคภูมิใจในตนเอง และเป็นแบบอย่างให้เยาวชนและประเทศชาติ พร้อมทั้งช่วยกันทำให้การศึกษาไทยดีขึ้นด้วยตัวของเราเองด้วย
จากนั้น รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบโล่รางวัลให้แก่เด็กและเยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกจากทุกสังกัดทั่วประเทศ จำนวน 781 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1) เด็กและเยาวชนดีเด่น จำนวน 552 คน ซึ่งคัดเลือกจากความประพฤติดี เรียนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์ ขยัน ประหยัด กตัญญูช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง และอุทิศตนเพื่อส่วน
2) เด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ จำนวน 229 คน แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ 93 คน, ด้านศิลปะและดนตรี 50 คน, ด้านคุณธรรมจริยธรรม 23 คน, ด้านกีฬาและนันทนาการ 43 คน และด้านทักษะฝีมือ วิชาชีพ 20 คน
โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้กล่าวให้โอวาทมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า การจัดงานวันเด็กและการนำเด็กและเยาวชนดีเด่นและนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้กระทำความดีในด้านต่างๆ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชนในอนาคต และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ กระตุ้นให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนเอง ตลอดจนปลูกฝังให้มีส่วนร่วมในสังคม เป็นกำลังสำคัญของชาติ ตามคำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2560 ที่ว่า “เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง”
กระทรวงศึกษาธิการ ได้พยายามที่จะขับเคลื่อนงานให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) โดยในส่วนของการศึกษามีความเกี่ยวข้องใน 6 ยุทธศาสตร์ ซึ่งจะขออธิบายสรุปอย่างง่าย คือ
1) ด้านความมั่นคง ที่จะต้องส่งเสริมและสอนให้นักเรียนรู้ความเป็นมาของตนเอง รู้ประวัติศาสตร์ของชาติไทย สนับสนุนและช่วยเหลือการศึกษาในพื้นที่ชายขอบและพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีความพร้อมทุกด้านมากขึ้น
2) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการสร้างศักยภาพเด็กไทยในเวทีนานาชาติ เช่น การเพิ่มทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษางานวิจัย การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การค้าขายกับต่างชาติ, การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การคิดวิเคราะห์, การยกระดับอาชีวศึกษาให้เป็นมืออาชีพ เป็นต้น
3) การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ คือการทำให้เด็กเก่ง โดยเริ่มตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา ที่จะต้องให้ได้เรียนกับครูที่ดีและเก่ง เพื่อหวังให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามเป้าหมายและขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ
4) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ขณะนี้ยังมีเด็กอีกกว่า 7 ล้านคน ที่เรียนอยู่ในโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล เป็นเด็กยากจน และไม่ได้มีโอกาสเท่ากับทุกคนที่อยู่ ณ ที่แห่งนี้ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายพัฒนาโรงเรียนเหล่านี้ ที่เปรียบเสมือนโรงเรียน ICU กว่า 10,000 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้มีห้องเรียนที่เพียงพอ มีครูครบชั้น มีโรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และมีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ครบครัน
5) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การดำเนินตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
6) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ แน่นอนว่ายุทธศาสตร์ข้างต้นทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการปรับปรุงการทำงานของภาครัฐไปพร้อมกันด้วย และย้ำว่าต้องการให้เด็กทุกคนมีความฝัน โดยกระทรวงศึกษาธิการจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อนำพาเด็กไปสู่ความฝันให้ได้ ดังเช่นคำที่นายกรัฐมนตรีกล่าวไว้ว่า “Education Pass” ที่จะทำให้การศึกษานำพาประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามนโยบายรัฐบาลด้วย
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบจากรัฐบาลให้เร่งดำเนินการให้เด็กมีโอกาสได้เรียนกับครูที่เก่ง ๆ ครูที่ดี ๆ อย่างเท่าเทียมกันทั่วประเทศ จึงเตรียมการที่จะเชิญครูในสังกัดและครูจากภายนอกที่เก่งในแต่ละสาขาวิชามาช่วยสอน เช่น ครูพี่แนน ครูอุ๊ ครูสมศรี ครูลิลลี่ เป็นต้น โดยจะจัดทำในรูปแบบคลิปวีดิทัศน์เผยแพร่ในคลังความรู้ของกระทรวงศึกษาธิการและทางสื่ออินเทอร์เน็ต ตลอดจนผลิตเป็นซีดีสื่อการสอนส่งให้กับโรงเรียนต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงเรียนห่างไกลให้ได้เรียนรู้กับครูเก่งอย่างทั่วถึงมากขึ้น
สิ่งสุดท้ายที่ต้องการฝากไว้กับเด็กและเยาวชนคือ ขอให้อ่านหนังสือให้มาก ๆ เพราะนักวิทยาศาสตร์ที่เก่ง ๆ หรือคนที่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อ่านมาก ซึ่งนอกจากจะได้ความรู้แล้ว ยังทำให้ได้เรียนรู้ว่าบรรพบุรุษได้คิดและสร้างอะไรไว้แล้วบ้าง แต่ก็ขอให้อ่านให้ถูก ไม่ควรอ่านเฉพาะข้อความสั้น ๆ ที่ส่งต่อมาทางไลน์หรือทางสื่อสังคมออนไลน์เท่านั้น เพราะสื่อเหล่านั้นไม่ได้ทำให้เราเรียนรู้ได้ดีเท่ากับการอ่านหนังสือ สิ่งสำคัญคือ ขอให้ทุกคนขยันและมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ ดังคำที่ว่า “Work Hard Be Nice”
อนึ่ง ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมโครงการสภานักเรียนระดับประเทศ ประจำปี 2560 พร้อมทั้งบรรยายพิเศษ เรื่อง “สืบสานพระราชปณิธาน ตามรอยพระยุคลบาท” ให้กับคณาจารย์และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม 2560 ที่เดอะไพน์ รีสอร์ท อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี โดยมีนายพะโยม ชิณวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, คณาจารย์ และนักเรียนในโครงการ ให้การต้อนรับและร่วมรับฟังการบรรยาย
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล บรรยายตอนหนึ่งว่า กระทรวงศึกษาธิการมองว่าลูกหลานเยาวชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับอนาคตของชาติ เพราะอนาคตของชาติอยู่ในมือของเด็ก ๆ เหล่านี้ สำหรับการประชุมสภานักเรียนระดับประเทศในครั้งนี้ ประกอบด้วยนักเรียนที่มาจากทุกจังหวัดทั่วประเทศยกเว้นจังหวัดที่ประสบปัญหาอุทกภัย ซึ่งเด็ก ๆ เหล่านี้ได้รับการคัดเลือกและได้อยู่ร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างความรู้รักสามัคคี ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เพื่อสืบสานพระราชดำริของพระองค์ท่านในการเสริมสร้างประเทศไทยให้มีความร่มเย็นเป็นสุข
นอกจากนี้ ศาสตร์พระราชาเป็นเรื่องที่เราเรียนรู้กันไม่จบไม่สิ้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแก่คนไทยมาตลอด 70 ปี ซึ่งถือว่ายาวนานมาก ย่อมเป็นสิ่งที่เราอาลัยรักและสามารถน้อมนำคำสอนของพระองค์ท่านนำสู่การปฏิบัติหรือแปลงเป็นกลยุทธ์ในการทำงาน การเรียนหนังสือ การครองตน และการปฏิบัติหน้าที่ได้
กระทรวงศึกษาธิการต้องการเห็นลูกหลานเยาวชนมีพัฒนาการด้านการศึกษาอย่างมีคุณภาพในทุก ๆ กรอบ ขณะนี้ทุกฝ่ายจะช่วยกันเพิ่มพูนหลักสูตรเรื่องศีลธรรม จรรยา หน้าที่พลเมือง โดยเฉพาะความซื่อสัตย์สุจริตที่ต้องมาอันดับแรก “ชาติใดที่ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต ชาตินั้นไม่มีความเจริญอย่างแน่นอน” และถือโอกาสนี้กราบเรียนคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง ครู อาจารย์ทุกคนให้ร่วมกันดำเนินภารกิจสำคัญในครั้งนี้
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ได้เน้นย้ำว่า ในช่วงนี้ได้มีโอกาสพบปะลูกหลานเยาวชนจากหลากหลายโครงการ ทำให้เห็นว่าเด็กนักเรียนของเรามีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ อย่างมาก อาทิ การใช้ภาษาต่างประเทศ จึงขอให้ทุกคนดำรงสัมมาชีพตัวเองด้วยความซื่อสัตย์ เพราะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคมของคนในชาติให้เกิดความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง
อนึ่ง การประชุมโครงการสภานักเรียนระดับประเทศ ประจำปี 2560 มีครูและนักเรียนเข้าร่วมจำนวน 140 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-15 มกราคม 2560 โดยในวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2560 ซึ่งเป็นวันเด็กแห่งชาติ สภานักเรียนระดับประเทศมีกำหนดเข้าพบ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ที่กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเสนอแนะข้อคิดเห็นด้านการศึกษาและแนวทางการดำเนินกิจกรรมที่สภานักเรียนจะร่วมกันดำเนินการต่อไป
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 16/2560 ศธ.นำเด็กและเยาวชนดีเด่นฯ เข้าพบนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรี กล่าวมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า เด็ก เยาวชน และลูกหลานทุกคน คือผู้ขับเคลื่อนประเทศไทย และคำขวัญที่ได้มอบให้เด็กและเยาวชน “เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง” ก็เพื่อให้ทุกคนได้คำนึงถึงประเทศชาติด้วย โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ชาติที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ มีความเกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการในฐานะทำหน้าที่ผลิตและจัดการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับอนุบาล ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา ตลอดจนระดับอุดมศึกษา และการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งตามยุทธศาสตร์ในช่วงปี 2559-2560 เป็นระยะของการเตรียมการเปรียบเสมือนการหว่านพืชหวังผลเก็บเกี่ยว ก็คือการสร้างเด็กและเยาวชนที่มีความเข้มแข็งให้กับประเทศชาติเพื่อขับเคลื่อนประเทศในปี 2561 ตามแผนแม่บทของรัฐบาลต่อไป
ในส่วนของเด็กและเยาวชน ขอให้ช่วยคิดในชั้นเรียน คิดอย่างเป็นระบบ และมีกระบวนการคิดในระยะยาวเพื่อพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ในสิ่งที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับที่นายกรัฐมนตรีที่วันหนึ่ง ๆ คิดเป็นร้อยเรื่องเพราะปัญหาประเทศมีจำนวนมาก และต้องบริหารประเทศอย่างไรเพื่อให้คนไทยกว่า 70 ล้านคนอยู่อย่างมีความสุข
นอกจากนี้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีจากการอ่านหนังสือ จึงขอฝากให้เด็ก ๆ แบ่งเวลาเพื่ออ่านหนังสือให้มากขึ้น เพราะจะทำให้เกิดกระบวนการคิดอย่างต่อเนื่อง และเป็นวิธีเรียนรู้ที่ดีกว่าการอ่านจากสื่ออินเทอร์เน็ตหรือ Youtube ซึ่งสื่อสารข้อความสั้น ๆ เพียง 3-4 บรรทัด ไม่ช่วยสื่อถึงความเป็นมาเป็นไปในเรื่องนั้น ๆ
ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยี ควรใช้ประโยชน์ในการค้นหาความรู้และถ่ายทอดความรู้สู่คนในครอบครัว ไม่ควรใช้เทคโนโลยีเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว และไม่ควรจะเชื่อทุกเรื่องที่อยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ ควรต้องวิเคราะห์ก่อนที่จะเชื่อเรื่องใด ส่วนในเรื่องของภาษาอังกฤษ ควรปรับการเรียนการสอนโดยเน้นฝึกพูดประโยคสนทนาที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น และเด็ก ๆ ไม่ต้องอายที่จะสื่อสารกับชาวต่างชาติ เพราะเขาพยายามที่จะเข้าใจเราอยู่แล้ว
โดยส่วนตัว เชื่อมั่นว่าการศึกษาของไทยไม่ได้ล้มเหลว และแม้ที่ผ่านมาจะเปลี่ยนรัฐมนตรีมาหลายคนก็ไม่กระทบมาก เพราะทุกอย่างอยู่ที่การบริหารจัดการ แผนงาน และเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งย้ำตลอดว่าให้สอนเด็กให้มีความรู้คู่คุณธรรม และผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ เช่น ผลิตคนโดยดูความต้องการของตลาดเป็นที่ตั้ง ประสานและหาข้อมูลความต้องการจากกระทรวงแรงงาน เพื่อผลิตให้เพียงพอและตรงกับสาขาที่ขาดแคลน ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัยเพื่อรองรับการขับเคลื่อน Thailand 4.0, วิศวกรด้านต่าง ๆ รองรับการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ของประเทศ เป็นต้น
ในส่วนของครูผู้สอน การอบรมครูที่ดำเนินการขณะนี้ อาจยังไม่ทันการณ์ ขอให้หาแนวทางปรับวิธีสอนของครูให้ดีขึ้น หรือนำครูที่มีชื่อเสียงมาสอนผ่านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการต้องพัฒนาขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนกับครูที่เก่งเหมือน ๆ กัน นอกจากนี้ได้สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการเพิ่มข้อสอบเป็นคะแนนเสริมใน 2 ส่วน คือ 1) ข้อสอบเชิงคุณธรรมจริยธรรม 2) ข้อสอบเขียนประวัติศาสตร์ชาติไทยด้วย ทั้งนี้ ในช่วงท้ายนายกรัฐมนตรีกล่าวฝากให้ผู้ที่ได้รับรางวัลมีความภาคภูมิใจในตนเอง และเป็นแบบอย่างให้เยาวชนและประเทศชาติ พร้อมทั้งช่วยกันทำให้การศึกษาไทยดีขึ้นด้วยตัวของเราเองด้วย
จากนั้น รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบโล่รางวัลให้แก่เด็กและเยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกจากทุกสังกัดทั่วประเทศ จำนวน 781 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1) เด็กและเยาวชนดีเด่น จำนวน 552 คน ซึ่งคัดเลือกจากความประพฤติดี เรียนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์ ขยัน ประหยัด กตัญญูช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง และอุทิศตนเพื่อส่วน
2) เด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ จำนวน 229 คน แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ 93 คน, ด้านศิลปะและดนตรี 50 คน, ด้านคุณธรรมจริยธรรม 23 คน, ด้านกีฬาและนันทนาการ 43 คน และด้านทักษะฝีมือ วิชาชีพ 20 คน
2) เด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ จำนวน 229 คน แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ 93 คน, ด้านศิลปะและดนตรี 50 คน, ด้านคุณธรรมจริยธรรม 23 คน, ด้านกีฬาและนันทนาการ 43 คน และด้านทักษะฝีมือ วิชาชีพ 20 คน
โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้กล่าวให้โอวาทมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า การจัดงานวันเด็กและการนำเด็กและเยาวชนดีเด่นและนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้กระทำความดีในด้านต่างๆ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชนในอนาคต และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ กระตุ้นให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนเอง ตลอดจนปลูกฝังให้มีส่วนร่วมในสังคม เป็นกำลังสำคัญของชาติ ตามคำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2560 ที่ว่า “เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง”
กระทรวงศึกษาธิการ ได้พยายามที่จะขับเคลื่อนงานให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) โดยในส่วนของการศึกษามีความเกี่ยวข้องใน 6 ยุทธศาสตร์ ซึ่งจะขออธิบายสรุปอย่างง่าย คือ
1) ด้านความมั่นคง ที่จะต้องส่งเสริมและสอนให้นักเรียนรู้ความเป็นมาของตนเอง รู้ประวัติศาสตร์ของชาติไทย สนับสนุนและช่วยเหลือการศึกษาในพื้นที่ชายขอบและพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีความพร้อมทุกด้านมากขึ้น
2) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการสร้างศักยภาพเด็กไทยในเวทีนานาชาติ เช่น การเพิ่มทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษางานวิจัย การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การค้าขายกับต่างชาติ, การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การคิดวิเคราะห์, การยกระดับอาชีวศึกษาให้เป็นมืออาชีพ เป็นต้น
3) การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ คือการทำให้เด็กเก่ง โดยเริ่มตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา ที่จะต้องให้ได้เรียนกับครูที่ดีและเก่ง เพื่อหวังให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามเป้าหมายและขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ
4) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ขณะนี้ยังมีเด็กอีกกว่า 7 ล้านคน ที่เรียนอยู่ในโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล เป็นเด็กยากจน และไม่ได้มีโอกาสเท่ากับทุกคนที่อยู่ ณ ที่แห่งนี้ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายพัฒนาโรงเรียนเหล่านี้ ที่เปรียบเสมือนโรงเรียน ICU กว่า 10,000 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้มีห้องเรียนที่เพียงพอ มีครูครบชั้น มีโรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และมีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ครบครัน
5) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การดำเนินตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
6) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ แน่นอนว่ายุทธศาสตร์ข้างต้นทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการปรับปรุงการทำงานของภาครัฐไปพร้อมกันด้วย และย้ำว่าต้องการให้เด็กทุกคนมีความฝัน โดยกระทรวงศึกษาธิการจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อนำพาเด็กไปสู่ความฝันให้ได้ ดังเช่นคำที่นายกรัฐมนตรีกล่าวไว้ว่า “Education Pass” ที่จะทำให้การศึกษานำพาประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามนโยบายรัฐบาลด้วย
2) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการสร้างศักยภาพเด็กไทยในเวทีนานาชาติ เช่น การเพิ่มทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษางานวิจัย การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การค้าขายกับต่างชาติ, การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การคิดวิเคราะห์, การยกระดับอาชีวศึกษาให้เป็นมืออาชีพ เป็นต้น
3) การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ คือการทำให้เด็กเก่ง โดยเริ่มตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา ที่จะต้องให้ได้เรียนกับครูที่ดีและเก่ง เพื่อหวังให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามเป้าหมายและขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ
4) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ขณะนี้ยังมีเด็กอีกกว่า 7 ล้านคน ที่เรียนอยู่ในโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล เป็นเด็กยากจน และไม่ได้มีโอกาสเท่ากับทุกคนที่อยู่ ณ ที่แห่งนี้ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายพัฒนาโรงเรียนเหล่านี้ ที่เปรียบเสมือนโรงเรียน ICU กว่า 10,000 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้มีห้องเรียนที่เพียงพอ มีครูครบชั้น มีโรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และมีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ครบครัน
5) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การดำเนินตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
6) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ แน่นอนว่ายุทธศาสตร์ข้างต้นทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการปรับปรุงการทำงานของภาครัฐไปพร้อมกันด้วย และย้ำว่าต้องการให้เด็กทุกคนมีความฝัน โดยกระทรวงศึกษาธิการจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อนำพาเด็กไปสู่ความฝันให้ได้ ดังเช่นคำที่นายกรัฐมนตรีกล่าวไว้ว่า “Education Pass” ที่จะทำให้การศึกษานำพาประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามนโยบายรัฐบาลด้วย
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบจากรัฐบาลให้เร่งดำเนินการให้เด็กมีโอกาสได้เรียนกับครูที่เก่ง ๆ ครูที่ดี ๆ อย่างเท่าเทียมกันทั่วประเทศ จึงเตรียมการที่จะเชิญครูในสังกัดและครูจากภายนอกที่เก่งในแต่ละสาขาวิชามาช่วยสอน เช่น ครูพี่แนน ครูอุ๊ ครูสมศรี ครูลิลลี่ เป็นต้น โดยจะจัดทำในรูปแบบคลิปวีดิทัศน์เผยแพร่ในคลังความรู้ของกระทรวงศึกษาธิการและทางสื่ออินเทอร์เน็ต ตลอดจนผลิตเป็นซีดีสื่อการสอนส่งให้กับโรงเรียนต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงเรียนห่างไกลให้ได้เรียนรู้กับครูเก่งอย่างทั่วถึงมากขึ้น
สิ่งสุดท้ายที่ต้องการฝากไว้กับเด็กและเยาวชนคือ ขอให้อ่านหนังสือให้มาก ๆ เพราะนักวิทยาศาสตร์ที่เก่ง ๆ หรือคนที่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อ่านมาก ซึ่งนอกจากจะได้ความรู้แล้ว ยังทำให้ได้เรียนรู้ว่าบรรพบุรุษได้คิดและสร้างอะไรไว้แล้วบ้าง แต่ก็ขอให้อ่านให้ถูก ไม่ควรอ่านเฉพาะข้อความสั้น ๆ ที่ส่งต่อมาทางไลน์หรือทางสื่อสังคมออนไลน์เท่านั้น เพราะสื่อเหล่านั้นไม่ได้ทำให้เราเรียนรู้ได้ดีเท่ากับการอ่านหนังสือ สิ่งสำคัญคือ ขอให้ทุกคนขยันและมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ ดังคำที่ว่า “Work Hard Be Nice”
อนึ่ง ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมโครงการสภานักเรียนระดับประเทศ ประจำปี 2560 พร้อมทั้งบรรยายพิเศษ เรื่อง “สืบสานพระราชปณิธาน ตามรอยพระยุคลบาท” ให้กับคณาจารย์และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม 2560 ที่เดอะไพน์ รีสอร์ท อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี โดยมีนายพะโยม ชิณวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, คณาจารย์ และนักเรียนในโครงการ ให้การต้อนรับและร่วมรับฟังการบรรยาย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น