อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 37/2560
การประชุมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี
กระทรวงศึกษาธิการ มอบ กศจ.ชลบุรี จัดเตรียมแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัด เพื่อรองรับ การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ที่ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยมี รมช.ศึกษาธิการ "พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" และ ผวจ.ชลบุรี " นายภัครธรณ์ เทียนไชย " ร่วมประชุมกับทุกภาคส่วนในจังหวัดชลบุรี
เมื่อวันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2560 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดชลบุรี, พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี โดยมี พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี, นางนิตย์ โรจน์รัตนวาณิชย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 9, นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี ผู้แทนภาคส่วนราชการ, ภาคเอกชน, สถานศึกษา, สถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมประชุม
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเพื่อกระจายการพัฒนาไปยังพื้นที่ต่าง ๆ โดยเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่นั้น ๆ เช่น การจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 เขตพื้นที่ของประเทศไทย หรือโครงการเมืองต้นแบบ "สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ในพื้นที่ 3 อำเภอในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี, อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และอำเภอเบตง จังหวัดยะลา
นอกจากนี้ รัฐบาลเห็นว่าเพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในพื้นที่ "ภาคตะวันออก" ได้รับพัฒนาอย่างสมบูรณ์และยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการอยู่อาศัย การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การสาธารณสุข การศึกษา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องอย่างเพียงพอได้มาตรฐานสากล และมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน
จึงได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 2/2560 ลงวันที่ 17 มกราคม 2560 เรื่อง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ที่ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง และเขตจังหวัดอื่นที่ติดต่อหรือเกี่ยวข้อง
ในส่วนของการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ถือมีหน้าที่โดยตรงในการผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จึงมอบให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ทั้ง 3 จังหวัดดังกล่าว ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการวางแผนการศึกษาทุกระดับชั้นและทุกประเภท ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพราะถือว่าการศึกษาเป็นต้นน้ำในการเตรียมคน
ในส่วนของการวางแผนการศึกษาจังหวัดชลบุรี ได้มอบ กศจ.ชลบุรี เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งนี้ เพื่อรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมในครั้งนี้ เพื่อนำไปจัดทำแผนการศึกษารองรับการ พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ให้เป็นรูปธรรม ชัดเจน สามารถพัฒนาและดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ขอให้คำนึงถึงความเชื่อมโยงกับแผนการศึกษาของจังหวัดฉะเชิงเทราและระยองด้วย ตลอดจนขอความร่วมมือในการติดตามสถานการณ์หรือข้อมูลข่าวสารที่มีความทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อนำไปจัดการศึกษาให้ครอบคลุม รอบด้าน นำไปสู่การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพต่อไป
นายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า จังหวัดชลบุรีมีศักยภาพในหลายด้าน เช่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก เป็นฐานที่ตั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศ และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำ โดยมีท่าเรือที่สำคัญ เช่น แหลมฉบัง โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ของจังหวัดชลบุรี คือ “ฐานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสะอาด แหล่งท่องเที่ยวนานาชาติ แหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ประตูสู่เศรษฐกิจโลก สังคมแห่งการเรียนรู้และมีภูมิคุ้มกัน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐานการพัฒนาที่มีคุณภาพและยั่งยืน” กำหนดจุดยืน (Positioning) ทางยุทธศาสตร์ คือ “การท่องเที่ยวระดับนานาชาติ เมืองอุตสาหกรรมสะอาด”พร้อมทั้งได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 6 ประเด็น ได้แก่
1. ส่งเสริมอุตสาหกรรมให้มีการใช้เทคโนโลยีสะอาดในการผลิต และคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม
2. ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว สินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว ให้มีความหลากหลายได้มาตรฐานสากล และเป็นที่ประทับใจของนักท่องเที่ยว
3. พัฒนากระบวนการผลิตสินค้าการเกษตรสู่ระบบการผลิตคุณภาพสูง เพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ
4. พัฒนาระบบผังเมือง ระบบโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐาน และแหล่งน้ำ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัด
5. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศน์และการใช้ประโยชน์
6. พัฒนาคนและชุมชนให้มีคุณภาพ โดยการบริหารจัดการสังคมให้มีคุณภาพและมาตรฐาน รองรับการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างสมดุลและยั่งยืน
นอกจากนี้ จังหวัดชลบุรีมีแนวคิดในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เพื่อยกระดับพื้นที่ให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของเอเชีย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อมเมือง อำนวยความสะดวกและสิทธิประโยชน์แก่นักลงทุน และสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงและท่องเที่ยว ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายคือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ และดิจิทัล
ดร.นิตย์ โรจน์รัตนวาณิชย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 9 กล่าวว่า จังหวัดชลบุรี มีสถานศึกษาทุกสังกัดจำนวนทั้งสิ้น 534 แห่ง ครูผู้สอน 16,299 คน นักเรียนและนักศึกษา 399,212 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับดี และมีแผนพัฒนาการศึกษาที่เชื่อมโยงกับจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ ซึ่งจุดเน้นตามสภาพเศรษฐกิจของจังหวัดชลบุรี และส่งเสริมให้คนในพื้นที่ได้ระดมความคิดเห็น สะท้อนปัญหา และสภาพปัจจุบันของจังหวัดชลบุรี
ผศ.ดร.บรรพต วิรุณราช คณบดีวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนที่ทันสมัย โดยนำแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับล่าสุด และแผนการศึกษาจังหวัด มาเป็นตัวตั้ง จากนั้นได้เชิญผู้เกี่ยวข้องหรือ Stakeholder เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการศึกษา อีกหนึ่งประเด็นสำคัญคือ มหาวิทยาลัยบูรพามีโรงเรียนสาธิตอาชีวศึกษาที่เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาการตลาด คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว และการโรงแรม ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่มีความพร้อมสูงมากและจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้าแล้ว
ผู้แทนสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันมีเด็กเข้าเรียนที่สถาบันอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชนในจังหวัดชลบุรีกว่า 50,000 คน เปิดสอนหลักสูตร ปวช. และ ปวส. มีทั้งระบบปกติ ทวิภาคี ทวิศึกษา และเทียบโอนประสบการณ์ เปิดสอนสาขาที่จำเป็นในสถานประกอบการ เช่น ช่างกลโรงงาน ช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ การขนส่งระบบราง โลจิสติกส์ ช่างซ่อมอากาศยาน บัญชี การเกษตร เป็นต้น สถาบันอาชีวศึกษาวางแผนยกระดับคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลและมาตรฐานวิชาชีพ ส่งเสริมให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทักษะวิชาชีพ ภาษาต่างประเทศ และคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้
ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) กล่าวว่า สำนักงาน กศน.จังหวัดชลบุรี ได้ยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้นักเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษามีความพร้อม เช่น การสอน English Program และสอนภาษาจีน รวมทั้งภาษาอาเซียน เพื่อใช้สื่อสารกับชาวต่างชาติ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการศึกษาต่อเนื่องด้วยการพัฒนาอาชีพในการรองรับตลาดแรงงาน มุ่งเน้นการสร้างงานสร้างรายได้ อาทิ ธุรกิจนวดแผนไทย การนวดสปา เป็นต้น
ประธานหอการค้าจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันจังหวัดชลบุรีมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่เน้นนวัตกรรม นำไปสู่การทำอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งขณะนี้มีสินค้าส่งออกจำนวนมาก และส่วนมากเป็นสินค้าที่มีนวัตกรรมในการผลิต นอกจากนี้ ขอให้ผู้ประกอบการละทิ้งความเชื่อเดิม ๆ ที่ว่าของเราดีอยู่แล้วไม่ต้องพัฒนาก็มีคนมาซื้อ เพราะในความเป็นจริงเราต้องพัฒนาและปรับปรุงสินค้าและผลิตภัณฑ์อยู่ตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นจะก้าวไม่ทันโลกอย่างแน่นอน
ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า การมุ่งเน้นอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ในจังหวัดชลบุรี ทำให้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องผลิตบุคลากรเฉพาะทางให้กับอุตสาหกรรมเหล่านี้ เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก สภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรีจึงร่วมวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบจัดการศึกษาตามรูปแบบ "สัตหีบโมเดล" เพื่อผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยตรง ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่ภาคเอกชนได้ร่วมมือกับสถานศึกษาของรัฐโดยตรง เพื่อร่วมกันจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
นายกสมาคมบริหารงานบุคคลภาคตะวันออก กล่าวว่า จังหวัดชลบุรีมีปัญหาการขาดแคลนแรงงาน อีกทั้งแรงงานที่จบการศึกษาจะมีทักษะด้านเดียว แต่ตลาดแรงงานต้องการคนมีความสามารถในหลายด้านในคน ๆ เดียว ซึ่งสามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการผสมผสานหลักสูตรสาขาช่างต่าง ๆ ให้นักเรียนหนึ่งคนมีความสามารถในหลายด้าน นอกจากนี้ จึงเสนอให้มีการจัดตั้ง "ศูนย์อบรมเทคโนโลยีชั้นสูงในจังหวัดชลบุรี เพื่อฝึกทักษะแรงงานโดยเฉพาะ
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากการประชุม การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ในครั้งนี้แล้ว ได้ไปเป็นประธาน เปิดงาน "200 นักวิจัย 200 โจทย์พัฒนาเศรษฐกิจ" พร้อมทั้งบรรยายพิเศษ เรื่อง "การจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระเบียงเขตเศรษฐกิจ และการศึกษาในเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน" เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2560 ณ โรงแรมบางแสนเฮอริเทจ จัดโดยวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยมี พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, ผศ.ดร.บรรพต วิรุณราช คณบดีวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, ผู้บริหารมหาวิทยาลัยบูรพา, คณาจารย์, ผู้ประกอบการ, นักวิจัย และนิสิต เข้าร่วมงาน
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า งาน 200 นักวิจัย 200 โจทย์พัฒนาเศรษฐกิจ คือ การระดมนักวิจัย อาจารย์ และนิสิตในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อทำวิจัยร่วมกับสถานประกอบการภาคเอกชนในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งประกอบด้วย 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง อาทิ การวิจัยด้านธุรกิจ การค้า และอุตสาหกรรม เป็นต้น
การจับคู่นักวิจัยให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ จะดำเนินการผ่านโปรแกรม Matching Researchers and Businessman for Research โดยสถานประกอบการจะส่งข้อมูล ปัญหาที่พบ และหัวข้อการวิจัยที่ต้องการให้กับวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ เพื่อนำมากรอกในโปรแกรมดังกล่าว จากนั้นระบบจะทำการจับคู่หัวข้อการวิจัยของสถานประกอบการกับนักวิจัยที่มีความสามารถในด้านนั้น ๆ
ย้ำว่างานวิจัย มีประโยชน์อย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมถึงปัญหาในการประกอบธุรกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ซึ่งที่ผ่านมางานวิจัยส่วนมากจะถูกเก็บไว้ในห้องสมุดไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อะไร แต่การจับคู่การวิจัยระหว่างนักวิจัยและสถานประกอบการในครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการนำผลการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาธุรกิจของตนเองได้ ในขณะที่นักวิจัยก็ได้ประโยชน์จากการทำวิจัยที่มีความถนัด และตรงประเด็น อีกทั้งสามารถนำผลการวิจัยมาพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกได้ เพื่อทำให้ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเป็นพื้นที่เชื่อมโยงการค้า การลงทุน การคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ และเป็นพื้นที่จุดเด่นของทวีปเอเชียได้ต่อไป
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 37/2560
การประชุมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี
นอกจากนี้ รัฐบาลเห็นว่าเพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในพื้นที่ "ภาคตะวันออก" ได้รับพัฒนาอย่างสมบูรณ์และยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการอยู่อาศัย การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การสาธารณสุข การศึกษา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องอย่างเพียงพอได้มาตรฐานสากล และมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน
นายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า จังหวัดชลบุรีมีศักยภาพในหลายด้าน เช่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก เป็นฐานที่ตั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศ และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำ โดยมีท่าเรือที่สำคัญ เช่น แหลมฉบัง โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ของจังหวัดชลบุรี คือ “ฐานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสะอาด แหล่งท่องเที่ยวนานาชาติ แหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ประตูสู่เศรษฐกิจโลก สังคมแห่งการเรียนรู้และมีภูมิคุ้มกัน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐานการพัฒนาที่มีคุณภาพและยั่งยืน” กำหนดจุดยืน (Positioning) ทางยุทธศาสตร์ คือ “การท่องเที่ยวระดับนานาชาติ เมืองอุตสาหกรรมสะอาด”พร้อมทั้งได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 6 ประเด็น ได้แก่
1. ส่งเสริมอุตสาหกรรมให้มีการใช้เทคโนโลยีสะอาดในการผลิต และคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม
2. ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว สินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว ให้มีความหลากหลายได้มาตรฐานสากล และเป็นที่ประทับใจของนักท่องเที่ยว
3. พัฒนากระบวนการผลิตสินค้าการเกษตรสู่ระบบการผลิตคุณภาพสูง เพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ
4. พัฒนาระบบผังเมือง ระบบโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐาน และแหล่งน้ำ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัด
5. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศน์และการใช้ประโยชน์
6. พัฒนาคนและชุมชนให้มีคุณภาพ โดยการบริหารจัดการสังคมให้มีคุณภาพและมาตรฐาน รองรับการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างสมดุลและยั่งยืน
นอกจากนี้ จังหวัดชลบุรีมีแนวคิดในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เพื่อยกระดับพื้นที่ให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของเอเชีย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อมเมือง อำนวยความสะดวกและสิทธิประโยชน์แก่นักลงทุน และสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงและท่องเที่ยว ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายคือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ และดิจิทัล
ดร.นิตย์ โรจน์รัตนวาณิชย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 9 กล่าวว่า จังหวัดชลบุรี มีสถานศึกษาทุกสังกัดจำนวนทั้งสิ้น 534 แห่ง ครูผู้สอน 16,299 คน นักเรียนและนักศึกษา 399,212 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับดี และมีแผนพัฒนาการศึกษาที่เชื่อมโยงกับจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ ซึ่งจุดเน้นตามสภาพเศรษฐกิจของจังหวัดชลบุรี และส่งเสริมให้คนในพื้นที่ได้ระดมความคิดเห็น สะท้อนปัญหา และสภาพปัจจุบันของจังหวัดชลบุรี
ผศ.ดร.บรรพต วิรุณราช คณบดีวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนที่ทันสมัย โดยนำแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับล่าสุด และแผนการศึกษาจังหวัด มาเป็นตัวตั้ง จากนั้นได้เชิญผู้เกี่ยวข้องหรือ Stakeholder เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการศึกษา อีกหนึ่งประเด็นสำคัญคือ มหาวิทยาลัยบูรพามีโรงเรียนสาธิตอาชีวศึกษาที่เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาการตลาด คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว และการโรงแรม ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่มีความพร้อมสูงมากและจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้าแล้ว
ผู้แทนสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันมีเด็กเข้าเรียนที่สถาบันอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชนในจังหวัดชลบุรีกว่า 50,000 คน เปิดสอนหลักสูตร ปวช. และ ปวส. มีทั้งระบบปกติ ทวิภาคี ทวิศึกษา และเทียบโอนประสบการณ์ เปิดสอนสาขาที่จำเป็นในสถานประกอบการ เช่น ช่างกลโรงงาน ช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ การขนส่งระบบราง โลจิสติกส์ ช่างซ่อมอากาศยาน บัญชี การเกษตร เป็นต้น สถาบันอาชีวศึกษาวางแผนยกระดับคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลและมาตรฐานวิชาชีพ ส่งเสริมให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทักษะวิชาชีพ ภาษาต่างประเทศ และคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้
ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) กล่าวว่า สำนักงาน กศน.จังหวัดชลบุรี ได้ยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้นักเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษามีความพร้อม เช่น การสอน English Program และสอนภาษาจีน รวมทั้งภาษาอาเซียน เพื่อใช้สื่อสารกับชาวต่างชาติ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการศึกษาต่อเนื่องด้วยการพัฒนาอาชีพในการรองรับตลาดแรงงาน มุ่งเน้นการสร้างงานสร้างรายได้ อาทิ ธุรกิจนวดแผนไทย การนวดสปา เป็นต้น
ประธานหอการค้าจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันจังหวัดชลบุรีมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่เน้นนวัตกรรม นำไปสู่การทำอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งขณะนี้มีสินค้าส่งออกจำนวนมาก และส่วนมากเป็นสินค้าที่มีนวัตกรรมในการผลิต นอกจากนี้ ขอให้ผู้ประกอบการละทิ้งความเชื่อเดิม ๆ ที่ว่าของเราดีอยู่แล้วไม่ต้องพัฒนาก็มีคนมาซื้อ เพราะในความเป็นจริงเราต้องพัฒนาและปรับปรุงสินค้าและผลิตภัณฑ์อยู่ตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นจะก้าวไม่ทันโลกอย่างแน่นอน
ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า การมุ่งเน้นอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ในจังหวัดชลบุรี ทำให้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องผลิตบุคลากรเฉพาะทางให้กับอุตสาหกรรมเหล่านี้ เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก สภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรีจึงร่วมวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบจัดการศึกษาตามรูปแบบ "สัตหีบโมเดล" เพื่อผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยตรง ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่ภาคเอกชนได้ร่วมมือกับสถานศึกษาของรัฐโดยตรง เพื่อร่วมกันจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
นายกสมาคมบริหารงานบุคคลภาคตะวันออก กล่าวว่า จังหวัดชลบุรีมีปัญหาการขาดแคลนแรงงาน อีกทั้งแรงงานที่จบการศึกษาจะมีทักษะด้านเดียว แต่ตลาดแรงงานต้องการคนมีความสามารถในหลายด้านในคน ๆ เดียว ซึ่งสามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการผสมผสานหลักสูตรสาขาช่างต่าง ๆ ให้นักเรียนหนึ่งคนมีความสามารถในหลายด้าน นอกจากนี้ จึงเสนอให้มีการจัดตั้ง "ศูนย์อบรมเทคโนโลยีชั้นสูงในจังหวัดชลบุรี เพื่อฝึกทักษะแรงงานโดยเฉพาะ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น