อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 10/2560รมว.ศธ."ธีระเกียรติ" รับฟังปัญหาโรงเรียน ICU ที่เชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่ - นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายณรงค์ แผ้วพลสง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนางรักขณา ตัณฑวุฑโฒ หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี เดินทางไปรับฟังความคิดและเรียนรู้ร่วมกับครูและผู้บริหารของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ "โรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือและพัฒนาเป็นพิเศษอย่างเร่งด่วน" หรือโรงเรียน ICU (Intensive Care Unit) เมื่อวันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2560 ที่ โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 7 และ โรงเรียนสังวาลย์วิทยา โดยมีนายทวนทอง ศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1, นายรตนภูมิ โนสุ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 และผู้บริหารการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ร่วมเดินทางไปหารือรับฟังพร้อมกัน
● โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 7
เวลา 10.30 น. นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ และคณะ เดินทางไปรับฟังความคิด ปัญหา และอุปสรรคของโรงเรียน เจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 7 ต.โป่งแยง อ.แม่ริม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 โดยมี นางลักขณา เทวะ ผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะครูโรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 7 ให้การต้อนรับและหารือร่วมกัน
นางลักขณา เทวะ ผู้อำนวยการโรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 7 กล่าวว่า โรงเรียนเปิดสอนระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนรวม 149 คน ซึ่งนักเรียนกว่าร้อยละ 90 เป็นชนเขาเผ่าม้ง และที่เหลือร้อยละ 10 เป็นชนเผ่าไทยใหญ่ มีครู 19 คน สภาพปัญหาของโรงเรียนมีความไม่พร้อมและขาดแคลนหลายประการที่ทำให้ต้องการสมัครเข้าร่วมโครงการโรงเรียน ICU ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาต่ำ โดยเฉพาะ O-Net ชั้น ป.6 และ ม.3 ในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ มีคะแนนต่ำกว่าคะแนนมาตรฐานประเทศ, นักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้, จำนวนห้องเรียนไม่เพียงพอต่อการจัดการศึกษา, ขาดแคลนครูวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา, คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน, ระบบอินเทอร์เน็ตไม่เสถียรทำให้การสืบค้นและการเรียนรู้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร, เด็กออกกลางคันจำนวนมาก, ห้องน้ำชำรุดและไม่เพียงพอ
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การเดินทางมาครั้งนี้ ไม่ได้มาตรวจเยี่ยม แต่เพื่อต้องการมารับรู้และเรียนรู้ปัญหา เพราะโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ICU มีโรงเรียนหลายขนาดทั้งอ้วนและผอม พร้อมทั้งจะรับฟังข้อคิดเห็นว่าโรงเรียนที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกลทุรกันดารและขาดแคลนจริง ๆ มีอาการอย่างไรและต้องการให้พัฒนาอะไรบ้าง
โดย ย้ำว่านโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในวันนี้ ต้องการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จะไม่เพิ่มภาระ และจะไม่สั่งการจากหน่วยเหนือลงมา แต่กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะเหมือนกับเป็นเจ้าของโรงพยาบาล ที่จะช่วยดูแลโรงเรียนระดับล่างที่ต้องการได้รับการพัฒนา หรือผู้ป่วยอย่างจริงจัง โดยเริ่มต้นจากปัญหา ไม่ใช่เริ่มจากนโยบายที่ตัดเสื้อตัวเดียวแล้วใช้ทุกโรงเรียนเหมือนที่ผ่านมา
ดังนั้น จึงต้องการมาฟังการวินิจฉัยปัญหาหรืออาการของโรงเรียนด้วยตัวเอง ตลอดจนข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขปัญหาที่จะสะท้อนต่อไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แน่นอนว่าวิธีการแก้ปัญหาในโรงเรียนแต่ละแห่งจะไม่เหมือนกัน จากนั้นเขตพื้นที่ฯ ก็จะพิจารณาจัดลำดับความเร่งด่วนและความสำคัญในการช่วยเหลือว่ามีส่วนใดบ้างที่โรงเรียนทำได้เอง หรือส่วนใดที่เขตพื้นที่ฯ สามารถดำเนินการให้ได้ หรือจะช่วยประสานกับผู้เกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา โดยไม่จำเป็นต้องรอนโยบายหรือโครงการใหญ่ ๆ ซึ่งจะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งยังสามารถระดมทรัพยากรจากชุมชน ภาคสังคม และภาคเอกชน ให้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาได้ถูกทางตามบริบทของแต่ละโรงเรียนได้จริง
จากการที่ได้รับฟัง พบปัญหาที่หนักหนาของโรงเรียนนี้หลายประการ เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ เนื่องจากกระแสไฟกระตุกทำให้คอมพิวเตอร์พังเสียหาย เหลือคอมพิวเตอร์ใช้ได้เพียง 9 เครื่องจากกว่า 24 เครื่อง ซึ่งเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นว่าควรจะต้องจัดหาเครื่องสำรองไฟ (UPS) อย่างเร่งด่วน เพราะคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเรียนรู้ของเด็กในโรงเรียนห่างไกลเช่นนี้ นอกจากนี้มีเรื่องของภาษา ซึ่งภาษาแม่ของเด็กไม่ใช่ภาษาไทย นักเรียนพูดคุยกันจะใช้ภาษาม้งตลอดเวลา แต่เมื่อมาโรงเรียนต้องอ่านต้องเขียนภาษาไทย จึงทำให้การเรียนรู้ติดขัดไม่ต่อเนื่อง ซึ่งโรงเรียนมีแผนสอนเสริมวิชาภาษาไทยแบบแจกลูกสะกดคำอยู่แล้ว จึงได้ชื่นชมว่าเป็นวิธีการที่ถูกต้องที่ใช้สำหรับสอนการอ่าน ที่จะต้องสอนจากการสะกดและการฟังเป็นเสียง (Phonic) เช่นเดียวกับโรงเรียนในต่างประเทศ ทั้งนี้ ได้เสนอแนะให้ครูสำรวจและจัดทำข้อมูลนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เป็นรายบุคคล เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและแก้ได้เร็วยิ่งขึ้น ส่วนปัญหาการขาดแคลนครู โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีครูเพียงคนเดียว แต่รับผิดชอบสอนตั้งแต่ ป.4-ม.3 ขอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พิจารณาเกลี่ยอัตรากำลังครูสาขาวิชานี้มาให้ รวมทั้งให้ระดมสรรพกำลังชุมชนหรือเอกชนในท้องถิ่นเพื่อจ้างครู หรือจัดหาเทคโนโลยี หรือสื่อการเรียนการสอน เพราะเรื่องของครูมีความสำคัญมาก หากจะเปรียบกับโรงเรียนที่มีคะแนน PISA สูง ๆ ก็จะพบว่ามีครูวิทยาศาสตร์จบในระดับปริญญาเอก และมีครูครบทุกห้องครบทุกชั้นในทุกสาขาทั้งฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ซึ่งก็คือความเหลื่อมล้ำในการจัดการศึกษาของแต่ละโรงเรียน
สำหรับโรงเรียน เจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2513 จากทุนทรัพย์พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 50,000 บาท ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ ได้ย้ำว่า ทุกโรงเรียนที่เป็นโครงการในพระราชดำริของพระองค์ ยิ่งควรได้รับการสนับสนุนและพัฒนาให้สมพระเกียรติ
● โรงเรียนสังวาลย์วิทยา
เวลา 14.15 น. นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ และคณะ เดินทางไปรับฟังความคิด ปัญหา และอุปสรรคของโรงเรียน สังวาลย์วิทยา ต. สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 โดยมี นายพลภัทร คำภีระ ผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะครูโรงเรียน สังวาลย์วิทยา ให้การต้อนรับและหารือร่วมกัน
นายพลภัทร คำภีระ ผู้อำนวยการโรงเรียนสังวาลย์วิทยา กล่าวว่า โรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตบริการ 4 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านดอยสุเทพ หมู่บ้านภูพิงค์ หมู่บ้านดอยปุย และหมู่บ้านขุนช่างเคี่ยน มีนักเรียน 66 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ 80 เป็นชนเผ่าม้ง และมีครู 15 คน โครงการ ICU ถือเป็นโครงการที่ดีที่จะช่วยสนับสนุนและพัฒนาให้โรงเรียนสังวาลย์วิทยาสามารถจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนในเขตบริการได้ดีขึ้น ปัจจุบันโรงเรียนประสบปัญหาที่ต้องการแก้ไขอย่างเร่งด่วนหลายประการ คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ตกต่ำ, อยู่ในพื้นที่เสี่ยงด้านปัญหายาเสพติด, ขาดแคลนครูคณิตศาสตร์ ภาษาไทย และวิทยาศาสตร์, อาคารเรียนทรุดโทรมและไม่เพียงพอกับนักเรียน ต้องแบ่งหนึ่งห้องเรียนเพื่อเรียน 2 ระดับชั้น, เด็กออกกลางคัน, สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร เป็นต้น
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการที่ได้รับฟังว่าโรงเรียนนี้เป็น 1 ใน 28 โรงเรียน สังกัด สพป.เชียงใหม่ เขต 1 ที่ ต้องการความช่วยเหลือและพัฒนาเป็นพิเศษอย่างเร่งด่วน และ ได้สมัครใจเข้ารับการรักษาเสมือนเป็นคนไข้ ICU แต่เตียงคนไข้ ICU ที่ สพฐ.จะรักษาได้ในเวลานี้มีจำนวน 3,000 เตียง เมื่อรักษาหายหรือแก้ไขปัญหาได้แล้ว ก็ย้ายออกให้โรงเรียนอื่นเข้ามาแทน จึงไม่ได้ต้องการให้โรงเรียนใดเข้ามาอยู่โครงการนี้ได้นาน เช่นเดียวกับ คนไข้ ICU เมื่อรักษาหายจากห้อง ICU แต่ก็ยังคงต้องรักษาต่อไปจนกว่าจะหายดีซึ่งต้องใช้เวลา
ดังนั้น หากโรงเรียนใดสามารถออกจากการเป็นโรงเรียน ICU ได้ ผู้อำนวยการโรงเรียนก็ควรจะได้รับการสนับสนุนให้เลื่อนขั้น และระบุเป็นผลงานในประวัติเพื่อเลื่อนวิทยฐานะต่อไป ซึ่งจากหลักเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ ก็จะเปลี่ยนไปใช้ในแนวทางเช่นนี้ กล่าวคือไม่ต้องเสียเวลาไปกับการจัดทำผลงานเอกสารทางวิชาการจำนวนมาก แต่ดูที่ตัวชี้วัดและผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนหรือผู้เรียนเป็นสำคัญ
นอกจากกระทรวงศึกษาธิการต้องการให้โรงเรียนในท้องถิ่นห่างไกลที่ขาดแคลน ได้รับการช่วยเหลือดูแลแล้ว ต้องการให้โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเรียนในโรงเรียนที่มีความพร้อมมากกว่าด้วย แต่ต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของผู้ปกครองและนักเรียน หากจำเป็นต้องเปลี่ยนโรงเรียน สพฐ.พร้อมจะให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายและอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปเรียนที่อื่น ๆ ด้วย เนื่องจากผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปัญหาระยะยาว
รมว.ศึกษาธิการ ให้ข้อคิดเกี่ยวกับ เด็กด้อยโอกาส โดยกล่าวว่าในประเทศอังกฤษ โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีการสอบคัดเลือกเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษา ยกเว้นโรงเรียนพิเศษจริงๆ เท่านั้น ยิ่งเด็กไม่เก่ง ยิ่งจะต้องได้รับโอกาสได้เรียนกับครูเก่ง ๆ หรือโรงเรียนดี ๆ มากขึ้นเท่านั้น เช่นเดียวกับคนไข้ที่มีอาการหนัก ยิ่งจะต้องได้หมอดีที่วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง และได้ยาที่แรงจึงจะหายได้เร็ว
สำหรับปัญหาของโรงเรียนนี้ ขอให้โรงเรียนได้หารือร่วมกับคณะกรรมการโรงเรียน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง และนักเรียน เพื่อระดมความคิดเห็นและกำหนดเป้าหมาย ตลอดจนระดมสรรพกำลังเพื่อร่วมกันพัฒนาโรงเรียนในแนวทางที่เป็นไปตามความต้องการและบริบทของท้องถิ่นอย่างแท้จริงต่อไป
โรงเรียนสังวาลย์วิทยา เดิมใช้ชื่อว่า “โรงเรียนวัดพระธาตุดอยสุเทพ” (ปี 2508 - 2510) มีฐานะเป็นสถานอบรมเด็กในความอุปถัมภ์ของวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร โดยอาศัยศาลาเชิงบันไดวัดเป็นที่เรียน ต่อมานักเรียนมีจำนวนเพิ่มขึ้นสถานที่คับแคบ ความทราบถึงสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์ทรงมีรับสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่ พิจารณาจัดหาสถานที่ตั้งโรงเรียนขึ้นใหม่ โดยให้ตั้งอยู่ระหว่างวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร และพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
รมว.ศึกษาธิการ ย้ำด้วยว่า โรงเรียนทั้งสองแห่ง รวมทั้งโรงเรียนทุกแห่งที่เป็นโครงการในพระราชดำริของพระองค์ ยิ่งควรได้รับการสนับสนุนและพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ และสมพระเกียรติ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 10/2560รมว.ศธ."ธีระเกียรติ" รับฟังปัญหาโรงเรียน ICU ที่เชียงใหม่
โดย ย้ำว่านโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในวันนี้ ต้องการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จะไม่เพิ่มภาระ และจะไม่สั่งการจากหน่วยเหนือลงมา แต่กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะเหมือนกับเป็นเจ้าของโรงพยาบาล ที่จะช่วยดูแลโรงเรียนระดับล่างที่ต้องการได้รับการพัฒนา หรือผู้ป่วยอย่างจริงจัง โดยเริ่มต้นจากปัญหา ไม่ใช่เริ่มจากนโยบายที่ตัดเสื้อตัวเดียวแล้วใช้ทุกโรงเรียนเหมือนที่ผ่านมา
สำหรับโรงเรียน เจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2513 จากทุนทรัพย์พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 50,000 บาท ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ ได้ย้ำว่า ทุกโรงเรียนที่เป็นโครงการในพระราชดำริของพระองค์ ยิ่งควรได้รับการสนับสนุนและพัฒนาให้สมพระเกียรติ
รมว.ศึกษาธิการ ให้ข้อคิดเกี่ยวกับ เด็กด้อยโอกาส โดยกล่าวว่าในประเทศอังกฤษ โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีการสอบคัดเลือกเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษา ยกเว้นโรงเรียนพิเศษจริงๆ เท่านั้น ยิ่งเด็กไม่เก่ง ยิ่งจะต้องได้รับโอกาสได้เรียนกับครูเก่ง ๆ หรือโรงเรียนดี ๆ มากขึ้นเท่านั้น เช่นเดียวกับคนไข้ที่มีอาการหนัก ยิ่งจะต้องได้หมอดีที่วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง และได้ยาที่แรงจึงจะหายได้เร็ว
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น