อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 170/2561
สกศ.จัดประชุม สานพลังการศึกษา เพื่อการปฏิรูปประเทศ
ศาสตราจารย์ คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีเปิดและปาฐกถาพิเศษในการประชุม "สานพลังการศึกษา เพื่อการปฏิรูปประเทศ" จัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ห้องรอยัลจูบิลี่ย์ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี โดยมี ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา และผู้รับผิดชอบด้านนโยบายและแผนของกระทรวงศึกษาการ เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน
ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวรายงานว่า จากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 257 ได้กำหนดให้การปฏิรูปประเทศต้องดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ประกอบด้วย เพื่อให้ประเทศมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุและการพัฒนาด้านจิตใจ ตลอดจนสังคมมีความสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ และประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยให้มีการดำเนินการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล ซึ่งด้านการศึกษาเป็นประเด็นหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการปฏิรูป
ประกอบกับการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561 ได้มีมติเห็นชอบแผนการปฏิรูปประเทศ พร้อมมอบหมายให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พิจารณาจัดทำแผนและโครงการการปฏิรูปของหน่วยงานตลอดจนแผนการดำเนินงานในระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงาน
โดยในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการได้เข้ามามีส่วนร่วมและเป็นกลไกสำคัญของการปฏิรูปประเทศในทุกด้าน ตามภารกิจการจัดการเรียนรู้ของประชาชนทุกช่วงวัยและจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศด้วย
สกศ. จึงได้จัดการประชุมสานพลังการศึกษาเพื่อการปฏิรูปประเทศขึ้น เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจทิศทางการปฏิรูปประเทศแก่หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมร่วมจัดทำแผนให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน
โดยมีกิจกรรมการนำเสนอสาระสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การเสวนา ตลอดจนการบรรยายของผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์, นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา เป็นต้น
นพ.อุดม คชินทร กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้มีทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม จึงเชื่อมั่นว่าทุกท่านมีความมุ่งมั่นตั้งใจและต้องการให้อนาคตของประเทศดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ประชาชนต้องการ ก็คือการดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จ เพราะการศึกษาคือพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และเป็นปัจจัยที่กำหนดอนาคตของประเทศ ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่หลักของกระทรวงศึกษาธิการอยู่แล้ว ที่จะต้องพัฒนาคนในทุกช่วงวัยให้เป็นคนที่มีคุณภาพ
แต่แม้ว่าที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้มีความพยายามที่จะพัฒนาการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน ก็ยังพบว่าหลายด้านต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพ การลดความเหลื่อมล้ำและการให้โอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาค ตลอดจนการสร้างความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจึงได้จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 เพื่อส่งเสริมให้คนไทยได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความต่อเนื่องตลอดชีวิต สร้างทักษะและคุณลักษณะ เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ โดยผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรืออยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อยจะต้องได้รับโอกาสทางการศึกษา เรียกได้ว่า “ความจนจะต้องไม่เป็นอุปสรรคในการเรียน” อีกต่อไป
นอกจากนี้ เพื่อผลิตกำลังคนที่จะไปสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาประเทศให้มีความเจริญหน้า ดังนั้น หากการประชุมเช่นนี้มีความต่อเนื่องและทุกหน่วยงาน “สานพลัง” กันอย่างจริงจัง ก็จะสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อเปลี่ยนแปลงการศึกษาให้กับลูกหลานและประเทศของเราอย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ ขอฝากให้พิจารณาถึงการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา รวมทั้งการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จะเปรียบเสมือนการวางอิฐก้อนแรกเป็นรากฐานในระดับปฐมวัย ย่อมมีผลสัมฤทธิ์ที่ต่อยอดไปยังระดับการศึกษาชั้นต่อ ๆ ไปได้ โดยเน้นการบูรณาการจริง ๆ ไม่มีสังกัด ไม่มีรัฐและเอกชน มีเพียงแต่กระบวนการทำงานและระบบคิด Mindset อย่างผสานเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกัน
สิ่งสำคัญคือ “กระทรวงศึกษาธิการไม่ใช่เจ้าของการศึกษาทั้งประเทศ” จึงต้องการและเปิดรับทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาร่วมกันอย่างจริงจัง
สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยากร ผู้บริหาร และผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษา และร่วมสานพลัง ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ เพื่อผลักดันการปฏิรูปการศึกษาไปสู่คำว่า "คุณภาพ" และ "ประสิทธิภาพ" ทัดเทียมนานาอารยประเทศต่อไป
ข่าวที่ 170/2561
สกศ.จัดประชุม สานพลังการศึกษา เพื่อการปฏิรูปประเทศ
สกศ.จัดประชุม
ศาสตราจารย์ คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีเปิดและปาฐกถาพิเศษในการประชุม "สานพลังการศึกษา เพื่อการปฏิรูปประเทศ" จัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ห้องรอยัลจูบิลี่ย์ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี โดยมี ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา และผู้รับผิดชอบด้านนโยบายและแผนของกระทรวงศึกษาการ เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน
ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวรายงานว่า จากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 257 ได้กำหนดให้การปฏิรูปประเทศต้องดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ประกอบด้วย เพื่อให้ประเทศมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุและการพัฒนาด้านจิตใจ ตลอดจนสังคมมีความสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ และประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยให้มีการดำเนินการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล ซึ่งด้านการศึกษาเป็นประเด็นหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการปฏิรูป
ประกอบกับการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561 ได้มีมติเห็นชอบแผนการปฏิรูปประเทศ พร้อมมอบหมายให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พิจารณาจัดทำแผนและโครงการการปฏิรูปของหน่วยงานตลอดจนแผนการดำเนินงานในระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงาน
โดยในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการได้เข้ามามีส่วนร่วมและเป็นกลไกสำคัญของการปฏิรูปประเทศในทุกด้าน ตามภารกิจการจัดการเรียนรู้ของประชาชนทุกช่วงวัยและจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศด้วย
สกศ. จึงได้จัดการประชุมสานพลังการศึกษาเพื่อการปฏิรูปประเทศขึ้น เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจทิศทางการปฏิรูปประเทศแก่หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมร่วมจัดทำแผนให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน
โดยมีกิจกรรมการนำเสนอสาระสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การเสวนา ตลอดจนการบรรยายของผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์, นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา เป็นต้น
แต่แม้ว่าที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้มีความพยายามที่จะพัฒนาการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน ก็ยังพบว่าหลายด้านต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพ การลดความเหลื่อมล้ำและการให้โอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาค ตลอดจนการสร้างความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจึงได้จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 เพื่อส่งเสริมให้คนไทยได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความต่อเนื่องตลอดชีวิต สร้างทักษะและคุณลักษณะ เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ โดยผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรืออยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อยจะต้องได้รับโอกาสทางการศึกษา เรียกได้ว่า “ความจนจะต้องไม่เป็นอุปสรรคในการเรียน” อีกต่อไป
นอกจากนี้ เพื่อผลิตกำลังคนที่จะไปสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาประเทศให้มีความเจริญหน้า ดังนั้น หากการประชุมเช่นนี้มีความต่อเนื่องและทุกหน่วยงาน “สานพลัง” กันอย่างจริงจัง ก็จะสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อเปลี่ยนแปลงการศึกษาให้กับลูกหลานและประเทศของเราอย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ ขอฝากให้พิจารณาถึงการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา รวมทั้งการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จะเปรียบเสมือนการวางอิฐก้อนแรกเป็นรากฐานในระดับปฐมวัย ย่อมมีผลสัมฤทธิ์ที่ต่อยอดไปยังระดับการศึกษาชั้นต่อ ๆ ไปได้ โดยเน้นการบูรณาการจริง ๆ ไม่มีสังกัด ไม่มีรัฐและเอกชน มีเพียงแต่กระบวนการทำงานและระบบคิด Mindset อย่างผสานเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกัน
สิ่งสำคัญคือ “กระทรวงศึกษาธิการไม่ใช่เจ้าของการศึกษาทั้งประเทศ” จึงต้องการและเปิดรับทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาร่วมกันอย่างจริงจัง
สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยากร ผู้บริหาร และผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษา และร่วมสานพลัง ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ เพื่อผลักดันการปฏิรูปการศึกษาไปสู่คำว่า "คุณภาพ" และ "ประสิทธิภาพ" ทัดเทียมนานาอารยประเทศต่อไป
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น