อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 201/2561
ศธ.จัดประชุมเตรียมความพร้อมรับการประเมิน “PISA" ปี 2018
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการ โครงการประเมินนักเรียนร่วมกับนานาชาติ ประจำปี 2561 “PISA 2018" สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ระดับผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา กว่า 300 คน เมื่อวันพุธที่ 20 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมบางกอก พาเลส กรุงเทพฯ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “PISA” ริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for the Economic Cooperation and Development: OECD) เมื่อปี 2543 เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ด้วยการประเมินความสามารถพื้นฐานด้านการใช้ความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยทำการสุ่มประเมินนักเรียนอายุ 15 ปี อย่างต่อเนื่องทุก 3 ปี ซึ่งเป็นเด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับแล้ว สำหรับสาระสำคัญในการประเมินมี 3 ด้าน ได้แก่ การรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) ซึ่งการสอบแต่ละครั้งจะให้ค่าน้ำหนักการวัดความสามารถแต่ละด้านแตกต่างกันไป
โดยความสำคัญของการเข้าร่วมสอบ PISA คือการวิเคราะห์ผลหลังการสอบ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้มีผลลัพธ์ด้านการจัดการศึกษาที่ดีขึ้น ซึ่งผลการวิเคราะห์คะแนน PISA ของเด็กไทยในแต่ละปี ทำให้ทราบว่าผลการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีต่าง ๆ ได้ผลเป็นอย่างไร มีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการศึกษา และความสามารถในการนำความรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่านไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไรบ้าง ดังนั้น PISA จึงเป็นปรอทวัดผลด้านการจัดการศึกษาที่เชื่อถือได้ มีชื่อเสียงและมีการนำไปใช้ในประเทศต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังเป็นข้อมูลสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณาในด้านอื่นที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาของประเทศนั้น ๆ
สำหรับประเทศไทยที่เข้าร่วมสอบ PISA มาตั้งแต่ปี 2543 ผลการวิเคราะห์พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนน PISA ของเด็กไทยห่างจากประเทศสมาชิก OECD ประมาณ 3 ปีการศึกษา แต่เมื่อวิเคราะห์เจาะลึกลงในรายละเอียด จะพบว่าเด็กไทยที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดของประเทศ อยู่ที่ 550 คะแนน ซึ่งติดอยู่ในอันดับที่ 2-3 ของโลก ในขณะที่เด็กที่ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ที่ 150 คะแนน นั่นก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ยังมีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในกลุ่มเด็กไทยเองมากถึง 7 ปีการศึกษา จึงอาจสรุปได้ว่าการปฏิรูปการศึกษาในด้านต่าง ๆ ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรจะเป็น เพราะในขณะที่เราสร้างเด็กเก่งออกไปแข่งขันในระดับโลกได้จำนวนน้อย แต่ตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการ ช่องว่างของคะแนนซึ่งสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ก็ไม่เคยแคบลงเช่นกัน
ในส่วนของการเข้าร่วมสอบ PISA ปี 2018 ซึ่งให้ค่าน้ำหนักของคะแนนกับการวัดความสามารถ “ด้านการอ่าน” ซึ่งจะเป็นการสะท้อนผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่เข้าร่วม ดังนั้น ขอให้ทุกคนที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ช่วยสร้างแรงกระตุ้นให้กับเด็กที่จะเข้าสอบ พร้อมชี้แนะและสร้างความคุ้นเคยกับการสอบ PISA ด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ วิเคราะห์ข้อสอบย้อนหลังเพื่อจัดทำเป็นคลังข้อสอบ, การเชิญผู้เชี่ยวชาญมาช่วยแนะนำครูให้จัดทำแบบประเมินหรือปรับข้อสอบวิชาต่าง ๆ ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับข้อสอบ PISA เพราะ PISA ไม่ใช่ข้อสอบที่จะติวได้ แต่การสร้างให้เด็กเกิดความคุ้นชินกับข้อสอบแนวนี้ อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลการสอบดีขึ้นก็เป็นได้
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ “การแปลข้อสอบ PISA” เป็นภาษาไทย เพื่อแก้ปัญหาการอ่านข้อสอบไม่เข้าใจของเด็กไทย เพราะมีโครงสร้างภาษาที่แตกต่างออกไปจากเดิม โดยขอให้ PISA Center ช่วยดูแลให้มีการแปลข้อสอบ พร้อมให้ความสำคัญกับการตรวจสอบในเรื่องของภาษาอย่างจริงจังเพื่อความถูกต้องด้วย และหากพบว่าไม่มีการตรวจสอบที่เชื่อถือได้ในภายหลัง ก็อาจไม่ส่งเด็กเข้าร่วมสอบเพื่อประเมินในโครงการ PISA ปี 2018 เพราะผลการสอบที่ออกมา ไม่ได้ส่งผลแค่การวัดผลในระดับนานาชาติเท่านั้น แต่จะเป็นพื้นฐานการประเมินผลการจัดการศึกษาด้านอื่น ๆ ต่อไปด้วย
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า การประชุมในครั้งนี้ได้เชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากโรงเรียนทุกสังกัดที่เข้าร่วมการสอบ PISA 2018 มาร่วมหารือและถอดบทเรียนจากการสอบ PISA ที่ผ่านมา พร้อมทั้งวางแนวทางและเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบ PISA ในอีก 3 ปีข้างหน้า จึงขอให้รับฟังซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือดูแลกันอย่างเต็มที่ เพื่อยกระดับผลคะแนนการสอบของเด็กไทยให้มีแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยที่สูงขึ้น และลดช่องว่างคะแนนสูงสุดกับต่ำสุดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวที่ 201/2561
ศธ.จัดประชุมเตรียมความพร้อมรับการประเมิน “PISA" ปี 2018
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการ โครงการประเมินนักเรียนร่วมกับนานาชาติ ประจำปี 2561 “PISA 2018" สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ระดับผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา กว่า 300 คน เมื่อวันพุธที่ 20 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมบางกอก พาเลส กรุงเทพฯ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “PISA” ริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for the Economic Cooperation and Development: OECD) เมื่อปี 2543 เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ด้วยการประเมินความสามารถพื้นฐานด้านการใช้ความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยทำการสุ่มประเมินนักเรียนอายุ 15 ปี อย่างต่อเนื่องทุก 3 ปี ซึ่งเป็นเด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับแล้ว สำหรับสาระสำคัญในการประเมินมี 3 ด้าน ได้แก่ การรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) ซึ่งการสอบแต่ละครั้งจะให้ค่าน้ำหนักการวัดความสามารถแต่ละด้านแตกต่างกันไป
โดยความสำคัญของการเข้าร่วมสอบ PISA คือการวิเคราะห์ผลหลังการสอบ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้มีผลลัพธ์ด้านการจัดการศึกษาที่ดีขึ้น ซึ่งผลการวิเคราะห์คะแนน PISA ของเด็กไทยในแต่ละปี ทำให้ทราบว่าผลการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีต่าง ๆ ได้ผลเป็นอย่างไร มีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการศึกษา และความสามารถในการนำความรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่านไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไรบ้าง ดังนั้น PISA จึงเป็นปรอทวัดผลด้านการจัดการศึกษาที่เชื่อถือได้ มีชื่อเสียงและมีการนำไปใช้ในประเทศต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังเป็นข้อมูลสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณาในด้านอื่นที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาของประเทศนั้น ๆ
สำหรับประเทศไทยที่เข้าร่วมสอบ PISA มาตั้งแต่ปี 2543 ผลการวิเคราะห์พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนน PISA ของเด็กไทยห่างจากประเทศสมาชิก OECD ประมาณ 3 ปีการศึกษา แต่เมื่อวิเคราะห์เจาะลึกลงในรายละเอียด จะพบว่าเด็กไทยที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดของประเทศ อยู่ที่ 550 คะแนน ซึ่งติดอยู่ในอันดับที่ 2-3 ของโลก ในขณะที่เด็กที่ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ที่ 150 คะแนน นั่นก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ยังมีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในกลุ่มเด็กไทยเองมากถึง 7 ปีการศึกษา จึงอาจสรุปได้ว่าการปฏิรูปการศึกษาในด้านต่าง ๆ ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรจะเป็น เพราะในขณะที่เราสร้างเด็กเก่งออกไปแข่งขันในระดับโลกได้จำนวนน้อย แต่ตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการ ช่องว่างของคะแนนซึ่งสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ก็ไม่เคยแคบลงเช่นกัน
ในส่วนของการเข้าร่วมสอบ PISA ปี 2018 ซึ่งให้ค่าน้ำหนักของคะแนนกับการวัดความสามารถ “ด้านการอ่าน” ซึ่งจะเป็นการสะท้อนผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่เข้าร่วม ดังนั้น ขอให้ทุกคนที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ช่วยสร้างแรงกระตุ้นให้กับเด็กที่จะเข้าสอบ พร้อมชี้แนะและสร้างความคุ้นเคยกับการสอบ PISA ด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ วิเคราะห์ข้อสอบย้อนหลังเพื่อจัดทำเป็นคลังข้อสอบ, การเชิญผู้เชี่ยวชาญมาช่วยแนะนำครูให้จัดทำแบบประเมินหรือปรับข้อสอบวิชาต่าง ๆ ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับข้อสอบ PISA เพราะ PISA ไม่ใช่ข้อสอบที่จะติวได้ แต่การสร้างให้เด็กเกิดความคุ้นชินกับข้อสอบแนวนี้ อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลการสอบดีขึ้นก็เป็นได้
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ “การแปลข้อสอบ PISA” เป็นภาษาไทย เพื่อแก้ปัญหาการอ่านข้อสอบไม่เข้าใจของเด็กไทย เพราะมีโครงสร้างภาษาที่แตกต่างออกไปจากเดิม โดยขอให้ PISA Center ช่วยดูแลให้มีการแปลข้อสอบ พร้อมให้ความสำคัญกับการตรวจสอบในเรื่องของภาษาอย่างจริงจังเพื่อความถูกต้องด้วย และหากพบว่าไม่มีการตรวจสอบที่เชื่อถือได้ในภายหลัง ก็อาจไม่ส่งเด็กเข้าร่วมสอบเพื่อประเมินในโครงการ PISA ปี 2018 เพราะผลการสอบที่ออกมา ไม่ได้ส่งผลแค่การวัดผลในระดับนานาชาติเท่านั้น แต่จะเป็นพื้นฐานการประเมินผลการจัดการศึกษาด้านอื่น ๆ ต่อไปด้วย
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า การประชุมในครั้งนี้ได้เชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากโรงเรียนทุกสังกัดที่เข้าร่วมการสอบ PISA 2018 มาร่วมหารือและถอดบทเรียนจากการสอบ PISA ที่ผ่านมา พร้อมทั้งวางแนวทางและเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบ PISA ในอีก 3 ปีข้างหน้า จึงขอให้รับฟังซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือดูแลกันอย่างเต็มที่ เพื่อยกระดับผลคะแนนการสอบของเด็กไทยให้มีแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยที่สูงขึ้น และลดช่องว่างคะแนนสูงสุดกับต่ำสุดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น