อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 176/2561
Thailand - Japan Student Science Fair 2018
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานประชุมวิชาการ Thailand - Japan Student Science Fair 2018 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2561 ณ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก โดยมี ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น ผู้บริหารจาก National Institute of Technology (KOSEN) คณาจารย์ และนักเรียนจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำทั่วประเทศ ร่วมเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จฯ
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กราบบังคมทูลรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน ดังนี้ ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยผู้มาเฝ้าทูลละอองพระบาทอยู่ ณ ที่นี้ มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ใต้ฝ่าละอองพระบาท เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดงานประชุมวิชาการ Thailand - Japan Student Science Fair 2018 ในครั้งนี้
การจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้นักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียนที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยและญี่ปุ่น ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน พัฒนาคุณภาพและศักยภาพของโรงเรียนให้มีมาตรฐานเทียบเท่าโรงเรียนที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำของนานาชาติ เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติและสังคมโลกต่อไปในอนาคต
งานประชุมวิชาการนี้ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ เป็นนักเรียนจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์และโรงเรียนที่เน้นการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย รวมทั้งกลุ่มโรงเรียน Super Science High School ประเทศญี่ปุ่น และนักเรียนจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติญี่ปุ่น (KOSEN) จำนวน 324 คน นำเสนอโครงงานและร่วมกิจกรรมทางวิชาการ โดยมีผู้บริหาร ครู นักเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดงานประชุมวิชาการนี้จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 1,200 คน ซึ่งการประชุมวิชาการ Thailand - Japan Student Science Fair 2018 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 - 9 มิถุนายน 2561 โดยมีกิจกรรมหลักดังนี้
1) กิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกของนักเรียนไทย และนักเรียนจาก Super Science High School และสถาบัน KOSEN
2) กิจกรรมการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น
3) กิจกรรมการบรรยายพิเศษของนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย
4) กิจกรรมวิทยาศาสตร์ Science Walk Rally
5) กิจกรรมดาราศาสตร์
6) กิจกรรมศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร พิษณุโลก, ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกและวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร
7) กิจกรรมสัมมนาครูและผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนและการบริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของครูและผู้บริหารโรงเรียน
บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นอุดมมงคลฤกษ์แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระราชานุญาตกราบบังคมทูลใต้ฝ่าละอองพระบาท พระราชทานพระราชดำรัสเปิดงานประชุมวิชาการ Thailand - Japan Student Science Fair 2018 เพื่อเป็นสิริสวัสดิ์ พิพัฒน์มงคล แก่ปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายสืบไป จากนั้น ขอพระราชทานพระราชานุญาตกราบบังคมทูลเชิญใต้ฝ่าละอองพระบาท ทอดพระเนตรวีดิทัศน์ แนะนำการประชุมวิชาการ Thailand - Japan Student Science Fair 2018 และการแสดงชุดฟ้อนอวยพรของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก ตลอดจนขอพระราชทานพระราชานุญาตเบิกตัวนักเรียนไทยและนักเรียนญี่ปุ่น กราบบังคมทูลเสนอโครงงาน จำนวน 2 โครงงาน เป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งขอพระราชทานพระราชานุญาตเบิกตัวนักวิทยาศาสตร์ประเทศญี่ปุ่นบรรยายพิเศษ ขอพระราชทานพระราชานุญาตฉายพระฉายาลักษณ์ร่วมกับคณะกรรมการจัดงาน และขอพระราชทานกราบบังคมทูลเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงงานนักเรียนแบบ Poster จำนวน 30 โครงงาน ณ อาคารหอสมุด เป็นลำดับต่อไป
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
รมช.ศึกษาธิการ เผยภายหลังพิธีเปิดการประชุมฯ ว่า ไทยได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาประเทศญี่ปุ่น ในการแลกเปลี่ยนนักเรียน ครูอาจารย์ รวมทั้งจัดประชุมวิชาการร่วมกัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการยกระดับความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ ด้วยการส่งเสริมให้เด็กมีแนวคิดด้านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างนวัตกรรมที่มีมูลค่า สร้างรายได้ให้กับประเทศ และสามารถพึ่งพาตนเองได้
กิจกรรมหนึ่งที่สำคัญในการประชุมวิชาการครั้งนี้ คือ การนำเสนอโครงงานด้านเกษตร นวัตกรรม ตลอดจนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนไทยและญี่ปุ่น ซึ่งนำเสนอได้ดีมาก เป็นการแสดงให้เห็นถึงการมีระบบความคิด การตั้งคำถาม ตลอดจนการค้นคว้าหาความรู้เพื่อให้ได้คำตอบ ผสานเข้ากับความคิดเชิงสร้างสรรค์ เชื่อว่าจะช่วยจุดประกายให้เด็กนักเรียนไทยที่เข้าร่วมงาน ได้เรียนรู้และต่อยอดสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยต่อไป
ซึ่งต้องยอมรับว่า โลกในยุคปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นหลัก กระทรวงศึกษาธิการจึงได้วางพื้นฐานเน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสถานศึกษามาโดยตลอด อาทิ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เป็นต้น พร้อมมีแนวทางที่จะขยายไปยังโรงเรียนอื่น ๆ ในรูปแบบ STEM Education ด้วยการตั้งคำถามเพื่อให้เด็กคิดวิเคราะห์และหาคำตอบ หรือค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ด้วยหลักเหตุผลตามแนวทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการดำเนินเหล่านี้ต้องอาศัยระยะเวลานานกว่าจะเห็นผล จึงจำเป็นต้องวางรากฐานและปลูกฝังตั้งแต่ยังเด็ก และหากดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากจะช่วยปรับเปลี่ยนการเรียนจากการท่องจำแล้ว ยังทำให้เด็กคิดเป็นและสามารถวิเคราะห์ได้อีกด้วย เท่ากับว่าจะส่งผลต่อความเข้มแข็งและคุณภาพของการศึกษาไทยในทุกพื้นที่ในอนาคต
นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า การดำเนินงานของกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ถือเป็นการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง โดยขณะนี้มีนักเรียนจากกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยได้ทุนจากรัฐบาลไทย จำนวน 11 คน เพื่อศึกษาต่อที่สถาบัน KOSEN ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเปิดสอนอยู่กว่า 50 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นสถาบันการศึกษาด้านนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีชั้นสูง เป็นแหล่งผลิตวิศวกร นวัตกร และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีให้กับประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้อย่างไม่หยุดยั้ง ในส่วนของประเทศไทย ก็มีแนวคิดในการจัดตั้งสถานศึกษาในลักษณะดังกล่าว ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาระเบียบและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มจัดตั้งโรงเรียนฐานวิทยาศาสตร์ในจังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และอาจตั้งชื่อว่า "โรงเรียนเตรียมนวัตกร"
ข่าวที่ 176/2561
Thailand - Japan Student Science Fair 2018
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานประชุมวิชาการ Thailand - Japan Student Science Fair 2018 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2561 ณ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก โดยมี ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น ผู้บริหารจาก National Institute of Technology (KOSEN) คณาจารย์ และนักเรียนจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำทั่วประเทศ ร่วมเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จฯ
การจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้นักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียนที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยและญี่ปุ่น ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน พัฒนาคุณภาพและศักยภาพของโรงเรียนให้มีมาตรฐานเทียบเท่าโรงเรียนที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำของนานาชาติ เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติและสังคมโลกต่อไปในอนาคต
งานประชุมวิชาการนี้ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ เป็นนักเรียนจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์และโรงเรียนที่เน้นการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย รวมทั้งกลุ่มโรงเรียน Super Science High School ประเทศญี่ปุ่น และนักเรียนจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติญี่ปุ่น (KOSEN) จำนวน 324 คน นำเสนอโครงงานและร่วมกิจกรรมทางวิชาการ โดยมีผู้บริหาร ครู นักเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดงานประชุมวิชาการนี้จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 1,200 คน ซึ่งการประชุมวิชาการ Thailand - Japan Student Science Fair 2018 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 - 9 มิถุนายน 2561 โดยมีกิจกรรมหลักดังนี้
1) กิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกของนักเรียนไทย และนักเรียนจาก Super Science High School และสถาบัน KOSEN
2) กิจกรรมการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น
3) กิจกรรมการบรรยายพิเศษของนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย
4) กิจกรรมวิทยาศาสตร์ Science Walk Rally
5) กิจกรรมดาราศาสตร์
6) กิจกรรมศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร พิษณุโลก, ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกและวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร
7) กิจกรรมสัมมนาครูและผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนและการบริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของครูและผู้บริหารโรงเรียน
2) กิจกรรมการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น
3) กิจกรรมการบรรยายพิเศษของนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย
4) กิจกรรมวิทยาศาสตร์ Science Walk Rally
5) กิจกรรมดาราศาสตร์
6) กิจกรรมศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร พิษณุโลก, ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกและวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร
7) กิจกรรมสัมมนาครูและผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนและการบริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของครูและผู้บริหารโรงเรียน
บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นอุดมมงคลฤกษ์แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระราชานุญาตกราบบังคมทูลใต้ฝ่าละอองพระบาท พระราชทานพระราชดำรัสเปิดงานประชุมวิชาการ Thailand - Japan Student Science Fair 2018 เพื่อเป็นสิริสวัสดิ์ พิพัฒน์มงคล แก่ปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายสืบไป จากนั้น ขอพระราชทานพระราชานุญาตกราบบังคมทูลเชิญใต้ฝ่าละอองพระบาท ทอดพระเนตรวีดิทัศน์ แนะนำการประชุมวิชาการ Thailand - Japan Student Science Fair 2018 และการแสดงชุดฟ้อนอวยพรของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก ตลอดจนขอพระราชทานพระราชานุญาตเบิกตัวนักเรียนไทยและนักเรียนญี่ปุ่น กราบบังคมทูลเสนอโครงงาน จำนวน 2 โครงงาน เป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งขอพระราชทานพระราชานุญาตเบิกตัวนักวิทยาศาสตร์ประเทศญี่ปุ่นบรรยายพิเศษ ขอพระราชทานพระราชานุญาตฉายพระฉายาลักษณ์ร่วมกับคณะกรรมการจัดงาน และขอพระราชทานกราบบังคมทูลเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงงานนักเรียนแบบ Poster จำนวน 30 โครงงาน ณ อาคารหอสมุด เป็นลำดับต่อไป
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
รมช.ศึกษาธิการ เผยภายหลังพิธีเปิดการประชุมฯ ว่า ไทยได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาประเทศญี่ปุ่น ในการแลกเปลี่ยนนักเรียน ครูอาจารย์ รวมทั้งจัดประชุมวิชาการร่วมกัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการยกระดับความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ ด้วยการส่งเสริมให้เด็กมีแนวคิดด้านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างนวัตกรรมที่มีมูลค่า สร้างรายได้ให้กับประเทศ และสามารถพึ่งพาตนเองได้
กิจกรรมหนึ่งที่สำคัญในการประชุมวิชาการครั้งนี้ คือ การนำเสนอโครงงานด้านเกษตร นวัตกรรม ตลอดจนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนไทยและญี่ปุ่น ซึ่งนำเสนอได้ดีมาก เป็นการแสดงให้เห็นถึงการมีระบบความคิด การตั้งคำถาม ตลอดจนการค้นคว้าหาความรู้เพื่อให้ได้คำตอบ ผสานเข้ากับความคิดเชิงสร้างสรรค์ เชื่อว่าจะช่วยจุดประกายให้เด็กนักเรียนไทยที่เข้าร่วมงาน ได้เรียนรู้และต่อยอดสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยต่อไป
ซึ่งต้องยอมรับว่า โลกในยุคปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นหลัก กระทรวงศึกษาธิการจึงได้วางพื้นฐานเน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสถานศึกษามาโดยตลอด อาทิ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เป็นต้น พร้อมมีแนวทางที่จะขยายไปยังโรงเรียนอื่น ๆ ในรูปแบบ STEM Education ด้วยการตั้งคำถามเพื่อให้เด็กคิดวิเคราะห์และหาคำตอบ หรือค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ด้วยหลักเหตุผลตามแนวทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการดำเนินเหล่านี้ต้องอาศัยระยะเวลานานกว่าจะเห็นผล จึงจำเป็นต้องวางรากฐานและปลูกฝังตั้งแต่ยังเด็ก และหากดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากจะช่วยปรับเปลี่ยนการเรียนจากการท่องจำแล้ว ยังทำให้เด็กคิดเป็นและสามารถวิเคราะห์ได้อีกด้วย เท่ากับว่าจะส่งผลต่อความเข้มแข็งและคุณภาพของการศึกษาไทยในทุกพื้นที่ในอนาคต
นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า การดำเนินงานของกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ถือเป็นการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง โดยขณะนี้มีนักเรียนจากกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยได้ทุนจากรัฐบาลไทย จำนวน 11 คน เพื่อศึกษาต่อที่สถาบัน KOSEN ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเปิดสอนอยู่กว่า 50 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นสถาบันการศึกษาด้านนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีชั้นสูง เป็นแหล่งผลิตวิศวกร นวัตกร และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีให้กับประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้อย่างไม่หยุดยั้ง ในส่วนของประเทศไทย ก็มีแนวคิดในการจัดตั้งสถานศึกษาในลักษณะดังกล่าว ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาระเบียบและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มจัดตั้งโรงเรียนฐานวิทยาศาสตร์ในจังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และอาจตั้งชื่อว่า "โรงเรียนเตรียมนวัตกร"
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น