อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 197/2561
รมว.ศธ.ลงพื้นที่ EEC ที่ชลบุรี
หารือแนวทางสร้างนักนวัตกร และ โรงเรียนเตรียมนวัตกร ของไทย
รมว.ศีกษาธิการ ลงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่ชลบุรี หารือการจัดตั้ง "โรงเรียนเตรียมนวัตกร" ในพื้นที่ EEC พร้อมเริ่มต้นสร้าง "นักนวัตกร" ของไทยไปเรียนหลักสูตรมาตรฐาน KOSEN ที่ญี่ปุ่น ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 ปีละ 80 คนเป็นเวลา 5 ปี จบแล้วกลับมาพัฒนาเด็กรุ่นหลัง ส่วนเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นแนะไทยต้องมีสถาบัน KOSEN เพื่อให้ประเทศสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยพื้นที่ EEC เหมาะสมที่สุด
เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2561 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่จังหวัดชลบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมและหารือแนวทางการดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนเตรียมนวัตกร ณ โรงเรียนหนองรีมงคลสุขสวัสดิ์ และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ชลบุรี และปาฐกถาพิเศษ "Smart Education and Human Resource Development Policy in EEC" ที่สถาบันไทย-เยอรมัน นิคมอมตะซิตี้
● ตรวจเยี่ยมโรงเรียนหนองรีมงคลสุขสวัสดิ์ อ.เมืองชลบุรี และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ชลบุรี อ.พานทอง
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวภายหลังการประชุมหารือในระหว่างตรวจเยี่ยมสถานศึกษาดังกล่าวว่า มีเรื่องสำคัญ 2 ประเด็น คือ
1) การส่งนักเรียนไปเรียนหลักสูตรมาตรฐานโคเซ็นที่ญี่ปุ่น เพื่อผลิตนักนวัตกร
เนื่องจากโครงการเงินกู้ของไจก้า (องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น) ผ่านมติที่ประชุม ครม. แล้ว วงเงินประมาณ 3,500 ล้านบาท โดยเป็นของรัฐบาลไทย 800 ล้านบาท และญี่ปุ่น 2,700 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านั้นรายละเอียดการของบประมาณยังไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของไจก้านัก จึงได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดดังกล่าวเพื่อให้งบประมาณถึงตัวเด็กโคเซ็น (KOSEN) โดยตรง ทั้งนี้เป้าหมายสำคัญของไจก้าคือต้องการทำโครงการโคเซ็นให้สำเร็จ โดยต้องทำความเข้าใจก่อนว่า "โคเซ็นไม่ใช่อาชีวศึกษาขั้นสูง แต่โคเซ็นคือ การเตรียมนวัตกร"
ทั้งนี้ จากการเจรจากับญี่ปุ่นหลายครั้ง ได้ข้อสรุปว่าญี่ปุ่นพร้อมจะรับเด็กไทยไปเรียนที่สถาบันโคเซ็นประเทศญี่ปุ่น จำนวน 80 คนต่อปี หรือจำนวน 400 คนในระยะเวลา 5 ปี ใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 7 ปี ดังนั้นในอีก 7 ปีข้างหน้าเราจะมีนักเรียนที่จบโคเซ็นปีละ 80 คน และในอนาคตเด็กกลุ่มนี้จะกลับมาเป็นครูเพื่อสอนเด็กโคเซ็นของประเทศไทยในรุ่นหลัง
ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายจะเป็นนักเรียนที่จบชั้น ม. 3 มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และมุ่งมั่นที่จะเป็นนักนวัตกร โดยจะฝากสอบกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปีการศึกษา 2562 หากเด็กสามารถสอบได้ตามมาตรฐานโคเซ็นและมีคุณสมบัติครบถ้วน จะได้รับทุนไปเรียนที่สถาบันโคเซ็นประเทศญี่ปุ่นทันที
2) ญี่ปุ่นเห็นว่าไทยควรมีสถาบันโคเซ็นเป็นของตนเอง เพื่อให้ประเทศสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง ดังนั้นขณะที่เราส่งเด็กไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่น จึงควรมีการสร้างโรงเรียนเรียนเตรียมนวัตกรไว้เพื่อรองรับเด็กของเราเองด้วย โดยทางญี่ปุ่นเสนอว่า โรงเรียนเตรียมนวัตกรนั้น ควรอยู่ในพื้นที่ EEC เพื่อรับโจทย์จากพื้นที่แถบนี้ได้ง่าย
สำหรับโรงเรียนหนองรีมงคลสุขสวัสดิ์ เป็นสถานที่แรกที่ได้มาดูความพร้อม เนื่องจากอีก 2-3 ปีข้างหน้าจำนวนเด็กมัธยมปลายจะลดจำนวนลงเรื่อย ๆ ปัจจัยด้านสถานที่ก็จะเอื้อให้สามารถจัดการเรียนการสอนเตรียมนวัตกรได้ วันนี้จึงมาดูว่าที่นี่เหมาะสมที่จะสร้างเป็นโรงเรียนเตรียมนวัตกรหรือไม่
ขณะที่หลายฝ่ายบอกว่าประเทศไทยมีโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว แต่โรงเรียนวิทยาศาสตร์ของเรานั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เตรียมนวัตกร เมื่อเด็กเรียนจบแล้วส่วนใหญ่จึงไปเรียนต่อแพทย์ เราต้องการโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนเตรียมนวัตกรจริง ๆ เน้นการเรียนอย่างเข้มข้น เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ดิจิทัลใหม่ ๆ การผลิต เทคโนโลยี หุ่นยนต์ เป็นต้น โดยในช่วงแรกของโรงเรียนเตรียมนวัตกร ทางญี่ปุ่นจะเข้ามาช่วยเหลือเต็มที่
ส่วนการที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เข้ามาเกี่ยวข้องนั้น เนื่องจากทางญี่ปุ่นได้เริ่มลงทุนโคเซ็นกับสถาบันอาชีวศึกษามาแล้ว 1 ปี จำนวน 2 แห่งแห่งละ 20 คน ที่ผ่านมาพบปัญหาว่าครูเป็นครูช่างไม่ใช่ครูเตรียมนวัตกร ทำให้เด็กทั้ง 40 คนนี้แทนที่จะเป็นนักนวัตกร แต่จะกลายเป็นช่างฝีมือดีไปเสียก่อน หากไม่ต้องการให้เด็กเหล่านี้เสียของ ก็ต้องช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไร ถ้าอาชีวศึกษาไม่สามารถหาครูเก่ง ๆ มาสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์อย่างเข้มข้นได้ ทางญี่ปุ่นก็อยากให้เด็กกลุ่มนี้มีทางเลือก โดยอาจจะให้มาเรียนที่โรงเรียนเตรียมนวัตกรของไทยหรือส่งไปเรียนโคเซ็นที่ญี่ปุ่น ทั้งนี้จะมีการศึกษาถึงรายละเอียดเพิ่มเติมกันต่อไป
H.E. Mr.Shiro Sadoshima เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า ช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมอย่างมาก แต่โลกก็เปลี่ยนเร็วกว่าที่เราคิดมากเช่นกัน ทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นต่างประสบความท้าทายในการรับมือความเปลี่ยนแปลง ทางญี่ปุ่นเองให้ความสำคัญกับด้านการศึกษาเป็นอย่างมากและมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับประเทศไทยอย่างเต็มที่ โดยพื้นที่ EEC มีสถานประกอบการของญี่ปุ่นมาลงทุนมาก จึงน่าจะสามารถทำงานร่วมกันได้มากที่สุด
พร้อมทั้งฝากข้อคิดว่า "เราต้องคิดว่าเราเปลี่ยนเพื่อใคร อย่าคิดว่าเราเปลี่ยนเพื่อตัวเราเอง แต่ทั้งหมดที่เราทำนั้นเพื่อประเทศของเรา" ไทยและญี่ปุ่นจึงต้องร่วมมือกันเตรียมความพร้อมรับเปลี่ยนแปลงและเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวที่ 197/2561
รมว.ศธ.ลงพื้นที่ EEC ที่ชลบุรี
หารือแนวทางสร้างนักนวัตกร และ โรงเรียนเตรียมนวัตกร ของไทย
รมว.ศธ.ลงพื้นที่ EEC ที่ชลบุรี
หารือแนวทางสร้างนักนวัตกร และ
รมว.ศีกษาธิการ ลงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่ชลบุรี หารือการจัดตั้ง "โรงเรียนเตรียมนวัตกร" ในพื้นที่ EEC พร้อมเริ่มต้นสร้าง "นักนวัตกร" ของไทยไปเรียนหลักสูตรมาตรฐาน KOSEN ที่ญี่ปุ่น ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 ปีละ 80 คนเป็นเวลา 5 ปี จบแล้วกลับมาพัฒนาเด็กรุ่นหลัง ส่วนเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นแนะไทยต้องมีสถาบัน KOSEN เพื่อให้ประเทศสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยพื้นที่ EEC เหมาะสมที่สุด
เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2561 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่จังหวัดชลบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมและหารือแนวทางการดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนเตรียมนวัตกร ณ โรงเรียนหนองรีมงคลสุขสวัสดิ์ และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ชลบุรี และปาฐกถาพิเศษ "Smart Education and Human Resource Development Policy in EEC" ที่สถาบันไทย-เยอรมัน นิคมอมตะซิตี้
● ตรวจเยี่ยมโรงเรียนหนองรีมงคลสุขสวัสดิ์ อ.เมืองชลบุรี และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ชลบุรี อ.พานทอง
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวภายหลังการประชุมหารือในระหว่างตรวจเยี่ยมสถานศึกษาดังกล่าวว่า มีเรื่องสำคัญ 2 ประเด็น คือ
1) การส่งนักเรียนไปเรียนหลักสูตรมาตรฐานโคเซ็นที่ญี่ปุ่น เพื่อผลิตนักนวัตกร
เนื่องจากโครงการเงินกู้ของไจก้า (องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น) ผ่านมติที่ประชุม ครม. แล้ว วงเงินประมาณ 3,500 ล้านบาท โดยเป็นของรัฐบาลไทย 800 ล้านบาท และญี่ปุ่น 2,700 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านั้นรายละเอียดการของบประมาณยังไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของไจก้านัก จึงได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดดังกล่าวเพื่อให้งบประมาณถึงตัวเด็กโคเซ็น (KOSEN) โดยตรง ทั้งนี้เป้าหมายสำคัญของไจก้าคือต้องการทำโครงการโคเซ็นให้สำเร็จ โดยต้องทำความเข้าใจก่อนว่า "โคเซ็นไม่ใช่อาชีวศึกษาขั้นสูง แต่โคเซ็นคือ การเตรียมนวัตกร"
2) ญี่ปุ่นเห็นว่าไทยควรมีสถาบันโคเซ็นเป็นของตนเอง เพื่อให้ประเทศสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง ดังนั้นขณะที่เราส่งเด็กไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่น จึงควรมีการสร้างโรงเรียนเรียนเตรียมนวัตกรไว้เพื่อรองรับเด็กของเราเองด้วย โดยทางญี่ปุ่นเสนอว่า โรงเรียนเตรียมนวัตกรนั้น ควรอยู่ในพื้นที่ EEC เพื่อรับโจทย์จากพื้นที่แถบนี้ได้ง่าย
สำหรับโรงเรียนหนองรีมงคลสุขสวัสดิ์ เป็นสถานที่แรกที่ได้มาดูความพร้อม เนื่องจากอีก 2-3 ปีข้างหน้าจำนวนเด็กมัธยมปลายจะลดจำนวนลงเรื่อย ๆ ปัจจัยด้านสถานที่ก็จะเอื้อให้สามารถจัดการเรียนการสอนเตรียมนวัตกรได้ วันนี้จึงมาดูว่าที่นี่เหมาะสมที่จะสร้างเป็นโรงเรียนเตรียมนวัตกรหรือไม่
ขณะที่หลายฝ่ายบอกว่าประเทศไทยมีโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว แต่โรงเรียนวิทยาศาสตร์ของเรานั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เตรียมนวัตกร เมื่อเด็กเรียนจบแล้วส่วนใหญ่จึงไปเรียนต่อแพทย์ เราต้องการโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนเตรียมนวัตกรจริง ๆ เน้นการเรียนอย่างเข้มข้น เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ดิจิทัลใหม่ ๆ การผลิต เทคโนโลยี หุ่นยนต์ เป็นต้น โดยในช่วงแรกของโรงเรียนเตรียมนวัตกร ทางญี่ปุ่นจะเข้ามาช่วยเหลือเต็มที่
ส่วนการที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เข้ามาเกี่ยวข้องนั้น เนื่องจากทางญี่ปุ่นได้เริ่มลงทุนโคเซ็นกับสถาบันอาชีวศึกษามาแล้ว 1 ปี จำนวน 2 แห่งแห่งละ 20 คน ที่ผ่านมาพบปัญหาว่าครูเป็นครูช่างไม่ใช่ครูเตรียมนวัตกร ทำให้เด็กทั้ง 40 คนนี้แทนที่จะเป็นนักนวัตกร แต่จะกลายเป็นช่างฝีมือดีไปเสียก่อน หากไม่ต้องการให้เด็กเหล่านี้เสียของ ก็ต้องช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไร ถ้าอาชีวศึกษาไม่สามารถหาครูเก่ง ๆ มาสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์อย่างเข้มข้นได้ ทางญี่ปุ่นก็อยากให้เด็กกลุ่มนี้มีทางเลือก โดยอาจจะให้มาเรียนที่โรงเรียนเตรียมนวัตกรของไทยหรือส่งไปเรียนโคเซ็นที่ญี่ปุ่น ทั้งนี้จะมีการศึกษาถึงรายละเอียดเพิ่มเติมกันต่อไป
H.E. Mr.Shiro Sadoshima เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า ช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมอย่างมาก แต่โลกก็เปลี่ยนเร็วกว่าที่เราคิดมากเช่นกัน ทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นต่างประสบความท้าทายในการรับมือความเปลี่ยนแปลง ทางญี่ปุ่นเองให้ความสำคัญกับด้านการศึกษาเป็นอย่างมากและมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับประเทศไทยอย่างเต็มที่ โดยพื้นที่ EEC มีสถานประกอบการของญี่ปุ่นมาลงทุนมาก จึงน่าจะสามารถทำงานร่วมกันได้มากที่สุด
พร้อมทั้งฝากข้อคิดว่า "เราต้องคิดว่าเราเปลี่ยนเพื่อใคร อย่าคิดว่าเราเปลี่ยนเพื่อตัวเราเอง แต่ทั้งหมดที่เราทำนั้นเพื่อประเทศของเรา" ไทยและญี่ปุ่นจึงต้องร่วมมือกันเตรียมความพร้อมรับเปลี่ยนแปลงและเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น