อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 179/2561 รมช.ศธ." นพ.อุดม คชินทร " ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2 ก่อนประชุม ครม.สัญจร ที่นครสวรรค์
ศาสตราจารย์ คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลด้านการอุดมศึกษา โดย ตรวจเยี่ยมมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวัดคลองคาง เมื่อวันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน 2561 ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 4/2561 พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2 ( นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร และอุทัยธานี ณ จังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ 12 มิถุนายน 2561
-
ตรวจเยี่ยม ม.เจ้าพระยา "สถาบันแห่งโอกาส สร้างกำลังคนภาคเหนือตอนล่าง"
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร มอบนโยบายและตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานด้านการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีนายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา, นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา, นายพีระ รัตนวิจิตร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นางสาวอุษณีย์ ธโนศวรรย์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, อ.ดร.ดารัตน์ ศิริวิริยะกุล วิภาตะกลัศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ตลอดจนผู้บริหารหน่วยงาน/สถานศึกษา ข้าราชการ และนักศึกษา ร่วมรับฟังนโยบาย
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเจ้าพระยาเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของจังหวัดนครสวรรค์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2541 มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง ตามเจตนารมณ์ของการเป็น "มหาวิทยาลัยผู้ให้" ปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี-โท-เอก โดยมีหลักการดำเนินงานที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1) ส่งเสริมให้ลูกหลานของประชาชนได้รับการศึกษาจนถึงระดับปริญญาตรี โดยไม่แลกความสำเร็จในชีวิตกับความทุกข์ยากของพ่อแม่ กล่าวคือ ความยากจนไม่ใช่อุปสรรคของการเรียน ดังนั้น จะไม่มีนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาที่ออกกลางคันเนื่องจากมีปัญหาด้านการเงินหรือไม่มีเงินเรียนหนังสือ โดยมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาและพันธมิตรได้มอบทุนการศึกษาเพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาปีละประมาณ 16 ล้านบาท ถือเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครอง
2) มหาวิทยาลัยเจ้าพระยามีเครือข่ายกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมและพันธมิตรระดับโลกที่เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นสถานที่ฝึกงานสำหรับนักศึกษา อีกทั้งยังสามารถรองรับนักศึกษาเข้าทำงานหลังจบการศึกษาได้
3) ดูแลลูกหลานนักศึกษาเสมือนดูแลลูกของตนเอง ซึ่งมหาวิทยาลัยเจ้าพระยามีนโยบายให้ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร ช่วยเหลือและดูแลลูกศิษย์ให้เหมือนการดูแลลูกของตนเอง จึงทำให้เกิดความผูกพันระหว่างผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษา และส่งผลให้จัดการศึกษาได้ง่ายขึ้น
4) ตั้งมั่นในการเป็นมหาวิทยาลัยของคนต่างจังหวัดเพื่อสร้างเด็กต่างจังหวัดให้เป็นมีความเป็นสากล มีความพร้อมทั้งในโลกของการเรียนและการทำงาน รวมทั้งสามารถดูแลตนเองและครอบครัวได้
จากการที่ได้รับฟังข้อมูลผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยานั้น ขอชื่นชม ม.เจ้าพระยา ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นมหาวิทยาลัยของคนในท้องถิ่น โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตามเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ที่เริ่มต้นจากคำว่า "ผู้ให้" ม.เจ้าพระยะจึงกลายเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างโอกาสให้กับคนในพื้นที่ อีกทั้งผู้บริหารและครูอาจารย์ต่างเข้าใจและตั้งใจดูแลลูกศิษย์เหมือนลูกหลานตนเอง ซึ่งถือเป็นการดำเนินงานที่งดงามมาก เป็นสิ่งมีค่าที่เด็กได้รับมากกว่าการศึกษา เพราะนี่คือหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของสถาบันการศึกษาในการสร้างคนเก่ง คนดี และเป็นคนที่มีประโยชน์ต่อสังคมประเทศชาติ
นอกจากนี้ ควรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านการศึกษาที่ไม่ควรมีเส้นแบ่งเขตระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เนื่องจากต้องยอมรับว่าโลกในยุคปัจจุบัน เรากำลังเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ มากมาย สถาบันการศึกษาเองก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น อัตราการเกิดน้อยลงส่งผลให้จำนวนนักศึกษาเข้าเรียนมหาวิทยาลัยลดลงตามลำดับ รูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น หากสถาบันการศึกษาภาครัฐและภาคเอกชนไม่ร่วมมือกันก็จะทำให้การบูรณาการด้านต่าง ๆ ทำได้ยากขึ้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีทั้งความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต
ในส่วนของกระบวนการเรียนรู้ของคนในยุคปัจจุบันนั้น เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านโลกออนไลน์ และเรียนรู้ได้อย่างอัตโนมัติ ทำให้การเรียนการสอนแบบเป็นทางการในทุกระดับลดความสำคัญลง มหาวิทยาลัยจึงต้องคิดทบทวนว่าจะถ่ายทอดหรือบ่มเพาะเด็กให้สามารถเปลี่ยนชีวิตตนเองได้อย่างไร เพื่อให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งมีทักษะการสื่อสารกับผู้อื่นได้ ตลอดจนมีความร่วมมือกับผู้อื่นและร่วมกันพัฒนาศักยภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นทักษะที่ติดตัวผู้เรียนไปตลอด
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้เด็กนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เปลี่ยนระบบการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นการเรียนของจริงสถานที่จริงให้มากขึ้น ไม่ใช่เรียนแต่ในห้องเรียน กล่าวคือ สถาบันการศึกษาต้องผสานความร่วมมือกับภาคเอกชนและสถานประกอบการในการเข้ามามีส่วนร่วมจัดการเรียนการสอน พร้อมทั้งสนับสนุนสถานที่ฝึกประสบการณ์และการทำงาน เช่น หลักสูตรสหกิจศึกษา การเรียนแบบ Work Integrated Learning (WIL) นอกเหนือจากความร่วมมือกับภาคเอกชนแล้ว สถาบันอุดมศึกษาต้องรู้ตัวตนว่ามีจุดแข็งหรือมีความเป็นเลิศด้านใด และนำสิ่งนั้นมาเป็นจุดขาย เพื่อเชิญชวนให้เด็กเข้ามาเรียนมากขึ้น
-
ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ ชำนาญกิจ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พร้อมด้วยผู้บริหาร และอาจารย์ร่วมให้การต้อนรับ
นพ.อุดม คชินทร กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏมีการกระจายตัวในท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก จึงถือเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถเขื่อมโยงกับท้องถิ่นได้ดี ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส เกี่ยวกับแนวทางเรื่องการศึกษาหลายเรื่อง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฎ โดยทรงมีพระราชกระแสแนะนำผ่านองคมนตรี ในการส่งเสริมพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏให้เป็นไปตามปรัชญา คือการเป็นมหาวิทยาลัยที่ช่วยพัฒนาท้องถิ่น ลดความเหลื่อมล้ำ ถือเป็นเป้าหมายสำคัญ และยังทรงย้ำว่า การศึกษาหลายเรื่องต้องมีการวิเคราะห์ มีข้อมูล และรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงพระองค์ยังทรงเน้นย้ำให้แก้ปัญหาด้วยปัญญา ซึ่งทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า พระองค์ทรงใส่พระทัยเรื่องนี้มาก
ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏ ต้องทบทวนการจัดหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 4 ด้าน คือ 1) การพัฒนาท้องถิ่น 2) การผลิตและพัฒนาครู 3) ยกระดับคุณภาพการศึกษา 4) พัฒนาระบบบริหารจัดการ
และต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการจัดการศึกษา ให้สามารถรองรับพลวัตโลกในศตวรรษที่ 21
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีเป้าหมายชัดเจนในเรื่องการจัดการศึกษาของประเทศ คือ ต้องจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์สำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศ ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC เพื่อยกระดับให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว หลุดกับดักประเทศรายได้ปานกลางโดยเน้นการพัฒนาการผลิตกำลังคนคุณภาพสูง ผลิตนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อเปลี่ยนผ่านสังคมไทยสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้และเพิ่มคุณค่า (Thailand 4.0: Value-based Economy) โดยใช้สถาบันอุดมศึกษาเป็นหัวรถจักรขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ดังนั้นมหาวิทยาลัยต้องผลิตบัณฑิตให้ทำงานได้จริง คิดเป็น สร้างการเปลี่ยนแปลง โดยต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการออกแบบหลักสูตรและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร่วมกับสถาบันการศึกษา เพื่อวิเคราะห์และพัฒนาหลักสูตรให้ผลิตกำลังคนที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม สิ่งสำคัญ คือ การพัฒนาการผลิตครูให้มีคุณภาพอย่างเข้มข้น เพราะครูมีบทบาทสำคัญ ในการผลิตเมล็ดพันธ์ที่มีคุณภาพในการยกระดับประเทศต่อไป
รมช.ศึกษาธิการ ยังได้กล่าวถึงแนวทางการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา ว่า ขณะนี้ใกล้จะเสร็จแล้ว เตรียมนำเสนอ ครม.โดยเดิมออกแบบให้เป็นกระทรวงที่มีขนาดเล็ก เพื่อให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการแต่ขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้ให้รวมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยงานด้านการวิจัย โดยใช้ชื่อว่า”กระทรวงอุดมศึกษา วิจัยนวัตกรรม” เพื่อการผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพ สามารถสร้างองค์ความรู้และงานวิจัยเพื่อต่อยอดนวัตกรรม ซึ่งเป็นหัวใจของ Thailand 4.0
ตรวจเยี่ยมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวัดคลองคาง
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้มหาลัยเป็นที่พึ่งพิงในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ เป็นหน้าที่โดยตรงของมหาวิทยาลัยที่ต้องเชื่อมโยงกับท้องถิ่น ร่วมกันคิดวิเคราะห์พัฒนาด้านต่าง ๆ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างคนเก่งและคนดี ช่วยพัฒนาชุมชนท้องถิ่น จังหวัด และประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นตัวอย่างที่ดีแห่งหนึ่งที่ได้ช่วยเหลือชุมชน ทำให้เกิดกิจกรรมหลายอย่างที่มีประโยชน์ ประชาชนทุกคนให้ความร่วมมือ เกิดการพัฒนาในมิติต่าง ๆ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
สำหรับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวัดคลองคาง ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในการดำเนินงานพัฒนาชุมชน ด้วยแนวคิดผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งเน้นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ตามหลักสากล พัฒนาท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหา เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ผสานการใช้เทคโนโลยีและทรัพยากรท้องถิ่นให้สอดคล้องและสามารถปรับตัวได้สำหรับคนในชุมชน โดยชุมชนได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์พัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ ซึ่งมีผลการดำเนินงาน 7 ด้าน คือ กลุ่มสมุนไพรและการแปรรูป, กลุ่มเครือข่ายตลาดนัดสีเขียว, กลุ่มแปรรูปฝรั่ง, กลุ่มผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าดินแดงและกลุ่มแม่บ้านแปรรูปปลา, กลุ่มผลิตภัณฑ์ดินเดิมและกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ และกลุ่มทอผ้าไหม
ข่าวที่ 179/2561 รมช.ศธ." นพ.อุดม คชินทร " ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2 ก่อนประชุม ครม.สัญจร ที่นครสวรรค์
- ตรวจเยี่ยม ม.เจ้าพระยา "สถาบันแห่งโอกาส สร้างกำลังคนภาคเหนือตอนล่าง"
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร มอบนโยบายและตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานด้านการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีนายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา, นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา, นายพีระ รัตนวิจิตร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นางสาวอุษณีย์ ธโนศวรรย์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, อ.ดร.ดารัตน์ ศิริวิริยะกุล วิภาตะกลัศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ตลอดจนผู้บริหารหน่วยงาน/สถานศึกษา ข้าราชการ และนักศึกษา ร่วมรับฟังนโยบาย
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเจ้าพระยาเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของจังหวัดนครสวรรค์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2541 มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง ตามเจตนารมณ์ของการเป็น "มหาวิทยาลัยผู้ให้" ปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี-โท-เอก โดยมีหลักการดำเนินงานที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1) ส่งเสริมให้ลูกหลานของประชาชนได้รับการศึกษาจนถึงระดับปริญญาตรี โดยไม่แลกความสำเร็จในชีวิตกับความทุกข์ยากของพ่อแม่ กล่าวคือ ความยากจนไม่ใช่อุปสรรคของการเรียน ดังนั้น จะไม่มีนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาที่ออกกลางคันเนื่องจากมีปัญหาด้านการเงินหรือไม่มีเงินเรียนหนังสือ โดยมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาและพันธมิตรได้มอบทุนการศึกษาเพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาปีละประมาณ 16 ล้านบาท ถือเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครอง
2) มหาวิทยาลัยเจ้าพระยามีเครือข่ายกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมและพันธมิตรระดับโลกที่เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นสถานที่ฝึกงานสำหรับนักศึกษา อีกทั้งยังสามารถรองรับนักศึกษาเข้าทำงานหลังจบการศึกษาได้
3) ดูแลลูกหลานนักศึกษาเสมือนดูแลลูกของตนเอง ซึ่งมหาวิทยาลัยเจ้าพระยามีนโยบายให้ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร ช่วยเหลือและดูแลลูกศิษย์ให้เหมือนการดูแลลูกของตนเอง จึงทำให้เกิดความผูกพันระหว่างผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษา และส่งผลให้จัดการศึกษาได้ง่ายขึ้น
4) ตั้งมั่นในการเป็นมหาวิทยาลัยของคนต่างจังหวัดเพื่อสร้างเด็กต่างจังหวัดให้เป็นมีความเป็นสากล มีความพร้อมทั้งในโลกของการเรียนและการทำงาน รวมทั้งสามารถดูแลตนเองและครอบครัวได้
จากการที่ได้รับฟังข้อมูลผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยานั้น ขอชื่นชม ม.เจ้าพระยา ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นมหาวิทยาลัยของคนในท้องถิ่น โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตามเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ที่เริ่มต้นจากคำว่า "ผู้ให้" ม.เจ้าพระยะจึงกลายเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างโอกาสให้กับคนในพื้นที่ อีกทั้งผู้บริหารและครูอาจารย์ต่างเข้าใจและตั้งใจดูแลลูกศิษย์เหมือนลูกหลานตนเอง ซึ่งถือเป็นการดำเนินงานที่งดงามมาก เป็นสิ่งมีค่าที่เด็กได้รับมากกว่าการศึกษา เพราะนี่คือหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของสถาบันการศึกษาในการสร้างคนเก่ง คนดี และเป็นคนที่มีประโยชน์ต่อสังคมประเทศชาติ
นอกจากนี้ ควรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านการศึกษาที่ไม่ควรมีเส้นแบ่งเขตระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เนื่องจากต้องยอมรับว่าโลกในยุคปัจจุบัน เรากำลังเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ มากมาย สถาบันการศึกษาเองก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น อัตราการเกิดน้อยลงส่งผลให้จำนวนนักศึกษาเข้าเรียนมหาวิทยาลัยลดลงตามลำดับ รูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น หากสถาบันการศึกษาภาครัฐและภาคเอกชนไม่ร่วมมือกันก็จะทำให้การบูรณาการด้านต่าง ๆ ทำได้ยากขึ้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีทั้งความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต
ในส่วนของกระบวนการเรียนรู้ของคนในยุคปัจจุบันนั้น เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านโลกออนไลน์ และเรียนรู้ได้อย่างอัตโนมัติ ทำให้การเรียนการสอนแบบเป็นทางการในทุกระดับลดความสำคัญลง มหาวิทยาลัยจึงต้องคิดทบทวนว่าจะถ่ายทอดหรือบ่มเพาะเด็กให้สามารถเปลี่ยนชีวิตตนเองได้อย่างไร เพื่อให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งมีทักษะการสื่อสารกับผู้อื่นได้ ตลอดจนมีความร่วมมือกับผู้อื่นและร่วมกันพัฒนาศักยภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นทักษะที่ติดตัวผู้เรียนไปตลอด
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้เด็กนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เปลี่ยนระบบการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นการเรียนของจริงสถานที่จริงให้มากขึ้น ไม่ใช่เรียนแต่ในห้องเรียน กล่าวคือ สถาบันการศึกษาต้องผสานความร่วมมือกับภาคเอกชนและสถานประกอบการในการเข้ามามีส่วนร่วมจัดการเรียนการสอน พร้อมทั้งสนับสนุนสถานที่ฝึกประสบการณ์และการทำงาน เช่น หลักสูตรสหกิจศึกษา การเรียนแบบ Work Integrated Learning (WIL) นอกเหนือจากความร่วมมือกับภาคเอกชนแล้ว สถาบันอุดมศึกษาต้องรู้ตัวตนว่ามีจุดแข็งหรือมีความเป็นเลิศด้านใด และนำสิ่งนั้นมาเป็นจุดขาย เพื่อเชิญชวนให้เด็กเข้ามาเรียนมากขึ้น
- ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ ชำนาญกิจ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พร้อมด้วยผู้บริหาร และอาจารย์ร่วมให้การต้อนรับ
ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏ ต้องทบทวนการจัดหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 4 ด้าน คือ 1) การพัฒนาท้องถิ่น 2) การผลิตและพัฒนาครู 3) ยกระดับคุณภาพการศึกษา 4) พัฒนาระบบบริหารจัดการ
และต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการจัดการศึกษา ให้สามารถรองรับพลวัตโลกในศตวรรษที่ 21
และต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการจัดการศึกษา ให้สามารถรองรับพลวัตโลกในศตวรรษที่ 21
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีเป้าหมายชัดเจนในเรื่องการจัดการศึกษาของประเทศ คือ ต้องจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์สำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศ ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC เพื่อยกระดับให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว หลุดกับดักประเทศรายได้ปานกลางโดยเน้นการพัฒนาการผลิตกำลังคนคุณภาพสูง ผลิตนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อเปลี่ยนผ่านสังคมไทยสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้และเพิ่มคุณค่า (Thailand 4.0: Value-based Economy) โดยใช้สถาบันอุดมศึกษาเป็นหัวรถจักรขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ดังนั้นมหาวิทยาลัยต้องผลิตบัณฑิตให้ทำงานได้จริง คิดเป็น สร้างการเปลี่ยนแปลง โดยต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการออกแบบหลักสูตรและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร่วมกับสถาบันการศึกษา เพื่อวิเคราะห์และพัฒนาหลักสูตรให้ผลิตกำลังคนที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม สิ่งสำคัญ คือ การพัฒนาการผลิตครูให้มีคุณภาพอย่างเข้มข้น เพราะครูมีบทบาทสำคัญ ในการผลิตเมล็ดพันธ์ที่มีคุณภาพในการยกระดับประเทศต่อไป
รมช.ศึกษาธิการ ยังได้กล่าวถึงแนวทางการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา ว่า ขณะนี้ใกล้จะเสร็จแล้ว เตรียมนำเสนอ ครม.โดยเดิมออกแบบให้เป็นกระทรวงที่มีขนาดเล็ก เพื่อให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการแต่ขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้ให้รวมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยงานด้านการวิจัย โดยใช้ชื่อว่า”กระทรวงอุดมศึกษา วิจัยนวัตกรรม” เพื่อการผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพ สามารถสร้างองค์ความรู้และงานวิจัยเพื่อต่อยอดนวัตกรรม ซึ่งเป็นหัวใจของ Thailand 4.0
ตรวจเยี่ยมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวัดคลองคาง
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้มหาลัยเป็นที่พึ่งพิงในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ เป็นหน้าที่โดยตรงของมหาวิทยาลัยที่ต้องเชื่อมโยงกับท้องถิ่น ร่วมกันคิดวิเคราะห์พัฒนาด้านต่าง ๆ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างคนเก่งและคนดี ช่วยพัฒนาชุมชนท้องถิ่น จังหวัด และประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นตัวอย่างที่ดีแห่งหนึ่งที่ได้ช่วยเหลือชุมชน ทำให้เกิดกิจกรรมหลายอย่างที่มีประโยชน์ ประชาชนทุกคนให้ความร่วมมือ เกิดการพัฒนาในมิติต่าง ๆ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
สำหรับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวัดคลองคาง ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในการดำเนินงานพัฒนาชุมชน ด้วยแนวคิดผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งเน้นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ตามหลักสากล พัฒนาท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหา เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ผสานการใช้เทคโนโลยีและทรัพยากรท้องถิ่นให้สอดคล้องและสามารถปรับตัวได้สำหรับคนในชุมชน โดยชุมชนได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์พัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ ซึ่งมีผลการดำเนินงาน 7 ด้าน คือ กลุ่มสมุนไพรและการแปรรูป, กลุ่มเครือข่ายตลาดนัดสีเขียว, กลุ่มแปรรูปฝรั่ง, กลุ่มผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าดินแดงและกลุ่มแม่บ้านแปรรูปปลา, กลุ่มผลิตภัณฑ์ดินเดิมและกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ และกลุ่มทอผ้าไหม
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น