หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

การขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 


-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ ปกติ ปี 2560

-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้





 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 164/2560กระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) แถลงสรุปผลงานรอบ 6 เดือน และเตรียมการขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี

ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) หรือ "กระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) : Forward Section, Ministry of Education" สรุปผลงานรอบ 6 เดือน และเตรียมการขับเคลื่อนการศึกษาตาม (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2560 พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานแถลงการประชุมสรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 รอบ 6 เดือน และ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี 
(พ.ศ.2560-2579)
 ของกระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) หรือ ศปบ.จชต. ณ หอประชุมค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย กองพลทหารราบที่ 15 อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยมีนายอดินันท์ ปากบารา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะผู้อำนวยการ ศปบ.จชต., นายปราโมทย์ แก้วสุข ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, พล.ต.ธรรมศักดิ์ วาสะศิริ คณะทำงาน รมช.ศึกษาธิการ, นายชลำ อรรถธรรม ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตลอดจนบุคลากร ศปบ.จชต. ร่วมชี้แจงผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน และแผนการขับเคลื่อนการศึกษาตามแผนยุทธศาสตร์การศึกษา 20 ปี

พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และความมั่นคง มีอัตลักษณ์ทางด้านภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมแตกต่างจากภูมิภาคอื่นของประเทศ ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องคำนึงถึงความลงตัวและสอดคล้องกับอัตลักษณ์ดังกล่าว เพื่อสนองตอบต่อความต้องการตามวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่และบริบทของการพัฒนาประเทศ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้พื้นที่ 44 อำเภอ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลา (4 อำเภอ คือ เทพา จะนะ นาทวี และสะบ้าย้อย) เป็นการจัดการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเชื่อมโยงและบูรณาการงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชนและประชาชน ซึ่งสถาบันและสถานศึกษาในพื้นที่มีจำนวนทั้งสิ้น 5,747 แห่ง ผู้เรียน 946,746 คน และครูผู้สอน 75,744 คน
การแถลงผลงานและความก้าวหน้าในครั้งนี้ แยกเป็น ส่วนที่สำคัญ คือ ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 รอบ 6 เดือน และ(ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)

ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560
รอบ 6 เดือน 
ของ ศปบ.จชต.
นายบุญรักษ์ ยอดเพชร ผอ.ศปบ.จชต. กล่าวว่า ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) เดิมตั้งอยู่ที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 8 อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ปัจจุบันได้ย้ายสำนักงานมาจัดตั้งที่ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย จ.ปัตตานี โดยมีภารกิจเพื่อยกระดับการบริหารงานให้มีเอกภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) ได้ดำเนินการภายใต้โครงการทั้งหมด 127 โครงการ งบประมาณ 2,777.737 ล้านบาท มีผลการดำเนินงานภายใต้ 7 จุดเน้น ได้แก่
จุดเน้นที่ 1 การเสริมสร้างความปลอดภัยครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และสถานศึกษา
จุดเน้นที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
จุดเน้นที่ 3 การเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา
จุดเน้นที่ 4 การผลิตคนและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่และการมีงานทำ
จุดเน้นที่ 5 การศึกษาเพื่อความมั่นคง
จุดเน้นที่ 6 การสร้างความรับรู้ความเข้าใจ
จุดเน้นที่ 7 การบริหารจัดการ
จุดเน้นที่ 1 การเสริมสร้างความปลอดภัยครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และสถานศึกษา
  • เสริมสร้างความเข้มแข็งของบุคลากร โดยจัดจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยในสถานศึกษาและศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอ สพฐ.จำนวน 1,085 คน 1,303 โรง สอศ. สถานศึกษาจำนวน 18 แห่ง ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอ 22 แห่ง จำนวน 125 คน และมีการแต่งตั้งผู้ประสานงานระดับอำเภอและจังหวัด จำนวน 44 อำเภอ 44 คน
  • พัฒนา ครุภัณฑ์ อาคาร สถานที่ให้มีความปลอดภัย โดยซ่อมแซมเสาสัญญาณ อุปกรณ์สื่อสาร และซ่อมแซมบ้านพักครู จำนวน 85 แห่ง
  • ระบบเครือข่ายรักษาความปลอดภัย โดยปรับปรุงระบบวิทยุสื่อสาร ให้สามารถเชื่อมต่อได้ทั้ง 5 จังหวัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2 จุด (ยะลา ปัตตานี) มีการประสานแผนระหว่างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของหน่วยงานสถานศึกษากับหน่วยงานความมั่นคง จำนวน 13 เขต และจัดทำแผนความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับหน่วยงานความมั่นคงเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัยครูและสถานศึกษา 1,215 โรง
จุดเน้นที่ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  • การพัฒนาศักยภาพโรงเรียนในโครงการพระราชดำริฯ โดยพัฒนาครุภัณฑ์ สื่อการเรียนการสอน อาคารสถานที่ กิจกรรมพัฒนาการเรียนการสอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 14 แห่ง และส่งเสริมการพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามให้มีคุณภาพ จำนวน 734 คน
  • พัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยการสอนเสริมเพื่อสร้างศักยภาพทางการเรียนรู้ 5 กลุ่มสาระหลัก สังกัด สพฐ. 7,758 คน สังกัด สช. 7,826 คน และสังกัด กศน. 543 คน การพัฒนาทักษะทางภาษา (ไทย-มลายู- อังกฤษ) สังกัด สอศ. 409 คน สังกัด สพฐ. 8,218 คน และสังกัด กศน. 10,616 คน และการส่งเสริมการสอนพระพุทธศาสนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โรงเรียนในสังกัด สพฐ. 313 โรง
  • การพัฒนาห้องเรียนพิเศษ โดยเปิดห้องเรียนพิเศษกีฬา (10 ประเภทกีฬา) สพฐ. 8 แห่ง และพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังกัด สช. 8 แห่ง สังกัด สกอ. 3 แห่ง
  • ผลิตและพัฒนาศักยภาพครู เช่น การพัฒนาระบบผลิตครูชายแดนใต้ การผลิตบัณฑิตและบุคลากรเฉพาะสาขาที่ขาดแคลนและสาขาที่สร้างความเข้มแข็งของชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวน 858 คน การพัฒนาครูโดยเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 136 คน การเพิ่มครูอาสาสมัคร กศน.ประจำสถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวน 399 คน (1 คน ต่อ 1แห่ง) การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชน หลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลง สังกัด สช. จำนวน 490 คน และพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สังกัด สพฐ. จำนวน 329 คน
  • หลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน โดยสร้างหลักสูตรปอเนาะสาธิต และตาดีกาสาธิต และใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้น (ฟัรฎูอีน) 2559
  • การพัฒนาโรงเรียนและศูนย์การเรียนรู้ โดยพัฒนาศูนย์เรียนรู้แม่ลาน พัฒนาห้องสมุดโรงเรียน โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 20 โรงเรียน พัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามขนาดเล็กสังกัด สช. เพิ่มเงินอุดหนุนจำนวน 199 โรง พัฒนาโรงเรียนประถมและมัธยมระดับอำเภอ สังกัด สพฐ. จำนวน 90 โรงและจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 9 โรงเรียน และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 6 โรงเรียน นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้โดยการอบรมซึ่งดำเนินการโดยศูนย์นวัตกรรมเพื่อการออกแบบหัตถกรรมชายแดนใต้ ศูนย์พัฒนาธุรกิจชายแดนใต้ Southern Border Business Center : SBBC และศูนย์ตาดีกาสัมพันธ์
  • สื่อและช่องทางการเรียนรู้ โดยการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV รวมทั้งระบบ DLIT, ETV, สพฐ. โดยแยกเป็น DLTV 356 โรงเรียน DLIT 509 โรงเรียน กศน. ETV 416 แห่ง (กศน.ตำบล) เพื่อสร้างโอกาสให้ครูและนักเรียนได้เข้าถึงสื่อเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย แก้ปัญหาความขาดแคลนครูผู้สอน และเพื่อให้ครูสามารถพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนให้สูงขึ้น
จุดเน้นที่ การเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา
  • สานฝันการกีฬาสู่นักกีฬาอาชีพ ตามโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเปิดสอนหลักสูตรแผนการเรียนวิทย์-กีฬา และศิลป์-กีฬา 8 โรงเรียน แผนการเรียนศิลป์-ดนตรี 2 โรงเรียน และแผนการเรียนศิลป์-อาชีพ 3 โรงเรียน
  • จัดสรรทุนการศึกษาพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศึกษา โดยแต่ละหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการมีการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อใช้ในการศึกษาต่อ เช่น ทุนการเรียนต่อระดับอุดมศึกษา (ทุนกีฬา) สังกัด สกอ. จำนวน 92 ทุน ๆ ละ 55,000 บาท ทุนการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัด สพฐ. 856 ทุนๆ ละ 40,000 บาท ทุนการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา สังกัด สกอ. 250 ทุน ๆ ละ 40,000 บาท ทุนจูงใจนักเรียนต่างวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 1,000 ทุน ทุนคุรุทายาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระดับปริญญาโท 4 ทุน ระดับปริญญาเอก 6 ทุน ทุนภูมิทายาทสังกัด สพฐ. 8,000 ทุน ทุนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสังกัด สป. 6,500 ทุน และทุนการศึกษาในโครงการครัวไทยสู่ครัวโลกมุสลิมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 100 ทุน
  • การศึกษาเพื่อผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ ได้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนการศึกษาพิเศษในเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อจัดการศึกษาที่เหมาะสมให้กับนักเรียนในพื้นที่ และเปิดโอกาสให้นักเรียนเหล่านี้มีสิทธิในการศึกษาที่เท่าเทียมและมีคุณภาพเช่นเดียวกับเด็กพิการในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ รวมทั้งได้รับการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิต ศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง โดยจะให้บริการแก่เด็กที่มีความบกพร่อง 5 ประเภทความพิการ
จุดเน้นที่ การผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่และการมีงานทำ
  • ส่งเสริมทักษะอาชีพเพื่อการมีงานทำให้กับนักเรียน นักศึกษา โดยการจัดการเรียนการสอนในศูนย์ฝึกอาชีพประจำอำเภอ จำนวน 5,653 คน เพื่อพัฒนาอาชีพและสร้างสมรรถนะในการแข่งขันให้ทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้าน จัดตั้งกลุ่มอาชีพและส่งเสริมทักษะในสถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวน 45 แห่ง 945 คน ฝึกอบรมอาชีพให้กับนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 550 คน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 1,055 คน และหลักสูตรระยะสั้น 1,610 คน และการจัดการเรียนการสอนอาชีพแบบคู่ขนาน (สอนอาชีพคู่กับเรียนศาสนา) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 332 คน และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 590 คน ความร่วมมือสหกิจศึกษากับต่างประเทศ โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ฝึกงาน ณ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในต่างประเทศ และส่งเสริมองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ แข่งขันทักษะวิชาชีพ 140 คน
  • การฝึกอาชีพสำหรับประชาชน โดยมีโครงการฝึกอาชีพตามแนวทางโรงเรียนพระดาบส จำนวน 80 คน การฝึกอาชีพให้กับชาวบ้าน โดยสถาบันวิทยาลัยชุมชนให้ความรู้กับประชาชน 3,500 คน อบรมฝึกอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กศน. 730 คน นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตยางพาราต้นแบบในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนและช่วยผลิตเครื่องสีข้าวซ้อมมือให้กับประชาชน
จุดเน้นที่ 5 การศึกษาเพื่อความมั่นคง
  • มุ่งพัฒนาเยาวชนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถดำรงชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข
  • มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การขจัดความขัดแย้งโดยสันติวิธี บนพื้นฐานความหลากหลายของสังคมพหุวัฒนธรรม โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • การศึกษาและพัฒนาเพื่อสร้างชุมชนชายแดนใต้ต้นแบบ ที่เหมาะสมท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบ 2 ชุมชน โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • กิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนรอบสถานศึกษาเอกชน เช่น เมาลิดสัมพันธ์ ตาดีกาสัมพันธ์ งานวันเด็ก มหกรรมวิชาการ การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน และงานวันสำคัญต่าง 
  • การสร้างเครือข่ายแกนนำเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-Esteem), เครือข่ายเยาวชนต้นแบบทำดีดูดี, ค่ายศิลปกรรมศาสตร์ของสถาบันการศึกษาต่าง 
  • กิจกรรมกีฬา ได้แก่ กิจกรรมกีฬาสายสัมพันธ์ชายแดนใต้ของนักศึกษา กศน. ระดับอำเภอและจังหวัด มีนักศึกษาเข้าร่วม 10,937 คน และในขณะนี้ได้เตรียมการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาภาคฤดูร้อนครอบคลุม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงเดือนเมษายนนี้
  • กิจกรรมลูกเสือ จัดค่ายเยาวชนสานสัมพันธ์ ลูกเสือ กศน. ชายแดนใต้ ระดับจังหวัด มีลูกเสือเข้าร่วมจำนวน 2,004 คน และการจัดงานชุมนุมลูกเสือจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 5-7 เมษายน 2560 ณ จังหวัดสตูล
จุดเน้นที่ 6 การสร้างความรับรู้ความเข้าใจ
  • เป็นการประชาสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สร้างความเข้าใจในการร่วมกันพัฒนาการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ได้พัฒนานักสื่อสารชุมชน จำนวน 90 คน จัดทำสื่อสันติภาพ จำนวน 33 เรื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดสัมมนาผู้นำศาสนา 37 คน สัมมนาผู้บริหารอิสลามศึกษาระดับนานาชาติ จำนวน 500 คน นอกจากนี้ สถาบันการศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษา ยังได้จัดกิจกรรม Road Show เปิดบ้านคนพันธุ์ R สร้างแรงจูงใจในการศึกษาสายอาชีพในสถาบันอาชีวศึกษาทั้ง 18 แห่ง และจัดกิจกรรมแนะแนวในการศึกษาต่อของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
จุดเน้นที่ 7 การบริหารจัดการ
  • พัฒนาสถานศึกษาด้านอาคารสถานที่ สังกัด สอศ. ก่อสร้างหอพักนักเรียน จำนวน 7 แห่ง, สังกัด สพฐ. ก่อสร้างบ้านพักครู 135 หลัง ซ่อมแซมบ้านพักครู 174 หลัง ปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร 29 หลัง
  • สนับสนุนค่าตอบแทนพิเศษสำหรับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ และสนับสนุนวิทยากรอิสลามศึกษาในสถานศึกษา 361 แห่ง
  • ดำเนินการวิจัย โดยสถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และกำหนดทิศทางในการพัฒนาการศึกษาโดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์การศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

(ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี
(พ.ศ.2560-2579) ของกระทรวงศึกษาธิการ
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ของกระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทำขึ้นโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยยึดตามยุทธศาสตร์พระราชทานคือ "การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา" ให้บรรลุตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) คือ ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2579) นโยบายการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2560-2562 เพื่อวางกรอบเป้าหมายและทิศทางการจัดการศึกษาให้ประชาชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน พัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน และการพัฒนาประเทศเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs 2030) ภายใต้แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อคนทุกคน และทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วิสัยทัศน์ของแผนดังกล่าว คือ "ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21"
โดยมี 6 ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานขับเคลื่อน คือ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการแข่งขัน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางการศึกษา
  • ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา
กลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ตามแผนยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) มี 2 ระดับ คือ ระดับอำนวยการ โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ เป็นประธาน และระดับการขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติงาน มีนายบุญรักษ์ ยอดเพชร เป็นประธาน ซึ่งจะมีการติดตามการทำงานตามแผนงานของแต่ละจังหวัดอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงเวลาก่อนเปิดภาคเรียนนี้ จะเชิญคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ทั้ง จังหวัดในพื้นที่ ได้นำเสนอแผนงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แผนจัดการศึกษามีความสมบูรณ์ที่สุด ก่อนที่จะประกาศใช้ก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2560 ต่อไป

นอกจากนี้ ขอให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญสิ่งที่นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำมาโดยตลอดเกี่ยวกับการทำงานด้วยว่า ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้เกิดขึ้นในหน่วยงานและสถานศึกษาของตนเอง ตลอดจนผู้ปกครอง พี่น้องประชาชน องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 521 องค์กร เพราะเมื่อมีความเข้าใจเกิดขึ้น ทุกคนจะมีส่วนเข้าถึง และร่วมพัฒนา อันจะส่งผลให้ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้เกิดขึ้นโดยเร็ว
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น 

เกณฑ์และกำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีปกติและพิเศษ ปี 2560

เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม