อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ ปกติ ปี 2560
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบ รัฐธรรมนูญ 2560 + การวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องการปฏิบัติงาน ครู ผู้บริหาร บุคลากร การศึกษา by ProProfs » Create A Quiz with ProProfs
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 207/2560
ส อศ.ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนเตรียมความพร้อมการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดประชุมพิจารณากรอบแนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคนตามโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) โดย พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม และตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 10 หน่วยงานเข้าร่วมประชุม เมื่อวันจันทร์ที่ 24 เมษายน 2560 ณ กระทรวงศึกษาธิการ
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า จากการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 เห็นชอบหลักการ "โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development : EEC)" ให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน เพื่อส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) โดยมีกรอบแนวคิดในการดำเนินโครงการ ดังนี้
-
พื้นที่ดำเนินการ โดยดำเนินการใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา แบ่งเป็นเขตอุตสาหกรรม เขตพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเขตพัฒนาเมือง
-
การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย ทางอากาศ ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ทางเรือ ได้แก่ ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือมาบตาพุด ทางถนน ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรุงเทพฯ-ชลบุรี พัทยา-มาบตาพุด และแหลมฉบัง-นครราชสีมา และทางราง ได้แก่ รถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และช่วงกรุงเทพฯ-ระยอง
-
การดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชน ประกอบด้วย การให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดิม การจัดตั้งกองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ การจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จการลงทุน (One Stop Service) การอำนวยความสะดวกในการอนุมัติเรื่องการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมและผังเมือง ความรวดเร็วในการออกใบอนุญาต การประกาศเป็นเขตปลอดภาษี การจัดหาที่ดินและระยะเวลาเช่าที่ดิน ระยะเวลาพำนักและทำงานของนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ สิทธิในการทำธุรกรรมทางการเงิน การใช้เงินตราต่างประเทศ การจัดตั้งศูนย์ธุรกรรมการเงิน และการจัดตั้งกองทุนในพื้นที่ร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น
ในส่วนของ "ภาคการศึกษา" ได้มีการเตรียมการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคนให้รองรับ EEC โดยเริ่มต้นที่ คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ระยอง ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ได้จัดการประชุมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์, 6 กุมภาพันธ์ และ 23 มกราคม 2560 ตามลำดับ
จากนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดการประชุมสัมมนาทางวิชาการการจัดทำแผนจัดการศึกษาแบบบูรณาการเพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกระหว่างวันที่ 24-25 มีนาคม 2560 ณ จังหวัดชลบุรี เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วางแผนดำเนินงานร่วมกันในการจัดการศึกษาเพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกใน 3 จังหวัดดังกล่าวและจังหวัดอื่นที่ติดต่อ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" เป็นประธานเปิด และ "พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" ร่วมรับฟังแผนการจัดการศึกษาในพิธีปิดการประชุมสัมมนา
นอกจากนี้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) และอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการต่อยอดมากขึ้น กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เป็นเจ้าภาพจัดประชุมในครั้งนี้ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก
จากการประชุมครั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้รับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากหลากหลายหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม จึงได้มอบให้ สอศ. รวบรวมข้อคิดเห็นทั้งหมดไปประกอบการพิจารณาจัดทำกรอบ แนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ข้อมูลเชิงความต้องการ (Demand-side)" ของภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคนทั้งจำนวนและความต้องการสาขาต่าง ๆ ให้ตรงกับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งที่ผ่านมายอมรับว่าข้อมูลในการวางแผนผลิตกำลังคนเป็นเรื่องยากมากที่จะได้ข้อมูลตรงกัน เพราะมีหลากหลายหน่วยงานต่างรับผิดชอบ แต่การประชุมครั้งนี้ได้มองเห็นความแม่นยำของข้อมูลการวางแผนผลิตกำลังคนใน 3 จังหวัด EEC ที่หลายหน่วยงานนำเสนอ จึงขอให้ สอศ. รวบรวมข้อมูลให้เสร็จสิ้นภายในสัปดาห์นี้ เพื่อนำไปกำหนดเป็นร่างแผนงานต่าง ๆ และเชิญหน่วยงานทั้งหมดมาประชุมร่วมกันอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่เตรียมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อให้กรอบการทำงานเป็นไปตามขั้นตอนที่รัฐบาลกำหนด ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่างานใดที่เตรียมการไว้แล้วซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที ก็ขอให้ดำเนินการได้เลย เพราะต้องเร่งขับเคลื่อนแผนจัดการศึกษา แบบบูรณาการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้คือช่วงเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2560
นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า จากการประชุมครั้งนี้ มีหน่วยงานต่าง ๆ ได้มารายงานให้ที่ประชุมได้รับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมาก เช่น แนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคน สถานการณ์แรงงาน การจัดเตรียมหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาอาชีวะภายในจังหวัด การผลิตให้ตรงตามมาตรฐาน Cluster ที่เป็นจุดเน้นใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ คือ 1) การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) ประกอบด้วยอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next – Generation Automotive) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnolgy) และอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future) รวมทั้งการเติม 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) ประกอบด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital) และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ซึ่งทั้ง 10 อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั่วโลก อันจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของไทยในอนาคต
ทั้งนี้ สอศ. ได้มอบให้ นายประชาคม จันทรชิต รองเลขาธิการ กอศ. รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่นำเสนอในการประชุมครั้งนี้ คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จากนั้นจะเชิญหน่วยงานทั้งหมด รวมทั้งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เข้ามาประชุมร่วมกันอีกครั้ง ในวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคมนี้ เวลา 9.00 น. ที่กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดรายงานต่อคณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 207/2560
ส อศ.ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนเตรียมความพร้อมการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก
ส
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดประชุมพิจารณากรอบแนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคนตามโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) โดย พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม และตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 10 หน่วยงานเข้าร่วมประชุม เมื่อวันจันทร์ที่ 24 เมษายน 2560 ณ กระทรวงศึกษาธิการ
- พื้นที่ดำเนินการ โดยดำเนินการใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา แบ่งเป็นเขตอุตสาหกรรม เขตพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเขตพัฒนาเมือง
- การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย ทางอากาศ ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ทางเรือ ได้แก่ ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือมาบตาพุด ทางถนน ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรุงเทพฯ-ชลบุรี พัทยา-มาบตาพุด และแหลมฉบัง-นครราชสีมา และทางราง ได้แก่ รถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และช่วงกรุงเทพฯ-ระยอง
- การดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชน ประกอบด้วย การให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดิม การจัดตั้งกองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ การจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จการลงทุน (One Stop Service) การอำนวยความสะดวกในการอนุมัติเรื่องการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมและผังเมือง ความรวดเร็วในการออกใบอนุญาต การประกาศเป็นเขตปลอดภาษี การจัดหาที่ดินและระยะเวลาเช่าที่ดิน ระยะเวลาพำนักและทำงานของนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ สิทธิในการทำธุรกรรมทางการเงิน การใช้เงินตราต่างประเทศ การจัดตั้งศูนย์ธุรกรรมการเงิน และการจัดตั้งกองทุนในพื้นที่ร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น
ในส่วนของ "ภาคการศึกษา" ได้มีการเตรียมการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคนให้รองรับ EEC โดยเริ่มต้นที่ คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ระยอง ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ได้จัดการประชุมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์, 6 กุมภาพันธ์ และ 23 มกราคม 2560 ตามลำดับ
นอกจากนี้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) และอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการต่อยอดมากขึ้น กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เป็นเจ้าภาพจัดประชุมในครั้งนี้ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก
จากการประชุมครั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้รับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากหลากหลายหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม จึงได้มอบให้ สอศ. รวบรวมข้อคิดเห็นทั้งหมดไปประกอบการพิจารณาจัดทำกรอบ แนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ข้อมูลเชิงความต้องการ (Demand-side)" ของภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคนทั้งจำนวนและความต้องการสาขาต่าง ๆ ให้ตรงกับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งที่ผ่านมายอมรับว่าข้อมูลในการวางแผนผลิตกำลังคนเป็นเรื่องยากมากที่จะได้ข้อมูลตรงกัน เพราะมีหลากหลายหน่วยงานต่างรับผิดชอบ แต่การประชุมครั้งนี้ได้มองเห็นความแม่นยำของข้อมูลการวางแผนผลิตกำลังคนใน 3 จังหวัด EEC ที่หลายหน่วยงานนำเสนอ จึงขอให้ สอศ. รวบรวมข้อมูลให้เสร็จสิ้นภายในสัปดาห์นี้ เพื่อนำไปกำหนดเป็นร่างแผนงานต่าง ๆ และเชิญหน่วยงานทั้งหมดมาประชุมร่วมกันอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่เตรียมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อให้กรอบการทำงานเป็นไปตามขั้นตอนที่รัฐบาลกำหนด ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่างานใดที่เตรียมการไว้แล้วซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที ก็ขอให้ดำเนินการได้เลย เพราะต้องเร่งขับเคลื่อนแผนจัดการศึกษา แบบบูรณาการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้คือช่วงเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2560
ทั้งนี้ สอศ. ได้มอบให้ นายประชาคม จันทรชิต รองเลขาธิการ กอศ. รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่นำเสนอในการประชุมครั้งนี้ คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จากนั้นจะเชิญหน่วยงานทั้งหมด รวมทั้งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เข้ามาประชุมร่วมกันอีกครั้ง ในวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคมนี้ เวลา 9.00 น. ที่กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดรายงานต่อคณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการเว็บ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการเว็บ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์และกำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีปกติและพิเศษ ปี 2560
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
เกณฑ์และกำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีปกติและพิเศษ ปี 2560
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น