หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

การจัดการเรียนการสอนการเกษตรสมัยใหม่

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 


-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ ปกติ ปี 2560

-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้





 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 169/2560
สอศ.-C.P.จัดอบรมพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารและการจัดการเรียนการสอนการเกษตรสมัยใหม่ กลุ่มวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทั่วประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ (C.P.) จัดการอบรมโครงการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารและการจัดการเรียนการสอนการเกษตรสมัยใหม่ กลุ่มวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทั่วประเทศ 51 แห่ง เพื่อพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ เป็นผู้นำที่กล้าผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
เมื่อวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2560 ณ C.P. Leadership Institute อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการอบรมโครงการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารและการจัดการเรียนการสอนการเกษตรสมัยใหม่ กลุ่มวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี  โดยมีนายสุเมธ เหล่าโมราพร กรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CPLI) ให้การต้อนรับ
นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวถึงโครงการอบรมในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ มีความเป็นผู้นำที่กล้าผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เพื่อพัฒนาการตัดสินใจ การวางแผน การดำเนินการในเชิงกลยุทธ์ ตลอดจนเสริมสร้างการผนึกกำลังการทำงานเป็นทีมและการทลายไซโล รวมทั้งมีโอกาสไปเรียนรู้และดูงาน Feed Farm Food เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือและการต่อยอด อันจะส่งผลในการสร้างความเป็นเถ้าแก่ และทำโครงการธุรกิจในสถานศึกษา อีกทั้งเป็นการสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบทวิภาคี โดยจัดอบรมแก่ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารสถาบันเกษตรภาคทั่วประเทศ จำนวน 51 แห่ง รวมทั้งสิ้น 192 คน ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม - 2 เมษายน 2560 ณ C.P. Leadership Institute โดยหลักสูตรการอบรมและพัฒนาเป็นการบรรยายในประเด็นต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์การบริหารจัดการฟาร์ม และสถานศึกษา การทำธุรกิจในสถานศึกษา การจัดการศึกษาทวิภาคีด้านเกษตรและประมง พร้อมด้วยกิจกรรมการฝึกปฏิบัติการระดมสมอง (Brainstroming) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างทีมงาน (Team Building) การผลิตกำลังคนและการทลายไซโล การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (ALP: Action Learning Program) และการลงพื้นที่ศึกษาดูงานในกลุ่มธุรกิจของเครือ C.P. โดยการอบรมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก C.P. ในการสนับสนุนด้านหลักสูตรการฝึกอบรม วิทยากร อาหาร สถานที่ รวมทั้งการบริหารจัดการโครงการ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตลอดการอบรม

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า การเดินทางมาโครงการอบรมครั้งนี้ ตั้งใจมาฟังแนวคิดและวิสัยทัศน์ของคุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ แต่ก็ขอให้ข้อคิดของการปฏิรูปการศึกษารอบนี้ว่า "เราต้องไม่คิดเหมือนเดิม" ดังนั้นหากปัญหาใด ๆ ที่เคยเกิดขึ้นและได้ใช้วิธีการแก้ไขปัญหาเดิม ๆ ไม่ได้ผล ก็ต้องเปิดโอกาสใช้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใหม่ ๆ แม้แต่องค์กรต่าง ๆ ก็ต้องเปิดโอกาสให้คนเก่งเข้ามาทำงานให้มากขึ้น เช่นเดียวกับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูอาชีวะ ซึ่งพบว่ามีเป็นหมื่นอัตรา ทั้งที่ความจริงเรามี "ครูในโรงงาน" เต็มไปหมด ดังนั้น หากเราเปลี่ยนโรงงานให้เป็นโรงเรียน ก็จะมีครูที่เก่ง ๆ ในโรงงานเหล่านี้มาช่วยสอนเด็กของเรา เพราะไม่ว่ารัฐจะรวยมากเพียงใด ก็ยังตามเอกชนไม่ทัน แต่หากเราให้เด็กไปเรียนกับภาคเอกชน "เราก็ได้ เขาก็ได้"
จึงเป็นที่มาของโครงการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ ภาคฤดูร้อน ครั้งที่ 1 (Education to Employment : Vocational Boot Camp) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ มีนาคมที่ผ่านมา ที่ได้เชิญสถานประกอบการชั้นนำทั่วประเทศเข้าร่วม 1,537 แห่ง มีสถานศึกษาจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม 444 แห่งครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ และมีผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมกว่าแสนคน ซึ่งทำให้ผู้เรียนอาชีวะได้รับทักษะจากเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เช่น จักรยานยนต์ขนาดใหญ่ (Big Bike) ซึ่งมียอดจำหน่ายกว่า 1 แสนคัน แต่ขณะนี้ยังไม่มีหลักสูตรสำหรับฝึกช่างซ่อมไว้รองรับ จึงขอให้ สอศ. ถอดบทเรียนโครงการ เพื่อให้เด็กไปเรียนรู้กับบริษัทเหล่านี้ เพราะบริษัทเอกชนหลายแห่ง รวมทั้ง C.P. ก็ไปไกลเหลือเกินจนภาครัฐตามไม่ทัน เราจึงต้องมาเรียนรู้จากภาคเอกชน
ดังนั้น การที่เด็กได้เข้ามาทำงานกับภาคเอกชน ยิ่งจะช่วยให้เด็กได้ประโยชน์ และในขณะเดียวกันภาคเอกชนก็ได้ประโยชน์จากเด็กที่จบออกมาด้วย เช่นเดียวกับที่ C.P. ต้องการเห็นประเทศเจริญเป็น 4.0 จริง ๆ ไม่ใช่ 4.0 บนกระดาษ

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า เป็นครั้งแรกที่ได้มาคุยกับชาวอาชีวะ เพราะอาชีวะเป็นเรื่องสำคัญยิ่งของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนอุตสาหกรรมจากหน้ามือเป็นหลังมือ ส่วนแนวคิดของ รมว.ศึกษาธิการ ที่ได้กล่าวอย่างน่าสนใจว่าต้องการให้ภาคเอกชนเป็นโรงเรียนของอาชีวะนั้น รัฐบาลก็ต้องใช้ภาคเอกชนให้เต็มที่
ในด้านการเกษตร ส่วนตัวได้เข้ามารับงานบริหาร C.P. เมื่อ 44 ปีก่อน ซึ่งได้พยายามให้เด็กเก่งที่จบจากมหาวิทยาลัยเข้าไปรับผิดชอบทำฟาร์ม ในขณะที่คนส่วนใหญ่ก็คิดไม่ถึงว่าทำไมต้องรับเด็กเก่ง ๆ ที่จบจากมหาวิทยาลัยเข้าไปทำฟาร์ม ซึ่งเมื่อรับเข้าไปแล้วก็พยายามสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ เช่น ติดเครื่องปรับอากาศให้พักอยู่สบาย ดูแลเรื่องความปลอดภัย 24 ชั่วโมง จนทำให้เด็กกลับไปบ้าน ก็อยากกลับมาอยู่ที่ฟาร์มมากกว่า ซึ่งเป็นแนวคิดว่าหากเราได้คนเก่ง เขาจะทำงานและทำเงินให้เรามากกว่าเป็นร้อยเท่าพันเท่า จนกระทั่งC.P. ประสบความสำเร็จด้านการเกษตร เพราะได้คนเก่ง ๆ เข้ามาช่วยกันทำงาน
ในปัจจุบันเรากำลังจะสร้างรุ่น 4.0 แต่สุดท้ายอาชีพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ "โลจิสติกส์" เพราะปัจจุบันใคร ๆ ก็เปิดเว็บไซต์ขายออนไลน์ได้ แต่บริการส่งสินค้ายังคงถือว่าเป็นความต้องการสูง
ในยุค 4.0 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนอุตสาหกรรมจากหน้ามือเป็นหลังมือนั้น เครื่องจักร 4.0 สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง โดยไม่เหนื่อย ไม่มีสวัสดิการ ไม่ฟ้องเจ้านาย ดังนั้น เราจึงต้องการช่างที่เก่ง ๆ เพื่อไปดูแลเปลี่ยนชิ้นส่วนเพราะยุค 4.0 จะไม่เน้นการ "ซ่อม" เครื่องจักร แต่จะเป็นการ "เปลี่ยน" ชิ้นส่วน เหมือนกับเครื่องบินที่ย่อมต้องเปลี่ยนชิ้นส่วน เพราะเครื่องบินเมื่อบินขึ้นแล้ว จะเสียกลางทางแบบรถยนต์ไม่ได้ เพราะฉะนั้นชิ้นส่วนอะไหล่ในยุค 4.0 เราไม่เรียกว่า "ซ่อมแต่เรียกว่า "บำรุงและในยุคนี้คำว่า "คนงานจะไม่มี มีแต่คำว่า "ช่างเพื่อทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในโรงงานเป็นส่วนใหญ่
นายธนินท์ ได้กล่าวถึงบทเรียนที่ผ่านมาของบางประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เราจึงต้องใช้บทเรียนจากประเทศอื่นที่เกิดขึ้นให้เป็นกระจกสะท้อน ดังนั้น เราจะต้องสร้างหรือผลิตคนแบบใดเพื่อไม่ให้ตกงาน และให้เหมาะสมสอดคล้องกับยุค 4.0 ซึ่งในอนาคตคาดว่าชาวนาชาวไร่จะเหลือเพียง 1% เพราะผลจากการใช้เครื่องทุ่นแรง ยกเว้นชาวสวนที่ยังจำเป็นต้องใช้คน ใช้หุ่นยนต์ไม่ได้ อาชีพ "ชาวสวน" จึงยังคงถือเป็นโอกาสที่ดีของคนไทย
โดยสรุปแล้วไทยแลนด์ 4.0 อยู่ที่ "คน ความเร็ว และต้องคิดใหม่" เช่นเดียวกับที่ รมว.ศึกษาธิการ กล้าตัดสินใจรับคนไม่เรียนครู มาสมัครครูได้ เพื่อนำเอาคนเก่ง ๆ เข้ามาเป็นครูในสาขาที่ขาดแคลน เพราะหากเราไม่เปลี่ยนแปลงก็จะเห็นบทเรียนจากบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกในอดีตหลายแห่งที่ล้มละลายหายไป ยุคสมัยนี้จึงต้องเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ซึ่งค่านิยมของ C.P. ได้กำหนดไว้เช่นกัน คือ สามประโยชน์สู่ความยั่งยืนต่อประเทศ ประชาชน และบริษัท, ทำเร็วและมีคุณภาพ, รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ, ทุกคนยอมรับการเปลี่ยนแปลง, ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย และมีคุณธรรม ความซื่อสัตย์ และรู้จักตอบแทนบุญคุณ โดยยกตัวอย่างคนฉลาดมักไม่ชอบทำเรื่องยาก แต่ C.P. จะพยายามทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ยกเว้นหากทำไม่ได้จริง ๆ เราก็ถอย แต่ก็ถือเป็นโอกาสที่เราได้ทำ
นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับการสร้าง "เถ้าแก่" ซึ่งมีหลากหลายวิธี แม้แต่ในท้องถิ่นที่ร้านโชห่วยก็สามารถเป็นเถ้าแก่ได้ เช่น หากต้องการสร้างรายได้เพิ่ม ก็สามารถเปิดร้านชำแหละหมูขายในท้องถิ่นผ่าน C.P. ก็จะช่วยให้ได้กำไรกว่า 1,500-2,000 บาทต่อวัน หรือเท่ากับจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้น 60,000 บาทต่อเดือน
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาคือ "คน" ซึ่ง C.P. กำลังสร้างคนหนุ่มสาวในแต่ละไซโลให้ผนึกกำลังกัน จะไม่มีต่างคนต่างไซโล เพราะหากเราสร้างคนเก่งหนึ่งคน คน ๆ นั้นอาจทำเงินให้ C.P. เป็นหมื่นล้านแสนล้านต่อไปได้ คนจึงเป็นทรัพยากรที่ตีมูลค่าไม่ได้ ยุคสมัยนี้จึงอยู่ที่คนเท่านั้น แล้วเงินจะตามมา แม้แต่การลงทุนของ C.P. ในต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ อินเดีย ก็จะดึงคนรุ่นใหม่เก่ง ๆ จากประเทศนั้นเข้ามากลุ่มหนึ่ง แต่ก็ยังนำคนไทยเข้าไปในกลุ่มนั้น ๆ เพื่อหลอมรวมวัฒนธรรม
นายธนินท์ กล่าวด้วยว่า ช่องทางการผลิตและค้าขายสินค้าของประเทศไทย ไม่ควรผลิตหรือขายสินค้าที่ประเทศอื่นผลิตได้ดีกว่าเรา แต่ต้องผลิตหรือขายสินค้าที่ประเทศอื่นทำไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลผลิตจากจุดแข็งของประเทศ คือ "น้ำมะพร้าว ทุเรียน กล้วยหอม และมังคุด" ยังเป็นผลผลิตหลักที่จะทำรายได้ที่ดีให้คนไทย
ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการต้องสร้างคนเพื่อมาผลิตสินค้าเหล่านี้ กระทรวงศึกษาธิการต้องมีเป้าหมาย เพื่อเตรียมผลิตคนเสียตั้งแต่วันนี้ ซึ่งส่วนตัวก็ยอมรับนับถือรัฐมนตรีคนปัจจุบัน เพราะชอบคนกล้าเปลี่ยนแปลง ทำให้มีความหวังกับประเทศ เพราะ C.P. ทำธุรกิจในประเทศ ก็ต้องปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ และหวังดีกับประเทศของเรา
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น 

เกณฑ์และกำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีปกติและพิเศษ ปี 2560

เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม