หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ผลการประชุม (ป.ย.ป.)ครั้งที่ 2/2560

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร




 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

title
ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)ครั้งที่ 2/2560
ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)ครั้งที่ 2/2560
วันนี้ (24 กรกฎาคม 2560) เวลา 13.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)ครั้งที่ 2/2560 โดยมีคณะกรรมการ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้มีการพิจารณาผลการดำเนินงานในภาพรวมของ ป.ยป. และคณะกรรมการภายใต้ ป.ย.ป. จำนวน 4 คณะ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1.
ทิศทางและบทบาทของ ป.ย.ป. ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) รายงานว่า เมื่อกฎหมายทั้ง 2 ฉบับประกาศใช้บังคับแล้ว รัฐบาลจะต้องตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 11 คณะ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติอีกคณะเพื่อทำหน้าที่ยกร่างแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ โดยทั้ง 2 คณะ จะใช้เวลาในการยกร่างแผนปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติประมาณ 10 – 14 เดือน ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว ป.ย.ป จึงจะเป็นต้องทำหน้าที่ต่อเพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติที่รัฐบาลได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้เป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเมื่อ คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนปฏิรูปประเทศ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบยุทธศาสตร์ชาติแล้ว จึงจะพิจารณาความจำเป็นในการคงอยู่ของ ป.ย.ป ต่อไป

2.
ภาพรวมการขับเคลื่อน ป.ย.ป.
2.1
คณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ(ตยศ.) รายงานความก้าวหน้ากลไกการดำเนินงานและ
บทบาทหน้าที่ของคณะอนุกรรมการบูรณาการยุทธศาสตร์ชาติและคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาและรับฟังความ
คิดเห็นสรุปได้ดังนี้
(1)
คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาและรับฟังความคิดเห็น มีข้อเสนอแนะประเด็นเพิ่มเติมต่อสาระของร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ดังนี้  1) ควรระบุเป้าหมายสุดท้ายและจุดเน้นการพัฒนาให้ชัดเจน เช่น การเป็นมหาอำนาจทางอาหาร การเป็นประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ 1 ใน 3 เสือเอเชีย 2) มีกลไกในระดับพื้นที่และการสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน รวมถึงเพิ่มกลไก ประชารัฐเนื่องจากการดำเนินการหลายเรื่องจำเป็นต้องให้ภาคเอกชนและประชาชนสนับสนุน และ 3) จัดลำดับความสำคัญของงานกำหนดสัดส่วนทรัพยากร/งบประมาณ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่ออนาคตของประเทศไทยในระยะ 20 ปี ได้แก่ การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นระดับภาค รวม 4 ภาค โดยได้จัดในภาคกลางและภาคเหนือไปแล้ว

(2)
คณะอนุกรรมการบูรณาการยุทธศาสตร์ชาติมีแนวทางการดำเนินการโดยบูรณาการทั้งงานภารกิจประจำ (Fuction) และพื้นที่ (Area) จึงได้เชิญปลัดกระทรวงทั้ง 20 กระทรวงมานำเสนอยุทธศาสตร์กระทรวงที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ  20  ปีและเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัดทั้ง 18 กลุ่มจังหวัดมาน าเสนอยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด รวมทั้งเชิญคณะผู้บริหาร กทม. หารือเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปีแล้ว

ทั้งนี้ รัฐบาลได้ดำเนินการต่าง ๆ ครอบคลุมยุทธศาสตร์ทุกด้านแล้ว เช่น ด้านการสาธารณสุขจะมีการพัฒนาคลินิกหมอครอบครัว ด้านคมนาคม มีการพัฒนาตั๋วร่วม รถเมล์ NGV การลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อจัดสวัสดิการภาครัฐ ในส่วนของ สศช. ได้มีการเตรียมการเพื่อรองรับภารกิจการจัดทำยุทธศาสตร์และการปฏิรูปประเทศแล้ว

2.2
คณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ (1) การปฏิรูปกฎหมาย (Regulatory Reform) คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อกำกับการปฏิรูปกฎหมายซึ่ง ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมการ ได้รายงานสรุปได้ดังนี้
(1.1)
ปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพหรือการดำเนินงานธุรกิจของประชาชน อาทิ การเริ่มต้นธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้าง การขอใช้ไฟฟ้า การจดทะเบียนทรัพย์สิน การได้รับสินเชื่อ การคุ้มครองผู้ลงทุน การชำระภาษีการค้าระหว่างประเทศ การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง การแก้ปัญหาการล้มละลาย กฎหมายที่เกี่ยวกับการให้ใบอนุญาต (licenses)
(1.2)
ปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายที่สร้างภาระโดยไม่จำเป็นต่อประชาชน อาทิ กฎหมายที่กำหนดขั้นตอนการจดแจ้งเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของประชาชน ตั้งแต่การเกิด การได้รับการดูแลสุขภาพ การขอใช้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ และการตาย
(1.3)
ตรวจสอบและติดตามกฎหมายให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และการปฏิรูปประเทศ
(1.4)
เสนอกฎหมายที่จัดทำกฎหมายใหม่ที่จำเป็น (กฎหมายที่ต้องตราขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงกฎหมายได้โดยง่าย) เช่น กฎหมายว่าด้วยการบูรณาการการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ กฎหมายว่าด้วยการทำประมวลกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน

(2)
การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ (Administrative Reform) เลขาธิการ ก.พ.ร. ได้นำเสนอแผนการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญ ได้แก่
(2.1)
การปฏิรูปกฎหมาย
(2.2)
การยกระดับคุณภาพการให้บริการประชาชน โดยมีแผนงานสำคัญ ๆ
ที่จะผลักดันให้สำเร็จภายใน 6 เดือน และภายในปี 2560 เช่น การปรับลดระยะเวลาและขั้นตอนในการ
บริการประชาชนให้ได้ 30 - 50% การจัดตั้งศูนย์รับคำขอนุญาต การปรับกระบวนงานที่เกี่ยวข้องกับการ
ประกอบธุรกิจให้เป็นดิจิทัล การเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อลดภาระในการยื่นเอกสารของ
ประชาชน
(2.3)
การปฏิรูประบบตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ โดยให้เชื่อมโยงกับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูป
(2.4)
การปรับเปลี่ยนสู่รัฐบาลที่คล่องตัว โดยจะผลักดันให้ทุกหน่วยงานจัดทำ แผนปฏิรูปองค์กรให้แล้วเสร็จภายใน 4เดือน มีแนวทาง คือ การทบทวนภารกิจภาครัฐ โดยรัฐควรทำเฉพาะภารกิจที่จำเป็น ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ โอนถ่ายงานให้ภาคเอกชนท้องถิ่น ปรับการทำงานเป็นดิจิทัล
(2.5)
การปฏิรูปการบริหารจัดการกำลังคน จะมีรูปแบบการบริหารกำลังคนและระบบการจ้างงานภาครัฐใหม่ที่เปิดกว้างและหลากหลายขึ้น สามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญจากเอกชนและต่างประเทศเข้ามาในระบบได้ รวมทั้งกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าของบุคลากรภาครัฐในแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน
(2.6)
การปฏิรูปงบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง
(2.7)
การปรับเปลี่ยนสู่รัฐบาลดิจิทัล โครงการ Big Data

(3)
การปฏิรูปเชิงระบบและโครงสร้าง (Structural Reform)  ดร. บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการ ดังนี้
(3.1)
ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง : การปฏิรูประบบความมั่งคงทางอาหารทั้งในด้านการอนุรักษ์และเพิ่มพูนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ การส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืน และระบบอาหารปลอดภัย (Food Safety) ในระยะต่อไปจะมีการดำเนินงานในด้านความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำและด้านผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(3.2)
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม :มีการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
การปฏิรูประบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA) และสร้างความเชื่อมโยงกับ การประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน” (SEA: Strategic EnvironmentalAssessment) การปฏิรูประบบการบริหารจัดการระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งทั้งในเรื่องการกัดเซาะชายฝั่ง การจัดการขยะชายฝั่งและเกาะ และการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในทะเล (One Marine Map) การปฏิรูปการจัดการความขัดแย้งปัญหาที่ดิน ป่าไม้ โดยการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายด้านป่าไม้ การออกกฎหมายป่าชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลจัดการป่าอย่างยั่งยืนในระยะต่อไปจะมีการดำเนินงานปฏิรูปด้านการผังเมือง และด้านการจัดการขยะและสารเคมี
(3.3)
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมในสังคมการปฏิรูปการกระจายการถือครองที่ดิน (ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ) โดยการจัดตั้งธนาคารที่ดิน คณะกรรมการนโยบาย ที่ดินแห่งชาติ และระบบภาษีที่ดินที่เป็นธรรมการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยการจัดตั้งระบบยุติธรรมชุมชนการปฏิรูประบบการสอบสวน และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง การปฏิรูประบบภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
(3.4)
ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน : การปฏิรูประบบการศึกษาโดยเริ่มจากโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็ก และการศึกษาปฐมวัย การดำเนินงานปฏิรูปในทุกด้าน ได้มีการกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบและกรอบเวลาดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน เพื่อการเร่งรัดและติดตามผลการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

(4)
การปฏิรูปเชิงพื้นที่และสังคม (Area Based Reform) ได้มีการดำเนินการดังนี้
(4.1)
การดำเนินโครงการสานพลังเพื่อปฏิรูปพื้นที่และสังคม มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนระดับหมู่บ้าน ซึ่งจะนำไปสู่สัญญาประชาคม และวาระการปฏิรูปของพื้นที่โดยมีความคืบหน้าในการดำเนินการโดยได้สร้างความชัดเจนในแนวทางการขับเคลื่อนกับกระทรวงมหาดไทยการจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ตำบลเข้มแข็งเพื่อน าร่องในระยะแรก และการจัดทำเครื่องมือข้อมูลเพื่อจัดกระบวนการประชาสังคม
(4.2)
โครงการสานพลังคนรุ่นใหม่คืนถิ่นเพื่อปรับ Mind Set ไปสู่การเป็น Citizen Reform สร้างคนรุ่นใหม่เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ เช่น โครงการคนกล้าคืนถิ่น บัณฑิตคืนถิ่น เป็นต้น ในระยะต่อไปจะได้ขยายผลการดำเนินการและสร้างต้นแบบให้เป็น Change Agent ประจำตำบลและขยายผลลงสู่ชุมชนต่อไป

(5)
การปฏิรูปการศึกษาและการปฏิรูปตำรวจ
(5.1)
การปฏิรูปการศึกษาได้กำหนดแนวทางและมาตรการแก้ปัญหาการศึกษา เช่น ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ผู้สูงอายุ คนรุ่นใหม่ทิ้งถิ่น การผลิตคนไม่ได้ตรงต่อความต้องการของตลาดแรงงาน การปลูกจิตสำนึกของการเป็นพลเมืองไทย ทักษะการดำรงชีวิต การมีงานทำของบัณฑิต ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม การมีวินัยในตนเอง
(5.2)
การปฏิรูปตำรวจได้แต่งตั้งอนุกร รมการ รวม 5 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคล คณะอนุกรรมการด้านการบังคับใช้กฎหมายและระบบสอบสวนคดีอาญา คณะอนุกรรมการด้านหน้าที่ อำนาจ และภารกิจของตำรวจ คณะอนุกรรมการด้านการรับฟังความคิดเห็น และคณะอนุกรรมการด้านวิชาการ

โดย ที่ประชุมมีข้อสังเกต ดังนี้
(1)
การปฏิรูปกฎหมายควรพิจารณาจัดทำกฎหมายที่สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญที่ต้องดำเนินการในระยะเร่งด่วน
(2)
การปฏิรูปเชิงระบบและโครงสร้าง ควรกำหนดให้มีการปฏิรูปด้านความมั่นคง เพื่อรองรับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ต่าง ๆ ด้วย
(3)
การปฏิรูปเชิงพื้นที่และสังคมควรลงพื้นที่เพื่อให้ได้ข้อมูลความเดือดร้อนและความต้องการเร่งด่วนของประชาชน และนำมาจัดทำเป็นแผนแม่บทว่า ใน 1 ปี จะต้องดำเนินโครงการ/กิจกรรมใดเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชน

2.3
คณะกรรมการตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ได้ดำเนินงาน (1) รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน รวม 15,692 คน (2) บูรณาการข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ และ (3) จัดทำร่างสัญญาประชาคมความเห็นร่วมเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง
(1)
ร่างสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ มีจำนวน 10 ข้อ พร้อมทั้งผนวกประกอบร่างสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ จำนวน 15 ข้อ มีสาระสำคัญเพื่อให้คนไทยทุกคน ได้ยึดถือเป็นกรอบแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ สันติในอนาคต อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งเดียว ภายใต้
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กล่าวคือ คนไทยทุกคนต้องเคารพกฎหมาย และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม รัฐบาล ประชาชน และทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาชาติบ้านเมืองในทุกมิติอย่างครบวงจร โดยมีเป้าหมายที่ประชาชนทั้งประเทศได้รับผลประโยชน์สูงสุดรวมทั้ง เกิดความสามัคคีปรองดอง ดำรงชีวิตตามศาสตร์พระราชา บนพื้นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

(2)
การจัดงานแถลงสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ มีกำหนดจะจัดในวันเดียวกันในห้วงเวลาที่เหมาะสมพร้อมกันทั่วประเทศ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั้งนี้ ภายหลังการจัดงานแถลงสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ คณะกรรมการเตรียมการฯ มีแผนงานที่จะขยายผลการสร้างความสามัคคีปรองดองอย่างต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้สัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ ให้กับประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้รับทราบกรอบแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสงบและสันติในอนาคต
ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ 10 ข้อ และแนวทางการแถลงสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ

2.4
คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ นายปกรณ์ นิลประพันธ์รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี(PMDU) ในฐานะเลขานุการ บยศ. ได้รายงานสรุปผลการดำเนินการของ บยศ. ที่ได้ปลดล็อค ขับเคลื่อน และเร่งรัดนโยบายสำคัญตาม Agenda โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น
(1)
การขับเคลื่อนเรื่องเร่งด่วนด้านคมนาคมขนส่งจะเปิดเดินรถเชื่อมสายสีน้ำเงิน สีม่วงในเดือนสิงหาคม 2560 และในส่วนโครงการรถไฟไทย - จีนจะเริ่มก่อสร้างช่วงแรกในเดือนตุลาคม 2560 ส่วนการจัดตั้งAviation Hubอยู่ระหว่างเสนอ สงป. พิจารณางบฯ จัดจ้าง ทปษ. จัดทำ Master Plan และ EHIA คาดว่าจะใช้เวลาจัดทำแผนฯ 10 เดือน
(2)
การขับเคลื่อนด้านสาธารณสุขเปิดคลินิกหมอครอบครัวแล้ว 596 ทีมทั่วประเทศและเสนอตั้ง คกก. พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
(3)
การขับเคลื่อนด้านพลังงานได้มีคำสั่ง หน.คสช. ที่ 31/2560 เพื่อแก้ไขปัญหาบน
พื้นที่ ส.ป.ก. ที่มีข้อพิพาทด้านกฎหมายให้กิจการปิโตรเลียม พลังงานทดแทน และเหมืองแร่ ดำเนินต่อไปได้
(4)
ระบบและกลไกการกำกับติดตามประเมินผลโครงการตามแนวทางการสร้าง
ความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจในประเทศ (Local Economy) ผ่านกลไก 18 กลุ่มจังหวัด
เบิกจ่ายงบประมาณจากทั้งหมด 115,000  ล้านบาทให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัด แล้ว 27,351 ล้านบาท (ร้อยละ 23.78)
(5)
การดำเนินการระบบการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาระบบ Big Data โดยเริ่มดำเนินโครงการนำร่องที่ จ.ชัยนาท และ จ.แม่ฮ่องสอนแล้ว
(6)
การปรับโครงสร้าง สศช. ปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามมติ บยศ. และกำหนดแนวทางการปรับปรุงองค์กร ให้สามารถขับเคลื่อนภารกิจใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับภารกิจงานด้านยุทธศาสตร์ชาติ/การปฏิรูปประเทศที่กำหนดในร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับ ทั้งนี้ บยศ. ได้กำหนดนโยบายสำคัญตาม Agenda ที่จะเร่งรัดขับเคลื่อนในระยะต่อไป ได้แก่ (1) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (2) การขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริม SMEs และ (3) การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของส่วนราชการ
ที่ประชุมรับทราบ

3.
การเตรียมความพร้อมและกลไกการรองรับภารกิจตามพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 สศช. ได้รายงานเรื่อง การเตรียมการความพร้อมและกลไกการดำเนินงานของ สศช. เพื่อรองรับ
ภารกิจยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ โดยอยู่ระหว่างการดำเนินการ การยกร่างระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการดำเนินงานด้านการประชุม การปฏิบัติหน้าที่ การจ้างที่ปรึกษา และการกำหนดค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่น รวมทั้งปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. ของสำนักงานฯ เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างตามภารกิจยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ตามที่คณะกรรมการ บยศ. เห็นชอบและที่คณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตเพิ่มเติม โดยคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเดือนกรกฎาคม 2560

ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย

โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น 

เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560

โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม