อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 397/2560
ผลการประชุม ก.พ.อ. ครั้งที่ 7/2560
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา - นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ครั้งที่ 7/2560 เมื่อวันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5
● ผลการจัดอันดับนวัตกรรมโลก ปี 2017
ที่ประชุมรับทราบผลการจัดอันดับความสามารถด้านนวัตกรรมของโลก ประจำปี 2017 โดย The Global Innovation Index (Gll) ซึ่งวัดผลศักยภาพด้านนวัตกรรมของ 127 ประเทศที่เข้าร่วม ทั้งด้านปัจจัย ด้านผลผลิต และด้านประสิทธิภาพ เพื่อประเมินภาพรวมการใช้ทรัพยากรต่อคุณภาพผลผลิตทางนวัตกรรมที่ดีกว่า
โดยผลการจัดอันดับประเทศความสามารถด้านนวัตกรรมของโลก 25 ลำดับแรก สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับ 1 ด้วยคะแนน 67.69, อันดับ 2 สวีเดน คะแนน 63.82, อันดับ 3 เนเธอร์แลนด์ คะแนน 63.36 (ตามภาพ)
ตารางด้านล่าง แสดงถึงอันดับของประเทศต่าง ๆ แยกเป็น ภูมิภาคในทวีปต่าง ๆ ของโลก
ส่วนประเทศไทย อยู่ในอันดับ 51 ของโลก (คะแนน 37.60) และอยู่ในอันดับที่ 7 ของผลการจัดอันดับในกลุ่มประเทศ ASEAN+3 รองจากสิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย และเวียดนาม ตามลำดับ
ส่วนการจัดอันดับด้าน Human Capital and Research พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 72 ของโลก และอันดับที่ 8 ในกลุ่มประเทศอาเซียนบวกสาม (ASEAN+3) ด้วยคะแนน 30.80
ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ศึกษาวิเคราะห์ จำแนก และจัดกลุ่มศักยภาพตัวชี้วัด เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับตัวชี้วัดต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องการลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่จะต้องเร่งสนับสนุนทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรวิจัยเชิงคุณภาพ และศึกษาหลักเกณฑ์การคงไว้ซึ่งตำแหน่ง เพื่อจูงใจให้บุคลากรไม่หยุดที่จะคิดค้นงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการอุดมศึกษาต่อไป
● แต่งตั้งศาสตราจารย์ 4 ราย
ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ จำนวน 4 ราย ดังนี้
-
รศ.วุฒิสาร ตันไชย ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-
รศ.สุพัตรา ศิริโชติยะกุล ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-
รศ.ชัยวัฒน์ โตอนันต์ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-
รศ.ชายชาญ โพธิรัตน์ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
● ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก และความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ ปี 2017
ที่ประชุมรับทราบผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก ประจำปี 2017/2018 ทั้ง 2 สถาบัน ดังนี้
-
"Quacquarelli Symonds (QS)" สถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก สหราชอาณาจักร ซึ่งได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก 959 อันดับ โดยในการจัดอันดับครั้งนี้ เน้นถึงความเป็นท้องถิ่นและธุรกิจเพิ่มมากขึ้น พร้อมพิจารณาจากเกณฑ์การจัดอันดับ 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความมีชื่อเสียงทางวิชาการจากนักวิชาการทั่วโลก ความมีชื่อเสียงจากผู้จ้างงาน อัตราส่วนจำนวนนักศึกษาต่อจำนวนอาจารย์ งานวิจัยที่ถูกนำไปอ้างอิง อัตราส่วนจำนวนอาจารย์ต่างประเทศ/นานาชาติ และอัตราส่วนจำนวนนักศึกษาต่างประเทศ/นานาชาติ
ซึ่งผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก ประจำปี 2017/2018 พบว่า มหาวิทยาลัยที่อยู่ใน 10 อันดับแรกของโลก เป็นมหาวิทยาลัยจากสหรัฐอเมริกามากที่สุด 5 แห่ง รองลงมาได้แก่ สหราชอาณาจักร 4 แห่ง และสวิตเซอร์แลนด์ 1 แห่ง ตามลำดับ ส่วนประเทศไทย มีมหาวิทยาลัย 8 แห่งที่ติดอันดับอยู่ใน 959 อันดับแรกของโลก โดยมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับที่ดีที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 245 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา (อันดับ 252) อันดับ 334 มหาวิทยาลัยมหิดล และอันดับ 551-600 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-
"International Institute for Management Development : IMD"
สถาบันการจัดการนานาชาติ ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ ปี 2017 ของ 63 ประเทศทั่วโลก ในรายงาน The World Competitiveness Yearbook 2017 จากปัจจัย 4 ด้านหลัก ทั้งสภาวะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐ ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน โดยผลการจัดอันดับสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ เดนมาร์ก ลักแซมเบิร์ก สวีเดน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตามลำดับ
ในส่วนของประเทศไทย มีผลการจัดอันดับดีขึ้น จากอันดับที่ 28 ในปี 2016 เป็นอันดับ 27 ในปีนี้ และอยู่ในอันดับ 5 ในกลุ่มอาเซียนด้วย และเมื่อพิจารณาการจัดอันดับหมวดย่อย 25 ตัวชี้วัด พบว่าหลายตัวชี้วัดมีการพัฒนาและมีอันดับดีขึ้นมาก อาทิ ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาโดยรวม, จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา, การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของภาคธุรกิจต่อ GDP ปรับตัวดีขึ้น 10 ลำดับ รวมทั้งความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของประเทศปรับตัวดีขึ้นถึง 9 อันดับด้วย
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวด้วยว่า ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นว่าข้อมูลในการจัดอันดับให้ความสำคัญกับการสำรวจความคิดเห็นภายในประเทศ มากกว่าการให้ค่าน้ำหนักเรื่องวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัย อีกทั้งยังเน้นความเป็นท้องถิ่นและธุรกิจมากขึ้น จึงทำให้มหาวิทยาลัยที่เน้นความเป็นสากล มีอันดับที่ลดลงและส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในเชิงธุรกิจด้วย
ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะกล่าวโทษการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเช่นที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกันได้ขอให้ สกอ. ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลและตัวชี้วัดในการจัดอันดับปีนี้ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยต่อไป
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 397/2560
ผลการประชุม ก.พ.อ. ครั้งที่ 7/2560
ผลการประชุม ก.พ.อ. ครั้งที่ 7/2560
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา - นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ครั้งที่ 7/2560 เมื่อวันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5
● ผลการจัดอันดับนวัตกรรมโลก ปี 2017
ที่ประชุมรับทราบผลการจัดอันดับความสามารถด้านนวัตกรรมของโลก ประจำปี 2017 โดย The Global Innovation Index (Gll) ซึ่งวัดผลศักยภาพด้านนวัตกรรมของ 127 ประเทศที่เข้าร่วม ทั้งด้านปัจจัย ด้านผลผลิต และด้านประสิทธิภาพ เพื่อประเมินภาพรวมการใช้ทรัพยากรต่อคุณภาพผลผลิตทางนวัตกรรมที่ดีกว่า
โดยผลการจัดอันดับประเทศความสามารถด้านนวัตกรรมของโลก 25 ลำดับแรก สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับ 1 ด้วยคะแนน 67.69, อันดับ 2 สวีเดน คะแนน 63.82, อันดับ 3 เนเธอร์แลนด์ คะแนน 63.36 (ตามภาพ)
ตารางด้านล่าง แสดงถึงอันดับของประเทศต่าง ๆ แยกเป็น ภูมิภาคในทวีปต่าง ๆ ของโลก
ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ศึกษาวิเคราะห์ จำแนก และจัดกลุ่มศักยภาพตัวชี้วัด เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับตัวชี้วัดต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องการลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่จะต้องเร่งสนับสนุนทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรวิจัยเชิงคุณภาพ และศึกษาหลักเกณฑ์การคงไว้ซึ่งตำแหน่ง เพื่อจูงใจให้บุคลากรไม่หยุดที่จะคิดค้นงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการอุดมศึกษาต่อไป
ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ จำนวน 4 ราย ดังนี้
- รศ.วุฒิสาร ตันไชย ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รศ.สุพัตรา ศิริโชติยะกุล ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- รศ.ชัยวัฒน์ โตอนันต์ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- รศ.ชายชาญ โพธิรัตน์ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่ประชุมรับทราบผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก ประจำปี 2017/2018 ทั้ง 2 สถาบัน ดังนี้
- "Quacquarelli Symonds (QS)" สถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก สหราชอาณาจักร ซึ่งได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก 959 อันดับ โดยในการจัดอันดับครั้งนี้ เน้นถึงความเป็นท้องถิ่นและธุรกิจเพิ่มมากขึ้น พร้อมพิจารณาจากเกณฑ์การจัดอันดับ 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความมีชื่อเสียงทางวิชาการจากนักวิชาการทั่วโลก ความมีชื่อเสียงจากผู้จ้างงาน อัตราส่วนจำนวนนักศึกษาต่อจำนวนอาจารย์ งานวิจัยที่ถูกนำไปอ้างอิง อัตราส่วนจำนวนอาจารย์ต่างประเทศ/นานาชาติ และอัตราส่วนจำนวนนักศึกษาต่างประเทศ/นานาชาติ
ซึ่งผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก ประจำปี 2017/2018 พบว่า มหาวิทยาลัยที่อยู่ใน 10 อันดับแรกของโลก เป็นมหาวิทยาลัยจากสหรัฐอเมริกามากที่สุด 5 แห่ง รองลงมาได้แก่ สหราชอาณาจักร 4 แห่ง และสวิตเซอร์แลนด์ 1 แห่ง ตามลำดับ ส่วนประเทศไทย มีมหาวิทยาลัย 8 แห่งที่ติดอันดับอยู่ใน 959 อันดับแรกของโลก โดยมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับที่ดีที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 245 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา (อันดับ 252) อันดับ 334 มหาวิทยาลัยมหิดล และอันดับ 551-600 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - "International Institute for Management Development : IMD"
สถาบันการจัดการนานาชาติ ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ ปี 2017 ของ 63 ประเทศทั่วโลก ในรายงาน The World Competitiveness Yearbook 2017 จากปัจจัย 4 ด้านหลัก ทั้งสภาวะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐ ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน โดยผลการจัดอันดับสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ เดนมาร์ก ลักแซมเบิร์ก สวีเดน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตามลำดับ
ในส่วนของประเทศไทย มีผลการจัดอันดับดีขึ้น จากอันดับที่ 28 ในปี 2016 เป็นอันดับ 27 ในปีนี้ และอยู่ในอันดับ 5 ในกลุ่มอาเซียนด้วย และเมื่อพิจารณาการจัดอันดับหมวดย่อย 25 ตัวชี้วัด พบว่าหลายตัวชี้วัดมีการพัฒนาและมีอันดับดีขึ้นมาก อาทิ ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาโดยรวม, จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา, การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของภาคธุรกิจต่อ GDP ปรับตัวดีขึ้น 10 ลำดับ รวมทั้งความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของประเทศปรับตัวดีขึ้นถึง 9 อันดับด้วย
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวด้วยว่า ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นว่าข้อมูลในการจัดอันดับให้ความสำคัญกับการสำรวจความคิดเห็นภายในประเทศ มากกว่าการให้ค่าน้ำหนักเรื่องวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัย อีกทั้งยังเน้นความเป็นท้องถิ่นและธุรกิจมากขึ้น จึงทำให้มหาวิทยาลัยที่เน้นความเป็นสากล มีอันดับที่ลดลงและส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในเชิงธุรกิจด้วย
ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะกล่าวโทษการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเช่นที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกันได้ขอให้ สกอ. ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลและตัวชี้วัดในการจัดอันดับปีนี้ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยต่อไป
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น