อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 374/2560" ปนัดดา" มอบรางวัลผู้เป็นแบบอย่างการปฏิบัติตนที่ดีต่อสาธารณชน และบรรยายศาสตร์พระราชากับการพัฒนาการศึกษา ที่กาญจนบุรี
จังหวัดกาญจนบุรี - เมื่อวันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2560 ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานมอบเกียรติบัตรแก่นักเรียนที่เป็นแบบอย่างการปฏิบัติตนที่ดีต่อสาธารณชน พร้อมพบปะคณะครู และนักเรียน เพื่อร่วมขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม และบรรยายพิเศษเรื่อง "ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาการศึกษา" ที่โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต อ.ไทรโยค และโรงเรียนวิสุทธรังษี อ.ท่าม่วง
• ภารกิจที่โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล กล่าวภายหลังมอบเกียรติบัตรแก่นักเรียนโรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จำนวน 29 คน ที่ได้พร้อมใจกันถอดรองเท้าเลอะโคลนก่อนเข้าไปในร้านสะดวกซื้อ (7-11) จนกลายเป็นกระแสและมีการแชร์ในสื่อสังคมออนไลน์และสื่อต่าง ๆ ว่า เป็นแบบอย่างการปฏิบัติตนที่ดีที่สมควรได้รับการยกย่องชมเชย อีกทั้งยังเป็นการจุดประกายให้เยาวชนเห็นความสำคัญของการมีจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและส่วนรวมด้วย โดย รมช.ศึกษาธิการ ได้กล่าวแสดงความยินดีและภาคภูมิใจที่ลูกหลานมีความคิดที่ดี มีจิตใจเอื้ออาทรต่อผู้อื่นและส่วนรวม จึงขอเชิญชวนให้ผู้บริหาร คณะครู และเพื่อนนักเรียน ร่วมชื่นชมร่วมภาคภูมิใจกับการกระทำดีในครั้งนี้ พร้อมยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำรงตน เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างคุณงามความดีให้เกิดกับตนเองแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงผลผลิตของการปลูกฝังอบรมบ่มสอน ตั้งแต่ในระดับครอบครัว ระดับสถานศึกษาโดยครูอาจารย์และโรงเรียนด้วย ที่สามารถหล่อหลอมให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้ที่มีความคิดความอ่าน ในขณะเดียวกันก็มีคุณธรรมจริยธรรม สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการในโครงการโรงเรียนคุณธรรม ที่ต้องการจัดการศึกษาเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคน “มีความรู้คู่คุณธรรม” เพื่อเติบโตเป็นกำลังสำคัญนำพาประเทศไปสู่ความเจริญก้าวหน้า
ส่วนเรื่องของโครงการโรงเรียนคุณธรรมนั้น เกิดจากพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งในโอกาสต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระราชประสงค์สำคัญในการสืบสานพระราชปณิธานของพระราชบิดา เพื่อต้องการเห็นลูกหลานเยาวชน ครูบาอาจารย์ ผู้ปกครอง ตลอดจนสถานศึกษา น้อมนำพระราชดำริรัชกาลที่ 9 ใส่เกล้าฯ และสืบสานตามเบื้องพระยุคลบาท ทั้งพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ทั้งการเป็นนักการศึกษา ที่มีการศึกษาหาข้อมูลและมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งก่อนลงมือทำสิ่งใด ความกตัญญูกตเวทิตาต่อบิดามารดาและผู้มีพระคุณ การยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต และความเป็นพลเมืองดีของประเทศ
ดังนั้น รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรมให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาโรงเรียนและสถานศึกษาหลายแห่งดำเนินการเรื่องนี้อยู่แล้ว ทั้งในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่บทเรียน การตั้งเป้าหมายปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมประจำสถานศึกษา เป็นต้น แต่ก็ยังไม่กว้างขวางทั่วถึงเพียงพอที่จะเกิดเป็นความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดกรอบแนวคิดสำคัญ 5 ข้อที่จะต้องดำเนินการ ได้แก่ ความพอเพียง ความกตัญญู ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ และอุดมการณ์คุณธรรมจริยธรรม โดยในปี 2559 ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เป็นเป้าหมาย 10,000 แห่ง และขยายผลโครงการในปี 2560 ให้ครอบคลุมในโรงเรียนสังกัด สพฐ. ทั้ง 30,000 แห่งทั่วประเทศ พร้อม ๆ กับเชิญชวนให้สถานศึกษาอื่นเข้าร่วมด้วย อาทิ โรงเรียนเอกชน โรงเรียนที่มีความเฉพาะ (โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์) โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิทยาลัยอาชีวศึกษา ตลอดจนมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่จะเกิดเป็นความสำเร็จแบบต่อเนื่องเชื่อมโยงทั้งระบบการศึกษาต่อไป
"โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต" เกิดจากพระประสงค์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ให้จัดสร้างโรงเรียนขึ้นเมื่อปี 2533 ที่บ้านทุ่งก้างย่าง อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน และเด็กด้อยโอกาสที่ไม่สามารถเข้ารับการศึกษาได้อย่างสะดวก โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งในระยะแรกได้รับเงินบริจาคจากมูลนิธิโรงพยาบาล จนกระทั่งสามารถสร้างโรงเรียนแล้วเสร็จและเปิดทำการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2535 เป็นต้นมา
ปัจจุบันโรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต ตั้งอยู่เลขที่ 236 ม.7 ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี มีพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนรวม 686 คน มีผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และเจ้าหน้าที่ รวม 75 คน โดยมีนายณรงค์ ศิริเมือง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน บริหารงานภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งพัฒนาเด็กด้อยโอกาสสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคโนโลยี และมีคุณธรรมจริยธรรม น้อมนำโครงการพระราชดำริ ครูมีมาตรฐานวิชาชีพ บริหารงานแบบมีส่วนร่วม สู่ความเป็นมาตรฐานสากล ภายในปี 2562”
พันธกิจ: จัดการศึกษาเพื่อเด็กด้อยโอกาสเน้นความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ทักษะการดำรงชีวิต ตลอดจนส่งเสริมการบูรณาการการเรียนรู้ตามโครงการพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งพัฒนาครูให้มีมาตรฐานวิชาชีพและบริหารให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามหลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วม
คติพจน์: สง่าองอาจ ฉลาดศึกษา กล้าแสดงออก บ่งบอกน้ำใจ ใฝ่ประพฤติธรรม
สีประจำโรงเรียน: สีชมพู-ฟ้า
• ภารกิจที่ โรงเรียนวิสุทธรังษี
ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมช.ศึกษาธิการ เดินทางไปพบปะคณะครู และนักเรียนโรงเรียนวิสุทธรังษี อ.ท่าม่วง เพื่อร่วมขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม พร้อมบรรยายพิเศษเรื่อง "ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาการศึกษา
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล กล่าวตอนหนึ่งว่า นอกจากกระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรมในสถานศึกษาทุกสังกัดทั่วประเทศแล้ว ยังได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมของลูกหลานเยาวชนเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วย ซึ่งความหมายของไทยแลนด์ 4.0 ในด้านของการศึกษา คงจะหมายถึง “ความเป็นเลิศด้านการศึกษา” ที่จะต้องเน้นการเพิ่มคุณภาพของกระบวนการจัดการศึกษาให้ครบถ้วนและครอบคลุมในทุกด้าน เพื่อที่จะสามารถรองรับการพัฒนานักเรียนนักศึกษาได้เต็มตามศักยภาพ ตามถนัดและความสามารถที่หลากหลาย ตลอดจนเกิดความชำนาญการ เชี่ยวชาญมากเพียงพอที่จะคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาชีวิต พัฒนาอาชีพ และพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก
ในขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาเรื่องของภาษาเพื่อการสื่อสารไปพร้อมกัน ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน และภาษาอื่น ๆ รวมทั้งสร้างความตระหนักแก่สถานศึกษาในเรื่องของวิชาแนะแนวด้วย ทั้งการจัดหาครูแนะแนว การจัดชั่วโมงโฮมรูม เพื่อให้ครูแนะแนวและครูประจำชั้น ร่วมกันชี้แนะ แนะนำ แนวทางการเรียนต่อของนักเรียน ให้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้องตามความถนัด ตามพรสวรรค์ และความสามารถของตัวเอง อันจะเกิดเป็นผลสำเร็จที่สร้างความภาคภูมิใจต่อตนเอง ต่อครอบครัว และต่อสถานศึกษาในอนาคต
จากการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนสถานศึกษาในหลายจังหวัดทั่วประเทศ พบว่าเด็กของเรามีความรู้ความสามารถหลากหลาย และมีความเก่งไม่ได้ด้อยไปกว่าประเทศอื่นใดเลย โดยเฉพาะในเรื่องของภาษา ที่ระยะหลัง ๆ ทุกสถานศึกษาให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษและมีพัฒนาการด้านการสื่อสารที่ดีขึ้นตามลำดับ แม้โรงเรียนบางแห่งยังขาดครูอาจารย์ที่จบตรงเอกภาษาอังกฤษก็ตาม โดยกระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินการแก้ไขเรื่องนี้ในภาพรวมของประเทศต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถสื่อสารภาษาประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา มลายู และภาษาอื่นที่นำไปสู่ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจด้วย เช่น ภาษาจีนกลาง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการศึกษา เป็นการพัฒนาคนที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการบ่มเพาะ เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเด็กไปสู่การผู้ใหญ่เพื่อพัฒนาประเทศในอนาคต มิใช่เป็นเรื่องของเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีแต่อย่างใด ดังนั้นอาจจะไม่สามารถดำเนินการให้ครบถ้วนได้ทุกอย่างพร้อมกันได้ แต่ขอยืนยันว่ากระทรวงศึกษาธิการมีความพยายามและมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดความสำเร็จอย่างต่อเนื่องอย่างเต็มที่
"โรงเรียนวิสุทธรังษี" ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2447 ในบริเวณวัดไชยชุมพลชนะสงคราม โดยแรกอยู่ในความควบคุมดูแลของพระอมรโมฬี วัดบวรนิเวศวิหาร โดยจัดการเรียนการสอนชั้นมูลและชั้นประถมแก่นักเรียน 54 คน ต่อมาในปี 2449 เปลี่ยนผู้ดูแลเป็น พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดในขณะนั้น และเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของ จ.กาญจนบุรี ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนตัวอย่างประจำจังหวัด” จนกระทั่งปี 2481 มีการเปลี่ยนหลักสูตรการสอนเป็นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 พร้อมขยายชั้นเรียน มีการก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม และมีพัฒนาการมาโดยลำดับ จนถึงปี 2497 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ปัจจุบันโรงเรียนย้ายไปที่ตั้งใหม่ ณ ต.ท่าล้อ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) และได้เข้าร่วมโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการห้องเรียนพิเศษ (IP) (วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์), เป็นโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551, โครงการนำร่องการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ (EIS), โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยรูปแบบ English Bilingual Education (EBD) เป็นต้น โดยมีนายหงส์ดี ศรีเสน เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
คติพจน์: ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะทำให้เกิดสุข
ปรัชญา: การศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม
คำขวัญ: สามัคคี มีวินัย ตั้งใจเรียน เพียรทำดี
สีประจำโรงเรียน: สีฟ้า-เหลือง
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 374/2560" ปนัดดา" มอบรางวัลผู้เป็นแบบอย่างการปฏิบัติตนที่ดีต่อสาธารณชน และบรรยายศาสตร์พระราชากับการพัฒนาการศึกษา ที่กาญจนบุรี
จังหวัดกาญจนบุรี - เมื่อวันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2560 ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานมอบเกียรติบัตรแก่นักเรียนที่เป็นแบบอย่างการปฏิบัติตนที่ดีต่อสาธารณชน พร้อมพบปะคณะครู และนักเรียน เพื่อร่วมขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม และบรรยายพิเศษเรื่อง "ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาการศึกษา" ที่โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต อ.ไทรโยค และโรงเรียนวิสุทธรังษี อ.ท่าม่วง
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล กล่าวภายหลังมอบเกียรติบัตรแก่นักเรียนโรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จำนวน 29 คน ที่ได้พร้อมใจกันถอดรองเท้าเลอะโคลนก่อนเข้าไปในร้านสะดวกซื้อ (7-11) จนกลายเป็นกระแสและมีการแชร์ในสื่อสังคมออนไลน์และสื่อต่าง ๆ ว่า เป็นแบบอย่างการปฏิบัติตนที่ดีที่สมควรได้รับการยกย่องชมเชย อีกทั้งยังเป็นการจุดประกายให้เยาวชนเห็นความสำคัญของการมีจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและส่วนรวมด้วย โดย รมช.ศึกษาธิการ ได้กล่าวแสดงความยินดีและภาคภูมิใจที่ลูกหลานมีความคิดที่ดี มีจิตใจเอื้ออาทรต่อผู้อื่นและส่วนรวม จึงขอเชิญชวนให้ผู้บริหาร คณะครู และเพื่อนนักเรียน ร่วมชื่นชมร่วมภาคภูมิใจกับการกระทำดีในครั้งนี้ พร้อมยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำรงตน เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างคุณงามความดีให้เกิดกับตนเองแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงผลผลิตของการปลูกฝังอบรมบ่มสอน ตั้งแต่ในระดับครอบครัว ระดับสถานศึกษาโดยครูอาจารย์และโรงเรียนด้วย ที่สามารถหล่อหลอมให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้ที่มีความคิดความอ่าน ในขณะเดียวกันก็มีคุณธรรมจริยธรรม สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการในโครงการโรงเรียนคุณธรรม ที่ต้องการจัดการศึกษาเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคน “มีความรู้คู่คุณธรรม” เพื่อเติบโตเป็นกำลังสำคัญนำพาประเทศไปสู่ความเจริญก้าวหน้า
ส่วนเรื่องของโครงการโรงเรียนคุณธรรมนั้น เกิดจากพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งในโอกาสต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระราชประสงค์สำคัญในการสืบสานพระราชปณิธานของพระราชบิดา เพื่อต้องการเห็นลูกหลานเยาวชน ครูบาอาจารย์ ผู้ปกครอง ตลอดจนสถานศึกษา น้อมนำพระราชดำริรัชกาลที่ 9 ใส่เกล้าฯ และสืบสานตามเบื้องพระยุคลบาท ทั้งพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ทั้งการเป็นนักการศึกษา ที่มีการศึกษาหาข้อมูลและมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งก่อนลงมือทำสิ่งใด ความกตัญญูกตเวทิตาต่อบิดามารดาและผู้มีพระคุณ การยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต และความเป็นพลเมืองดีของประเทศ
ดังนั้น รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรมให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาโรงเรียนและสถานศึกษาหลายแห่งดำเนินการเรื่องนี้อยู่แล้ว ทั้งในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่บทเรียน การตั้งเป้าหมายปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมประจำสถานศึกษา เป็นต้น แต่ก็ยังไม่กว้างขวางทั่วถึงเพียงพอที่จะเกิดเป็นความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดกรอบแนวคิดสำคัญ 5 ข้อที่จะต้องดำเนินการ ได้แก่ ความพอเพียง ความกตัญญู ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ และอุดมการณ์คุณธรรมจริยธรรม โดยในปี 2559 ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เป็นเป้าหมาย 10,000 แห่ง และขยายผลโครงการในปี 2560 ให้ครอบคลุมในโรงเรียนสังกัด สพฐ. ทั้ง 30,000 แห่งทั่วประเทศ พร้อม ๆ กับเชิญชวนให้สถานศึกษาอื่นเข้าร่วมด้วย อาทิ โรงเรียนเอกชน โรงเรียนที่มีความเฉพาะ (โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์) โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิทยาลัยอาชีวศึกษา ตลอดจนมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่จะเกิดเป็นความสำเร็จแบบต่อเนื่องเชื่อมโยงทั้งระบบการศึกษาต่อไป
"โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต" เกิดจากพระประสงค์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ให้จัดสร้างโรงเรียนขึ้นเมื่อปี 2533 ที่บ้านทุ่งก้างย่าง อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน และเด็กด้อยโอกาสที่ไม่สามารถเข้ารับการศึกษาได้อย่างสะดวก โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งในระยะแรกได้รับเงินบริจาคจากมูลนิธิโรงพยาบาล จนกระทั่งสามารถสร้างโรงเรียนแล้วเสร็จและเปิดทำการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2535 เป็นต้นมาปัจจุบันโรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต ตั้งอยู่เลขที่ 236 ม.7 ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี มีพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนรวม 686 คน มีผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และเจ้าหน้าที่ รวม 75 คน โดยมีนายณรงค์ ศิริเมือง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน บริหารงานภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งพัฒนาเด็กด้อยโอกาสสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคโนโลยี และมีคุณธรรมจริยธรรม น้อมนำโครงการพระราชดำริ ครูมีมาตรฐานวิชาชีพ บริหารงานแบบมีส่วนร่วม สู่ความเป็นมาตรฐานสากล ภายในปี 2562”พันธกิจ: จัดการศึกษาเพื่อเด็กด้อยโอกาสเน้นความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ทักษะการดำรงชีวิต ตลอดจนส่งเสริมการบูรณาการการเรียนรู้ตามโครงการพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งพัฒนาครูให้มีมาตรฐานวิชาชีพและบริหารให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามหลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วม
คติพจน์: สง่าองอาจ ฉลาดศึกษา กล้าแสดงออก บ่งบอกน้ำใจ ใฝ่ประพฤติธรรม
สีประจำโรงเรียน: สีชมพู-ฟ้า
ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมช.ศึกษาธิการ เดินทางไปพบปะคณะครู และนักเรียนโรงเรียนวิสุทธรังษี อ.ท่าม่วง เพื่อร่วมขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม พร้อมบรรยายพิเศษเรื่อง "ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาการศึกษา
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล กล่าวตอนหนึ่งว่า นอกจากกระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรมในสถานศึกษาทุกสังกัดทั่วประเทศแล้ว ยังได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมของลูกหลานเยาวชนเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วย ซึ่งความหมายของไทยแลนด์ 4.0 ในด้านของการศึกษา คงจะหมายถึง “ความเป็นเลิศด้านการศึกษา” ที่จะต้องเน้นการเพิ่มคุณภาพของกระบวนการจัดการศึกษาให้ครบถ้วนและครอบคลุมในทุกด้าน เพื่อที่จะสามารถรองรับการพัฒนานักเรียนนักศึกษาได้เต็มตามศักยภาพ ตามถนัดและความสามารถที่หลากหลาย ตลอดจนเกิดความชำนาญการ เชี่ยวชาญมากเพียงพอที่จะคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาชีวิต พัฒนาอาชีพ และพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก
ในขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาเรื่องของภาษาเพื่อการสื่อสารไปพร้อมกัน ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน และภาษาอื่น ๆ รวมทั้งสร้างความตระหนักแก่สถานศึกษาในเรื่องของวิชาแนะแนวด้วย ทั้งการจัดหาครูแนะแนว การจัดชั่วโมงโฮมรูม เพื่อให้ครูแนะแนวและครูประจำชั้น ร่วมกันชี้แนะ แนะนำ แนวทางการเรียนต่อของนักเรียน ให้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้องตามความถนัด ตามพรสวรรค์ และความสามารถของตัวเอง อันจะเกิดเป็นผลสำเร็จที่สร้างความภาคภูมิใจต่อตนเอง ต่อครอบครัว และต่อสถานศึกษาในอนาคต
จากการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนสถานศึกษาในหลายจังหวัดทั่วประเทศ พบว่าเด็กของเรามีความรู้ความสามารถหลากหลาย และมีความเก่งไม่ได้ด้อยไปกว่าประเทศอื่นใดเลย โดยเฉพาะในเรื่องของภาษา ที่ระยะหลัง ๆ ทุกสถานศึกษาให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษและมีพัฒนาการด้านการสื่อสารที่ดีขึ้นตามลำดับ แม้โรงเรียนบางแห่งยังขาดครูอาจารย์ที่จบตรงเอกภาษาอังกฤษก็ตาม โดยกระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินการแก้ไขเรื่องนี้ในภาพรวมของประเทศต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถสื่อสารภาษาประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา มลายู และภาษาอื่นที่นำไปสู่ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจด้วย เช่น ภาษาจีนกลาง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการศึกษา เป็นการพัฒนาคนที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการบ่มเพาะ เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเด็กไปสู่การผู้ใหญ่เพื่อพัฒนาประเทศในอนาคต มิใช่เป็นเรื่องของเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีแต่อย่างใด ดังนั้นอาจจะไม่สามารถดำเนินการให้ครบถ้วนได้ทุกอย่างพร้อมกันได้ แต่ขอยืนยันว่ากระทรวงศึกษาธิการมีความพยายามและมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดความสำเร็จอย่างต่อเนื่องอย่างเต็มที่
"โรงเรียนวิสุทธรังษี" ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2447 ในบริเวณวัดไชยชุมพลชนะสงคราม โดยแรกอยู่ในความควบคุมดูแลของพระอมรโมฬี วัดบวรนิเวศวิหาร โดยจัดการเรียนการสอนชั้นมูลและชั้นประถมแก่นักเรียน 54 คน ต่อมาในปี 2449 เปลี่ยนผู้ดูแลเป็น พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดในขณะนั้น และเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของ จ.กาญจนบุรี ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนตัวอย่างประจำจังหวัด” จนกระทั่งปี 2481 มีการเปลี่ยนหลักสูตรการสอนเป็นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 พร้อมขยายชั้นเรียน มีการก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม และมีพัฒนาการมาโดยลำดับ จนถึงปี 2497 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาปัจจุบันโรงเรียนย้ายไปที่ตั้งใหม่ ณ ต.ท่าล้อ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) และได้เข้าร่วมโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการห้องเรียนพิเศษ (IP) (วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์), เป็นโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551, โครงการนำร่องการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ (EIS), โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยรูปแบบ English Bilingual Education (EBD) เป็นต้น โดยมีนายหงส์ดี ศรีเสน เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคติพจน์: ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะทำให้เกิดสุข
ปรัชญา: การศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม
คำขวัญ: สามัคคี มีวินัย ตั้งใจเรียน เพียรทำดี
สีประจำโรงเรียน: สีฟ้า-เหลือง
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น