เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
-เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา 2557
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 299/2557"คืนความสุขให้เธอ ... เยาวชน"
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ - พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดโครงการ “คืนความสุขให้เธอ...เยาวชน” พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิ ทรรศการและกิจกรรมภายในงาน โดยมีพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิ การ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิ ทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปลัดกระทรวง ผู้บริหารและข้ าราชการจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (วท.) และนักเรียน ให้การต้อนรับและร่วมงาน เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2557 ที่ห้องมหกรรมสามมิติ อาคาร 2
รมว.ศธ. กล่าวว่า ภารกิจของ ศธ.คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการจัดการศึกษาทั้งรูปแบบการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ การศึกษาวิทยาศาสตร์ตามอัธยาศัยของเยาวชนและประชาชนทั่วไป ในแหล่งการเรียนรู้ของ ศธ.ที่ได้ถือกำเนิดมากว่า 50 ปี ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) ทำหน้าที่เป็นแหล่งการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไป
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดท้องฟ้าจำลองกรุงเทพและหอดูดาว เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2507 จนบัดนี้ได้ให้บริการประชาชนไปแล้วประมาณ 24 ล้านคน ต่อมาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบันศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาได้ขยายตัวสู่ภูมิภาคต่างๆ โดยเปิดให้บริการแล้วรวม 16 แห่ง และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 3 แห่ง (จังหวัดนราธิวาส พิษณุโลก และนครพนม)
ภารกิจสำคัญที่ ศธ. มุ่งมั่นดำเนินการให้เห็นผล คือ การปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบ ซึ่งครอบคลุมการปฏิรูปการเรียนการสอนกับการเรียนรู้ยุคใหม่ การยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาเยาวชนที่จะเติบโตเป็นอนาคตของชาติท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ภูมิภาคอาเซียน และระดับโลก ให้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ก้าวทันเทคโนโลยี และมีกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในขณะนี้
การบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่าง ศธ. กับ วท. บนความเชื่อมั่นว่าวิทยาศาสตร์จะสามารถนำชาติยั่งยืน โดย วท.มีส่วนร่วมในการดำเนินการพัฒนาและยกระดับคุณภาพเยาวชน จัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสำหรับเยาวชนในพื้นที่แหล่งการเรียนรู้ของ ศธ. ด้วยการนำองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาถ่ายทอดให้เยาวชนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติอย่างมีความสุข และเกิดแรงบันดาลใจ ใฝ่เรียนใฝ่รู้วิทยาศาสตร์ยิ่งขึ้น เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่และของขวัญวันเด็กที่ล้ำค่าแก่เยาวชนไทย
ในโอกาสพิเศษนี้ ศธ.โดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จะเปิดให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปเข้าชมและร่วมกิจกรรมในทุกอาคารและทุกพื้นที่โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2557 จนถึงวันเด็กแห่งชาติในวันที่ 10 มกราคม 2558 ยกเว้นช่วงวันหยุดปีใหม่ ทั้งการชมท้องฟ้าจำลองที่มีการฉายดาวพร้อมการบรรยายสดโดยนักฟิสิกส์ การฉายภาพยนตร์แบบเต็มโดม 360 องศา การชมภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ในห้องมหกรรมสามมิติ โลกใต้น้ำ การชมนิทรรศการวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ รวมถึงกิจกรรมเสริมความรู้ในสี่อาคาร
ความร่วมมือในวันนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการร่วมแรงร่วมใจของ วท. และ ศธ. เพื่อเร่งพัฒนาเยาวชนไทย ทั้งนี้ ศธ.มีความยินดีที่จะขยายความร่วมมือเช่นนี้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นและยั่งยืนต่อไป
รมว.วท. กล่าวว่า โครงการ “คืนความสุขให้เธอ...เยาวชน” เป็นการดำเนินงานเชิงบูรณาการของทั้งสองกระทรวงตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในส่วนของ วท.มีภารกิจหลัก คือการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่เน้นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร และการเสริมสร้างความตระหนักทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่เยาวชน การสร้างองค์ความรู้และความตระหนักดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและสร้างสังคมให้เป็นสังคมฐานความรู้ มีเหตุมีผล การใช้องค์ความรู้ในการตัดสินใจ การดำเนินวิถีชีวิตในสังคม ซึ่งจำเป็นจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยเยาว์ ผ่านกิจกรรมที่มีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
การดำเนินงานที่ผ่านมาของ วท.มีการจัดกิจกรรมที่มีความต่อเนื่อง และการดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน และประชาสังคม อาทิ การจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 100 หน่วยงาน มีเยาวชนและครอบครัวเข้าชมงานในปีที่ผ่านมามากกว่า 1 ล้านคน รวมทั้งการจัดนิทรรศการที่มีองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เป็นหน่วยงานหลัก การบูรณาการร่วมกันในครั้งนี้ เป็นรูปแบบของการส่งเสริมเยาวชนนอกห้องเรียนบนพื้นฐานที่ว่า ศธ.มีสถานที่แหล่งเรียนรู้มากมาย โดยเฉพาะศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ในขณะที่ วท.มีองค์ความรู้ จึงเป็นการเชื่อมโยงที่ได้ผลดีโดยไม่ต้องลงทุนมาก และมีศักยภาพที่จะดำเนินการร่วมกันต่อไปในอนาคต ไม่เพียงเฉพาะกับศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเท่านั้น
กิจกรรมของโครงการ “คืนความสุขให้เธอ...เยาวชน” แบ่งออกเป็น 2 กิจกรรมหลัก คือ
1) นิทรรศการ “ดาราศาสตร์ บันดาลใจ” เป็นนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ บนพื้นที่ 600 ตารางเมตรในอาคาร 2 โดยมุ่งเน้นให้เยาวชนได้เรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน ผ่านสื่อ Interactive ที่สร้างความตื่นเต้นพร้อมด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น พระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยกับพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ โลกและเอกภพ คณิตศาสตร์และการคำนวณทางดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีการบิน และ Science Idol เส้นทางสู่นักวิทย์ เป็นต้น
2) กิจกรรม “สนุกวิทย์ สนุกคิด” เป็นกิจกรรมภายนอกอาคาร 2 มีกำหนดจัดแสดง 10 วัน (ตั้งแต่วันที่ 17-26 ธันวาคม 2557) โดย 12 หน่วยงานในสังกัด วท.ร่วมกันเปิดสถานีการทดลอง ผ่านเครื่องเล่นเสริมสร้างปัญญาที่จะช่วยฝึกสมอง ต่อยอดความคิดจินตนาการ และฝึกฝนทักษะผ่านการทดลองและปฏิบัติจริง
ความร่วมมือดังกล่าวเป็นนิมิตใหม่ในการร่วมกันทำงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยหวังว่าเยาวชนในวันนี้จะก้าวย่างต่อไปในอนาคตด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน และมีส่วนสำคัญในการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีความขาดแคลน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรองรับประชาคมอาเซียนและพัฒนาขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันทุกอย่างเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น ประเทศไทยจะต้องพัฒนาเรื่องของความรู้และการศึกษา วันนี้มีกิจกรรมและนิทรรศการหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น นิทรรศการ “ดาราศาสตร์ บันดาลใจ” กิจกรรม “สนุกวิทย์ สนุกคิด” ภายใต้แนวคิด “วิทยาศาสตร์ นำชาติอย่างยั่งยืน” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยความสนุกสนาน
ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าช้าเพราะขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในการสร้างนวัตกรรมใหม่ คือการผลิตสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นความต้องการของมนุษย์และมีความทันสมัย จะเห็นได้ว่าประเทศที่สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ได้มากจะมีความเจริญ มีรายได้เข้าประเทศมาก แต่ประเทศไทยเก่ง
ด้านเกษตรกรรมและปศุสัตว์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพของมนุษยชาติ คนไทยจึงต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ในการทำให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความทันสมัยขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น
จากการที่ได้หารือกับ รมว.ศธ.และ รมว.วท.มีความต้องการให้นักเรียนเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น เพราะนักเรียนส่วนใหญ่เลือกเรียนในสาขาวิชาที่ง่ายกว่า
แต่เมื่อจบการศึกษาแล้วไม่มีงานทำ อีกทั้งต้องวางยุทธศาสตร์ของชาติด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างนวัตกรรมใหม่ โดยให้ ศธ.ปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกัน นำผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์มาเป็นครูหรือนักวิจัย สร้างคนรุ่นใหม่กับคนยุคปัจจุบันให้สอดประสานกัน หากไม่สามารถสร้างครูใหม่ ก็ควรต่อยอดและพัฒนาครูที่อยู่ในระบบด้วยวิทยาการใหม่ ขยายครูวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น ปรับครูให้มีพื้นฐานใกล้เคียงกัน
ปัจจุบัน เยาวชนขาดกระบวนการคิดและวิสัยทัศน์ในการคิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข แต่ต้องใช้ระยะเวลา และคณะทำงานที่เข้มแข็ง โดยครู วิทยากรภายนอก นักเรียน และผู้ปกครองต้องร่วมมือกัน เนื่องจากประเทศไทยต้องการคนที่มีความรู้ มีกระบวนการคิดและวิสัยทัศน์ที่ดี คำนึงถึงชาติบ้านเมืองเป็นหลัก ดังคำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2558 “ความรู้คู่คุณธรรม นำสู่อนาคต”
ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าช้าเพราะขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในการสร้างนวัตกรรมใหม่ คือการผลิตสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นความต้องการของมนุษย์และมีความทันสมัย จะเห็นได้ว่าประเทศที่สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ได้มากจะมีความเจริญ มีรายได้เข้าประเทศมาก แต่ประเทศไทยเก่ง
ด้านเกษตรกรรมและปศุสัตว์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพของมนุษยชาติ คนไทยจึงต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ในการทำให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความทันสมัยขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น
จากการที่ได้หารือกับ รมว.ศธ.และ รมว.วท.มีความต้องการให้นักเรียนเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น เพราะนักเรียนส่วนใหญ่เลือกเรียนในสาขาวิชาที่ง่ายกว่า
แต่เมื่อจบการศึกษาแล้วไม่มีงานทำ อีกทั้งต้องวางยุทธศาสตร์ของชาติด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างนวัตกรรมใหม่ โดยให้ ศธ.ปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกัน นำผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์มาเป็นครูหรือนักวิจัย สร้างคนรุ่นใหม่กับคนยุคปัจจุบันให้สอดประสานกัน หากไม่สามารถสร้างครูใหม่ ก็ควรต่อยอดและพัฒนาครูที่อยู่ในระบบด้วยวิทยาการใหม่ ขยายครูวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น ปรับครูให้มีพื้นฐานใกล้เคียงกัน
ปัจจุบัน เยาวชนขาดกระบวนการคิดและวิสัยทัศน์ในการคิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข แต่ต้องใช้ระยะเวลา และคณะทำงานที่เข้มแข็ง โดยครู วิทยากรภายนอก นักเรียน และผู้ปกครองต้องร่วมมือกัน เนื่องจากประเทศไทยต้องการคนที่มีความรู้ มีกระบวนการคิดและวิสัยทัศน์ที่ดี คำนึงถึงชาติบ้านเมืองเป็นหลัก ดังคำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2558 “ความรู้คู่คุณธรรม นำสู่อนาคต”
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น