เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
2.เครื่องแบบพนักงานราชการ 2557
-เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา 2557
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
สพฐ.กระจายศูนย์’สะเต็มศึกษา’
นายพิเชฎษ์ จับจิตต์ ผอ.สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าการเรียนการสอนในรูปแบบ สะเต็มศึกษาว่า จากการที่ สพฐ. ลงนามข้อตกลงร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดศูนย์การเรียนการสอนในรูปแบบสะเต็มศึกษา 13 แห่ง ในร.ร.สังกัดสพฐ. 91 โรง โดยเปิดศูนย์การเรียนการสอนครบแล้ว สำหรับเป้าหมายต่อจากนี้คือ ต้องการกระจายการเรียนการสอนในรูปแบบสะเต็มศึกษาให้ทั่วร.ร.ทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในส่วนของร.ร.ที่มีความพร้อม จัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบดังกล่าวได้ทันที
ผอ.สวก. กล่าวต่อว่า การดำเนินการที่ผ่านมา ยังไม่สามารถประเมินผลในส่วนของเด็กได้ เพราะเป็นการเริ่มอบรมวิทยากรแกนนำ และยังไม่มีการขยายการเรียนการสอนในทุกเขตพื้นที่ ซึ่งจะสามารถประเมินผลในตัวของเด็กได้ในปีงบประมาณ 2558 ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาในการดำเนินการ ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างสพฐ.และสสวท. ในเรื่องของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งขั้นตอนหลังนี้จะกระจายตัวกิจกรรมที่มีอยู่แล้ว ลงไปสู่ห้องเรียน สู่ครูผู้สอน เพื่อนำไปสู่กระบวนการขยายห้องเรียนให้มากขึ้น รวมถึงวางแผนการขยายตัวกิจกรรมให้ครอบคลุมทั้งระดับประถม มัธยมต้น และมัธยมปลาย ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือว่าจะดำเนินการในรูปแบบใด นอกจากนี้ จะเพิ่มงบในปี'58 ซึ่งต้องหารือกันอีกครั้ง
--จบ--
--ข่าวสด ฉบับวันที่ 24 ธ.ค. 2557 (กรอบบ่าย)--
ที่มา ; เว็บ กระทรวงศึกษาธิการ
สพฐ.กระจายศูนย์’สะเต็มศึกษา’
นายพิเชฎษ์ จับจิตต์ ผอ.สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าการเรียนการสอนในรูปแบบ สะเต็มศึกษาว่า จากการที่ สพฐ. ลงนามข้อตกลงร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดศูนย์การเรียนการสอนในรูปแบบสะเต็มศึกษา 13 แห่ง ในร.ร.สังกัดสพฐ. 91 โรง โดยเปิดศูนย์การเรียนการสอนครบแล้ว สำหรับเป้าหมายต่อจากนี้คือ ต้องการกระจายการเรียนการสอนในรูปแบบสะเต็มศึกษาให้ทั่วร.ร.ทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในส่วนของร.ร.ที่มีความพร้อม จัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบดังกล่าวได้ทันที
ผอ.สวก. กล่าวต่อว่า การดำเนินการที่ผ่านมา ยังไม่สามารถประเมินผลในส่วนของเด็กได้ เพราะเป็นการเริ่มอบรมวิทยากรแกนนำ และยังไม่มีการขยายการเรียนการสอนในทุกเขตพื้นที่ ซึ่งจะสามารถประเมินผลในตัวของเด็กได้ในปีงบประมาณ 2558 ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาในการดำเนินการ ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างสพฐ.และสสวท. ในเรื่องของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งขั้นตอนหลังนี้จะกระจายตัวกิจกรรมที่มีอยู่แล้ว ลงไปสู่ห้องเรียน สู่ครูผู้สอน เพื่อนำไปสู่กระบวนการขยายห้องเรียนให้มากขึ้น รวมถึงวางแผนการขยายตัวกิจกรรมให้ครอบคลุมทั้งระดับประถม มัธยมต้น และมัธยมปลาย ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือว่าจะดำเนินการในรูปแบบใด นอกจากนี้ จะเพิ่มงบในปี'58 ซึ่งต้องหารือกันอีกครั้ง
--จบ--
ผอ.สวก. กล่าวต่อว่า การดำเนินการที่ผ่านมา ยังไม่สามารถประเมินผลในส่วนของเด็กได้ เพราะเป็นการเริ่มอบรมวิทยากรแกนนำ และยังไม่มีการขยายการเรียนการสอนในทุกเขตพื้นที่ ซึ่งจะสามารถประเมินผลในตัวของเด็กได้ในปีงบประมาณ 2558 ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาในการดำเนินการ ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างสพฐ.และสสวท. ในเรื่องของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งขั้นตอนหลังนี้จะกระจายตัวกิจกรรมที่มีอยู่แล้ว ลงไปสู่ห้องเรียน สู่ครูผู้สอน เพื่อนำไปสู่กระบวนการขยายห้องเรียนให้มากขึ้น รวมถึงวางแผนการขยายตัวกิจกรรมให้ครอบคลุมทั้งระดับประถม มัธยมต้น และมัธยมปลาย ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือว่าจะดำเนินการในรูปแบบใด นอกจากนี้ จะเพิ่มงบในปี'58 ซึ่งต้องหารือกันอีกครั้ง
--จบ--
--ข่าวสด ฉบับวันที่ 24 ธ.ค. 2557 (กรอบบ่าย)--
ที่มา ; เว็บ กระทรวงศึกษาธิการ
หากมองไปยังสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การไหลบ่าของข่าวสารข้อมูล และสภาพสังคมและเศรษฐกิจการค้าที่แข่งขันกันอย่างหนักหน่วง ยิ่งทำให้ทุกประเทศต้องเร่งพัฒนาประชากรของตนให้มีคุณภาพสูงขึ้น เพราะฉะนั้น การเตรียมผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจและสังคมเจริญก้าวหน้า จึงเป็นกลยุทธ์ของการพัฒนาชาติแนวทางหนึ่งซึ่งหากไทยยังไม่ตื่นตัวที่จะยกระดับคุณภาพและเพิ่มจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ก็จะตกขบวนเมื่อเข้าสู่ยุคประชาคมอาเซียนที่การเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นไปอย่างเสรี
กระทรวงศึกษาธิการของไทย ได้เร่งผลักดันแนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ (Science Technology Engineering and Mathematics Education : STEM) หรือที่เรียกว่า ระบบ "สเต็มศึกษา" เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่การศึกษาไทยและการศึกษาในประชาคมอาเซียน เริ่มจากความร่วมมือในการประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้บริหารสถานศึกษาในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสร้างวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความรู้ ความเข้าใจ และกลวิธีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนของครูในโรงเรียนต่อไป ซึ่งการประชุมนี้ได้นำไปขยายผลภายในประเทศเพื่อระดมความคิดมาแล้วหลายครั้ง
ทั้งนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ได้จัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี พ.ศ. 2555 –2559 โดยตั้งเป้าจะพัฒนาเด็กไทยให้มีความสามารถระดับนานาชาติภายในปี 2570 หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ของนักเรียนทุกช่วงชั้นจะต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งจะวัดผลจากการสอบโอเน็ต ซึ่งเป้าหมายนี้จะใช้ระบบ“สเต็มศึกษา”เป็นกลยุทธ์หลักในการพัฒนา
จึงเกิดคำถามขึ้นว่า “สเต็มศึกษา” คืออะไร เพราะจากการศึกษาข้อมูลพบว่า ขณะนี้ประเทศต่างๆ มีความตื่นตัวในเรื่องสเต็มศึกษากันมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน อเมริกา อินเดีย ฯลฯ โดยในปี 2558 ประเทศจีนจะผลิตบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สเต็มดีกรี (STEM Degree) ออกมาประมาณ 3.5 ล้านคน ซึ่งตัวเลขนี้ยังไม่นับรวมปริญญาโทและเอก ทำให้จำนวนบัณฑิตที่จีนจะผลิตออกมานั้นเกินครึ่งของทุกประเทศที่รวมกันผลิตออกมา
ดร.เปกกา เคส ผู้เชี่ยวชาญการศึกษา จากมหาวิทยาลัยโอลู ประเทศฟินแลนด์ กล่าวว่า “พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ เราสอนให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก สร้างจิตสำนึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัว เราไม่รู้ว่าเทคโนโลยีในอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่เราสร้างพื้นฐานให้เด็กของเรามีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยี และเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากมันในอนาคต” ประเทศฟินแลนด์จึงเป็นประเทศที่พัฒนาการศึกษาได้ดีที่สุดในโลก เนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญด้านวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน จึงมีความเข้มงวดในการคัดเลือกบุคคลที่จะมาประกอบอาชีพครูในทุกระดับชั้น โดยต้องจบการศึกษาขั้นต่ำปริญญาโท นอกจากนี้ทุกโรงเรียนมีมาตรฐานที่เท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนที่อยู่ในเมืองหรือนอกเมือง และการแข่งขันเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่สูง เพราะทุกมหาวิทยาลัยมีคุณภาพเท่ากัน
ในขณะที่ ชอง ชุง จากมูลนิธิวิทยาศาสตร์ขั้นสูงเพื่อการสร้างสรรค์ กล่าวว่า ประเทศเกาหลีใต้ ก็เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับระบบสเต็ม โดยเริ่มมีการนำระบบนี้มาใช้เมื่อ สามปีที่ผ่านมา และพยายามปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้บ่อยขึ้น เพื่อตอบสนองเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ถึงตรงนี้คงพอสรุปได้แล้วว่า สเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) คือ การสอนแบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์(Science: S) เทคโนโลยี (Technology: T) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineer: E) และคณิตศาสตร์ (Mathematics: M) โดยนำจุดเด่นของธรรมชาติตลอดจนวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชามาผสมผสานกันอย่างลงตัว เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา การค้นคว้า และการพัฒนาสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน เพราะในการทำงานจริงหรือในชีวิตประจำวันนั้น ต้องใช้ความรู้หลายด้านในการทำงานทั้งสิ้น ไม่ได้แยกใช้ความรู้เป็นส่วนๆ ดังนั้น ผู้เรียนที่มีประสบการณ์จากการทำกิจกรรมหรือโครงงานสเต็มจะมีความพร้อมในการประกอบอาชีพที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม การพลังงาน การจัดการสิ่งแวดล้อม การบริการสุขภาพ การคมนาคม และลอจิสติกส์ เป็นต้น
จุดเด่นของระบบ“สเต็มศึกษา” จึงตอบโจทย์การแก้ปัญหาสำหรับประเทศไทยที่การศึกษาเน้นการเรียนภาคทฤษฎีของวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี อีกทั้งยังเรียนแบบแยกส่วน และไม่เน้นด้านการปฏิบัติหรือการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่เน้นท่องจำ หรือ “เรียนเพื่อสอบ”
เมื่อต้นปี 2556 ศ.เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนทล ประธานบอร์ด สสวท.จึงประกาศใช้ “สเต็มศึกษา” มาพลิกโฉมการเรียนวิทย์-คณิตของไทย ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมไปถึงการศึกษาตลอดชีวิต เพราะหากเรายังไม่พัฒนาความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เราจะสูญเสีย
ศักยภาพการแข่งขันไปเรื่อยๆ เพราะระบบสเต็มจะตอบคำถามให้ผู้เรียนวิทยาศาสตร์ได้ว่า เรียนไปแล้วสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง และระบบสเต็มยังทำให้เกิดการบูรณาการในความรู้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ
“ถ้าเราไม่พัฒนา เราจะตกอยู่ในช่วง Middle income trap หรือตกอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง และเอสเอ็มอีเราจะตายหมด เหลือเพียงธุรกิจผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น ดังนั้น เราต้องหลุดจากช่วงนี้ไปให้ได้ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต้องเปลี่ยนความคิดพื้นฐานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ พลิกสถานการณ์ หรือที่เรียกว่า Game changer ยกตัวอย่างเช่นการมีระบบ 3 G หรือสมาร์ทโฟน ก็เป็น Game changer”
ระบบสเต็มศึกษายังสามารถสร้างเครือข่ายการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ผ่านระบบเครือข่าย 3 G ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาระหว่างโรงเรียนที่อยู่ในเขตเมือง และโรงเรียนห่างไกลในชนบท ขณะที่ภาคเอกชนก็สามารถช่วยสร้างแรงจูงใจในการเข้าสู่เส้นทางอาชีพ โดยให้ความร่วมมือบอกโจทย์หรือความต้องการในการเพิ่มผลผลิต เพื่อให้นักศึกษาในระดับการศึกษาต่าง ๆ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และข้อเสนอแนะที่สามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมนั้นๆได้
การเกิดสะเต็มศึกษานั้นจะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตร เปลี่ยนวิธีสอน และการประเมินผล โดยทาง สสวท.จะจัดตั้งสำนักสเต็มศึกษาขึ้นใน สสวท.และทุกจังหวัดเพื่อเป็นศูนย์ประสานงานและให้ข้อมูล โดยจะมีการดำเนินโครงการนำร่องสเต็มศึกษาขึ้นในโรงเรียนเครือข่ายที่มีความพร้อมประมาณ 5-10 จังหวัด ขณะเดียวกัน จะคัดเลือกทูตสเต็ม ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีประสบการณ์ในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ แพทย์ วิศวกร ในเบื้องต้นจำนวน 100คน มาเป็นผู้แนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ แก่ครู เพื่อต่อยอดในการสอนนักเรียน และจะเริ่มระบบสเต็มศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 หากเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรมก็จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศเป็นวาระแห่งชาติต่อไป
ขณะที่ นางชมัยพร ตั้งตน หัวหน้าสาขาคณิตศาสตร์ มัธยมศึกษา ของ สสวท. เปิดเผยความคืบหน้าการพัฒนาหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่สัมพันธ์กับระบบ สเต็มศึกษา ว่าขณะนี้ได้ส่งหลักสูตรที่ สสวท.ปรับแก้ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ไปให้ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ประเทศ ตรวจสอบอีกครั้ง โดย สสวท.คาดว่าหลักสูตรจะแล้วเสร็จและส่งมอบให้กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้จริงในปี 2558
ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยภาวะผู้นำทางวิชาการด้าน STEM (science technology engineering and mathematics) ของผู้บริหารสถานศึกษาจาก 9 ประเทศอาเซียน ซึ่งแสดงถึงความร่วมมือของภูมิภาคที่ต้องการเร่งสร้างกำลังคนให้สอดคล้องกับประชาคมอาเซียนด้วยระบบสเต็ม
...จึงเป็นสิ่งท้าทายความสามารถไม่น้อย หากสังคมไทยจะรู้จักและเข้าใจหลักสูตร “สเต็มศึกษา” ในวงกว้าง ในฐานะที่ได้รับการเสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ ในปี 2557...
เรียบเรียงโดย นางสาวปัณญานัตย์ วิเศษสมวงศ์
ส่วนอาเซียน สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ
ข้อมูลอ้างอิง
ศธ.ผลักดัน "สะเต็มศึกษา" บูรณาการ 4 วิชาสอนเด็กไทย : สำนักข่าวไทย TNA News |
19 ก.ค. 2556
สสวท. เร่งพัฒนาระบบการศึกษาแบบ สะเต็ม ปูทางอนาคตสู่ผู้นำภูมิภาคด้านสังคมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี : สยามธุรกิจ
สสวท. ดันระบบ"สเต็มศึกษา" เพิ่มศักยภาพแข่งขันประเทศ : ไทยโพสต์
โละสอนแบบท่องจำ ผุด “สะเต็มศึกษา” เรียนวิทย์-เทคโนฯปฏิบัติเน้นๆ :
ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 15 มกราคม 2556
สสวท.เร่งปรับหลักสูตรวิทย์-คณิต ชู "นโยบายสเต็มศึกษา" เพิ่มทักษะ-คาดทันใช้ปี 58 : ข่าวสดออนไลน์ 8 มีนาคม 2556
งานวิจัย เรื่อง “STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21” โดย พรทิพย์ ศิริภัทราชัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น