เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
-1.ปฎิทินและเกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา สพฐ.ปี 2558
3.เครื่องแบบพนักงานราชการ 2557
-เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา 2557
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 41/2558
ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 2/2558
ศึกษาธิการ - พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมีพลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลเอก สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลเรือเอก เรืองทิพย์ เทียนทอง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พันเอก ดำรงค์ สิมะขจรบุญ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุมกับผู้บริหารองค์กรหลัก ผู้ตรวจราชการ และผู้บริหารหน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีประเด็นสำคัญ สรุปดังนี้
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
-
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.)
- ความก้าวหน้าการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบกระตุ้นเศรษฐกิจ
ที่ประชุมได้รับทราบ สป.ได้รายงานผลการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ของกระทรวงศึกษาธิการ ในไตรมาสแรก (1 ตุลาคม 2557-30 มกราคม 2558) ซึ่งได้มีการเบิกจ่ายตามระบบ GFMIS โดยมีผลการเบิกจ่าย (ทุกงบ) จำนวน 184,385 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 37 ของงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับในปีงบประมาณนี้ ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายการเบิกจ่ายที่ได้ตั้งไว้ในไตรมาสแรก ในส่วนของการเบิกจ่ายงบลงทุน ได้เบิกจ่ายไปแล้ว 8,362 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของงบลงทุนที่ได้รับในปีงบประมาณนี้
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะ 3 เดือนแรกในกลุ่มมาตรการเพื่อการสร้างงาน : งบกลางที่กันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปีและงบไทยเข้มแข็งของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 12,959 ล้านบาท ซึ่งนางผานิตย์ มีสุนทร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานกรรมการดำเนินการติดตามงบลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของกระทรวงศึกษาธิการ ได้รายงานความก้าวหน้าของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรวมทั้งสิ้น 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สพฐ. 8,796 ล้านบาท สอศ. 2,375 ล้านบาท และ สกอ./มหาวิทยาลัยของรัฐ 71 แห่ง 1,788 ล้านบาท
ทั้งนี้ ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ย้ำในที่ประชุมด้วยว่า ขอให้มีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ดำเนินการด้วยความรอบคอบ พร้อมทั้งกำชับหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณให้ปฏิบัติตามระเบียบอย่างโปร่งใส
- ร่างหลักเกณฑ์ฯ เลื่อนเป็นวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement)
สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement) โดยสาระสำคัญของการประเมินตามหลักเกณฑ์นี้เพื่อเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งประเมินจากผลในการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณภาพของผู้เรียน ซึ่งจะทำให้ครูไม่ทิ้งห้องเรียน
รายละเอียดตามร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะเสนอให้ที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณา ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558
- รายงานผลการดำเนินงานการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบเกี่ยวกับผลการดำเนินงานการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ 2558 ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัยปราศจากเงื่อนไขการใช้ความรุนแรง มีสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติ ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจ ไว้วางใจ และมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมสร้างสันติภาพ” เพื่อพัฒนาการศึกษา สนับสนุนการแก้ไขปัญหา ตลอดจนพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ในปีงบประมาณ 2558 กระทรวงศึกษาธิการได้รับจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 154 โครงการ เป็นเงิน 3,453 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้เบิกจ่ายไปแล้วในไตรมาสแรก 688 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20 ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรร โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ การจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อช่วยเหลือครอบครัวของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ 486 ราย รวมเป็นเงิน 29 ล้านบาท การจัดกีฬาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตรการดูแลความปลอดภัยครูและบุคลากรทางการศึกษา โครงการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดตั้งศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
- รายงานผลการตรวจราชการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ได้รายงานผลการตรวจราชการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในปี 2558 ในประเด็นนโยบายสำคัญเรื่อง “การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 และการดำรงความต่อเนื่องภายหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” ของเขตตรวจราชการที่ 17 (พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์) และเขตตรวจที่ 18 (กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี) ซึ่งมีสรุปผลการตรวจประเด็นการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 4 ประเด็น ได้แก่
- โครงสร้างพื้นฐาน : หน่วยงานในเขตพื้นที่ได้กำหนดศูนย์อาเซียนศึกษา และทุกโรงเรียนได้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
- ความพร้อมของนักเรียน : ผลสัมฤทธิ์รายวิชาหลักของนักเรียนในระดับ ป.6 และ ม.3 ยังต่ำกว่าเกณฑ์ระดับประเทศ มีการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและภาษาอาเซียน จัดการแข่งขันตอบปัญหาอาเซียน พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการเรียนรู้
- ความพร้อมของครู : มีการอบรมครูด้านภาษาและกระบวนการคิด การใช้ ASEAN Curriculum เป็นการพัฒนาหลักสูตรร่วมอาเซียนในกลุ่มโรงเรียน
- การขยายเครือข่าย : การแลกเปลี่ยนนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ และดำเนินความร่วมมือในกลุ่มประเทศอาเซียน
นอกจากนี้ ได้มีข้อเสนอแนะว่า ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครู เพิ่มการใช้หลักสูตรรวมอาเซียนในระดับมัธยมศึกษา เพิ่มบทบาทของ กศน. และทบทวนเนื้อหาสาระของการเรียนรู้ เรื่อง การอยู่ร่วมกันในประชาคมอาเซียน
-
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
- โครงการประชุมวิชาการนานาชาติการศึกษาพิเศษ
ที่ประชุมรับทราบการเตรียมการจัดประชุมวิชาการนานาชาติด้านการศึกษาพิเศษ : นวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอน ครั้งที่ 1 (The International Conference on Special Education : Innovation to Enhance Learning Initiatives and Practices) ในระหว่างวันที่ 28-31 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ซึ่ง สพฐ.ได้จัดร่วมกับองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในการยกระดับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปีนี้ โดยคาดว่าจะมีผู้ประชุมชาวไทยและต่างประเทศเข้าร่วมมากกว่า 1,000 คน
-
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
- รายงานสรุปแนวทางทางแก้ปัญหาและการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู
ที่ประชุมรับทราบ สกอ.ได้รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ และผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตครูในสถาบันอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เพื่อให้ได้แนวทางแก้ไขปัญหาและการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู ให้การผลิตบุคลากรสาขาวิชาชีพครูมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป
โดยมีข้อเสนอแนวคิดที่น่าสนใจใน 2 ส่วนคือ
1) การผลิตครู เช่น การผลิตครูในระบบปิดเน้นสาขาที่ขาดแคลนจำเป็น และผูกกับการมีงานทำ การจัดทำฐานข้อมูลความต้องการครูในแต่ละสาขาวิชา อย่างน้อย 5 ปี การผลิตครูบางส่วนในระบบเปิดเพื่อรองรับความต้องการครูในสถานศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) การใช้และการพัฒนาครู เช่น การสร้างเครือข่ายการพัฒนาระหว่างสถาบันฝ่ายผลิตและสถานศึกษา โดยให้มหาวิทยาลัยเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงกับสถานศึกษา เพื่อช่วยในการฝึกอบรมครู การสอนงาน และให้คำปรึกษา
-
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)
- ร่างยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู
ที่ประชุมได้รับทราบกรอบแนวคิดยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู ภายใต้วิสัยทัศน์ “ยกระดับคุณภาพครูให้เป็นครูมืออาชีพมีมาตรฐานระดับสากลเหมาะสมกับการเป็นครูในศตวรรษที่ 21” ซึ่งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินการ 2 ระดับ คือ 1) คณะกรรมการยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู เพื่อทำหน้าที่กำหนดกรอบนโยบายในการผลิต การพัฒนา และการบริหารงานบุคคลของครู โดยได้จัดประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง 2) คณะอนุกรรมการปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครู เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายการผลิต การพัฒนา รวมทั้งระบบบริหารงานบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สอดคล้องกับกรอบการปฏิรูปการศึกษา โดยมีรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธาน ซึ่งได้จัดประชุมไปแล้ว 1 ครั้ง
ทั้งนี้ การแต่งตั้งคณะกรรมการทั้งสองชุด เพื่อให้ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู ทั้ง 4 ด้าน คือ 1) การปฏิรูประบบและรูปแบบการผลิตครู 2) การปฏิรูประบบและรูปแบบการพัฒนาครู 3) การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิตและพัฒนาครูทั้งระบบ 4) การสร้างกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู สอดคล้องกับการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นครูในศตวรรษที่ 21 มีการพัฒนาและสร้างสรรค์องค์ความรู้ นวัตกรรมด้านการผลิตและพัฒนาครูโดยใช้งานวิจัยเป็นพื้นฐาน ตลอดจนผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนมีคุณภาพระดับสากลต่อไป
- ความก้าวหน้าโครงการจัดทำข้อเสนอนโยบายด้านการศึกษา (Policy Review)
ที่ประชุมรับทราบมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557 ซึ่งได้เห็นชอบให้ขยายเวลาการดำเนินโครงการความร่วมมือจัดทำข้อเสนอนโยบายด้านการศึกษาของประเทศไทย โดยองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ร่วมกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐานสากล มีการเรียนรู้อย่างเท่าทันต่อสภาวการณ์ปัจจุบันและอนาคต ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2556 แต่เกิดปัญหาทางการเมือง ทำให้ต้องขยายเวลาการดำเนินงานโครงการดังกล่าวจาก 28 สัปดาห์ เป็น 81 สัปดาห์ ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 31 มีนาคม 2558 จากนั้นจึงจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีได้รับทราบข้อเสนอนโยบายด้านการศึกษา (Policy Review) ดังกล่าวต่อไป
- ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualification Framework : NQF)
สกศ.ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้า NQF ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนากำลังคนสู่มาตรฐานสากล โดยใช้ระบบคุณวุฒิเป็นองค์ประกอบในการประเมินศักยภาพการเรียนรู้ของบุคคลที่เชื่อมโยงคุณวุฒิการศึกษากับการเทียบโอนประสบการณ์ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556 ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินโครงการพัฒนาความร่วมมือในการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติของประเทศไทย และการเทียบเคียงกรอบคุณวุฒิแห่งชาติกับกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน โดยคาดว่าจะเริ่มต้นเทียบเคียงตั้งแต่ปี 2559 และอย่างช้าภายในปี 2561 แต่ไม่มีการกำหนดระยะเวลาที่แล้วเสร็จ เนื่องจากต้องคำนึงถึงความสมัครใจและความพร้อมตามบริบทของแต่ละประเทศ
- โครงการจัดทำรายงานทิศทางการพัฒนาการศึกษาระดับภาคการศึกษา
ที่ประชุมรับทราบการจัดทำรายงานทิศทางการพัฒนาการศึกษาระดับภาคการศึกษา เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ (ปี 2560-2569) ซึ่งควรจะต้องมีการกำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาเชิงพื้นที่ตามศักยภาพและภูมิสังคมของแต่ละภาคการศึกษา และเพื่อให้ทุกภาคส่วนในจังหวัด/กลุ่มจังหวัด มีส่วนร่วมในการนำเสนอทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงเวลาดังกล่าว สกศ.จึงได้ขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะสำนักงานศึกษาธิการภาค ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลในการจัดทำรายงานและเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำรายงานทิศทางการพัฒนาการศึกษาระดับภาคการศึกษาฉบับสมบูรณ์ให้เสร็จสิ้นได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2558
-
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาฯ (ITD)
- ผลการดำเนินงานระหว่างปีงบประมาณ 2545-2557 และไตรมาสแรก ของปีงบประมาณ 2558
ที่ประชุมรับทราบสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ได้รายงานสรุปผลการดำเนินงานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545-2557 ซึ่งได้ดำเนินกิจกรรมบริการวิชาการ (วิจัย) ฝีกอบรม ประชุม และสัมมนา รวมทั้งสิ้น 602 กิจกรรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 42,545 คน
ในส่วนของไตรมาสแรก ปีงบประมาณ 2558 ITD ได้ดำเนินงานโครงการวิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจและมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวม 7 เรื่อง และจัดกิจกรรมฝึกอบรม ประชุม สัมมนาร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในการถ่ายทอดผลงานวิชาการเพื่อพัฒนาบุคลากรในภูมิภาคและอนุภูมิภาคให้มีความรู้ด้านการค้าและพัฒนา รวม 24 ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแล้วกว่า 2,000 คน
-
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติฯ (สทศ.)
- รายงานผลการดำเนินงานของ สทศ.
ที่ประชุมรับทราบสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้รายงานผลการดำเนินงานที่สำคัญของ สทศ. ภายใต้วิสัยทัศน์ “TO BE A WORLD-CLASS EDUCATIONAL TESTING SERVICE CENTER” โดยเชื่อมโยงการดำเนินงานงบประมาณปี 2558 กับยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้บริการประชาชนให้ได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีมาตรฐาน คุณภาพ และมีเป้าหมายที่จะเป็นหน่วยงานบริหารจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการวิจัย พัฒนา และให้บริการทางการประเมินผลและทดสอบทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติที่มีมาตรฐาน โปร่งใส และเป็นที่เชื่อถือของประชาชน
โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ
- จัดการทดสอบทางการศึกษาระดั บชาติขั้นพื้นฐาน O-Net, I-Net, B-Net, N-Net, V-Net การบริการทดสอบความถนัดทั่วไป GAT/PAT การทดสอบสมรรถนะครูทางด้านการวั ดและประเมินผลการเรียนรู้ การจัดทำคลังข้อสอบ (Item Bank)
- การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวั ดและประเมินผลการเรียนรู้สู่ผู้ เขียนข้อสอบมืออาชีพ (Item Writer) การพัฒนาผู้ตรวจและผู้ประเมิน (Assessor)
- การพัฒนาด้านเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อการทดสอบ เช่น ระบบการรายงานผลสอบแบบอิเล็ กทรอนิกส์ (E-Score)
- การศึกษาวิจัย เช่น การพัฒนารูปแบบและวิธีการใช้ คะแนนกลาง (Universal Score) การเทียบโอนความรู้และการเทียบระดับการศึกษา
- การส่งเสริมการนำผลการทดสอบ O-Net ไปสู่การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน- การพิจารณาจำนวนวิชาทดสอบ O-Net ให้เหลือเพียง 5 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม - การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน เช่น การลงนามความร่วมมือกับสถาบัน/ หน่วยงานทั้งในประเทศและต่ างประเทศ จัดทำ E-Journal พัฒนางานบริการทดสอบด้านการสื่ อสารภาษาอังกฤษ (English Proficiency) ภาษาไทย (Thai Proficiency) เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT Proficiency) การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking)
ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แถลงข่าวเพิ่มเติมในประเด็นนี้ด้วยว่า ที่ประชุมได้รับทราบการปรับลดจำนวนวิชาทดสอบ O-Net ของ สทศ. ซึ่งคณะกรรมการบริหาร สทศ.มีความเห็นตรงกันว่า ควรปรับลดการทดสอบ O-Net ในระดับชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 เพียง 5กลุ่มสาระวิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามนโยบายของ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างส่งเรื่ องดังกล่าวให้ รมว.ศึกษาธิการพิจารณา จากนั้นคณะกรรมการบริหาร สทศ.จะได้ให้ความเห็นชอบต่อไป
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 41/2558
ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 2/2558
ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 2/2558
ศึกษาธิการ - พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมีพลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลเอก สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลเรือเอก เรืองทิพย์ เทียนทอง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พันเอก ดำรงค์ สิมะขจรบุญ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุมกับผู้บริหารองค์กรหลัก ผู้ตรวจราชการ และผู้บริหารหน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีประเด็นสำคัญ สรุปดังนี้
- สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.)
- ความก้าวหน้าการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบกระตุ้นเศรษฐกิจ
ที่ประชุมได้รับทราบ สป.ได้รายงานผลการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ของกระทรวงศึกษาธิการ ในไตรมาสแรก (1 ตุลาคม 2557-30 มกราคม 2558) ซึ่งได้มีการเบิกจ่ายตามระบบ GFMIS โดยมีผลการเบิกจ่าย (ทุกงบ) จำนวน 184,385 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 37 ของงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับในปีงบประมาณนี้ ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายการเบิกจ่ายที่ได้ตั้งไว้ในไตรมาสแรก ในส่วนของการเบิกจ่ายงบลงทุน ได้เบิกจ่ายไปแล้ว 8,362 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของงบลงทุนที่ได้รับในปีงบประมาณนี้
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะ 3 เดือนแรกในกลุ่มมาตรการเพื่อการสร้างงาน : งบกลางที่กันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปีและงบไทยเข้มแข็งของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 12,959 ล้านบาท ซึ่งนางผานิตย์ มีสุนทร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานกรรมการดำเนินการติดตามงบลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของกระทรวงศึกษาธิการ ได้รายงานความก้าวหน้าของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรวมทั้งสิ้น 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สพฐ. 8,796 ล้านบาท สอศ. 2,375 ล้านบาท และ สกอ./มหาวิทยาลัยของรัฐ 71 แห่ง 1,788 ล้านบาท
ทั้งนี้ ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ย้ำในที่ประชุมด้วยว่า ขอให้มีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ดำเนินการด้วยความรอบคอบ พร้อมทั้งกำชับหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณให้ปฏิบัติตามระเบียบอย่างโปร่งใส
- ร่างหลักเกณฑ์ฯ เลื่อนเป็นวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement)
รายละเอียดตามร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะเสนอให้ที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณา ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558
- รายงานผลการดำเนินงานการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบเกี่ยวกับผลการดำเนินงานการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ 2558 ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัยปราศจากเงื่อนไขการใช้ความรุนแรง มีสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติ ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจ ไว้วางใจ และมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมสร้างสันติภาพ” เพื่อพัฒนาการศึกษา สนับสนุนการแก้ไขปัญหา ตลอดจนพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ในปีงบประมาณ 2558 กระทรวงศึกษาธิการได้รับจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 154 โครงการ เป็นเงิน 3,453 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้เบิกจ่ายไปแล้วในไตรมาสแรก 688 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20 ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรร โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ การจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อช่วยเหลือครอบครัวของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ 486 ราย รวมเป็นเงิน 29 ล้านบาท การจัดกีฬาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตรการดูแลความปลอดภัยครูและบุคลากรทางการศึกษา โครงการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดตั้งศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
- รายงานผลการตรวจราชการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ได้รายงานผลการตรวจราชการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในปี 2558 ในประเด็นนโยบายสำคัญเรื่อง “การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 และการดำรงความต่อเนื่องภายหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” ของเขตตรวจราชการที่ 17 (พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์) และเขตตรวจที่ 18 (กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี) ซึ่งมีสรุปผลการตรวจประเด็นการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 4 ประเด็น ได้แก่
- โครงสร้างพื้นฐาน : หน่วยงานในเขตพื้นที่ได้กำหนดศูนย์อาเซียนศึกษา และทุกโรงเรียนได้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
- ความพร้อมของนักเรียน : ผลสัมฤทธิ์รายวิชาหลักของนักเรียนในระดับ ป.6 และ ม.3 ยังต่ำกว่าเกณฑ์ระดับประเทศ มีการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและภาษาอาเซียน จัดการแข่งขันตอบปัญหาอาเซียน พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการเรียนรู้
- ความพร้อมของครู : มีการอบรมครูด้านภาษาและกระบวนการคิด การใช้ ASEAN Curriculum เป็นการพัฒนาหลักสูตรร่วมอาเซียนในกลุ่มโรงเรียน
- การขยายเครือข่าย : การแลกเปลี่ยนนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ และดำเนินความร่วมมือในกลุ่มประเทศอาเซียน
- ความพร้อมของนักเรียน : ผลสัมฤทธิ์รายวิชาหลักของนักเรียนในระดับ ป.6 และ ม.3 ยังต่ำกว่าเกณฑ์ระดับประเทศ มีการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและภาษาอาเซียน จัดการแข่งขันตอบปัญหาอาเซียน พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการเรียนรู้
- ความพร้อมของครู : มีการอบรมครูด้านภาษาและกระบวนการคิด การใช้ ASEAN Curriculum เป็นการพัฒนาหลักสูตรร่วมอาเซียนในกลุ่มโรงเรียน
- การขยายเครือข่าย : การแลกเปลี่ยนนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ และดำเนินความร่วมมือในกลุ่มประเทศอาเซียน
นอกจากนี้ ได้มีข้อเสนอแนะว่า ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครู เพิ่มการใช้หลักสูตรรวมอาเซียนในระดับมัธยมศึกษา เพิ่มบทบาทของ กศน. และทบทวนเนื้อหาสาระของการเรียนรู้ เรื่อง การอยู่ร่วมกันในประชาคมอาเซียน
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
- โครงการประชุมวิชาการนานาชาติการศึกษาพิเศษ
ที่ประชุมรับทราบการเตรียมการจัดประชุมวิชาการนานาชาติด้านการศึกษาพิเศษ : นวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอน ครั้งที่ 1 (The International Conference on Special Education : Innovation to Enhance Learning Initiatives and Practices) ในระหว่างวันที่ 28-31 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ซึ่ง สพฐ.ได้จัดร่วมกับองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในการยกระดับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปีนี้ โดยคาดว่าจะมีผู้ประชุมชาวไทยและต่างประเทศเข้าร่วมมากกว่า 1,000 คน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
- รายงานสรุปแนวทางทางแก้ปัญหาและการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู
ที่ประชุมรับทราบ สกอ.ได้รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ และผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตครูในสถาบันอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เพื่อให้ได้แนวทางแก้ไขปัญหาและการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู ให้การผลิตบุคลากรสาขาวิชาชีพครูมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป
โดยมีข้อเสนอแนวคิดที่น่าสนใจใน 2 ส่วนคือ
1) การผลิตครู เช่น การผลิตครูในระบบปิดเน้นสาขาที่ขาดแคลนจำเป็น และผูกกับการมีงานทำ การจัดทำฐานข้อมูลความต้องการครูในแต่ละสาขาวิชา อย่างน้อย 5 ปี การผลิตครูบางส่วนในระบบเปิดเพื่อรองรับความต้องการครูในสถานศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) การใช้และการพัฒนาครู เช่น การสร้างเครือข่ายการพัฒนาระหว่างสถาบันฝ่ายผลิตและสถานศึกษา โดยให้มหาวิทยาลัยเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงกับสถานศึกษา เพื่อช่วยในการฝึกอบรมครู การสอนงาน และให้คำปรึกษา
- สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)
- ร่างยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู
ที่ประชุมได้รับทราบกรอบแนวคิดยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู ภายใต้วิสัยทัศน์ “ยกระดับคุณภาพครูให้เป็นครูมืออาชีพมีมาตรฐานระดับสากลเหมาะสมกับการเป็นครูในศตวรรษที่ 21” ซึ่งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินการ 2 ระดับ คือ 1) คณะกรรมการยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู เพื่อทำหน้าที่กำหนดกรอบนโยบายในการผลิต การพัฒนา และการบริหารงานบุคคลของครู โดยได้จัดประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง 2) คณะอนุกรรมการปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครู เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายการผลิต การพัฒนา รวมทั้งระบบบริหารงานบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สอดคล้องกับกรอบการปฏิรูปการศึกษา โดยมีรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธาน ซึ่งได้จัดประชุมไปแล้ว 1 ครั้ง
ทั้งนี้ การแต่งตั้งคณะกรรมการทั้งสองชุด เพื่อให้ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู ทั้ง 4 ด้าน คือ 1) การปฏิรูประบบและรูปแบบการผลิตครู 2) การปฏิรูประบบและรูปแบบการพัฒนาครู 3) การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิตและพัฒนาครูทั้งระบบ 4) การสร้างกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู สอดคล้องกับการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นครูในศตวรรษที่ 21 มีการพัฒนาและสร้างสรรค์องค์ความรู้ นวัตกรรมด้านการผลิตและพัฒนาครูโดยใช้งานวิจัยเป็นพื้นฐาน ตลอดจนผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนมีคุณภาพระดับสากลต่อไป
- ความก้าวหน้าโครงการจัดทำข้อเสนอนโยบายด้านการศึกษา (Policy Review)
- ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualification Framework : NQF)
สกศ.ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้า NQF ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนากำลังคนสู่มาตรฐานสากล โดยใช้ระบบคุณวุฒิเป็นองค์ประกอบในการประเมินศักยภาพการเรียนรู้ของบุคคลที่เชื่อมโยงคุณวุฒิการศึกษากับการเทียบโอนประสบการณ์ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556 ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินโครงการพัฒนาความร่วมมือในการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติของประเทศไทย และการเทียบเคียงกรอบคุณวุฒิแห่งชาติกับกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน โดยคาดว่าจะเริ่มต้นเทียบเคียงตั้งแต่ปี 2559 และอย่างช้าภายในปี 2561 แต่ไม่มีการกำหนดระยะเวลาที่แล้วเสร็จ เนื่องจากต้องคำนึงถึงความสมัครใจและความพร้อมตามบริบทของแต่ละประเทศ
- โครงการจัดทำรายงานทิศทางการพัฒนาการศึกษาระดับภาคการศึกษา
ที่ประชุมรับทราบการจัดทำรายงานทิศทางการพัฒนาการศึกษาระดับภาคการศึกษา เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ (ปี 2560-2569) ซึ่งควรจะต้องมีการกำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาเชิงพื้นที่ตามศักยภาพและภูมิสังคมของแต่ละภาคการศึกษา และเพื่อให้ทุกภาคส่วนในจังหวัด/กลุ่มจังหวัด มีส่วนร่วมในการนำเสนอทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงเวลาดังกล่าว สกศ.จึงได้ขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะสำนักงานศึกษาธิการภาค ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลในการจัดทำรายงานและเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำรายงานทิศทางการพัฒนาการศึกษาระดับภาคการศึกษาฉบับสมบูรณ์ให้เสร็จสิ้นได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2558
- สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาฯ (ITD)
- ผลการดำเนินงานระหว่างปีงบประมาณ 2545-2557 และไตรมาสแรก ของปีงบประมาณ 2558
ที่ประชุมรับทราบสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ได้รายงานสรุปผลการดำเนินงานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545-2557 ซึ่งได้ดำเนินกิจกรรมบริการวิชาการ (วิจัย) ฝีกอบรม ประชุม และสัมมนา รวมทั้งสิ้น 602 กิจกรรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 42,545 คน
ในส่วนของไตรมาสแรก ปีงบประมาณ 2558 ITD ได้ดำเนินงานโครงการวิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจและมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวม 7 เรื่อง และจัดกิจกรรมฝึกอบรม ประชุม สัมมนาร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในการถ่ายทอดผลงานวิชาการเพื่อพัฒนาบุคลากรในภูมิภาคและอนุภูมิภาคให้มีความรู้ด้านการค้าและพัฒนา รวม 24 ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแล้วกว่า 2,000 คน
- สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติฯ (สทศ.)
- รายงานผลการดำเนินงานของ สทศ.
ที่ประชุมรับทราบสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้รายงานผลการดำเนินงานที่สำคัญของ สทศ. ภายใต้วิสัยทัศน์ “TO BE A WORLD-CLASS EDUCATIONAL TESTING SERVICE CENTER” โดยเชื่อมโยงการดำเนินงานงบประมาณปี 2558 กับยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้บริการประชาชนให้ได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีมาตรฐาน คุณภาพ และมีเป้าหมายที่จะเป็นหน่วยงานบริหารจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการวิจัย พัฒนา และให้บริการทางการประเมินผลและทดสอบทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติที่มีมาตรฐาน โปร่งใส และเป็นที่เชื่อถือของประชาชน
โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ
- จัดการทดสอบทางการศึกษาระดั บชาติขั้นพื้นฐาน O-Net, I-Net, B-Net, N-Net, V-Net การบริการทดสอบความถนัดทั่วไป GAT/PAT การทดสอบสมรรถนะครูทางด้านการวั ดและประเมินผลการเรียนรู้ การจัดทำคลังข้อสอบ (Item Bank)
- การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวั ดและประเมินผลการเรียนรู้สู่ผู้ เขียนข้อสอบมืออาชีพ (Item Writer) การพัฒนาผู้ตรวจและผู้ประเมิน (Assessor)
- การพัฒนาด้านเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อการทดสอบ เช่น ระบบการรายงานผลสอบแบบอิเล็ กทรอนิกส์ (E-Score)
- การศึกษาวิจัย เช่น การพัฒนารูปแบบและวิธีการใช้ คะแนนกลาง (Universal Score) การเทียบโอนความรู้และการเทียบระดับการศึกษา
- การส่งเสริมการนำผลการทดสอบ O-Net ไปสู่การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน- การพิจารณาจำนวนวิชาทดสอบ O-Net ให้เหลือเพียง 5 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม - การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน เช่น การลงนามความร่วมมือกับสถาบัน/ หน่วยงานทั้งในประเทศและต่ างประเทศ จัดทำ E-Journal พัฒนางานบริการทดสอบด้านการสื่ อสารภาษาอังกฤษ (English Proficiency) ภาษาไทย (Thai Proficiency) เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT Proficiency) การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking)
ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แถลงข่าวเพิ่มเติมในประเด็นนี้ด้วยว่า ที่ประชุมได้รับทราบการปรับลดจำนวนวิชาทดสอบ O-Net ของ สทศ. ซึ่งคณะกรรมการบริหาร สทศ.มีความเห็นตรงกันว่า ควรปรับลดการทดสอบ O-Net ในระดับชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 เพียง 5กลุ่มสาระวิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามนโยบายของ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างส่งเรื่ องดังกล่าวให้ รมว.ศึกษาธิการพิจารณา จากนั้นคณะกรรมการบริหาร สทศ.จะได้ให้ความเห็นชอบต่อไป
- การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวั
- การพัฒนาด้านเทคโนโลยี
- การศึกษาวิจัย เช่น การพัฒนารูปแบบและวิธีการใช้
- การส่งเสริมการนำผลการทดสอบ O-Net ไปสู่การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน- การพิจารณาจำนวนวิชาทดสอบ O-Net ให้เหลือเพียง 5 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม - การเตรียมความพร้อมเข้าสู่
ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แถลงข่าวเพิ่มเติมในประเด็นนี้ด้วยว่า ที่ประชุมได้รับทราบการปรับลดจำนวนวิชาทดสอบ O-Net ของ สทศ. ซึ่งคณะกรรมการบริหาร สทศ.มีความเห็นตรงกันว่า ควรปรับลดการทดสอบ O-Net ในระดับชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 เพียง 5กลุ่มสาระวิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามนโยบายของ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างส่งเรื่
ที่มา เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย ปี 2558
ฟรี... ห้องเตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย ปี 2558
ฟรี... ห้องเตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (อ.นิกร เพ็งลี)
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (อ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น