เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
-1.กำหนดการสอบครูผู้ช่วย (กรณีพิเศษ)
กำหนดกสอบครูผู้ช่วย (กรณีปกติ)
3.เครื่องแบบพนักงานราชการ 2557
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 64/2558 เปิดการสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษา สอศ. ครั้งที่ 2/2558
จังหวัดปทุมธานี - พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 “กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษา” พร้อมทั้งกล่าวบรรยายพิเศษ “นโยบายด้านอาชีวศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ” โดยมี ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้บริหาร สอศ. ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สอศ.ทั่วประเทศกว่า 600 คน เข้าร่วมการประชุม เมื่อวันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2558 ที่วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สอศ. และเป็นโอกาสดีที่ได้มีโอกาสมาพบผู้บริหารสถานศึกษาอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา เชื่อว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากการสัมมนาในครั้งนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้บริหารสถานศึกษาถือเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องและมีความสำคัญอย่างยิ่งกับการศึกษาของชาติ โดยเฉพาะการอาชีวศึกษา อีกทั้งเป็นที่ทราบกันดีว่าการอาชีวศึกษาเป็นส่วนงานที่ผลิตและพัฒนาบุคลากรที่จะออกไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ภาคการบริการ ภาคเกษตรกรรม และภาคส่วนอื่นๆ ของตลาดแรงงาน
คำว่า “การอาชีวศึกษา” มีความหมายตรงตัว คือ อาชีวะ หมายถึง อาชีพ และ ศึกษา ก็หมายถึง การศึกษาเพื่อใช้ประกอบอาชีพ นับเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญที่ผู้เรียนจะมุ่งหวังว่า เมื่อจบการศึกษาแล้วจะต้องมีงานทำ มีอาชีพที่แน่นอน มีรายได้ที่ชัดเจน ดังนั้นการเรียนสายอาชีวศึกษาจึงเป็นการเรียนที่ค่อนข้างตรงกับความมุ่งหวังนั้น การศึกษาในสายอาชีวศึกษาเป็นระบบที่อาจจะแตกต่างกับสายสามัญอยู่บ้าง แต่เป็นสายการศึกษาที่สามารถตอบสนองกับสภาวการณ์หรือสภาวะทางเศรษฐกิจของชาติในปัจจุบันได้
ผลผลิตของการอาชีวศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญของกระบวนการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศ ทั้งในส่วนของการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า มั่นคง และการแข่งขันบนเวทีระหว่างประเทศด้วย
เป้าหมายของการจัดการอาชีวศึกษาจึงจำเป็นที่จะต้องตอบโจทย์ของการศึกษาสายอาชีวศึกษาที่สามารถผลิตและพัฒนากำลังคนได้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการและผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษา สังกัด สอศ.
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการตอบโจทย์ดังกล่าว นอกเหนือจากการเร่งพัฒนาการอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพแล้ว จะต้องส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในระบบการจัดการอาชีวศึกษา โดยเฉพาะการขยายความร่วมมือกับภาคการผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นผู้กำหนดความต้องการในตลาดแรงงานและเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรง
รัฐบาลปัจจุบันเข้าใจปัญหาและตระหนักถึงความสำคัญของการอาชีวศึกษาเป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากการปาฐกถาหรือบรรยายพิเศษของนายกรัฐมนตรีที่มักจะกล่าวถึงการอาชีวศึกษา รวมทั้งการเข้าร่วมการประชุมและกิจกรรมที่จัดโดย สอศ. เพราะตระหนักว่าการอาชีวศึกษาจะเป็นการสร้างศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศ
นโยบายสำคัญด้านการศึกษาของรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนให้มีความรู้ มีทักษะที่จะสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายตามแนวโน้มของการจ้างงานในอนาคต ส่งเสริมการอาชีวศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะ โดยเฉพาะในท้องถิ่นที่มีความต้องการแรงงาน และพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาให้เชื่อมโยงกับมาตรฐานวิชาชีพ ในฐานะที่ได้เข้ามารับผิดชอบกระทรวงศึกษาธิการและกำกับดูแลการดำเนินงานของ สอศ.โดยตรง ก็มีความตระหนักและทราบดีถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาล จึงได้มอบนโยบายด้านการศึกษาหลายประการ ทั้งนโยบายระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว มีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และการศึกษานอกระบบ
สำหรับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษาก็มีการกำหนดไว้หลายประการด้วยกัน และได้รับความร่วมมือจากผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากรของ สอศ.เป็นอย่างดี ทำให้เกิดความสบายใจ เพราะเป็นคณะทำงานที่มีความเข้มแข็ง มีความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติภารกิจและหน้าที่ ทำให้การส่งเสริมการอาชีวศึกษาของชาติสามารถพัฒนาต่อไปได้
คำว่า “การอาชีวศึกษา” มีความหมายตรงตัว คือ อาชีวะ หมายถึง อาชีพ และ ศึกษา ก็หมายถึง การศึกษาเพื่อใช้ประกอบอาชีพ นับเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญที่ผู้เรียนจะมุ่งหวังว่า เมื่อจบการศึกษาแล้วจะต้องมีงานทำ มีอาชีพที่แน่นอน มีรายได้ที่ชัดเจน ดังนั้นการเรียนสายอาชีวศึกษาจึงเป็นการเรียนที่ค่อนข้างตรงกับความมุ่งหวังนั้น การศึกษาในสายอาชีวศึกษาเป็นระบบที่อาจจะแตกต่างกับสายสามัญอยู่บ้าง แต่เป็นสายการศึกษาที่สามารถตอบสนองกับสภาวการณ์หรือสภาวะทางเศรษฐกิจของชาติในปัจจุบันได้
เป้าหมายของการจัดการอาชีวศึกษาจึงจำเป็นที่จะต้องตอบโจทย์ของการศึกษาสายอาชีวศึกษาที่สามารถผลิตและพัฒนากำลังคนได้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการและผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษา สังกัด สอศ.
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการตอบโจทย์ดังกล่าว นอกเหนือจากการเร่งพัฒนาการอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพแล้ว จะต้องส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในระบบการจัดการอาชีวศึกษา โดยเฉพาะการขยายความร่วมมือกับภาคการผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นผู้กำหนดความต้องการในตลาดแรงงานและเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรง
รัฐบาลปัจจุบันเข้าใจปัญหาและตระหนักถึงความสำคัญของการอาชีวศึกษาเป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากการปาฐกถาหรือบรรยายพิเศษของนายกรัฐมนตรีที่มักจะกล่าวถึงการอาชีวศึกษา รวมทั้งการเข้าร่วมการประชุมและกิจกรรมที่จัดโดย สอศ. เพราะตระหนักว่าการอาชีวศึกษาจะเป็นการสร้างศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศ
นโยบายสำคัญด้านการศึกษาของรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนให้มีความรู้ มีทักษะที่จะสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายตามแนวโน้มของการจ้างงานในอนาคต ส่งเสริมการอาชีวศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะ โดยเฉพาะในท้องถิ่นที่มีความต้องการแรงงาน และพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาให้เชื่อมโยงกับมาตรฐานวิชาชีพ ในฐานะที่ได้เข้ามารับผิดชอบกระทรวงศึกษาธิการและกำกับดูแลการดำเนินงานของ สอศ.โดยตรง ก็มีความตระหนักและทราบดีถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาล จึงได้มอบนโยบายด้านการศึกษาหลายประการ ทั้งนโยบายระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว มีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และการศึกษานอกระบบ
สำหรับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษาก็มีการกำหนดไว้หลายประการด้วยกัน และได้รับความร่วมมือจากผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากรของ สอศ.เป็นอย่างดี ทำให้เกิดความสบายใจ เพราะเป็นคณะทำงานที่มีความเข้มแข็ง มีความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติภารกิจและหน้าที่ ทำให้การส่งเสริมการอาชีวศึกษาของชาติสามารถพัฒนาต่อไปได้
แ น ว ท า ง ก า ร ขั บ เ ค ลื่ อ น ด้ า น ก า ร อ า ชี ว ศึ ก ษ า
| ||
1) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาคประชาสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตกำลังคนให้เชื่อมโยงกับตลาดแรงงานมากขึ้น ตั้งแต่การกำหนดความต้องการ การวางแผนการผลิต การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษา
| ||
2) การขยายผลการจัดหลักสูตรทวิภาคีและสหกิจศึกษา ซึ่ง สอศ.ดำเนินการมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว การจัดการศึกษาระบบทวิภาคีและสหกิจศึกษาเป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่ได้รับความนิยมในหลายประเทศที่มีความเจริญ มีขีดความสามารถสูงในด้านต่างๆ เช่น ภาคการบริการ ภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น ปัจจุบัน ประเทศไทยมีความร่วมมือในลักษณะทวิภาคีกับหลายองค์กร ไม่ว่าจะเป็นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย และผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก จากนี้จะจัดให้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขยายความร่วมมือทวิภาคีให้ได้มากที่สุด
| ||
3) การส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือของทุกภาคส่วนให้เข้ามาร่วมจัดการศึกษาสายอาชีพอย่างจริงจัง มุ่งเน้นการดำเนินการตามกลไกของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (กรอ.อศ.) ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากภาคอุตสาหกรรม สภาหอการค้าไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงพาณิชย์ ผู้ประกอบการ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการประชุมเป็นระยะเพื่อวางแผนในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตกำลังคน รวมถึงการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการย่อยในแต่ละกลุ่มอาชีพ ซึ่งแต่งตั้งแล้วจำนวน 19 กลุ่มอาชีพ และจะมีการแต่งตั้งเพิ่มอีก รวมจำนวนประมาณ 25 กลุ่มอาชีพ
| ||
4) การจัดหลักสูตรทักษะอาชีพควบคู่กับหลักสูตรสามัญในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีการดำเนินการแล้วในหลายพื้นที่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของนักเรียนสายสามัญ เนื่องจากตามสถิติ นักเรียนที่เข้าสู่ระบบการศึกษาโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่รอบนอกหรือพื้นที่ชายขอบ มักจะหลุดออกจากระบบการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ มัธยมศึกษาปีที่ 6 ไปสู่ตลาดแรงงาน เป็นแรงงานไร้ฝีมือเพราะไม้ได้ศึกษามาโดยตรง และไม่มีความรู้ทางสายอาชีวศึกษามาก่อน หากมีการเสริมความรู้ให้แก่นักเรียนสายสามัญได้มีความรู้สายวิชาชีพควบคู่กัน เมื่อนักเรียนจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือ มัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนจะได้รับประกาศนียบัตรจากทั้งสายสามัญและสายอาชีวศึกษา ทำให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการทำงานหรือทำธุรกิจส่วนตัวก็ได้
จากการหารือกับคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีความเห็นว่าจะเริ่มดำเนินการในโรงเรียนขยายโอกาสเป็นอันดับแรก โดยร่วมมือกับวิทยาลัยเทคนิคในพื้นทีใกล้เคียง เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ครูสายอาชีวศึกษา รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ในการเรียนการสอน นักเรียนที่สมัครใจเรียนทั้งสองสายควบคู่กันอาจจะต้องใช้เวลาเรียนมากกว่าปกติ คือเรียนเพิ่มเติมในวันหยุดหรือเพิ่มเวลาเรียนในวันธรรมดา ขึ้นอยู่กับการเจรจาตกลงกัน แต่อาจจะติดปัญหาเรื่องงบประมาณ ที่ผ่านมารัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณรายหัวให้กับนักเรียนซึ่งมีอัตราไม่เท่ากัน ทั้งนี้ จะมีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป
| ||
5) การพัฒนาระบบค่าตอบแทนตามสมรรถนะความรู้ความสามารถและเร่งใช้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ คือ อัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทนของแรงงานจะไม่ได้ดูที่วุฒิการศึกษาเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาที่ขีดความสามารถด้วย หากแรงงานมีขีดความสามารถสูง เงินเดือนก็จะสูง ไม่จำเป็นว่าผู้ที่จบปริญญาจึงจะได้รับเงินเดือนมากกว่าผู้ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ดังนั้น ผู้จบสายอาชีวศึกษาที่มีทักษะ มีความชำนาญ ก็สามารถมีรายได้สูง ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถอย่างแน่นอน
| ||
6) การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา เชื่อมโยงกับการวิจัยและนวัตกรรมการพัฒนาด้านเทคโนโลยี และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ เป็นเป้าหมายสำคัญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน ยกระดับคุณภาพโดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาที่สามารถนำไปใช้ได้จริง รวมทั้งสามารถนำเข้าสู่สายการผลิตได้อย่างจริงจัง จากที่ได้เห็นผลงานและนวัตกรรมของนักศึกษาอาชีวะที่ผ่านมา หลายชิ้นมีความน่าสนใจและสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้อีก
| ||
7) การผลิตกำลังคนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการเร่งด่วนของการพัฒนาประเทศ โดยการร่วมมือกันผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษาเพื่อตอบสนองภาคการผลิตและการบริการในสาขาที่จำเป็น การขยายโอกาสทางการศึกษา การยกระดับแรงงานไทยร่วมกับสถานประกอบการ เพื่อรองรับงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตามที่ประเทศไทยจะมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Project) เช่น รถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ ระบบการบริหารจัดการน้ำ Digital Economy เป็นต้น กระทรวศึกษาธิการในฐานะที่กำกับดูแลการอาชีวศึกษาจึงต้องหาแนวทางขยายและเตรียมการผลิตบุคลากรรองรับงานไว้ด้วย
| ||
8) การเร่งปรับภาพลักษณ์ของการอาชีวศึกษา เป็นที่ยอมรับกันดีว่าภาพลักษณ์ของการอาชีวศึกษาถูกมองเป็นภาพลบจากสังคมภายนอก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทะเลาะวิวาท หรือค่านิยมที่ว่าผู้ที่เรียนไม่ดี เรียนไม่เก่งถึงจะเรียนสายอาชีวศึกษา จึงต้องพยายามแก้ไข โดยการเพิ่มคุณค่า สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับนักศึกษาอาชีวะ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนหันมาสนใจเรียนสายอาชีวศึกษาให้มากขึ้น โดยกระทรวงศึกษาธิการมีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวศึกษาให้มากขึ้น เพราะปัจจุบันผู้จบสายอาชีวศึกษาขาดแคลนเป็นอย่างมาก อีกทั้งต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความเชื่อใจว่าลูกหลานจะเรียนจบได้แน่นอน และตัวผู้เรียนเองก็จะต้องมีความเชื่อมั่นว่า เมื่อจบการศึกษาแล้วจะมีงานทำ มีรายได้สูงไม่ด้อยไปกว่าผู้ที่จบสายสามัญ
ในส่วนของการแก้ไขปัญหาความรุนแรงของผู้เรียนอาชีวศึกษาถือเป็นส่วนน้อย คือมีปัญหาทะเลาะวิวาทกันเพียงไม่กี่คณะ/สาขาวิชา แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นก็มักจะเป็นข่าวใหญ่ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ริเริ่ม “การฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมอาชีวศึกษา (PRE.VOC.ED)ด้วยการนำนักศึกษาอาชีวะมาใช้ชีวิตและทำกิจกรรมร่วมกัน ทำความรู้จักกันตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนในสถานศึกษาและได้รับการปลูกฝังวัฒนธรรมหรือค่านิยมของรุ่นพี่/สถานศึกษา โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน หรืออย่างน้อย 3 สัปดาห์ เพื่อให้มีความเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน รุ่นนำร่องได้ดำเนินการไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน2557 มีนักศึกษาจากสถานศึกษา สอศ. ใน จ.สมุทรปราการมาเข้ารับการฝึกอบรม ผลออกมาเป็นที่พอใจ ในการนี้ จะมีการขยายแนวทางดังกล่าวในปีการศึกษาที่จะถึงนี้ แต่จะไม่ได้ดำเนินการครบทั้งหมดเพราะต้องใช้งบประมาณมากพอสมควร อาจจะดำเนินการเฉพาะสถานศึกษาที่มีปัญหามากก่อน รวมถึงสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ด้วย
| ||
9) การยกระดับความร่วมมือกับต่างประเทศที่มีศักยภาพด้านการอาชีวศึกษาและภาคการผลิต สอศ.ดำเนินความร่วมมือกับหลายประเทศเป็นเวลาหลายปีแล้ว เช่น ด้านอุตสาหกรรมที่มีความร่วมมือกับเยอรมนี สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ภาคเกษตรกรรมก็มีความร่วมมือกับอิสราเอล รวมถึงการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับหลายประเทศในหลายด้าน
| ||
10) การขยายโอกาสของทุนการศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ ความชำนาญ โดยเน้นการสร้างครูในระดับต่างๆ เพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาให้เกิดความยั่งยืน ในการผลิตครูสายอาชีวศึกษามีปัญหาคือ ครูที่จะมาสอนในสถานศึกษาอาชีวศึกษามีจำนวนจำกัด จึงมีแนวความคิดในการจัดทุนการศึกษาซึ่งปรับมาจาก “โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน” (ODOS) ที่เป็นการให้ทุนการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศแก่นักเรียนที่ครอบครัวมีฐานะยากจนโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ทุนการศึกษาลักษณะดังกล่าวอาจจะไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่ใช้ไป จึงมีการเสนอข้อคิดเห็นว่า ทุน ODOS รุ่นที่ 5 จะมอบให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษา ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับ รมช.ศึกษาธิการ (ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร) ว่าจะนำเสนอรัฐบาลเพื่อขอเปลี่ยนทุน ODOS ให้เป็น “ทุนช่างเทคนิคและบัณฑิตนักปฏิบัติ” เพื่อมอบให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาในการศึกษาต่อในประเทศและต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การบริการ หรือด้านที่ขาดแคลนอื่นๆ เมื่อผู้รับทุนจบการศึกษาแล้ว ส่วนหนึ่งก็จะให้มาเป็นครูสายอาชีวศึกษาด้วย
| ||
ทั้งหมดนี้ก็เป็นนโยบายและเรื่องที่กระทรวงศึกษาธิการกำลังดำเนินการ ซึ่งอาจจะไม่สำเร็จลุล่วงได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกคน เพราะมีความเชื่อมั่นว่าการอาชีวศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันและในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในภูมิภาคเดียวกัน หรือในระดับโลก จึงต้องให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทำให้ผู้เรียนสายอาชีวศึกษาเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ สามารถทำงานในประเทศในภูมิภาคอาเซียนหรือประเทศอื่นๆ ทั่วโลกได้โดยไม่น้อยหน้าใคร ไม่ว่าจะด้วยฝีมือ การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วนอกจากนี้ ต้องการให้ผู้บริหารสถานศึกษามีความเป็นผู้นำ พร้อมที่จะนำทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักศึกษา มีความกล้าที่จะปรับปรุง เปลี่ยนแปลงในเรื่องที่ควรแก้ไข
โอกาสนี้ ขอขอบคุณ สอศ. ที่ได้สร้างสรรค์ให้เกิดการประชุมสัมมนาที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง และผู้เข้าร่วมประชุมที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ขอให้มองไปในอนาคตที่นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาด้านอาชีพอย่างเข้มแข็งที่สุด และขออวยพรให้การประชุมสัมมนาในครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งใจไว้ทุกประการ
|
ภาพ สถาพร ถาวรสุข ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการ กอศ. กล่าวว่า การจัดการประชุมสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สอศ. มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22กุมภาพันธ์ 2558 ณ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษา นอกจากนี้ ได้มุ่งเน้นการนำนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการสู่การปฏิบัติในระดับสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งร่วมกันกำหนดกลไกและระบบการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมจะได้รับทั้งความรู้ใหม่จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและการอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ระหว่างกันด้วย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (อ.นิกร เพ็งลี)
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (อ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น