เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
-1.ปฎิทินและเกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา สพฐ.ปี 2558
3.เครื่องแบบพนักงานราชการ 2557
-เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา 2557
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
เลือกตั้งต้นปี59 ยืนยันตามโรดแม็ป
นายกฯชมแม่นํ้า5สาย‘บิ๊กป้อม’ชงเซ็นเซอร์หากเหตุการณ์ไม่สงบ
“บิ๊กตู่” ใช้ 3 ชั่วโมงกว่าตรวจการบ้านแม่น้ำ 5 สาย ลั่นลงเรือลำเดียวกันอย่าพายเรือทวนน้ำ ไม่เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาจนโรดแม็ปล่าช้าเกินไปยันมีเลือกตั้งต้นปี 59 กำชับทั้ง 5 สายรับ-ส่งไม้กันให้ดี “วิษณุ” เผยนายกฯขีดเส้น 3 เดือน สปช.ต้องโชว์ผลงาน-ฝาก กมธ.เขียน รธน.ลบปมขัดแย้ง “พรเพชร” จี้รัฐบาลเร่งป้อน ก.ม.ใหม่ๆเข้า สนช.บ้าง กสม.ร่อนหนังสือถึงสารพัดบิ๊กค้านโดนยุบไปซุกปีกผู้ตรวจการแผ่นดิน อ้างเจตนารมณ์ 2 องค์กรต่างกัน-ประชาชนเสียโอกาส “เต้น” ฝากถึงคนเขียน รธน. อย่าตามใจแป๊ะดัน “รัฐราชการ” บั่นอำนาจอธิปไตยจาก ปชช.
การประชุมร่วม 5 ฝ่าย เพื่อติดตามการขับเคลื่อนการทำงานตามโรดแม็ปครั้งที่ 2 ประกอบด้วย ครม.-คสช.-สนช.-สปช.และ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช. เป็นประธาน มีผู้เกี่ยวข้องมาประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง
บิ๊กแม่น้ำ 5 สายพรึบถกโรดแม็ป
เมื่อเวลา 13.45 น. ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี-รังสิต พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เป็นประธานการประชุมร่วม 5 ฝ่าย เพื่อติดตามการขับเคลื่อนการทำงานตามโรดแม็ปครั้งที่ 2 ประกอบด้วย ครม.-คสช.-สนช.- สปช.และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมาชิก คสช. ร่วมประชุม ทั้งนี้ ก่อนเดินทางเข้าไปยังสโมสรทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ได้แวะร่วมรับประทานอาหารกลางวัน กับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ที่บ้านพักของ พล.อ.ประวิตร ซึ่งเป็นที่ทำการมูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภายในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จึงเดินทางเข้าไปที่สโมสรทหารบก
“บิ๊กตู่” เกริ่นก่อนเริ่มตรวจการบ้าน
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวก่อนเข้าวาระการประชุมตอนหนึ่งว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อติดตามความก้าวหน้าโรดแม็ปของรัฐบาล และ คสช.ให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย และนำไปสู่การสร้างประชาธิปไตยที่ถูกต้องอย่างเป็นสากล และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย โดยจะให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นและให้ทุกฝ่ายรายงานความคืบหน้าของแต่ละกลุ่ม รวมทั้งให้ทุกคนเสนอปัญหาให้ที่ประชุมได้รับทราบเพื่อทำให้บ้านเมืองไปสู่ความสงบเรียบร้อยให้ได้
แถลงชื่นชมผลงานแม่น้ำ 5 สาย
ต่อมาเวลา 17.30 น. ภายหลังการประชุมกว่า 3 ชั่วโมงครึ่ง พล.อ.ประยุทธ์แถลงว่า วันนี้ตนมาในฐานะเป็นหัวหน้า คสช. นี่คือหน้าที่หลักของตน มาติดตามความก้าวหน้าโรดแม็ปของ คสช. ถึงการขับเคลื่อนของรัฐบาลในปัจจุบัน เรื่องความก้าวหน้า ในการออกกฎหมายที่สำคัญเร่งด่วนของ สนช. และเรื่องของการร่างรัฐธรรมนูญว่าไปถึงไหนอย่างไรแต่ไม่ได้หมายความว่าไม่เห็นชอบ เราเป็นเหมือนกับลงเรือลำเดียวกันแล้ว ต้องคัดท้ายและไปกันให้ราบรื่น โดยที่ไม่สวนกระแสน้ำ ไม่เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา ทำให้การไปสู่จุดมุ่งหมายมันช้าจนเกินไป วันนี้ไม่ได้มีข้อ บกพร่องอะไรเลย ขอชื่นชมทั้ง 5 คณะ คสช. มีข้อเสนอแนะ ข้อสังเกตมามากมาย ในส่วนของรัฐบาลก็มีข้อเสนอข้อสังเกตมา และในส่วนของ สนช.-สปช. รวมถึงคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีความก้าวหน้า วันนี้เป็นเพียงโจทย์ทุกเรื่อง และต่อไปจะต้องนำไปตกผลึกว่าจะแค่ไหนอย่างไร โดยนำข้อสังเกตของแต่ละส่วนแต่ละฝ่ายไป ตนเป็นหัวหน้าคสช. มีความสบายใจที่มีความก้าวหน้าอย่างนี้ เพียงแต่เรามาจัดลำดับความเร่งด่วนว่า อะไรที่จะทำให้เร็ว และอะไรที่จะขับเคลื่อนไปพร้อมกับรัฐบาล วันนี้มันต้องไปด้วยกัน ไม่มีขัดแย้งกันอยู่แล้ว
ไม่ปิดกั้นความคิด–ไม่ว่าฝ่ายไหน
ผู้สื่อข่าวถามว่า เปิดเผยข้อเสนอและข้อสังเกตของ คสช.และรัฐบาลได้หรือไม่ว่าเรื่องอะไร พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า สิ่งสำคัญตนได้ย้ำหลักการเดิมของคสช.ว่าเราจะไม่ไปสร้างความขัดแย้งเพิ่มเติม และทำอย่างไรจะทำให้เกิดบรรยากาศเอื้อต่อการปฏิรูปได้ อะไรที่ยังไม่ได้ข้อยุติคงต้องหารือเพิ่มเติม สื่อคงต้องช่วยเรา ประชาชนอย่าเพิ่งไปเดือดร้อน รวมทั้งนัก การเมือง อดีตนักการเมืองอย่าเพิ่งไปเดือดร้อน ว่ากฎหมายนี้จะออกมาอย่างโน้นอย่างนี้ อย่าเพิ่งไปวิเคราะห์วิจารณ์เพราะยังไม่จบขั้นตอนกระบวนการ ยังเป็นแนวความคิด ดังนั้นสิ่งที่ต้องชื่นชมพวกเราคือ การที่ไม่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ปิดกั้นแนวความคิดของกลุ่มต่างๆ ในการปฏิรูป เพียง แต่หาหนทางเจอกันได้อย่างไร สมมติว่า 10 เรื่อง ตรงกัน 8 เรื่อง อีก 2 เรื่องไม่ตรงกันก็หยุดตรงนี้ไว้ก่อน เอา 8 เรื่องมาทำให้ได้ก่อน
โอดโรดแม็ป 1 ปีทำยากที่สุด
เมื่อถามว่า มีข้อห่วงใยอะไรจากแม่น้ำ 5 สาย หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า ข้อห่วงใยของตนเป็นห่วงว่าเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด ประเด็นที่เป็นห่วงคืออะไรที่จะจบสิ้นภายใน 1 ปี และต้องทำให้เสร็จ อะไรเป็นเรื่องการปฏิรูป และจะปฏิรูปต่อกันไปอย่างไร ทำอย่างไรสิ่งที่วางแผนไว้ระยะสั้นระยะยาวจะต่อเนื่อง จะมีกลไกอะไรหรือไม่ ตนคงชี้นำไม่ได้เพราะเป็นเรื่องของการร่างรัฐธรรมนูญและการบังคับ ใช้ข้อกฎหมาย พวกเราไม่ค่อยถนัดเรื่องของข้อกฎหมาย วันนี้เราเดินหน้าประเทศด้วยการเอาปัญหาต่างๆที่มีอยู่วันนี้ในอดีตที่ผ่านมามาแก้ไข ว่าทำอย่างไรให้เกิดความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน ทั้งหมดไม่สามารถจะทำให้ดีขึ้นในเวลาสั้นๆได้ คือ 1 ปียากที่สุด เช่นการสร้างความเข้มแข็งภาคเศรษฐกิจ ต้องดูตั้งแต่ต้นทางการผลิต ความทันสมัย เทคโนโลยี การสร้างตลาด การใช้ในประเทศ และเรื่องสินค้าเกษตรเราก็ไม่อยากใช้เงินมากมายไปอุดหนุน ซึ่งตนได้อธิบายให้ สนช. สปช.เข้าใจว่าวันนี้รัฐบาลทำอะไรไปแล้วบ้างใน 9 ยุทธศาสตร์ และมีการติดตามผลงานอย่างไร เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น
เชื่อ กมธ.ยกร่าง รธน.เสร็จก่อนเวลา
ต่อข้อถามว่า เรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญคณะกรรมาธิการยกร่างฯจะส่งร่างได้ภายในเดือน เม.ย.หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า เป็นไปตามกำหนด เผลอๆอาจจะเร็วด้วย เพราะเขาพยายามจะทำให้ เร็วเพื่อที่จะมีเวลาซักค้านกัน ปรับปรุงแก้ไขกันอีก เพราะต้องไปเสนอให้ สปช.-ครม.-คสช. ดูอีก พยายามให้เป็นไปตามที่วางไว้ เมื่อถามว่า สรุปว่าวันนี้จะสามารถเดินและจบได้ตามโรดแม็ปที่วางไว้ได้หรือไม่ นายกฯกล่าวว่า จบไม่จบถามตนอย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องไปถามคนมีส่วนร่วมข้างนอกด้วย ว่าวันนี้ทางฝ่ายการเมืองผู้เห็นต่างว่าอย่างไร ที่เขาทำวันนี้เข้าใจหรือเปล่า ว่าประเทศชาติเราเจออะไรกันอยู่ ที่ผ่านต้องยอมรับว่าทุกคนก็มีส่วนในการทำให้เกิดความขัดแย้ง มันจะด้วยถูกหรือผิด อะไรตนไม่รู้ ซึ่งต้องพิสูจน์กันด้วยกระบวนการยุติธรรม และต้องยอมรับในกระบวนการยุติธรรม อย่างน้อยต้องรับบ้าง ถ้าไม่รับเลยแล้วมันจะไปต่ออย่างไร ไปหาความชอบธรรมกันอีก ซึ่งตนก็ทำให้เกิดความ ชอบธรรมไม่ได้ไปไล่ล่าทั้งที่หลายฝ่ายบอกว่าตนต้องทำให้เต็มที่
ให้สัญญามีเลือกตั้งต้นปีหน้า
เมื่อถามว่า กำหนดการเลือกตั้งจะเป็นต้นปี 59 หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า กำหนดการเลือกตั้งก็ต้องเป็นอย่างนั้น เป็นไปตามกำหนดการ แต่ก็มีเรื่องของกฎหมายลูกซึ่งคงใช้เวลาไม่นาน รวมถึงการเตรียมการเลือกตั้ง ก็มีกลไกอยู่ ใครจะเป็นหัวหน้าก็แล้วแต่ว่ามา ซึ่งการเลือกตั้งก็ต้องมีเจ้าหน้าที่ มีส่วนราชการทำอยู่แล้ว เพียงแต่มีใครจะเป็นหัวเท่านั้น
ลั่นต้องมี รบ.ปชต.ในอนาคต
เมื่อถามอีกว่า โดยสรุปการประชุมติดตามความคืบหน้าของแม่น้ำ 5 สายตามโรดแม็ปเป็นไปด้วยความแฮปปี้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า “ดี ก็ดูหน้าสิยิ้มอยู่ วันนี้อารมณ์ไม่มีอะไร ที่ต้องพูดกันเยอะ เพราะเรื่องเยอะ แม่น้ำ 5 สายปิง วัง ยม น่าน ก็ต้องลงมาที่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยาคือสายเลือดคนไทยทั้งประเทศ วันนี้เราต้องมีรัฐธรรมนูญ รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยในอนาคต ตนอยากให้มันทำได้ หากถามว่าจะทำได้หรือไม่ ถ้าจะให้ตนบังคับให้ทำให้ได้ มันไม่ใช่ มันต้องด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย คนไทยในประเทศช่วยไปบอกด้วยว่าพอได้แล้วอย่ามาสู้กันด้วยความรุนแรง สู้กันด้วยระเบิด ลูกหลานอันตรายและเจ้าหน้าที่ก็ไม่อยากทำงาน มันก็เป็นบ่อเกิดการทุจริตผิดกฎหมาย การก้าวก่าย ใช้กำลังในทางไม่ชอบ
อย่าห่วงแค่แกล้งหงุดหงิด
เมื่อถามว่า แม่น้ำ 5 สายเป็นห่วงเรื่องอารมณ์ของนายกฯหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า “ห่วงผมเรื่องอะไร ผมเป็นคนอารมณ์ดีจะตาย จริงๆผมเป็นคนอารมณ์ดี ผมเป็นคนตลก ไม่เห็นเหรอเวลาผมตลก พวกคุณก็ตลกผมตลอด เวลาผมเสียงดังบางทีผมก็แกล้งก็ได้ ส่วนใหญ่ผมจะแกล้งนะเวลาหงุดหงิด ไม่ได้หงุดหงิดจริง แต่อย่าแหย่บ่อยแล้วกัน ขอบคุณทุกคนนะ ต้องการให้ทุกคนยิ้ม”
ขีดเส้น สปช.3 เดือนต้องโชว์ผลงาน
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การประชุมครั้งต่อไปในเดือน มี.ค.จะเป็นการตรวจการบ้าน ในครั้งนี้มีการพูดคุยถึงงานที่แต่ละฝ่ายต้องไปดำเนินการ ซึ่งความเข้มข้นในการดำเนินการใดๆต่อจากนี้จะตกอยู่ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทุกคนต้องการมีส่วนเกี่ยวข้อง จึงมีการฝากข้อเสนอแนะไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างฯมากมาย รวมถึงการติติงเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญบางประการด้วย ส่วนการทำงานของ สปช.นั้น นายกฯเน้นย้ำเรื่องแนวทางปฏิรูปต่างๆ อยากให้ สปช.นำเสนอวิธีการปฏิบัติ หรือรูปแบบร่างกฎหมายมาด้วย หากบอกเพียงประเด็นมา และให้รัฐบาลกำหนดวิธีการเองอาจไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของ สปช. จึงต้องเน้นย้ำเรื่องการจะทำอย่างไรด้วย โดยนายกฯอยากให้ช่วง 3 เดือนนี้มีชุดแนวทางปฏิรูปในเรื่องเด่นๆออกมา ซึ่งคณะกรรมาธิการ 18 ชุดของ สปช.จะมีแนวทางปฏิรูปออกมา 36 เรื่อง หรือกรรมาธิการฯละ 2 เรื่อง
ให้รัฐบาลเป็นผู้ชี้ขาดการปฏิรูป
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในที่ประชุมมีการเคลียร์ใจเรื่องมติ สปช.ที่คัดค้านเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 หรือไม่ นายวิษณุตอบว่า ไม่จำเป็นต้องเคลียร์ใจกัน เพราะนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไม่ใช่หนึ่งในวาระพิจารณาเรื่องปฏิรูป เป็นเพียงการขอความคิดเห็นจากรัฐบาลเท่านั้น ซึ่ง สปช.ลงมติคัดค้าน นายกฯจึงบอกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ให้ สปช.ส่งความเห็นมา แล้วรัฐบาลจะพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมต่อไป ขนาด สปช.เสนอเรื่องปฏิรูป 11 หัวข้อที่กำหนดไว้แท้ๆ รัฐบาลก็มีโอกาสไม่ดำเนินการตามข้อเสนอของ สปช. เพราะในฐานะผู้บริหารราชการแผ่นดินต้องรับผิดชอบการกระทำใดๆ ถ้าทำผิดจะถูกฟ้อง ขณะที่ สปช.เมื่อหมดหน้าที่ก็ลุกไป จะทำได้หรือไม่ได้รัฐบาลมีข้อมูล มีบุคลากร ต้องเป็นผู้ตัดสินใจ
ฝากเขียน รธน.ลบปมขัดแย้ง
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธาน สปช. และประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมว่า วันนี้เราได้รับฟังความคิดเห็นจากแม่น้ำ 5 สาย เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ เหมือนที่ไปฟังความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งนายกฯบอกให้ไปดูความคิดเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย และฝากให้ดูว่าจะทำอย่างไรให้ความขัดแย้งยุติหลังมีการใช้รัฐธรรมนูญแล้ว ทั้งนี้ สปช.ได้มีการตกลงกันแล้วว่าจะเดินตามโรดแม็ปมองไป 20 ปีข้างหน้า ประเทศมีความมั่นคง ประชาชนมีความมั่งคั่งยั่งยืน จะต้องปฏิรูปอะไรบ้าง ตกลงกันไว้ 36 เรื่องใหญ่ๆ แบ่งเป็น 7 วาระการพัฒนา อย่างไรก็ตาม เราเปิดกว้างรับฟังความเห็นทั้งหมด คนไม่เห็นด้วยก็ต้องดูว่ามีเหตุผลอย่างไร เช่น เรื่องการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และผู้ตรวจการแผ่นดิน เราจะฟังไปเรื่อยๆจนถึงวันที่ 23 ก.ค.2558 ซึ่งเป็นร่างสุดท้ายแล้วจบ ถึงตอนนั้นก็ฟังไม่ได้แล้ว ในส่วนของการทำความเข้าใจกับต่างชาติเราได้ทำหนังสือเชิญไปถึงสถานทูตสำคัญๆให้มารับฟังการดำเนินการของเรา เชิญให้มาร่วมฟังกับสื่อมวลชน สำหรับการประชุมแม่น้ำ 5 สายลักษณะนี้ จะมีต่อเนื่อง โดยเดือน มี.ค. สนช.จะเป็นเจ้าภาพ และเดือน เม.ย. สปช.และคณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะร่วมกันเป็นเจ้าภาพ
สนช.จี้ รบ.เร่งป้อน ก.ม.เข้า สนช.
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. กล่าวภายหลังการประชุมแม่น้ำ 5 สาย ว่า วันนี้เป็นการคุยกันในเรื่องของการทำงาน การประสานงาน และการนำเสนอกฎหมาย โดยกฎหมายที่เป็นเรื่องนโยบายของรัฐบาลจะต้องเร่ง เพราะที่ผ่านมากฎหมายที่ สนช.ทำส่วนใหญ่เป็นกฎหมายเก่า แต่กฎหมายใหม่ในส่วนของรัฐบาลยังไม่ค่อยมีเข้ามาก็ต้องเร่ง ส่วนเรื่องอื่นๆที่พูดคุยกันก็ไม่มีปัญหาอะไร
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวว่า ครม.ได้นำกรอบร่างรัฐธรรมนูญ ที่ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอความเห็นมาดูว่าเป็นอย่างไร โดยที่ประชุมเห็นดีด้วย แต่กังวลเรื่องรายละเอียด ซึ่งได้กำชับว่าต้องชัดเจน ไม่อย่างนั้นบางเรื่องจะทำไม่ได้
นายกฯกำชับรับ–ส่งไม้กันให้ดี
นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมแม่น้ำ 5 สาย ว่า บรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การพูดคุยเป็นไปในลักษณะรายงานความคืบหน้าของแม่น้ำแต่ละสาย ว่ามีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง ภายในแม่น้ำ 5 สายจะรับไม้หรือส่งต่อกันอย่างไร โดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รายงานรายละเอียดในส่วนของคณะรัฐมนตรี จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กำชับว่า เส้นตายของภารกิจจะมาถึงแล้วให้เร่งทำงาน ต้องรับไม้ส่งต่อกันให้ดี ทั้งนี้ ยังมีการกำหนดว่า การประชุมแม่น้ำ 5 สายต่อจากนี้ จะมีเดือนละครั้ง ซึ่งครั้งหน้าในเดือน มี.ค. สนช.จะเป็นเจ้าภาพ ต่อด้วยในเดือน เม.ย.เป็นคิวของ สปช.
สั่ง สปช.ต้องกระชับปฏิรูปให้ทันเวลา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ยังกล่าวถึงเรื่องการปฏิรูปประเทศก็เสนอมามากเกินไป ไม่ใช่ใครคิดอะไรได้ก็เสนอกันเข้ามา ขอให้ดูระยะเวลาที่เหลืออยู่ ให้เสนอแต่เรื่องที่สามารถทำได้กับเวลาที่มี และขอให้บอกมาด้วยว่าปัญหาที่มีคืออะไรมีอะไร แก้อย่างไร ขอให้บอกวิธีแก้ไขและแนวทางมาด้วย เพราะการปฏิรูปสามารถทำได้ ทั้งการปฏิรูปที่ไม่จำเป็นต้องแก้กฎหมาย หรือถ้าต้องแก้กฎหมายให้สอดคล้องรองรับ ก็ให้รีบเสนอมา เพื่อจะได้นำเข้าที่ประชุม สนช.ต่อไป
ชงเซ็นเซอร์ข่าวตอนมีเหตุไม่สงบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคงและ รมว.กลาโหม กล่าวในฐานะ คสช.โดยเสนอต่อ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ขอให้ไปแก้ไขเรื่องการเซ็นเซอร์ข่าวสารของสื่อมวลชน ซึ่งเดิม กมธ.ยกร่างฯได้ยึดตามแนวรัฐธรรมนูญปี 50 โดยให้รัฐบาลสามารถเซ็นเซอร์ข่าวสารได้ในภาวะสงคราม และตัดถ้อยคำ “ในภาวะการรบ” ออกแล้วเพิ่มถ้อยคำ “เหตุการณ์ความไม่สงบ” เข้าไปด้วย ให้รัฐบาลสามารถเซ็นเซอร์ข่าวสารของสื่อมวลชนได้ เพราะไม่เช่นนั้น หากมีการเผยแพร่ข่าวสารออกไป อาจทำให้สถานการณ์หรือเหตุการณ์ทวีความยุ่งยากยิ่งขึ้น ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯฝ่ายกฎหมาย กล่าวเสริมว่า กมธ.ยกร่างฯบางส่วนได้ดูข้อกฎหมายแล้วพบว่า หากรัฐบาลประกาศกฎอัยการศึก ทหารสามารถสั่งห้ามจำหน่ายจ่ายแจกเผยแพร่สื่อได้อยู่แล้ว อีกทั้งในพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ ก็มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจขอความร่วมมือในเรื่องนี้ได้เช่นกัน และเรื่องนี้ก็จะถูกสังคมและสื่อมองได้ว่าเป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพได้
กสม.ดิ้นยื่นค้านควบผู้ตรวจการฯ
ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธาน กสม.กล่าวว่า คณะกรรมการ กสม.มีมติให้ทำหนังสือถึงหัวหน้าคสช.ประธาน สปช.ประธาน สนช. ครม.และ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ขอให้ทบทวนมติการควบรวมผู้ตรวจการแผ่นดิน และ กสม. โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อการทำหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชน เพราะอำนาจหน้าที่และเจตนารมณ์การตรวจสอบเรื่องร้องเรียนของสององค์กรแตกต่างกัน หากควบรวมจะทำให้ประชาชนเสียโอกาสและทางเลือกในการยื่นเรื่องร้องเรียน อีกทั้งบทบาทขององค์กรใหม่อาจถูกลดทอนลง เพราะมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการ 11 ด้าน จึงไม่สอดคล้องกับการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนตามการทำงานตามหลักสากล หากมีการควบรวมจะทำให้ประชาคมโลกตั้งคำถามการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนไทยยังคงเดิมหรือไม่
“เต้น” ห่วง รธน.บั่นอำนาจ ปชช.
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช.โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช.เรียกประชุมแม่น้ำ 5 สาย คาดว่าเพื่อกระชับความเข้าใจและตรวจการบ้านตามโรดแม็ป ได้ยินคนบนเรือแป๊ะพูดกันว่า รัฐธรรมนูญร่างแรกผ่านไปแล้ว 50% เปรียบเป็นฟุตบอลพอหมดครึ่งแรกจะมีการวิเคราะห์เกมที่ผ่านมา และคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในครึ่งหลัง ผมขอร่วมแสดงทรรศนะว่า ถ้าปลายทางรัฐธรรมนูญนี้คือการสร้างระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ต้องบอกว่ามองเกมครึ่งแรกแล้วน่าเป็นห่วง เพราะยิ่งเดินอำนาจอธิปไตยของประชาชนดูจะอ่อนแอลง สิ่งบ่งชี้บางประการ เช่น มีคน 7 คนมาเป็นกรรมการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ มีสมัชชาคุณธรรมคอยให้ข้อมูลชี้นำสังคมว่า ใครบ้าง มีหรือไม่มีคุณธรรม มี ส.ว.สรรหาเต็มสภา และทำท่าว่าอำนาจจะมหาศาล มีมาตรา 7 ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดกรณีพิพาทเมื่อถึงทางตัน ฯลฯ
ติงเปลี่ยนเข้าสู่ยุค “รัฐราชการ”
นายณัฐวุฒิระบุว่า ถ้าจบแบบนี้ผมเห็นว่าเราจะเข้าสู่ “สังคมอนุรักษ์นิยม” ภายใต้อำนาจ “รัฐราชการ” ซึ่งจะสวนทางกับหลักการพื้นฐานระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยของประชาชนต้องเป็นอำนาจสูงสุด ไม่ได้มีปัญหากับระบบราชการ แต่การมีข้าราชการจัดการเลือกตั้ง คุมแต่งตั้งโยกย้าย ชี้ขาดจริยธรรม กำกับนโยบายฝ่ายการเมืองตั้งแต่ช่วงหาเสียง ผมยังมองไม่ออกว่า รัฐบาลเลือกตั้งจะใช้อำนาจบริหารอย่างไร นี่คือความห่วงใยเผื่อแป๊ะในฐานะผู้จัดการทีมที่เชื่อกันว่า ทุกคนต้องตามใจจะรับไว้พิจารณาแก้เกมในครึ่งหลัง แต่ถ้าแป๊ะและคณะเห็นว่า มาถูกทางจะเดินต่อไปเช่นนี้ ก็แล้วแต่แป๊ะ
อสส.ยังร่างคำฟ้อง “ปู” ไม่เสร็จ
นายชุติชัย สาขากร อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานอัยการ ในการร่างคำฟ้องดำเนินคดีอาญา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว กรณีปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) มาตรา 123/1 กล่าวว่า ขณะนี้คณะทำงานอัยการยังคงร่วมพิจารณาการร่างคำฟ้องคดีนี้ ยังไม่สามารถระบุวันเวลาที่แน่ชัดได้ว่าจะแล้วเสร็จเมื่อใด ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะทำงานอัยการประมาณ 10 คน แต่คาดว่าคงใช้เวลาไม่นานน่าจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้เมื่อคณะทำงานร่างคำฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์เสร็จสมบูรณ์จะส่งให้นายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด ตรวจคำฟ้องก่อน จากนั้นคณะทำงานอัยการจะประสานให้ ป.ป.ช.นำตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์มาฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป
กลางเดือนลุ้น ป.ป.ช.ฟัน 268 อดีต ส.ส.
นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. กล่าวถึงความคืบหน้าการไต่สวนการถอดถอน 268 อดีต ส.ส.กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มา ส.ว.โดยมิชอบว่า ขณะนี้คณะทำงานได้รวบรวมข้อมูลพยานหลักฐานครบถ้วนแล้ว จะมีการแบ่งผู้ถูกกล่าวหาออกเป็น 3 กลุ่มความผิด คาดว่าคณะทำงานจะสรุปคดีเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาได้ภายในกลางเดือน ก.พ. หลังจากนั้นจะส่งเรื่องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ดำเนินการต่อไป ส่วนกรณีการดำเนินคดีอาญากับ ส.ส.ที่เสียบบัตรแทนกันนั้น คาดว่าจะสรุปเข้าที่ประชุม ป.ป.ช.ได้ในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อให้ ป.ป.ช.พิจารณาแจ้งข้อกล่าวหาต่อไป
ขู่เล่นงาน 12 ส.ส.เบี้ยวแจงทรัพย์
นายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวถึงกรณีอดีต ส.ส.รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 12 ราย ที่ยังไม่ยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช.ในกรณีการพ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปีว่า หลังจากนี้สำนักงาน ป.ป.ช.จะแจ้งไปยังบุคคลเหล่านี้ให้ยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินฯต่อ ป.ป.ช. ภายในเวลา 30 วัน หากยังไม่ดำเนินการยื่นมา ป.ป.ช.จะดำเนินการตามกฎหมายต่อบุคคล อย่างไรก็ตาม เท่าที่เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินฯเบื้องต้น ยังไม่พบว่ามีความผิดปกติในบัญชีของบุคคลใด คงต้องรอให้เจ้าหน้าที่ทำรายงานและชี้แจงรายละเอียดเข้ามาอีกครั้ง เพราะขณะนี้เป็นเพียงขั้นตอนเบื้องต้นเท่านั้น
ที่มา เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (อ.นิกร เพ็งลี)
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (อ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น