เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
-1.กำหนดการสอบครูผู้ช่วย (กรณีพิเศษ)
กำหนดกสอบครูผู้ช่วย (กรณีปกติ)
3.เครื่องแบบพนักงานราชการ 2557
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558
เปิดปูม 9 ท่านเปา พิพากษา 'ยิ่งลักษณ์' คดีทุจริตจำนำข้าว
ตรวจสอบเกียรติประวัติการทำหน้าที่ของ 9 ผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่ได้รับเลือกเป็นองค์คณะพิจารณาคดีจำนำข้าวซึ่งมี "น.ส.ยิ่งลักษณ์" เป็นจำเลย พบว่า 6 ใน 9 ท่าน เคยพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกับตระกูล "ชินวัตร" มาแล้ว...
เเละเเล้วทุกอย่างก็ต้องดำเนินขั้นตอนไปตามกฎหมาย เมื่อนายดิเรก อิงคนันท์ ประธานศาลฎีกาก็เรียกประชุมใหญ่ศาลฎีกา ทำการคัดเลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกามาเป็นองค์คณะผู้พิพากษา โดยวิธีการลงคะแนนลับ เพื่อพิจารณาคดีระหว่างอัยการสูงสุดเเละโจทก์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กรณีละเลยไม่ดำเนินการยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวจนทำให้ภาครัฐเสียหาย
ทั้งนี้ ผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกให้พิจารณาคดีออกมา 9 คน ประกอบด้วย นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา นายวิรุฬ แสงเทียน ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา นายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานแผนกคดีอาญาของดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา นายธนสิทธิ์ นิลกำแหง ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา นายศิริชัย วัฒนโยธิน รองประธานศาลฎีกา นายชีพ จุลมนต์ รองประธานศาลฎีกา นายวีระพล ตั้งสุวรรณ รองประธานศาลฎีกา นางอุบลรัตน์ ลุยวิกกัย ประธานคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา นายธานิศ เกศวพิทักษ์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา
เมื่อตรวจสอบเกียรติประวัติการทำหน้าที่ของผู้พิพากษาทั้ง 9 ท่าน จะพบว่า 6 ใน 9 ท่านนั้นเคยนั่งบัลลังก์พิพากษาคดีของบุคคลที่เกี่ยวข้องในตระกูลชินวัตรมาเเล้ว 4 คดี และมีอย่างน้อย 4 ท่าน น่าจะเป็นว่าที่ประธานศาลฎีกาคนต่อไป
เริ่มต้นจากคดีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี หมายเลข 26 ของประเทศ พร้อมพวก ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด เเละกรณีสั่งการสลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 51 โดยรัฐบาลนายสมชาย ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่ปิดล้อมทางเข้ารัฐสภา กระทั่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 ศพ และมีผู้บาดเจ็บ 471 ราย โดยมีนายธนสิทธิ์ นิลกำแหง ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา นายศิริชัย วัฒนโยธิน รองประธานศาลฎีกา เเละนายชีพ จุลมนต์ รองประธานศาลฎีกา ดำรงตำเเหน่งองค์คณะผู้พิพากษาคดี เมื่อวันที่ 9 ก.พ.58
ต่อมาคดีที่สอง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมพวก ถูกศาลนั่งบัลลังก์ตัดสินการทุจริตปล่อยกู้ใหับริษัทกฤษดามหานคร ของแบงก์กรุงไทย โดยมีบุคคลที่ตกเป็นจำเลยรวม 27 ราย ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริต โดยมีนายวีระพล ตั้งสุวรรณ รองประธานศาลฎีกา ดำรงตำเเหน่งองค์คณะผู้พิพากษาคดี เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 55
จากนั้นคดีที่สาม มีการยึดทรัพย์จำนวน 4.6 หมื่นล้านบาทไทย ให้ตกเป็นของเเผ่นดิน โดยทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีการขายหุ้นชินคอร์ปให้กลุ่มทุนเทมาเส็ก ซึ่งมีนายธานิต เกศวพิทักษ์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ดำรงตำเเหน่งองค์คณะผู้พิพากษาคดีในครั้งนั้น เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 53 หลังจากการตัดสินของศาล พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมากางโต๊ะแถลงว่า จากการที่ศาลทำการตัดสินยึดทรัพย์ จำนวน 46,373 ล้านบาท ด้านประชาคมโลกคงขบขันที่ตนถูกยึดทรัพย์ของตัวเอง ซึ่งความรู้สึกนั้น คล้ายกับเมื่อครั้งที่พรรคไทยรักไทยถูกยุบ เนื่องจากรัฐบาลทราบล่วงหน้าอยู่แล้ว เพราะคนปักธงกับคนอุ้มรัฐเป็นคนเดียวกัน
"ทั้งนี้ ตนขอไว้ทุกข์ให้กับความดื้อของตัวเอง ที่ไม่ยอมเชื่อฟัง คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยา และลูกๆ ที่เคยห้ามไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะเราเป็นเศรษฐีอยู่แล้ว ควรใช้ชีวิตแบบเศรษฐีดีกว่า ดังนั้นจึงขอโทษลูกๆ ด้วย พร้อมกันยังได้ตัดพ้อว่า การเมืองใจดำ ขอให้ตนเป็นเหยื่อทางการเมืองคนสุดท้าย ตนเป็นนักเรียนทุนรัฐบาล แต่แล้วกลับเป็นเหยื่อที่ไม่ยุติธรรมที่สุด"
เเล้วคดีสุดท้าย ศาลทำการตัดสินให้มีการยึดทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวน 68,104,000 บาท ของ น.ส.ณฐกมล นนทะโชติ บุตรสาวพล.อ.สัมฤทธิ์ นนทะโชติ คนสนิทของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี โดยมีนายนายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา ดำรงตำเเหน่งองค์คณะผู้พิพากษาคดีในช่วงเวลานั้น
อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูกันต่อไปว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะทำการยื่นคัดค้านคุณสมบัติของผู้พิพากษาที่ได้รับการเลือกหรือไม่ ในระหว่างที่ประธานศาลฎีกาจะลงนามรับรองการทำหน้าที่ขององค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คน ภายในระยะเวลา 5 วัน ก่อนที่จะดำเนินไปตามขั้นตอนต่อไป
คดีนี้ คนไทยและต่างชาติต่างให้ความสนใจ ไม่ว่าผลจะออกมาเช่นไรนอกจากส่งผลกับตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์เองแล้ว ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า ต้องส่งผลกับการเมืองไทยในอนาคตเช่นเดียวกัน อีกไม่นานเกินรอทุกอย่างจะมีคำตอบ.
ตรวจสอบเกียรติประวัติการทำหน้าที่ของ 9 ผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่ได้รับเลือกเป็นองค์คณะพิจารณาคดีจำนำข้าวซึ่งมี "น.ส.ยิ่งลักษณ์" เป็นจำเลย พบว่า 6 ใน 9 ท่าน เคยพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกับตระกูล "ชินวัตร" มาแล้ว...
เเละเเล้วทุกอย่างก็ต้องดำเนินขั้นตอนไปตามกฎหมาย เมื่อนายดิเรก อิงคนันท์ ประธานศาลฎีกาก็เรียกประชุมใหญ่ศาลฎีกา ทำการคัดเลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกามาเป็นองค์คณะผู้พิพากษา โดยวิธีการลงคะแนนลับ เพื่อพิจารณาคดีระหว่างอัยการสูงสุดเเละโจทก์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กรณีละเลยไม่ดำเนินการยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวจนทำให้ภาครัฐเสียหาย
ทั้งนี้ ผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกให้พิจารณาคดีออกมา 9 คน ประกอบด้วย นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา นายวิรุฬ แสงเทียน ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา นายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานแผนกคดีอาญาของดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา นายธนสิทธิ์ นิลกำแหง ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา นายศิริชัย วัฒนโยธิน รองประธานศาลฎีกา นายชีพ จุลมนต์ รองประธานศาลฎีกา นายวีระพล ตั้งสุวรรณ รองประธานศาลฎีกา นางอุบลรัตน์ ลุยวิกกัย ประธานคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา นายธานิศ เกศวพิทักษ์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา
เมื่อตรวจสอบเกียรติประวัติการทำหน้าที่ของผู้พิพากษาทั้ง 9 ท่าน จะพบว่า 6 ใน 9 ท่านนั้นเคยนั่งบัลลังก์พิพากษาคดีของบุคคลที่เกี่ยวข้องในตระกูลชินวัตรมาเเล้ว 4 คดี และมีอย่างน้อย 4 ท่าน น่าจะเป็นว่าที่ประธานศาลฎีกาคนต่อไป
เริ่มต้นจากคดีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี หมายเลข 26 ของประเทศ พร้อมพวก ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด เเละกรณีสั่งการสลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 51 โดยรัฐบาลนายสมชาย ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่ปิดล้อมทางเข้ารัฐสภา กระทั่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 ศพ และมีผู้บาดเจ็บ 471 ราย โดยมีนายธนสิทธิ์ นิลกำแหง ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา นายศิริชัย วัฒนโยธิน รองประธานศาลฎีกา เเละนายชีพ จุลมนต์ รองประธานศาลฎีกา ดำรงตำเเหน่งองค์คณะผู้พิพากษาคดี เมื่อวันที่ 9 ก.พ.58
ต่อมาคดีที่สอง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมพวก ถูกศาลนั่งบัลลังก์ตัดสินการทุจริตปล่อยกู้ใหับริษัทกฤษดามหานคร ของแบงก์กรุงไทย โดยมีบุคคลที่ตกเป็นจำเลยรวม 27 ราย ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริต โดยมีนายวีระพล ตั้งสุวรรณ รองประธานศาลฎีกา ดำรงตำเเหน่งองค์คณะผู้พิพากษาคดี เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 55
จากนั้นคดีที่สาม มีการยึดทรัพย์จำนวน 4.6 หมื่นล้านบาทไทย ให้ตกเป็นของเเผ่นดิน โดยทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีการขายหุ้นชินคอร์ปให้กลุ่มทุนเทมาเส็ก ซึ่งมีนายธานิต เกศวพิทักษ์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ดำรงตำเเหน่งองค์คณะผู้พิพากษาคดีในครั้งนั้น เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 53 หลังจากการตัดสินของศาล พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมากางโต๊ะแถลงว่า จากการที่ศาลทำการตัดสินยึดทรัพย์ จำนวน 46,373 ล้านบาท ด้านประชาคมโลกคงขบขันที่ตนถูกยึดทรัพย์ของตัวเอง ซึ่งความรู้สึกนั้น คล้ายกับเมื่อครั้งที่พรรคไทยรักไทยถูกยุบ เนื่องจากรัฐบาลทราบล่วงหน้าอยู่แล้ว เพราะคนปักธงกับคนอุ้มรัฐเป็นคนเดียวกัน
"ทั้งนี้ ตนขอไว้ทุกข์ให้กับความดื้อของตัวเอง ที่ไม่ยอมเชื่อฟัง คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยา และลูกๆ ที่เคยห้ามไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะเราเป็นเศรษฐีอยู่แล้ว ควรใช้ชีวิตแบบเศรษฐีดีกว่า ดังนั้นจึงขอโทษลูกๆ ด้วย พร้อมกันยังได้ตัดพ้อว่า การเมืองใจดำ ขอให้ตนเป็นเหยื่อทางการเมืองคนสุดท้าย ตนเป็นนักเรียนทุนรัฐบาล แต่แล้วกลับเป็นเหยื่อที่ไม่ยุติธรรมที่สุด"
เเล้วคดีสุดท้าย ศาลทำการตัดสินให้มีการยึดทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวน 68,104,000 บาท ของ น.ส.ณฐกมล นนทะโชติ บุตรสาวพล.อ.สัมฤทธิ์ นนทะโชติ คนสนิทของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี โดยมีนายนายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา ดำรงตำเเหน่งองค์คณะผู้พิพากษาคดีในช่วงเวลานั้น
อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูกันต่อไปว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะทำการยื่นคัดค้านคุณสมบัติของผู้พิพากษาที่ได้รับการเลือกหรือไม่ ในระหว่างที่ประธานศาลฎีกาจะลงนามรับรองการทำหน้าที่ขององค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คน ภายในระยะเวลา 5 วัน ก่อนที่จะดำเนินไปตามขั้นตอนต่อไป
คดีนี้ คนไทยและต่างชาติต่างให้ความสนใจ ไม่ว่าผลจะออกมาเช่นไรนอกจากส่งผลกับตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์เองแล้ว ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า ต้องส่งผลกับการเมืองไทยในอนาคตเช่นเดียวกัน อีกไม่นานเกินรอทุกอย่างจะมีคำตอบ.
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (อ.นิกร เพ็งลี)
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (อ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น