เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวที่ 41/2561
ศธ.ผนึกกำลังภาคเอกชนร่วมงาน “สามัคคี แฟร์ 2018” ที่สหราชอาณาจักร
ศธ.ผนึกกำลังภาคเอกชนร่วมงาน “สามัคคี แฟร์ 2018” ใจกลางเมืองผู้ดี เพื่อจุดประกายความคิดริเริ่มสร้างสรรค์-วิจัย-Start up พร้อมเตรียมเสนอ ครม. และจัดหาทุนการศึกษาให้เด็กไทย จบแล้วอ้าแขนรับกลับมาพัฒนาประเทศรองรับไทยแลนด์ 4.0
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ร่วมกับ สามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (Samaggi Samagom) และสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทยในสหราชอาณาจักร สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน จัดงานประชุมวิชาการของสามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ ครั้งที่ 10 “งานสามัคคี แฟร์ 2018: Samaggi Fair”
เมื่อวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 ณ วิทยาลัยอิมพีเรียล ลอนดอน (Imperial London College) วิทยาเขตเซาธ์เค็นซิงตัน กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยได้รับเกียรติจาก นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษ พร้อมเยี่ยมชมบูธแนะนำด้านวิชาชีพ Career Fair จากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนชั้นนำของไทย
นายธนชาติ คุจารีวณิช สภานายกสามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ คนที่ 117 กล่าวรายงานว่า การจัด “งานสามัคคี แฟร์ 2018” หรือ Samaggi Fair 2018 ในครั้งนี้ ถือเป็นการจัดงาน Career Fair ครั้งแรกควบคู่กับการประชุมวิชาการในหัวข้อ "สังคมบนฐานแห่งนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน" ซึ่งยังคงจัดงานภายใต้วิสัยทัศน์หลักของสามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ผู้ทรงก่อตั้งสามัคคีสมาคมให้เป็นศูนย์รวมของเหล่านักศึกษาไทยในสหราชอาณาจักร เพื่อพบปะและแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
โดยงานในปีนี้ มุ่งเน้นนโยบาย "ประเทศไทย 4.0" โดยเปิดเวทีให้นักศึกษาไทยในสหราชอาณาจักรที่เข้าร่วมงานกว่า 500 คน (60% เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโททั้งแผนการเรียนวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์) ได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนทัศนะ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาตนเอง เสริมสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการและโอกาสในการทำงานที่หลากหลาย ตลอดจนกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และริเริ่มธุรกิจใหม่ ๆ ด้วยการแข่งขัน Start up ผ่านกิจกรรมภายในงานที่จัดขึ้นหลากหลายรูปแบบ อาทิ การสัมมนาวิชาการ, การบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิ, การเสนอแนวคิดผลงานวิจัยโดยนักศึกษา เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีการชี้แนะด้านวิชาชีพจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนชั้นนำ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการกลับมาทำงานเพื่อประเทศไทย ตลอดจนส่งเสริมความคิดริเริ่มการวิจัยและนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 อาทิ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, ธนาคารแห่งประเทศไทย, กองบัญชาการกองทัพไทย, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน), บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน), บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), เครือเจริญโภคภัณฑ์ (C.P. Group), กลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย และ Teach for Thailand
จึงขอขอบคุณหน่วยงานภาครัฐและบริษัทชั้นนำของประเทศไทย และเพื่อน ๆ สมาคมนักศึกษาไทยจากทั่วราชอาณาจักรที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำให้งานนี้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ได้จัดงานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน Samaggi Fair 2018 เพื่อให้นักเรียนไทยได้พบปะกับผู้บริหารทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก่อนเริ่มงานด้วย
โอกาสนี้ นายพิษณุ สุวรรณะชฎ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ได้กล่าวถึงการจัดงานสามัคคี แฟร์ 2018 ว่าได้รับการตอบรับจากนักเรียนไทยและบริษัทภาคเอกชนของประเทศไทยอย่างดียิ่ง โดยวัตถุประสงค์สำคัญของการจัดงาน คือนักเรียนไทยที่นี่ทุกคนจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมทั้งวางแผนการใช้ชีวิตและการทำงานในอนาคต ด้วยกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากศักยภาพ ขีดความสามารถและพรสวรรค์ของนักเรียนนักศึกษาเอง ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าอนาคตของประเทศไทยอยู่ที่นักศึกษาไทยทุกคน ที่จะนำประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองต่อไป ส่วนภาครัฐจะร่วมมือกับเครือข่ายของสามัคคีสมาคมฯ เพื่อขยายการจัดงานไปยังประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรปในครั้งต่อไป เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนนักศึกษาไทยในยุโรปได้เข้าร่วมงานดี ๆ เช่นนี้ด้วยตนเอง หรือผ่านทางช่องทางอื่นในกรณีไม่สามารถเข้าร่วมได้ อาทิ การสัมภาษณ์ผ่าน Skype, การส่งประวัติส่วนตัวให้บริษัทพิจารณา เป็นต้น
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวมีใจความสรุปตอนหนึ่งว่า ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาประเทศไทยก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งปัจจุบันคำว่า 4.0 มีความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในแวดวงการศึกษาไทย จึงขอฝากแนวคิดเกี่ยวกับการจะไปถึงไทยแลนด์ 4.0 ได้นั้น ต้องรู้ที่มาของคำว่า 4.0 ก่อน ซึ่งมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในปี ค.ศ.2011 ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยนำระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาใช้มากขึ้น สำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีวิวัฒนาการตามลำดับ คือ ครั้งแรก (1st Industrial Revolution) เป็นการปฏิวัติกลไก (Mechanical) นำเครื่องจักรไอน้ำมาเป็นเครื่องทุ่นแรง จากนั้นในครั้งที่ 2 (2nd Industrial Revolution) ได้นำระบบไฟฟ้า (Electrical) เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม และในครั้งที่ 3 (3rd Industrial Revolution) ด้วยการมีระบบดิจิทัล (Digital) เช่นนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ ทำให้เกิดการประมวลผลที่รวดเร็วขึ้นและเกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด นำไปสู่การปฏิวัติครั้งที่ 4 (4th Industrial Revolution) เน้นการบูรณาการ (Integral) ไม่ว่าจะเป็น Internet of Things, Robotics, Automation เป็นต้น ดังนั้น การก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0
โดยสรุปก็คือการสร้างและคิดค้นนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ ๆ บนฐาน Mindset แบบ 4.0 (Integral) เน้นใช้ "หลักบูรณาการ" ศาสตร์ต่าง ๆ ควบคู่กับหลักนิติธรรม (The Rule of Law) นำมาปรับใช้ในการบริหารและการดำรงชีวิต ที่สำคัญคืออาจไม่จำเป็นต้องเป็น 4.0 ทั้งหมด แต่นวัตกรรมเหล่านั้นต้องมีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม Mindset ของแต่ละยุคจะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ได้แก่ Mindset ของยุค 1.0 (Ego-centric) ยึดตนเองเป็นหลัก, ยุค 2.0 (Group-centric) เน้นหลักเกณฑ์ และยุค 3.0 (World-centric) ให้ความสำคัญกับหลักการ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า สำหรับการจัด “งานสามัคคี แฟร์ 2018” ในครั้งนี้ ถือเป็นมิติที่สำคัญมาก ที่ผู้บริหารภาครัฐและภาคเอกชนจะได้ร่วมมือกัน และเป็นการให้ความสำคัญกับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในต่างประเทศ และหลังจากนี้กระทรวงศึกษาธิการจะรายงานผลการจัดงานฯ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้รับทราบ พร้อมจะเสนอให้ทุนการศึกษากับนักศึกษาไทยในต่างประเทศ เพื่อกลับมาฝึกงานในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ที่จะเป็นการนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้และหาแนวทางพัฒนาการทำงานในประเทศต่อไป ในส่วนของนักเรียนไทย ณ ที่นี้ ที่จะกลับไปทำงานที่ประเทศไทย
ขอฝากแนวคิดเกี่ยวกับการปรับตัวรองรับการเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง ทั้งการบังคับใช้กฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ และข้อบังคับต่าง ๆ ของทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และสิ่งสำคัญในโลกของการทำงานก็คือ ส่วนหนึ่งต้องใช้ความรู้ความสามารถทางสติปัญญา (IQ) แต่การจะดำรงอยู่ในหน้าที่และรักษาการทำงานไว้ได้นั้น ต้องมีสติปัญญาควบคู่กับความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) รวมทั้งมีความสามารถในการสื่อสารได้อย่างตรงประเด็นและมีประสิทธิภาพ และท้ายสุดนี้ขอให้ทุกคนมีความมุ่งมั่นและไม่ยอมแพ้ต่อสิ่งต่าง ๆ ที่จะเข้ามา ทั้งในเรื่องของการเรียนและการทำงานในอนาคต
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวที่ 41/2561
ศธ.ผนึกกำลังภาคเอกชนร่วมงาน “สามัคคี แฟร์ 2018” ที่สหราชอาณาจักร
ศธ.ผนึกกำลังภาคเอกชนร่วมงาน “สามัคคี แฟร์ 2018” ใจกลางเมืองผู้ดี เพื่อจุดประกายความคิดริเริ่มสร้างสรรค์-วิจัย-Start up พร้อมเตรียมเสนอ ครม. และจัดหาทุนการศึกษาให้เด็กไทย จบแล้วอ้าแขนรับกลับมาพัฒนาประเทศรองรับไทยแลนด์ 4.0
เมื่อวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 ณ วิทยาลัยอิมพีเรียล ลอนดอน (Imperial London College) วิทยาเขตเซาธ์เค็นซิงตัน กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยได้รับเกียรติจาก นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษ พร้อมเยี่ยมชมบูธแนะนำด้านวิชาชีพ Career Fair จากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนชั้นนำของไทย
นายธนชาติ คุจารีวณิช สภานายกสามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ คนที่ 117 กล่าวรายงานว่า การจัด “งานสามัคคี แฟร์ 2018” หรือ Samaggi Fair 2018 ในครั้งนี้ ถือเป็นการจัดงาน Career Fair ครั้งแรกควบคู่กับการประชุมวิชาการในหัวข้อ "สังคมบนฐานแห่งนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน" ซึ่งยังคงจัดงานภายใต้วิสัยทัศน์หลักของสามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ผู้ทรงก่อตั้งสามัคคีสมาคมให้เป็นศูนย์รวมของเหล่านักศึกษาไทยในสหราชอาณาจักร เพื่อพบปะและแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
โดยงานในปีนี้ มุ่งเน้นนโยบาย "ประเทศไทย 4.0" โดยเปิดเวทีให้นักศึกษาไทยในสหราชอาณาจักรที่เข้าร่วมงานกว่า 500 คน (60% เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโททั้งแผนการเรียนวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์) ได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนทัศนะ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาตนเอง เสริมสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการและโอกาสในการทำงานที่หลากหลาย ตลอดจนกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และริเริ่มธุรกิจใหม่ ๆ ด้วยการแข่งขัน Start up ผ่านกิจกรรมภายในงานที่จัดขึ้นหลากหลายรูปแบบ อาทิ การสัมมนาวิชาการ, การบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิ, การเสนอแนวคิดผลงานวิจัยโดยนักศึกษา เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีการชี้แนะด้านวิชาชีพจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนชั้นนำ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการกลับมาทำงานเพื่อประเทศไทย ตลอดจนส่งเสริมความคิดริเริ่มการวิจัยและนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 อาทิ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, ธนาคารแห่งประเทศไทย, กองบัญชาการกองทัพไทย, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน), บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน), บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), เครือเจริญโภคภัณฑ์ (C.P. Group), กลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย และ Teach for Thailand
จึงขอขอบคุณหน่วยงานภาครัฐและบริษัทชั้นนำของประเทศไทย และเพื่อน ๆ สมาคมนักศึกษาไทยจากทั่วราชอาณาจักรที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำให้งานนี้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ได้จัดงานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน Samaggi Fair 2018 เพื่อให้นักเรียนไทยได้พบปะกับผู้บริหารทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก่อนเริ่มงานด้วย
โอกาสนี้ นายพิษณุ สุวรรณะชฎ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ได้กล่าวถึงการจัดงานสามัคคี แฟร์ 2018 ว่าได้รับการตอบรับจากนักเรียนไทยและบริษัทภาคเอกชนของประเทศไทยอย่างดียิ่ง โดยวัตถุประสงค์สำคัญของการจัดงาน คือนักเรียนไทยที่นี่ทุกคนจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมทั้งวางแผนการใช้ชีวิตและการทำงานในอนาคต ด้วยกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากศักยภาพ ขีดความสามารถและพรสวรรค์ของนักเรียนนักศึกษาเอง ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าอนาคตของประเทศไทยอยู่ที่นักศึกษาไทยทุกคน ที่จะนำประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองต่อไป ส่วนภาครัฐจะร่วมมือกับเครือข่ายของสามัคคีสมาคมฯ เพื่อขยายการจัดงานไปยังประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรปในครั้งต่อไป เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนนักศึกษาไทยในยุโรปได้เข้าร่วมงานดี ๆ เช่นนี้ด้วยตนเอง หรือผ่านทางช่องทางอื่นในกรณีไม่สามารถเข้าร่วมได้ อาทิ การสัมภาษณ์ผ่าน Skype, การส่งประวัติส่วนตัวให้บริษัทพิจารณา เป็นต้น
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวมีใจความสรุปตอนหนึ่งว่า ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาประเทศไทยก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งปัจจุบันคำว่า 4.0 มีความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในแวดวงการศึกษาไทย จึงขอฝากแนวคิดเกี่ยวกับการจะไปถึงไทยแลนด์ 4.0 ได้นั้น ต้องรู้ที่มาของคำว่า 4.0 ก่อน ซึ่งมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในปี ค.ศ.2011 ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยนำระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาใช้มากขึ้น สำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีวิวัฒนาการตามลำดับ คือ ครั้งแรก (1st Industrial Revolution) เป็นการปฏิวัติกลไก (Mechanical) นำเครื่องจักรไอน้ำมาเป็นเครื่องทุ่นแรง จากนั้นในครั้งที่ 2 (2nd Industrial Revolution) ได้นำระบบไฟฟ้า (Electrical) เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม และในครั้งที่ 3 (3rd Industrial Revolution) ด้วยการมีระบบดิจิทัล (Digital) เช่นนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ ทำให้เกิดการประมวลผลที่รวดเร็วขึ้นและเกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด นำไปสู่การปฏิวัติครั้งที่ 4 (4th Industrial Revolution) เน้นการบูรณาการ (Integral) ไม่ว่าจะเป็น Internet of Things, Robotics, Automation เป็นต้น ดังนั้น การก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0
โดยสรุปก็คือการสร้างและคิดค้นนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ ๆ บนฐาน Mindset แบบ 4.0 (Integral) เน้นใช้ "หลักบูรณาการ" ศาสตร์ต่าง ๆ ควบคู่กับหลักนิติธรรม (The Rule of Law) นำมาปรับใช้ในการบริหารและการดำรงชีวิต ที่สำคัญคืออาจไม่จำเป็นต้องเป็น 4.0 ทั้งหมด แต่นวัตกรรมเหล่านั้นต้องมีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม Mindset ของแต่ละยุคจะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ได้แก่ Mindset ของยุค 1.0 (Ego-centric) ยึดตนเองเป็นหลัก, ยุค 2.0 (Group-centric) เน้นหลักเกณฑ์ และยุค 3.0 (World-centric) ให้ความสำคัญกับหลักการ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า สำหรับการจัด “งานสามัคคี แฟร์ 2018” ในครั้งนี้ ถือเป็นมิติที่สำคัญมาก ที่ผู้บริหารภาครัฐและภาคเอกชนจะได้ร่วมมือกัน และเป็นการให้ความสำคัญกับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในต่างประเทศ และหลังจากนี้กระทรวงศึกษาธิการจะรายงานผลการจัดงานฯ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้รับทราบ พร้อมจะเสนอให้ทุนการศึกษากับนักศึกษาไทยในต่างประเทศ เพื่อกลับมาฝึกงานในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ที่จะเป็นการนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้และหาแนวทางพัฒนาการทำงานในประเทศต่อไป ในส่วนของนักเรียนไทย ณ ที่นี้ ที่จะกลับไปทำงานที่ประเทศไทย
ขอฝากแนวคิดเกี่ยวกับการปรับตัวรองรับการเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง ทั้งการบังคับใช้กฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ และข้อบังคับต่าง ๆ ของทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และสิ่งสำคัญในโลกของการทำงานก็คือ ส่วนหนึ่งต้องใช้ความรู้ความสามารถทางสติปัญญา (IQ) แต่การจะดำรงอยู่ในหน้าที่และรักษาการทำงานไว้ได้นั้น ต้องมีสติปัญญาควบคู่กับความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) รวมทั้งมีความสามารถในการสื่อสารได้อย่างตรงประเด็นและมีประสิทธิภาพ และท้ายสุดนี้ขอให้ทุกคนมีความมุ่งมั่นและไม่ยอมแพ้ต่อสิ่งต่าง ๆ ที่จะเข้ามา ทั้งในเรื่องของการเรียนและการทำงานในอนาคต
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
www.tuewsob.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น