อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวที่ 44/2561
ศธ.รับฟังภาคเอกชน-สภาอุตสาหกรรม-สภาหอการค้าไทย ในการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะ รองรับ อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve)
กระทรวงศึกษาธิการ เปิดเวทีรับฟังแนวคิดภาคเอกชน- สภาอุตสาหกรรม-สภาหอการค้าไทย เพื่อเริ่มต้นโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะ รองรับ อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ก่อนที่จะให้มหาวิทยาลัยไป ออกแบบหลักสูตรแบบบูรณาการ โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน เพื่อให้หลักสูตรใหม่ที่รองรับ New S-Curve เริ่มใช้ได้ในช่วงเปิดเทอมเดือนสิงหาคมนี้
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ห้องประชุม ศ.วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมหารือกับตัวแทนผู้ประกอบการภาคเอกชน ประธานสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา เพื่อพิจารณารูปแบบการดำเนินงานตามโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิต ตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
นพ.อุดม คชินทร กล่าวว่า จากการที่ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายการผลิตและพัฒนากำลังคนและสร้างความสามารถในการแข่งขัน รองรับอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ซึ่งในการขับเคลื่อนเห็นว่าจำเป็นต้องปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ปรับเป้าหมายการรับผู้เรียนใหม่ ทั้งนักเรียนนักศึกษา คนทำงาน ด้วยหลักสูตรหลากหลายทั้งหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว โดยที่สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งต้องสร้างจุดเด่นจุดขายในการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มากขึ้น
การประชุมหารือในวันนี้ จึงเป็นการรับฟังแนวคิดของตัวแทนสถานประกอบการ สถาบันอุดมศึกษา เพื่อสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะและศักยภาพสูงสำหรับการทำงานในอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ THAILAND 4.0 และเป็นการสร้างฐานการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตบัณฑิต ที่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต สถานประกอบการ หรือภาคอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง
โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาร่วมมือกันและความร่วมมือกับภาคประกอบการ ในการเปิดหลักสูตรใหม่ที่รองรับ New S-Curve ได้ทันภายในช่วงเปิดภาคเรียนเดือนสิงหาคม 2561 ตามนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยคาดว่าจะส่งผลให้มีจำนวนบัณฑิตพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นปีละ 2 ล้านคน และกำลังคนทุกช่วงอายุของประเทศกว่า 20 ล้านคน หรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของกำลังคนที่ทำงานอยู่แล้ว ได้มีทักษะ สมรรถนะ ศักยภาพสูง สามารถทำงานได้หลากหลาย เป็นการตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมและสถานประกอบการ ตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทยสู่ New S-Curve เป็นการเร่งด่วนได้
"ต้องการให้หลักสูตรใหม่ที่รองรับ New S-Curve เริ่มใช้ได้ในเทอมแรกของปีการศึกษา 2561 โดยจะเริ่มต้นในมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมก่อน และวันจันทร์นี้ (19 ก.พ.) จะนัดมหาวิทยาลัยมาชี้แจงรายละเอียด ใน เวลา 13.30 น. ที่ สกอ. แล้วจึงให้แต่ละแห่งไปออกแบบหลักสูตรแบบบูรณาการ โดยร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยด้วยกัน และร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย เพราะเชื่อว่าไม่มีมหาวิทยาลัยเดียวในเวลานี้ที่ดูแลเองได้ โดยมหาวิทยาลัยที่ปรับกระบวนการเรียนการสอนให้ตอบโจทย์ผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ได้จริง ๆ ก็จะรวบรวมเป็น Bundle เพื่อเสนอของบประมาณไปยัง ครม.ต่อไป แม้ Timeline ที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาอันจำกัด แต่หากได้เริ่มต้นก็จะเป็นอนาคตของประเทศ หากเราช่วยกันจริงๆ อีกทั้งเราจำเป็นต้องลงทุนการศึกษาให้มากกว่านี้ เช่นเดียวกับประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ที่ได้ทุ่มงบฯ ลงไปกับการอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ทำให้ GDP ของประเทศสูงขึ้นตามไปด้วย" นพ.อุดม กล่าว
ตัวแทนหัวเหว่ย "หลักสูตรใหม่ในการผลิต อยากให้ภาครัฐบอกตัวบ่งชี้ (Indicator) ของ บัณฑิตแต่ละรายที่ผลิตออกมาว่ามีความพร้อมใช้ได้มากน้อยเพียงใด เพื่อภาคเอกชนจะได้ประโยชน์ในการสรรหารับเข้าทำงาน ไม่ต้องเสียเวลาไปพัฒนาเพิ่มเติมกว่าจะทำงานได้เป็นปีๆ เหมือนที่ผ่านมา ซึ่งหากภาครัฐทำได้จริง ภาคเอกชนพร้อมจะร่วมมือ"
ตัวแทนบริษัทด้าน IT Solution "ประเทศไทยขาดแคลน Resource ด้านนี้มาร่วม 10 ปี โดยเฉพาะด้าน Software Development รวมทั้งอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเกิดขึ้น เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ใหม่ ซึ่งหัวใจของของรถไฟฟ้าอยู่ที่แบตเตอรี่ หรือ Storage ไม่ใช่ยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น ประเทศไทยต้องเตรียมตัวผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ในด้านนี้ และคำนึงถึง Open Technology ด้วย"
นายวีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ "ต้องการให้การทำงานนี้เกิดความยั่งยืน เพราะเป็นความจำเป็นของประเทศ ไม่ว่าจะเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ และไม่ใช่เป็นโครงการที่ภาครัฐจะขอความร่วมมือจากภาคเอกชน เพราะรัฐไม่ได้คิดคนเดียว แต่เป็นเรื่องที่ภาคเอกชนต้องช่วยกันคิด เห็นพ้องต้องกัน เป็น Partner กันในการผลิตกำลังคน หากโครงการนี้ล้มเหลว ประเทศไทยจะไม่มีอนาคตเลย เพราะการคิดครั้งนี้ถือว่าทำนอกกรอบมากที่สุดแล้ว ดังนั้น เมื่อมหาวิทยาลัยใดเสนอรูปแบบอะไรก็ตามมาแล้ว สกอ.จะมีทีมกลั่นกรองรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อรวบรวมนำเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบ และขับเคลื่อนโดยเร่งด่วนต่อไป"
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวที่ 44/2561ศธ.รับฟังภาคเอกชน-สภาอุตสาหกรรม-สภาหอการค้าไทย ในการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะ รองรับ อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve)
กระทรวงศึกษาธิการ เปิดเวทีรับฟังแนวคิดภาคเอกชน- สภาอุตสาหกรรม-สภาหอการค้าไทย เพื่อเริ่มต้นโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะ รองรับ อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ก่อนที่จะให้มหาวิทยาลัยไป ออกแบบหลักสูตรแบบบูรณาการ โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน เพื่อให้หลักสูตรใหม่ที่รองรับ New S-Curve เริ่มใช้ได้ในช่วงเปิดเทอมเดือนสิงหาคมนี้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ห้องประชุม ศ.วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมหารือกับตัวแทนผู้ประกอบการภาคเอกชน ประธานสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา เพื่อพิจารณารูปแบบการดำเนินงานตามโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิต ตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย นพ.อุดม คชินทร กล่าวว่า จากการที่ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายการผลิตและพัฒนากำลังคนและสร้างความสามารถในการแข่งขัน รองรับอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ซึ่งในการขับเคลื่อนเห็นว่าจำเป็นต้องปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ปรับเป้าหมายการรับผู้เรียนใหม่ ทั้งนักเรียนนักศึกษา คนทำงาน ด้วยหลักสูตรหลากหลายทั้งหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว โดยที่สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งต้องสร้างจุดเด่นจุดขายในการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มากขึ้น การประชุมหารือในวันนี้ จึงเป็นการรับฟังแนวคิดของตัวแทนสถานประกอบการ สถาบันอุดมศึกษา เพื่อสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะและศักยภาพสูงสำหรับการทำงานในอุตสาหกรรมใหม่(New S-Curve) ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ THAILAND 4.0 และเป็นการสร้างฐานการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตบัณฑิต ที่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต สถานประกอบการ หรือภาคอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาร่วมมือกันและความร่วมมือกับภาคประกอบการ ในการเปิดหลักสูตรใหม่ที่รองรับNew S-Curve ได้ทันภายในช่วงเปิดภาคเรียนเดือนสิงหาคม 2561 ตามนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยคาดว่าจะส่งผลให้มีจำนวนบัณฑิตพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นปีละ 2 ล้านคน และกำลังคนทุกช่วงอายุของประเทศกว่า 20 ล้านคน หรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของกำลังคนที่ทำงานอยู่แล้ว ได้มีทักษะ สมรรถนะ ศักยภาพสูง สามารถทำงานได้หลากหลาย เป็นการตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมและสถานประกอบการ ตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทยสู่ New S-Curve เป็นการเร่งด่วนได้ "ต้องการให้หลักสูตรใหม่ที่รองรับNew S-Curve เริ่มใช้ได้ในเทอมแรกของปีการศึกษา 2561 โดยจะเริ่มต้นในมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมก่อน และวันจันทร์นี้ (19 ก.พ.) จะนัดมหาวิทยาลัยมาชี้แจงรายละเอียด ใน เวลา 13.30 น. ที่ สกอ. แล้วจึงให้แต่ละแห่งไปออกแบบหลักสูตรแบบบูรณาการ โดยร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยด้วยกัน และร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย เพราะเชื่อว่าไม่มีมหาวิทยาลัยเดียวในเวลานี้ที่ดูแลเองได้ โดยมหาวิทยาลัยที่ปรับกระบวนการเรียนการสอนให้ตอบโจทย์ผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ได้จริง ๆ ก็จะรวบรวมเป็น Bundle เพื่อเสนอของบประมาณไปยัง ครม.ต่อไป แม้ Timeline ที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาอันจำกัด แต่หากได้เริ่มต้นก็จะเป็นอนาคตของประเทศ หากเราช่วยกันจริงๆ อีกทั้งเราจำเป็นต้องลงทุนการศึกษาให้มากกว่านี้ เช่นเดียวกับประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ที่ได้ทุ่มงบฯ ลงไปกับการอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ทำให้ GDP ของประเทศสูงขึ้นตามไปด้วย" นพ.อุดม กล่าว
ตัวแทนหัวเหว่ย "หลักสูตรใหม่ในการผลิต อยากให้ภาครัฐบอกตัวบ่งชี้ (Indicator) ของ
ตัวแทนบริษัทด้าน IT Solution "ประเทศไทยขาดแคลน Resource ด้านนี้มาร่วม 10 ปี โดยเฉพาะด้าน Software Development รวมทั้งอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเกิดขึ้น เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ใหม่ ซึ่งหัวใจของของรถไฟฟ้าอยู่ที่แบตเตอรี่ หรือ Storage ไม่ใช่ยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น ประเทศไทยต้องเตรียมตัวผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ในด้านนี้ และคำนึงถึง Open Technology ด้วย"
นายวีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ "ต้องการให้การทำงานนี้เกิดความยั่งยืน เพราะเป็นความจำเป็นของประเทศ ไม่ว่าจะเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ และไม่ใช่เป็นโครงการที่ภาครัฐจะขอความร่วมมือจากภาคเอกชน เพราะรัฐไม่ได้คิดคนเดียว แต่เป็นเรื่องที่ภาคเอกชนต้องช่วยกันคิด เห็นพ้องต้องกัน เป็น Partner กันในการผลิตกำลังคน หากโครงการนี้ล้มเหลว ประเทศไทยจะไม่มีอนาคตเลย เพราะการคิดครั้งนี้ถือว่าทำนอกกรอบมากที่สุดแล้ว ดังนั้น เมื่อมหาวิทยาลัยใดเสนอรูปแบบอะไรก็ตามมาแล้ว สกอ.จะมีทีมกลั่นกรองรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อรวบรวมนำเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบ และขับเคลื่อนโดยเร่งด่วนต่อไป"
|
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
www.tuewsob.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น