อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวที่ 35/2561
ศธ.จัด ประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาระดับภาค 6 ภาคทั่วประเทศ
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รับฟังผลการประชุม มอบนโยบาย และเป็นประธานปิดการประชุมปฏิบัติการ จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาระดับภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้ง 6 ภาคทั่วประเทศ เมื่อวันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ โดยมีนายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ, ผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ, ศึกษาธิการภาค, ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้บริหารส่วนราชการระดับภาคและจังหวัด, เครือข่ายอุดมศึกษาภาค, ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะหัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาค, ผู้แทนคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาค, ผู้แทนสภาหอการค้า และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกว่า 300 คน
น.ส.นิติยา หลานไทย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สนย.สป.) กล่าวถึง การประชุมปฏิบัติการในครั้งนี้ว่า เป็นการดำเนินการต่อจากการจัดทำข้อเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 (Pre-Ceiling) ของแผนงานพัฒนาพื้นที่ระดับภาค ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (อ.ก.บ.ภ.) ทั้ง 6 ภาคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เพื่อให้คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค ทั้ง 6 ภาค มีกรอบและแนวทางการจัดทำแผนบูรณาการ ที่มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและแนวทางดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้มีการประชุมปฏิบัติการในครั้งนี้ขึ้น ระหว่างวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อชี้แจงกรอบและแนวทางการจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาคของ ศธ. ตลอดจนสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และร่วมกันกำหนดกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาระดับภาคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
รองศึกษาธิการภาค รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการภาค ได้นำเสนอแผนพัฒนาด้านการศึกษาระดับภาค เป็นรายภาค ดังนี้
ภาคเหนือ มีประเด็นการศึกษาดังนี้
-
เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการต่อเนื่องให้มีคุณภาพ สามารถสร้างมูลราคาเพิ่มอย่างยั่งยืน และกระจายประโยชน์อย่างทั่วถึง
-
เพื่อยกระดับฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย เชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปที่สร้างมูลค่าเพิ่ม
-
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน และยกระดับทักษะฝีมือแรงงานภาคบริการ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประเด็นการศึกษา ดังนี้
-
เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อย ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
-
เพื่อการสร้างความเข้มแข็งของฐานเศรษฐกิจภายใน ควบคู่กับการแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีประเด็นการศึกษา ดังนี้
-
เพื่อการพัฒนากรุงเทพเป็นมหานครที่ทันสมัยระดับโลก ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิต และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง
-
เพื่อการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ และสร้างความเชื่อมโยง เพื่อกระจายการท่องเที่ยวทั่วทั้งภาค
-
เพื่อการยกระดับการผลิตสินค้าและอุตสาหกรรม โดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
ภาคตะวันออก มีประเด็นการศึกษา ดังนี้
-
เพื่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ดี และทันสมัยที่สุดในภูมิภาคอาเซียน
-
พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี เพื่อผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการอุตสาหกรรมเป้าหมาย และก่อให้เกิดการวิจัยสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาเทคโนโลยี ในการต่อยอดและขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่อย่างยั่งยืน เช่น EEC of Digital Park และ EEC of innovation
-
เพื่อการร่วมแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่มีความวิกฤตและจัดระบบการบริหารจัดการมลพิษให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
-
เพื่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนให้เป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อการปรับปรุงมาตรฐานสินค้า และธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว
-
เป็นเลิศด้านการศึกษาสู่การพัฒนาในระดับอาเซียน
ภาคใต้ มีประเด็นการศึกษา ดังนี้
-
เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของภาคให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพชั้นนำของโลก เช่น พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวให้มีความหลากหลาย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการท่องเที่ยวที่สำคัญของภาค
-
เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพาราและปาล์มน้ำมันแห่งใหม่ของประเทศ เช่น เพื่อการส่งเสริมรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เข้มแข็งและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่
-
เพื่อการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและนวัตกรรมการผลิตด้านการเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อการพัฒนา การผลิตสินค้าเกษตรหลักของภาค เช่น การส่งเสริมเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตและการบริหารจัดการฟาร์มอย่างเป็นธรรม
ภาคใต้ชายแดน มีประเด็นการศึกษา ดังนี้
-
เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
-
เพื่อการพัฒนาและสนับสนุนทักษะฝีมือแรงงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งในพื้นที่และต่างประเทศ และรองรับการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เมืองการค้าและเมืองท่องเที่ยวชายแดน
-
เพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา สนับสนุนการศึกษาเพื่อประกอบอาชีพ สร้างโอกาสในการเรียนระดับอาชีวศึกษาที่มีการพัฒนาทักษะการทำงานพร้อมการประกอบอาชีพ และสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพทุกระดับ
-
เพื่อสร้างความเข้มแข็งสังคมพหุวัฒนธรรม สร้างความเข้าใจและยอมรับในการอยู่ร่วมกันของสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสันติสุข และรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรม
-
เพื่อการพัฒนาเมืองสุไหงโก-ลก และเมืองเบตง ให้เป็นเมืองการค้าและการท่องเที่ยวชายแดน
-
เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับภาคการผลิต
-
เพื่อให้ปี 2561 เป็นปีแห่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการศึกษาที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับบริบทของพื้นที่ในสังคมพหุวัฒนธรรม ที่มีอัตลักษณ์ ศาสนาและวัฒนธรรมเฉพาะของพื้นที่
-
การศึกษาเพื่อมีอาชีพและการมีงานทำ
-
สนับสนุนการเสริมสร้างความมั่นคงในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวสรุปเพิ่มเติมภายหลังรับฟังการนำเสนอว่า ข้อมูลจากการประชุมในวันนี้ ทำให้มองเห็นความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนของแต่ละภาคได้ชัดเจนมากขึ้น ประเด็นสำคัญที่จะเพิ่มเติม คือ "เรื่องของคำของบประมาณ" ที่จะต้องระบุหน่วยเบิกจ่ายที่ชัดเจน ด้านวัตถุประสงค์ของโครงการและกิจกรรมที่จะดำเนินการจะต้องมีความสอดคล้องกับอำนาจ หน้าที่ และภารกิจตามกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานเป็นสำคัญ ในการระบุหน่วยงานระดับพื้นที่ควรจะต้องสอดคล้องกับพื้นที่ดำเนินการโครงการ
ดังนั้น การกำหนดแผนจะต้องเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับภาค กรอบความคิดต้องตอบโจทย์จะได้เห็นภาพทั้งระบบ กรอบแนวคิดของแต่ละภาคที่ได้นำเสนอมา อาจจะต้องมีการปรับให้รายละเอียดมีความชัดเจนมากขึ้น
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังที่ได้รับฟังในครั้งนี้ว่า ยินดีที่ได้มาพบปะกันอีกครั้ง ถือว่าได้ทำงานร่วมกันมาอย่างเข้มแข็ง จนเกิดผลในทางปฏิบัติที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ ชื่นชมกับการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และดีใจที่ได้เห็นถึงความก้าวหน้าไปทีละส่วน โดยเฉพาะการดำเนินงานของ คณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (อ.ก.บ.ภ.) ซึ่งจะต้องเตรียมการกันต่อไป
สิ่งที่เราได้ร่วมดำเนินการกันมาในวันนี้ ล้วนเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้แนวทางที่สำคัญไว้ว่า ประเทศไทยเป็นพื้นที่พิเศษทั้งหมด ศธ.จึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการศึกษาเป็นพิเศษ คือ 76+1 จังหวัด ให้เป็นพื้นที่พิเศษทั้งหมด โดยประชาชนเป็นศูนย์กลาง และให้การศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ
ที่ผ่านมา ศธ.ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบวางแผนขับเคลื่อนการจัดการศึกษาในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ ให้เกิดผลในทางปฏิบัติของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะพื้นที่พิเศษ ซึ่งหมายถึงพื้นที่จังหวัดชายแดน 27 จังหวัด, พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้, พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนรอบประเทศ 10 พื้นที่, การพัฒนา 3 เมืองต้นแบบ "สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่พิเศษภาคตะวันออก (EEC) ใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก ซึ่งต่อมาได้ดำเนินการให้ทุกพื้นที่เป็นพื้นที่พิเศษที่มีมิติที่แตกต่างกัน
ดังนั้น การดำเนินการในทุกพื้นที่ จะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ เพื่อการพัฒนาพื้นที่ระดับภาค ประจำปีงบประมาณ 2562 ของสำนักงบประมาณ ซึ่งมีกรอบแนวคิดการดำเนินการต่อไปในภาพรวมของทุกภาคในเบื้องต้น ดังนี้
-
ให้ความสำคัญในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การผลิตและพัฒนาคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ การบริหารจัดการโครงการสำคัญ
-
น้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 รวมทั้งศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาช่วยวิเคราะห์เพื่อกำหนดโครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนบูรณาการศึกษาในทุกภาค ภายใต้สูตรการสร้างความสำเร็จ คือ ความเพียร + ความร่วมมือ + ประชารัฐ
-
มีกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ครบถ้วนในทุกมิติ เพื่อให้การจัดการศึกษาในทุกระดับสามารถ
บูรณาการร่วมกัน ตอบสนองเป้าหมายของการพัฒนาพื้นที่
-
ร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับภาค และวางแผนการจัดการศึกษาตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ สอดคล้องกับการทำงานของภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ในรูปแบบโครงการสานพลังประชารัฐ และตลาดงานทั้งหมด เพื่อให้ได้กำลังคนที่ตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่ภูมิภาคและประเทศให้มากที่สุด
-
นำศักยภาพของแต่ละพื้นที่มาวิเคราะห์กำหนดเป็นจุดแข็งและโอกาส ในการจัดทำแผนบูรณาการการศึกษาและแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
-
เพิ่มการสร้างการรับรู้ความเข้าใจ ในสาระสำคัญและโครงการต่าง ๆ ให้แก่ทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนแผนบูรณาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานการขับเคลื่อนแผนบูรณาการ
ด้านการศึกษาระดับภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ 6 ด้าน คือ 1) จัดระเบียบกลไกภาค 2) จัดทำแผนระดับภาค 3) จัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาครอบคลุมทั้ง 6 ภาค เพื่อจัดทำฐานข้อมูลโครงข่ายใหญ่เพื่อเข้าสู่ระบบ Big Data 4) เตรียมจัดตั้งศูนย์พัฒนาบุคลากรระดับภาค 5) เตรียมการประเมินคุณภาพการศึกษา 6) ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน
"การทำงานบางครั้งก็จะต้องเจอกับปัญหา แต่การเจอปัญหาไม่ใช่จะก้าวผ่านไปโดยไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้น แต่เพื่อที่จะไปมองหาโอกาส ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นก็ค่อยแก้ไขกันไป ซึ่งการดำเนินงานอะไรก็ตามจะต้องมีการประเมิน แต่ไม่ใช่ประเมินเพื่อให้เกิดการแข่งขัน ไม่ได้มีเจตนาอย่างนั้น แต่ต้องการประเมินเพื่อทบทวนว่าสิ่งไหนที่ดีก็ให้ดำเนินการต่อไป สิ่งไหนที่เป็นปัญหาและเป็นจุดเล็ก ๆ ก็ขอให้ช่วยกันปรับไป รักษาสิ่งที่ดีไว้และพัฒนาต่อให้ดีขึ้นไปอีก
ขอขอบคุณทุกคนที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนให้การดำเนินงานครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม หวังว่าการประชุมครั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมให้คณะกรรมการระดับภาค มีศักยภาพและบทบาทที่ส่งผลไปสู่การขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนพัฒนาภาคยุทธศาสตร์ที่ได้ดำเนินการมา
ที่สำคัญ ขอให้คณะกรรมการทุกคณะ สร้างการรับรู้ในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานมีความสอดคล้องให้ตรงกับความต้องการในพื้นที่อย่างแท้จริงต่อไป"
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวที่ 35/2561ศธ.จัด ประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาระดับภาค 6 ภาคทั่วประเทศ
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รับฟังผลการประชุม มอบนโยบาย และเป็นประธานปิดการประชุมปฏิบัติการ จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาระดับภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้ง 6 ภาคทั่วประเทศ เมื่อวันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ โดยมีนายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ, ผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ, ศึกษาธิการภาค, ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้บริหารส่วนราชการระดับภาคและจังหวัด, เครือข่ายอุดมศึกษาภาค, ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะหัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาค, ผู้แทนคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาค, ผู้แทนสภาหอการค้า และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกว่า 300 คน น.ส.นิติยา หลานไทย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สนย.สป.) กล่าวถึง การประชุมปฏิบัติการในครั้งนี้ว่า เป็นการดำเนินการต่อจากการจัดทำข้อเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 (Pre-Ceiling) ของแผนงานพัฒนาพื้นที่ระดับภาค ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (อ.ก.บ.ภ.) ทั้ง 6 ภาคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค ทั้ง 6 ภาค มีกรอบและแนวทางการจัดทำแผนบูรณาการ ที่มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและแนวทางดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้มีการประชุมปฏิบัติการในครั้งนี้ขึ้น ระหว่างวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อชี้แจงกรอบและแนวทางการจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาคของ ศธ. ตลอดจนสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และร่วมกันกำหนดกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาระดับภาคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รองศึกษาธิการภาค รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการภาค ได้นำเสนอแผนพัฒนาด้านการศึกษาระดับภาค เป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ มีประเด็นการศึกษาดังนี้
เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการต่อเนื่องให้มีคุณภาพ สามารถสร้างมูลราคาเพิ่มอย่างยั่งยืน และกระจายประโยชน์อย่างทั่วถึง เพื่อยกระดับฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย เชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปที่สร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน และยกระดับทักษะฝีมือแรงงานภาคบริการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประเด็นการศึกษา ดังนี้
เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อย ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพื่อการสร้างความเข้มแข็งของฐานเศรษฐกิจภายใน ควบคู่กับการแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีประเด็นการศึกษา ดังนี้
เพื่อการพัฒนากรุงเทพเป็นมหานครที่ทันสมัยระดับโลก ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิต และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง เพื่อการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ และสร้างความเชื่อมโยง เพื่อกระจายการท่องเที่ยวทั่วทั้งภาค เพื่อการยกระดับการผลิตสินค้าและอุตสาหกรรม โดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออก มีประเด็นการศึกษา ดังนี้
เพื่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ดี และทันสมัยที่สุดในภูมิภาคอาเซียน พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี เพื่อผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการอุตสาหกรรมเป้าหมาย และก่อให้เกิดการวิจัยสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาเทคโนโลยี ในการต่อยอดและขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่อย่างยั่งยืน เช่น EEC of Digital Park และ EEC of innovation เพื่อการร่วมแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่มีความวิกฤตและจัดระบบการบริหารจัดการมลพิษให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนให้เป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อการปรับปรุงมาตรฐานสินค้า และธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว เป็นเลิศด้านการศึกษาสู่การพัฒนาในระดับอาเซียน ภาคใต้ มีประเด็นการศึกษา ดังนี้
เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของภาคให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพชั้นนำของโลก เช่น พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวให้มีความหลากหลาย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการท่องเที่ยวที่สำคัญของภาค เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพาราและปาล์มน้ำมันแห่งใหม่ของประเทศ เช่น เพื่อการส่งเสริมรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เข้มแข็งและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ เพื่อการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและนวัตกรรมการผลิตด้านการเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อการพัฒนา การผลิตสินค้าเกษตรหลักของภาค เช่น การส่งเสริมเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตและการบริหารจัดการฟาร์มอย่างเป็นธรรม ภาคใต้ชายแดน มีประเด็นการศึกษา ดังนี้
เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อการพัฒนาและสนับสนุนทักษะฝีมือแรงงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งในพื้นที่และต่างประเทศ และรองรับการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เมืองการค้าและเมืองท่องเที่ยวชายแดน เพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา สนับสนุนการศึกษาเพื่อประกอบอาชีพ สร้างโอกาสในการเรียนระดับอาชีวศึกษาที่มีการพัฒนาทักษะการทำงานพร้อมการประกอบอาชีพ และสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพทุกระดับ เพื่อสร้างความเข้มแข็งสังคมพหุวัฒนธรรม สร้างความเข้าใจและยอมรับในการอยู่ร่วมกันของสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสันติสุข และรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาเมืองสุไหงโก-ลก และเมืองเบตง ให้เป็นเมืองการค้าและการท่องเที่ยวชายแดน เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับภาคการผลิต เพื่อให้ปี 2561 เป็นปีแห่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการศึกษาที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับบริบทของพื้นที่ในสังคมพหุวัฒนธรรม ที่มีอัตลักษณ์ ศาสนาและวัฒนธรรมเฉพาะของพื้นที่ การศึกษาเพื่อมีอาชีพและการมีงานทำ สนับสนุนการเสริมสร้างความมั่นคงในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวสรุปเพิ่มเติมภายหลังรับฟังการนำเสนอว่า ข้อมูลจากการประชุมในวันนี้ ทำให้มองเห็นความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนของแต่ละภาคได้ชัดเจนมากขึ้น ประเด็นสำคัญที่จะเพิ่มเติม คือ "เรื่องของคำของบประมาณ" ที่จะต้องระบุหน่วยเบิกจ่ายที่ชัดเจน ด้านวัตถุประสงค์ของโครงการและกิจกรรมที่จะดำเนินการจะต้องมีความสอดคล้องกับอำนาจ หน้าที่ และภารกิจตามกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานเป็นสำคัญ ในการระบุหน่วยงานระดับพื้นที่ควรจะต้องสอดคล้องกับพื้นที่ดำเนินการโครงการ ดังนั้น การกำหนดแผนจะต้องเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับภาค กรอบความคิดต้องตอบโจทย์จะได้เห็นภาพทั้งระบบ กรอบแนวคิดของแต่ละภาคที่ได้นำเสนอมา อาจจะต้องมีการปรับให้รายละเอียดมีความชัดเจนมากขึ้น พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังที่ได้รับฟังในครั้งนี้ว่า ยินดีที่ได้มาพบปะกันอีกครั้ง ถือว่าได้ทำงานร่วมกันมาอย่างเข้มแข็ง จนเกิดผลในทางปฏิบัติที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ ชื่นชมกับการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และดีใจที่ได้เห็นถึงความก้าวหน้าไปทีละส่วน โดยเฉพาะการดำเนินงานของ คณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (อ.ก.บ.ภ.) ซึ่งจะต้องเตรียมการกันต่อไป สิ่งที่เราได้ร่วมดำเนินการกันมาในวันนี้ ล้วนเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้แนวทางที่สำคัญไว้ว่า ประเทศไทยเป็นพื้นที่พิเศษทั้งหมด ศธ.จึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการศึกษาเป็นพิเศษ คือ 76+1 จังหวัด ให้เป็นพื้นที่พิเศษทั้งหมด โดยประชาชนเป็นศูนย์กลาง และให้การศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ ที่ผ่านมา ศธ.ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบวางแผนขับเคลื่อนการจัดการศึกษาในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ ให้เกิดผลในทางปฏิบัติของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะพื้นที่พิเศษ ซึ่งหมายถึงพื้นที่จังหวัดชายแดน 27 จังหวัด, พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้, พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนรอบประเทศ 10 พื้นที่, การพัฒนา 3 เมืองต้นแบบ "สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่พิเศษภาคตะวันออก (EEC) ใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก ซึ่งต่อมาได้ดำเนินการให้ทุกพื้นที่เป็นพื้นที่พิเศษที่มีมิติที่แตกต่างกัน ดังนั้นการดำเนินการในทุกพื้นที่ จะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ เพื่อการพัฒนาพื้นที่ระดับภาค ประจำปีงบประมาณ 2562 ของสำนักงบประมาณ ซึ่งมีกรอบแนวคิดการดำเนินการต่อไปในภาพรวมของทุกภาคในเบื้องต้น ดังนี้
ให้ความสำคัญในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การผลิตและพัฒนาคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ การบริหารจัดการโครงการสำคัญ น้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 รวมทั้งศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาช่วยวิเคราะห์เพื่อกำหนดโครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนบูรณาการศึกษาในทุกภาค ภายใต้สูตรการสร้างความสำเร็จ คือ ความเพียร + ความร่วมมือ + ประชารัฐ มีกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ครบถ้วนในทุกมิติ เพื่อให้การจัดการศึกษาในทุกระดับสามารถ
บูรณาการร่วมกัน ตอบสนองเป้าหมายของการพัฒนาพื้นที่ร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับภาค และวางแผนการจัดการศึกษาตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ สอดคล้องกับการทำงานของภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ในรูปแบบโครงการสานพลังประชารัฐ และตลาดงานทั้งหมด เพื่อให้ได้กำลังคนที่ตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่ภูมิภาคและประเทศให้มากที่สุด นำศักยภาพของแต่ละพื้นที่มาวิเคราะห์กำหนดเป็นจุดแข็งและโอกาส ในการจัดทำแผนบูรณาการการศึกษาและแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มการสร้างการรับรู้ความเข้าใจ ในสาระสำคัญและโครงการต่าง ๆ ให้แก่ทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนแผนบูรณาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานการขับเคลื่อนแผนบูรณาการ
ด้านการศึกษาระดับภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ 6 ด้าน คือ 1) จัดระเบียบกลไกภาค 2) จัดทำแผนระดับภาค 3) จัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาครอบคลุมทั้ง 6 ภาค เพื่อจัดทำฐานข้อมูลโครงข่ายใหญ่เพื่อเข้าสู่ระบบ Big Data 4) เตรียมจัดตั้งศูนย์พัฒนาบุคลากรระดับภาค 5) เตรียมการประเมินคุณภาพการศึกษา 6) ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน"การทำงานบางครั้งก็จะต้องเจอกับปัญหา แต่การเจอปัญหาไม่ใช่จะก้าวผ่านไปโดยไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้น แต่เพื่อที่จะไปมองหาโอกาส ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นก็ค่อยแก้ไขกันไป ซึ่งการดำเนินงานอะไรก็ตามจะต้องมีการประเมิน แต่ไม่ใช่ประเมินเพื่อให้เกิดการแข่งขัน ไม่ได้มีเจตนาอย่างนั้น แต่ต้องการประเมินเพื่อทบทวนว่าสิ่งไหนที่ดีก็ให้ดำเนินการต่อไป สิ่งไหนที่เป็นปัญหาและเป็นจุดเล็ก ๆ ก็ขอให้ช่วยกันปรับไป รักษาสิ่งที่ดีไว้และพัฒนาต่อให้ดีขึ้นไปอีกขอขอบคุณทุกคนที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนให้การดำเนินงานครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม หวังว่าการประชุมครั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมให้คณะกรรมการระดับภาค มีศักยภาพและบทบาทที่ส่งผลไปสู่การขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนพัฒนาภาคยุทธศาสตร์ที่ได้ดำเนินการมา ที่สำคัญ ขอให้คณะกรรมการทุกคณะ สร้างการรับรู้ในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานมีความสอดคล้องให้ตรงกับความต้องการในพื้นที่อย่างแท้จริงต่อไป"
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
www.tuewsob.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น