หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร





 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

title

ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
เนื่องในวันมาฆบูชา ซึ่งปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 1 รัฐบาลขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่าน หอบลูก จูงหลาน พาคนในครอบครัว ร่วมใจกันปฏิบัติกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ณ วัด หรือ ศาสนสถานในชุมชน ใกล้บ้าน ด้วยการทำบุญ ตักบาตร เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล เจริญจิตภาวนา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา น้อมนำจิตใจให้ระลึกถึงคำสอน “โอวาทปาฏิโมกข์” ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานไว้ให้ชาวพุทธ อันเป็น “หัวใจพระพุทธศาสนา” คือ “การทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจบริสุทธิ์”  เพื่อเสริมสร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ตนเอง เป็นสิริมงคลแก่ครอบครัว อีกทั้งจะนำพาความสงบสุข  ความรุ่งเรือง มาสู่สังคมและประเทศชาติ โดยรวมในที่สุด รวมทั้งเป็นการสืบสานพระพุทธศาสนาให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ตลอดไป ทั้งนี้ ไม่ว่าศาสนาใดก็ตาม ที่ศาสนิกชนทุกท่านนับถือ ล้วนสอนให้เราทุกคนเป็นคนดี และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เพียงแต่เราทุกคนต้องเข้าใจคำสั่งสอนของ “องค์ศาสดา” ที่เป็นแก่นสาร ที่แท้จริง แล้วนำไปสู่การประพฤติ ปฏิบัติตน ให้ถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรม ทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน และ การประกอบสัมมาอาชีวะด้วย 

การอบรมสั่งสอนลูกหลาน ตาม “ศาสตร์พระราชา” ที่ว่า “บวร คือ บ้าน - วัด - โรงเรียน” นั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษา ที่เป็น “ไทยนิยม”  ครอบครัวไม่ควรทิ้งภาระให้โรงเรียน และ ไม่ห่างไกลศาสนา อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคน เด็กทุกคน ก็เปรียบเสมือน “ผ้าขาว” หากพ่อแม่ พี่น้อง ครูบาอาจารย์ เพื่อนฝูง รวมทั้งคนในสังคม ช่วยกันรังสรรค์ แต่งเติม สีสัน ให้งดงาม เยาวชนของเรา ก็จะไม่เป็นเพียงผ้าขาว แต่จะเป็น "ผลงานศิลปะ" ที่ทรงคุณค่า แต่หากผู้ใหญ่ อาจารย์ หรือคนในสังคม ใส่ “ชุดความรู้” ที่ผิดเพี้ยน บิดเบี้ยว บิดเบือน อาจด้วยไม่รู้จริง หรือนำเฉพาะหลักวิชาการมาพูด หรืออาจจะมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ หวังผลร้าย ไม่เพียงแต่จะเป็นการทำร้ายเยาวชนของชาติในอนาคต แต่จะเป็นการทำลายสังคมของเราในปัจจุบันอีกด้วย  

การนำหลักวิชาการ  หลักสากล มาปลูกฝังเป็น "หลักคิด" ให้กับลูกหลานเราก็จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจ สามารถแนะนำให้ประยุกต์ใช้ อย่างเหมาะสมกับสังคมของเรา ตามหลัก “ไทยนิยม” การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ก็มีความแตกต่างกัน ในวิธีการปฏิบัติ แต่ “แก่นสาร” ก็ยังคงเหมือน ๆ กัน  ซึ่งเป็นที่น่าตกใจ จากผลสำรวจของสำนักวิจัยซูเปอร์โพล เรื่อง “ประชาธิปไตยที่ประชาชนต้องการ” จากกลุ่มตัวอย่าง ประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น ราว 1 พันตัวอย่าง ด้วยคำถามปลายเปิด สะท้อนว่า ประชาชน 36% หรือมากกว่า 1 ใน 3 ที่เป็น “ส่วนใหญ่” ไม่รู้ ไม่ทราบ แล้วก็ไม่ตอบในเรื่องของประชาธิปไตยนี้  “ส่วนที่เหลือ” ก็มีคำตอบที่แตกต่างกันตามประสบการณ์ โดยระบุว่า... ประชาธิปไตย คือ ความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ อิสระในการคิดการพูด ฟังเสียงคนข้างมาก รักสามัคคีกัน การมีส่วนร่วม บางคนนึกถึงการเลือกตั้ง บางคนบอกว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ เมื่อถามถึงความชอบต่อประชาธิปไตยแบบที่เป็นอยู่ตอนนี้ หรือต้องการให้เป็นแบบใด พบว่า 41% ชอบประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ตอนนี้ ขณะที่ 59% ต้องการประชาธิปไตยแบบสงบสุข แบบพอเพียง ไม่มีคอร์รัปชั่น และบางส่วนระบุแบบไหนไม่รู้ แต่ขอให้ดีขึ้นกว่านี้ ที่จำเป็นต้องยกขึ้นมาพูด ซึ่งเป็นผลโพลจากภายนอก ไม่ใช่ของรัฐบาล ของ คสช. เพราะอยากจะให้ทุกคนลองพิจารณาดูว่า สังคมของเรานั้นไดเให้ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องประชาธิปไตยกันมากพอหรือยัง ใครบ้างที่ต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่เพียงโรงเรียน หรือรัฐบาล แต่ประชาธิปไตยต้องเริ่มตั้งแต่ที่บ้าน ต้องอยู่ในสายเลือด ในจิตสำนึก ที่ผ่านมาพรรคการเมือง ก็ถือว่าเป็นสถาบันหลัก ที่มีหน้าที่ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในเรื่องประชาธิปไตยด้วย และพรรคการเมืองก็ต้องไม่ถูกแทรกแซง ควบคุม ครอบงำ ชี้นำจากบุคคลอื่นใดนะครับ ที่ไม่ใช่สมาชิกพรรค ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม จนขาดความอิสระ ซึ่งก็ระบุชัดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 ซึ่งไม่ใช่เพียง “ประชาธิปไตยไทยนิยม” แต่เป็นหลักสากล พื้นฐาน

ที่กล่าวมานั้น ผมสนับสนุนให้สอนเยาวชนด้วยหลักวิชาการ ควรจะยกกรณีความสำเร็จ  ความล้มเหลวของต่างประเทศ มาเปรียบเทียบ แต่ก็ไม่ได้ให้ “เดินซ้ำรอยความผิดพลาด” ให้เด็กได้คิด ให้มีพื้นฐานหลักคิดที่ถูกต้อง ว่าประเทศชาติจะสงบสันติได้อย่างไร ด้วยวิธีการอย่างไร ไม่ใช่ให้เอาเยี่ยงอย่าง การล้มล้างสถาบัน การเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยที่ประชาชนยังไม่พร้อม จนต้องบาดเจ็บ ล้มตาย ตามที่หลายประเทศล้มเหลวมาก่อน เราก็ได้รู้ เราได้เห็นแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ประวัติศาสตร์เหล่านั้นซ้ำรอยอีก หรือเจ็บแล้วลืม จนต้องล้มแล้วล้มอีก  ลองสอนเด็กง่าย ๆ แบบไทย ๆ แบบนี้ได้หรือไม่ หรือปูพื้นฐานให้เขาก่อน ก่อนที่จะเอาตัวอย่างจากที่อื่น ๆ  มาสอนต่อ ไม่อย่างนั้นก็ไปสอนให้คิดนอกกรอบกันไปหมด กรอบที่ว่าคือ กรอบคำว่า สงบ สันติ ให้ได้เสียก่อน เช่น การเลือกตั้ง ถ้าเราเปรียบเทียบก็ไม่ต่างอะไรกับการเลือก “กล้วย” กล้วยที่เปลือกยังเขียวอยู่ ก็ยังไม่สุก ไม่พร้อมจะรับประทาน คุณสมบัติก็ไม่ครบนะครับ กล้วยเปลือกสีเหลือง คือ สุกงอม กินได้ เหมาะสม แต่ถ้ากล้วยเปลือกดำแล้ว คือ ไม่ดี ไม่ควรเลือกกิน แต่ถ้าเราไปสอนโดยยกตัวอย่าง เป็นผลไม้อื่น เช่น แอปเปิ้ล ซึ่งไม่เป็นผลไม้ประจำถิ่นของเรา บางคนเกิดมาก็ยังไม่เคยเห็นต้นแอปเปิ้ลเลย อาจจะเคยทาน แต่ไม่เคยเห็นต้น เด็กไทยคงไม่อาจแยกแยะด้วยสีของเปลือกได้ว่า แอปเปิ้ลผลไหน ดี สุก กินได้ ไม่ง่ายเหมือนกล้วย “แก่นสาร” ของเรื่องนี้คือ ทำอย่างไร ให้คนไทยสามารถแยกแยะว่า ถ้ามีการเลือกตั้งแล้วควรเลือกใคร และเลือกจากอะไร... ไม่ใช่ใช้ความรัก ความชอบ ความคุ้นเคย ใช้อารมณ์ แต่ไม่พิจารณาด้วยเหตุด้วยผล เช่น ดูที่นโยบายพรรค ดูที่ประวัติการทำงาน เหล่านี้ เป็นต้น

ทั้งนี้ การเข้าคูหาเลือกตั้งนั้น ต้องคำนึงถึงการเลือกนักการเมืองที่มีคุณภาพ ไม่มีประวัติเสื่อมเสีย หรือทุจริตมาก่อน เลือกพรรคการเมืองที่น่าเชื่อถือ ดูจากนโยบาย จากการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่มีวาระซ่อนเร้นแอบแฝง หรือ ถูกครอบงำ ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว นอกจากนี้ ผมอยากให้พี่น้องประชาชน มีความรู้ หลักคิด มีหลักการเลือก ส.ส. ที่มีคุณภาพ หลีกเลี่ยงผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือพรรคที่มีนโยบายในลักษณะสัญญาว่าจะให้ เพื่อดึงดูดใจ  ในสิ่งที่ผิด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นนโยบายที่มีผลต่อการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินที่สิ้นเปลืองมากเกินไป ขาดวินัยการเงินการคลัง หรือ ขัดแย้งพันธกรณีต่างประเทศ เป็นต้น 

สำหรับเส้นทางสู่การเลือกตั้งของเรานั้น บางคนยังเข้าใจผิดว่า การไม่ไปเลือกตั้ง จะทำให้รัฐบาลหรือ คสช. อยู่ต่อไปได้ ความจริงแล้วคือ หากท่านไม่ไปเลือกตั้งแล้ว ผู้สมัครคนใดได้คะแนนมาก ก็ได้เป็น ส.ส. และ พรรคที่มี ส.ส. มากที่สุดก็จะโอกาสได้ตั้งรัฐบาล ปัจจุบันเราอยู่ระหว่างการออกกฎหมายลูก 4 ฉบับ ที่จำเป็นต่อการเลือกตั้ง ได้แก่
(1) กฎหมายลูกว่าด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
(2) กฎหมายลูกว่าด้วย พรรคการเมือง 
(3) กฎหมายลูกว่าด้วย การเลือกตั้ง ส.ส.  
และ (4) กฎหมายลูกว่าด้วย การได้มาซึ่ง ส.ว.
ใน 2 ฉบับท้าย กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย สนช. กรธ. และ กกต. เพื่อจะพิจารณาในทุกประเด็น ที่ยังเห็นไม่ตรงกัน เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ส่วนร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ภาย หลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วในอีก 90 วัน หลังจากประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา การเลือกตั้ง ก็อาจจะเกิดขึ้นในเดือนใดก็ได้ ภายใน 150 วัน หลังจากนั้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของทุกฝ่าย ทั้งพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และ กกต. ในระหว่างนั้น ครม. จะแจ้ง คสช. ให้เชิญ กกต. กรธ. รวมถึงทุกพรรคการเมืองมาพูดคุยหารือว่า การเลือกตั้งนั้นควรจะเกิดขึ้นเมื่อใด วัน เวลา ที่ทุกฝ่ายพร้อม ทุกฝ่ายเห็นพ้องกัน แล้วก็ถือเป็น “วาระสำคัญของชาติ” อาจจะต้องเป็นสัญญาร่วมกันว่า ทำอย่างไรเราจะเดินหน้าประเทศไป ให้เป็นไปตาม Roadmap ของประเทศ ให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ รัฐบาลและ คสช. ไม่เคยมีความคิด และไม่ไปก้าวล่วงอำนาจใด ๆ ที่จะทำให้เกิดการคว่ำร่างกฎหมายต่างๆ  ที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะรัฐบาลไม่อยากให้กำหนดเวลาคลาดเคลื่อน ตามที่มีใครหลายคนพยายามบิดเบือน ให้ข้อมูลผิด ๆ ต่อสังคม เว้นอย่างเดียว คือการเกิดความวุ่นวายประชาชนขัดแย้ง ใช้กำลัง ใช้อาวุธ ใช้ความรุนแรง การหาเสียงมีปัญหา ประชาชนขัดแย้งกันอีกนะครับ เกิดความไม่สงบ เหมือนช่วงก่อนปี 57 อันนั้นก็เป็นอีกเรื่อง ทุกคนต้องช่วยกัน อย่าให้เกิดขึ้น ดังนั้น ประชาชน นักการเมือง และทุก ๆ ฝ่ายก็ต้องช่วยกัน รักษาบรรยากาศ ความมีเสถียรภาพของประเทศ ต้องไม่ขัดแย้ง ไม่แบ่งฝ่ายกันอีกต่อไป แล้วก็ต้องสัญญากันว่า หลังการเลือกตั้ง เราจะได้มีฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้านที่จะต้องร่วมมือกัน ทำในสิ่งที่ประเทศชาติและประชาชนทั้งประเทศต้องการ ไม่ว่าจะเป็นประชาชน ที่เป็นฐานเสียงของฝ่ายใดก็ตาม รวมทั้ง ร่มกัน หรือช่วยกันในการปฏิรูปประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป
 
พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ 
เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสลงพื้นที่ ไปพบปะพี่น้องประชาชนในจังหวัดนครปฐม และได้เยี่ยมเยียนโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ ยินดีที่เห็นหลายต่อหลายโครงการประสบความสำเร็จ สามารถประยุกต์ใช้ โดยการนำหลักคิดทฤษฎีเกษตรต่างๆ ภายใต้ “ศาสตร์พระราชา” มาผสมผสานในการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความยั่งยืน ให้กับอาชีพและรายได้ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมด้วย ต้องดูแลให้ความสำคัญด้วย แห่งแรกคือ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่เรียกว่า ศพก.  ณ ตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี ที่เป็นจุดเรียนรู้ด้านการเกษตร และเรียนรู้ของเกษตรกร รวมถึงประชาชนที่สนใจ ที่จะเรียนรู้จากเกษตรกรต้นแบบ ในการทำอาชีพการเกษตร และประสบความสำเร็จ ได้มีการน้อมนำแนวทางของ “ศาสตร์พระราชา” ทั้งในเรื่องกระบวนการจัด การศัตรูพืช ชุมชน การบริหารจัดการน้ำ การปศุสัตว์ พืชผักในโรงเรือน การแปรรูปข้าว นาข้าวอินทรีย์ และการทำปุ๋ยหมัก มาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตที่ได้ก็จะเพิ่มขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น ส่วนต่างของราคาก็จะมากขึ้น ควบคู่ไปกับการน้อมนำ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาประยุกต์ใช้ด้วย เพื่อจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ นำไปสู่กระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักคิด “เกษตรกรพัฒนาเกษตรกรด้วยกันเอง ก็จะเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน” 

นอกจากนี้ ยังได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมแปลงนาบัว ลุงแจ่ม สวัสดิ์โต ที่บ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล ก็เป็นหนึ่งในที่ดินพระราชทาน ตามแนวพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9  ตั้งแต่ปี 2518 เพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรไม่มีที่ทำกิน ซึ่งนับเป็นต้นแบบของการปฏิรูปที่ดินของประเทศไทย เนื่องจากราคาข้าวมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้ลุงแจ่ม เปลี่ยนมาทำ “นาบัว” แทน  เป็นพื้นที่ลุ่มด้วย ได้จัดระบบที่ดินเพื่อการเพาะปลูกให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นนาบัว ก็มีการแบ่งแปลง และคำนวณเวลาปลูก เพื่อให้สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดปี พื้นที่ส่วนที่เหลือเป็นที่อยู่อาศัย และคันนาล้อมพื้นที่ เพื่อทำเกษตรแบบผสมผสาน ตามแนวพระราชดำริ โดยมีการปลูกพืชสวนครัว ไม้ดอก ไม้ผล สร้างรายได้เสริมได้ทุกวัน ซึ่งไม่เพียงแต่ลุงแจ่มเท่านั้น พี่น้องบ้านศาลาดิน ก็ได้น้อมนำแนวทางเกษตรแบบผสมผสานไปปรับใช้ อีกทั้ง ยังพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต สร้างผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ บนพื้นฐานความต้องการ และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเช่นในปัจจุบันที่ผมกล่าวถึง มีรายได้เพียงพอ แล้วก็เหลือใช้ เก็บออมได้เป็นจำนวนมาก

ผมขอขอบคุณพี่น้องประชาชน และข้าราชการในพื้นที่ที่มาให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นด้วยความภาคภูมิใจในผลงาน ด้วยความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งข้าราชการ และประชาชน แล้วภาคธุรกิจก็มาร่วมด้วย หลายบริษัทก็เข้าไปดูในเรื่องของการซื้อสินค้าเกษตรจากพี่น้องเกษตรกร ขอขอบคุณ
การที่ผมลงไปนั้น ผมต้องการที่จะเข้าไปรับฟังปัญหาของพื้นที่ด้วยตัวเอง เพื่อช่วยแก้ไขให้ได้อย่างตรงจุด หลายอย่างก็ฟังจากข้าราชการ และผมก็ไปสอบถามประชาชนด้วยว่าใช่หรือไม่ จริงหรือไม่ เป็นการตรวจสอบด้วยตัวผมเอง เราจะได้แก้ไขได้ตรงจุด ซึ่งนับจากวันนี้ เราจะมีคณะทำงานตามโครงการไทยนิยมลงไปยังพื้นที่ต่าง ๆ  ไม่ใช่แค่รับฟังปัญหา แต่ลงไปช่วยหาแนวทางแก้ไขให้เท่าที่ทำได้ก่อน ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถเข้าไปดูแลพี่น้องประชาชนได้รวดเร็วขึ้น 
อันนี้จริง ๆ แล้วคือหลักการในเรื่องของยุทธศาสตร์การพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 คือเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ชุดนี้ก็จะลงไปทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน คือเข้าใจพื้นที่ เข้าใจประชาชน เข้าถึงปัญหาในทุกมิติ แล้วนำไปสู่การพัฒนา อันนี้คือสิ่งที่เราคาดหวังไว้กับชุดทำงานที่ลงไปในพื้นที่ด้วย 
 
พี่น้องประชาชนที่เคารพทุกท่าน ครับ
ในอนาคตการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย เราจะมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศ ประเด็นต่าง ๆ เป็นกรอบภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ “ฉบับปัจจุบัน” ช่วงนี้อยู่ระหว่างการประชาสัมพันธ์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม จากทุกภาคส่วน ก่อนที่คณะกรรมการที่รับผิดชอบ จะนำข้อเสนอแนะต่าง ๆ มาปรับปรุง  แก้ไข  เพิ่มเติม แล้วเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบ และมีผลบังคับใช้ต่อไป  
อย่างไรก็ตาม ก็ยังสามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม ที่อาจจะไม่เป็นไปตามการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ระหว่างการจัดทำยุทธศาสตร์ และแผนปฏิรูป ทั้งนี้ จะต้องเป็นไปตามกลไกที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ คือการรับฟังความคิดเห็นของสาธารณะชน และการพิจารณาของรัฐสภาเป็นสำคัญ ทั้งนี้ จะต้องมีการประเมินทุก ๆ 5 ปี คู่ขนานกับการปรับปรุงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 – 15 ด้วย ทุกปี คณะทำงานติดตามก็จะมีการติดตามประเมินผล แล้วก็ปรับเปลี่ยนจากสถานการณ์ภายใน และภายนอกประเทศ ที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เกิดการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลที่เหมาะสม 

ปัจจุบัน รัฐบาลและ คสช. กำลังขับเคลื่อนด้วยโครงการ “ไทยนิยมยั่งยืน” มีการจัดตั้ง “คณะทำงานบูรณาการ” หน่วยงานทุกภาคส่วน แบ่งออกเป็นระดับรัฐบาล ระดับจังหวัด  อำเภอ ตำบล ออกเยี่ยมเยียนประชาชนเป็นรายครัวเรือน  หรือรายบุคคล เพื่อจะร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาความเดือดร้อน ค้นหาความต้องการของประชาชน หมู่บ้าน ชุมชน เพื่อจะเพิ่มขีดความสามารถ การสร้างมูลค่า หรือการลงทุน เพื่อให้ประชาชนร่วมกันคิดจะทำประโยชน์อย่างไรในพื้นที่ ให้พื้นที่นั้นมีรายได้ ทุกคนที่พอเพียง แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไรให้ได้ตรงจุดและยั่งยืน ก็เหมือนกับเราไปทำให้เกิดการระเบิดจากข้างใน บางพื้นที่อาจจะนึกอะไรไม่ออก เราก็จะมีคำแนะนำลงไปว่าในพื้นที่อื่น ๆ เขาทำอะไรสำเร็จมาแล้วบ้าง เขาอยากจะทำอย่างนั้นอย่างนี้หรือไม่ ทุกคนก็ต้องเปลี่ยนแปลง  
วันนี้งบประมาณ เราก็จะมีทั้งจากบนลงไปล่าง แล้วก็จากล่างขึ้นมาบน การจัดทำงบประมาณ เราต้องรับฟังความต้องการของประชาชนด้วย ไม่ใช่กำหนดจาก ท๊อปดาวน์ ลงไปอย่างเดียว เพราะฉะนั้นในการลงไปพื้นที่ครั้งนี้ก็ต้องกำหนดเองจากในพื้นที่ว่า งบประมาณที่เราตั้งกรอบไว้นั้น จะใช้ได้อย่างไร ให้เกิดผลอย่างรวดเร็ว ในลักษณะที่เป็นกลุ่ม หรือว่าเป็นที่รวมกันได้ ที่จะเกิดมูลค่าขึ้น หลายๆ คน หลายๆ ครอบครัว
หากเป็นงบประมาณที่นอกเหนือไปจากนี้ งบประมาณมาก ในการทำกิจกรรมที่ไม่ตรงกับหลักการ ของโครงการ “ไทยนิยมยั่งยืน” ก็จะต้องเป็นการเสนอโครงการเหล่านี้ขึ้นมาในกรอบการเสนอของงบประมาณประจำปี ให้กรรมการที่สูงกว่าขึ้นมา ได้พิจารณานำเสนอการใช้ในงบปกติ หรืองบบูรณาการ ในการใช้จ่ายงบประมาณในปีต่อไปด้วย เหมือกับไปทำ Big data ด้วย

สำหรับในเรื่องของใช้จ่ายงบประมาณนั้น หลายคนอาจจะมองว่าทำไมยังทุจริตกันอยู่ จริง ๆ แล้วไม่ใช่ของง่ายเลย แต่ก็ไม่ใช่ของยากเกินไป เพราะเรามีระบบตรวจสอบ วันนี้รัฐบาลในฐานะรัฐบาล คสช. ก็มีเรื่องตรวจสอบมากมาย ทุกอย่างกำลังเข้าสู่กระบวนการ บางครั้งพูดก่อนก็ไม่ได้ ขอให้รอผลที่ออกมาแล้วกัน ส่วนใหญ่กฎหมายเราไม่ได้บกพร่อง อาจจะมีไม่ทันสมัยบ้าง อะไรทำนองนี้ ก็ต้องแก้ไขไม่ให้ล้าสมัย แต่ปัญหาอยู่ที่ตัวบุคคล ประชาชนที่เกี่ยวข้อง หรืออาจะเรียกได้ว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด อาจจะมีส่วนร่วมในการทุจริต มีการสมยอม เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ซึ่งก็เป็นคนกลุ่มเล็ก ๆ ในระดับจัดทำโครงการ   นโยบายก็คือนโยบาย กำหนดลงไป ข้างล่างก็จัดทำโครงการขออนุมัติขึ้นมา ข้างบนก็อนุมัติโครงการลงไป ก็ระมัดระวังเต็มที่ ทีนี้เวลาไปทำ  ข้างล่างก็มีการจัดทำสัญญา จัดซื้อจัดจ้าง กำหนดทีโออาร์ อีกมากมาย เพราะฉะนั้นต้องไปดูว่าจะอุดรูรั่วเหล่านี้ตรงไหน  เพราะมีช่องว่างของกฎหมาย อาจจะมีการใช้อิทธิพลกล่าวอ้าง และมีการใช้กลไกบริหาร ข่มขู่ ข้าราชการให้หวาดกลัว ให้ร่วมมือกับเขา อันนี้ต้องระมัดระวัง บางครั้ง บริหารราชการทุจริตเชิงนโยบายที่มีส่วนได้เสีย ในผลประโยชน์โดยมิชอบ อันนี้ก็เกิดขึ้นมาโดยเราเห็นอยู่แล้ว บางครั้ง การตรวจสอบเข้าไม่ถึง บางทีมีข่าวออกมา ถูกแพร่หลายออกไปก็ทำให้ภาพลักษณ์เสียหายไปทั้งหมด ทั้งนี้ ขั้นตอนและการจัดทำงบประมาณถือว่าประชาชนต้องมีส่วนร่วมกำหนดเอง ต้องโปร่งใส เราต้องรักษาสิทธิของเรา อย่ายอมให้ใครโกง ไม่มีรอยรั่ว ไม่ใช่ปล่อยไปยาวนานแล้วก็บานปลายกันมา หลายเรื่องทำมานานแล้ว หลายเรื่องเพิ่งทำมาไม่กี่ปีนี้เอง  นโยบายดีหมด แต่เวลาไปทำแล้วมีคนโกงไง แล้วเราปล่อยให้โกงอยู่สองปีสามปี ถึงมีเรื่องขึ้นมาแล้วไม่ได้ ต้องไม่เห็นด้วยตั้งแต่ตอนแรก เช่น ไปให้ใครมาเซ็นชื่อ แล้วไม่ได้รับเงินตามกำหนด ตามจำนวนที่ว่า ก็ต้องเลิกตั้งแต่ตอนนั้นเลย หรือมีการล่ารายชื่อมาแล้วไปขึ้นเงิน โดยที่ตัวเองไม่รู้ว่าเขาเอาไปทำอะไร นี่คือสิ่งที่เราต้องรู้กฎหมาย 

ประชาชนทุกคนต้องเรียนรู้ตรงนี้ ไม่อย่างนั้นนปัญหาก็บานปลายขึ้นมา ต้องนำไปสู่กระบวนการตรวจสอบที่ยืดเยื้อยาวนาน ไปเร่งมากก็ไม่ได้ เพราะหลักฐานต้องใช้มาก เราต้องมีความร่วมมือระหว่างกันให้มากขึ้นในเรื่องของการปราบปรามทุจริต  ต้องไปแยกแยะให้ออก อะไรคือการทุจริต ทุจริตนั้นจะลงโทษกันด้วยอะไร ทางวินัยก็มี  โทษทางกฎหมายคดีอาญา คดีแพ่ง มีหมด เพียงแต่ต้องเข้าใจว่าการดำเนินการเป็นอย่างไร  

วันนี้เราคิดว่า จะเปิดให้มีช่องทางร้องทุกข์กล่าวโทษ เช่น หาหลักฐานในการร้องทุกข์กล่าวโทษนำเข้ากระบวนการ โดยไม่ต้องกลัวผู้กระทำผิด รัฐบาลจะเป็นผู้ดูแลความลับ ความปลอดภัยให้ทุกคนกรุณาอย่านิ่งดูดาย อย่ากลัว ต้องช่วยกันต่อต้าน อย่าเพียงวิจารณ์ ต้องดูว่าเขาทำโปร่งใสหรือไม่  ตัวเองได้ประโยชน์อย่างไร  อย่าให้ใครเอาเราไปหาประโยชน์ต่อไปอีก  ต้องแก้ไข ทั้งระบบ รัฐบาลนี้ก็มีหลายมาตรการ มีกฎหมาย ทั้งป้องกันและปราบปราม แต่ปัญหาส่วนใหญ่มักอยู่ที่ตัวบุคคล คนเลว ๆ ก็ยังแทรกซึมอยู่ ไม่ใช่ระบบเสียหาย หรือรัฐบาลนี้ทำเสียหาย   รัฐบาลนี้ได้ทำหลายอย่างให้เกิดความชัดเจนเกิดขึ้น  อะไรที่ไม่ชัดเจนก็ทำต่อไป  ไม่ใช่แย่ไปทั้งหมด คงไม่ใช่  เพราะรัฐบาลนี้ คดีความเหล่านี้ได้ออกมาเป็นจำนวนมาก  
เราไม่ต้องการปกป้องคนทุจริต โดยเฉพาะคนทุจริตที่หลบหนี องค์กรตรวจสอบการทุจริตก็มีมาก ทั้ง สตง. องค์กรอิสระ ภาคเอกชน ฯลฯ ก็ต้องปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันด้วย  หลายอย่างเป็นเรื่องของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การปฏิรูปประเทศ ฉะนั้นหลักการทางกฎหมายก็ต้องไปดูว่าเป็นอย่างไร ซึ่งก็เกี่ยวกับการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกปัจจุบัน ช่วยกันแก้ ทั้งระบบเด็ก ๆ เยาวชน คนรุ่นใหม่ต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้ให้มากเพราะเป็นการบ่อนทำลายประเทศ  อนาคตของท่าน ของเด็ก ๆ เหล่านั้นที่จะโตขึ้นมาในวันหน้า  หากใช้งบประมาณสิ้นเปลือง เกิดผลสัมฤทธิ์น้อย  ไม่เป็นผลสัมฤทธิ์ที่ยังยืน เพราะการทำงานโดยไม่มีธรรมาภิบาล เหล่านี้คือปัญหาทั้งสิ้น 

วันนี้ ผมได้สั่งการให้เพิ่มช่องทางสื่อสารโดยเปิด Website และ Facebook ชื่อ “สายตรง ไทยนิยม” เพื่อรับคำร้องเรียน ร้องทุกข์ ข้อเสนอแนะ แสดงความคิดเห็น และใช้ในการกระจายข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะประโยชน์ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่อยู่ในความสนใจของประชาชนเป็นสำคัญเสริมช่องทางเดิมที่มีอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งสายด่วน 1111 และ 1567 ซึ่งโทรฟรีทั่วไทย ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น 
ส่วนการตอบคำถามนายกรัฐมนตรี 10 ข้อ ที่เราทำมาโดยตลอดนั้น   ขอบคุณทุกคนที่มีส่วนร่วม  เราได้รับสรุปผลรายงานมา 15 ครั้ง แล้วต้องขอขอบคุณพี่น้องประชาชน“เกือบ 1 ล้าน 5 แสนคน” ที่ออกมาแสดงความคิดเห็น ผมถือว่าเป็นความสมัครใจ เพราะไม่ได้ไปกะเกณฑ์ใครมา  ไม่รู้จักกัน เขามาตอบคำถามในขณะที่เห็นการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจจะต่างจากการสำรวจโพลต่าง ๆ ที่อาจไม่ตั้งใจ ไม่สมัครใจ หรือมีความรู้พอเพียงที่จะตอบโพลล์เหล่านั้น อันนี้ไม่ใช่โพลล์แบบนั้น   มาตอบคำถามด้วยตัวเอง ยืนยันตัวตน   ผู้ที่มาตอบคำถามผมนั้น ส่วนใหญ่เป็นพี่น้องเกษตรกร อายุช่วงวัยแรงงาน 31 - 60 ปีข้อสำคัญคือการศึกษาระดับประถมศึกษาเท่านั้น โดยข้อมูลบางส่วนที่น่าสนใจ อย่างมีนัยสำคัญ เช่น ต้องการให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง วันนี้เราก็ทำมาอยู่แล้ว 3- 4 ปีที่ผ่านมา ปฏิรูปในเชิงโครงสร้าง ปฏิรูปองค์กร ปฏิรูปวิธีการทำงาน ปฏิรูปกฎหมาย จะได้เตรียมความพร้อมสู่ระยะที่สองโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง  และคาดหวังว่าการเลือกตั้งครั้งหน้า จะได้รัฐบาลที่มี ธรรมาภิบาล ซึ่งผมถือว่าเป็น “ภารกิจสำคัญ” ของ คสช. ตั้งแต่ต้น ที่จะต้องทำให้สำเร็จในระยะที่ 1 ที่เราอยู่นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเห็นในเรื่องของนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือมีความผิด ส่อทุจริตนั้น คำตอบที่ได้จากพี่น้องประชาชน คือต้องการให้ได้รับโทษที่หนักที่สุด โดยการตัดสิทธิ์ทางการเมือง การติดตามเอาผิดจากผู้ที่เกี่ยวข้อง  ผู้สนับสนุน รวมไปถึง การยุบพรรคด้วย ซึ่งผมเห็นว่าบางอย่างก็แรงไปหรือไม่ ไม่ทราบ  แต่นั่นเป็นความเห็นประชาชนเขา  ผมก็เห็นว่าต้องเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ตามหลักฐาน ตามกฎหมายที่มีอยู่ ส่วนที่พี่น้องประชาชนคาดหวังให้ คสช. แก้ปัญหาต่าง ๆ ต่อไป และขอให้ผมนิ่ง  อารมณ์ดี ยิ้มๆ ไม่หงุดหงิด  ผมก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด 
 
พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ
ผมมีเรื่องที่น่ายินดี สำหรับสัปดาห์นี้ 2 เรื่องที่จะนำมาเล่าให้ฟัง ช่วยกันคิดวิเคราะห์ว่า เราจะทำอย่างไรต่อไป เพื่อให้สิ่งที่ดี ๆ อยู่แล้ว ดียิ่งขึ้น และสิ่งที่ยังบกพร่องอยู่ ก็ควรจะได้ร่วมมือ ร่วมใจกัน อย่าเอาแต่ติติงกันอย่างเดียว ต้องช่วยกันแก้ไข หาวิธีที่จะปฏิบัติให้ได้ วันนี้สิ่งที่เราทำได้ น่าจะดีขึ้น  อาจจะหลายคนมองว่าไม่ดีก็แล้วแต่ วันนี้ภาพลักษณ์ของบ้านเมืองเรา ในสายตาประชาคมโลก
เรื่องที่ 1 รายงานผลการวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น (CPI) ประจำปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยของเรา ได้คะแนนดีขึ้นเล็กน้อย คำว่า “ดีขึ้นเล็กน้อย” เพราะยาก เพราะมีหลายมิติด้วยกัน เมื่อเทียบกับภาพรวมทั่วโลก ส่วนใหญ่ “คงที่” โดยเราได้ 37 คะแนน อยู่ในลำดับที่ 96 จากประเทศที่เข้าร่วมประเมินทั้งหมด 180 ประเทศ ก็อยู่ประมาณกลาง ๆ   เทียบกับปีก่อนหน้านี้ เราได้ 35 คะแนน อยู่ในลาดับที่ 101 จาก 176 ประเทศที่เข้าร่วมประเมิน ทั้งนี้ การประเมินของ CPI ได้รับความน่าเชื่อถือจากประชาคมโลก เนื่องจากมีการประเมินจากหลายแหล่ง หลากวิธีการ  ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์ความเสี่ยง นักวิชาการ รวมทั้งนักธุรกิจ ทั้งในประเทศและทั่วโลก  ที่สะท้อนข้อเท็จจริง ให้เห็นในประเด็นสำคัญ อาทิ
(1) การรับรู้ถึงความมุ่งมั่น จริงจัง ในการดำเนินการของประเทศไทย เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ การต่อต้านการทุจริตติดสินบน อย่างแข็งขันโดยเฉพาะการเร่งรัดดำเนินการตามประกาศคณะรัฐมนตรี ให้ปี พ.ศ.2560 เป็น “ปีแห่งการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ ต่อต้านการรับสินบนทุกรูปแบบ” เป็นต้น
(2) ภาพลักษณ์การรับรู้ระบบราชการไทย สังคมไทยทั้งในสายตาประชาชนไทย นักลงทุน ตลอดจนนักวิชาการนานาชาติ ว่าสังคมไทย ยังคงมีกับดักในเรื่องเจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางมิชอบและ มีการติดสินบนเจ้าหน้าที่ ซึ่งแม้ว่าจะ “ดีขึ้นเล็กน้อย” จากปีที่แล้วมีกติกาเพิ่มขึ้นหลายอย่าง เช่น เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแต่เราก็ทำคะแนนได้สูงขึ้นอยากให้มองตรงนี้
หากเราเลือกตั้ง ในรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลจริงย่อมจะต้องดีขึ้นกว่านี้อีกในระยะต่อไป เราต้องการยกระดับค่าดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น ในส่วนนี้ให้มีคะแนนเพิ่มสูงขึ้นอีก อย่างมีนัยสำคัญ จำเป็นต้องมีแนวร่วมทุกภาคส่วน อย่าติกันอย่างเดียว ต้องติเพื่อก่อ อย่าสร้างความขัดแย้ง และรู้ถึงกลไกกฎหมายกระบวนการตรวจสอบให้ชัดเจนไม่งั้นมันก็ตีกันไปมาหมด  ทั้งนี้ เพื่อจะเพิ่มกลไกให้อำนาจบทบาทให้องค์กรอิสระภาคส่วนต่าง ๆ นอกภาครัฐ ให้สูงขึ้น
ปัจจุบันในด้านจิตสานึกของประชาชนไทยในเรื่องการต่อต้านการทุจริตนั้น มีระดับสูงขึ้นมากแล้ว

สำหรับในปีนี้ นับว่าเริ่มต้นเป็นทิศทางการพัฒนาที่ดี โดย “จิตสำนึก” นั้น จะเป็นเหมือน “ภูมิคุ้มกัน” ป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริต ตั้งแต่ต้นทาง ช่วยให้มาตรการปราบปราม ที่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ลดความสำคัญลง ซึ่งเราก็เดินทางถูกทางแล้ว ผมขอให้พี่น้องประชาชนทุกคน ร่วมมือกัน “เป็นหู เป็นตา” อย่านิ่งเฉยต่อการกระทำผิด
เรื่องที่ 2 คือ Bloomberg มีรายงานว่า ประเทศไทย ยังคงครอง “แชมป์” อันดับ 1 ประเทศที่มีความทุกข์ยากด้านเศรษฐกิจน้อยที่สุดในโลก ปี 2017-2018 เป็นปีที่ 4 ต่อเนื่อง เราก็ต้องมาดูในเรื่องของการกระจายรายได้ การสร้างห่วงโซ่มูลค่า ไทยนิยมกำลังลงไป ทำอย่างไรจะถึงข้างล่าง ทำอย่างไรผู้ผลิตถึงจะได้ เช่น เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อยที่เป็นแรงงานเหล่านี้ ทำอย่างไรถึงจะมีรายได้มากขึ้น หลายอย่าง อาชีพเสริม การปรับเปลี่ยนอาชีพ การรวมกลุ่ม การให้ความรู้ การให้เงินทุน แต่เราไม่สามารถจะให้ทุกครอบครัวได้ ต้องสร้างให้เกิดขึ้นข้างล่างในลักษณะที่เป็นการบูรณาการขึ้นมา ถึงจะทำงานได้ งบประมาณมีจำกัด ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน ข้าราชการดีๆ ก็มีอยู่มาก  ประชาชนที่ร่วมมือก็มีมาก 
 
สุดท้ายนี้
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประกาศตัวเลข การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยว่า ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2560 “ขยายตัว” จากไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนหน้าที่ ร้อยละ 4.0 โดยเป็นผลจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวต่อเนื่อง ในเกือบทุกหมวดสินค้า  สอดคล้องกับความต้องการจากต่างประเทศที่ดีขึ้น และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวจีน  รวมถึงการบริโภคในภาคเอกชนที่เร่งขึ้นจากรายได้นอกภาคเกษตร และความเชื่อมั่นที่เริ่มดีขึ้น สำหรับภาคการผลิตเราเห็นว่าภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะในหมวดการผลิตเพื่อการส่งออก สอดคล้องไปกับการส่งออก ที่ดีขึ้นต่อเนื่องอีกด้านที่ขยายตัวได้ดี คือ โรงแรมและภัตตาคาร จากนักท่องเที่ยว ทั้งไทยและต่างประเทศ ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็เลยได้ส่งผลดีไปยัง ภาคขนส่งและการคมนาคม รวมถึง การค้าส่งและค้าปลีกด้วย  อย่างไรก็ดี ภาคเกษตรในไตรมาสสุดท้าย ต้องประสบปัญหาฝนตกชุก และอุทกภัย ในบางพื้นที่ทำให้ในภาพรวม ยังไม่ดีขึ้นมาก เทียบกับภาคอื่น ๆ ในช่วงนั้น  แต่ในปีนี้ การบริหารจัดการน้ำที่รัฐบาลเร่งดำเนินการมาตลอด คาดว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาในช่วงต่อไปของพี่น้องเกษตรกรได้ ตรงไหนยังไม่ดี ก็ต้องช่วยกันยกระดับแก้ไขเพิ่มเติม
หากมองภาพรวมทั้งปี 2560 เศรษฐกิจไทยขยายตัว จากปี 2559 ที่ร้อยละ 3.9 หลัก ๆ มาจากการส่งออกสินค้า และภาคการท่องเที่ยว ที่ปรับดีขึ้น สำหรับการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ก็ถือว่าฟื้นตัว ต่อเนื่อง ในภาพรวม และในปี 2561 นี้ ทางสภาพัฒน์ฯ มองว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ดี ต่อเนื่อง เพราะมีปัจจัยบวก จากการเติบโตต่อเนื่อง ของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชน ที่คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งมาจาก โครงการร่วมทุนของรัฐบาลและเอกชนที่จะทยอยมีมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการลงทุนใน EEC ที่จะมีความชัดเจนมากขึ้น กระตุ้นการลงทุนด้านการก่อสร้าง
นอกจากนี้ การลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐเองก็คาดว่าจะเร่งขึ้นได้ โดยได้มีการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมวงเงิน 150,000 ล้านบาท รวมทั้งผมได้เร่งให้ส่วนราชการดำเนินการเบิกจ่ายและก่อหนี้ผูกพัน ให้ได้ตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การใช้จ่ายของภาครัฐ เข้าไปสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ดีขึ้น ในปี 2561 นี้รัฐบาลมีแนวทางที่จะบริหารเศรษฐกิจ 4 ด้านเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้กับพี่น้องประชาชน ได้แก่
(1) การสนับสนุนการขยายตัวของการผลิตนอกภาคเกษตร ให้สามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง ทั้งภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ผ่านการสร้างความเชื่อมั่น และการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้รายได้กระจายลงไปในฐานรากได้มากขึ้น ในระยะต่อไป
(2) การขับเคลื่อนการลงทุนภาครัฐ ทั้งในเรื่องการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และ ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน และ ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ในระยะต่อไป
(3) การดูแลพี่น้องเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย รวมถึง SMEs ผ่านโครงการต่าง ๆ เพื่อรองรับความผันผวนของดินฟ้าอากาศและ การจัดการกับความเสี่ยง ที่ผลผลิตจะเสียหาย การขับเคลื่อนนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ รวมถึงปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ และ ดูแลการเข้าถึงสินเชื่อการสนับสนุนเงินทุนให้กับเกษตรกร ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงธุรกิจ SMEs
(4) การเตรียมพร้อมด้านแรงงานและ ยกระดับคุณภาพแรงงาน ให้เพียงพอเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคการผลิตและการลงทุน
มาตรการเหล่านี้ นอกจากจะช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยเติบโต ได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนแล้ว ยังจะช่วยเป็นรากฐานที่เข้มแข็งในการสนับสนุนการปฏิรูปประเทศตามแผนงาน และแผนยุทธศาสตร์ชาติในระยะต่อไปด้วย
ปัญหาสำคัญ คือ การจราจร ความปลอดภัย ในการใช้รถใช้ถนน คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมอาชีพรายได้ที่พอเพียงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษาและอื่น ๆ อีกมากมาย อันนี้ก็อยู่ในแผนปฏิรูป และยุทธศาสตร์ชาติด้วย ที่เราต้องร่วมมือกันแก้ไข และใช้การปฏิบัติการแบบไทยนิยม คนไทยต้องร่วมมือกันแบบพอดี เพื่อแผ่นดิน เพื่อตัวเอง เพื่อครอบครัว เพื่อประเทศชาติ ให้เกิดความร่วมมือในระดับพื้นที่แบบประชารัฐให้เกิดผลสัมฤทธิ์ให้จงได้
ขอบคุณครับ ขอให้ “ทุกคน ทุกครอบครัว” มีความสุข พาลูกหลานไปทำบุญ  เข้าวัด  ฟังเทศน์  เวียนเทียน  สนทนาธรรม ในวันมาฆบูชาด้วย จิตใจจะได้ผ่องใสกันทุกคน และว่าง ๆ ก็ไปเที่ยวงานอุ่นไอรักกัน  สวัสดีครับ

 
ที่มา; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม