อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวที่ 34/2561ครม. อนุมัติมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ
สรุปมติคณะรัฐมนตรี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ จากการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี
● อนุมัติมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ) โดยมีสาระสำคัญ คือ กำหนดให้การบริจาคให้แก่สถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 29/2560 เรื่อง การส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2560 ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในลักษณะเดียวกันกับสถาบันการศึกษาในประเทศ ดังนี้
1) บุคคลธรรมดาที่บริจาคเงินให้แก่สถาบันดังกล่าวข้างต้นสามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิ
2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สถาบันดังกล่าวข้างต้นสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ
3) ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่สถาบันดังกล่าวข้างต้น
4) กำหนดให้มาตรการในเรื่องนี้ใช้สำหรับการบริจาคที่กระทำ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
พระราชกฤษฎีกาออกตามความ
ในประมวลรัษฎากรว่าด้วย
การยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 420)
พ.ศ. 2554
ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความ
ในประมวลรัษฎากรว่าด้วย
การยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ….
มาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 และส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้แก่สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ดังนี้
(1) สำหรับบุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่าย และหักค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนดังกล่าวนั้น
(2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เป็นจำนวนเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สินเป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 และส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้แก่สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 29/2560 เรื่อง การส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2560 ดังนี้
(1) สำหรับบุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่าย และหักค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนดังกล่าวนั้น
(2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เป็นจำนวนเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สินเป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
● รับทราบ ทิศทางการพัฒนาภาคตะวันออก
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบทิศทางการพัฒนาภาคตะวันออก ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
ภาพรวม ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว มีพื้นที่ร้อยละ 7.1 ของประเทศ และมีประชากรร้อยละ 7.5 ของประเทศ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจร้อยละ 17.6 ของประเทศ เศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนด้วยภาคอุตสาหกรรมและภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน รวมทั้งเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของประเทศ
แนวคิดและทิศทาง ภาคตะวันออกมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เนื่องจากเป็นพื้นที่ฐานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลัก (Industrial heartland) และเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกและท่าอากาศยานนานาชาติ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ในแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Southern Economic Corridor และ Southern Coastal Economic corridor) ที่เชื่อมโยงเมียนมา-ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม ซึ่งเป็นเส้นทางลัดโลจิสติกส์ (Land bridge) เชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนกับโลกตะวันตกและโลกตะวันออก และยังเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของประเทศ รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติ ดังนั้น การพัฒนาภาคตะวันออกระยะต่อไป จะต้องพัฒนาต่อยอดฐานเศรษฐกิจที่มีอยู่ของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษด้านตะวันออก (EEC) และพื้นที่อื่น ๆ ในภาค โดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และการค้าบริการ ควบคู่ไปกับการใช้ศักยภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ และความพร้อมของสถาบันการศึกษาวิจัย ยกระดับสินค้าการเกษตรและบริการให้มีมูลค่าสูง เพื่อให้ภาคตะวันออกเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นกับดับ “ประเทศรายได้ปานกลาง”
แผนงาน/โครงการ กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอแผนงาน/โครงการเบื้องต้นในการขับเคลื่อนทิศทางการพัฒนาภาคตะวันวันออก ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) สรุปได้ดังนี้
-
พัฒนาภาคพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีความทันสมัยที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่ง สิ่งอำนวยความสะดวก บุคลากรเทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาเมืองนวัตกรรมภาคตะวันออก (EEC) โครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ โครงการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก นิคมอุตสาหกรรม Smart Park โครงการก่อสร้างท่าเรือ ชายฝั่ง A ที่ท่าเรือแหลมฉบัง โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 โครงการปรับปรุงทางรถไฟท่าเรือจุกเสม็ด โครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand)
-
พัฒนาภาคตะวันออกให้เป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล โดยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปที่สำคัญของภาคใต้ให้ได้มาตรฐาน อาทิ โครงการศูนย์นวัตกรรมด้านเกษตรอาหาร และ Smart Farm ต้นแบบ โครงการศูนย์นวัตกรรมจากผลิตผลเกษตรภาคตะวันออก โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร โครงการสร้างนวัตกรรมอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปสู่ตลาดโลก โครงการพัฒนาเกษตรกรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (STI for Smart Agriculture)
-
ปรับปรุงมาตรฐานสินค้าและธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เชิงเกษตร เชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวโดยชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรม อาทิ โครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดฉะเชิงเทรา โครงการพัฒนาเส้นทางจักรยานเพื่อสุขภาพและการท่องเที่ยว “Bike for All” โครงการพัฒนาศักยภาพธุรกิจบริการที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ ธุรกิจอาหาร ธุรกิจบริการสุขภาพ (สปา นวดเพื่อสุขภาพ ดูแลผู้สูงอายุ กายภาพบำบัด) ธุรกิจก่อสร้าง/วิศวกรรม และธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ โครงการบูรณะซ่อมแซมและพัฒนาโบราณสถาน โครงการบูรณะซ่อมแซมและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
-
พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนให้เป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวเชื่องโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ถนนสายแยก ทล.348-บ.ป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ถนนสาย ก1 ข และ ค1 ผังเมืองรวมเมืองตราด จังหวัดตราด โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว โครงการขยายการค้าการลงทุนชายแดนและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โครงการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมตลาดการค้าชายแดนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก
-
แก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและจัดระบบการบริหารจัดการมลพิษให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น อาทิ โครงการก่อสร้าง/ปรับปรุงแหล่งน้ำ เพิ่มพื้นที่ชลประทาน ป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งในพื้นที่ตะวันออก โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย พื้นที่พัทยาและนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ทั้งนี้ แผนงาน/โครงการยังเป็นเพียงข้อเสนอเบื้องต้น ที่จะนำไปจัดทำเป็นแผนพัฒนาภาคตะวันออกแบบบูรณาการที่สมบูรณ์ ภายใต้กระบวนการและกลไกการพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการระดับภาค 6 ภาค ต่อไป
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวที่ 34/2561ครม. อนุมัติมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ
สรุปมติคณะรัฐมนตรี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ จากการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ) โดยมีสาระสำคัญ คือ กำหนดให้การบริจาคให้แก่สถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 29/2560 เรื่อง การส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2560 ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในลักษณะเดียวกันกับสถาบันการศึกษาในประเทศ ดังนี้
1) บุคคลธรรมดาที่บริจาคเงินให้แก่สถาบันดังกล่าวข้างต้นสามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิ
2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สถาบันดังกล่าวข้างต้นสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ
3) ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่สถาบันดังกล่าวข้างต้น
4) กำหนดให้มาตรการในเรื่องนี้ใช้สำหรับการบริจาคที่กระทำ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
พระราชกฤษฎีกาออกตามความ
ในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2554 |
ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความ
ในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. |
มาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 และส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้แก่สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ดังนี้
(1) สำหรับบุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่าย และหักค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนดังกล่าวนั้น
(2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เป็นจำนวนเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สินเป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
|
มาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 และส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้แก่สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 29/2560 เรื่อง การส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2560 ดังนี้
(1) สำหรับบุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่าย และหักค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนดังกล่าวนั้น
(2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เป็นจำนวนเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สินเป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
|
● รับทราบ ทิศทางการพัฒนาภาคตะวันออก
ภาพรวม ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว มีพื้นที่ร้อยละ 7.1 ของประเทศ และมีประชากรร้อยละ 7.5 ของประเทศ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจร้อยละ 17.6 ของประเทศ เศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนด้วยภาคอุตสาหกรรมและภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน รวมทั้งเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของประเทศ
แนวคิดและทิศทาง ภาคตะวันออกมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เนื่องจากเป็นพื้นที่ฐานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลัก (Industrial heartland) และเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกและท่าอากาศยานนานาชาติ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ในแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Southern Economic Corridor และ Southern Coastal Economic corridor) ที่เชื่อมโยงเมียนมา-ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม ซึ่งเป็นเส้นทางลัดโลจิสติกส์ (Land bridge) เชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนกับโลกตะวันตกและโลกตะวันออก และยังเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของประเทศ รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติ ดังนั้น การพัฒนาภาคตะวันออกระยะต่อไป จะต้องพัฒนาต่อยอดฐานเศรษฐกิจที่มีอยู่ของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษด้านตะวันออก (EEC) และพื้นที่อื่น ๆ ในภาค โดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และการค้าบริการ ควบคู่ไปกับการใช้ศักยภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ และความพร้อมของสถาบันการศึกษาวิจัย ยกระดับสินค้าการเกษตรและบริการให้มีมูลค่าสูง เพื่อให้ภาคตะวันออกเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นกับดับ “ประเทศรายได้ปานกลาง”
แผนงาน/โครงการ กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอแผนงาน/โครงการเบื้องต้นในการขับเคลื่อนทิศทางการพัฒนาภาคตะวันวันออก ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) สรุปได้ดังนี้
- พัฒนาภาคพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีความทันสมัยที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่ง สิ่งอำนวยความสะดวก บุคลากรเทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาเมืองนวัตกรรมภาคตะวันออก (EEC) โครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ โครงการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก นิคมอุตสาหกรรม Smart Park โครงการก่อสร้างท่าเรือ ชายฝั่ง A ที่ท่าเรือแหลมฉบัง โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 โครงการปรับปรุงทางรถไฟท่าเรือจุกเสม็ด โครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand)
- พัฒนาภาคตะวันออกให้เป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล โดยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปที่สำคัญของภาคใต้ให้ได้มาตรฐาน อาทิ โครงการศูนย์นวัตกรรมด้านเกษตรอาหาร และ Smart Farm ต้นแบบ โครงการศูนย์นวัตกรรมจากผลิตผลเกษตรภาคตะวันออก โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร โครงการสร้างนวัตกรรมอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปสู่ตลาดโลก โครงการพัฒนาเกษตรกรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (STI for Smart Agriculture)
- ปรับปรุงมาตรฐานสินค้าและธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เชิงเกษตร เชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวโดยชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรม อาทิ โครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดฉะเชิงเทรา โครงการพัฒนาเส้นทางจักรยานเพื่อสุขภาพและการท่องเที่ยว “Bike for All” โครงการพัฒนาศักยภาพธุรกิจบริการที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ ธุรกิจอาหาร ธุรกิจบริการสุขภาพ (สปา นวดเพื่อสุขภาพ ดูแลผู้สูงอายุ กายภาพบำบัด) ธุรกิจก่อสร้าง/วิศวกรรม และธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ โครงการบูรณะซ่อมแซมและพัฒนาโบราณสถาน โครงการบูรณะซ่อมแซมและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
- พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนให้เป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวเชื่องโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ถนนสายแยก ทล.348-บ.ป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ถนนสาย ก1 ข และ ค1 ผังเมืองรวมเมืองตราด จังหวัดตราด โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว โครงการขยายการค้าการลงทุนชายแดนและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โครงการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมตลาดการค้าชายแดนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก
- แก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและจัดระบบการบริหารจัดการมลพิษให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น อาทิ โครงการก่อสร้าง/ปรับปรุงแหล่งน้ำ เพิ่มพื้นที่ชลประทาน ป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งในพื้นที่ตะวันออก โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย พื้นที่พัทยาและนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ทั้งนี้ แผนงาน/โครงการยังเป็นเพียงข้อเสนอเบื้องต้น ที่จะนำไปจัดทำเป็นแผนพัฒนาภาคตะวันออกแบบบูรณาการที่สมบูรณ์ ภายใต้กระบวนการและกลไกการพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการระดับภาค 6 ภาค ต่อไป
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
www.tuewsob.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น