หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

คู่มือ ติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค

คู่มือ ติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค
คู่มือ ติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ครม.สัญจร ภาคตะวันออก ติดตามการขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาภาคตะวันออก และพื้นที่ EE

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร





 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

ข่าวที่ 30/2561
รมช.ศธ."พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" ลงพื้นที่ ครม.สัญจร ภาคตะวันออก ติดตามการขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาภาคตะวันออก และพื้นที่ EEC ที่ จ.ระยอง

พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาภาคตะวันออก และการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ของกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่1/2561 เมื่อวันจันทร์ที่ กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นภารกิจการลงพื้นที่ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ในพื้นที่ภาคตะวันออก
● ปีที่ผ่านมา ศธ.พร้อมจัดการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออก เริ่มต้นจากเขตเศรษฐกิจพิเศษ 2 จว. สู่พื้นที่EEC จว. และขยายครอบคลุมภาคตะวันออก จว.
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวในที่ประชุมว่า ห้วงเวลา ปีที่ผ่านมาได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออกมาโดยตลอด นับตั้งแต่ขับเคลื่อนการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราดและสระแก้ว จนกระทั่งรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเมื่อวันที่ 17 ม.ค.2560 ให้มีเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็ได้มีการจัดทำแผนการศึกษารองรับ EEC ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 18 ก.ค.2560 ได้เห็นชอบยุทธศาสตร์พัฒนากำลังคนสนับสนุน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ.2560-2564) ศธ.จึงได้มีการวางแผนจัดการศึกษา โดยพัฒนาจาก จังหวัดในพื้นที่ EEC ให้เป็น จังหวัดในระดับภาคตะวันออก คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว
สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนในการจัดการศึกษาภาคตะวันออก คือ ศธ.ได้อนุมัติแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2560-2564) เรียบร้อยแล้ว โดยวาง 4 เป้าหมายหลักในการจัดการศึกษา คือ 1) ผู้เรียนมีทักษะด้านภาษา การใช้เทคโนโลยี มีความรู้ด้านอุตสาหกรรมใหม่ สามารถสร้างนวัตกรรมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี 2) ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ด้านอุตสาหกรรมใหม่และมีศักยภาพในจัดการเรียนรู้ ควบคู่กับการปฏิบัติจากสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลอง 3) สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนากำลังคน 4) เครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

● วางเป้าหมายจัดการศึกษาในพื้นที่ เพื่อรองรับการเป็น "ฐานเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน"
ในการวางแผนบูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกและพื้นที่ EEC ให้เป็น "ฐานเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน" พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า ขอให้ทุกหน่วยงานติดตามข้อมูลข่าวสาร ความก้าวหน้า พัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ มาประกอบพิจารณาการจัดทำแผน ไม่ว่าจะเป็นมิติทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความมั่นคง ฯลฯ และจะต้องครอบคลุมการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมทั้งข้อมูลทั้งภายในและต่างประเทศ แม้กระทั่งสื่อมวลชนก็ต้องมีส่วนร่วมด้วย เพราะทั้งหมดล้วนมีผลเกี่ยวข้องกับการวางแผนและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งสิ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีและความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอาเซียนและภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก
● ย้ำสิ่งสำคัญที่สุดของแผน "ขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์"
เมื่อแผนเกิดการพัฒนาแล้ว ก็ต้องการให้มีการทบทวนแผนเป็นห้วง ๆ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ "การขับเคลื่อนแผนให้เกิดผลสัมฤทธิ์" ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ดังนั้น การประชุมในครั้งนี้จึงถือเป็นความต่อเนื่องที่จะให้ทุกหน่วยงานพิจารณาแนวทางการทำงานที่ผ่านมา และแนวทางที่จะดำเนินงานต่อไป โดยขอให้รับฟังความเห็นและข้อเสนอของทุกท่านทุกหน่วยงาน ไปประกอบการพิจารณาขับเคลื่อนแผนให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด
 อย่าละเลยการสร้างการรับรู้ความเข้าใจ ให้มองประชาชนเป็นศูนย์กลาง
รัฐบาลได้เน้นย้ำมาโดยตลอดว่า ในการทำงานทุกด้านควรจะต้องมีการสร้างการรับรู้ความเข้าใจให้เกิดขึ้น ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำควบคู่ไปกับการวางแผน เพื่อทำให้คนภายในองค์กรของเรารับรู้เสียก่อน จะได้เกิดความเข้าใจร่วมกันว่าควรจะวางแผนทำงานต่อไปกันอย่างไร จากนั้นจึงสร้างการรับรู้ความเข้าใจไปสู่องค์กรภายนอกทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพราะเมื่อประชาชนมีความเข้าใจแล้ว ก็จะเกิดความร่วมมือ ถือเป็นหลักการทำงานที่พึงประสงค์ตามต้องการ
เมื่อเกิดความร่วมมือแล้ว ท้ายที่สุดก็คือ "ประชาชน" ซึ่งรัฐบาลถือว่าเป็นศูนย์กลางการทำงาน ก็จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการทำงานของเราต่อไป

 ประธานสภาอุตฯ แนะให้สร้าง "มาตรฐานวิชาชีพ" และร่วมมือกับ ตปท.ที่เป็นผู้นำด้านนั้นๆ
ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก กล่าวว่า ที่ผ่านมาเห็นว่า ศธ.มีการทำงานเชิงบูรณาการได้ดี ซึ่งสภาอุตสาหกรรมในพื้นที่ทุกจังหวัดพร้อมให้การสนับสนุนแนวทางการจัดการศึกษาที่จะต้องสอดคล้องรองรับกับ 10 หลักสูตรใหม่ที่รองรับอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) และอุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve)
อย่างไรก็ตาม ฝากให้ ศธ.พิจารณาเรื่อง "มาตรฐานของวิชาชีพ" ไว้ด้วย เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก จึงต้องการให้ ศธ.มีความร่วมมือในการจัดการศึกษากับประเทศที่เป็นผู้นำในเทคโนโลยีอุตสาหกรรมหรือบริการนั้น ๆ เช่น อุตสาหกรรมทางการราง - สาธารณรัฐประชาชนจีน, สื่อมัลติมีเดีย - สาธารณรัฐเกาหลี, อุตสาหกรรม 4.0 เยอรมนี, อุตสาหกรรมด้าน ICT สหรัฐอเมริกา, อุตสาหกรรมกลุ่มยานยนต์ - ญี่ปุ่น, Smart City เยอรมนี สหรัฐอเมริกา, การพัฒนาระบบ Software - อินเดีย เป็นต้น
ดังนั้น หาก ศธ.เร่งการวางแผนผลิตพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมสาขาใหม่ ๆ เหล่านี้ได้ จะช่วยให้ผู้ลงทุนต่างชาติเห็นแนวทางการทำงานที่เป็นรูปธรรม และเกิดความมั่นใจที่จะเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออก

 ผู้ตรวจฯ "อำนาจ" เผยผลการประชุมครั้งนี้ เตรียมหลายโครงการเข้า ครม.สัญจร
นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ตรวจราชการ ศธ. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนฯ กล่าวถึงผลการประชุมในครั้งนี้ว่า เป็นการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการชุดนี้ หลังจากที่ได้มีการปรับปรุงคำสั่งคณะกรรมการขับเคลื่อนใหม่ให้รองรับทั้งภาคตะวันออกและพื้นที่ EEC เพราะคำสั่งเดิมเน้นเฉพาะพื้นที่ EEC เท่านั้น
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบแผนบูรณาการด้านการศึกษาภาคตะวันออก (พ.ศ.2562-2564) ที่กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า "มีความเป็นเลิศด้านการศึกษา สู่การพัฒนาเศรษฐกิจชั้นนำในอาเซียน" ที่จะทำงานภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1)  การพัฒนาบุคลากร การศึกษา วิจัย และเทคโนโลยี 2) พัฒนาระบบการเรียนการสอนทุกระดับ 3) พัฒนาผู้เรียนและบุคลากร 4) พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม 5) สนับสนุนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากร โดยเกี่ยวข้องกับสำนักงานศึกษาธิการภาค 3 และภาค 9
ที่ประชุมยังได้รับทราบโครงการต่าง ๆ ของ ศธ.ที่จะเสนอต่อที่ประชุม ครม.อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ในพื้นที่ภาคตะวันออก วันที่ กุมภาพันธ์ 2561 ณ จ.จันทบุรี
 ชูการต่อยอดผลิตภัณฑ์ผู้เรียนอาชีวะไปสู่เชิงธุรกิจ
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ที่ประชุมได้เห็นชอบการนำผลิตภัณฑ์ของผู้เรียนอาชีวศึกษา มาขยายผลเพื่อจำหน่าย โดยอาจจัดตั้งเป็นรูปแบบขององค์กรนิติบุคคลเฉพาะ การรวบรวมผลิตภัณฑ์ดีเด่นมาทำในเชิงธุรกิจ ซึ่งพบว่าขณะนี้มีชิ้นงาน ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมที่ได้รับรางวัลในโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ระดับชาติ151 ชิ้นงาน ในจำนวนนี้เป็นชิ้นงานในภาคตะวันออก 24 ชิ้นงาน และได้รับรางวัลระดับชาติ ชิ้นงาน
หากพิจารณาจากรูปแบบที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้แนะนำให้ศึกษาระบบเศรษฐกิจคันไซ ของญี่ปุ่นแล้วพบว่าทั้ง 24 ชิ้นงานสามารถขยายผลให้เป็นระบบ Supply Chain ย่อยของ 10 อุตสาหกรรมได้ เช่น "น้ำยาบ้วนปากเยื่อไผ่" ที่เชื่อมกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีฯ หรือ "รถตุ๊กตุ๊กดับเพลิง" สามารถเชื่อมกับอุตสาหกรรมยานยนต์, "อุปกรณ์ขุดมันสำปะหลัง" ที่เชื่อมต่อกับการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น
● ตั้งเป้าผลักดันให้ต่อยอดผลิตภัณฑ์อาชีวะเข้าสู่ Supply Chain ย่อยของ 10 อุตสาหกรรม
ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา คณะจากหลากหลายหน่วยงาน โดยมี สอศ. ทำหน้าที่เป็นเลขานุการ เพื่อร่วมพิจารณาและหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัด ในการผลักดันเรื่องนี้ให้เข้าสู่ระบบ Supply Chain ย่อยของ 10 อุตสาหกรรมต่อไป รวมทั้งขยายผลไปยังสถาบันอาชีวศึกษาทั่วประเทศ เพื่อให้นำชิ้นงานเข้าสู่ระบบ Supply Chain ของอุตสาหกรรมแต่ละจังหวัด และแต่ละภาคต่อไป
นอกจากนี้ จะมีการหารือถึงการจัดงานนำร่อง การแสดงชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการประกวดโครงการสิ่งประดิษฐ์ระดับชาติของปี 2559-2560 ต่อไป รวมทั้งจะมอบหมายให้ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาฯ หาช่องทางการรับโจทย์การพัฒนาชิ้นงานจากภาคอุตสาหกรรมหรือโรงงาน มาให้นักศึกษาคิดประดิษฐ์เป็นต้นแบบในเรื่องต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้นต่อไปด้วย


อนึ่ง ที่ประชุมครั้งนี้ ได้รับทราบความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการบูรณาการการศึกษาภาคตะวันออก และการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ EEC ปีงบประมาณ 2561 ของหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ คือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด จังหวัด สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป
ที่มา ; เว็บ กระทรวงศึกษาธิการ 

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม