หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร





 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
ผมขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนในกรุงเทพมหานคร จังหวัดใกล้เคียง และคนไทยทุกคน มาร่วมชมงาน 
“อุ่นไอรัก คลายความหนาว” ณ พระลานพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่า ระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ถึง วันที่ 11 มีนาคม 2561ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยราชการในพระองค์จัดงานนี้ขึ้น เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้มีความสุข เป็นการสืบสานวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาติ  รวมทั้งได้ชมการจัดสวนดอกไม้และงานศิลปะอันงดงามของไทย โดยพร้อมใจกันแต่งกายให้เข้าบรรยากาศย้อนยุคของไทยหรือชุดสุภาพตามความสมัครใจ ผมอยากเชิญชวนพี่น้องประชาชน พาลูกหลาน ชวนเพื่อนชาวต่างชาติ นักท่องเที่ยว มาร่วมงานกันมาก ๆ   เราจะได้ร่วมกันภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทยที่มีวัฒนธรรม และประวัติ ศาสตร์มายาวนาน
 
พี่น้องประชาชนที่เคารพรัก ครับ
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกสถานที่และได้มีโอกาสพบปะพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดตราดและจันทบุรี ขอขอบคุณพี่น้องประชาชน ข้าราชการ และทุกภาคส่วน ในทั้ง 2 จังหวัด ที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ให้ความเป็นกันเอง และร่วมมือในการเสนอข้อคิดเห็นที่สะท้อนถึงความต้องการของพื้นที่อย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการที่จะช่วยให้การกำหนดนโยบายของภาครัฐสามารถทำได้อย่างตรงจุด ตรงความต้องการ

ภาคตะวันออก เป็นพื้นที่ที่มีการเติบโตอยู่ในระดับสูง มีศักยภาพในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการเป็นพื้นที่ศูนย์รวมอุตสาหกรรมเป้าหมายต่างๆ รวมถึงเป็นที่ตั้งของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ EEC ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต อีกทั้ง ยังเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะผลไม้ และมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เช่นพัทยา บางแสน เกาะเสม็ด เกาะช้าง  อีกทั้งเป็นศูนย์การค้าชายแดน และมีโครงสร้างการคมนาคมที่เป็นประตูเชื่อมต่อกับเศรษฐกิจโลกได้สะดวก  แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วของพื้นที่ในภาคตะวันออกนี้ ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาและความท้าทายต่าง ๆ ตามมาด้วย ทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อม ปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ การขาดแคลนแรงงาน ไปจนถึง ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ขยายตัวไม่ทัน
ผมและตัวแทนคณะรัฐมนตรี ได้ประชุมหารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้แทนเกษตรกรในภาคตะวันออกรวมทั้งสิ้น 8 จังหวัดโดยได้รับทราบปัญหา และความต้องการของพื้นที่หลักๆ ก็มี 6 ด้านด้วยกัน ดังนี้

1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในเรื่องของถนน ก็ได้มีการรับไปศึกษาออกแบบก่อสร้างเส้นทาง ที่จะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยว เช่น เส้นทางเฉลิมบูรพาชลทิศ อู่ตะเภา-ชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี เส้นทางเลียบชายทะเลจังหวัดชลบุรี รวมถึงเส้นทางในจังหวัดชลบุรีเพื่อจะบรรเทาปัญหาการจราจร และเส้นทางตัดใหม่ในจังหวัดสระแก้ว เพื่อสนับสนุนการค้าชายแดนนอกจากนี้ยังมีการพัฒนาโครงข่ายถนน โดยการเพิ่มช่องทางจราจร เพื่อจะสนับสนุนการขนส่งที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ EEC พื้นที่ท่องเที่ยวและชายแดนให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งคงจะต้องพิจารณาในรายละเอียดและจัดลำดับความสำคัญ โดยคำนึงถึงการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ EEC และพื้นที่ระหว่างจังหวัดในภาค และระหว่างภาคด้วย รวมทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่เราต้องให้ความสำคัญ และประโยชน์ที่ประชาชนในพื้นที่จะได้รับต่อไป ทั้งปัจจุบัน และอนาคตด้วย สำหรับในส่วนของระบบขนส่งสาธารณะ ต้องมีการศึกษาออกแบบรถไฟทางคู่สายระยอง – จันทบุรี - ตราด เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ -ระยอง  การเปิดเดินรถไฟสายด่วนพิเศษ Sprinter  สายกรุงเทพฯ – อรัญประเทศ  เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชน  ขณะที่ในเรื่องของระบบไฟฟ้าก็จะพิจารณาแผนปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงสูงที่มั่นคง มีเสถียรภาพ ในพื้นที่จังหวัดนครนายกต่อไป

2. ด้านอุตสาหกรรม การลงทุน การค้าและการค้าชายแดน ก็ได้มีการหารือในการยกระดับด่านชายแดนให้เป็นจุดผ่านแดนถาวร ซึ่งรัฐบาลจะนำไปพิจารณาเพิ่มเติมและเร่งรัดเตรียมการเพื่อเจรจากับต่างประเทศด้วย เพื่อนบ้าน โดยจะต้องคำนึงถึง ทั้งเรื่องการพัฒนา ความมั่นคง และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แล้วก็มีความคุ้มค่ากับการลงทุนในอนาคตด้วย นอกจากนี้จะมีการให้สนับสนุนจังหวัดจันทบุรีให้เป็น “นครอัญมณี” ให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก   ทั้งต้นทาง ในการนำนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพอัญมณี กลางทาง คือการพัฒนานักออกแบบ ช่างเจียระไน และช่างผู้ผลิตให้มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และปลายทางคือการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนผู้ผลิตเครื่องประดับอัญมณี ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะรับไปพิจารณาและนำมารายงานความคืบหน้าให้ทราบต่อไป

3. ด้านการเกษตร ได้มีการหารือในเรื่องการสนับสนุนภาคตะวันออกให้เป็น “มหานครผลไม้โลก” ที่มีคุณภาพปลอดภัยอย่างครบวงจร ในเรื่องนี้ ครม. ได้มีมติอนุมัติในหลักการ โครงการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เฉพาะตะวันออก จะต้องเชื่อมโยงไปพื้นที่อื่นๆ มาที่ตะวันออกนี้ด้วย เพราะเหมือนกับเป็นประตูส่งออกผลไม้ของเรา ทั้งนี้ก็เพื่อจะให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตและตลาดจำหน่ายผลไม้เมืองร้อนที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยบูรพา ยังได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการจะผลักดันประเทศไทยให้เป็น “มหานครผลไม้ของโลก” โดยจะร่วมกันกำหนดมาตรฐานผลไม้ไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ทั้งในและต่างประเทศ และได้มีการอนุมัติแผนยุทธศาสตร์การค้าผลไม้ครบวงจร เพื่อจะสนับสนุนความร่วมมือดังกล่าว

4. ด้านการท่องเที่ยว ได้มีการหารือเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ทั้งในด้านเชิงสุขภาพ ผ่านการใช้แบรนด์เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ เพื่อจัดสร้างศูนย์บริการสปา ในจังหวัดภาคตะวันออก และศึกษาออกแบบ ปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางจักรยานในพื้นที่ท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรีโดยคำนึงถึงรูปแบบการบริหารจัดการให้เกิดความคุ้มค่าและยั่งยืน  นอกจากนั้น มีการเสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาบุคลากร เพื่อจะรองรับการท่องเที่ยวและโรงแรมภาคตะวันออก เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน

5. ด้านคุณภาพชีวิตก็ได้มีการหารือกันในการสนับสนุนด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อจะรองรับความต้องการบริการสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้น ตามจำนวนประชากร ทั้งในเรื่องการยกระดับโรงพยาบาลให้รองรับคนไข้ได้เพียงพอ การจัดสรรอัตรากำลังบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข การจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านอุบัติเหตุฉุกเฉิน และศูนย์การแพทย์ครบวงจร ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาจัดลำดับความสำคัญและดำเนินการในพื้นที่ ที่เหมาะสมต่อไป

6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการตั้งประเด็นหารือในเรื่องระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียในจังหวัดระยอง  การศึกษาการขุดลอกแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อจะแก้ไขปัญหาแม่น้ำตื้นเขิน และศักยภาพการขนส่งพืชผลทางการเกษตรทางน้ำ การป้องกันและแก้ไขปัญหาช้างป่า นอกพื้นที่เขตป่าอนุรักษ์ของป่ารอยต่อ 5 จังหวัด และการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม การระบายน้ำ ระบบรวบรวม และบำบัดน้ำเสียในเมืองพัทยาอย่างครบวงจร

ประเด็นเหล่านี้ถือเป็นข้อเสนอจากส่วนราชการและเอกชนในพื้นที่ ประชาชนด้วย ที่รัฐบาลจะขอนำไปพิจารณาจัดลำดับความสำคัญเพื่อจะดำเนินการต่อไป เพราะว่าต้องใช้งบประมาณสูง บางอย่างนะครับสูงมากเพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องทยอยดำเนินการไป จัดความเร่งด่วนให้ดี ใช้งบประมาณให้เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด บางประเด็นนั้นได้มีการหยิบยกขึ้นมาหารือต่อเนื่องในการประชุมครม. เช่น เรื่องการสนับสนุนด้านการผลิตและการตลาดผลไม้ เพื่อจะให้ไทยเป็นประเทศมหานครผลไม้ครบวงจร นอกจากประเด็นที่ผมกล่าวถึงข้างต้นแล้วนั้น ครม. ได้มีการพิจารณาวาระที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ที่สำคัญ เช่น ร่างทิศทางการพัฒนาภาคตะวันออกในภาพรวม ที่คำนึงถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจและประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ

สำหรับในเรื่องของพื้นที่ EEC เอง ก็มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ ในปี 2560 เราได้เห็นแผนการลงทุนมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เราวางไว้ ในหลาย ๆ โครงการ ซึ่งมีแผนงานชัดเจน เช่น ด้านการซ่อมอากาศยาน การเป็นเมืองการบิน โครงการรถไฟความเร็วสูง และการพัฒนาท่าเรือในพื้นที่เพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำที่จะทำให้มีการหาแหล่งน้ำใหม่ เพื่อจะเพิ่มความจุแหล่งน้ำเดิม และระบบเชื่อมโยงโครงข่ายน้ำ เพื่อจะรองรับกิจกรรมใน EEC ได้อย่างเพียงพอกับความต้องการในระยะยาวด้วยครับ 10- 20 ปีด้วย
 
พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่านครับ
ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ นอกจากผมและคณะ จะได้เข้าไปทำความเข้าใจกับปัญหาและความต้องการของพื้นที่เพื่อจะช่วยแก้ไขปัญหาปากท้องและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนแล้ว ผมยังได้มีโอกาสพบกับผู้ประกอบการ และผู้นำชุมชนแบบกลุ่มย่อย ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้เปิดรับฟังมุมมองต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด  ได้พูดจาทำความเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ และชี้แจงในเรื่องของการปฏิบัติด้วย  บางอย่างได้กำหนดนโยบายไปแล้ว ก็ต้องมีวิธีการขับเคลื่อนทั้งในระดับรัฐบาล ระดับพื้นที่ จะต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน ผมถือว่าเป็นการดำเนินการด้านปรองดองที่สำคัญ  ผมได้เน้นย้ำในเรื่องของการต้องช่วยกันเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศ หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ไม่หวาดระแวงกัน ผู้นำท้องถิ่น และนักการเมือง จะต้องเป็นที่พึ่งของประชาชน ต้องช่วยกันทำงาน อยากให้มองว่าประเทศเป็นของพวกเราทุกคน เรามีหลายจังหวัดด้วยกัน  ทุกจังหวัดเราจะต้องพัฒนานำไปสู่วิสัยทัศน์ของเรา ให้ทั่วถึงต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำในหน้าที่ อย่ามัวแต่ขัดแย้งกัน ขอให้ทุกคนได้ร่วมมือกับเราเพื่อจะเดินหน้าประเทศต่อไป มองไปข้างหน้า

พ่อแม่พี่น้องประชาชน ครับ
เราทุกคนคงเคยได้ยินเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับปัญหาของผู้มีรายได้น้อย ที่ไม่สามารถเข้าถึงการอำนวยความยุติธรรมได้ด้วยตนเอง เพราะอาจจะไม่มีความรู้เพียงพอ อยู่ห่างไกล ไม่รู้สิทธิ์ ไม่รู้กระบวนการ โดยเฉพาะเรื่องการไม่มีค่าใช้จ่ายในการขึ้นโรงขึ้นศาล  การต่อสู้คดี บางรายต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ไม่ว่าจะในระบบ หรือนอกระบบ หลายครอบครัวต้องล้มละลาย เพียงแค่ต้องการความเป็นธรรม จากข้อมูลทางสถิติ ปัจจุบันมีผู้ต้องขังถูกควบคุมตัว ระหว่างการสอบสวนและพิจารณาคดี มากกว่า 6 หมื่นคน ทั้งๆ ที่ตามกฎหมายถือว่า “ผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา”  ทั้งนี้ แม้ผู้ต้องหาทุกคนจะมีสิทธิได้รับการประกันตัวดังกล่าวเป็นการชั่วคราว เพื่อออกมารวบรวมพยานหลักฐานและพบทนายความ แต่เมื่อไม่มีทุนทรัพย์ จึงไม่ได้ใช้โอกาสนั้น ซึ่งเป็นโจทย์ของ “กองทุนยุติธรรม” ไม่อาจหยิบยื่นความยุติธรรมให้ถึงมือผู้ต้องคดีที่ยากจน ซึ่งเป็นที่มาของนโยบายของรัฐบาลนี้ ที่เห็นถึงความสำคัญของการอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำโดยการตรากฎหมายจัดตั้งกองทุนยุติธรรมให้เป็นนิติบุคคล สำหรับช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ให้ได้รับโอกาส สามารถเข้าถึงความเป็นธรรมได้ ตลอดกระบวนการในรูปแบบการช่วยเหลือด้านการเงิน เช่น ค่าใช้จ่ายในการปล่อยตัวชั่วคราว ค่าจ้างทนายความ  ค่าพาหนะ  ค่าที่พักค่าฤชาธรรมเนียมในทุกประเภทคดี และค่าใช่จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยไม่จำกัดวงเงิน ยิ่งกว่านั้น สามารถจะอนุมัติคำร้องนั้นๆ ได้ในจังหวัดของตนเอง โดยการรับคำร้องผ่าน “ศูนย์ยุติธรรมชุมชน” ซึ่งตั้ง ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ จังหวัด และยุติธรรมจังหวัด หรือที่ สำนักงานกองทุนยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม พูดโดยรวมว่าเป็น “เครือข่ายยุติธรรมชุมชน” ด้วยการยกระดับกลไกในการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของกองทุนยุติธรรมดังกล่าวของรัฐบาลนี้ นับตั้งแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ เมื่อเดือนเมษายน 2559สามารถลดความเหลื่อมล้ำ ช่วยให้พี่น้องประชาชนผู้มีรายได้น้อยซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาได้รับการประกันตัว เพื่อออกไปปกป้องความบริสุทธิ์ของตนตามกระบวนการยุติธรรม ไม่ต้องนอนคุก เหมือนที่ใครๆ ชอบกล่าวว่า “คนจนนอนคุก คนรวยนอนบ้าน”

ในระยะเวลา 1 ปี 8 เดือนที่ผ่านมา กองทุนยุติธรรมได้ใช้เงิน ราว 271 ล้านบาท ส่วนใหญ่ เป็นเรื่องการช่วยให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว คิดเป็นร้อยละ 90เทียบกับก่อนที่จะมีกฎหมายนี้ 12 ปีที่ผ่านมารวมกัน ใช้จ่ายเงินทำได้เพียง 742 ล้านบาท  ยังไม่ทั่วถึง นอกจากนี้ ในอนาคตประชาชนผู้มีรายได้น้อย จะต้องสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมได้ง่าย และสะดวกขึ้น ณ ที่บ้านของตนเองผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เพราะผมไม่อยากเห็น “คนจนร้องไห้ในคุก” ถ้าเขาไม่ได้ทำความผิด ถ้าผิดก็อีกเรื่องหนึ่ง หลายคนก็อาจจะพูดว่าเอ๊ะคนจนก็ยังไม่ได้อยู่เหมือนเดิม  ผมว่าต้องไปดูที่กระบวนการในการที่จะเข้าถึง ในการที่จะอำนวยความสะดวกให้พี่น้องที่ยากจนจริง ไม่ใช่ให้แต่เฉพาะพรรคพวก เพื่อนฝูง ที่กล่าวอ้างกันในเวลานี้  ก็ทำให้ชัดเจน โปร่งใส ทั่วถึง และเป็นธรรมแล้วกัน ทุกคนทราบดี

สุดท้ายนี้ ผมมีอีกเรื่องหนึ่ง ที่น่ายินดี สำหรับพี่น้องประชาชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “ปากท้อง” การทำมาหากิน การเข้าถึงแหล่งเงิน และโอกาสการประกอบอาชีพของทุกคน โดยเฉพาะระดับฐานรากของเศรษฐกิจ ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติ สถาบันการเงินประชาชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศที่สำคัญ ที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมให้ประชาชน สามารถจัดตั้งสถาบันการเงินเล็กๆ ในชุมชนของตนเองได้ในทุกๆ ตำบลทั่วประเทศ โดยกฎหมายฉบับนี้ จะส่งผลดีกับพี่น้องประชาชนมากกว่า 20-30 ล้านคน ทั้งในชนบทและในเมือง โดยเฉพาะผู้ที่เข้าไม่ถึงธนาคารพาณิชย์ อาจจะเพราะว่าไม่มีสาขาแบงก์อยู่ใกล้บ้าน หรืออยู่ในชุมชนจะฝาก จะถอนเงิน แต่ละครั้ง ต้องเดินทาง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมาก และเสียเวลาไปครึ่งค่อนวันหรือ อาจเป็นเพราะไม่มีเอกสาร ไม่มีประวัติเครดิต ที่สำคัญคือ ไม่มีหลักทรัพย์มาค้ำประกันผลที่ตามมาก็คือ พี่น้องเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในการทำมาหากิน ไม่สามารถเป็นเจ้าของกิจกการ  และ ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้สักที  ต้องหันไปพึ่ง “แหล่งเงินนอกระบบ” โดนขูดรีด เรียกดอกเบี้ยในอัตราที่สูง  20-30% ต่อเดือน สุดท้ายทำให้หลายรายต้องสูญเสียที่ดินอันเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษไปให้แก่นายทุนเงินกู้นอกระบบ  รวมทั้งโดนทวงหนี้อย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งรัฐบาลนี้ ได้ผลักดัน พ.ร.บ. การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 สามารถแก้ไขปัญหาได้ส่วนหนึ่ง

พ.ร.บ.ฉบับนี้จะอำนวยความสะดวกให้ท่านสามารถตั้งสถาบันการเงินเล็กๆ ในชุมชนของท่าน ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีพี่เลี้ยงคือ ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) คอยสนับสนุนในทุกๆ ด้าน อาทิ การถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้แก่กรรมการและผู้บริหาร  การสร้างความโปร่งใส  การพัฒนาระบบ เช่น สอนวิธีการลงบัญชีที่ถูกต้อง เป็นต้น และให้คำแนะนำเรื่องกฎหมายด้วย ต้องระมัดระวัง อย่าไปทำผิดกฎหมายให้เกิดปัญหาขึ้นอีก ซึ่งจะทำให้พี่น้องประชาชนสามารถออม - ถอน - โอน - กู้เงิน ได้สะดวก เข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่าย ในพื้นที่ชุมชนของตนโดยไม่เสี่ยงที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบ เหมือนในอดีต  ทำให้สามารถลืมตาอ้าปาก และเข้มแข็งได้ในที่สุด นี่คือการแก้ปัญหาทั้งระบบ

สถาบันการเงินเล็กๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่พี่น้องประชาชนในหลายพื้นที่ทำอยู่แล้ว ปัจจุบัน ทั้งประเทศ  มีรวมกันเกือบ 30,000 แห่ง ในรูปแบบกลุ่มสัจจะออมทรัพย์  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  หรือ สถาบันการเงินชุมชน เป็นต้น บางแห่งตั้งมา 10 ปี เก็บออมกันได้ 1 ล้าน 10 ล้าน 50 ล้าน  บางแห่งประสบความสำเร็จ ขยายไปถึง 100 ล้านก็มี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนนั้นๆ

ยกตัวอย่างที่จังหวัดตราดผมก็ได้พบกับพระอาจารย์ สุบิน ผู้ที่ได้นำพี่น้องประชาชน เก็บออมวันละเล็ก วันละน้อย 1 บาท 5 บาท 10 บาท จนกระทั่งวันนี้ จากเม็ดเงินเล็กๆ ที่ทุกคนช่วยกันเก็บออม เครือข่ายการออมของท่านในจังหวัดตราด มีเงินออมถึง 2,700 ล้านบาท วันละ 5 บาท 10 บาท 20 บาทก็ได้ และเงินออมก้อนนี้ 2,700 ล้านบาท  สามารถช่วยปลดหนี้นอกระบบ อันนี้ผมหมายความถึงทุกคนอาจจะเก็บของตนเองก็ได้ทุกวันไป  ไม่ว่าจะพ่อแม่หรือลูกหลานก็เก็บได้  เหมือนกับธนาคารในบ้านก็ได้  ก็ไปเก็บในกองทุนชุมชนเช่นนี้  ก็จะสามารถช่วยปลดหนี้นอกระบบหรือวางอนาคตของตัวเองได้  เป็นทุนในการทำการเกษตร ทำธุรกิจ และนำกำไรมาแบ่งปันจัดสรรเป็นสวัสดิการในชุมชนให้กับสมาชิก แต่สิ่งที่ทุกคนรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ อยากได้จากรัฐบาล ทุกรัฐบาลที่ผ่านมา แต่ไม่มีใครทำให้คือกฎหมายที่จะมารองรับสิ่งที่พี่น้องประชาชนทำอยู่ ให้ความเป็น “นิติบุคคล” เพื่อสถาบันการเงินเหล่านี้ จะได้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน

ผมหวังว่ากฎหมายฉบับนี้ที่รัฐบาลนี้ทำจะผ่านการพิจารณาของสนช. ภายในปีนี้ และเมื่อผ่านแล้วเราจะเปิดให้กลุ่มการออมของพี่น้องประชาชน สมัครยกระดับเป็นสถาบันการเงินประชาชนต่อไป ด้วยความสมัครใจ ผมขอย้ำว่า โดยสมัครใจ ไม่มีการบังคับ นอกจากนี้ เมื่อเข้าสู่ “วงจร” หรือ “เครือข่าย” การเงิน - การธนาคาร - สถาบันการเงินของประเทศแล้ว ก็จะเป็นการเติมเต็ม โดยท่านจะยังมีอิสระในการบริหารจัดการ รับเงินฝาก ปล่อยกู้ ด้วยกฎเกณฑ์ของชุมชนของท่านเช่นเดิมต้องช่วยกันดูแล ตรงนี้ผมขอย้ำเช่นกันว่าทุกชุมชนจะยังสามารถกำหนดเกณฑ์ต่างๆ ด้วยตนเอง เพราะทุกพื้นที่ มีลักษณะที่ต่างกัน ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ต่างกัน เราต้องให้ทุกคนสามารถเลือกแนวทางที่เหมาะกับตนเอง

ทั้งนี้ เมื่อกฎหมายได้ประกาศใช้แล้ว รัฐบาลจะทยอยอนุญาตให้กับชุมชนที่พร้อมและสนใจ ประมาณตำบลละแห่งไปก่อน หากเป็นตำบลใหญ่ อาจจะมีมากกว่านั้นก็ได้ซึ่งในระยะยาว จะทำให้เรามี “โครงข่ายสถาบันการเงินประชาชน” ตามกฎหมายนี้ อย่างน้อย 7,000 แห่ง ทั่วไทยที่เป็นของพี่น้องประชาชน ดำเนินการโดยพี่น้องประชาชน และเพื่อพี่น้องประชาชน ซึ่งจะนำมาซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการ“ระเบิดจากภายใน” นำไปสู่ความพอเพียง พึ่งตนเอง ตามพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ให้สืบสานและต่อยอดประยุกต์ขยายออกไป

ขอบคุณครับ ขอให้ “ทุกคน ทุกครอบครัว” มีความสุข ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และอย่าลืมชวนกันแต่งชุดไทย ชุดสุภาพไปร่วมงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว" กันมากๆ นะครับ สวัสดีครับ







ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม