อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวที่ 43/2561ศธ.เตรียม ปฏิรูปการจัดการศึกษา สำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
ที่ ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ได้เห็นชอบ แผนการจัดศึกษาสำหรับคนพิการ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564) รวมทั้งแนวทาง การปฏิรูปการจัดการศึกษา สำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และเตรียมยกฐานะสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สพฐ. ที่ดูแลการจัดการ ศึกษาสำหรับคนพิการ ถือเป็นการปฏิรูป การจัดการศึกษา สำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งระบบให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่เกิดจนตลอดชีวิต
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ห้องราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ, นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ครั้งที่ 1/2561 โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วมประชุม อาทิ นายชัยพฤษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายพะโยม ชิณวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยมีผลการประชุมที่สำคัญโดยสรุป ดังนี้
● เห็นชอบ แผนการจัดศึกษาสำหรับคนพิการ ฉบับที่ 3
นายชัยพฤษ์ เสรีรักษ์ เปิดเผยผลการประชุมครั้งนี้ว่า ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบในหลักการ "แผนการจัดศึกษาสำหรับคนพิการ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564)" ซึ่งเป็นแผนที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แต่แผนดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงอีกครั้งในระยะเวลาใกล้นี้ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้คนพิการได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล และมีทักษะการดำรงชีวิต สามารถประกอบอาชีพพึ่งตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ บนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์หลัก คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาพิเศษ ทุกระดับ ทุกระบบ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารรองรับการจัดการศึกษาระบบดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริม สนับสนุน การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ที่มุ่งยกระดับมาตรฐานการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เร่งผลิต พัฒนา และจัดระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ
ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาระบบงบประมาณ และทรัพยากรทางการศึกษาสำหรับคนพิการ
ยุทธศาสตร์ 8 พัฒนาระบบบริหารจัดการแบบองค์รวมเชิงบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
● เห็นชอบแนวทางการปฏิรูปการจัดการศึกษา "สำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ"
ที่ประชุมยังได้หารือถึงการปฏิรูปการจัดการศึกษาพิเศษ ซึ่งมี 3 รูปแบบ คือ 1) การศึกษาสำหรับคนพิการ 2) การศึกษาสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษ 3) การศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส ซึ่งจะต้องมีคำนิยามให้ชัดเจน ทั้งนี้มีข้อเสนอใช้คำว่า “การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ” และเห็นว่าควรใช้โอกาสในช่วงนี้ซึ่งเป็นช่วงที่อยู่ระหว่างการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาสำหรับ 3 กลุ่มนี้ โดยจะเน้นเป็นพิเศษในกลุ่มคนพิการ และกลุ่มผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ส่วนกลุ่มด้อยโอกาสจะเป็นอีกกลุ่มแยกออกไป
ที่ประชุมจึงมีมติให้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษขึ้น เพื่อดูแลคนพิการ และคนที่มีความสามารถพิเศษ ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เกิดจนตลอดชีวิต โดยมีเลขาธิการ สกศ. เป็นประธาน มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาพิเศษ และผู้ที่มีความสามารถพิเศษในหลายด้าน เป็นคณะกรรมการ ซึ่งจะดูแลทั้งในเรื่องของการทำงาน งานวิชาการ งานบริหารงานบุคคล และงบประมาณ เป็นการทำงานเชิงบูรณาการกับทุกหน่วยงานทุกสังกัด รวมทั้งพิจารณาโครงสร้างการบริหารจัดการในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความต้องการจำเป็นพิเศษด้วย
โดยจะแบ่งงานเป็น 2 ระยะ คือ ภายใน 2 เดือนแรก ต้องได้ขอสรุปเบื้องต้นเพื่อนำเสนอคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ และระยะที่ 2 คือ การจัดทำรายละเอียดและข้อเสนอแนะ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาต่อไป
● ยกฐานะ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เป็นหน่วยงานเทียบเท่ากรม หรือองค์กรอิสระ
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า ปัจจุบันการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการของกระทรวงศึกษาธิการ มีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ คือ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แต่การจัดการศึกษาพิเศษต้องดูแลครอบคลุมทุกหน่วยงาน ซึ่งต้องมีการตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญ ๆ เช่น การของบประมาณ การประสานงาน หรือการกำหนดระบบโครงสร้าง
ที่ประชุมจึงเห็นว่าจำเป็นต้องมีการวางแผนการจัดการศึกษาพิเศษให้สอดคล้องและสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งควรจะยกฐานะสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สพฐ. เป็นหน่วยงานเทียบเท่ากรม (ในลักษณะเดียวกับหน่วยงานบางหน่วย เช่น กศน. หรือ สช. สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) หรือเป็นองค์การมหาชน โดยระหว่างนี้ให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นฝ่ายประสานงานส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เป็นกฎหมายและมีโครงสร้างที่ชัดเจน และเสนอให้คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาได้พิจารณาเห็นชอบต่อไป
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวที่ 43/2561ศธ.เตรียม ปฏิรูปการจัดการศึกษา สำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
ที่ ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ได้เห็นชอบ แผนการจัดศึกษาสำหรับคนพิการ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564) รวมทั้งแนวทาง การปฏิรูปการจัดการศึกษา สำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และเตรียมยกฐานะสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สพฐ. ที่ดูแลการจัดการ ศึกษาสำหรับคนพิการ ถือเป็นการปฏิรูป การจัดการศึกษา สำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งระบบให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่เกิดจนตลอดชีวิต
● เห็นชอบ แผนการจัดศึกษาสำหรับคนพิการ ฉบับที่ 3
นายชัยพฤษ์ เสรีรักษ์ เปิดเผยผลการประชุมครั้งนี้ว่า ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบในหลักการ "แผนการจัดศึกษาสำหรับคนพิการ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564)" ซึ่งเป็นแผนที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แต่แผนดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงอีกครั้งในระยะเวลาใกล้นี้ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้คนพิการได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล และมีทักษะการดำรงชีวิต สามารถประกอบอาชีพพึ่งตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ บนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์หลัก คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาพิเศษ ทุกระดับ ทุกระบบ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารรองรับการจัดการศึกษาระบบดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริม สนับสนุน การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ที่มุ่งยกระดับมาตรฐานการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เร่งผลิต พัฒนา และจัดระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ
ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาระบบงบประมาณ และทรัพยากรทางการศึกษาสำหรับคนพิการ
ยุทธศาสตร์ 8 พัฒนาระบบบริหารจัดการแบบองค์รวมเชิงบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาพิเศษ ทุกระดับ ทุกระบบ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารรองรับการจัดการศึกษาระบบดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริม สนับสนุน การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ที่มุ่งยกระดับมาตรฐานการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เร่งผลิต พัฒนา และจัดระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ
ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาระบบงบประมาณ และทรัพยากรทางการศึกษาสำหรับคนพิการ
ยุทธศาสตร์ 8 พัฒนาระบบบริหารจัดการแบบองค์รวมเชิงบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ที่ประชุมยังได้หารือถึงการปฏิรูปการจัดการศึกษาพิเศษ ซึ่งมี 3 รูปแบบ คือ 1) การศึกษาสำหรับคนพิการ 2) การศึกษาสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษ 3) การศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส ซึ่งจะต้องมีคำนิยามให้ชัดเจน ทั้งนี้มีข้อเสนอใช้คำว่า “การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ” และเห็นว่าควรใช้โอกาสในช่วงนี้ซึ่งเป็นช่วงที่อยู่ระหว่างการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาสำหรับ 3 กลุ่มนี้ โดยจะเน้นเป็นพิเศษในกลุ่มคนพิการ และกลุ่มผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ส่วนกลุ่มด้อยโอกาสจะเป็นอีกกลุ่มแยกออกไป
ที่ประชุมจึงมีมติให้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษขึ้น เพื่อดูแลคนพิการ และคนที่มีความสามารถพิเศษ ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เกิดจนตลอดชีวิต โดยมีเลขาธิการ สกศ. เป็นประธาน มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาพิเศษ และผู้ที่มีความสามารถพิเศษในหลายด้าน เป็นคณะกรรมการ ซึ่งจะดูแลทั้งในเรื่องของการทำงาน งานวิชาการ งานบริหารงานบุคคล และงบประมาณ เป็นการทำงานเชิงบูรณาการกับทุกหน่วยงานทุกสังกัด รวมทั้งพิจารณาโครงสร้างการบริหารจัดการในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความต้องการจำเป็นพิเศษด้วย
โดยจะแบ่งงานเป็น 2 ระยะ คือ ภายใน 2 เดือนแรก ต้องได้ขอสรุปเบื้องต้นเพื่อนำเสนอคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ และระยะที่ 2 คือ การจัดทำรายละเอียดและข้อเสนอแนะ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาต่อไป
● ยกฐานะ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เป็นหน่วยงานเทียบเท่ากรม หรือองค์กรอิสระ
ที่ประชุมจึงเห็นว่าจำเป็นต้องมีการวางแผนการจัดการศึกษาพิเศษให้สอดคล้องและสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งควรจะยกฐานะสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สพฐ. เป็นหน่วยงานเทียบเท่ากรม (ในลักษณะเดียวกับหน่วยงานบางหน่วย เช่น กศน. หรือ สช. สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) หรือเป็นองค์การมหาชน โดยระหว่างนี้ให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นฝ่ายประสานงานส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เป็นกฎหมายและมีโครงสร้างที่ชัดเจน และเสนอให้คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาได้พิจารณาเห็นชอบต่อไป
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
www.tuewsob.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น