หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

"การพัฒนาคุณภาพการศึกษา มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เป็นรูปธรรม"

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร





 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

ข่าวที่ 48/2561รมช.ศธ.(พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) บรรยาย "การพัฒนาคุณภาพการศึกษา มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เป็นรูปธรรม" ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

จังหวัดปัตตานี - สรุปการบรรยายของ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในพิธีเปิดการพัฒนาบุคลากรหลักสูตร "การพัฒนาคุณภาพการศึกษา มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เป็นรูปธรรม" เมื่อวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า ทุกท่านที่ได้เข้าร่วมประชุมก็ด้วยความตั้งใจอย่างเป็นพิเศษ แม้จะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งเป็นวันที่ควรจะได้พักผ่อนจากการทำงานในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่การที่ได้ตั้งใจเสียสละมา จึงมั่นใจที่จะให้เวลาสำคัญนี้เป็นการเริ่มต้นที่ดี กับการที่จะก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่งของพัฒนาคุณภาพการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ในห้วง 3 ปีที่ผ่านมาของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศทุกมิติอย่างยิ่งยวด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ความมั่นคง สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ซึ่งการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นรากฐาน เป็นพื้นฐานอันสำคัญต่อการที่จะพัฒนาในมิติต่าง ๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในห้วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้มีโอกาสพบกับทุกท่านมาหลายโอกาส หลายครั้งหลายภารกิจ ได้พบกันในวันนี้เป็นส่วนใหญ่ที่ได้ร่วมงานกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในการทำทุกอย่างให้เกิดประโยชน์กับเด็กนักเรียน เยาวชน และประชาชน ให้เกิดการพัฒนาในเรื่องคุณภาพการศึกษา และมีส่วนช่วยส่งเสริมในการนำสันติสุขกลับคืนมาอย่างยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
พอจะเท้าความได้บ้างว่า ในมิติการพัฒนาต่าง ๆ นั้น  "มิติเศรษฐกิจ" ก็มีความสำคัญ โดยรัฐบาลได้ประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มี 2 พื้นที่ คือ จังหวัดนราธิวาส อำเภอสุไหงโก-ลก และจังหวัดสงขลา อำเภอสะเดา ก็เป็นหลักสำคัญเรื่องหนึ่งที่เราทำงานร่วมกันว่าจะพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับมิติดังกล่าว เพราะมูลค่าการค้าการลงทุนในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สูงเกือบครึ่งของมูลค่าการค้าการลงทุนในบริเวณรอบชายแดนทั้งหมด ไม่นับพื้นที่ EEC  ต่อมาได้ให้ความสำคัญเพิ่มเติมขึ้น เมื่อปี 2559 ได้ประกาศอนุมัติโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน พื้นที่ 3 จังหวัด เริ่มต้นจากอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี, อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส, อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และจะมีการพัฒนาตามระยะให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ ด้วยศักยภาพและบริบทของพื้นที่ต่าง ๆ

ในด้านการศึกษา ได้ร่วมคิดกับคณะทำงาน ทั้งกระทรวงศึกษาธิการในส่วนกลาง โดยเฉพาะที่สำคัญ ผู้บริหารในพื้นที่ ในการที่จะวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ และสอดคล้องกับการทำงานด้านอื่น ๆ เพราะ "คน" เป็นทรัพยากรของชาติที่สำคัญที่สุด หากการผลิตและการพัฒนาคนเป็นไปอย่างสอดคล้องตามการวางแผน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของยุทธศาสตร์ชาติ หรือแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  จึงมั่นใจอย่างที่สุดเหมือนทุกท่านว่า จะทำให้การเจริญเติบโตและความก้าวหน้า รวมทั้งการแก้ปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพ พาให้ประเทศมีความเจริญ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามที่ทุกท่านมีความประสงค์
ปีที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้เพิ่มความเข้มในการที่จะทำงานในพื้นที่ตลอดมา ได้ร่างแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งหลายท่านได้รับทราบรับฟังเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560 ที่ปัตตานี ได้แถลงยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่พัฒนาจากการทำงานจากห้วง ๆ ต้นปี  2558, 2559 พอมาตกผลึกที่ปี 2560 ก็ได้ยุทธศาสตร์การทำงานซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนสภาพัฒน์ สอดคล้องกับบริบททุกเรื่องที่เป็นศักยภาพของพื้นที่ ก็ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ออกเป็น 6 ด้าน  ไม่ว่าจะเป็น
1) ด้านความมั่นคง การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในบริบทของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 3) การเสริมสร้างสมรรถนะของการผลิตและพัฒนาคน เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน จบการศึกษาแล้วมีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ 4) พัฒนาคุณภาพชีวิต การที่จะสร้างโอกาส สร้างความเสมอภาค และสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาให้เกิดขึ้น 5) การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6) การพัฒนาการบริหารจัดการ
ทั้ง 6 ด้าน เราขับเคลื่อนมาแล้ว 1 ปีเต็ม ด้วยกลไกการทำงานของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ด้วยการทำงานอย่างเข้มแข็งของผู้บริหาร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ประธานอาชีวศึกษาจังหวัด ผู้บริหารสถานศึกษาจาก กศน. ผู้บริหารการศึกษาเอกชน และมหาวิทยาลัย ผ่านมา 1 ปี ได้ประเมินมาโดยตลอด จากการมาเยี่ยมเยียนทำงานร่วมกัน จากการประชุม จากการติดตาม มีสิ่งที่น่าภูมิใจมากมาย เช่น โครงการที่สร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนและเยาวชน ก็ประสบความสำเร็จหลายโครงการ การสำรวจความพึงพอใจของพี่น้องประชาชนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของกระทรวงศึกษาธิการ ของรัฐบาล เมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 พบว่ามีความพึงพอใจมากถึงปานกลาง 85% จากกลุ่มผู้ให้ข้อคิดเห็น 1,500 กว่าคนในพื้นที่ทั้ง 5 จังหวัด หลากหลายอาชีพ เพศ วัย ผู้ชาย ผู้หญิง รายได้ การศึกษา และเมื่อเดือนตุลาคม 2560 ได้สำรวจซ้ำอีกครั้ง เพิ่มขึ้นมาเป็น 90% เป็นเรื่องหนึ่งที่เป็นกำลังใจ เป็นความภาคภูมิใจ เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความร่วมมือ หรือความสำคัญที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ จึงคิดว่าสิ่งเหล่านี้คงเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำงานในห้วงต่อไป
ปีงบประมาณ 2561 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 หรือจะเรียกรวมเป็นปีการศึกษา 2561 ที่จะถึงนี้ ได้ระดมความคิดจากผู้บริหาร จากคณะทำงาน จากการทำงานอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด คิดว่าปี 2561 จะเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่ง ที่อยากจะใช้คำว่ามีเจตนารมณ์ร่วมกันในการที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม มีคำสำคัญอยู่ 3 คำ "คุณภาพการศึกษา" ตามหลักวิชาการหมายถึงคุณภาพ ครู นักเรียน หลักสูตร การเรียนการสอน สถานศึกษา องค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งสามารถคิดริเริ่มให้ครอบคลุมทั่วถึงได้ เรื่องของคุณภาพ จะต้องพัฒนามุ่งเน้นให้เกิด "ผลสัมฤทธิ์" มีความสำคัญเป็น "รูปธรรม"
จึงมั่นใจว่าหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นในคราวนี้ เป็นโอกาสแรกที่กำกับดูแล อำนวยการ และให้การสนับสนุน โดยสำนักงานปลัดกระทรวง และได้ประสานมอบหมายให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการกำกับเอง จะมีคำอธิบายในเบื้องต้น แต่จะเสริมเพิ่มเติมด้วยความคิด สติปัญญา และความตั้งอกตั้งใจของทุกท่าน ในการที่จะผลิตและพัฒนางานให้เกิดขึ้น ให้ตรงกับเจตนารมณ์ร่วมกัน
ขอเท้าความเดิมสักเล็กน้อยเพื่อเป็นพื้นฐานการทำงาน ในห้วง 2 วันนี้ และเป็นขั้นหนึ่งก่อนที่จะฟังการบรรยายถ่ายทอดจากวิทยากรพิเศษ จะเรียกว่าพิเศษสุด ทางอาจารย์ตวง อาจารย์กนก สนช. ทุกท่านที่ได้กรุณามาในครั้งนี้ และวิทยากรที่จะกรุณา ทั้งมหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี งานที่เราทำอยู่ที่ผ่านมามีความก้าวหน้าโดยลำดับ จะขอเรียงถึงองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการดังนี้ มีงานที่ดำเนินการไปแล้ว เดินหน้าได้ดี ยกตัวอย่างเท่านั้น ความจริงถ้าจะกล่าวจะใช้เวลามากเหมือนกัน ขอใช้เวลาในห้วงของพิธีเปิด

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณีในท้องที่ โดยเฉพาะมิติด้านศาสนา เกี่ยวข้องกับศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด ที่เรียกว่าโรงเรียนตาดีกา มีอยู่ 2,013 แห่ง สำรวจล่าสุด มีการเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง ทำงานกับสถาบันศึกษาปอเนาะในพื้นที่ ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของพี่น้องประชาชนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของพื้นที่ ในห้วงที่ผ่านมาเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจที่ได้ทำงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษา สถาบันการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในการที่จะระดมความคิด ด้วยความพยายามในการที่จะทำให้หลักสูตรเป็นมาตรฐานเดียวกัน ความจริงมีมาตรฐานทั้งนั้น แต่การเป็นมาตรฐานเดียวกันนั้น หมายถึงเรื่องที่จะมีผลดีเกิดขึ้นตามมา เช่น การเทียบเคียง โอน หรือการเรียนต่อ หรือการที่จะเป็นมาตรฐานอุดหนุนการศึกษา หรือพัฒนาในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้น ในโรงเรียนตาดีกา หรือศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด เมื่อตุลาคม 2559 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรอิสลามตอนต้น 6 ปี ซึ่งขณะนี้ถือว่าการขับเคลื่อนได้ค่อย ๆ คืบหน้าไปเป็นลำดับ แต่คิดว่าช้าไปกับความเป็นมาตรฐาน กับการที่จะให้ทางรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนได้อย่างเต็มระบบ เต็มกำลัง มูลนิธิตาดีกาได้ส่งโครงการมาให้ ในฐานะอีกตำแหน่งหนึ่งคือการเป็นหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ในการที่จะพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนตาดีกาเป็นจำนวนเงินมาก เป็นสิ่งที่สะท้อนให้แสดงเห็นว่ามูลนิธิฯ ก็ประสงค์ที่จะมีการพัฒนาให้เกิดขึ้น
ปัจจุบัน จึงมีการตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนเพื่อเป็นการเร่งให้การทำงานเร็วขึ้นกว่าปกติ ได้เรียนเชิญผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบให้มาเป็นผู้ช่วยในการทำงานด้านการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ท่านอดินันท์ ปากบารา เป็นประธานคณะทำงานร่วมกับทีมงานต่าง ๆ ที่ได้ตั้งขึ้นในการที่จะขับเคลื่อนในเรื่องนี้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งจะรวมหมายถึง หลักสูตรที่จะใช้ในสถาบันศึกษาปอเนาะ ซึ่งขณะนี้ผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้ประกาศใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 สำหรับหลักสูตรประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย เพื่อความเข้าใจในการทำงาน ประถมเรียน 4 ปี มัธยมต้นเรียน 3 ปี มัธยมปลายเรียน 3 ปี รวม 10 ปี เรียกหลักสูตร 4-3-3 ต้องเร่งรัดขับเคลื่อนไปด้วยกัน เมื่อมี กศน.พาครูเข้าไปเป็นผู้ช่วยเหลือ โต๊ะครู บาบอ ในสถานศึกษาต่าง ๆ ขณะนี้มีการพัฒนาในเรื่องความก้าวหน้ามากขึ้นเป็นลำดับ ได้มีการประชุมครู กศน. ที่ประจำในสถาบันศึกษาปอเนาะบ่อย ๆ ครูตั้งใจมากทั้ง 396 คน ในการที่จะช่วยเหลือดูแลในสถาบันศึกษาปอเนาะ ตลอดจนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด สช.ได้ใช้ความมุ่งมั่นตั้งใจ สช.จังหวัด สช.อำเภอ แม้ว่าบางแห่งบางที่ก็ต้องมีความพยายามที่จะพัฒนาเหมือนเช่นหลักสูตรนี้ ที่จะมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมให้ได้อย่างที่พวกเราตั้งใจ นอกเหนือจากนั้นก็จะมีโรงเรียนเอกชนที่มีโครงการต่าง ๆ ที่ทางรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการให้การสนับสนุน ในเรื่องของการเรียนด้านวิทยาศาสตร์ การเป็นต้นแบบของการเรียนการสอนต่าง ๆ กรณีที่ผ่านมาเมื่อสักครู่ สัมผัสได้ว่าโรงเรียนสาธิตที่ ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ได้ดำเนินการ และอธิบายให้ฟัง จะเป็นความหวังของการพัฒนาการศึกษาได้ในพื้นที่
สำนักงาน กศน. เป็นหน่วยงานที่จะมีบทบาทอย่างสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหน่วยงานอื่น นอกจากการเรียนในระบบแล้ว การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นบทบาทของ กศน.อย่างเข้มแข็ง สังคมแห่งการเรียนรู้ก็อยู่ในบทบาทภารกิจหลักของ กศน. กศน.จังหวัด กศน.อำเภอ ครู กศน. ครูอาสา กศน.ตำบล 4 ศูนย์หลักที่มี ศูนย์เรียนรู้ตลอดชีวิต ศูนย์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์ประชาธิปไตย ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ท่านเข้มแข็งทั่วถึงหรือยัง โอกาสนี้เป็นโอกาสสำคัญที่ท่านจะต้องปรึกษาหารือกัน ว่าทำอย่างไร สิ่งที่เราได้ทำไว้แล้ว มีมาตรฐานค่อนข้างดีแล้วจะเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างไร ในห้วงต่อไป ให้เป็นรูปธรรม มีงานเพิ่มเติมให้ท่านอีก เมื่อวานนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายโครงการพัฒนาประเทศไทยตามโครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ มีทุกมุม เพราะว่าเราเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนให้มีความรู้ เป็นคนดี คนเก่ง มีอาชีพ มีความสุข กศน.ก็ต้องมีงานเพิ่ม
โครงการไทยนิยม ยั่งยืน มี 10 เรื่องต้องทำหมด
  • "สัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง" เน้นสร้างความสามัคคีปรองดอง ให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ยึดมั่นในสถาบันชาติ พระมหากษัตริย์ รู้รักสามัคคี
  • "คนไทยไม่ทิ้งกัน" การที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การนำเด็กนักเรียนหรือเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษา เด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน จำนวน 45,000 คน เพิ่งได้มาครึ่งเดียว เปิดเทอม ต้องเชิญชวนรณรงค์ ร่วมกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน ตำบล อำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ได้ขอความร่วมมือ ปีหน้าจะทำอย่างไร มาให้ครบ
  • "ชุมชนอยู่ดีมีสุข" มุ่งพัฒนาอาชีพ เสริมรายได้ให้ประชาชน
  • "วิถีไทยวิถีพอเพียง" ส่งเสริมการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใช้ในการดำเนินชีวิตทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย ซึ่งซึมซับในการทำงานของเราอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
  • "รู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย" เน้นให้ประชาชนมีความรู้ในสิทธิ หน้าที่ และการเป็นพลเมืองที่ดี
  • "รู้กลไกการบริหารราชการ" ที่ต้องการให้ประชาชนเข้าใจการบริหารราชการทุกระดับ เพื่อมุ่งสร้างประโยชน์ให้ประชาชน
  • "รู้จักประชาธิปไตย ไทยนิยม" ให้ประชาชนเข้าใจหลักธรรมาภิบาล รู้หลักการทำงาน กลไกของภาครัฐที่จะสนับสนุนให้เกิดขึ้น
  • "รู้เท่าทันเทคโนโลยี" ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องผ่านโครงการสำคัญ เช่น อินเตอร์เน็ตหมู่บ้าน
  • "ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด" บูรณาการการทำงานทุกหน่วยงาน ที่จะต้องเร่งรัดช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างครบวงจร
  • "รู้งานตามภารกิจของทุกหน่วยงาน" คือกำหนดกิจกรรมของส่วนราชการที่ลงไปปฏิบัติในพื้นที่
ห้วงต่อไปจะมีการประชุมของจังหวัด อำเภอ คณะทำงานในระดับตำบล กศน.เป็นคณะทำงาน 7-12 คน เพราะเป็นหน้าที่โดยตรง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะมีปริมาณผู้ที่จะต้องดูแลมาก ทั้งประถม มัธยม ในระบบ มีงานที่พัฒนาไปมาก นับเรื่องไม่หมด DLTV DLIT เรียกชื่อย่อหมด มั่นใจว่าในห้องนี้แปลได้หมด การพัฒนาครูระบบ TEPE พัฒนาครู พัฒนานักเรียน โรงเรียนขยายโอกาส สร้างโอกาสนักเรียน ทั้งกีฬา ดนตรี ศิลปวัฒนธรรม อาชีพ มีครบหมด อันไหนไม่ครบจะเพิ่มเติมได้ต้องเป็นการพัฒนาที่เห็นผลได้ หวังผลเร็ว เพราะเราใช้เวลามา 3 ปีแล้ว ปีนี้ปีที่ 4 ที่ทำงานร่วมกันมาตามแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน จะเกิดโครงการเพิ่มเติมอีก โรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อย แล้วก็นับฐานจากพ่อแม่ผู้ปกครองรายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาท ตามบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ร่วมเป็นกรรมการพิจารณา สมัครมาขณะนี้ 5,000 กว่าคน อาชีวะ ทั้ง ปวช. ปวส. มีประมาณ 800 คน รัฐให้การสนับสนุนเป็นนักเรียนประจำ ซึ่งเป็นดำริของนายกรัฐมนตรีเมื่อการประชุม ครม.นอกสถานที่อย่างเป็นทางการ ที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการสร้างโอกาสนี้ให้กับผู้ที่มีรายได้น้อย ขณะนี้เตรียมการแล้ว ทุกอย่างไม่มีปัญหา มีความพร้อมมากขึ้นโดยลำดับ เป็นนักเรียนประจำพักนอน เป็นนักเรียนที่ให้อาหาร เสื้อผ้า ดูแลหมด เพื่อที่จะให้เรียนหนังสือตามที่อยากจะเป็น และก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลมอบให้ เราภูมิใจ ปีใหม่ที่ผ่านมา 1 มกราคม 2561 เรื่องนี้เป็นของขวัญปีใหม่ของคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)  ทำงานเข้มข้นขึ้นโดยลำดับ จากสัดส่วนผู้เรียนอาชีวะกับสามัญ ที่ค่อนข้างต่ำ 3 ปีที่ผ่านมา ก็เพิ่มทีละเล็กละน้อย ปีนี้ สอศ.ตั้งเป้าและมั่นใจว่าทำได้ ที่จะเพิ่มสัดส่วนของนักเรียนให้เป็น 20 ให้ได้ จึงได้เชิญรองเลขาธิการ กอศ. เป็นผู้อำนวยศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือเรียกว่า "กระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า)" ถ้านึกลงไปอีกชั้นหนึ่ง นี้คือการวางงานที่สำคัญที่สุดในปีนี้ที่จะให้กระทรวงศึกษาเพื่อมีอาชีพ มีงานทำ มีทักษะ เกิดขึ้นในพื้นที่ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ให้เป็นรูปธรรมให้ได้ ร่วมกับพี่น้อง เพื่อนผู้ร่วมงาน สช. กศน. สพฐ. ที่ได้กล่าวไปแล้ว

กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ด้วยการตั้งศูนย์การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจุบันมี 2 ศูนย์ ที่ EEC ตั้งมาก่อน เมื่อกลางปี 2560 ซึ่งเห็นแล้วว่าได้ผล จึงนำแบบนี้มาทำที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเปิดทำงานแล้วเมื่อเดือนตุลาคม 2560 ศูนย์นี้จะมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลความต้องการร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ แรงงานจังหวัด ทาง BOI ทางโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่จะสำรวจ Demand Side  หรือความต้องการของตลาดงาน อาชีพอะไร ทักษะระดับใด เวลาไหนก็จะเป็นลักษณะของการดูว่าจะปรับให้สถานศึกษาด้านอาชีวะทั้ง 18 แห่งในพื้นที่ ปรับแผนการเรียนการสอนอย่างไรให้สอดคล้อง อันนี้เป็นเรื่องที่จะก้าวหน้าและก้าวหน้ามากขึ้นโดยลำดับ มีศูนย์รวมอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี และมีศูนย์ระดับจังหวัด และสถานศึกษาก็จะเป็นส่วนสาขาย่อยกับการที่จะอำนวยการผลิตและพัฒนาคนทั้งในระบบและประชาชน ที่เป็นอาชีพระยะสั้นด้วย อันนี้ก็เป็นเรื่องที่พัฒนาขึ้นมาและก็ก้าวหน้าขึ้น ใช้ระบบฐานข้อมูลที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยบูรพา เราเรียกชื่อ เข้าใจง่าย Big Data System ที่จะเชื่อมโยงถึงสถานประกอบการในการที่จะให้ข้อมูลอย่างทันสมัยและเข้าศูนย์รวม และก็จะเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนการผลิตและพัฒนาต่อไป เมื่อเร็ว นี้ ได้มีความริเริ่มร่วมกันเริ่มต้น อาจเรียกว่าต้นแบบที่จังหวัดปัตตานี ที่มีศูนย์บริหารการลงทุน และการประกอบอาชีพทางธุรกิจ อย่างศูนย์รวมที่ปรึกษา คล้ายๆ One Stop Service ในขั้นต้น แล้วเชื่อมกับจังหวัดที่มี One Stop Service อยู่แล้ว เช่นติดต่อประสานงานกับที่ดิน แรงงาน อุตสาหกรรม ในขั้นต้น เพื่อความสะดวกที่ศูนย์นี้เพิ่มเติมขึ้นมา และทราบว่ามีผู้สนใจเข้ามาลงทุน มี 2-3 รายขณะนี้ และมีข่าวว่าทางต่างประเทศก็มีความสนใจ อันนี้จะส่งผลดีต่อการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะ เพื่อการแข่งขัน เพื่อมีอาชีพ มีงานทำทั้งสิ้น
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)  ก็ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ให้ความร่วมมือสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มอ.ปัตตานี วิทยาลัยพลศึกษา วิทยาลัยชุมชน ฯลฯส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนขยายโอกาส เป็นพี่เลี้ยงตามโครงการสถาบันอุดมศึกษาพี่เลี้ยง ช่วยเหลือทางด้านวิชาการ ช่วยเหลือทางด้านให้คำแนะนำ ช่วยเหลือจัดคน จัดอาจารย์มาทำงานร่วมกัน ถือว่ากระทรวงศึกษาธิการดำเนินการโดยภาพรวมของทุกองค์กรหลัก อย่างบูรณาการ อย่างเข้มแข็ง ในห้วงที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ ได้ร่วมกันกับคณะทำงาน ตลอดจนผู้บริหารในการที่จะพัฒนาก้าวหน้าขึ้นอีกขั้นหนึ่ง ในเมื่อทำงานมาแล้ว มันต้องมีวิธีคิดวิธีทำที่จะให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรม เกิดผลสัมฤทธิ์ให้มากขึ้นให้ได้ ในช่วงที่เรากำลังมีความพยายามอย่างยิ่งยวดกันขณะนี้ เพื่อที่จะเป็นรากฐานเป็นพื้นฐานอย่างยั่งยืนไว้ในโอกาสต่อไป ก็ได้ปรึกษา โดยเฉพาะท่านปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นายการุณ สกุลประดิษฐ์) ในการที่จะจัดตั้งศูนย์พัฒนาบุคลากร กระทรวงศึกษาธิการ  ก็เริ่มที่นี่ด้วยเหมือนกัน ที่จริงก็ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกใหม่ การพัฒนาบุคลากรเป็นงานที่กระทรวง ทบวง กรม ภาครัฐทำทั้งสิ้น แต่เราใช้บทเรียนจากการทำงานที่ผ่านมา มาผลิตหลักสูตรให้เกิดขึ้น และก็ไม่ได้สิ้นเปลืองอะไรมาก สิ่งที่ต้องใช้มากคือความเสียสละ ความทุ่มเท ความตั้งใจ ของพี่น้องผู้บริหารเรานั่นเอง หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเริ่มต้น เรียกหลักสูตรว่า หลักสูตรพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม ชื่อหลักสูตรอาจดูยาวหน่อย แต่ก็รับฟังคำวิจารณ์ได้ มันสื่อหมายถึงอะไร มี 3 คำหลัก 1) คุณภาพการศึกษา2) ผลสัมฤทธิ์ 3) เป็นรูปธรรม ท่านต้องตีโจทย์ให้แตก แยกประเด็นให้ออก ก็จะมองออกว่างานในหน้าที่ บทบาทหน้าที่ จะเกิดอะไรขึ้น เพิ่มเติมจากการที่ทำงานที่มีแผน มียุทธศาสตร์อยู่แล้ว ถือว่าเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ คำแนะนำ ถ่ายทอดประสบการณ์ แล้วท่านจะได้มีวิธีคิด วิธีการดำเนินงาน ในขั้นต่อไป ที่ทางรองชลำ อรรถธรรม ซึ่งเป็น ผอ.ศูนย์ฯ และคณะทำงานที่ได้ตั้งขึ้น ก็จะดำเนินการตามแผน ตามขั้นตอนต่าง ๆ

พล.อ.สุรเชษฐ์ ได้กล่าวฝากในเรื่องที่มีความสำคัญคู่ขนานไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คือการสร้างการรับรู้ความเข้าใจให้เกิดขึ้น ซึ่งรณรงค์มาโดยตลอด รัฐบาลโดยท่านนายกรัฐมนตรีก็มีข้อสั่งการแทบทุกครั้งของการประชุม ครม. หรือในโอกาสต่าง ๆ ว่า การสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้น จะเป็นส่วนสำคัญของการที่จะให้เกิดการร่วมมือ โดยสรุปว่า กระทรวงศึกษาธิการจะต้องสร้างการรับรู้ให้เกิดขึ้น พื้นฐานคือในองค์กร ในองค์กรคือเพื่อนร่วมงานต้องรู้ร่วมกัน เรียนรู้ร่วมกัน เข้าใจร่วมกัน จะทำอะไร ทำที่ไหน ทำเมื่อไร ทำอย่างไร ความมุ่งมั่นตั้งใจกันอย่างไรที่จะทำให้เกิดความสำเร็จตามที่เราอยากได้ อยากเป็น เมื่อเกิดดีมากแล้วในองค์กรก็ขยายออกนอกองค์กร กระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ส่วนราชการต่าง ๆ ก็มีส่วนสนับสนุนการทำงานของเราให้ประสบความสำเร็จทั้งสิ้น มหาดไทยก็ตาม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ก็ดี ส่วนราชการ แม้กระทั่งความมั่นคง มีส่วนสำคัญทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเราต้องสื่อสาร ต้องสร้างการรับรู้ให้เกิดร่วมกัน เพื่อที่จะเป็นพลัง เมื่อท่านสร้างการรับรู้ให้เกิดความเข้าใจ ท่านได้รับความร่วมมือแน่นอน คือหลักบูรณาการ ตามกลไกประชารัฐ ที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ให้แนวทางการปฏิบัติไว้ เกิดความร่วมมือ ถือหลักบูรณาการ และได้ฝากว่าพวกเราบูรณาการแบบสืบสานศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พัฒนาอย่างยั่งยืนของระดับสากลมี 17 เป้าหมาย คุณภาพการศึกษาเป็นเป้าหมายที่ 4 ของ SDG สืบสานศาสตร์พระราชา คนไทยโชคดีที่สุดกว่าประเทศใดในโลก ที่มีพระมหากรุณาธิคุณ องค์รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลักการทรงงาน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ พระบรมราโชวาทในโอกาสต่าง ๆ ล้วนเป็นคำสอนแนวทางปฏิบัติทั้งสิ้น ภาคใต้เริ่มที่ยุทศาสตร์เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ทุกเรื่องล้วนเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันทั้งสิ้น สอดคล้องทั้งสิ้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 มีพระราโชบายที่จะดูแลทุกข์สุขพี่น้องประชาชน พระราโชบายด้านการศึกษา 4 ข้อ ท่านทราบแล้ว นำมาคิดให้ครบ นำมารวบรวม เรื่องราว ร้อยเรียง แล้วก็วิเคราะห์ สังเคราะห์ให้เกิดขึ้น ทำให้ปี 2561 เป็นปีแห่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้เป็นรูปธรรม
ท้ายที่สุดนี้ นายกรัฐมนตรีได้ฝากความรักความปรารถนาดี ระลึกถึงมายังทุกท่าน ให้กำลังใจ เมื่อวันที่ 27พฤศจิกายน 2560 ท่านได้มาเยี่ยมเยียนพี่น้องประชาชน มาประชุม ครม. อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ 27-28 พฤศจิกายน 2560 ที่ปัตตานี ได้มีการประชุม ได้มีการเยี่ยมเยียนศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือกระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) ได้มอบเสื้อให้ ให้คำขวัญให้กระทรวงศึกษาธิการ สรุปว่า ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ด้วย 1) ความเพียร 2) ความร่วมมือ และ 3) ประชารัฐ
พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ทำหน้าที่หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดใช้แดนภาคใต้ ร่วมกับผู้แทนทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้นำทางด้านศาสนา ชมรมชาวไทยพุทธ ผู้แทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ที่มาพบกับท่านนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ท่านได้มอบให้ไปดำเนินการต่อ ซึ่งได้พบกับพี่น้องเหล่านั้นอย่างต่อเนื่องทุกเดือน หลังจาก 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นัดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคมคราวที่แล้วเดือนมกราคมก็พบกันแล้ว เมื่อวันที่ 25 มกราคมคราวหน้าจะพบกัน วันที่ 26 กุมภาพันธ์จำได้หมด เพราะเป็นวันนัดสำคัญ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ทุกครั้งที่มีการประชุม เรื่องที่คุยกัน ปรึกษาหารือผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายกเทศมนตรี ผู้แทนของเด็กนักเรียน จากราชภัฎ จากมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) จากมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ส่วนใหญ่การพูดคุยกันเป็นเรื่องการศึกษาที่มีคุณภาพ การศึกษาที่สร้างโอกาส การศึกษาที่จะเป็นเรื่องสำคัญให้กับพี่น้องประชาชน เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ที่จะทำให้มีพัฒนาการ มีคุณภาพ

"ผมแอบคิด แต่ผมรอผลปัจจุบัน มีการทำงานระดับภาคเป็น ภาค "ภาคใต้ชายแดน" ก็เป็นภาคหนึ่งซึ่งยอมรับว่าที่ผ่านมาคุณภาพการศึกษาวัดกันหลาย ๆ มุมจะอยู่ท้าย แต่ผมแอบคิด ผมรอการประเมินเร็ว ๆ นี้ พูดแล้วขนลุก ผมแอบคิดอย่างมั่นใจ ไม่ใช่ที่สุดท้ายแน่นอน ผลออกมาอย่างไร ก็คอยรับทราบกันอีกครั้ง  สำรวจประเมินอย่างมีมาตรฐานทั้ง ภาค เพราะเป็นการทำงานระดับพื้นที่ทั้ง 6 ภาค ที่ผ่านมาทั้งปี อาจดูเหมือนเป็นกำลังใจ แต่จริง  แล้วมันคือความงดงามของการทำงานร่วมกัน 3 ปีที่ผ่านมา ของพวกเรา" พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว

นอกจากความสำเร็จจะเกิดขึ้นจากความเพียร ความร่วมมือ ตามกลไกประชารัฐแล้ว ขอสรุปสั้น ๆ ซึ่งได้ณรงค์มาตลอด การจะวางแผน การจะทำยุทธศาสตร์ การจะทำสิ่งที่ท่านวาดฝันความฝันหรือนามธรรมให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในความจริง เป็นชีวิตจริงที่จะเกิดให้ได้ ท่านต้องคิดให้ครบ คือครอบคลุมทุกเรื่อง เรามีผู้ที่ต้องดูแลเป็นประชาชน เป็นนักเรียน เป็นเด็ก เยาวชน เป็นคนไทยในพื้นที่ มีข้อมูลปัจจัยต่าง ๆ คิดให้ครบทั้งปฐมวัย ประถมศึกษา ก่อนวัยเรียน เชื่อมโยงได้หมด ประถม มัธยม อุดมศึกษา มหาวิทยาลัย ในระบบ นอกระบบ คิดให้ครบหน่วยมีภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคสื่อมวลชน นำมาร้อยเรียงเกี่ยวเนื่องให้ได้ เป็นพลังอันสำคัญของการทำงาน ทำนามธรรมของการวางแผนไปสู่รูปธรรมให้เกิดขึ้นในหนทางปฏิบัติให้ได้ การทบทวนเป็นห้วง ๆ เราทำอยู่แล้ว 3 เดือนครั้ง ประชุมย่อยสัปดาห์หนึ่งก็ได้ เดือนหนึ่งก็ได้ ซึ่งเรียกว่า After ActionReview การทบทวนเป็นห้วง ๆ อย่างหลักสูตรของเราก็เมื่อมาฟังบรรยาย มาร่วมพบกัน 2 วัน ก็จะมีเป็นห้วง เป็นขั้นเป็นตอน ก็จะมีประเมินตอนปิดเทอม หรือปิดปีงบประมาณ อันนี้ก็เป็นการทำงานถูกต้องตามระบบที่ครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอนมา คิดให้ครบ ทบทวนเป็นห้วง ๆ ห่วงใยเรื่องการรับรู้ การสร้างการรับรู้ เกิดความเข้าใจ ได้ความร่วมมือ ถือหลักบูรณาการ สืบสานศาสตร์พระราชา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
สุดท้ายต้องขอขอบพระคุณอย่างที่สุด กับทุกท่านที่ได้มีส่วนร่วม ในการที่ทำให้งานสำคัญที่เป็นก้าวสำคัญนี้เกิดขึ้น รวมทั้งวิทยากรกิตติมศักดิ์ทุกท่าน ผู้บริหารทุกท่าน ต้องขอบคุณอย่างที่สุดจริง ๆ ในการที่ได้กรุณาในครั้งนี้ ขอบคุณมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อนุเคราะห์สถานที่ ขอบคุณอย่างเป็นพิเศษกับผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ที่จะทุ่มเทกำลังกันในการพัฒนาทั้งตนเองและงานในความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในโอกาสต่อไป ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของทุกท่านที่จะทำให้คนไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนจบการศึกษาแล้วมีอาชีพ มีงานทำ มีคุณภาพ เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข เป็นประโยชน์กับประเทศชาติ ระบบการศึกษาเป็นพื้นฐาน เป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาชาติได้

สำหรับการรับฟังการบรรยายในครั้งนี้ มีผู้มีเกียรติจำนวนมากเข้าร่วม อาทิ นายอดินันท์ ปากบารา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี, นายการุณ สกลุประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ประธานกรรมาธิการการศึกษา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, นายตวง อันทะไชย, ดร.ศักดิ์สิน ที่ปรึกษาฯ, นายวิทวัส บุญยสถิต, นายอนุศาสตร์ สุวรรณมงคล, นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล สมาชิกสภาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, วิทยากร, ผู้ทรงคุณวุฒิ, ผอ.ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้, ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม