อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 56/2561 ศธภ.1 จัด ประชุมเสวนารูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐาน-อาชีวศึกษา-อุดมศึกษา
รมช.ศธ."นพ.อุดม คชินทร" มอบนโยบายในการประชุมเสวนาฯ จัดโดยสำนักงานศึกษาธิการภาค 1 ที่ปทุมธานี เน้นย้ำทุกหน่วยงานให้ความสำคัญต่อการเชื่อมโยงการศึกษา 3 ระดับ ทั้ง การศึกษาขั้นพื้นฐาน-อาชีวะ-อุดมศึกษา ให้เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่ความ เชื่อมโยงที่อยู่แค่ในกระดาษ ฝากผู้บริหารอย่ามองเป็นเรื่องไกลตัว เพราะหากยังไม่มีการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์โลก การพัฒนาด้านต่าง ๆ ของประเทศจะลดระดับลงมาเรื่อย ๆ จนไม่สามารถแข่งขันได้ ขอบคุณการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน โดยขอให้ยึดเอาประเทศเป็นที่ตั้ง และร่วมกันทำงาน เพื่อให้การศึกษานำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
เมื่อวันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมดิไอเดิล เซอร์วิส เรสซิเดนซ์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี - สำนักงานศึกษาธิการภาค 1 จัดการประชุมเสวนา "รูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา" โดย ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม และมีผู้บริหารในพื้นที่เข้าร่วมประชุม จำนวน 120 คน อาทิ ศึกษาธิการภาค 1, ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด, ประธานอาชีวศึกษาจังหวัด, ประธานคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน, ประธานเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน/ตอนล่าง, ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี และกรุงเทพมหานคร
นางรักขณา ตัณฑวุฑโฒ รองศึกษาธิการภาค 1 รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการภาค 1 กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา ได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนด้านการศึกษาที่มุ่งเน้นการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาการศึกษามีความต่อเนื่องและยั่งยืน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศและอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่ THAILAND 4.0 ด้วยการเสริมสร้างทุนของประเทศที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง โดยเฉพาะการพัฒนาคนให้มีการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผนพัฒนาภาคกลาง ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนากรุงเทพฯ สู่มหานครทันสมัย และภาคกลางเป็นฐานการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง ด้วยการพัฒนาเมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริการธุรกิจ การพาณิชย์ การขนส่ง และโลจิสติกส์ บริการด้านการท่องเที่ยว พัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตร และการขับเคลื่อนกำลังคนสาขาอาชีพที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงานที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานที่มีเป้าหมายในการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรด้านระบบราง ซึ่งตลาดแรงงานมีความต้องการเร่งด่วน กลุ่มหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เช่น ช่างเทคนิค ช่างซ่อมบำรุง และช่างออกแบบ ที่ความต้องการแรงงานมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี รวมทั้งการพัฒนากำลังคนให้เท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อเชื่อมโยงกระบวนการผลิตหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม รวมไปถึงการพัฒนานักจัดการอาหาร ที่มีเป้าหมายเพื่อการรองรับการแข่งขันธุรกิจบริการและการท่องเที่ยว
เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาในระดับพื้นที่ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการคาดหวัง สำนักงานศึกษาธิการภาค 1 (ศธภ.1) จึงได้จัดการประชุมเสวนาในครั้งนี้ขึ้น
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ศธ.ได้ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงการศึกษาทั้ง 3 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และการอุดมศึกษา เพื่อให้สามารถ "ส่งต่อ" กันเป็นทอด ๆ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือเราจะส่งต่อ "คุณภาพการศึกษา" แต่ละระดับ ให้สามารถเชื่อมโยงต่อเนื่องกันได้อย่างไร ผู้บริหารทุกระดับจึงต้องเข้าใจและมองให้เห็นภาพใหญ่ เพราะการศึกษาเป็นอนาคตของประเทศ หากไม่มีการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของประเทศก็จะลดระดับลงมาเรื่อย ๆ ซึ่งจะไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเราอีกต่อไป
นพ.อุดม ยังได้กล่าวถึงพัฒนาการทางด้านการศึกษาด้วยว่า ในระดับประถมศึกษา (Primary Education) มี 2 ระดับ คือ ประถมตอนต้น การศึกษาจะเน้นผู้เรียนเพื่อให้สามารถสื่อสารได้ ส่วนประถมตอนปลาย เน้นการดำรงชีวิต ในระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education) เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอุดมศึกษา ส่วนอาชีวศึกษา เพื่อเตรียมเข้าสู่ตลาดแรงงาน (Job) ในวิชาชีพชั้นต้นและชั้นกลาง สำหรับระดับอุดมศึกษา (Tertiary Education) ตอนต้น (ระดับปริญญาตรี) เรียนเพื่อเข้าสู่วิชาชีพขั้นสูง (Profession), ตอนกลาง (ปริญญาโท) เพื่อเรียนรู้วิธีการสร้างความรู้ใหม่โดยวิธีการวิจัย, ตอนปลาย (ปริญญาเอก) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ผ่านกระบวนการวิจัย และหลังปริญญาเอก (Post Doc) เพื่อสร้างทักษะ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ผ่านการทำวิจัยอย่างเชี่ยวชาญ
ดังนั้น หากมีการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยง ก็จะทำให้เกิดการส่งมอบคุณภาพ โดยผ่านการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยง ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา สามารถพัฒนาทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบททางการศึกษาในแต่ละสาขาวิชาชีพให้มีทักษะต่อยอดในสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งครูควรสนับสนุนให้นักเรียนหาตัวตนให้เจอ รู้ว่าตนเองชอบหรือถนัดด้านใด แต่ต้องสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ พร้อมทั้งจัดระบบการช่วยเหลือ สนับสนุนระหว่างการขั้นพื้นฐาน กับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาด้วย
"ดีใจที่ ศธภ.1 จัดประชุมเสวนาครั้งนี้ขึ้น เพราะทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจและช่วยกันยกศักยภาพของประเทศไปสู่การแข่งขันในระดับสากลได้ การศึกษาถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ต้องช่วยกันทำ ช่วยกันบูรณาการให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม ประเทศจะไปต่อไม่ได้ ถ้าจักรเฟืองที่สำคัญไม่เดินไปด้วยกันทั้งหมด ต้องปรับทัศนคติ ถ้าไม่ปรับทัศนคติ ประเทศไปไม่รอด ขอให้มุ่งมั่นที่จะทำ และทำให้ความเชื่อมโยงนั้นเกิดขึ้นจริง ไม่ใช่เป็นความเชื่อมโยงที่อยู่แค่ในกระดาษ ดีใจที่ได้เห็นภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพื่อใช้ทรัพยากรที่มีให้คุ้มค่า ไม่แบ่งแยกภาครัฐหรือเอกชน นี่ถือเป็นความร่วมมือที่ดี เอาประเทศเป็นที่ตั้ง และร่วมกันทำงานเพื่อให้ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลกให้ได้ และให้การศึกษานำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป" นพ.อุดม กล่าว
โอกาสนี้ นพ.อุดม คชินทร ได้เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ระหว่างสำนักงานศึกษาธิการภาค 1 กับวิทยาลัยเทคนิคสระบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี (SBAC) และมหาวิทยาลัยรังสิต โดยมี สาระสำคัญ ดังนี้
-
วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี จัดทำ “หลักสูตร Robotic” เชื่อมโยงสอดคล้องกับการจัดทำกลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อเตรียมผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในสถานศึกษาพื้นที่ใกล้เคียงวิทยาลัย
-
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา จัดทำ “หลักสูตรการศึกษาระบบราง” ระดับ ปวช. เชื่อมโยงสอดคล้องกับการจัดทำกลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อเตรียมผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
-
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี จัดทำ “หลักสูตรการท่องเที่ยวและบริการ” ระดับ ปวส. เชื่อมโยงสอดคล้องกับหลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ และเชื่อมโยงกับหลักสูตรการท่องเที่ยวและบริการ ระดับ ปวช. โดยการเตรียมความรู้พื้นฐานในงานบริการและสมรรถนะการเป็นผู้ให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวแก่ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
-
มหาวิทยาลัยรังสิต จัดทำ “หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต” ระดับ ปวส. เชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษาระบบราง โดยสถานศึกษาเป้าหมายคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา, วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา
ที่มา; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 56/2561 ศธภ.1 จัด ประชุมเสวนารูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐาน-อาชีวศึกษา-อุดมศึกษา
รมช.ศธ."นพ.อุดม คชินทร" มอบนโยบายในการประชุมเสวนาฯ จัดโดยสำนักงานศึกษาธิการภาค 1 ที่ปทุมธานี เน้นย้ำทุกหน่วยงานให้ความสำคัญต่อการเชื่อมโยงการศึกษา 3 ระดับ ทั้ง การศึกษาขั้นพื้นฐาน-อาชีวะ-อุดมศึกษา ให้เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่ความ เชื่อมโยงที่อยู่แค่ในกระดาษ ฝากผู้บริหารอย่ามองเป็นเรื่องไกลตัว เพราะหากยังไม่มีการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์โลก การพัฒนาด้านต่าง ๆ ของประเทศจะลดระดับลงมาเรื่อย ๆ จนไม่สามารถแข่งขันได้ ขอบคุณการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน โดยขอให้ยึดเอาประเทศเป็นที่ตั้ง และร่วมกันทำงาน เพื่อให้การศึกษานำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
เมื่อวันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมดิไอเดิล เซอร์วิส เรสซิเดนซ์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี - สำนักงานศึกษาธิการภาค 1 จัดการประชุมเสวนา "รูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา" โดย ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม และมีผู้บริหารในพื้นที่เข้าร่วมประชุม จำนวน 120 คน อาทิ ศึกษาธิการภาค 1, ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด, ประธานอาชีวศึกษาจังหวัด, ประธานคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน, ประธานเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน/ตอนล่าง, ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี และกรุงเทพมหานคร
นางรักขณา ตัณฑวุฑโฒ รองศึกษาธิการภาค 1 รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการภาค 1 กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา ได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนด้านการศึกษาที่มุ่งเน้นการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาการศึกษามีความต่อเนื่องและยั่งยืน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศและอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่ THAILAND 4.0 ด้วยการเสริมสร้างทุนของประเทศที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง โดยเฉพาะการพัฒนาคนให้มีการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผนพัฒนาภาคกลาง ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนากรุงเทพฯ สู่มหานครทันสมัย และภาคกลางเป็นฐานการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง ด้วยการพัฒนาเมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริการธุรกิจ การพาณิชย์ การขนส่ง และโลจิสติกส์ บริการด้านการท่องเที่ยว พัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตร และการขับเคลื่อนกำลังคนสาขาอาชีพที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงานที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานที่มีเป้าหมายในการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรด้านระบบราง ซึ่งตลาดแรงงานมีความต้องการเร่งด่วน กลุ่มหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เช่น ช่างเทคนิค ช่างซ่อมบำรุง และช่างออกแบบ ที่ความต้องการแรงงานมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี รวมทั้งการพัฒนากำลังคนให้เท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อเชื่อมโยงกระบวนการผลิตหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม รวมไปถึงการพัฒนานักจัดการอาหาร ที่มีเป้าหมายเพื่อการรองรับการแข่งขันธุรกิจบริการและการท่องเที่ยวเพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาในระดับพื้นที่ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการคาดหวัง สำนักงานศึกษาธิการภาค 1 (ศธภ.1) จึงได้จัดการประชุมเสวนาในครั้งนี้ขึ้นศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ศธ.ได้ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงการศึกษาทั้ง 3 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และการอุดมศึกษา เพื่อให้สามารถ "ส่งต่อ" กันเป็นทอด ๆ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือเราจะส่งต่อ "คุณภาพการศึกษา" แต่ละระดับ ให้สามารถเชื่อมโยงต่อเนื่องกันได้อย่างไร ผู้บริหารทุกระดับจึงต้องเข้าใจและมองให้เห็นภาพใหญ่ เพราะการศึกษาเป็นอนาคตของประเทศ หากไม่มีการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของประเทศก็จะลดระดับลงมาเรื่อย ๆ ซึ่งจะไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเราอีกต่อไปนพ.อุดม ยังได้กล่าวถึงพัฒนาการทางด้านการศึกษาด้วยว่า ในระดับประถมศึกษา (Primary Education) มี 2 ระดับ คือ ประถมตอนต้น การศึกษาจะเน้นผู้เรียนเพื่อให้สามารถสื่อสารได้ ส่วนประถมตอนปลาย เน้นการดำรงชีวิต ในระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education) เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอุดมศึกษา ส่วนอาชีวศึกษา เพื่อเตรียมเข้าสู่ตลาดแรงงาน (Job) ในวิชาชีพชั้นต้นและชั้นกลาง สำหรับระดับอุดมศึกษา (Tertiary Education) ตอนต้น (ระดับปริญญาตรี) เรียนเพื่อเข้าสู่วิชาชีพขั้นสูง (Profession), ตอนกลาง (ปริญญาโท) เพื่อเรียนรู้วิธีการสร้างความรู้ใหม่โดยวิธีการวิจัย, ตอนปลาย (ปริญญาเอก) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ผ่านกระบวนการวิจัย และหลังปริญญาเอก (Post Doc) เพื่อสร้างทักษะ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ผ่านการทำวิจัยอย่างเชี่ยวชาญ ดังนั้น หากมีการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยง ก็จะทำให้เกิดการส่งมอบคุณภาพ โดยผ่านการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยง ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา สามารถพัฒนาทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบททางการศึกษาในแต่ละสาขาวิชาชีพให้มีทักษะต่อยอดในสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งครูควรสนับสนุนให้นักเรียนหาตัวตนให้เจอ รู้ว่าตนเองชอบหรือถนัดด้านใด แต่ต้องสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ พร้อมทั้งจัดระบบการช่วยเหลือ สนับสนุนระหว่างการขั้นพื้นฐาน กับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาด้วย "ดีใจที่ ศธภ.1 จัดประชุมเสวนาครั้งนี้ขึ้น เพราะทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจและช่วยกันยกศักยภาพของประเทศไปสู่การแข่งขันในระดับสากลได้ การศึกษาถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ต้องช่วยกันทำ ช่วยกันบูรณาการให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม ประเทศจะไปต่อไม่ได้ ถ้าจักรเฟืองที่สำคัญไม่เดินไปด้วยกันทั้งหมด ต้องปรับทัศนคติ ถ้าไม่ปรับทัศนคติ ประเทศไปไม่รอด ขอให้มุ่งมั่นที่จะทำ และทำให้ความเชื่อมโยงนั้นเกิดขึ้นจริง ไม่ใช่เป็นความเชื่อมโยงที่อยู่แค่ในกระดาษ ดีใจที่ได้เห็นภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพื่อใช้ทรัพยากรที่มีให้คุ้มค่า ไม่แบ่งแยกภาครัฐหรือเอกชน นี่ถือเป็นความร่วมมือที่ดี เอาประเทศเป็นที่ตั้ง และร่วมกันทำงานเพื่อให้ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลกให้ได้ และให้การศึกษานำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป" นพ.อุดม กล่าว โอกาสนี้ นพ.อุดม คชินทร ได้เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ระหว่างสำนักงานศึกษาธิการภาค 1 กับวิทยาลัยเทคนิคสระบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี (SBAC) และมหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี จัดทำ “หลักสูตร Robotic” เชื่อมโยงสอดคล้องกับการจัดทำกลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อเตรียมผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในสถานศึกษาพื้นที่ใกล้เคียงวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา จัดทำ “หลักสูตรการศึกษาระบบราง” ระดับ ปวช. เชื่อมโยงสอดคล้องกับการจัดทำกลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อเตรียมผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี จัดทำ “หลักสูตรการท่องเที่ยวและบริการ” ระดับ ปวส. เชื่อมโยงสอดคล้องกับหลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ และเชื่อมโยงกับหลักสูตรการท่องเที่ยวและบริการ ระดับ ปวช. โดยการเตรียมความรู้พื้นฐานในงานบริการและสมรรถนะการเป็นผู้ให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวแก่ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มหาวิทยาลัยรังสิต จัดทำ “หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต” ระดับ ปวส. เชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษาระบบราง โดยสถานศึกษาเป้าหมายคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา, วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา
ที่มา; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
www.tuewsob.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น