อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 28/2561
ศธ.ผลักดันแผนบูรณาการการศึกษา เพื่อพัฒนาภาคตะวันออก และพื้นที่ EEC ให้เป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน
สกู๊ปที่เผยแพร่ลงในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 มีบทความน่าสนใจเกี่ยวกับ แผนบูรณาการการศึกษา เพื่อพัฒนาภาคตะวันออก และพื้นที่ EEC "ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี" จึงขอนำลงเผยแพร่ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป
------------
ศธ.ผลักดันแผนบูรณาการการศึกษา
เพื่อพัฒนาภาคตะวันออก และพื้นที่ EEC
ให้เป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน
------------
จากการที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งเกี่ยวกับ “การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” (Eastern Economic Corridor: EEC) เมื่อวันที่ 17 ม.ค.2560 อีกทั้งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ก.ค.2560 เห็นชอบยุทธศาสตร์พัฒนากำลังคนสนับสนุน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ.2560-2564) และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มีคำสั่ง “คณะกรรมการขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาภาคตะวันออก และการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ EEC ” โดยคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนฯ มี รมว.ศึกษาธิการ (นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์) เป็นประธาน และคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนฯ มี รมช.ศึกษาธิการ (พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) เป็นประธาน
โดยมุ่งหวังจะทำให้การพัฒนาการศึกษาทั้ง 2 ส่วน คือ “ภาคตะวันออก” ซึ่งประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว และในส่วนของ “พื้นที่ EEC” 3 จังหวัด (ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง) จะต้องสอดรับกับยุทธศาสตร์และทิศทางการพัฒนาพื้นที่ระดับภาคตามนโยบายรัฐบาล
สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนในการจัดการศึกษา คือ ศธ.ได้อนุมัติแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2560-2564) โดยวาง 4 เป้าหมายหลักในการจัดการศึกษา คือ 1) ผู้เรียนมีทักษะด้านภาษา การใช้เทคโนโลยี มีความรู้ด้านอุตสาหกรรมใหม่ สามารถสร้างนวัตกรรมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี 2) ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ด้านอุตสาหกรรมใหม่และมีศักยภาพในจัดการเรียนรู้ ควบคู่กับการปฏิบัติจากสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลอง 3) สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนากำลังคน 4) เครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมเกิดขึ้นแล้วมากมาย เช่น
1. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ใน จ.ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง โดยมี 3 ศูนย์หลัก 10 ศูนย์ย่อย ทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงการทำงานและความต้องการแรงงานระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษาอาชีวะ โดยกำหนดเป้าหมายการผลิตกำลังคนภายใน 5 ปี จำนวน 2 แสนคน ทั้งการผลิตกำลังคนระยะสั้นและจัดการศึกษา โดยจัดให้มี 10 หลักสูตรใหม่ที่รองรับอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) และอุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve)
2. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้ปรับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 โดยเพิ่มประเด็นการพัฒนาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และจัดทำกรอบคุณวุฒิแห่งชาติให้สอดคล้องกับการพัฒนาในพื้นที่ภาคตะวันออกและ EEC
3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ในโรงเรียนมัธยมฯ 3 จังหวัด คือ ชลบุรี 31 โรง ฉะเชิงเทรา 30 โรง และระยอง 19 โรง รวม 80 โรงเรียน จะทยอยดำเนินการตั้งแต่ปีนี้จนถึงปีการศึกษา 2563
4. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กำหนดนโยบายให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคตะวันออก จัดทำแผนให้สอดคล้องกับพื้นที่ โดยเน้น 2 ประเด็นหลัก คือ ผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพ และปรับกระบวนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ที่ตอบโจทย์การพัฒนาในพื้นที่
5. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) พัฒนาการศึกษาโดย ส่งเสริมการสอนภาษาจีนที่ได้รับการสนับสนุนด้านอาสาสมัครมาช่วยสอนจาก สนง.ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (Han Ban) การเรียนรู้สะเต็มศึกษา การพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์ร่วมกับ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จ.ระยอง การพัฒนาวิชาชีพให้กับท้องถิ่นในเรื่องภาษา การโรงแรม การท่องเที่ยว และอาหาร รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรด้านการบิน ที่นครนายก ศรีราชา และปราจีนบุรี
6. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) มีโครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพและการขายระบบออนไลน์ (E- Commerce) โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้สู่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ โครงการอบรม ครู กศน.ตำบลเพื่อการเรียนรู้ด้านธุรกิจศึกษา โครงการ Smart ONIE เพื่อสร้าง Smart Farmer และอบรมความรู้ด้านเกษตรสำหรับประชาชน โครงการภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพระยะสั้น โครงการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุและกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ฯลฯ
7. มหาวิทยาลัยในพื้นที่ภาคตะวันออก มีหลายโครงการที่น่าสนใจ เช่น
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เตรียมโครงการ “ย่านนวัตกรรมศรีราชา” โดยร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติฯ และความร่วมมือกับ สนง.พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศฯ ในการจัดการศึกษาเรื่องอวกาศ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ลงนามความร่วมมือเพื่อปรับหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ เพื่อรองรับ First S-curve และวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เพื่อรองรับ New S-curve และจัดตั้งสถาบันโลจิสติกส์ เพื่อรับผิดชอบดูแลโลจิสติกส์ในโรงงาน ตั้งศูนย์ทดสอบสมรรถนะที่เมืองพัทยา เพื่อให้บริการทดสอบด้านภาษาอังกฤษ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก วางแผนปรับหลักสูตรเกี่ยวกับไฟฟ้า เช่น Battery Stores ปรับหลักสูตรคอมพิวเตอร์เป็น Smart Electronics จัดการสอนด้านการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ ด้านอาหาร ด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ที่ได้ร่วมกับ Islamic University จากอินโดนีเซีย ปรับหลักสูตรสถาบันการบินโดยเน้นการควบคุมการจราจรทางอากาศ การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ วางแผนยกระดับทักษะที่พึงประสงค์ในการทำงานเพื่อเป็นพลเมืองแห่งโลกอนาคต โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัย 9 แห่ง เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัยและนวัตกรรม และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เน้นให้ EEC เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ เร่งจัดทำฐานข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก ฐานข้อมูลสถานการณ์ในภาพรวม ฯลฯ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พัฒนาหลักสูตรการจัดการอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ หลักสูตรปริญญาตรีที่รองรับการเทียบโอน ตั้งโรงเรียนเตรียมวิศวกรรม และเตรียมเสนอขอทุนด้านการฝึกอบรมวิจัยนวัตกรรมใน S-curve ที่มีความถนัด คือ ด้านหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติ ด้านการเติมอากาศ ด้านดิจิทัล ด้านเกษตรเน้นการทำโรงงานนำร่อง
- มหาวิทยาลัยบูรพา สนับสนุนให้นักวิจัยต่อยอดการรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น รถไฟรางคู่ โดยจัดให้มีห้องปฏิบัติการมาตรฐานสูง เป็นมหาวิทยาลัยแม่ข่ายในภาคตะวันออกในการปรับหลักสูตรต่างๆ และขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ อีกทั้งจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor) ฯลฯ
- สถาบันสิริวิทยเมธี มีเป้าหมายเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต จะนำอาจารย์ระดับนานาชาติจากเยอรมนี อังกฤษ ญี่ปุ่น ฯลฯ เข้ามามากขึ้น นอกจากนี้ วางแผนดำเนินการด้านพลังงาน เช่น การผลิตแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน การประดิษฐ์จอภาพแบบ OLED ซึ่งเป็นวัสดุฉลาด การเพิ่มมูลค่าจากขยะหรือสิ่งของที่มีมูลค่าต่ำทางการเกษตรโดยที่ไม่ปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อม
- มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ลงนามความร่วมมือกับหลายประเทศ เช่น เยอรมนี เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์ถ่ายโอนความรู้เรื่องอุตสาหกรรม 4.0, ให้อาจารย์จากสวิตเซอร์แลนด์เข้ามาสอนและถ่ายโอนความรู้เรื่องอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี, ร่วมมือกับอินเดียด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมรถยนต์, ร่วมมือด้านการบินและการรางกับจีน, ร่วมมือกับญี่ปุ่นเพื่อเตรียมเป็นศูนย์พัฒนาและศูนย์ทดสอบต้นแบบของสถาบันรับรองคุณวุฒิวิชาชีพด้านการบินตามมาตรฐานการบินสากล
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นฐานที่จะตั้ง Carnegie Mellon University ในไทย โดยมีหลักสูตรนานาชาติและนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อสนับสนุนฝั่งตะวันออก และได้ลงนามร่วมมือกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครเพื่อดำเนินการ Smart City อีกทั้งได้ทำวิจัยโปรแกรม NEEDS ให้เป็นระบบข้อมูลกลางที่มีความเชื่อมโยงข้อมูลตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงมหาวิทยาลัย โดยใช้เลข 13 หลัก
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ ในฐานะผู้รับผิดชอบ กล่าวว่า แม้จะเป็นช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกและ EEC แต่จากผลการทำงานของหน่วยงานและสถานศึกษาทุกสังกัด ที่ได้ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน มาด้วยกัน จนเกิดผลที่เป็นรูปธรรม
วันนี้ ศธ.พร้อมแล้วที่จะจัดการศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออก 8 จังหวัด และครอบคลุมพื้นที่ EEC 3 จังหวัด เพื่อ ให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน ซึ่งเป็นต้นทางที่สำคัญ มีจุดเน้น“พัฒนาพื้นที่ให้เป็นฐานเศรษฐกิจในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและสนับสนุนให้ประเทศเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ” สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และทิศทางการพัฒนาภาค ส่งผลให้เป็นพื้นที่ "ฐานเศรษฐกิจชั้นนำ" ของอาเซียนต่อไป
---------------------------
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวที่ 28/2561ศธ.ผลักดันแผนบูรณาการการศึกษา เพื่อพัฒนาภาคตะวันออก และพื้นที่ EEC ให้เป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน
สกู๊ปที่เผยแพร่ลงในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 มีบทความน่าสนใจเกี่ยวกับ แผนบูรณาการการศึกษา เพื่อพัฒนาภาคตะวันออก และพื้นที่ EEC "ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี" จึงขอนำลงเผยแพร่ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป
------------ศธ.ผลักดันแผนบูรณาการการศึกษา
เพื่อพัฒนาภาคตะวันออก และพื้นที่ EEC
ให้เป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน------------จากการที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งเกี่ยวกับ “การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” (Eastern Economic Corridor: EEC) เมื่อวันที่ 17 ม.ค.2560 อีกทั้งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ก.ค.2560 เห็นชอบยุทธศาสตร์พัฒนากำลังคนสนับสนุน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ.2560-2564) และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มีคำสั่ง “คณะกรรมการขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาภาคตะวันออก และการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ EEC ” โดยคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนฯ มี รมว.ศึกษาธิการ (นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์) เป็นประธาน และคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนฯ มี รมช.ศึกษาธิการ (พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) เป็นประธานโดยมุ่งหวังจะทำให้การพัฒนาการศึกษาทั้ง 2 ส่วน คือ “ภาคตะวันออก” ซึ่งประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว และในส่วนของ “พื้นที่ EEC” 3 จังหวัด (ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง) จะต้องสอดรับกับยุทธศาสตร์และทิศทางการพัฒนาพื้นที่ระดับภาคตามนโยบายรัฐบาลสิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนในการจัดการศึกษา คือ ศธ.ได้อนุมัติแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2560-2564) โดยวาง 4 เป้าหมายหลักในการจัดการศึกษา คือ 1) ผู้เรียนมีทักษะด้านภาษา การใช้เทคโนโลยี มีความรู้ด้านอุตสาหกรรมใหม่ สามารถสร้างนวัตกรรมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี 2) ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ด้านอุตสาหกรรมใหม่และมีศักยภาพในจัดการเรียนรู้ ควบคู่กับการปฏิบัติจากสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลอง 3) สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนากำลังคน 4) เครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาซึ่งมีผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมเกิดขึ้นแล้วมากมาย เช่น1. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ใน จ.ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง โดยมี 3 ศูนย์หลัก 10 ศูนย์ย่อย ทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงการทำงานและความต้องการแรงงานระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษาอาชีวะ โดยกำหนดเป้าหมายการผลิตกำลังคนภายใน 5 ปี จำนวน 2 แสนคน ทั้งการผลิตกำลังคนระยะสั้นและจัดการศึกษา โดยจัดให้มี 10 หลักสูตรใหม่ที่รองรับอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) และอุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve)2. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้ปรับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 โดยเพิ่มประเด็นการพัฒนาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และจัดทำกรอบคุณวุฒิแห่งชาติให้สอดคล้องกับการพัฒนาในพื้นที่ภาคตะวันออกและ EEC3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ในโรงเรียนมัธยมฯ 3 จังหวัด คือ ชลบุรี 31 โรง ฉะเชิงเทรา 30 โรง และระยอง 19 โรง รวม 80 โรงเรียน จะทยอยดำเนินการตั้งแต่ปีนี้จนถึงปีการศึกษา 25634. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กำหนดนโยบายให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคตะวันออก จัดทำแผนให้สอดคล้องกับพื้นที่ โดยเน้น 2 ประเด็นหลัก คือ ผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพ และปรับกระบวนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ที่ตอบโจทย์การพัฒนาในพื้นที่5. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) พัฒนาการศึกษาโดย ส่งเสริมการสอนภาษาจีนที่ได้รับการสนับสนุนด้านอาสาสมัครมาช่วยสอนจาก สนง.ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (Han Ban) การเรียนรู้สะเต็มศึกษา การพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์ร่วมกับ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จ.ระยอง การพัฒนาวิชาชีพให้กับท้องถิ่นในเรื่องภาษา การโรงแรม การท่องเที่ยว และอาหาร รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรด้านการบิน ที่นครนายก ศรีราชา และปราจีนบุรี6. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) มีโครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพและการขายระบบออนไลน์ (E- Commerce) โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้สู่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ โครงการอบรม ครู กศน.ตำบลเพื่อการเรียนรู้ด้านธุรกิจศึกษา โครงการ Smart ONIE เพื่อสร้าง Smart Farmer และอบรมความรู้ด้านเกษตรสำหรับประชาชน โครงการภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพระยะสั้น โครงการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุและกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ฯลฯ7. มหาวิทยาลัยในพื้นที่ภาคตะวันออก มีหลายโครงการที่น่าสนใจ เช่น
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เตรียมโครงการ “ย่านนวัตกรรมศรีราชา” โดยร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติฯ และความร่วมมือกับ สนง.พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศฯ ในการจัดการศึกษาเรื่องอวกาศ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ลงนามความร่วมมือเพื่อปรับหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ เพื่อรองรับ First S-curve และวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เพื่อรองรับ New S-curve และจัดตั้งสถาบันโลจิสติกส์ เพื่อรับผิดชอบดูแลโลจิสติกส์ในโรงงาน ตั้งศูนย์ทดสอบสมรรถนะที่เมืองพัทยา เพื่อให้บริการทดสอบด้านภาษาอังกฤษ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก วางแผนปรับหลักสูตรเกี่ยวกับไฟฟ้า เช่น Battery Stores ปรับหลักสูตรคอมพิวเตอร์เป็น Smart Electronics จัดการสอนด้านการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ ด้านอาหาร ด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ที่ได้ร่วมกับ Islamic University จากอินโดนีเซีย ปรับหลักสูตรสถาบันการบินโดยเน้นการควบคุมการจราจรทางอากาศ การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ วางแผนยกระดับทักษะที่พึงประสงค์ในการทำงานเพื่อเป็นพลเมืองแห่งโลกอนาคต โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัย 9 แห่ง เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัยและนวัตกรรม และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เน้นให้ EEC เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ เร่งจัดทำฐานข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก ฐานข้อมูลสถานการณ์ในภาพรวม ฯลฯ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พัฒนาหลักสูตรการจัดการอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ หลักสูตรปริญญาตรีที่รองรับการเทียบโอน ตั้งโรงเรียนเตรียมวิศวกรรม และเตรียมเสนอขอทุนด้านการฝึกอบรมวิจัยนวัตกรรมใน S-curve ที่มีความถนัด คือ ด้านหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติ ด้านการเติมอากาศ ด้านดิจิทัล ด้านเกษตรเน้นการทำโรงงานนำร่อง
- มหาวิทยาลัยบูรพา สนับสนุนให้นักวิจัยต่อยอดการรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น รถไฟรางคู่ โดยจัดให้มีห้องปฏิบัติการมาตรฐานสูง เป็นมหาวิทยาลัยแม่ข่ายในภาคตะวันออกในการปรับหลักสูตรต่างๆ และขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ อีกทั้งจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor) ฯลฯ
- สถาบันสิริวิทยเมธี มีเป้าหมายเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต จะนำอาจารย์ระดับนานาชาติจากเยอรมนี อังกฤษ ญี่ปุ่น ฯลฯ เข้ามามากขึ้น นอกจากนี้ วางแผนดำเนินการด้านพลังงาน เช่น การผลิตแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน การประดิษฐ์จอภาพแบบ OLED ซึ่งเป็นวัสดุฉลาด การเพิ่มมูลค่าจากขยะหรือสิ่งของที่มีมูลค่าต่ำทางการเกษตรโดยที่ไม่ปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อม
- มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ลงนามความร่วมมือกับหลายประเทศ เช่น เยอรมนี เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์ถ่ายโอนความรู้เรื่องอุตสาหกรรม 4.0, ให้อาจารย์จากสวิตเซอร์แลนด์เข้ามาสอนและถ่ายโอนความรู้เรื่องอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี, ร่วมมือกับอินเดียด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมรถยนต์, ร่วมมือด้านการบินและการรางกับจีน, ร่วมมือกับญี่ปุ่นเพื่อเตรียมเป็นศูนย์พัฒนาและศูนย์ทดสอบต้นแบบของสถาบันรับรองคุณวุฒิวิชาชีพด้านการบินตามมาตรฐานการบินสากล
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นฐานที่จะตั้ง Carnegie Mellon University ในไทย โดยมีหลักสูตรนานาชาติและนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อสนับสนุนฝั่งตะวันออก และได้ลงนามร่วมมือกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครเพื่อดำเนินการ Smart City อีกทั้งได้ทำวิจัยโปรแกรม NEEDS ให้เป็นระบบข้อมูลกลางที่มีความเชื่อมโยงข้อมูลตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงมหาวิทยาลัย โดยใช้เลข 13 หลักพล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ ในฐานะผู้รับผิดชอบ กล่าวว่า แม้จะเป็นช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกและ EEC แต่จากผลการทำงานของหน่วยงานและสถานศึกษาทุกสังกัด ที่ได้ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน มาด้วยกัน จนเกิดผลที่เป็นรูปธรรมวันนี้ ศธ.พร้อมแล้วที่จะจัดการศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออก 8 จังหวัด และครอบคลุมพื้นที่ EEC 3 จังหวัด เพื่อ ให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน ซึ่งเป็นต้นทางที่สำคัญ มีจุดเน้น“พัฒนาพื้นที่ให้เป็นฐานเศรษฐกิจในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและสนับสนุนให้ประเทศเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ” สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และทิศทางการพัฒนาภาค ส่งผลให้เป็นพื้นที่ "ฐานเศรษฐกิจชั้นนำ" ของอาเซียนต่อไป---------------------------สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
www.tuewsob.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น