หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ลต.แบบเยอรมัน‘ไม่ปิดทางรัฐบาลพรรคเดียว’

เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)

-เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา 2557 
คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว 
โดย สมศ.
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)


ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่ล่าสุด

 ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป

  (  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 


   คลิ๊ก ) สมัครติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2557-2558 

ลต.แบบเยอรมัน‘ไม่ปิดทางรัฐบาลพรรคเดียว’

ผ่าระบบเลือกตั้งแบบเยอรมัน ‘ไม่ปิดทางรัฐบาลพรรคเดียว’

                การเมืองว่าด้วยการปฏิรูปและการยกร่างรัฐธรรมนูญตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ ไม่มีประเด็นไหน "ร้อนแรง" เท่ากับข้อเสนอ ที่มานายกรัฐมนตรีด้วยการเลือกตั้งโดยตรง และการนำระบบเลือกตั้งแบบประเทศเยอรมนีมาใช้กับการหย่อนบัตรในบ้านเราอีกแล้ว

                สำหรับการเลือกนายกฯ โดยตรง อาจเป็นเพียงกระแสวูบวาบ เพราะเท่าที่คุยกับ "คีย์แมน" ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ได้รับการยืนยันว่าสุดท้ายจะไม่ปล่อยให้ผ่านไป และการเลือกนายกฯโดยตรงก็ไม่ได้แก้ปัญหาการเมืองไทยแต่อย่างใดด้วย

                ฉะนั้นประเด็นที่น่าจะต้องถกเถียงกันยืดยาวก็คือ "ระบบการเลือกตั้ง" ซึ่งคนในคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองจุดพลุเรื่องระบบการเลือกตั้งแบบเยอรมันขึ้นมา

                ระบบการเลือกตั้งแบบเยอรมันคืออะไร? แล้วจะแก้ปัญหาการเมืองได้อย่างไร ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้า หนึ่งในทีมวิจัยเรื่อง "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ยุติธรรมและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย" ผ่าให้ดูแบบทะลุปรุโปร่ง

                ก่อนอื่นต้องเข้าใจปัญหาของระบบการเลือกตั้งแบบเดิมของไทยก่อน โดยปัญหาใหญ่ที่พบ คือ ความไม่สอดคล้องกันของจำนวนที่นั่งในสภากับคะแนนนิยมที่ได้จริงจากประชาชน

                ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 (ที่พรรคเพื่อไทยชนะและตั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์) คะแนนบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ของพรรคเพื่อไทยคิดเป็น 48.41% แต่กลับได้จำนวน ส.ส.รวม 265 คนจาก 500 คน คิดเป็น 53%

                หลายคนอาจจะเถียงว่าก็พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.เขตเยอะไง ซึ่งก็ถูก แต่หากพิจารณาจากจำนวนคะแนนดิบรวมที่เลือก ส.ส.เขตของพรรคเพื่อไทย หรือที่เรียกว่า ป๊อปปูลาร์ โหวต แล้ว ก็จะพบว่าได้คะแนนรวมไม่ถึง 50% นี่คือสิ่งที่ในทางวิชาการเรียกว่า "ความไม่สอดคล้องกันของจำนวนที่นั่งในสภากับคะแนนนิยมที่ได้จริงจากประชาชน"

                และนั่นคือสาเหตุที่มีผู้เสนอให้ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเยอรมัน เพราะจำนวนที่นั่งในสภาสะท้อนคะแนนนิยมที่ได้จากประชาชนมากกว่า

                ดร.สติธร อธิบายวิธีการเลือกตั้งแบบเยอรมันว่า เริ่มจากการกำหนดจำนวน ส.ส.ขั้นต่ำก่อนว่าประเทศนี้ควรมี ส.ส.เท่าไร สมมุติว่า 500 คน ตัวเลข 500 คือตัวเลขขั้นต่ำ ส.ส.ที่ได้จริงอาจจะมากกว่านี้ก็ได้

                จากจำนวน 500 ก็แบ่ง ส.ส.เป็น 2 ประเภทเหมือนเดิม คือ ส.ส.แบบแบ่งเขต กับ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ อย่างละครึ่ง คือ แบบละ 250 คน

                การลงคะแนนจะเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขต 1 คนในเขตของผู้เลือก และเลือกพรรค (ส.ส.บัญชีรายชื่อ) ที่ตนเองชอบ

                สาระสำคัญอยู่ที่การนับคะแนน กล่าวคือ ระบบเยอรมันจะดูที่คะแนนของพรรคก่อน แล้วคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ออกมาเมื่อเทียบกับจำนวนเต็ม ในที่นี้คือ 500 โดยเปอร์เซ็นต์ที่ได้จะเป็นตัวกำหนดว่าจะได้ ส.ส.ขั้นต่ำจำนวนเท่าไร

                สมมุติว่า ส.ส.ทั้งหมดมี 500 คน พรรคเพื่อไทยได้แบบบัญชีรายชื่อ 40% แปลว่าพรรคเพื่อไทยจะได้ ส.ส.ขั้นต่ำประมาณ 200 ที่นั่งในการเลือกแบบแบ่งเขต จากนั้นก็ไปดูว่ามีผู้สมัครพรรคเพื่อไทยกี่คนที่ชนะในระบบแบ่งเขต สมมุติชนะ 180 เขต พรรคเพื่อไทยก็จะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อเพิ่มอีก 20 คน รวมเป็น 200 คน (ตามจำนวน ส.ส.ขั้นต่ำที่คิดจากเปอร์เซ็นต์คะแนนบัญชีรายชื่อ)

                แต่ถ้าพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตถึง 220 เขต ซึ่งเท่ากับเกิน 200 ที่นั่งไปแล้ว ก็ให้ถือว่าพรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.220 คนไปเลย โดยจะไม่ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีก

                ทั้งนี้ เมื่อย้อนไปดูข้อมูลผลการเลือกตั้งปี 54 จะพบว่าพรรคเพื่อไทยได้คะแนนแบบบัญชีรายชื่อ 48.41% จึงควรได้ที่นั่ง ส.ส.242 ที่นั่ง แต่ปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.รวมทั้ง 2 ระบบ (คำนวณที่นั่งแบบแบ่งเขตกับแบบบัญชีรายชื่อแยกกันเด็ดขาด แล้วนำตัวเลขมารวมกัน) มากถึง 265 ที่นั่ง คิดเป็น 53% ทั้งๆ ที่หากไปดูผลการเลือกตั้งเฉพาะแบบแบ่งเขต พรรคเพื่อไทยก็ไม่ได้ชนะถึง 242 เขต ฉะนั้นพรรคเพื่อไทยจึงได้ ส.ส.เกินกว่าความนิยมที่ประชาชนเลือกจริง 23 ที่นั่ง

                ทางด้านประชาธิปัตย์ ถ้าคิดแบบเยอรมัน โดยเอาผลการเลือกตั้งปี 54 เป็นตัวตั้ง ประชาธิปัตย์ได้คะแนนแบบบัญชีรายชื่อ 35.15% จึงควรมี ส.ส.รวม 176 ที่นั่ง แต่เมื่อรวมคะแนน 2 ระบบออกมาจริงๆ พรรคประชาธิปัตย์กลับได้ ส.ส.รวมเพียงแค่ 159 ที่นั่ง เท่ากับได้น้อยกว่าความนิยมที่ประชาชนเลือกจริง 17 ที่นั่ง

                ฉะนั้นถ้าคิดแบบเยอรมัน ช่องว่างระหว่างพรรคเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์ จากเดิม 106 ที่นั่ง (265 ลบ 159) ก็จะเหลือเพียง 66 ที่นั่ง (242 ลบ 176) เท่ากับว่า 2 พรรคนี้ได้คะแนนสูสีกันมากขึ้น ซึ่งก็สอดคล้องกับคะแนนนิยมจากการเลือกพรรค และคะแนนป๊อปปูลาร์ โหวต ในแบบแบ่งเขต

                ส่วนที่มีบางฝ่ายวิจารณ์ว่าการเลือกตั้งระบบเยอรมันจะทำให้พรรคใหญ่เสียเปรียบ และได้รัฐบาลผสมที่ไม่เข้มแข็งนั้น ดร.สติธร มองว่า โดยหลักแล้วการเลือกตั้งแบบเยอรมันจะทำให้จำนวนที่นั่งของพรรคการเมืองอันดับ 1 กับอันดับ 2 ใกล้กันมากขึ้น และทำให้พรรคที่ชนะไม่ได้ที่นั่งในสภาท่วมท้นเกินจริง แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จหรือต้องเป็นแบบนั้นเสมอไป

                "สมมุติถ้าเสนอตัวบุคคลที่ได้รับความนิยมมากๆ ลงชิงเก้าอี้นายกฯ ประกอบกับมีนโยบายโดนๆ ทำให้พรรคนั้นได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์เกิน 50% อย่างนี้ก็ตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้เลย ส่วนเรื่องการตั้งพรรคอะไหล่ไว้รองรับตามที่มีบางพรรคตั้งข้อสังเกต ผมคิดว่าไม่ได้มีผลมาก เพราะจริงๆ พรรคหลักเขาก็สามารถชนะเกินครึ่งได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว ถ้าพูดเรื่องพรรคอะไหล่ ระบบเลือกตั้งแบบเดิมก็มีได้เหมือนกัน"

                "ฉะนั้นพรรคใหญ่ที่ได้รับความนิยมอยู่แล้ว อาจไม่ต้องทำอะไรเลย สมมุติถ้าผมเป็นพรรคเพื่อไทย ผมก็เฉยๆ ก็หาเสียงแบบเดิม ชูนายกฯเจ๋งๆ นโยบายโดนๆ โฉมหน้า ครม.ดีๆ ก็ชนะได้เหมือนเดิมอยู่ดี"

3โมเดลปรับปรุงการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต

                ในงานวิจัยฉบับเดียวกัน เรื่อง "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ยุติธรรมและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย" ในหัวข้อย่อย ระบบการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ตอบโจทย์ปัญหาการเมืองไทย นอกเหนือจากระบบการเลือกตั้งแบบเยอรมันแล้ว ยังมีข้อเสนออีก 3 โมเดล ซึ่งทั้งหมดเป็นการเลือกตั้ง ส.ส.ระบบคู่ขนาน หรือระบบผสมที่การคำนวณที่นั่งแบบแบ่งเขตกับแบบบัญชีรายชื่อแยกขาดจากกัน กล่าวคือ

                1.กำหนดให้มีการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเสียงข้างมากธรรมดา (simple majority vote) เขตละ 1 คน กับระบบบัญชีรายชื่อบัญชีเดียว ใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับที่เคยใช้ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 3 กรกฎาคม 2554 แต่ปรับปรุงให้ ส.ส.ทั้งสองประเภทมีจำนวนเท่ากัน

                2.กำหนดให้มี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตมีสัดส่วน 1:3 เหมือนเดิม (125 กับ 375) และใช้การเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อเดียวทั่วประเทศเหมือนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 แต่ออกแบบระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตใหม่ โดยนำระบบเขตใหญ่เบอร์เดียวในรูปแบบเดียวกับการเลือกตั้งของญี่ปุ่นมาใช้

                3.กำหนดให้มี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตมีสัดส่วน 1:3 เหมือนเดิม และใช้การเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อบัญชีเดียวทั่วประเทศเหมือนการเลือกตั้งทั่วไป 3 กรกฎาคม 2554 แต่ออกแบบระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตใหม่ โดยนำระบบการเลือกตั้งแบบจัดลำดับความนิยม หรือ preferential system หรือการเลือกตั้งเผื่อไว้ (alternative choices) มาใช้ ซึ่งรูปแบบนี้ใช้อยู่ในประเทศออสเตรเลีย

                งานวิจัยระบุว่า สาเหตุที่จำเป็นต้องออกแบบระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตใหม่ (กรณีไม่เลือกใช้รูปแบบของเยอรมัน) เพราะระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเสียงข้างมากธรรมดา เขตละ 1 คน พบปัญหาผู้ชนะอาจไม่ใช่เสียงข้างมากหรือเสียงส่วนใหญ่ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นอย่างแท้จริง และเสียงที่สนับสนุนของผู้แพ้ก็ถูกทิ้งไปเลย

                เช่น ใน 1 เขตมีผู้สมัคร 3 คน ผู้สมัคร ก. ได้ 40 คะแนน ผู้สมัคร ข. กับ ค.ได้คนละ 30 คะแนน ผู้สมัคร ก.ชนะ แต่เสียงไม่ได้เกินครึ่ง และคะแนนของผู้สมัคร ข. กับ ค.ถูกทิ้งไป ทั้งๆ ที่รวมกันแล้วเป็นเสียงส่วนใหญ่ คือ 60 คะแนน

                ทางแก้ในข้อ 2 คือ ปรับให้เป็น "ระบบเขตใหญ่เบอร์เดียว" คือ เขตหนึ่งมี ส.ส.ได้หลายคน สมมุติ 3 คน แต่ประชาชนเลือกผู้สมัครที่ชอบได้เพียง 1 คน คะแนนก็จะกระจายออกไป ถ้าผู้สมัครมี 5 คน เขตนี้มี ส.ส.ได้ 3 คน อันดับ 1 ได้ 35 อันดับ 2 ได้ 25 อันดับ 3 ได้ 20 รวม 3 อันดับก็ได้เกินครึ่ง คะแนนที่ถูกทิ้งไปจึงไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่ ก็จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้

                ส่วนการเลือกตั้งแบบจัดลำดับความนิยม ค่อนข้างซับซ้อน และไม่เหมาะกับประเทศไทย

                ส่วนปัญหาของระบบปาร์ตี้ลิสต์ (บัญชีรายชื่อ) ดร.สติธร กล่าวว่า ในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย มีระบบบัญชีรายชื่อเพื่อให้เป็นทางเลือกในเชิงที่ว่าจะได้คนดีคนเก่งเข้ามาทำงาน แต่กรณีประเทศไทยกลับพบว่าบัญชีรายชื่อของพรรคกาารเมืองจำนวนมากหรือเกือบทั้งหมดไม่ได้สะท้อนเรื่องพวกนี้เท่าที่ควร คือไม่มีตัวแทนที่หลากหลายเข้าไปอยู่ในบัญชีรายชื่อ ทั้งตัวแทนในเรื่องของพื้นที่ กระจายภูมิภาค กระจายกลุ่มคนต่างๆ รวมถึงสัดส่วนผู้หญิงผู้ชาย คนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยด้วย

                นอกจากนั้น ระบบการเลือกตั้งแบบผสมที่ไทยใช้อยู่ คือ มีทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ แต่ปรากฏว่าพฤติกรรมการลงคะแนนของประชาชนอาจไม่ต่างกัน ทำให้คุณค่าของระบบบัญชีรายชื่อลดลงจากพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนเอง

                สุดท้ายกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน หรืออย่างน้อยที่สุดคือสมาชิกพรรคหนึ่งพรรคใดต้องมีส่วนร่วมในการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาเป็นผู้สมัคร ยังไม่เกิดขึ้นในกรณีของประเทศไทย
ที่มา ; เว็บ นสพ.คม ชัด ลึก

โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา) 
ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkruthailand.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

  (  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 


ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม