เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
- เพลงปลุกใจเพื่อชาติ
https://drive.google.com/file/d/0B-_vZWX_y7IMR1ItUTI2ZG85OGs/edit?usp=sharing
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)
- ระบบควบคุมภายใน 2557
- เพลงปลุกใจเพื่อชาติ
https://drive.google.com/file/d/0B-_vZWX_y7IMR1ItUTI2ZG85OGs/edit?usp=sharing
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
- แนวทางการจัดทำรายงานการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในประจำปี 2557
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
สมศ.เป็นกระจกส่องคุณภาพตัวเองผู้เสนอให้ยุบคือผู้ขาดประสิทธิภาพ
ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และอดีต ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา (องค์การมหาชน) ให้ความเห็นแย้งถึงเรื่องการยุบสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ด้วยเหตุผลของผู้เสนอแนะให้ยุบว่าเป็นการเพิ่มภาระและเป็นอุปสรรคในการจัดการศึกษา ในฐานะนักการศึกษา และอดีต ผู้บริหารองค์กรมหาชนเห็นว่า การบริหารงานขององค์กรทุกประเภทต้องได้รับการตรวจสอบการใช้เงินและคุณภาพของผลงานโดยองค์กรภายนอกที่เป็นอิสระ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารและ เจ้าหน้าที่ ในกรณีมหาวิทยาลัยของรัฐจะต้องถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานภายนอก เช่น สตง. หรือองค์กรอื่นซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น สมศ. ก็ได้ ว่ามหาวิทยาลัยของรัฐหรือในกำกับรัฐ ใช้เงินภาษีประชาชนอย่างคุ้มค่าหรือไม่และผลผลิตได้คุณภาพตามมาตรฐานสากลหรือไม่
หน้าที่ของมหาวิทยาลัยของรัฐที่ใช้เงินภาษีของประชาชน จึงต้องให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน เกี่ยวกับ คุณภาพผลงานของตนเพื่อผู้ปกครอง นักเรียน และประชาชนจะได้ทราบและตัดสินใจ เกี่ยวกับหน่วยงานนั้นๆ ว่าควรจะอยู่หรือถูกยุบ ในกรณีของมหาวิทยาลัยเอกชน เจ้าของมหาวิทยาลัยทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้เงินอยู่แล้ว แต่ก็ต้องมีหน่วยงานภายนอกที่มาตรวจสอบคุณภาพเพื่อผู้ปกครอง และนักเรียนจะได้ตัดสินใจว่า จะให้บุตรหลานของตนมาศึกษาหรือไม่ ซึ่งความต้องการให้ยุบ สมศ. อาจทำได้ตามที่ผู้เสนอ ต้องการ แต่จะต้องมีการตรวจสอบโดยหน่วยงานภายนอกมาทำหน้าที่แทน ในที่นี้ ตนขอ เสนอให้ใช้ผล World Ranking เป็นตัวชี้คุณภาพว่า แต่ละมหาวิทยาลัยอยู่ลำดับที่เท่าไรของโลก ซึ่งจะต้องให้อธิการบดีมาชี้แจงว่า ผลการบริหารงานของตนมี คุณภาพอะไร มากน้อยเพียงไร
ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวถึงในส่วนที่ว่าเป็นการเพิ่มภาระให้กับมหาวิทยาลัยนั้น ขอบอกว่า การประเมินภายนอกของ สมศ. เป็นการทำงานตามปกติ ที่ใช้ระบบมาตรฐานข้อมูลเป็นกลไกขับเคลื่อน ในกรณีที่มหาวิทยาลัยคิดว่าเป็นภาระ เพราะมหาวิทยาลัยมิได้ใช้ระบบฐานข้อมูลในการบริหารจัดการ ดังนั้น เมื่อสมศ. ส่งคณะผู้ประเมินคุณภาพผลงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนที่เกี่ยวข้องจึงต้องไปขอผลงานจากผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากร เพื่อนำมาสร้างหลักฐานให้คณะผู้ประเมินของสมศ.จึงทำให้ดูเสมือนว่า เป็นการไปสร้างภาระให้กับผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริหารมหาวิทยาลัย มิได้เข้าใจว่า การประเมินคุณภาพของสมศ. ทุก 5 ปี เป็นการช่วยอธิการบดีและคณบดี ในการส่องกระจกดูตัวเองและและถ้าพบว่าจุดใดเป็นจุดอ่อน จะได้แก้ปรับปรุง จุดไตเป็นจุดแข็งจะได้เสริมให้แข็งขึ้นอีก และเมื่ออธิการบดีและคณบดี ไม่เข้าใจ ความสำคัญของผลการประเมินก็จะสั่งการให้เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน ไปดำเนินการ ซึ่งเขาเหล่านั้นมิใช่ ผู้บริหาร จึงไม่เข้าใจวิธีทำประกันคุณภาพ
ในส่วนของคณะผู้ประเมินจะได้รับการคัดเลือกมาจาก ผู้บริหาร และอาจารย์จากสถาบันอื่นมาเป็น ผู้ประเมิน อธิการบดีและคณบดีจึงกลัวจะได้คะแนนต่ำ ต่างพยายามทุกวิถีทางที่จะให้ได้คะแนนสูง ทั้งที่มิใช่สภาพที่แท้จริงของตน ดังนั้น การ "ยุบ สมศ." จึงมิใช่คำตอบที่แท้จริงอย่างที่ผู้นำเสนอให้มีการยุบ เพราะผลจากการประเมินคุณภาพตามสภาพที่แท้จริงของแต่ละมหาวิทยาลัย จะทำให้เกิดประโยชน์ในหลายๆ ด้าน อาทิ หากแต้ม มหาวิทยาลัยสูง ก็จะเป็นการยืนยันให้สังคมรับรู้ถึงคุณภาพของสถาบันนั้นๆ บัณฑิตที่จบไปก็มีคุณภาพ ทำงานได้เลยและเป็นคนดี และภาพลักษณ์ของอาจารย์ที่สอนจะเป็นที่ยอมรับ มีทักษะทางคุรุศึกษา และมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารโลก หรือมีงานสร้างสรรค์ ที่เผยแพร่ และผลงานเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนก็จะได้รับการพัฒนาวิธีปฏิบัติงาน เพื่อช่วยให้อาจารย์ทำงานได้เต็มที่
ดังนั้น หากอธิการบดี และคณบดีมีการบริหารจัดการที่ใช้ฐานข้อมูลและหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตลอดจน ใส่ใจงานของตนตามที่เสนอตัวมาดำรงตำแหน่ง ก็จะต้องเข้าใจเหตุผลว่า ทำไมต้องประกันคุณภาพผลผลิตของตน และปรับปรุงผลผลิตให้มีคุณภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ หรือ มากกว่า แต่ถ้าไม่เข้าใจว่า ทำการประกันคุณภาพการศึกษาไปทำไม ก็น่าจะให้บุคคลอื่นมาบริหารงานแทนจะเป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองมากกว่า
ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน กล่าวทิ้งท้ายว่า ดังนั้น การยุบ สมศ.จึงมิใช่คำตอบ แต่ถ้าเสนอให้ สมศ. ปรับปรุงวิธีทำงานให้ดีขึ้น น่าจะเป็นทางออกที่ดี หรือถ้ายุบสมศ. ก็น่าจะใช้ World Ranking เป็นตัวประกันคุณภาพแทน ซึ่งจากการตรวจสอบลำดับของมหาวิทยาลัยไทย เทียบกับมหาวิทยาลัยในโลกพบว่า อยู่ในระดับไม่สูง และไม่เคยสูง บางแห่งติดลำดับ 3,000 ของโลก แพ้มหาวิทยาลัยในประเทศด้อยพัฒนาบางประเทศเสียอีก จึงเสนอว่า ถ้าอธิการบดีและคณบดียอมรับความจริงเรื่องคุณภาพ แล้วหันมาช่วยกันพัฒนาคุณภาพผลผลิต 4 อย่าง ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยของตน ก็จะเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริง นั่นคือตัวเองประเมินตัวเองก่อน แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ใช้เกณฑ์ว่า ถ้ามหาวิทยาลัยใดไม่ติดลำดับ 500 ลำดับแรกของโลกก็ ยุบมหาวิทยาลัยนั้นเสีย
หน้าที่ของมหาวิทยาลัยของรัฐที่ใช้เงินภาษีของประชาชน จึงต้องให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน เกี่ยวกับ คุณภาพผลงานของตนเพื่อผู้ปกครอง นักเรียน และประชาชนจะได้ทราบและตัดสินใจ เกี่ยวกับหน่วยงานนั้นๆ ว่าควรจะอยู่หรือถูกยุบ ในกรณีของมหาวิทยาลัยเอกชน เจ้าของมหาวิทยาลัยทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้เงินอยู่แล้ว แต่ก็ต้องมีหน่วยงานภายนอกที่มาตรวจสอบคุณภาพเพื่อผู้ปกครอง และนักเรียนจะได้ตัดสินใจว่า จะให้บุตรหลานของตนมาศึกษาหรือไม่ ซึ่งความต้องการให้ยุบ สมศ. อาจทำได้ตามที่ผู้เสนอ ต้องการ แต่จะต้องมีการตรวจสอบโดยหน่วยงานภายนอกมาทำหน้าที่แทน ในที่นี้ ตนขอ เสนอให้ใช้ผล World Ranking เป็นตัวชี้คุณภาพว่า แต่ละมหาวิทยาลัยอยู่ลำดับที่เท่าไรของโลก ซึ่งจะต้องให้อธิการบดีมาชี้แจงว่า ผลการบริหารงานของตนมี คุณภาพอะไร มากน้อยเพียงไร
ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวถึงในส่วนที่ว่าเป็นการเพิ่มภาระให้กับมหาวิทยาลัยนั้น ขอบอกว่า การประเมินภายนอกของ สมศ. เป็นการทำงานตามปกติ ที่ใช้ระบบมาตรฐานข้อมูลเป็นกลไกขับเคลื่อน ในกรณีที่มหาวิทยาลัยคิดว่าเป็นภาระ เพราะมหาวิทยาลัยมิได้ใช้ระบบฐานข้อมูลในการบริหารจัดการ ดังนั้น เมื่อสมศ. ส่งคณะผู้ประเมินคุณภาพผลงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนที่เกี่ยวข้องจึงต้องไปขอผลงานจากผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากร เพื่อนำมาสร้างหลักฐานให้คณะผู้ประเมินของสมศ.จึงทำให้ดูเสมือนว่า เป็นการไปสร้างภาระให้กับผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริหารมหาวิทยาลัย มิได้เข้าใจว่า การประเมินคุณภาพของสมศ. ทุก 5 ปี เป็นการช่วยอธิการบดีและคณบดี ในการส่องกระจกดูตัวเองและและถ้าพบว่าจุดใดเป็นจุดอ่อน จะได้แก้ปรับปรุง จุดไตเป็นจุดแข็งจะได้เสริมให้แข็งขึ้นอีก และเมื่ออธิการบดีและคณบดี ไม่เข้าใจ ความสำคัญของผลการประเมินก็จะสั่งการให้เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน ไปดำเนินการ ซึ่งเขาเหล่านั้นมิใช่ ผู้บริหาร จึงไม่เข้าใจวิธีทำประกันคุณภาพ
ในส่วนของคณะผู้ประเมินจะได้รับการคัดเลือกมาจาก ผู้บริหาร และอาจารย์จากสถาบันอื่นมาเป็น ผู้ประเมิน อธิการบดีและคณบดีจึงกลัวจะได้คะแนนต่ำ ต่างพยายามทุกวิถีทางที่จะให้ได้คะแนนสูง ทั้งที่มิใช่สภาพที่แท้จริงของตน ดังนั้น การ "ยุบ สมศ." จึงมิใช่คำตอบที่แท้จริงอย่างที่ผู้นำเสนอให้มีการยุบ เพราะผลจากการประเมินคุณภาพตามสภาพที่แท้จริงของแต่ละมหาวิทยาลัย จะทำให้เกิดประโยชน์ในหลายๆ ด้าน อาทิ หากแต้ม มหาวิทยาลัยสูง ก็จะเป็นการยืนยันให้สังคมรับรู้ถึงคุณภาพของสถาบันนั้นๆ บัณฑิตที่จบไปก็มีคุณภาพ ทำงานได้เลยและเป็นคนดี และภาพลักษณ์ของอาจารย์ที่สอนจะเป็นที่ยอมรับ มีทักษะทางคุรุศึกษา และมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารโลก หรือมีงานสร้างสรรค์ ที่เผยแพร่ และผลงานเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนก็จะได้รับการพัฒนาวิธีปฏิบัติงาน เพื่อช่วยให้อาจารย์ทำงานได้เต็มที่
ดังนั้น หากอธิการบดี และคณบดีมีการบริหารจัดการที่ใช้ฐานข้อมูลและหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตลอดจน ใส่ใจงานของตนตามที่เสนอตัวมาดำรงตำแหน่ง ก็จะต้องเข้าใจเหตุผลว่า ทำไมต้องประกันคุณภาพผลผลิตของตน และปรับปรุงผลผลิตให้มีคุณภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ หรือ มากกว่า แต่ถ้าไม่เข้าใจว่า ทำการประกันคุณภาพการศึกษาไปทำไม ก็น่าจะให้บุคคลอื่นมาบริหารงานแทนจะเป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองมากกว่า
ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน กล่าวทิ้งท้ายว่า ดังนั้น การยุบ สมศ.จึงมิใช่คำตอบ แต่ถ้าเสนอให้ สมศ. ปรับปรุงวิธีทำงานให้ดีขึ้น น่าจะเป็นทางออกที่ดี หรือถ้ายุบสมศ. ก็น่าจะใช้ World Ranking เป็นตัวประกันคุณภาพแทน ซึ่งจากการตรวจสอบลำดับของมหาวิทยาลัยไทย เทียบกับมหาวิทยาลัยในโลกพบว่า อยู่ในระดับไม่สูง และไม่เคยสูง บางแห่งติดลำดับ 3,000 ของโลก แพ้มหาวิทยาลัยในประเทศด้อยพัฒนาบางประเทศเสียอีก จึงเสนอว่า ถ้าอธิการบดีและคณบดียอมรับความจริงเรื่องคุณภาพ แล้วหันมาช่วยกันพัฒนาคุณภาพผลผลิต 4 อย่าง ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยของตน ก็จะเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริง นั่นคือตัวเองประเมินตัวเองก่อน แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ใช้เกณฑ์ว่า ถ้ามหาวิทยาลัยใดไม่ติดลำดับ 500 ลำดับแรกของโลกก็ ยุบมหาวิทยาลัยนั้นเสีย
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า
ที่มา ; เว็บกระทรวงศึกษาธิการ
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 1 คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 2 คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com
สมัคร ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น