อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
http://www.thaigov.go.th
วันนี้ (13 กันยายน 2559) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ
1 ทำเนียบรัฐบาล
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม
พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ พันเอก อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ
ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ได้ร่วมแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่
..) พ.ศ. .... (การไต่สวนมูลฟ้อง หลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์ และ ค่าธรรมเนียม)
2.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยว พ.ศ. ....
3.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิด ในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ....
4.
เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรา ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(การขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม)
5.
เรื่อง การเปลี่ยนชื่อ ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพยาบาลแห่งสภากาชาดไทย
พ.ศ.
....
6.
เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือกเป็นกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
พ.ศ. ....
7.
เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้ข้าวเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตาม มาตรการนำผ่านราชอาณาจักร
พ.ศ. ....
8.
เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติ ด่านพรมแดน
และด่านศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
รวม 2 ฉบับ (สนามบินศุลกากรหนองคาย และสนามบินศุลกากรเลย)
เศรษฐกิจ – สังคม
9.
เรื่อง ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
10. เรื่อง
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ
(Medical Hub) (พ.ศ. 2559 – 2568) ระยะ 10 ปี
11.
เรื่อง
หลักเกณฑ์การออกสลากการกุศล
12.
เรื่อง มาตรการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคมภายในท้องถิ่น
ต่างประเทศ
13.
เรื่อง ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การการท่องเที่ยวโลกว่า ด้วยการจัดงานวันท่องเที่ยวโลกปี
พ.ศ. 2559
14. เรื่อง เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการลงนามโปรแกรมปฏิบัติการเชิง ยุทธศาสตร์ปี 2015
ของโครงการจัดการระบบนิเวศวิทยาขนาดใหญ่ใน
อ่าวเบงกอล
15.
เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยการต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความ ร่วมมือระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย
และกระทรวง ที่ดิน
โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่งแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
16.
เรื่อง การเข้าร่วมคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(Committee for Scientific
and Technological Policy – CSTP) ภายใต้องค์การเพื่อความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation
For Economic Co- operation
and Development – OECD)
17.
เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาไทย
– กัมพูชา (ฉบับแก้ไข)
18.
เรื่อง การจัดทำสัตยาบันสารความตกลงปารีส
19.
เรื่อง บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข
20.
เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาการประชุมระดับสูงเรื่องการจัดการการย้ายถิ่น ขนาดใหญ่ของผู้ลี้ภัยและผู้โยกย้ายถิ่นฐานในระหว่างการประชุมสมัชชา สหประชาชาติ
ร่างคำมั่นของไทยที่จะประกาศในการประชุมสุดยอดระดับผู้นำ ด้านผู้ลี้ภัยของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและกรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุม ทั้งสอง
แต่งตั้ง
21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงการคลัง)
22.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
และให้ ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่ง
(กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
23.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงคมนาคม)
24.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
26.
เรื่อง การจ้างข้าราชการภายหลังครบเกษียณอายุราชการเป็นลูกจ้างชั่วคราวเป็น
กรณีพิเศษ
27.
เรื่อง ปรับปรุงการมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ และ กรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
28.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
(นักบริหารสูง)
(สำนักนายกรัฐมนตรี)
29.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
30.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงพลังงาน)
31.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
32.
เรื่อง ให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่อีกหนึ่งวาระ
33.
เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร
34.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง กระทรวงมหาดไทย
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
1. เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... (การไต่สวนมูลฟ้อง
หลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์ และค่าธรรมเนียม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การไต่สวนมูลฟ้อง หลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์
และค่าธรรมเนียม) ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุดและความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับความซ้ำซ้อนในประเด็นการกำหนดหลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์ฎีกาที่กำหนดให้จำเลยที่มิได้ถูกคุมขังต้องแสดงตนในขณะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้กับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ
1. เพิ่มบทบัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์การตั้งทนายความให้แก่จำเลยและให้สิทธิจำเลยแถลงให้ศาลทราบถึงพยานหลักฐานที่ควรเรียกมาในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
2.
เพิ่มบทบัญญัติการกำหนดกรณีที่ศาลอาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยได้
3.
แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดให้จำเลยซึ่งศาลพิพากษาลงโทษจำคุกและไม่รอการลงโทษ
หรือลงโทษที่หนักกว่า และไม่ได้ถูกคุมขัง
ในการอุทธรณ์จำเลยต้องมาแสดงตนต่อศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ และกำหนดให้ นำหลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวมาบังคับใช้แก่การยื่นฎีกาด้วย
4.
แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดหลักเกณฑ์การนำจำนวนเงินสุทธิของทรัพย์สินที่ต้องยึดหรืออายัดมาใช้ค่าธรรมเนียม
ค่าปรับ มูลค่าทรัพย์สินที่ถูกริบ หรือราคาทรัพย์สิน หรือค่าสินไหมทดแทน
5.
เพิ่มบทบัญญัติการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาคำฟ้อง และหมายเรียกแก่จำเลย
2. เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยว พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(กก.) เสนอ ดังนี้
1.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป ทั้งนี้ ให้ กก. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
2.
รับทราบแผนการจัดทำกฎหมายลำดับรองและกรอบระยะเวลาของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
เป็นการอนุวัติการตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน
(ASEAN
Mutual Recognition Arrangement on Tourism Professionals: ASEAN MRA on TP) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่ในการสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับข้อตกลงร่วมฯ
ปรับปรุงและติดตามตรวจสอบมาตรฐานสมรรถนะหลักสูตรการท่องเที่ยวร่วมกับอาเซียน
กำกับและติดตามผลการยกระดับสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการรับรองสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่ในการประเมินสมรรถนะของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
เช่น บุคลากรแผนกแม่บ้าน แผนกต้อนรับส่วนหน้า แผนกประกอบอาหาร แผนกธุรกิจท่องเที่ยว
เป็นต้น โดยประเมินตามมาตรฐานสมรรถนะและแนวทางปฏิบัติในการประเมิน
ออกหนังสือรับรองสมรรถนะ หนังสือรับรองการเป็นศูนย์ฝึกอบรมและศูนย์ประเมิน
พัฒนาระบบทะเบียนบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและระบบข้อมูลสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
วินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
เพิกถอนหนังสือรับรองการเป็นศูนย์ประเมิน ผู้ประเมิน ศูนย์ฝึกอบรม และ ผู้อบรม เป็นต้น
3.
กำหนดหลักเกณฑ์การขอเป็นผู้ฝึกอบรมมาตรฐานสมรรถนะ การขอประเมินสมรรถนะ
หน่วยงานที่สามารถขอเป็นศูนย์ฝึกอบรมหรือศูนย์ประเมิน การจัดตั้ง การยกเลิก
และหน้าที่ของศูนย์ฝึกอบรมหรือศูนย์ประเมิน
การออกคำสั่งให้หยุดดำเนินการฝึกอบรมหรือประเมินเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่งของนายทะเบียน
และการเพิกถอนหนังสือรับรอง
4.
กำหนดอัตราขั้นสูงของค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ดังนี้ ค่าประเมินสมรรถนะ
และค่าฝึกอบรมสมรรถนะสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
ค่ารับรองให้เป็นผู้ฝึกอบรมหรือผู้ประเมิน
ค่ารับรองเพื่อให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมหรือศูนย์ประเมิน และค่าต่ออายุหนังสือรับรอง
5.
กำหนดโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัตินี้กำหนด
โดยมีทั้งโทษปรับทางปกครอง โทษปรับทางอาญา
และให้นายทะเบียนมีอำนาจเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายฉบับนี้
3. เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติในกฎหมายอื่นที่มีหลักการในลักษณะเดียวกันกับบทบัญญัติดังกล่าวมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
และกำหนดบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมของกฎหมายแต่ละฉบับโดยให้ผู้แทนนิติบุคคลหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลมีความรับผิดชอบต่อเมื่อมีการสั่งการหรือมีการกระทำของบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการ
หรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
4. เรื่อง
ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
และอนุมัติหลักการ ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1.
กำหนดให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ 592) พ.ศ. 2558
2.
กำหนดให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตรา
ดังต่อไปนี้ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559
2.1 ร้อยละหกจุดสาม
สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่
1 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2560
2.2 ร้อยละเก้า
สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี
ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560
เป็นต้นไป
5. เรื่อง
การเปลี่ยนชื่อ ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพยาบาลแห่งสภากาชาดไทย พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเปลี่ยนชื่อร่างพระราชบัญญัติจาก “ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพยาบาลแห่งสภากาชาดไทย
พ.ศ. ....” เป็น “ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิราสภากาชาดไทย พ.ศ. ....”
ตามที่สภากาชาดไทยเสนอ
และให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
สภากาชาดไทยแจ้งว่า
สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือ เรื่อง
พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อร่างพระราชบัญญัติว่า “ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา
สภากาชาดไทย” เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ตามที่สภากาชาดไทยเสนอ
ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาส 150 ปี
วันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ผู้มีพระมหากรุณาธิคุณ ด้านการศึกษา การแพทย์ การสาธารณสุข และวิชาชีพการพยาบาล
สาระสำคัญของเรื่อง
แก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติ
จาก “ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพยาบาลแห่งสภากาชาดไทย พ.ศ. ...” เป็น “ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิราสภากาชาดไทย”
6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเป็นกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมพัมนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเป็นกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
เปลี่ยนชื่อกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เป็นกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
7.
เรื่องร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้ข้าวเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง กำหนดให้ข้าวเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ.
.... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างประกาศ
ให้ข้าวเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการนำผ่านราชอาณาจักร
ดังนี้
1. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการกักพืชและกฎหมายว่าด้วยพันธุ์พืช
2.
นำผ่านทางด่านศุลกากรเฉพาะที่มีด่านตรวจพืชตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด และต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชและหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของประเทศผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกตามที่กำหนดแสดงต่อกรมศุลกากรประกอบการนำผ่านราชอาณาจักร
ทั้งนี้
ต้องแสดงหนังสือรับรองสุขอนามัยพืชต่อด่านตรวจพืชเพื่อตรวจสอบก่อนนำมาแสดงต่อกรมศุลกากรประกอบการนำผ่านราชอาณาจักร
8. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติ ด่านพรมแดน
และด่านศุลกากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ (สนามบินศุลกากรหนองคายและสนามบินศุลกากรเลย)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่
สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติด่านพรมแดน และด่านศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สนามบินศุลกากรหนองคาย)
และร่างกฎกระทรวงกำหนด ท่าหรือที่
สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติด่านพรมแดน และด่านศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สนามบินศุลกากรเลย)
รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติด่านพรมแดน และด่านศุลกากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สนามบินศุลกากรหนองคาย) เป็นการแก้ไขที่ทำการด่านศุลกากรหนองคายไปตั้งอยู่ที่
เลขที่ 224 หมู่ที่ 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ช่วงถนนเฉลิมพระเกียรติ)
ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย โดยยกเลิกความในลำดับที่ 18
ของข้อ 4 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้
กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2553
ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ขอแก้ไข
ด่านศุลกากร
ด่านศุลกากร
ด่านศุลกากรหนองคาย
ตั้งอยู่ที่บ้านดอนคู่ หมู่ที่ 1 ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย
จังหวัดหนองคาย
ด่านศุลกากรหนองคาย
ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 224 หมู่ที่ 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2
(ช่วงถนนเฉลิมพระเกียรติ) ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
ทางอนุมัติ
ทางอนุมัติ
ทางถนน
1. ทางถนนจากท่าเรือหนองคาย (ท่าเรือหายโศก)
ไปตามถนนโศกเลี้ยวขวาไปตามถนนประจักษ์ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนมิตรภาพถึงด่านศุลกากร
หนองคาย
2. ทางถนนจากสะพานมิตรภาพไทย
– ลาวไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายสระบุรี – หนองคาย (เขตแดน) ตอน
กม.163+000 ต่อเขตแดนไทย – ลาว เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2
สายสระบุรี – หนองคาย(เขตแดน) ถึงด่านศุลกากรหนองคาย
3. ทางถนนจากสะพานมิตรภาพไทย
– ลาวไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายสระบุรี – หนองคาย (เขตแดน) ตอน
กม.163+000 ต่อเขตแดนไทย – ลาวเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายสระบุรี
– หนองคาย(เขตแดน)
ตอนถนนเชื่อมเข้าเมืองหนองคายเลี้ยวขวาเข้าถนนพนังชลประทานเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
2 สายสระบุรี – หนองคาย (เขตแดน) ถึงด่านศุลกากรหนองคาย
ทางถนน
1. ทางถนนจากท่าเรือหนองคาย (ท่าเรือหายโศก) ไปตามถนนหายโศก
เลี้ยวขวาไปตามถนนประจักษ์ เลี้ยวซ้ายไปตามถนนเจนจบทิศ เลี้ยวขวาไปตาม
ถนนหมายเลข 243 (ถนนหนองคาย – สะพานมิตรภาพ)
เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ช่วงถนนเฉลิมพระเกียรติ)
ถึงด่านศุลกากรหนองคาย
2. ทางถนนจากสะพานมิตรภาพไทย
– ลาวไปตาม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ช่วงถนนเฉลิมพระเกียรติ) สายสระบุรี –
หนองคาย (เขตแดน) ตอน กม.509+113 ต่อเขตแดนถึงด่านศุลกากรหนองคาย
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติด่านพรมแดน
และด่านศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สนามบินศุลกากรเลย)
เป็นการกำหนดเพิ่มเติมให้สนามบินเลย จังหวัดเลย
เป็นสนามบินศุลกากรและกำหนดให้ท่าอากาศยานเลย ตั้งอยู่เลขที่ 38 หมู่ 6 บ้านนาอาน
ถนนมลิวรรณ ตำบลนาอาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย เป็นสนามบินศุลกากร
โดยเพิ่มเติมความในลำดับที่ 19/2
เศรษฐกิจ – สังคม
9.
เรื่อง
ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.
2560-2564)
2.
มอบหมายสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำกราบบังคมทูลเกล้าถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย
ประกาศใช้แผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ต่อไป
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2564
สาระสำคัญของเรื่อง
สศช. รายงานว่า แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 จะสิ้นสุดในวันที่ 30
กันยายน 2559 โดย สศช. ได้จัดทำ
ร่างแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 12 บนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2539) โดยหลักการสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12
ประกอบด้วย (1) ยึดหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” (2) ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา”
(3) ยึด “วิสัยทัศน์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี”
มาเป็นกรอบของวิสัยทัศน์ประเทศไทยในแผนพํฒนาฯ ฉบับที่ 12 (4) ยึด
“เป้าหมายอนาคตประเทศไทยปี 2579”
เป็นกรอบการกำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุใน 5 ปีแรก และเป้าหมายในระดับย่อยลงมา ควบคู่กับกรอบเป้าหมายที่ยั่งยืน และ (5)
ยึดหลักการนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังใน 5 ปี
วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 12 ประกอบด้วย (1)
เพื่อวางรากฐานให้คนไทยเป็นคนมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดี
ตลอดจนเป็นคนเก่งที่มีทักษะความรู้ความสามารถและพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (2)
เพื่อให้คนไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพ
รวมทั้งชุมชนมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ (3) เพื่อให้เศรษฐกิจเข้มแข็ง
แข่งขันได้ มีเสถียรภาพ และมีความยั่งยืน (4)
เพื่อรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ (5) เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน มีประสิทธิภาพ โปร่งใส
และมีการทำงานเชิงบูรณาการ (6) เพื่อให้มีการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค และ (7) เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีความเชื่อมโยงกับประเทศต่าง
ๆ ได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายรวม
ประกอบด้วย (1) คนไทยมีคุณลักษณะเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ (2)
ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้และความยากจนลดลง (3)
ระบบเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและแข่งขันได้
(4) ทุนทางธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมสามารถสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(5) มีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตยและเพิ่มความเชื่อมั่นของนานาชาติต่อประเทศไทย
และ (6) มีระบบบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ กระจายอำนาจ
และมีส่วนร่วมจากประชาชน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
มี 10 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1)
ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ 2)
ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 3)
ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน 4) ยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 5)
ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคั่งและยั่งยืน 6) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ
และธรรมาภิบาลในสังคมไทย 7)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ 8)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
9) ยุทธศาสตร์การพัฒนาภค เมือง
และพื้นที่เศรษฐกิจ และ 10) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา
10. เรื่อง
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) (พ.ศ.
2559 – 2568) ระยะ 10 ปี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข
(สธ.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบหลักการยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) โดยให้ สธ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมตามกรอบระยะเวลาการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล
(ถึงเดือนกรกฎาคม 2560) แล้วดำเนินการต่อไปได้
ส่วนกิจกรรมใดที่เป็นการดำเนินการซึ่งเกินกว่ากรอบระยะเวลาการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล
ให้นำเรื่องดังกล่าวบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติรูปเพื่อให้รัฐบาลชุดต่อไปที่จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินพิจารณาดำเนินการต่อไปตามนัยมติข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 (เรื่อง
การเสนอโครงการที่ต้องขออนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี)
ทั้งนี้ ในส่วนงบประมาณและเงินจากแหล่งอื่นสำหรับดำเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว
ให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.
ในการดำเนินการเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hab)กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการโดยไม่ให้กระทบต่อประสิทธิภาพใน การให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนชาวไทยด้วย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ
(พ.ศ. 2559 – 2568) มีวิสัยทัศน์พันธกิจที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขของโลกภายใน
10 ปี โดยมีเป้าประสงค์ใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1.
ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) 2.
ศูนย์กลางบริการสุขภาพ (Medical Service Hub) 3.
ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub) 4. ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Product
Hub)
ยุทธศาสตร์ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1)
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการจัดบริการสุขภาพ 2) พัฒนาบริการรักษาพยาบาล
3) พัฒนาบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ 4) พัฒนาบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
5) พัฒนาบริการวิชาการและงานวิจัยทางการแพทย์ (Academic Hub)
6) พัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ 7) ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์
ทั้งนี้
แผนระยะเร่งด่วน 2 ปี จะดำเนินการในปี 2559 – 2560 และระยะปานกลาง – ระยะยาว 8 ปี จะดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2561
เป็นต้นไป โดยมีการติดตามและประเมินผลตามตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์
พร้อมทั้งจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
11. เรื่อง หลักเกณฑ์การออกสลากการกุศล
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาการออกสลากการกุศล
ตามที่กระทรวงการคลัง
(กค.) เสนอ
สาระสำคัญของหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาการออกสลากการกุศล
มีดังนี้
1.
ลักษณะหน่วยงานเจ้าของโครงการที่ขอรับการสนับสนุน
1.1 ส่วนราชการ
1.2 มูลนิธิ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
2.
ลักษณะของโครงการที่ขอรับการสนับสนุน
2.1
เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาด้านสาธารณสุขหรือลดความเหลื่อมล้ำ ด้านสังคม เช่น กลุ่มผู้พิการ
ผู้ด้อยโอกาส เด็กและผู้สูงอายุ
2.2
เป็นโครงการที่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐหรือได้รับการจัดสรร แต่ไม่เพียงพอ
2.3
เป็นโครงการที่ไม่มีการดำเนินงานซ้ำซ้อนกับโครงการที่เสนอขอรับเงินงบประมาณจากภาครัฐ
ทั้งทางตรงและทางอ้อม และไม่มีลักษณะเป็นเงินหมุนเวียนเพื่อใช้ในการบริหารจัดการหรือดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทั่วไป
2.4
เป็นโครงการที่ไม่เคยได้รับการสนับสนุนการออกสลากการกุศลมาก่อน
3.
กำหนดให้มีการพิมพ์สลากการกุศลไม่เกินจำนวน งวดละ 11 ล้านฉบับคู่
4.
วงเงินที่จะให้การสนับสนุนโครงการต้องไม่เกินโครงการละ 1,000 ล้านบาท และการพิจารณาสนับสนุนโครงการที่ขอออกสลากการกุศลในแต่ละครั้งจะต้องมีวงเงินรวมไม่เกินครั้งละ
10,000 ล้านบาท
5.
การพิจารณาออกสลากการกุศลในครั้งต่อไป จะดำเนินการภายหลังจากสำนักงานสลากกิน แบ่งรัฐบาลได้จ่ายเงินสนับสนุนโครงการให้กับหน่วยงานต่าง
ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติครั้งก่อนแล้วเสร็จ
12. เรื่อง
มาตรการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคมภายในท้องถิ่น
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.)ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอและมอบหมายให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย (มท.) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ พร้อมทั้งจัดทำระบบกำกับดูแล
ติดตามโครงการและรายงานความคืบหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน
สาระสำคัญของ
กค.
ได้เสนอมาตรการสนับสนุนการใช้จ่ายของ อปท. ในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2560
จำนวน 2 มาตรการ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ อปท.
นำเงินสะสมมาใช้จ่ายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น ดังนี้
1. มาตรการสนับสนุนการลงทุนร่วมระหว่างรัฐบาลและ
อปท. (Matching
Fund) มี วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ และสร้างแรงจูงใจให้ อปท.
มีบทบาทในการพัมนาและแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนในพื้นที่ของตนเองร่วมกับรัฐบาล
กลุ่มเป้าหมาย
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
(ไม่รวมกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) รวม 7,851 แห่ง
ประเภทโครงการ
จะต้องเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามอำนาจหน้าที่ของ
อปท. ตามแผนการพัฒนาของ อปท.ที่จัดทำตามระเบียบกระทวงมหาดไทยว่าด้วย
การจัดทำแผนพัฒนาของ อปท.พ.ศ. 2548 เช่น โครงการพัฒนาเส้นทาง การคมนาคม โครงสร้างพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค
บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การท่องเที่ยวชุมชน
โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ อปท. ได้รับการถ่ายโอนจากส่วนราชการต่าง ๆ
และจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 ของ
อปท. และ อปท. สามารถเสนอโครงการที่จะดำเนินการได้มากกว่า 1
โครงการแต่ไม่เกินวงเงินสูงสุดที่ อปท. แต่ละประเภทจะได้รับ
กลไกการดำเนินงาน
ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (มท.) ดำเนินการ ดังนี้
1. กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และแนวทางการดำเนินมาตรการ โดยหารือร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงบประมาณ
(สงป.) กระทรวงการคลัง (กค.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
2.
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการที่ อปท. จะขอรับเงินอุดหนุน
3.
ให้สำรวจเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามประเภทที่ได้กำหนดไว้สำหรับมาตรการนี้
ตามความต้องการของ อปท. จำนวน 7,851 แห่ง เพื่อประกอบการพิจารณาของ
สงป. ก่อนการจัดสรรงบประมาณให้แก่ อปท. ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
4. ให้กำกับดูแลติดตามโครงการ
และรายงานความคืบหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน
2. มาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านการใช้จ่ายเงินสะสมของ
อปท. มี
วัตถุประสงค์ เพื่อให้
อปท. มีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน กลุ่มด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ
และผู้พิการในท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มด้อยโอกาส
ผู้สูงอายุและผู้พิการในเขต อบจ. เทศบาล และ อบต.
(ไม่รวมกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) ประเภทโครงการ
เป็นโครงการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อปท. ที่สอดคล้องกับแผนการพัฒนาของ อปท.
ดังนี้ 1) โครงการพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น 2)
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กผู้ด้อยโอกาส 3)
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 4) โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการ
กลไกการดำเนินงานให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
(มท.)
ดำเนินการ ดังนี้ 1) กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และแนวทางปฏิบัติในการใช้จ่ายเงินสะสมของ อปท. เช่น
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ และพิการ 2)
กำหนดหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์หรือสิ่งจูงใจให้แก่ อปท.
ที่ได้ดำเนินโครงการตามข้อกำหนด เช่น การจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อเป็นรางวัลให้แก่
อปท. จากเงินอุดหนุนที่จัดสรรให้แก่ อปท.
ตามพระราชบัญญัติที่กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ส. 2542 3) ให้กำกับดูแล
ติดตามโครงการ และรายงานความคืบหน้าให้ ครม. ทราบทุกเดือน
ต่างประเทศ
13. เรื่อง
ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การการท่องเที่ยวโลกว่าด้วยการจัดงาน วันท่องเที่ยวโลกปี พ.ศ. 2559
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(กก.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบความตกลงระหว่างไทยและองค์การการท่องเที่ยวโลกว่าด้วยการจัดงานวันท่องเที่ยว
โลกปี พ.ศ.
2559 ทั้งนี้ หากก่อนลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขความตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ให้ กก.
พิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
2.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนาม
ในความตกลงดังกล่าว
3.
อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full
Power) ให้แก่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
สาระสำคัญของเรื่อง
กก. รายงานว่า ประเทศไทยได้รับเลือกให้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการของวันท่องเที่ยว
โลก พ.ศ. 2559
(World
Tourism Day : WTD
2016) ระหว่างวันที่
26-29 กันยายน 2559 ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้
กรุงเทพมหานคร และจังหวัดขอนแก่น โดยจะเป็นการจัดประชุมภายใต้หัวข้อ
“การท่องเที่ยวเพื่อคน ทั้งมวล การเข้าถึงที่เท่าเทียม” ดังนั้น จึงได้มีการจัดทำความตกลงระหว่าง UNWTO และรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งความตกลงดังกล่าวมีเนื้อหาสาระครอบคลุมถึงรูปแบบและสถานที่ของการจัดการประชุม
รวมถึงการอำนวยความสะดวกและการรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุม
14. เรื่อง
เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการลงนามโปรแกรมปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ปี
2015 ของโครงการจัดการระบบนิเวศวิทยาขนาดใหญ่ในอ่าวเบงกอล
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กษ.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบโปรแกรมปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Action Programme) ปี 2015 ของโครงการจัดการระบบนิเวศวิทยาขนาดใหญ่ในอ่าวเบงกอล (Bay
of Bengal Large Marine Ecosystem) และกิจกรรมหรือการดำเนินงานต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้โปรแกรมปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ดังกล่าวก่อนการลงนาม
2.
เห็นชอบให้อธิบดีกรมประมง
และอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งหรือผู้แทนที่อธิบดีฯ ได้มอบหมาย
เป็นผู้ลงนามในโปรแกรมปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ดังกล่าว
สาระสำคัญของโปรแกรมปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์
(SAP) เป็นยุทธศาสตร์ความร่วมมือที่ได้รับการพัฒนาขึ้นร่วมกันจากทั้ง
8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
สาธารณรัฐอินโดนีเชีย ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐมัลดีฟส์
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา
โดยได้รับคำแนะนำแนวทางจากคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการของ แต่ละประเทศ (Project Steering Committee:
PSC) มี FAO ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก GEF โดย SAP ระบุถึงแผนปฏิบัติการในหลายแนวทาง
เพื่อจัดการปัญหาในเรื่องการทำประมง ความสมบูรณ์ของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงประเด็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน
ซึ่งนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหาร และขจัดความยากจนให้กับชุมชนในพื้นที่
โดยมีการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ (1)
การจัดการโครงสร้างสถาบันและการปรับปรุงกฎหมาย (2) มาตรการบริหารจัดการ (3)
สร้างความตระหนักและส่งเสริมความรู้ในชุมชน และ (4) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
ในหัวข้อการดำเนินงาน 4 หัวข้อ
ดังนี้ 1) ทรัพยากรมีชีวิตทางทะเล 2) ระบบนิเวศในสภาวะวิกฤต 3) คุณภาพน้ำ 4) ประเด็นด้านเศรษฐกิจและสังคม
15.
เรื่อง
ขอความเห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยการต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย
และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่งแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม
(คค.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยด้านการต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย
และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่งแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างความตกลงฯ
ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนาม
และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยให้อยู่ในดุลยพินิจของ คค.
โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
2.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยสำหรับการลงนามดังกล่าว
ร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญ คือ
เห็นชอบให้มีการต่ออายุบันทึกความเข้าใจฯ
โดยไม่มี การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหา
และจะมีผลใช้บังคับในวันที่มีการลงนามครบทั้งสองฝ่าย โดยมีอายุ 2 ปี และต่ออายุได้ อีก 2 ปี
16. เรื่อง การเข้าร่วมคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(Committee for Scientific and Technological Policy – CSTP)
ภายใต้องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation
For Economic Co-operation and Development – OECD)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(วท.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(Committee for Scientific and Technological Policy – CSTP) ภายใต้องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา [Organisation
For Economic Co - operation and Development (OECD)] ในรูปแบบผู้ร่วมประชุม
(Participant)
2.
อนุมัติให้ วท. [สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)] ชำระค่าบำรุงสมาชิกรายปีในอัตราที่
OECD กำหนด
สาระสำคัญของการเข้าร่วมเป็นสมาชิก
CSTP
ภายใต้ OECD ในรูปแบบผู้ร่วมประชุม (Participant) ของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยได้มีโอกาสเข้าเป็นสมาชิกในองค์กรระดับนานาชาติเพื่อผลประโยชน์ในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.)
อันจะทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
1.
ได้เข้าร่วมการประชุม CSTP
ที่จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
2.
ได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลแหล่งความรู้
วทน.
3.
ได้เข้าร่วมคณะทำงานย่อยเฉพาะทาง การฝึกอบรมและการประชุมต่าง
ๆ ของ OECD และ CSTP ซึ่งมีกิจกรรมตลอดปี ตามความถนัดและความสนใจ
4.
ได้เข้าร่วมให้ข้อมูลเป็นกรณีศึกษาและข้อมูลระดับประเทศกับคณะทำงาน
5.
โอกาสในการสมัครเพื่อขอพิจารณาปรับระดับการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบ (Associate) 6. โอกาสในการสร้างเครือข่าย และเจรจาความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ
7.
เสริมสร้างความเชื่อมั่นของไทยในฐานะพันธมิตรเพื่อการพัฒนาในประชาคมระหว่างประเทศ
ระยะเวลาดำเนินการของการเข้าร่วมคณะกรรมการ
CSTP จะสิ้นสุดลงเมื่อประเทศสมาชิกไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์ที่จะยุติ
17. เรื่อง
การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาไทย – กัมพูชา
(ฉบับแก้ไข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ
(ศธ.) เสนอ ดังนี้
1.
อนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาไทย
– กัมพูชา
ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาราจักรไทยกับกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและกีฬาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
(ฉบับแก้ไข) ทั้งนี้ หากก่อนลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญให้ ศธ. หารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ
โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
2.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความ
ร่วมมือด้านการศึกษาไทย
– กัมพูชา (ฉบับแก้ไข)
ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงศึกษาธิการ
เยาวชนและกีฬาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
สาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจฯ
(ฉบับแก้ไข) เป็นกรอบความร่วมมือทางการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ
ที่ได้รับการส่งเสริมการจัดการโดยหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องของคู่ภาคีซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของการเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนและสถาบันการศึกษา โดยดำเนินกิจกรรมความร่วมมือ เช่น
การแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูง
การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ
บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน
ข้อมูลและสื่อการศึกษาในกรอบสาขาความร่วมมือที่กำหนด ตลอดจนการจัดประชุม สัมมนา
ซึ่งอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคู่ภาคี โดยได้ระบุให้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมด้านการศึกษาไทย
– กัมพูชา เพื่อใช้เป็นเวทีในการหารือกิจกรรม
/ โครงการความร่วมมือระหว่างกัน และจะประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้
กำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้และสิ้นสุดของบันทึกความเข้าใจฯ เป็นระยะ 5 ปี
เว้นแต่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงเจตนาที่จะสิ้นสุดบันทึกความเข้าใจฯ
(ฉบับแก้ไข) เป็นเวลา 6 เดือนล่วงหน้า
ซึ่งแตกต่างจากบันทึกความเข้าใจฉบับเดิมที่มิได้ระบุกำหนดการสิ้นสุดไว้
18. เรื่อง
การจัดทำสัตยาบันสารความตกลงปารีส
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(ทส.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบให้ประเทศไทยให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีส
และให้เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
2.
มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำและส่งมอบสัตยาบันสารความตกลงปารีสต่อเลขาธิการสหประชาชาติในฐานะผู้เก็บรักษาเอกสาร
สาระสำคัญของการให้สัตยาบันสารเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงเป็นปารีส
เป็นการแสดงเจตจำนงของไทยในการร่วมมือกับประชาคมโลกในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และทำให้ความตกลงปารีสมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30
หลังจากวันที่ภาคีอนุสัญญาอย่างน้อยที่สุด 55 ภาคี ซึ่งมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันอย่างน้อยที่สุดประมาณร้อยละ
55 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ได้มอบสัตยาบันสาร สารการยอมรับ
สารการให้ความเห็นชอบ หรือ ภาคยานุวัติสาร ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว
นอกจากจะทำให้ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีทั้งในฐานะประธานกลุ่ม 77 ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประเทศไทยในฐานะประเทศกำลังพัฒนา จะได้รับประโยชน์จากการที่ประเทศต่าง ๆ
ร่วมมือกันภายใต้ความตกลงปารีสเพื่อควบคุมอุณภูมิโลกให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
ซึ่งจะส่งผลให้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลดความรุนแรงลงได้
19. เรื่อง
บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
ดังนี้
1.
เห็นชอบต่อบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข
2.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ทั้งนี้
หากมีการแก้ไขถ้อยคำหรือประเด็นที่มิใช่สาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ผู้ลงนามเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น
ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
3.
มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)
ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
สาระสำคัญของเรื่อง
สธ.
รายงานว่าประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวระหว่างวันที่
15 -16 กันยายน 2559 ณ กรุงเทพมหานคร และในระหว่างการประชุมจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข
ในวันที่ 16 กันยายน 2559 โดยบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้าง อำนวยความสะดวก และส่งเสริมในการให้และการประสานความร่วมมือด้านสาธารณสุขบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน
โดย (1) การแลกเปลี่ยนข้อมูลและเจ้าหน้าที่ตามสาขาความร่วมมือภายใต้กฎหมายและระเบียบภายในประเทศ
(2) การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (3)
การวิจัยและการศึกษาร่วมกันในสาขาความสนใจร่วมกันตามสาขาความร่วมมือ และ (4)
ประเภทความร่วมมืออื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายตัดสินใจร่วมกัน
20. เรื่อง
ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาการประชุมระดับสูงเรื่องการจัดการการย้ายถิ่นขนาดใหญ่ของผู้ลี้ภัยและผู้โยกย้ายถิ่นฐานในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
ร่างคำมั่นของไทยที่จะประกาศในการประชุมสุดยอดระดับผู้นำด้านผู้ลี้ภัยของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและกรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมทั้งสอง
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาการประชุมระดับสูงเรื่องการจัดการการย้ายถิ่นขนาดใหญ่ของผู้ลี้ภัยและผู้โยกย้ายถิ่นฐานในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
ร่างคำมั่นของไทยที่จะประกาศในการประชุมสุดยอดระดับผู้นำด้านผู้ลี้ภัยของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
และกรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมทั้งสอง ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ก่อนมีการรับรอง/ประกาศคำมั่น
ให้ กต. สามารถดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
30 มิถุนายน 2558
(เรื่องการจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
2.
เห็นชอบให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยร่วมรับรองปฏิญญาทางการเมือง (Political
Declaration) ในที่ประชุมระดับสูงฯ และให้คำมั่นของไทย (Thailand’s Pledges) ต่อการประชุมสุดยอดฯ
ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ
3.
ในกรณีที่ในการประชุมสุดยอดฯ ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีเอกสารผลลัพธ์การประชุม
โดยมีสาระสำคัญที่สอดคล้องกับกรอบท่าทีไทย
และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการด้านมนุษยธรรมของไทย โดยไม่มีการการจัดทำเป็นความตกลงหรือหนังสือสัญญาขึ้นขอความเห็นชอบ ให้ กต.
และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมประชุมสามารถรับรองเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าวได้
สาระสำคัญของร่างและกรอบท่าทีดังกล่าว
มีดังนี้
1.
ร่างปฏิญญาฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระดับโลกในการร่วมกันแก้ไขปัญหา
และเพื่อสนับสนุนประเทศเจ้าบ้านที่ได้รับผู้ลี้ภัยไปแล้ว
โดยเน้นหลักประชาชนเป็นศูนย์กลาง และหลักสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะต่อผู้หญิงและเด็ก
2.
ร่างคำมั่นของไทยที่จะประกาศในระหว่างการประชุมสุดยอดระดับผู้นำด้านผู้ลี้ภัยของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
เป็นการแสดงเจตนารมณ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาผู้โยกย้ายถิ่นฐานกลุ่มต่าง ๆ
ในไทย เช่น
การออกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
การจัดทำระบบคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ การให้ความคุ้มครอง
ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม บริการขั้นพื้นฐาน
รวมถึงการศึกษาและบริการด้านสาธารณสุขแก่ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ
3.
กรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมข้างต้น เช่น
การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่ประเทศต้นทางและการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย การสนับสนุนให้ประเทศต่าง
ๆ ร่วมกันแบ่งเบาภาระในการบริหารจัดการปัญหา
การให้ความคุ้มครองแก่กลุ่มผู้โยกย้ายถิ่นฐานกลุ่มเปราะบาง
และการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่รับผู้ลี้ภัยเป็นด่านแรก
แต่งตั้ง
21.
เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงการคลัง)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงการคลัง
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย
ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1. นายสมพงษ์ ตัณฑพาทย์ รองอธิบดีกรมสรรพากร ดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกรรมทางการเงินการธนาคาร) (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ)
กรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2559
2. นายรณวัตร
สุวรรณาภิรมย์ รองอธิบดีกรมสรรพากร ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นต้นไป
22. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
และให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่ง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง
นางสาวนิลวรรณ ลีอังกูรเสถียร
ผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ผล (นักวิชาการเกษตรเชี่ยวชาญ) สถาบันวิจัยพืชสวน
กรมวิชาการเกษตร ให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช (นักวิชาการเกษตรทรงคุณวุฒิ) กรมวิชาการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
23. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง
นางสาวดุจดาว เจริญผล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางบก
(นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันที่ 27
เมษายน 2559 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
24. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง
นางศันสนีย์ ศรีศุกรี ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์ผังเมือง
(นักวิเคราะห์ผังเมืองเชี่ยวชาญ) สำนักพัฒนามาตรฐาน กรมโยธาธิการและผังเมือง
ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการผังเมือง (นักผังเมืองทรงคุณวุฒิ)
กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2558
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นต้นไป
25. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง
นายสมชาย กิจสนาโยธิน ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านทันตกรรม)
กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสุโขทัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านทันตกรรม)
กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสุโขทัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
26. เรื่อง
การจ้างข้าราชการภายหลังครบเกษียณอายุราชการเป็นลูกจ้างชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) เสนอ การจ้างนายชลิต มานิตกุลเป็นลูกจ้างชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ
ภายหลังครบเกษียณอายุราชการ เป็นเวลา 2 เดือน 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 –
15 ธันวาคม 2559 โดยให้ได้รับค่าจ้างเท่ากับเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ
(พ.ข.ต.) รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ได้รับตามตำแหน่างเอกอัครราชทูต
(นักบริหารทูตระดับสูง)
ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดำรงอยู่ก่อนการเกษียณอายุราชการ ส่วนค่าย้ายถิ่นที่อยู่และค่าพาหนะเดินทางกลับประเทศไทยให้เป็นไปตามสิทธิที่พึงได้รับจากการพ้นหน้าที่ราชการในต่างประเทศตามปกติ
27. เรื่อง
ปรับปรุงการมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ 197/2559 เรื่อง
ปรับปรุงการมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ตามที่ได้มีการปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 182/2559
ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2559 นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
หรือกรรมการตามกฎหมายและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
สมควรปรับปรุงการมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 234/2558
ลงวันที่ 7 กันยายน 2558 ให้สอดคล้องกัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.
2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 นายกรัฐมนตรี
จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
1.
ให้ยกเลิกความในข้อ 5.1.1 ข้อ 5.1.7
ข้อ 5.2.6 และข้อ 5.2.8 ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่
234/2558
ลงวันที่ 7 กันยายน 2558
2.
ให้ยกเลิกความในข้อ 4.1.1 และข้อ 4.1.2
ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 234/2558 ลงวันที่
7 กันยายน
2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“4.1.1
คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
4.1.2 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
4.1.2 สภาวิจัยแห่งชาติ
4.1.3 สภาลูกเสือไทย”
3.
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4.2.8 และข้อ 4.2.9 ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ 234/2558
ลงวันที่ 7 กันยายน 2558
“4.2.8
คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน
4.2.9 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร”
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
28. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
(นักบริหารสูง) (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายธวัชชัย ฤทธากรณ์
ที่ปรึกษาด้านการดำเนินงานข่าวกรองในต่างประเทศ (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ)
กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
2. นายวิม ยาหิรัญ
ที่ปรึกษาด้านข่าวกรองความมั่นคงและสถาบันหลัก (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ)
กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง
รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559
เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นต้นไป
29. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอแต่งตั้ง
นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ
รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ดำรงตำแหน่ง
เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559
เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
30. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพลังงาน)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงพลังงาน
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย ดังนี้
1. นายสมนึก บำรุงสาลี
ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
2. นางบุญบันดาล ยุวนะศิริ
รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
3. นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ
รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
4. นายธรรมยศ ศรีช่วย
อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559
ส่วนลำดับที่ 3 และ 4 ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นต้นไป
เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการและสับเปลี่ยนหมุนเวียน
31. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 5 ราย ดังนี้
1. นายสุพจน์
โตวิจักษณ์ชัยกุล อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากร น้ำบาดาล
2. นายวรศาสน์ อภัยพงษ์
อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ
3. นายสากล ฐินะกุล
ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
4. นายเสริมยศ สมมั่น
ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
5. นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559
เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการและสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นต้นไป
32. เรื่อง
ให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่อีกหนึ่งวาระ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี
ในวันที่ 16 กันยายน 2559 จำนวน 4 ราย (ลำดับ 1-4) และในวันที่ 20 กันยายน 2559
จำนวน 2 ราย (ลำดับที่ 5-6) ให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ ดังนี้
1. พลตำรวจโท วรศักดิ์
นพสิทธิพร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อยู่ในบังคับบัญชา
รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง)
2. นายธวัช สุนทราจารย์
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข อยู่ในบังคับบัญชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
3. พลเอก เจริญ นพสุวรรณ
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน อยู่ในบังคับบัญชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
4. พลเอก ปัฐมพงศ์
ประถมภัฏ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อยู่ในบังคับบัญชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
5. นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ
อยู่ในบังคับบัญชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
6. นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ อยู่ในบังคับบัญชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
33. เรื่อง
แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง)
เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เพิ่มเติมจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 ตามความในมาตรา 42
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยให้การรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เป็นไปตามลำดับ ดังนี้ 1. รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) 2.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) 3.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นางอรรชกา สีบุญเรือง)
34. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง กระทรวงมหาดไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงประเภทบริหาร
ระดับสูง จำนวน 30 ราย ดังนี้
1. ให้นายสุจินต์
ไชยชุมศักดิ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครนายก สำนักงานปลัดกระทรวง
และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองระดับสูง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สำนักงานปลัดกระทรวง
2. ให้นายโชคชัย เดชอมรธัญ
พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองระดับสูง) จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานปลัดกระทรวง
และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดภูเก็ต
สำนักงานปลัดกระทรวง
3. ให้นายสุวัฒน์
พรมสุวรรณ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองระดับสูง) จังหวัดน่าน สำนักงานปลัดกระทรวง
และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดลำปาง สำนักงานปลัดกระทรวง
4. แต่งตั้ง นายวิศิษฐ
คูรัตนเวช รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดอุทัยธานี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง
ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
5. แต่งตั้ง นายสมฤกษ์
บัวใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดอ่างทอง
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง)
สำนักงานปลัดกระทรวง
6. แต่งตั้ง นางสายพิรุณ
น้อยศิริ รองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมการพัฒนาชุมชน ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
(ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
7. แต่งตั้ง นายไพศาล วิมลรัตน์
รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดฉะเชิงเทรา
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดน่าน สำนักงานปลัดกระทรวง
8. แต่งตั้ง นายณรงค์ศักดิ์
เฉลิมเกียรติ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสมุทรสาคร
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดพะเยา
สำนักงานปลัดกระทรวง
9. แต่งตั้ง นายวีระศักดิ์
วิจิตร์แสงศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสุพรรณบุรี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดพิจิตร สำนักงานปลัดกระทรวง
10. แต่งตั้ง นายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดปทุมธานี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดเพชรบูรณ์
สำนักงานปลัดกระทรวง
11. แต่งตั้ง นายวัฒนา
พุฒิชาติ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดแพร่ สำนักงานปลัดกระทรวง
12. แต่งตั้ง นายสืบศักดิ์
เอี่ยมวิจารณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสิงห์บุรี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สำนักงานปลัดกระทรวง
13. แต่งตั้ง นายวีระชัย
ภู่เพียงใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดอุตรดิตถ์
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดลำพูน สำนักงานปลัดกระทรวง
14. แต่งตั้ง นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดลพบุรี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานปลัดกระทรวง
15. แต่งตั้ง นายพิสุทธิ์
บุษยพรรณพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดบึงกาฬ
สำนักงานปลัดกระทรวง
16.
แต่งตั้ง นายเสน่ห์ นนทะโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดเลย สำนักงานปลัดกระทรวง
ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานปลัดกระทรวง
17. แต่งตั้ง นายสฤษดิ์
วิฑูรย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับต้น) สำนักงานปลัดกระทรวง
ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดร้อยเอ็ด
สำนักงานปลัดกระทรวง
18. แต่งตั้ง นายคุมพล
บรรเทาทุกข์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสกลนคร
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดเลย สำนักงานปลัดกระทรวง
19. แต่งตั้ง นายวิทยา
จันทร์ฉลอง รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดบุรีรัมย์
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดสกลนคร สำนักงานปลัดกระทรวง
20. แต่งตั้ง นายธนากร
อึ้งจิตรไพศาล รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดพิษณุโลก
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดหนองบัวลำภู
สำนักงานปลัดกระทรวง
21.
แต่งตั้ง นายสิริรัฐ ชุมอุปการ
รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดขอนแก่น
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดอำนาจเจริญ สำนักงานปลัดกระทรวง
22.
แต่งตั้ง นายณรงค์ พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดระนอง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดชุมพร สำนักงานปลัดกระทรวง
23. แต่งตั้ง นายศิริพัฒ พัฒกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง
ระดับต้น) จังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดตรัง สำนักงานปลัดกระทรวง
24.
แต่งตั้ง นายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดปัตตานี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดปัตตานี สำนักงานปลัดกระทรวง
25.
แต่งตั้ง นายจตุพจน์ ปิยัมปุตระ รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดระนอง สำนักงานปลัดกระทรวง
ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดระนอง สำนักงานปลัดกระทรวง
26.
แต่งตั้ง นายอวยชัย อินทร์นาค รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สำนักงานปลัดกระทรวง
27.
แต่งตั้ง นายนิมิต วันไชยธนวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดพะเยา สำนักงานปลัดกระทรวง
ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดชัยนาท สำนักงานปลัดกระทรวง
28.
แต่งตั้ง นายประดิษฐ์ ยมานันท์ รองอธิบดี (นักบริหาร
ระดับต้น) กรมการปกครอง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครนายก สำนักงานปลัดกระทรวง
29.
แต่งตั้ง นายคันฉัตร ตันเสถียร รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง
ระดับต้น) จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสมุทรสงคราม
สำนักงานปลัดกระทรวง
30.
แต่งตั้ง นายกล้าณรงค์ พงษ์เจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง
ระดับต้น) จังหวัดจันทบุรี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดสระแก้ว สำนักงานปลัดกระทรวง
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นต้นไป
-------------------------------------
ที่มา; เว็บ รัฐบาลไทย
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
http://www.thaigov.go.th
วันนี้ (13 กันยายน 2559) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ
1 ทำเนียบรัฐบาล
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม
พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ พันเอก อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ
ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ได้ร่วมแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
|
1.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่
..) พ.ศ. .... (การไต่สวนมูลฟ้อง หลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์ และ ค่าธรรมเนียม)
2.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยว พ.ศ. ....
3.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิด ในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ....
4.
เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรา ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(การขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม)
5.
เรื่อง การเปลี่ยนชื่อ ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพยาบาลแห่งสภากาชาดไทย
พ.ศ.
....
6.
เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือกเป็นกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
พ.ศ. ....
7.
เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้ข้าวเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตาม มาตรการนำผ่านราชอาณาจักร
พ.ศ. ....
8.
เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติ ด่านพรมแดน
และด่านศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
รวม 2 ฉบับ (สนามบินศุลกากรหนองคาย และสนามบินศุลกากรเลย)
เศรษฐกิจ – สังคม
|
9.
เรื่อง ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
10. เรื่อง
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ
(Medical Hub) (พ.ศ. 2559 – 2568) ระยะ 10 ปี
11.
เรื่อง
หลักเกณฑ์การออกสลากการกุศล
12.
เรื่อง มาตรการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคมภายในท้องถิ่น
ต่างประเทศ
|
13.
เรื่อง ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การการท่องเที่ยวโลกว่า ด้วยการจัดงานวันท่องเที่ยวโลกปี
พ.ศ. 2559
14. เรื่อง เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการลงนามโปรแกรมปฏิบัติการเชิง ยุทธศาสตร์ปี 2015
ของโครงการจัดการระบบนิเวศวิทยาขนาดใหญ่ใน
อ่าวเบงกอล
15.
เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยการต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความ ร่วมมือระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย
และกระทรวง ที่ดิน
โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่งแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
16.
เรื่อง การเข้าร่วมคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(Committee for Scientific
and Technological Policy – CSTP) ภายใต้องค์การเพื่อความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation
For Economic Co- operation
and Development – OECD)
17.
เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาไทย
– กัมพูชา (ฉบับแก้ไข)
18.
เรื่อง การจัดทำสัตยาบันสารความตกลงปารีส
19.
เรื่อง บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข
20.
เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาการประชุมระดับสูงเรื่องการจัดการการย้ายถิ่น ขนาดใหญ่ของผู้ลี้ภัยและผู้โยกย้ายถิ่นฐานในระหว่างการประชุมสมัชชา สหประชาชาติ
ร่างคำมั่นของไทยที่จะประกาศในการประชุมสุดยอดระดับผู้นำ ด้านผู้ลี้ภัยของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและกรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุม ทั้งสอง
แต่งตั้ง
|
21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงการคลัง)
22.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
และให้ ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่ง
(กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
23.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงคมนาคม)
24.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
26.
เรื่อง การจ้างข้าราชการภายหลังครบเกษียณอายุราชการเป็นลูกจ้างชั่วคราวเป็น
กรณีพิเศษ
27.
เรื่อง ปรับปรุงการมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ และ กรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
28.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
(นักบริหารสูง)
(สำนักนายกรัฐมนตรี)
29.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
30.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงพลังงาน)
31.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
32.
เรื่อง ให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่อีกหนึ่งวาระ
33.
เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร
34.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง กระทรวงมหาดไทย
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
|
1. เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... (การไต่สวนมูลฟ้อง
หลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์ และค่าธรรมเนียม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การไต่สวนมูลฟ้อง หลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์
และค่าธรรมเนียม) ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุดและความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับความซ้ำซ้อนในประเด็นการกำหนดหลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์ฎีกาที่กำหนดให้จำเลยที่มิได้ถูกคุมขังต้องแสดงตนในขณะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้กับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ
1. เพิ่มบทบัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์การตั้งทนายความให้แก่จำเลยและให้สิทธิจำเลยแถลงให้ศาลทราบถึงพยานหลักฐานที่ควรเรียกมาในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
2.
เพิ่มบทบัญญัติการกำหนดกรณีที่ศาลอาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยได้
3.
แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดให้จำเลยซึ่งศาลพิพากษาลงโทษจำคุกและไม่รอการลงโทษ
หรือลงโทษที่หนักกว่า และไม่ได้ถูกคุมขัง
ในการอุทธรณ์จำเลยต้องมาแสดงตนต่อศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ และกำหนดให้ นำหลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวมาบังคับใช้แก่การยื่นฎีกาด้วย
4.
แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดหลักเกณฑ์การนำจำนวนเงินสุทธิของทรัพย์สินที่ต้องยึดหรืออายัดมาใช้ค่าธรรมเนียม
ค่าปรับ มูลค่าทรัพย์สินที่ถูกริบ หรือราคาทรัพย์สิน หรือค่าสินไหมทดแทน
5.
เพิ่มบทบัญญัติการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาคำฟ้อง และหมายเรียกแก่จำเลย
2. เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยว พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(กก.) เสนอ ดังนี้
1.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป ทั้งนี้ ให้ กก. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
2.
รับทราบแผนการจัดทำกฎหมายลำดับรองและกรอบระยะเวลาของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
เป็นการอนุวัติการตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน
(ASEAN
Mutual Recognition Arrangement on Tourism Professionals: ASEAN MRA on TP) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่ในการสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับข้อตกลงร่วมฯ
ปรับปรุงและติดตามตรวจสอบมาตรฐานสมรรถนะหลักสูตรการท่องเที่ยวร่วมกับอาเซียน
กำกับและติดตามผลการยกระดับสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการรับรองสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่ในการประเมินสมรรถนะของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
เช่น บุคลากรแผนกแม่บ้าน แผนกต้อนรับส่วนหน้า แผนกประกอบอาหาร แผนกธุรกิจท่องเที่ยว
เป็นต้น โดยประเมินตามมาตรฐานสมรรถนะและแนวทางปฏิบัติในการประเมิน
ออกหนังสือรับรองสมรรถนะ หนังสือรับรองการเป็นศูนย์ฝึกอบรมและศูนย์ประเมิน
พัฒนาระบบทะเบียนบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและระบบข้อมูลสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
วินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
เพิกถอนหนังสือรับรองการเป็นศูนย์ประเมิน ผู้ประเมิน ศูนย์ฝึกอบรม และ ผู้อบรม เป็นต้น
3.
กำหนดหลักเกณฑ์การขอเป็นผู้ฝึกอบรมมาตรฐานสมรรถนะ การขอประเมินสมรรถนะ
หน่วยงานที่สามารถขอเป็นศูนย์ฝึกอบรมหรือศูนย์ประเมิน การจัดตั้ง การยกเลิก
และหน้าที่ของศูนย์ฝึกอบรมหรือศูนย์ประเมิน
การออกคำสั่งให้หยุดดำเนินการฝึกอบรมหรือประเมินเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่งของนายทะเบียน
และการเพิกถอนหนังสือรับรอง
4.
กำหนดอัตราขั้นสูงของค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ดังนี้ ค่าประเมินสมรรถนะ
และค่าฝึกอบรมสมรรถนะสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
ค่ารับรองให้เป็นผู้ฝึกอบรมหรือผู้ประเมิน
ค่ารับรองเพื่อให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมหรือศูนย์ประเมิน และค่าต่ออายุหนังสือรับรอง
5.
กำหนดโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัตินี้กำหนด
โดยมีทั้งโทษปรับทางปกครอง โทษปรับทางอาญา
และให้นายทะเบียนมีอำนาจเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายฉบับนี้
3. เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติในกฎหมายอื่นที่มีหลักการในลักษณะเดียวกันกับบทบัญญัติดังกล่าวมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
และกำหนดบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมของกฎหมายแต่ละฉบับโดยให้ผู้แทนนิติบุคคลหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลมีความรับผิดชอบต่อเมื่อมีการสั่งการหรือมีการกระทำของบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการ
หรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
4. เรื่อง
ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
และอนุมัติหลักการ ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1.
กำหนดให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ 592) พ.ศ. 2558
2.
กำหนดให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตรา
ดังต่อไปนี้ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559
2.1 ร้อยละหกจุดสาม
สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่
1 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2560
2.2 ร้อยละเก้า
สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี
ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560
เป็นต้นไป
5. เรื่อง
การเปลี่ยนชื่อ ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพยาบาลแห่งสภากาชาดไทย พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเปลี่ยนชื่อร่างพระราชบัญญัติจาก “ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพยาบาลแห่งสภากาชาดไทย
พ.ศ. ....” เป็น “ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิราสภากาชาดไทย พ.ศ. ....”
ตามที่สภากาชาดไทยเสนอ
และให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
สภากาชาดไทยแจ้งว่า
สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือ เรื่อง
พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อร่างพระราชบัญญัติว่า “ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา
สภากาชาดไทย” เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ตามที่สภากาชาดไทยเสนอ
ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาส 150 ปี
วันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ผู้มีพระมหากรุณาธิคุณ ด้านการศึกษา การแพทย์ การสาธารณสุข และวิชาชีพการพยาบาล
สาระสำคัญของเรื่อง
แก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติ
จาก “ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพยาบาลแห่งสภากาชาดไทย พ.ศ. ...” เป็น “ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิราสภากาชาดไทย”
6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเป็นกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมพัมนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเป็นกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
เปลี่ยนชื่อกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เป็นกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
7.
เรื่องร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้ข้าวเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง กำหนดให้ข้าวเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ.
.... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างประกาศ
ให้ข้าวเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการนำผ่านราชอาณาจักร
ดังนี้
1. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการกักพืชและกฎหมายว่าด้วยพันธุ์พืช
2.
นำผ่านทางด่านศุลกากรเฉพาะที่มีด่านตรวจพืชตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด และต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชและหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของประเทศผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกตามที่กำหนดแสดงต่อกรมศุลกากรประกอบการนำผ่านราชอาณาจักร
ทั้งนี้
ต้องแสดงหนังสือรับรองสุขอนามัยพืชต่อด่านตรวจพืชเพื่อตรวจสอบก่อนนำมาแสดงต่อกรมศุลกากรประกอบการนำผ่านราชอาณาจักร
8. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติ ด่านพรมแดน
และด่านศุลกากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ (สนามบินศุลกากรหนองคายและสนามบินศุลกากรเลย)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่
สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติด่านพรมแดน และด่านศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สนามบินศุลกากรหนองคาย)
และร่างกฎกระทรวงกำหนด ท่าหรือที่
สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติด่านพรมแดน และด่านศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สนามบินศุลกากรเลย)
รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติด่านพรมแดน และด่านศุลกากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สนามบินศุลกากรหนองคาย) เป็นการแก้ไขที่ทำการด่านศุลกากรหนองคายไปตั้งอยู่ที่
เลขที่ 224 หมู่ที่ 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ช่วงถนนเฉลิมพระเกียรติ)
ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย โดยยกเลิกความในลำดับที่ 18
ของข้อ 4 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้
กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2553
|
ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ขอแก้ไข
|
ด่านศุลกากร
|
ด่านศุลกากร
|
ด่านศุลกากรหนองคาย
ตั้งอยู่ที่บ้านดอนคู่ หมู่ที่ 1 ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย
จังหวัดหนองคาย
|
ด่านศุลกากรหนองคาย
ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 224 หมู่ที่ 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2
(ช่วงถนนเฉลิมพระเกียรติ) ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
|
ทางอนุมัติ
|
ทางอนุมัติ
|
ทางถนน
1. ทางถนนจากท่าเรือหนองคาย (ท่าเรือหายโศก)
ไปตามถนนโศกเลี้ยวขวาไปตามถนนประจักษ์ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนมิตรภาพถึงด่านศุลกากร
หนองคาย
2. ทางถนนจากสะพานมิตรภาพไทย
– ลาวไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายสระบุรี – หนองคาย (เขตแดน) ตอน
กม.163+000 ต่อเขตแดนไทย – ลาว เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2
สายสระบุรี – หนองคาย(เขตแดน) ถึงด่านศุลกากรหนองคาย
3. ทางถนนจากสะพานมิตรภาพไทย
– ลาวไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายสระบุรี – หนองคาย (เขตแดน) ตอน
กม.163+000 ต่อเขตแดนไทย – ลาวเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายสระบุรี
– หนองคาย(เขตแดน)
ตอนถนนเชื่อมเข้าเมืองหนองคายเลี้ยวขวาเข้าถนนพนังชลประทานเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
2 สายสระบุรี – หนองคาย (เขตแดน) ถึงด่านศุลกากรหนองคาย
|
ทางถนน
1. ทางถนนจากท่าเรือหนองคาย (ท่าเรือหายโศก) ไปตามถนนหายโศก
เลี้ยวขวาไปตามถนนประจักษ์ เลี้ยวซ้ายไปตามถนนเจนจบทิศ เลี้ยวขวาไปตาม
ถนนหมายเลข 243 (ถนนหนองคาย – สะพานมิตรภาพ)
เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ช่วงถนนเฉลิมพระเกียรติ)
ถึงด่านศุลกากรหนองคาย
2. ทางถนนจากสะพานมิตรภาพไทย
– ลาวไปตาม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ช่วงถนนเฉลิมพระเกียรติ) สายสระบุรี –
หนองคาย (เขตแดน) ตอน กม.509+113 ต่อเขตแดนถึงด่านศุลกากรหนองคาย
|
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติด่านพรมแดน
และด่านศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สนามบินศุลกากรเลย)
เป็นการกำหนดเพิ่มเติมให้สนามบินเลย จังหวัดเลย
เป็นสนามบินศุลกากรและกำหนดให้ท่าอากาศยานเลย ตั้งอยู่เลขที่ 38 หมู่ 6 บ้านนาอาน
ถนนมลิวรรณ ตำบลนาอาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย เป็นสนามบินศุลกากร
โดยเพิ่มเติมความในลำดับที่ 19/2
เศรษฐกิจ – สังคม
|
9.
เรื่อง
ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.
2560-2564)
2.
มอบหมายสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำกราบบังคมทูลเกล้าถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย
ประกาศใช้แผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ต่อไป
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2564
สาระสำคัญของเรื่อง
สศช. รายงานว่า แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 จะสิ้นสุดในวันที่ 30
กันยายน 2559 โดย สศช. ได้จัดทำ
ร่างแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 12 บนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2539) โดยหลักการสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12
ประกอบด้วย (1) ยึดหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” (2) ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา”
(3) ยึด “วิสัยทัศน์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี”
มาเป็นกรอบของวิสัยทัศน์ประเทศไทยในแผนพํฒนาฯ ฉบับที่ 12 (4) ยึด
“เป้าหมายอนาคตประเทศไทยปี 2579”
เป็นกรอบการกำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุใน 5 ปีแรก และเป้าหมายในระดับย่อยลงมา ควบคู่กับกรอบเป้าหมายที่ยั่งยืน และ (5)
ยึดหลักการนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังใน 5 ปี
วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 12 ประกอบด้วย (1)
เพื่อวางรากฐานให้คนไทยเป็นคนมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดี
ตลอดจนเป็นคนเก่งที่มีทักษะความรู้ความสามารถและพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (2)
เพื่อให้คนไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพ
รวมทั้งชุมชนมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ (3) เพื่อให้เศรษฐกิจเข้มแข็ง
แข่งขันได้ มีเสถียรภาพ และมีความยั่งยืน (4)
เพื่อรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ (5) เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน มีประสิทธิภาพ โปร่งใส
และมีการทำงานเชิงบูรณาการ (6) เพื่อให้มีการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค และ (7) เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีความเชื่อมโยงกับประเทศต่าง
ๆ ได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายรวม
ประกอบด้วย (1) คนไทยมีคุณลักษณะเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ (2)
ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้และความยากจนลดลง (3)
ระบบเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและแข่งขันได้
(4) ทุนทางธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมสามารถสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(5) มีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตยและเพิ่มความเชื่อมั่นของนานาชาติต่อประเทศไทย
และ (6) มีระบบบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ กระจายอำนาจ
และมีส่วนร่วมจากประชาชน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
มี 10 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1)
ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ 2)
ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 3)
ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน 4) ยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 5)
ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคั่งและยั่งยืน 6) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ
และธรรมาภิบาลในสังคมไทย 7)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ 8)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
9) ยุทธศาสตร์การพัฒนาภค เมือง
และพื้นที่เศรษฐกิจ และ 10) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา
10. เรื่อง
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) (พ.ศ.
2559 – 2568) ระยะ 10 ปี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข
(สธ.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบหลักการยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) โดยให้ สธ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมตามกรอบระยะเวลาการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล
(ถึงเดือนกรกฎาคม 2560) แล้วดำเนินการต่อไปได้
ส่วนกิจกรรมใดที่เป็นการดำเนินการซึ่งเกินกว่ากรอบระยะเวลาการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล
ให้นำเรื่องดังกล่าวบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติรูปเพื่อให้รัฐบาลชุดต่อไปที่จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินพิจารณาดำเนินการต่อไปตามนัยมติข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 (เรื่อง
การเสนอโครงการที่ต้องขออนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี)
ทั้งนี้ ในส่วนงบประมาณและเงินจากแหล่งอื่นสำหรับดำเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว
ให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.
ในการดำเนินการเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hab)กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการโดยไม่ให้กระทบต่อประสิทธิภาพใน การให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนชาวไทยด้วย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ
(พ.ศ. 2559 – 2568) มีวิสัยทัศน์พันธกิจที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขของโลกภายใน
10 ปี โดยมีเป้าประสงค์ใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1.
ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) 2.
ศูนย์กลางบริการสุขภาพ (Medical Service Hub) 3.
ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub) 4. ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Product
Hub)
ยุทธศาสตร์ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1)
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการจัดบริการสุขภาพ 2) พัฒนาบริการรักษาพยาบาล
3) พัฒนาบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ 4) พัฒนาบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
5) พัฒนาบริการวิชาการและงานวิจัยทางการแพทย์ (Academic Hub)
6) พัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ 7) ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์
ทั้งนี้
แผนระยะเร่งด่วน 2 ปี จะดำเนินการในปี 2559 – 2560 และระยะปานกลาง – ระยะยาว 8 ปี จะดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2561
เป็นต้นไป โดยมีการติดตามและประเมินผลตามตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์
พร้อมทั้งจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
11. เรื่อง หลักเกณฑ์การออกสลากการกุศล
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาการออกสลากการกุศล
ตามที่กระทรวงการคลัง
(กค.) เสนอ
สาระสำคัญของหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาการออกสลากการกุศล
มีดังนี้
1.
ลักษณะหน่วยงานเจ้าของโครงการที่ขอรับการสนับสนุน
1.1 ส่วนราชการ
1.2 มูลนิธิ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
2.
ลักษณะของโครงการที่ขอรับการสนับสนุน
2.1
เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาด้านสาธารณสุขหรือลดความเหลื่อมล้ำ ด้านสังคม เช่น กลุ่มผู้พิการ
ผู้ด้อยโอกาส เด็กและผู้สูงอายุ
2.2
เป็นโครงการที่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐหรือได้รับการจัดสรร แต่ไม่เพียงพอ
2.3
เป็นโครงการที่ไม่มีการดำเนินงานซ้ำซ้อนกับโครงการที่เสนอขอรับเงินงบประมาณจากภาครัฐ
ทั้งทางตรงและทางอ้อม และไม่มีลักษณะเป็นเงินหมุนเวียนเพื่อใช้ในการบริหารจัดการหรือดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทั่วไป
2.4
เป็นโครงการที่ไม่เคยได้รับการสนับสนุนการออกสลากการกุศลมาก่อน
3.
กำหนดให้มีการพิมพ์สลากการกุศลไม่เกินจำนวน งวดละ 11 ล้านฉบับคู่
4.
วงเงินที่จะให้การสนับสนุนโครงการต้องไม่เกินโครงการละ 1,000 ล้านบาท และการพิจารณาสนับสนุนโครงการที่ขอออกสลากการกุศลในแต่ละครั้งจะต้องมีวงเงินรวมไม่เกินครั้งละ
10,000 ล้านบาท
5.
การพิจารณาออกสลากการกุศลในครั้งต่อไป จะดำเนินการภายหลังจากสำนักงานสลากกิน แบ่งรัฐบาลได้จ่ายเงินสนับสนุนโครงการให้กับหน่วยงานต่าง
ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติครั้งก่อนแล้วเสร็จ
12. เรื่อง
มาตรการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคมภายในท้องถิ่น
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.)ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอและมอบหมายให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย (มท.) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ พร้อมทั้งจัดทำระบบกำกับดูแล
ติดตามโครงการและรายงานความคืบหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน
สาระสำคัญของ
กค.
ได้เสนอมาตรการสนับสนุนการใช้จ่ายของ อปท. ในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2560
จำนวน 2 มาตรการ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ อปท.
นำเงินสะสมมาใช้จ่ายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น ดังนี้
1. มาตรการสนับสนุนการลงทุนร่วมระหว่างรัฐบาลและ
อปท. (Matching
Fund) มี วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ และสร้างแรงจูงใจให้ อปท.
มีบทบาทในการพัมนาและแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนในพื้นที่ของตนเองร่วมกับรัฐบาล
กลุ่มเป้าหมาย
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
(ไม่รวมกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) รวม 7,851 แห่ง
ประเภทโครงการ
จะต้องเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามอำนาจหน้าที่ของ
อปท. ตามแผนการพัฒนาของ อปท.ที่จัดทำตามระเบียบกระทวงมหาดไทยว่าด้วย
การจัดทำแผนพัฒนาของ อปท.พ.ศ. 2548 เช่น โครงการพัฒนาเส้นทาง การคมนาคม โครงสร้างพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค
บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การท่องเที่ยวชุมชน
โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ อปท. ได้รับการถ่ายโอนจากส่วนราชการต่าง ๆ
และจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 ของ
อปท. และ อปท. สามารถเสนอโครงการที่จะดำเนินการได้มากกว่า 1
โครงการแต่ไม่เกินวงเงินสูงสุดที่ อปท. แต่ละประเภทจะได้รับ
กลไกการดำเนินงาน
ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (มท.) ดำเนินการ ดังนี้
1. กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และแนวทางการดำเนินมาตรการ โดยหารือร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงบประมาณ
(สงป.) กระทรวงการคลัง (กค.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
2.
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการที่ อปท. จะขอรับเงินอุดหนุน
3.
ให้สำรวจเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามประเภทที่ได้กำหนดไว้สำหรับมาตรการนี้
ตามความต้องการของ อปท. จำนวน 7,851 แห่ง เพื่อประกอบการพิจารณาของ
สงป. ก่อนการจัดสรรงบประมาณให้แก่ อปท. ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
4. ให้กำกับดูแลติดตามโครงการ
และรายงานความคืบหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน
2. มาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านการใช้จ่ายเงินสะสมของ
อปท. มี
วัตถุประสงค์ เพื่อให้
อปท. มีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน กลุ่มด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ
และผู้พิการในท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มด้อยโอกาส
ผู้สูงอายุและผู้พิการในเขต อบจ. เทศบาล และ อบต.
(ไม่รวมกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) ประเภทโครงการ
เป็นโครงการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อปท. ที่สอดคล้องกับแผนการพัฒนาของ อปท.
ดังนี้ 1) โครงการพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น 2)
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กผู้ด้อยโอกาส 3)
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 4) โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการ
กลไกการดำเนินงานให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
(มท.)
ดำเนินการ ดังนี้ 1) กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และแนวทางปฏิบัติในการใช้จ่ายเงินสะสมของ อปท. เช่น
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ และพิการ 2)
กำหนดหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์หรือสิ่งจูงใจให้แก่ อปท.
ที่ได้ดำเนินโครงการตามข้อกำหนด เช่น การจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อเป็นรางวัลให้แก่
อปท. จากเงินอุดหนุนที่จัดสรรให้แก่ อปท.
ตามพระราชบัญญัติที่กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ส. 2542 3) ให้กำกับดูแล
ติดตามโครงการ และรายงานความคืบหน้าให้ ครม. ทราบทุกเดือน
ต่างประเทศ
|
13. เรื่อง
ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การการท่องเที่ยวโลกว่าด้วยการจัดงาน วันท่องเที่ยวโลกปี พ.ศ. 2559
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(กก.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบความตกลงระหว่างไทยและองค์การการท่องเที่ยวโลกว่าด้วยการจัดงานวันท่องเที่ยว
โลกปี พ.ศ.
2559 ทั้งนี้ หากก่อนลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขความตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ให้ กก.
พิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
2.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนาม
ในความตกลงดังกล่าว
3.
อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full
Power) ให้แก่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
สาระสำคัญของเรื่อง
กก. รายงานว่า ประเทศไทยได้รับเลือกให้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการของวันท่องเที่ยว
โลก พ.ศ. 2559
(World
Tourism Day : WTD
2016) ระหว่างวันที่
26-29 กันยายน 2559 ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้
กรุงเทพมหานคร และจังหวัดขอนแก่น โดยจะเป็นการจัดประชุมภายใต้หัวข้อ
“การท่องเที่ยวเพื่อคน ทั้งมวล การเข้าถึงที่เท่าเทียม” ดังนั้น จึงได้มีการจัดทำความตกลงระหว่าง UNWTO และรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งความตกลงดังกล่าวมีเนื้อหาสาระครอบคลุมถึงรูปแบบและสถานที่ของการจัดการประชุม
รวมถึงการอำนวยความสะดวกและการรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุม
14. เรื่อง
เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการลงนามโปรแกรมปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ปี
2015 ของโครงการจัดการระบบนิเวศวิทยาขนาดใหญ่ในอ่าวเบงกอล
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กษ.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบโปรแกรมปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Action Programme) ปี 2015 ของโครงการจัดการระบบนิเวศวิทยาขนาดใหญ่ในอ่าวเบงกอล (Bay
of Bengal Large Marine Ecosystem) และกิจกรรมหรือการดำเนินงานต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้โปรแกรมปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ดังกล่าวก่อนการลงนาม
2.
เห็นชอบให้อธิบดีกรมประมง
และอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งหรือผู้แทนที่อธิบดีฯ ได้มอบหมาย
เป็นผู้ลงนามในโปรแกรมปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ดังกล่าว
สาระสำคัญของโปรแกรมปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์
(SAP) เป็นยุทธศาสตร์ความร่วมมือที่ได้รับการพัฒนาขึ้นร่วมกันจากทั้ง
8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
สาธารณรัฐอินโดนีเชีย ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐมัลดีฟส์
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา
โดยได้รับคำแนะนำแนวทางจากคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการของ แต่ละประเทศ (Project Steering Committee:
PSC) มี FAO ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก GEF โดย SAP ระบุถึงแผนปฏิบัติการในหลายแนวทาง
เพื่อจัดการปัญหาในเรื่องการทำประมง ความสมบูรณ์ของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงประเด็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน
ซึ่งนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหาร และขจัดความยากจนให้กับชุมชนในพื้นที่
โดยมีการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ (1)
การจัดการโครงสร้างสถาบันและการปรับปรุงกฎหมาย (2) มาตรการบริหารจัดการ (3)
สร้างความตระหนักและส่งเสริมความรู้ในชุมชน และ (4) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
ในหัวข้อการดำเนินงาน 4 หัวข้อ
ดังนี้ 1) ทรัพยากรมีชีวิตทางทะเล 2) ระบบนิเวศในสภาวะวิกฤต 3) คุณภาพน้ำ 4) ประเด็นด้านเศรษฐกิจและสังคม
15.
เรื่อง
ขอความเห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยการต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย
และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่งแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม
(คค.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยด้านการต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย
และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่งแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างความตกลงฯ
ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนาม
และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยให้อยู่ในดุลยพินิจของ คค.
โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
2.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยสำหรับการลงนามดังกล่าว
ร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญ คือ
เห็นชอบให้มีการต่ออายุบันทึกความเข้าใจฯ
โดยไม่มี การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหา
และจะมีผลใช้บังคับในวันที่มีการลงนามครบทั้งสองฝ่าย โดยมีอายุ 2 ปี และต่ออายุได้ อีก 2 ปี
16. เรื่อง การเข้าร่วมคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(Committee for Scientific and Technological Policy – CSTP)
ภายใต้องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation
For Economic Co-operation and Development – OECD)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(วท.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(Committee for Scientific and Technological Policy – CSTP) ภายใต้องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา [Organisation
For Economic Co - operation and Development (OECD)] ในรูปแบบผู้ร่วมประชุม
(Participant)
2.
อนุมัติให้ วท. [สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)] ชำระค่าบำรุงสมาชิกรายปีในอัตราที่
OECD กำหนด
สาระสำคัญของการเข้าร่วมเป็นสมาชิก
CSTP
ภายใต้ OECD ในรูปแบบผู้ร่วมประชุม (Participant) ของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยได้มีโอกาสเข้าเป็นสมาชิกในองค์กรระดับนานาชาติเพื่อผลประโยชน์ในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.)
อันจะทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
1.
ได้เข้าร่วมการประชุม CSTP
ที่จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
2.
ได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลแหล่งความรู้
วทน.
3.
ได้เข้าร่วมคณะทำงานย่อยเฉพาะทาง การฝึกอบรมและการประชุมต่าง
ๆ ของ OECD และ CSTP ซึ่งมีกิจกรรมตลอดปี ตามความถนัดและความสนใจ
4.
ได้เข้าร่วมให้ข้อมูลเป็นกรณีศึกษาและข้อมูลระดับประเทศกับคณะทำงาน
5.
โอกาสในการสมัครเพื่อขอพิจารณาปรับระดับการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบ (Associate) 6. โอกาสในการสร้างเครือข่าย และเจรจาความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ
7.
เสริมสร้างความเชื่อมั่นของไทยในฐานะพันธมิตรเพื่อการพัฒนาในประชาคมระหว่างประเทศ
ระยะเวลาดำเนินการของการเข้าร่วมคณะกรรมการ
CSTP จะสิ้นสุดลงเมื่อประเทศสมาชิกไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์ที่จะยุติ
17. เรื่อง
การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาไทย – กัมพูชา
(ฉบับแก้ไข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ
(ศธ.) เสนอ ดังนี้
1.
อนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาไทย
– กัมพูชา
ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาราจักรไทยกับกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและกีฬาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
(ฉบับแก้ไข) ทั้งนี้ หากก่อนลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญให้ ศธ. หารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ
โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
2.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความ
ร่วมมือด้านการศึกษาไทย
– กัมพูชา (ฉบับแก้ไข)
ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงศึกษาธิการ
เยาวชนและกีฬาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
สาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจฯ
(ฉบับแก้ไข) เป็นกรอบความร่วมมือทางการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ
ที่ได้รับการส่งเสริมการจัดการโดยหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องของคู่ภาคีซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของการเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนและสถาบันการศึกษา โดยดำเนินกิจกรรมความร่วมมือ เช่น
การแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูง
การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ
บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน
ข้อมูลและสื่อการศึกษาในกรอบสาขาความร่วมมือที่กำหนด ตลอดจนการจัดประชุม สัมมนา
ซึ่งอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคู่ภาคี โดยได้ระบุให้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมด้านการศึกษาไทย
– กัมพูชา เพื่อใช้เป็นเวทีในการหารือกิจกรรม
/ โครงการความร่วมมือระหว่างกัน และจะประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้
กำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้และสิ้นสุดของบันทึกความเข้าใจฯ เป็นระยะ 5 ปี
เว้นแต่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงเจตนาที่จะสิ้นสุดบันทึกความเข้าใจฯ
(ฉบับแก้ไข) เป็นเวลา 6 เดือนล่วงหน้า
ซึ่งแตกต่างจากบันทึกความเข้าใจฉบับเดิมที่มิได้ระบุกำหนดการสิ้นสุดไว้
18. เรื่อง
การจัดทำสัตยาบันสารความตกลงปารีส
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(ทส.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบให้ประเทศไทยให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีส
และให้เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
2.
มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำและส่งมอบสัตยาบันสารความตกลงปารีสต่อเลขาธิการสหประชาชาติในฐานะผู้เก็บรักษาเอกสาร
สาระสำคัญของการให้สัตยาบันสารเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงเป็นปารีส
เป็นการแสดงเจตจำนงของไทยในการร่วมมือกับประชาคมโลกในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และทำให้ความตกลงปารีสมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30
หลังจากวันที่ภาคีอนุสัญญาอย่างน้อยที่สุด 55 ภาคี ซึ่งมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันอย่างน้อยที่สุดประมาณร้อยละ
55 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ได้มอบสัตยาบันสาร สารการยอมรับ
สารการให้ความเห็นชอบ หรือ ภาคยานุวัติสาร ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว
นอกจากจะทำให้ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีทั้งในฐานะประธานกลุ่ม 77 ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประเทศไทยในฐานะประเทศกำลังพัฒนา จะได้รับประโยชน์จากการที่ประเทศต่าง ๆ
ร่วมมือกันภายใต้ความตกลงปารีสเพื่อควบคุมอุณภูมิโลกให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
ซึ่งจะส่งผลให้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลดความรุนแรงลงได้
19. เรื่อง
บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
ดังนี้
1.
เห็นชอบต่อบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข
2.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ทั้งนี้
หากมีการแก้ไขถ้อยคำหรือประเด็นที่มิใช่สาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ผู้ลงนามเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น
ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
3.
มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)
ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
สาระสำคัญของเรื่อง
สธ.
รายงานว่าประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวระหว่างวันที่
15 -16 กันยายน 2559 ณ กรุงเทพมหานคร และในระหว่างการประชุมจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข
ในวันที่ 16 กันยายน 2559 โดยบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้าง อำนวยความสะดวก และส่งเสริมในการให้และการประสานความร่วมมือด้านสาธารณสุขบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน
โดย (1) การแลกเปลี่ยนข้อมูลและเจ้าหน้าที่ตามสาขาความร่วมมือภายใต้กฎหมายและระเบียบภายในประเทศ
(2) การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (3)
การวิจัยและการศึกษาร่วมกันในสาขาความสนใจร่วมกันตามสาขาความร่วมมือ และ (4)
ประเภทความร่วมมืออื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายตัดสินใจร่วมกัน
20. เรื่อง
ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาการประชุมระดับสูงเรื่องการจัดการการย้ายถิ่นขนาดใหญ่ของผู้ลี้ภัยและผู้โยกย้ายถิ่นฐานในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
ร่างคำมั่นของไทยที่จะประกาศในการประชุมสุดยอดระดับผู้นำด้านผู้ลี้ภัยของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและกรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมทั้งสอง
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาการประชุมระดับสูงเรื่องการจัดการการย้ายถิ่นขนาดใหญ่ของผู้ลี้ภัยและผู้โยกย้ายถิ่นฐานในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
ร่างคำมั่นของไทยที่จะประกาศในการประชุมสุดยอดระดับผู้นำด้านผู้ลี้ภัยของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
และกรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมทั้งสอง ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ก่อนมีการรับรอง/ประกาศคำมั่น
ให้ กต. สามารถดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
30 มิถุนายน 2558
(เรื่องการจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
2.
เห็นชอบให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยร่วมรับรองปฏิญญาทางการเมือง (Political
Declaration) ในที่ประชุมระดับสูงฯ และให้คำมั่นของไทย (Thailand’s Pledges) ต่อการประชุมสุดยอดฯ
ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ
3.
ในกรณีที่ในการประชุมสุดยอดฯ ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีเอกสารผลลัพธ์การประชุม
โดยมีสาระสำคัญที่สอดคล้องกับกรอบท่าทีไทย
และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการด้านมนุษยธรรมของไทย โดยไม่มีการการจัดทำเป็นความตกลงหรือหนังสือสัญญาขึ้นขอความเห็นชอบ ให้ กต.
และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมประชุมสามารถรับรองเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าวได้
สาระสำคัญของร่างและกรอบท่าทีดังกล่าว
มีดังนี้
1.
ร่างปฏิญญาฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระดับโลกในการร่วมกันแก้ไขปัญหา
และเพื่อสนับสนุนประเทศเจ้าบ้านที่ได้รับผู้ลี้ภัยไปแล้ว
โดยเน้นหลักประชาชนเป็นศูนย์กลาง และหลักสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะต่อผู้หญิงและเด็ก
2.
ร่างคำมั่นของไทยที่จะประกาศในระหว่างการประชุมสุดยอดระดับผู้นำด้านผู้ลี้ภัยของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
เป็นการแสดงเจตนารมณ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาผู้โยกย้ายถิ่นฐานกลุ่มต่าง ๆ
ในไทย เช่น
การออกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
การจัดทำระบบคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ การให้ความคุ้มครอง
ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม บริการขั้นพื้นฐาน
รวมถึงการศึกษาและบริการด้านสาธารณสุขแก่ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ
3.
กรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมข้างต้น เช่น
การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่ประเทศต้นทางและการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย การสนับสนุนให้ประเทศต่าง
ๆ ร่วมกันแบ่งเบาภาระในการบริหารจัดการปัญหา
การให้ความคุ้มครองแก่กลุ่มผู้โยกย้ายถิ่นฐานกลุ่มเปราะบาง
และการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่รับผู้ลี้ภัยเป็นด่านแรก
แต่งตั้ง
|
21.
เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงการคลัง)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงการคลัง
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย
ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1. นายสมพงษ์ ตัณฑพาทย์ รองอธิบดีกรมสรรพากร ดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกรรมทางการเงินการธนาคาร) (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ)
กรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2559
2. นายรณวัตร
สุวรรณาภิรมย์ รองอธิบดีกรมสรรพากร ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นต้นไป
22. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
และให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่ง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง
นางสาวนิลวรรณ ลีอังกูรเสถียร
ผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ผล (นักวิชาการเกษตรเชี่ยวชาญ) สถาบันวิจัยพืชสวน
กรมวิชาการเกษตร ให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช (นักวิชาการเกษตรทรงคุณวุฒิ) กรมวิชาการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
23. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง
นางสาวดุจดาว เจริญผล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางบก
(นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันที่ 27
เมษายน 2559 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
24. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง
นางศันสนีย์ ศรีศุกรี ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์ผังเมือง
(นักวิเคราะห์ผังเมืองเชี่ยวชาญ) สำนักพัฒนามาตรฐาน กรมโยธาธิการและผังเมือง
ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการผังเมือง (นักผังเมืองทรงคุณวุฒิ)
กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2558
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นต้นไป
25. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง
นายสมชาย กิจสนาโยธิน ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านทันตกรรม)
กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสุโขทัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านทันตกรรม)
กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสุโขทัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
26. เรื่อง
การจ้างข้าราชการภายหลังครบเกษียณอายุราชการเป็นลูกจ้างชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) เสนอ การจ้างนายชลิต มานิตกุลเป็นลูกจ้างชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ
ภายหลังครบเกษียณอายุราชการ เป็นเวลา 2 เดือน 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 –
15 ธันวาคม 2559 โดยให้ได้รับค่าจ้างเท่ากับเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ
(พ.ข.ต.) รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ได้รับตามตำแหน่างเอกอัครราชทูต
(นักบริหารทูตระดับสูง)
ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดำรงอยู่ก่อนการเกษียณอายุราชการ ส่วนค่าย้ายถิ่นที่อยู่และค่าพาหนะเดินทางกลับประเทศไทยให้เป็นไปตามสิทธิที่พึงได้รับจากการพ้นหน้าที่ราชการในต่างประเทศตามปกติ
27. เรื่อง
ปรับปรุงการมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ 197/2559 เรื่อง
ปรับปรุงการมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ตามที่ได้มีการปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 182/2559
ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2559 นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
หรือกรรมการตามกฎหมายและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
สมควรปรับปรุงการมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 234/2558
ลงวันที่ 7 กันยายน 2558 ให้สอดคล้องกัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.
2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 นายกรัฐมนตรี
จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
1.
ให้ยกเลิกความในข้อ 5.1.1 ข้อ 5.1.7
ข้อ 5.2.6 และข้อ 5.2.8 ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่
234/2558
ลงวันที่ 7 กันยายน 2558
2.
ให้ยกเลิกความในข้อ 4.1.1 และข้อ 4.1.2
ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 234/2558 ลงวันที่
7 กันยายน
2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“4.1.1
คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
4.1.2 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
4.1.2 สภาวิจัยแห่งชาติ
4.1.3 สภาลูกเสือไทย”
3.
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4.2.8 และข้อ 4.2.9 ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ 234/2558
ลงวันที่ 7 กันยายน 2558
“4.2.8
คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน
4.2.9 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร”
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
28. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
(นักบริหารสูง) (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายธวัชชัย ฤทธากรณ์
ที่ปรึกษาด้านการดำเนินงานข่าวกรองในต่างประเทศ (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ)
กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
2. นายวิม ยาหิรัญ
ที่ปรึกษาด้านข่าวกรองความมั่นคงและสถาบันหลัก (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ)
กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง
รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559
เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นต้นไป
29. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอแต่งตั้ง
นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ
รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ดำรงตำแหน่ง
เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559
เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
30. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพลังงาน)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงพลังงาน
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย ดังนี้
1. นายสมนึก บำรุงสาลี
ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
2. นางบุญบันดาล ยุวนะศิริ
รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
3. นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ
รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
4. นายธรรมยศ ศรีช่วย
อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559
ส่วนลำดับที่ 3 และ 4 ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นต้นไป
เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการและสับเปลี่ยนหมุนเวียน
31. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 5 ราย ดังนี้
1. นายสุพจน์
โตวิจักษณ์ชัยกุล อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากร น้ำบาดาล
2. นายวรศาสน์ อภัยพงษ์
อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ
3. นายสากล ฐินะกุล
ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
4. นายเสริมยศ สมมั่น
ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
5. นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559
เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการและสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นต้นไป
32. เรื่อง
ให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่อีกหนึ่งวาระ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี
ในวันที่ 16 กันยายน 2559 จำนวน 4 ราย (ลำดับ 1-4) และในวันที่ 20 กันยายน 2559
จำนวน 2 ราย (ลำดับที่ 5-6) ให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ ดังนี้
1. พลตำรวจโท วรศักดิ์
นพสิทธิพร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อยู่ในบังคับบัญชา
รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง)
2. นายธวัช สุนทราจารย์
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข อยู่ในบังคับบัญชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
3. พลเอก เจริญ นพสุวรรณ
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน อยู่ในบังคับบัญชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
4. พลเอก ปัฐมพงศ์
ประถมภัฏ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อยู่ในบังคับบัญชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
5. นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ
อยู่ในบังคับบัญชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
6. นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ อยู่ในบังคับบัญชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
33. เรื่อง
แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง)
เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เพิ่มเติมจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 ตามความในมาตรา 42
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยให้การรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เป็นไปตามลำดับ ดังนี้ 1. รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) 2.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) 3.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นางอรรชกา สีบุญเรือง)
34. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง กระทรวงมหาดไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงประเภทบริหาร
ระดับสูง จำนวน 30 ราย ดังนี้
1. ให้นายสุจินต์
ไชยชุมศักดิ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครนายก สำนักงานปลัดกระทรวง
และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองระดับสูง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สำนักงานปลัดกระทรวง
2. ให้นายโชคชัย เดชอมรธัญ
พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองระดับสูง) จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานปลัดกระทรวง
และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดภูเก็ต
สำนักงานปลัดกระทรวง
3. ให้นายสุวัฒน์
พรมสุวรรณ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองระดับสูง) จังหวัดน่าน สำนักงานปลัดกระทรวง
และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดลำปาง สำนักงานปลัดกระทรวง
4. แต่งตั้ง นายวิศิษฐ
คูรัตนเวช รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดอุทัยธานี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง
ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
5. แต่งตั้ง นายสมฤกษ์
บัวใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดอ่างทอง
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง)
สำนักงานปลัดกระทรวง
6. แต่งตั้ง นางสายพิรุณ
น้อยศิริ รองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมการพัฒนาชุมชน ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
(ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
7. แต่งตั้ง นายไพศาล วิมลรัตน์
รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดฉะเชิงเทรา
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดน่าน สำนักงานปลัดกระทรวง
8. แต่งตั้ง นายณรงค์ศักดิ์
เฉลิมเกียรติ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสมุทรสาคร
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดพะเยา
สำนักงานปลัดกระทรวง
9. แต่งตั้ง นายวีระศักดิ์
วิจิตร์แสงศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสุพรรณบุรี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดพิจิตร สำนักงานปลัดกระทรวง
10. แต่งตั้ง นายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดปทุมธานี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดเพชรบูรณ์
สำนักงานปลัดกระทรวง
11. แต่งตั้ง นายวัฒนา
พุฒิชาติ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดแพร่ สำนักงานปลัดกระทรวง
12. แต่งตั้ง นายสืบศักดิ์
เอี่ยมวิจารณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสิงห์บุรี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สำนักงานปลัดกระทรวง
13. แต่งตั้ง นายวีระชัย
ภู่เพียงใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดอุตรดิตถ์
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดลำพูน สำนักงานปลัดกระทรวง
14. แต่งตั้ง นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดลพบุรี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานปลัดกระทรวง
15. แต่งตั้ง นายพิสุทธิ์
บุษยพรรณพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดบึงกาฬ
สำนักงานปลัดกระทรวง
16.
แต่งตั้ง นายเสน่ห์ นนทะโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดเลย สำนักงานปลัดกระทรวง
ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานปลัดกระทรวง
17. แต่งตั้ง นายสฤษดิ์
วิฑูรย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับต้น) สำนักงานปลัดกระทรวง
ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดร้อยเอ็ด
สำนักงานปลัดกระทรวง
18. แต่งตั้ง นายคุมพล
บรรเทาทุกข์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสกลนคร
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดเลย สำนักงานปลัดกระทรวง
19. แต่งตั้ง นายวิทยา
จันทร์ฉลอง รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดบุรีรัมย์
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดสกลนคร สำนักงานปลัดกระทรวง
20. แต่งตั้ง นายธนากร
อึ้งจิตรไพศาล รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดพิษณุโลก
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดหนองบัวลำภู
สำนักงานปลัดกระทรวง
21.
แต่งตั้ง นายสิริรัฐ ชุมอุปการ
รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดขอนแก่น
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดอำนาจเจริญ สำนักงานปลัดกระทรวง
22.
แต่งตั้ง นายณรงค์ พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดระนอง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดชุมพร สำนักงานปลัดกระทรวง
23. แต่งตั้ง นายศิริพัฒ พัฒกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง
ระดับต้น) จังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดตรัง สำนักงานปลัดกระทรวง
24.
แต่งตั้ง นายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดปัตตานี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดปัตตานี สำนักงานปลัดกระทรวง
25.
แต่งตั้ง นายจตุพจน์ ปิยัมปุตระ รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดระนอง สำนักงานปลัดกระทรวง
ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดระนอง สำนักงานปลัดกระทรวง
26.
แต่งตั้ง นายอวยชัย อินทร์นาค รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สำนักงานปลัดกระทรวง
27.
แต่งตั้ง นายนิมิต วันไชยธนวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดพะเยา สำนักงานปลัดกระทรวง
ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดชัยนาท สำนักงานปลัดกระทรวง
28.
แต่งตั้ง นายประดิษฐ์ ยมานันท์ รองอธิบดี (นักบริหาร
ระดับต้น) กรมการปกครอง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครนายก สำนักงานปลัดกระทรวง
29.
แต่งตั้ง นายคันฉัตร ตันเสถียร รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง
ระดับต้น) จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสมุทรสงคราม
สำนักงานปลัดกระทรวง
30.
แต่งตั้ง นายกล้าณรงค์ พงษ์เจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง
ระดับต้น) จังหวัดจันทบุรี
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)
จังหวัดสระแก้ว สำนักงานปลัดกระทรวง
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นต้นไป
-------------------------------------
ที่มา; เว็บ รัฐบาลไทย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น