อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 362/2559 แนวทาง ของกระทรวงศึกษาธิการใน การพัฒนากิจการลูกเสือไทย
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการลูกเสือไทย ในการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บังคับบัญชาลูกเสือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสืออาสา กกต. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2559 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น โดยมี ดร.ประวิช รัตนเพียร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ, นายเดช วรเจริญศรี ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ตลอดจนผู้บังคับบัญชาลูกเสือ กกต.และลูกเสืออาสา กกต.จาก 844 โรงเรียนที่มีหน่วยลูกเสืออาสา กกต. เข้าร่วมประชุมจำนวน 270 คน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อทำความเข้าใจวิชาพิเศษใหม่เกี่ยวกับลูกเสือ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีและมีประโยชน์ที่จะช่วยปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน และคนไทย ซึ่งในปัจจุบันรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องของประชาธิปไตยแบบไม่ครบถ้วนและไม่มีความเข้าใจทั้งหมด หากนำวิชาเหล่านี้ปลูกฝังให้กับเด็กๆ ทั้งในช่วงของการเรียนกิจกรรมลูกเสือ และช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ก็จะช่วยปูพื้นฐานเรื่องของประชาธิปไตยได้อย่างต่อเนื่อง ดังคำกล่าวของลอร์ด เบเดน โพเอลล์ (Robert Stephenson Smyth Baden-Powell) ผู้ให้กำเนิดกิจการลูกเสือ ที่กล่าวว่า "วิชาลูกเสือไม่ใช่วิชาที่เรียนอยู่ในห้องเรียน แต่ต้องพาเด็กออกไปผจญภัยและเรียนรู้นอกห้องเรียน" ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กมีความสุขและสนุกกับการเรียนมากขึ้น
โดยส่วนตัวมีความตั้งใจที่จะปรับปรุงพัฒนากิจการลูกเสือ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เพราะมีความผูกพันกับพระองค์ตั้งแต่สมัยรับราชการในตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ จนกระทั่งมาทำงานที่กระทรวงศึกษาธิการ ก็ได้ดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการลูกเสือ ซึ่งในระยะหลัง ภาพของลูกเสือที่ออกมาช่วยเหลือหรือทำประโยชน์ต่างๆ ได้ขาดหายไปจากสังคม แม้ทุกฝ่ายทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะทำงานอย่างเข้มแข็งแล้วก็ตาม
ประกอบกับในรอบหลายปีที่ผ่านมา บ้านเมืองมีความวุ่นวาย เพราะคนในสังคมขาดสติ ใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล และไม่มีความเป็นระเบียบวินัย ในขณะที่ในโรงเรียนทุกโรงเรียนพยายามที่จะฝึกเด็กให้มีระเบียบวินัยตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการตรงต่อเวลา การเข้าคิวทานอาหาร การเข้าร่วมกิจกรรม แต่เมื่อออกมานอกรั้วโรงเรียน ต้องยอมรับว่าในสังคมไม่ได้มีสภาพเช่นเดียวกับในโรงเรียน รวมทั้งพฤติกรรมของผู้ใหญ่ทั้งหลายที่เป็นแบบอย่างของเด็กด้วย ดังนั้นการจะปลูกฝังเด็กไทยให้มีวินัยคงเป็นได้ยาก หากสภาพนอกโรงเรียนยังไม่เอื้ออำนวยและทุกฝ่ายไม่ร่วมมือกัน
ดังนั้น จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนากิจการลูกเสือให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยในเบื้องต้นมอบให้เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เร่งศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานของลูกเสือตามหลักอริยสัจ 4 (ทุกข์-ปัญหา, สมุทัย-สาเหตุของปัญหา, นิโรธ-แนวทางแก้ไขปัญหา, มรรค-วิธีแก้ปัญหา) เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้กิจการลูกเสือซบเซา รวมทั้งรับฟังปัญหาจากผู้ปฏิบัติในพื้นที่ อาทิ งบประมาณ, หลักสูตร, ความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ, การดูแลและพัฒนาผู้กำกับลูกเสือในโรงเรียน ซึ่งไม่ได้รับเงินเดือนค่าตอบแทนใดๆ จำนวนกว่า 1.4 แสนคน ฯลฯ เพื่อจะได้หาแนวทางแก้ไขร่วมกันต่อไป
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินงานพัฒนากิจการลูกเสือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นใน 2 ส่วน คือ
-
การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งจะประกาศแต่งตั้งใหม่จำนวน 15 คน โดยได้เพิ่มองค์ประกอบจากผู้แทนผู้ปฏิบัติ อาทิ ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, ผู้แทนผู้อำนวยการโรงเรียน, ผู้แทนครู ตลอดจนผู้แทนทหารบก
-
การปรับปรุงระบบสิทธิประโยชน์จากเครื่องหมายลิขสิทธิ์/ตราสัญลักษณ์ของกิจการลูกเสือ ซึ่งที่ผ่านมามอบให้องค์การค้าของ สกสค.เป็นผู้จำหน่ายให้กับผู้ค้ารายย่อย แต่พบว่าไม่มีการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ทำให้สูญเสียงบประมาณสำหรับการดำเนินกิจการลูกเสือไทยเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงได้เชิญร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าลูกเสือทั้งหมดมาประชุมชี้แจงและขอความร่วมมือให้ขายสินค้าที่มีอยู่ให้หมด เพราะในปี 2560 จะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ และนำเงินส่วนนี้ส่งให้สำนักงานเลขาธิการลูกเสือแห่งชาติ เพื่อใช้ประโยชน์ในพัฒนากิจการลูกเสือต่อไป เช่น จัดกิจกรรมลูกเสือ ปรับปรุงค่ายลูกเสือ เป็นต้น
ดร.ประวิช รัตนเพียร กรรมการการเลือกตั้ง กล่าวว่า ลูกเสืออาสา กกต. ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2550 โดยความเห็นพ้องร่วมกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และ กกต. เพื่อสร้างเยาวชนให้เข้าใจวิถีประชาธิปไตยโดยใช้กระบวนการลูกเสือในการจัดกิจกรรม โดยตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมาได้เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้ทำงานเพื่อสังคม เพื่อชาติ ซึ่งเป็นการค่อยๆ ซึมซับประชาธิปไตยจากการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งการดูแลบรรยากาศการเลือกตั้ง การให้ความช่วยเหลือผู้พิการและผู้สูงอายุในการเลือกตั้ง ซึ่งในอนาคตจะขยายการจัดตั้งกองอาสาลูกเสือ กกต. จาก 844 โรงเรียนให้กระจายออกไปทั่วทั้งประเทศต่อไป
ส่วนการดำเนินงานของ กกต. ในการลงคะแนนเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 และประเด็นเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นที่น่ายินดีที่มีผู้มาใช้สิทธิ์เพิ่มขึ้น รวมทั้งไม่มีเรื่องร้องเรียนแต่อย่างใด จึงขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายของ กกต. โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการที่มีเครือข่ายกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งมีส่วนร่วมทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จอย่างดี
ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจการลูกเสือว่า ลูกเสือเป็นกิจกรรมที่มีมายาวนานและไม่ตกยุคตกสมัย เป็นกิจกรรมที่มอบความสุขและตอบสนองจิตวิญญาณของเด็กและเยาวชน (Play and Learn) ในการฝึกที่จะได้อยู่ร่วมกัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าร่วมกัน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการอยู่ร่วมกันในสังคม ตลอดจนเป็นจุดกำเนิดประชาธิปไตยที่ทุกคนต้องอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข และมองบ้านเมืองเป็นเรื่องของเราทุกคน ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง
ดังนั้น ลูกเสือต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานประชาธิปไตย มีจิตอาสา และมองว่าสังคมเป็นเรื่องของบ้านเมืองเป็นเรื่องของพวกเรา พร้อมทั้งกล่าวที่จะสนับสนุนและร่วมขับเคลื่อนหน่วยลูกเสืออาสา กกต.ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
"การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บังคับบัญชาลูกเสือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสืออาสา กกต. จัดขึ้นเพื่อแนะนำหลักสูตรวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสืออาสา กกต. เป็นวิชาเสริมในโรงเรียน ประกอบด้วย 1) วิชานักประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง 2) วิชานักบริหารการเลือกตั้ง 3) วิชานักสร้างเครือข่ายการเลือกตั้ง รวมทั้งมีการชี้แจงการได้มาซึ่งเครื่องหมายพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสืออาสา กกต. ซึ่งเป็นความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ในการจัดทำหลักสูตรคู่มือสำหรับผู้บังคับบัญชาลูกเสือและสำหรับลูกเสือ สำหรับครูผู้สอนและนักเรียนที่สนใจวิชาพิเศษ จำนวน 2 เล่ม เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการจัดฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสืออาสา กกต."
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 362/2559 แนวทาง ของกระทรวงศึกษาธิการใน การพัฒนากิจการลูกเสือไทย
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการลูกเสือไทย ในการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บังคับบัญชาลูกเสือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสืออาสา กกต. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2559 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น โดยมี ดร.ประวิช รัตนเพียร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ, นายเดช วรเจริญศรี ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ตลอดจนผู้บังคับบัญชาลูกเสือ กกต.และลูกเสืออาสา กกต.จาก 844 โรงเรียนที่มีหน่วยลูกเสืออาสา กกต. เข้าร่วมประชุมจำนวน 270 คน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อทำความเข้าใจวิชาพิเศษใหม่เกี่ยวกับลูกเสือ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีและมีประโยชน์ที่จะช่วยปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน และคนไทย ซึ่งในปัจจุบันรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องของประชาธิปไตยแบบไม่ครบถ้วนและไม่มีความเข้าใจทั้งหมด หากนำวิชาเหล่านี้ปลูกฝังให้กับเด็กๆ ทั้งในช่วงของการเรียนกิจกรรมลูกเสือ และช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ก็จะช่วยปูพื้นฐานเรื่องของประชาธิปไตยได้อย่างต่อเนื่อง ดังคำกล่าวของลอร์ด เบเดน โพเอลล์ (Robert Stephenson Smyth Baden-Powell) ผู้ให้กำเนิดกิจการลูกเสือ ที่กล่าวว่า "วิชาลูกเสือไม่ใช่วิชาที่เรียนอยู่ในห้องเรียน แต่ต้องพาเด็กออกไปผจญภัยและเรียนรู้นอกห้องเรียน" ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กมีความสุขและสนุกกับการเรียนมากขึ้น
โดยส่วนตัวมีความตั้งใจที่จะปรับปรุงพัฒนากิจการลูกเสือ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เพราะมีความผูกพันกับพระองค์ตั้งแต่สมัยรับราชการในตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ จนกระทั่งมาทำงานที่กระทรวงศึกษาธิการ ก็ได้ดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการลูกเสือ ซึ่งในระยะหลัง ภาพของลูกเสือที่ออกมาช่วยเหลือหรือทำประโยชน์ต่างๆ ได้ขาดหายไปจากสังคม แม้ทุกฝ่ายทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะทำงานอย่างเข้มแข็งแล้วก็ตาม
ประกอบกับในรอบหลายปีที่ผ่านมา บ้านเมืองมีความวุ่นวาย เพราะคนในสังคมขาดสติ ใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล และไม่มีความเป็นระเบียบวินัย ในขณะที่ในโรงเรียนทุกโรงเรียนพยายามที่จะฝึกเด็กให้มีระเบียบวินัยตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการตรงต่อเวลา การเข้าคิวทานอาหาร การเข้าร่วมกิจกรรม แต่เมื่อออกมานอกรั้วโรงเรียน ต้องยอมรับว่าในสังคมไม่ได้มีสภาพเช่นเดียวกับในโรงเรียน รวมทั้งพฤติกรรมของผู้ใหญ่ทั้งหลายที่เป็นแบบอย่างของเด็กด้วย ดังนั้นการจะปลูกฝังเด็กไทยให้มีวินัยคงเป็นได้ยาก หากสภาพนอกโรงเรียนยังไม่เอื้ออำนวยและทุกฝ่ายไม่ร่วมมือกัน
ดังนั้น จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนากิจการลูกเสือให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยในเบื้องต้นมอบให้เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เร่งศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานของลูกเสือตามหลักอริยสัจ 4 (ทุกข์-ปัญหา, สมุทัย-สาเหตุของปัญหา, นิโรธ-แนวทางแก้ไขปัญหา, มรรค-วิธีแก้ปัญหา) เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้กิจการลูกเสือซบเซา รวมทั้งรับฟังปัญหาจากผู้ปฏิบัติในพื้นที่ อาทิ งบประมาณ, หลักสูตร, ความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ, การดูแลและพัฒนาผู้กำกับลูกเสือในโรงเรียน ซึ่งไม่ได้รับเงินเดือนค่าตอบแทนใดๆ จำนวนกว่า 1.4 แสนคน ฯลฯ เพื่อจะได้หาแนวทางแก้ไขร่วมกันต่อไป
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินงานพัฒนากิจการลูกเสือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นใน 2 ส่วน คือ
- การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งจะประกาศแต่งตั้งใหม่จำนวน 15 คน โดยได้เพิ่มองค์ประกอบจากผู้แทนผู้ปฏิบัติ อาทิ ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, ผู้แทนผู้อำนวยการโรงเรียน, ผู้แทนครู ตลอดจนผู้แทนทหารบก
- การปรับปรุงระบบสิทธิประโยชน์จากเครื่องหมายลิขสิทธิ์/ตราสัญลักษณ์ของกิจการลูกเสือ ซึ่งที่ผ่านมามอบให้องค์การค้าของ สกสค.เป็นผู้จำหน่ายให้กับผู้ค้ารายย่อย แต่พบว่าไม่มีการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ทำให้สูญเสียงบประมาณสำหรับการดำเนินกิจการลูกเสือไทยเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงได้เชิญร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าลูกเสือทั้งหมดมาประชุมชี้แจงและขอความร่วมมือให้ขายสินค้าที่มีอยู่ให้หมด เพราะในปี 2560 จะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ และนำเงินส่วนนี้ส่งให้สำนักงานเลขาธิการลูกเสือแห่งชาติ เพื่อใช้ประโยชน์ในพัฒนากิจการลูกเสือต่อไป เช่น จัดกิจกรรมลูกเสือ ปรับปรุงค่ายลูกเสือ เป็นต้น
ดร.ประวิช รัตนเพียร กรรมการการเลือกตั้ง กล่าวว่า ลูกเสืออาสา กกต. ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2550 โดยความเห็นพ้องร่วมกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และ กกต. เพื่อสร้างเยาวชนให้เข้าใจวิถีประชาธิปไตยโดยใช้กระบวนการลูกเสือในการจัดกิจกรรม โดยตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมาได้เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้ทำงานเพื่อสังคม เพื่อชาติ ซึ่งเป็นการค่อยๆ ซึมซับประชาธิปไตยจากการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งการดูแลบรรยากาศการเลือกตั้ง การให้ความช่วยเหลือผู้พิการและผู้สูงอายุในการเลือกตั้ง ซึ่งในอนาคตจะขยายการจัดตั้งกองอาสาลูกเสือ กกต. จาก 844 โรงเรียนให้กระจายออกไปทั่วทั้งประเทศต่อไป
ส่วนการดำเนินงานของ กกต. ในการลงคะแนนเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 และประเด็นเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นที่น่ายินดีที่มีผู้มาใช้สิทธิ์เพิ่มขึ้น รวมทั้งไม่มีเรื่องร้องเรียนแต่อย่างใด จึงขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายของ กกต. โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการที่มีเครือข่ายกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งมีส่วนร่วมทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จอย่างดี
ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจการลูกเสือว่า ลูกเสือเป็นกิจกรรมที่มีมายาวนานและไม่ตกยุคตกสมัย เป็นกิจกรรมที่มอบความสุขและตอบสนองจิตวิญญาณของเด็กและเยาวชน (Play and Learn) ในการฝึกที่จะได้อยู่ร่วมกัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าร่วมกัน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการอยู่ร่วมกันในสังคม ตลอดจนเป็นจุดกำเนิดประชาธิปไตยที่ทุกคนต้องอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข และมองบ้านเมืองเป็นเรื่องของเราทุกคน ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง
ดังนั้น ลูกเสือต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานประชาธิปไตย มีจิตอาสา และมองว่าสังคมเป็นเรื่องของบ้านเมืองเป็นเรื่องของพวกเรา พร้อมทั้งกล่าวที่จะสนับสนุนและร่วมขับเคลื่อนหน่วยลูกเสืออาสา กกต.ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
"การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บังคับบัญชาลูกเสือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสืออาสา กกต. จัดขึ้นเพื่อแนะนำหลักสูตรวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสืออาสา กกต. เป็นวิชาเสริมในโรงเรียน ประกอบด้วย 1) วิชานักประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง 2) วิชานักบริหารการเลือกตั้ง 3) วิชานักสร้างเครือข่ายการเลือกตั้ง รวมทั้งมีการชี้แจงการได้มาซึ่งเครื่องหมายพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสืออาสา กกต. ซึ่งเป็นความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ในการจัดทำหลักสูตรคู่มือสำหรับผู้บังคับบัญชาลูกเสือและสำหรับลูกเสือ สำหรับครูผู้สอนและนักเรียนที่สนใจวิชาพิเศษ จำนวน 2 เล่ม เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการจัดฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสืออาสา กกต."
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น