อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี 6 กันยายน 2559
วันนี้
(6 กันยายน 2559) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ
1 ทำเนียบรัฐบาล
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม
พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พันเอก อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ และพันเอกหญิง ทักษดา สังขจันทร์
ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1.
เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องอบผ้าต้องเป็นไปตาม มาตรฐาน พ.ศ. ....
2.
เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต
การพักใช้ใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาต เป็นผู้ ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน
พ.ศ. .... และ ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการ ปฏิบัติงานการตรวจสอบเครื่องจักร
หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบเครื่องจักร และการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเครื่องจักร
ของผู้ตรวจสอบเครื่องจักร เอกชน
พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
3.
เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. .... และร่าง กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือ มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท
4 หรือในประเภท 5 พ.ศ. .... รวม
2 ฉบับ
เศรษฐกิจ – สังคม
4. เรื่อง โครงการสานพลังประชารัฐ
- การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ
5. เรื่อง
ขอความเห็นชอบดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง
(สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน-ประชาธิปก)
ต่างประเทศ
6.
เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ
ครั้งที่ 71
7. เรื่อง
ขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมหนานหนิงในการประชุมระดับรัฐมนตรี
China-ASEAN
Ministerial Meeting on Quality Supervision, Inspection and Quarantine (SPS
Cooperation) ครั้งที่ 5
8.
เรื่อง การประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออกด้านครอบครัวและความเสมอภาค ระหว่างเพศ (The East Asia
Ministerial Forum on Families and Gender Equality)
9. เรื่อง
ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงว่าด้วยการพัฒนาความ ร่วมมือด้านรถไฟระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวง คมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
10. เรื่อง
รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย - กัมพูชา
11. เรื่อง บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับ กระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐเม็กซิโกว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ
12.
เรื่อง การลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
13. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารสุดท้ายของการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ครั้งที่ 17
และร่างปฏิญญาเกาะมาร์การิตา
14.
เรื่อง ขออนุมัติร่างแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชน (Joint Press
Statement) ของ การประชุมประจำปีระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
ครั้งที่ 6
แต่งตั้ง
15.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
16.
เรื่อง การพิจารณาอนุมัติให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เลขาธิการ กปร.
(สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ)
17.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงพาณิชย์)
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
1. เรื่อง
ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องอบผ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่อง อบผ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ.
.... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ และมอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับไปพิจารณาดำเนินการตามความเห็นสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1.
กำหนดให้ร่างพระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่ วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2.
กำหนดให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องอบผ้าต้องเป็น ไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2544
3.
กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องอบผ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เลขที่ มอก.
1389-2559 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4823 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องอบผ้า
เฉพาะด้านความปลอดภัย และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องอบผ้า
คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
2. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต
การออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาต
เป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน พ.ศ. .... และ ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบเครื่องจักร
หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบเครื่องจักร และการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเครื่องจักร
ของผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต
การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต
การออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาต
เป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน พ.ศ. ....
และร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบเครื่องจักร
หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบเครื่องจักร และการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเครื่องจักร
ของผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม
(อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
อก. เสนอว่า โดยที่พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558
ได้เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดให้เอกชนเป็น ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรที่จะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์แทนพนักงานเจ้าหน้าที่ได้เพื่อลดภาระของพนักงานเจ้าหน้าที่
และเพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.
ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต
การออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาต เป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน
พ.ศ. ....
เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับบุคคลหรือนิติบุคคลใดที่ประสงค์จะเป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน
เพื่อให้ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องชัดเจน
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1
กำหนดหน้าที่ของผู้ตรวจเครื่องจักรเอกชน โดยกำหนดผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนเป็น 3
ระดับ ได้แก่ ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรระดับ 1 (มูลค่าเครื่องจักรไม่เกิน 50 ล้านบาท)
ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรระดับ 2 (มูลค่าเครื่องจักรไม่เกิน 100 ล้านบาท)
และผู้ตรวจสอบเครื่องจักรระดับ 3 (ไม่จำกัดมูลค่าเครื่องจักร)
1.2
กำหนดวิธีการขอใบอนุญาต
โดยกำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลสามารถขอเป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนได้
โดยยื่นขออนุญาตต่อนายทะเบียนเครื่องจักรกลาง
และได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอรับใบอนุญาต
1.3
กำหนดคุณสมบัติของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จะขอเป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนระดับ
1 ระดับ 2 และระดับ 3
1.4
กำหนดขั้นตอนวิธีการของพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนเครื่องจักรกลางในการพิจารณาออกใบอนุญาต
การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต
รวมทั้งการพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาตของผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบเครื่องจักร
หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบเครื่องจักร และการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเครื่องจักร
ของผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน พ.ศ. .... เป็นการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบเครื่องจักร
เพื่อให้ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนสามารถปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.1
กำหนดให้ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนต้องมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์พร้อมและเหมาะสมในการปฏิบัติงาน
แต่งกายให้เหมาะสม และใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติงาน
2.2
กำหนดให้ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนต้องตรวจสอบเครื่องจักรตามระดับที่ได้รับอนุญาต
ตรวจสอบรายละเอียดและบันทึกตามแบบรายงานผลการตรวจสอบเครื่องจักร
2.3
กำหนดวิธีการจัดทำรายงานและรับรองผลการตรวจสอบเครื่องจักรของผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน
3. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย
หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. ....
และร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก
หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 หรือในประเภท 5 พ.ศ. .... รวม 2
ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. ....
และร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก
หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 หรือในประเภท 5 พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)
ได้ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
สธ. เสนอว่า เนื่องจาก สคก.
(คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10) ได้จัดทำร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4
หรือในประเภท 5 พ.ศ. .... ขึ้นอีกหนึ่งฉบับ
เพื่อปรับปรุงกฎกระทรวงฉบับเดิมและเพื่อให้การอนุญาตของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้สอดคล้องกับร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. ....
จึงได้ยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงดังกล่าว รวม 2 ฉบับต่อไป
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.
ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย
หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต
การออกใบอนุญาต การควบคุม และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวกับเฮมพ์(Hemp) เป็นการเฉพาะ อันเป็นการรองรับการส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ (Hemp) เป็นพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูงในอนาคต
และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมและกำกับดูแลการปลูก การจำหน่าย การมีไว้ในครอบครอง
และแปรสภาพเฮมพ์ (Hemp) ให้มีความเข้มงวดรัดกุมและป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด
2.
ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตอนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก
หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 หรือในประเภท 5 พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก
หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4
(คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ได้แก่ น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์และอะเซติลคลอไรด์)
หรือในประเภท 5 (คือทุกส่วนของพืช กัญชา ทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย
เป็นต้น) ให้มีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน
เศรษฐกิจ – สังคม
4. เรื่อง โครงการสานพลังประชารัฐ
- การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการสนับสนุนโครงการสานพลังประชารัฐ-การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.)
เสนอ
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐตามประเด็นที่ภาคเอกชน
[บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
(บริษัท เอสซีจี)] เสนอขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ
สาระสำคัญของโครงการสานพลังประชารัฐ เป็นการพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย
จำกัด (มหาชน) เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่สาธารณประโยชน์ให้กับชุมชน
เพื่อแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน ที่ประชาชนเข้ามาบุกรุกและสร้างเป็นที่พักอาศัยอย่างหนาแน่นในลักษณะชุมชนแออัด
จึงทำให้สิ่งสภาพแวดล้อม ในบริเวณดังกล่าวมีความเสื่อมโทรม
ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวไม่สามารถขอทะเบียนราษฎร์และไม่สามารถเข้าถึงการให้บริการด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐได้
รวมทั้ง ทางเข้า - ทางออก
ที่ชุมชนใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่ได้
ขออนุญาตการใช้อย่างถูกต้องจากการรถไฟแห่งประเทศไทย
ดังนั้น
กระทรวงการคลังจึงเสนอขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ
เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวให้เป็นโครงการต้นแบบที่ภาคธุรกิจ
มีส่วนร่วมในการสนับสนุนนโยบายประชารัฐ
โดยขอความร่วมมือจากการรถไฟแห่งประเทศไทยในการอนุญาตให้ใช้พื้นที่
เพื่อเป็นทางเข้า - ทางออก และพื้นที่จอดรถของโครงการฯ
และขอให้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน
เพื่อขับเคลื่อนให้การทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานไปในทิศทางเดียวกัน
อีกทั้งเป็นโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางประชารัฐของรัฐบาล
ซึ่งเป็นแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ
ภาคเอกชน และประชาชน
รวมทั้งเป็นการดำเนินการตามนโยบายการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่
22 มีนาคม 2559
5. เรื่อง
ขอความเห็นชอบดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน-ประชาธิปก)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กรุงเทพมหานคร
(กทม.) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี–สำนักงานเขตคลองสาน-ประชาธิปก)
ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
มท. รายงานว่าการดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง
(สถานีรถไฟฟ้า กรุงธนบุรี–สำนักงานเขตคลองสาน-ประชาธิปก)
มีวัตถุประสงค์ ในการรองรับการเดินทางจากการพัฒนาพื้นที่ฝั่งธนบุรี
และส่งเสริมการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ได้มีการกำหนดแนวเส้นทาง
ตำแหน่งสถานที่
โรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุงของระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทองให้มีความสอดคล้องกับการเดินทางและการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนทางรางทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและในแผนการพัฒนาต่อไปในอนาคต
โดยความยาวของแนวเส้นทาง
แบ่งออกเป็น 2 ระยะ รวมระยะทั้งสิ้น 2.68 กิโลเมตร ดังนี้
ระยะที่ 1 ช่วงถนนกรุงธนบุรี แยกคลองสาน (BTS กรุงธนบุรี-โรงพยาบาลตากสิน รวมระยะทาง 1.72กิโลเมตร
(3 สถานี) เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้า BTS สถานีกรุงธนบุรี โดยแนวเส้นทางจะวิ่งมาตามถนนกรุงธนบุรีมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเจริญนคร ผ่านวัดสุวรรณารามมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือไปตามถนนเจริญนคร
ผ่านถนนเจริญรัถผ่านแยกคลองสาน และสิ้นสุดระยะที่ 1 หน้าโรงพยาบาลตากสิน
(คาดว่าจะเปิดให้บริการประมาณปี 2561)
ระยะที่ 2 ช่วงถนนสมเด็จเจ้าพระยา ถนนประชาธิปก
(โรงพยาบาลตากสิน–วัดอนงคารามวรวิหาร) รวมระยะทาง 0.96
กิโลเมตร 1สถานี) เริ่มจากหน้าโรงพยาบาลตากสินถนนสมเด็จเจ้าพระยา
โดยแนวเส้นทางจะวิ่งคู่ขนานไปกับคลองสมเด็จเจ้าพระยาผ่านสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาข้ามถนนท่าดินแดง
มุ่งหน้าสู่ถนนประชาธิปกและสิ้นสุดระยะที่ 2 ก่อนถึงบริเวณหน้าวัดอนงคารามวรวิหาร
(จะเปิดให้บริการตามการพัฒนาของรถไฟฟ้าสายสีม่วงคาดว่าจะเป็นช่วงปลายปี 2565)
ต่างประเทศ
6. เรื่อง
ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 71
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
สมัยสามัญ ครั้งที่ 71
และหากมีการแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กต. พิจารณาและดำเนินการได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กต. รายงานว่า
1.
การประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 71 จะเปิดสมัยการประชุมในวันที่ 13
กันยายน 2559 และดำเนินการประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม
2559 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
โดยสหประชาชาติได้กำหนดประเด็นหลักของการประชุมคือ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
: การผลักดันในระดับสากลเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกของเรา (The
Sustainble Development Goals : a universal push to transform our world)”
2.
ร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ
ครั้งที่ 71 สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศ
และทำให้ประชาคมระหว่างประเทศตระหนักถึงบทบาทของไทยในฐานะสมาชิกที่ดีของสหประชาชาติ
และในฐานะประธานกลุ่ม 77
ซึ่งไทยแสดงบทบาทนำที่แข็งขันและสร้างสรรค์ในการผลักดันผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนา
โดยเฉพาะการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสนับสนุนการ
อนุวัติเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อหลักของการอภิปรายทั่วไปของที่ประชุมฯ ในปีนี้ โดยร่างเอกสารท่าทีไทยครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ
ตามระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสหประชาชาติที่ไทยให้ความสำคัญในแต่ละหมวด
รวมทั้งสิ้น 9 หมวด ได้แก่ 1)
การส่งเสริมการพัฒนาและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ยั่งยืนตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติและผลการประชุมสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง
2) รักษาสันติภาพและ ความมั่นคงระหว่างประเทศ
3) การพัฒนาแอฟริกา 4) การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน 5) การประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม
6) การส่งเสริมความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ 7) การลดอาวุธ 8)
การควบคุมยาเสพติด การป้องกันอาชญากรรม และการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ
9) การบริหารองค์การและอื่น ๆ
7. เรื่อง
ขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมหนานหนิงในการประชุมระดับรัฐมนตรี China-ASEAN Ministerial Meeting on Quality Supervision, Inspection and Quarantine (SPS
Cooperation) ครั้งที่ 5
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมหนานหนิงสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน
– จีนด้านการควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกัน
(ความร่วมมือด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช) [China-ASEAN
Ministerial Meeting on Quality Supervision,
Inspection and Quarantine (SPS Cooperation)] ครั้งที่ 5
ตามที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กษ.
รายงานว่า
1.
บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยความร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
(ASEAN-China MOU on SPS)
มีขอบเขตความร่วมมือ 4 หลักการ ได้แก่ (1)
การจัดทำระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลและการแจ้งเตือน (2) การแลกเปลี่ยน
การเยือนของผู้นำประเทศสมาชิก (3) การจัดการฝึกอบรมและสัมมนา (4)
ความร่วมมือด้านงานวิจัย โดยมีกลไกการประชุม
3 ระดับ ได้แก่ ระดับรัฐมนตรี ระดับอธิบดีหรือผู้ประสานงานและคณะทำงานระดับเทคนิค
โดยมีกำหนดจัดการประชุมแต่ละระดับทุก 2 ปี
2. สาธารณรัฐประชาชนจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่
5 ตั้งแต่ วันที่ 9 – 11
กันยายน 2559 ณ เมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในด้านการควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันที่เกี่ยวข้องกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
(SPS)
ในระดับของผู้นำประเทศสมาชิกอาเชียนและจีน
และผลักดันโครงการความร่วมมือที่ได้หารือในการประชุมระดับอธิบดีและระดับเทคนิคให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(นายวิทยา ผิวผ่อง) เป็นหัวหน้าผู้แทนไทยในการเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
8. เรื่อง
การประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออกด้านครอบครัวและความเสมอภาคระหว่างเพศ (The East Asia
Ministerial Forum on Families and Gender Equality)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออกด้านครอบครัวและความเสมอภาคระหว่างเพศ
(The East Asia Ministerial Forum on Families and Gender Equality) ตามที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
พม. รายงานว่า
1.
การประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออกด้านครอบครัว (East Asia
Ministerial Forum on Families) มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐมนตรีที่รับผิดชอบนโยบายด้านครอบครัวในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ซึ่งจัดขึ้นทุก 2 ปี โดยจัดการประชุมมาแล้ว 6 ครั้ง
และการประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย
(The East Asia Gender Equality Ministerial Meeting) มีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีในสังคมและเศรษฐกิจและหามาตรการในการประสานความร่วมมือในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย
เป็นการประชุมประจำปี โดยจัดการประชุมมาแล้ว 5 ครั้ง
2.
ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดที่กรุงปักกิ่ง
สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 15 – 16 พฤษภาคม 2557
และที่ประชุมประกอบด้วยระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออกด้านครอบครัว ครั้งที่ 6
ซึ่งจัดที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ 3 – 5 ธันวาคม 2556
ได้มอบหมายให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออกด้านครอบครัวและความเสมอภาคหญิงชาย
ในปี 2559 มีกำหนดจัดประชุมฯ ระหว่างวันที่ 21 – 23 ธันวาคม 2559 ผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมประกอบด้วยระดับรัฐมนตรี
เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโส และผู้ติดตามจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก รวมทั้งสิ้น
17 ประเทศ ประมาณ 300 คน การประชุมจะมีรูปแบบ 3 รูปแบบ คือ
การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส การประชุมระดับรัฐมนตรี และการศึกษาดูงาน หัวข้อหลักของการประชุม คือ “สังคมที่เป็นมิตรกับครอบครัว : การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านสถาบันครอบครัวและส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ”
“ A Family-Friendly Society : A contribution to the Achievement of SDGs through
Families and Gender Equality”
9. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม
(คค.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ
ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนลงนามให้
คค. ดำเนินการโดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
2.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย
ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ขอบเขตความร่วมมือทางวิชาการ
ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมระบบราง
ผู้ให้บริการเดินรถไฟภายในประเทศ ผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ
องค์กรที่อยู่ในภาคส่วนของระบบราง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศโดยแบ่งปันประสบการณ์การบริหาร
แลกเปลี่ยน ให้ความรู้ และฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค
จัดสัมมนา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ และจัดประชุมอื่นๆ ร่วมกัน
สำหรับโครงการร่วมมือในการขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนในเมือง ทั้งสองฝ่ายร่วมกันพิจารณาและปรึกษาหารือ
รวมถึงสนับสนุนให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมให้ระบบรางในราชอาณาจักรไทยมีความทันสมัยอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
2. ผลผูกพันทางกฎหมาย
ไม่มี
เนื่องจากจะดำเนินการตามกฎหมายของทั้งสองประเทศภายใต้ความพร้อมด้านบุคลากรและเงินลงทุนของแต่ละฝ่าย
3. การมีผลบังคับใช้
บังคับใช้ในวันที่ทั้งสองฝ่ายลงนาม มีอายุ 3 ปี และอาจมีการต่ออายุได้อีก 2 ปี
ตามความเห็นชอบของทั้ง 2 ฝ่าย
4. การแก้ไข
สามารถดำเนินการได้โดยความเห็นชอบร่วมกัน
10. เรื่อง
รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย - กัมพูชา
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย
- กัมพูชา ฉบับลงนามวันที่ 19 พฤษภาคม 2559
2. เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของไทยและกัมพูชา
3. มอบให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลใช้บังคับของบันทึกความเข้าใจฉบับลงนามวันที่
19 พฤษภาคม 2559 โดยให้ กต. สามารถปรับถ้อยคำตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบสาระสำคัญ
สาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา ฉบับที่ลงนามเมื่อวันที่
19 พฤษภาคม 2551 ประกอบด้วย
1) สิทธิความจุความถี่ 2) ใบพิกัดเส้นทางบิน
3) การทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน 4) การใช้อากาศยานเช่า 5) เที่ยวบินเช่าเหมาลำ
ประโยชน์ที่จะได้รับ ปัจจุบันมีสายการบินของไทยทำการบินไปยังกัมพูชา 4 สายการบิน ได้แก่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด และบริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ส จำกัด
ทำการบินรวมจำนวน 108 เที่ยวต่อสัปดาห์
สำหรับสายการบินของกัมพูชา คือ Cambodia
Angkor Air ทำการบินมายังไทยจำนวน 7 เที่ยวต่อสัปดาห์
ซึ่งปริมาณการจราจรในเส้นทางระหว่างไทยและกัมพูชามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียและจากการรวมตัวกันของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ดังนั้น การเจรจาปรับปรุงสิทธิการบินกับฝ่ายกัมพูชาในครั้งนี้
เป็นไปเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์การทำการบินในปัจจุบัน
เพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการบินในอนาคต
11. เรื่อง
บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐเม็กซิโกว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐเม็กซิโกว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ
ให้ กต. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ในนามของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นจุดริเริ่มในความตั้งใจของคู่ภาคีในการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการของประเทศทั้งสองบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกัน
ซึ่งได้ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
ส่งเสริมการศึกษาและโครงการที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม
การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ สิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกอบรม
ความร่วมมือในลักษณะไตรภาคี และความร่วมมือในรูปแบบอื่นที่ตกลงร่วมกัน
ทั้งนี้
การจัดทำบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการของไทยกับเม็กซิโก
แบบใต้ – ใต้ (South
– South Cooperation) และการดำเนินการไตรภาคี
ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในระดับรัฐบาลและระดับประชาชน
เพิ่มบทบาทของไทยในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในภูมิภาคลาตินอเมริกา นอกจากนี้
การดำเนินงานความร่วมมือดังกล่าวยังจะเป็นช่องทางให้ไทยขยายความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา
ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบและตลาดใหม่ของภาคธุรกิจไทย
อีกทั้งยังส่งเสริมบทบาทเชิงรุกของไทยในเวทีระหว่างประเทศ
โดยใช้ความร่วมมือทางวิชาการเป็นเครื่องมือในการดำเนินความสัมพันธ์ภายนอกภูมิภาค
12. เรื่อง
การลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน
(พน.) เสนอ ดังนี้
1.
รับทราบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เรื่อง ความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนลาว
ที่มีการแก้ไขตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
2. มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ดังกล่าวโดยไม่ต้องให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)
3. มอบหมายให้ พน.
สามารถดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงร่างบันทึกความเข้าใจฯ ได้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย
และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
30 มิถุนายน 2558 (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
13. เรื่อง
ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารสุดท้ายของการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ครั้งที่ 17 และร่างปฏิญญาเกาะมาร์การิตา
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างเอกสารสุดท้าย
(Draft
Final Document) ของการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ครั้งที่ 17
2.
เห็นชอบร่างปฏิญญาเกาะมาร์การิตา (Draft Declaration of the Island of
Margarita)
3. ให้ กต.
รับรองร่างเอกสารสุดท้ายฯ และร่างปฏิญญาเกาะมาร์การิตา
4.
หากมีการแก้ไขร่างเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญ
หรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กต. พิจารณาและดำเนินการได้เลย
โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
สาระสำคัญของร่างเอกสาร 2
ฉบับ มีดังนี้
1. ร่างเอกสารสุดท้าย (Final
Document) ของการประชุมฯ
ซึ่งสะท้อนท่าที พัฒนาการ
และการดำเนินการของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในเรื่องต่าง ๆ ในระดับโลกและภูมิภาค
เช่น ปัญหาการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดยที่ประชุมคณะกรรมการประสานงานกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ณ นครนิวยอร์ก เป็นผู้ดำเนินการเจรจาและจัดทำร่างเอกสาร
เพื่อเสนอให้ที่ประชุมสุดยอดฯ พิจารณา อย่างไรก็ตาม อาจมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม
ก่อนที่จะได้รับการรับรองในที่ประชุมสุดยอดฯ
2. ร่างปฏิญญาเกาะมาร์การิตา
(Draft
Declaration of the Island of Margarita)เป็นการย้ำหลักการต่าง
ๆ ที่กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดให้ความสำคัญ เช่น การเคารพในอำนาจอธิปไตย
สิทธิการกำหนดใจตนเองของประชาชน การระงับกรณีพิพาทโดยสันติ
การงดเว้นจากการคุกคามและใช้กำลัง การพัฒนาที่ยั่งยืน
การคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม ร่างปฏิญญาฯ ยังอยู่ระหว่างการเจรจาปรับถ้อยคำ
และหากประเทศสมาชิกตกลงได้ จะเสนอให้ที่ประชุมสุดยอดฯ รับรองต่อไป ในส่วนของไทย
คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กแจ้งข้อคิดเห็นว่าในหลักการ
เอกสารดังกล่าวไม่ขัดกับท่าทีและผลประโยชน์ของไทย จึงน่าจะยอมรับเอกสารดังกล่าวได้
14. เรื่อง
ขออนุมัติร่างแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชน (Joint Press Statement) ของการประชุมประจำปีระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ครั้งที่
6
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชน (Joint Press Statement) ของการประชุมประจำปีระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ครั้งที่
6 (The Sixth Annual Consultation between the Prime Minister of Thailand
and the Prime Minister of Malaysia)
2.
หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชนดังกล่าวโดยไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้
ให้ กต. ดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
สาระสำคัญ
ร่างแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชนฯ
มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือทวิภาคีที่ทั้งสองประเทศได้ดำเนินการร่วมกัน
ประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเร่งรัด พัฒนา
และ/หรือผลักดันให้เกิดความคืบหน้าเพื่อประโยชน์ของการดำเนินความสัมพันธ์ทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง
โดยประเด็นสำคัญที่จะมีการหยิบยกขึ้นหารือระหว่างการประชุมฯ ประกอบด้วย
ความร่วมมือด้านความมั่นคง และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
แต่งตั้ง
15. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง
นางสาวจารุนันท์ สุทธิประภา
ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2559 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
16.
เรื่อง การพิจารณาอนุมัติให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเลขาธิการ กปร.
(สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเสนอแต่งตั้ง
นายดนุชา สินธวานนท์
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
17.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงพาณิชย์)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงพาณิชย์
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย ดังนี้
1. นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค
อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการค้าภายใน
2. นางสาวบรรจงจิตต์
อังศุสิงห์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
3. นางสาวผ่องพรรณ
เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
4. นายวิชัย โภชนกิจ
ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559
เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการและสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
---------------------------------------------
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี 6 กันยายน 2559
วันนี้
(6 กันยายน 2559) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ
1 ทำเนียบรัฐบาล
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม
พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พันเอก อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ และพันเอกหญิง ทักษดา สังขจันทร์
ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
|
1.
เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องอบผ้าต้องเป็นไปตาม มาตรฐาน พ.ศ. ....
2.
เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต
การพักใช้ใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาต เป็นผู้ ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน
พ.ศ. .... และ ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการ ปฏิบัติงานการตรวจสอบเครื่องจักร
หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบเครื่องจักร และการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเครื่องจักร
ของผู้ตรวจสอบเครื่องจักร เอกชน
พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
3.
เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. .... และร่าง กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือ มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท
4 หรือในประเภท 5 พ.ศ. .... รวม
2 ฉบับ
เศรษฐกิจ – สังคม
|
4. เรื่อง โครงการสานพลังประชารัฐ
- การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ
5. เรื่อง
ขอความเห็นชอบดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง
(สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน-ประชาธิปก)
ต่างประเทศ
|
6.
เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ
ครั้งที่ 71
7. เรื่อง
ขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมหนานหนิงในการประชุมระดับรัฐมนตรี
China-ASEAN
Ministerial Meeting on Quality Supervision, Inspection and Quarantine (SPS
Cooperation) ครั้งที่ 5
8.
เรื่อง การประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออกด้านครอบครัวและความเสมอภาค ระหว่างเพศ (The East Asia
Ministerial Forum on Families and Gender Equality)
9. เรื่อง
ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงว่าด้วยการพัฒนาความ ร่วมมือด้านรถไฟระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวง คมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
10. เรื่อง
รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย - กัมพูชา
11. เรื่อง บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับ กระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐเม็กซิโกว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ
12.
เรื่อง การลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
13. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารสุดท้ายของการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ครั้งที่ 17
และร่างปฏิญญาเกาะมาร์การิตา
14.
เรื่อง ขออนุมัติร่างแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชน (Joint Press
Statement) ของ การประชุมประจำปีระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
ครั้งที่ 6
แต่งตั้ง
|
15.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
16.
เรื่อง การพิจารณาอนุมัติให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เลขาธิการ กปร.
(สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ)
17.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงพาณิชย์)
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
|
1. เรื่อง
ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องอบผ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่อง อบผ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ.
.... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ และมอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับไปพิจารณาดำเนินการตามความเห็นสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1.
กำหนดให้ร่างพระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่ วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2.
กำหนดให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องอบผ้าต้องเป็น ไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2544
3.
กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องอบผ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เลขที่ มอก.
1389-2559 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4823 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องอบผ้า
เฉพาะด้านความปลอดภัย และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องอบผ้า
คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
2. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต
การออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาต
เป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน พ.ศ. .... และ ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบเครื่องจักร
หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบเครื่องจักร และการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเครื่องจักร
ของผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต
การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต
การออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาต
เป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน พ.ศ. ....
และร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบเครื่องจักร
หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบเครื่องจักร และการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเครื่องจักร
ของผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม
(อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
อก. เสนอว่า โดยที่พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558
ได้เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดให้เอกชนเป็น ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรที่จะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์แทนพนักงานเจ้าหน้าที่ได้เพื่อลดภาระของพนักงานเจ้าหน้าที่
และเพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.
ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต
การออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาต เป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน
พ.ศ. ....
เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับบุคคลหรือนิติบุคคลใดที่ประสงค์จะเป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน
เพื่อให้ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องชัดเจน
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1
กำหนดหน้าที่ของผู้ตรวจเครื่องจักรเอกชน โดยกำหนดผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนเป็น 3
ระดับ ได้แก่ ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรระดับ 1 (มูลค่าเครื่องจักรไม่เกิน 50 ล้านบาท)
ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรระดับ 2 (มูลค่าเครื่องจักรไม่เกิน 100 ล้านบาท)
และผู้ตรวจสอบเครื่องจักรระดับ 3 (ไม่จำกัดมูลค่าเครื่องจักร)
1.2
กำหนดวิธีการขอใบอนุญาต
โดยกำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลสามารถขอเป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนได้
โดยยื่นขออนุญาตต่อนายทะเบียนเครื่องจักรกลาง
และได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอรับใบอนุญาต
1.3
กำหนดคุณสมบัติของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จะขอเป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนระดับ
1 ระดับ 2 และระดับ 3
1.4
กำหนดขั้นตอนวิธีการของพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนเครื่องจักรกลางในการพิจารณาออกใบอนุญาต
การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต
รวมทั้งการพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาตของผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบเครื่องจักร
หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบเครื่องจักร และการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเครื่องจักร
ของผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน พ.ศ. .... เป็นการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบเครื่องจักร
เพื่อให้ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนสามารถปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.1
กำหนดให้ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนต้องมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์พร้อมและเหมาะสมในการปฏิบัติงาน
แต่งกายให้เหมาะสม และใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติงาน
2.2
กำหนดให้ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนต้องตรวจสอบเครื่องจักรตามระดับที่ได้รับอนุญาต
ตรวจสอบรายละเอียดและบันทึกตามแบบรายงานผลการตรวจสอบเครื่องจักร
2.3
กำหนดวิธีการจัดทำรายงานและรับรองผลการตรวจสอบเครื่องจักรของผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน
3. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย
หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. ....
และร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก
หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 หรือในประเภท 5 พ.ศ. .... รวม 2
ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. ....
และร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก
หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 หรือในประเภท 5 พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)
ได้ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
สธ. เสนอว่า เนื่องจาก สคก.
(คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10) ได้จัดทำร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4
หรือในประเภท 5 พ.ศ. .... ขึ้นอีกหนึ่งฉบับ
เพื่อปรับปรุงกฎกระทรวงฉบับเดิมและเพื่อให้การอนุญาตของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้สอดคล้องกับร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. ....
จึงได้ยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงดังกล่าว รวม 2 ฉบับต่อไป
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.
ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย
หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต
การออกใบอนุญาต การควบคุม และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวกับเฮมพ์(Hemp) เป็นการเฉพาะ อันเป็นการรองรับการส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ (Hemp) เป็นพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูงในอนาคต
และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมและกำกับดูแลการปลูก การจำหน่าย การมีไว้ในครอบครอง
และแปรสภาพเฮมพ์ (Hemp) ให้มีความเข้มงวดรัดกุมและป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด
2.
ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตอนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก
หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 หรือในประเภท 5 พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก
หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4
(คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ได้แก่ น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์และอะเซติลคลอไรด์)
หรือในประเภท 5 (คือทุกส่วนของพืช กัญชา ทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย
เป็นต้น) ให้มีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน
เศรษฐกิจ – สังคม
|
4. เรื่อง โครงการสานพลังประชารัฐ
- การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการสนับสนุนโครงการสานพลังประชารัฐ-การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.)
เสนอ
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐตามประเด็นที่ภาคเอกชน
[บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
(บริษัท เอสซีจี)] เสนอขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ
สาระสำคัญของโครงการสานพลังประชารัฐ เป็นการพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย
จำกัด (มหาชน) เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่สาธารณประโยชน์ให้กับชุมชน
เพื่อแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน ที่ประชาชนเข้ามาบุกรุกและสร้างเป็นที่พักอาศัยอย่างหนาแน่นในลักษณะชุมชนแออัด
จึงทำให้สิ่งสภาพแวดล้อม ในบริเวณดังกล่าวมีความเสื่อมโทรม
ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวไม่สามารถขอทะเบียนราษฎร์และไม่สามารถเข้าถึงการให้บริการด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐได้
รวมทั้ง ทางเข้า - ทางออก
ที่ชุมชนใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่ได้
ขออนุญาตการใช้อย่างถูกต้องจากการรถไฟแห่งประเทศไทย
ดังนั้น
กระทรวงการคลังจึงเสนอขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ
เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวให้เป็นโครงการต้นแบบที่ภาคธุรกิจ
มีส่วนร่วมในการสนับสนุนนโยบายประชารัฐ
โดยขอความร่วมมือจากการรถไฟแห่งประเทศไทยในการอนุญาตให้ใช้พื้นที่
เพื่อเป็นทางเข้า - ทางออก และพื้นที่จอดรถของโครงการฯ
และขอให้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน
เพื่อขับเคลื่อนให้การทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานไปในทิศทางเดียวกัน
อีกทั้งเป็นโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางประชารัฐของรัฐบาล
ซึ่งเป็นแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ
ภาคเอกชน และประชาชน
รวมทั้งเป็นการดำเนินการตามนโยบายการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่
22 มีนาคม 2559
5. เรื่อง
ขอความเห็นชอบดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน-ประชาธิปก)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กรุงเทพมหานคร
(กทม.) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี–สำนักงานเขตคลองสาน-ประชาธิปก)
ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
มท. รายงานว่าการดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง
(สถานีรถไฟฟ้า กรุงธนบุรี–สำนักงานเขตคลองสาน-ประชาธิปก)
มีวัตถุประสงค์ ในการรองรับการเดินทางจากการพัฒนาพื้นที่ฝั่งธนบุรี
และส่งเสริมการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ได้มีการกำหนดแนวเส้นทาง
ตำแหน่งสถานที่
โรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุงของระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทองให้มีความสอดคล้องกับการเดินทางและการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนทางรางทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและในแผนการพัฒนาต่อไปในอนาคต
โดยความยาวของแนวเส้นทาง
แบ่งออกเป็น 2 ระยะ รวมระยะทั้งสิ้น 2.68 กิโลเมตร ดังนี้
ระยะที่ 1 ช่วงถนนกรุงธนบุรี แยกคลองสาน (BTS กรุงธนบุรี-โรงพยาบาลตากสิน รวมระยะทาง 1.72กิโลเมตร
(3 สถานี) เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้า BTS สถานีกรุงธนบุรี โดยแนวเส้นทางจะวิ่งมาตามถนนกรุงธนบุรีมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเจริญนคร ผ่านวัดสุวรรณารามมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือไปตามถนนเจริญนคร
ผ่านถนนเจริญรัถผ่านแยกคลองสาน และสิ้นสุดระยะที่ 1 หน้าโรงพยาบาลตากสิน
(คาดว่าจะเปิดให้บริการประมาณปี 2561)
ระยะที่ 2 ช่วงถนนสมเด็จเจ้าพระยา ถนนประชาธิปก
(โรงพยาบาลตากสิน–วัดอนงคารามวรวิหาร) รวมระยะทาง 0.96
กิโลเมตร 1สถานี) เริ่มจากหน้าโรงพยาบาลตากสินถนนสมเด็จเจ้าพระยา
โดยแนวเส้นทางจะวิ่งคู่ขนานไปกับคลองสมเด็จเจ้าพระยาผ่านสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาข้ามถนนท่าดินแดง
มุ่งหน้าสู่ถนนประชาธิปกและสิ้นสุดระยะที่ 2 ก่อนถึงบริเวณหน้าวัดอนงคารามวรวิหาร
(จะเปิดให้บริการตามการพัฒนาของรถไฟฟ้าสายสีม่วงคาดว่าจะเป็นช่วงปลายปี 2565)
ต่างประเทศ
|
6. เรื่อง
ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 71
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
สมัยสามัญ ครั้งที่ 71
และหากมีการแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กต. พิจารณาและดำเนินการได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กต. รายงานว่า
1.
การประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 71 จะเปิดสมัยการประชุมในวันที่ 13
กันยายน 2559 และดำเนินการประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม
2559 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
โดยสหประชาชาติได้กำหนดประเด็นหลักของการประชุมคือ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
: การผลักดันในระดับสากลเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกของเรา (The
Sustainble Development Goals : a universal push to transform our world)”
2.
ร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ
ครั้งที่ 71 สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศ
และทำให้ประชาคมระหว่างประเทศตระหนักถึงบทบาทของไทยในฐานะสมาชิกที่ดีของสหประชาชาติ
และในฐานะประธานกลุ่ม 77
ซึ่งไทยแสดงบทบาทนำที่แข็งขันและสร้างสรรค์ในการผลักดันผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนา
โดยเฉพาะการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสนับสนุนการ
อนุวัติเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อหลักของการอภิปรายทั่วไปของที่ประชุมฯ ในปีนี้ โดยร่างเอกสารท่าทีไทยครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ
ตามระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสหประชาชาติที่ไทยให้ความสำคัญในแต่ละหมวด
รวมทั้งสิ้น 9 หมวด ได้แก่ 1)
การส่งเสริมการพัฒนาและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ยั่งยืนตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติและผลการประชุมสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง
2) รักษาสันติภาพและ ความมั่นคงระหว่างประเทศ
3) การพัฒนาแอฟริกา 4) การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน 5) การประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม
6) การส่งเสริมความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ 7) การลดอาวุธ 8)
การควบคุมยาเสพติด การป้องกันอาชญากรรม และการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ
9) การบริหารองค์การและอื่น ๆ
7. เรื่อง
ขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมหนานหนิงในการประชุมระดับรัฐมนตรี China-ASEAN Ministerial Meeting on Quality Supervision, Inspection and Quarantine (SPS
Cooperation) ครั้งที่ 5
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมหนานหนิงสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน
– จีนด้านการควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกัน
(ความร่วมมือด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช) [China-ASEAN
Ministerial Meeting on Quality Supervision,
Inspection and Quarantine (SPS Cooperation)] ครั้งที่ 5
ตามที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กษ.
รายงานว่า
1.
บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยความร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
(ASEAN-China MOU on SPS)
มีขอบเขตความร่วมมือ 4 หลักการ ได้แก่ (1)
การจัดทำระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลและการแจ้งเตือน (2) การแลกเปลี่ยน
การเยือนของผู้นำประเทศสมาชิก (3) การจัดการฝึกอบรมและสัมมนา (4)
ความร่วมมือด้านงานวิจัย โดยมีกลไกการประชุม
3 ระดับ ได้แก่ ระดับรัฐมนตรี ระดับอธิบดีหรือผู้ประสานงานและคณะทำงานระดับเทคนิค
โดยมีกำหนดจัดการประชุมแต่ละระดับทุก 2 ปี
2. สาธารณรัฐประชาชนจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่
5 ตั้งแต่ วันที่ 9 – 11
กันยายน 2559 ณ เมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในด้านการควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันที่เกี่ยวข้องกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
(SPS)
ในระดับของผู้นำประเทศสมาชิกอาเชียนและจีน
และผลักดันโครงการความร่วมมือที่ได้หารือในการประชุมระดับอธิบดีและระดับเทคนิคให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(นายวิทยา ผิวผ่อง) เป็นหัวหน้าผู้แทนไทยในการเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
8. เรื่อง
การประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออกด้านครอบครัวและความเสมอภาคระหว่างเพศ (The East Asia
Ministerial Forum on Families and Gender Equality)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออกด้านครอบครัวและความเสมอภาคระหว่างเพศ
(The East Asia Ministerial Forum on Families and Gender Equality) ตามที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
พม. รายงานว่า
1.
การประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออกด้านครอบครัว (East Asia
Ministerial Forum on Families) มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐมนตรีที่รับผิดชอบนโยบายด้านครอบครัวในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ซึ่งจัดขึ้นทุก 2 ปี โดยจัดการประชุมมาแล้ว 6 ครั้ง
และการประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย
(The East Asia Gender Equality Ministerial Meeting) มีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีในสังคมและเศรษฐกิจและหามาตรการในการประสานความร่วมมือในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย
เป็นการประชุมประจำปี โดยจัดการประชุมมาแล้ว 5 ครั้ง
2.
ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดที่กรุงปักกิ่ง
สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 15 – 16 พฤษภาคม 2557
และที่ประชุมประกอบด้วยระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออกด้านครอบครัว ครั้งที่ 6
ซึ่งจัดที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ 3 – 5 ธันวาคม 2556
ได้มอบหมายให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออกด้านครอบครัวและความเสมอภาคหญิงชาย
ในปี 2559 มีกำหนดจัดประชุมฯ ระหว่างวันที่ 21 – 23 ธันวาคม 2559 ผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมประกอบด้วยระดับรัฐมนตรี
เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโส และผู้ติดตามจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก รวมทั้งสิ้น
17 ประเทศ ประมาณ 300 คน การประชุมจะมีรูปแบบ 3 รูปแบบ คือ
การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส การประชุมระดับรัฐมนตรี และการศึกษาดูงาน หัวข้อหลักของการประชุม คือ “สังคมที่เป็นมิตรกับครอบครัว : การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านสถาบันครอบครัวและส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ”
“ A Family-Friendly Society : A contribution to the Achievement of SDGs through
Families and Gender Equality”
9. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม
(คค.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ
ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนลงนามให้
คค. ดำเนินการโดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
2.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย
ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ขอบเขตความร่วมมือทางวิชาการ
ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมระบบราง
ผู้ให้บริการเดินรถไฟภายในประเทศ ผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ
องค์กรที่อยู่ในภาคส่วนของระบบราง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศโดยแบ่งปันประสบการณ์การบริหาร
แลกเปลี่ยน ให้ความรู้ และฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค
จัดสัมมนา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ และจัดประชุมอื่นๆ ร่วมกัน
สำหรับโครงการร่วมมือในการขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนในเมือง ทั้งสองฝ่ายร่วมกันพิจารณาและปรึกษาหารือ
รวมถึงสนับสนุนให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมให้ระบบรางในราชอาณาจักรไทยมีความทันสมัยอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
2. ผลผูกพันทางกฎหมาย
ไม่มี
เนื่องจากจะดำเนินการตามกฎหมายของทั้งสองประเทศภายใต้ความพร้อมด้านบุคลากรและเงินลงทุนของแต่ละฝ่าย
3. การมีผลบังคับใช้
บังคับใช้ในวันที่ทั้งสองฝ่ายลงนาม มีอายุ 3 ปี และอาจมีการต่ออายุได้อีก 2 ปี
ตามความเห็นชอบของทั้ง 2 ฝ่าย
4. การแก้ไข
สามารถดำเนินการได้โดยความเห็นชอบร่วมกัน
10. เรื่อง
รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย - กัมพูชา
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย
- กัมพูชา ฉบับลงนามวันที่ 19 พฤษภาคม 2559
2. เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของไทยและกัมพูชา
3. มอบให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลใช้บังคับของบันทึกความเข้าใจฉบับลงนามวันที่
19 พฤษภาคม 2559 โดยให้ กต. สามารถปรับถ้อยคำตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบสาระสำคัญ
สาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา ฉบับที่ลงนามเมื่อวันที่
19 พฤษภาคม 2551 ประกอบด้วย
1) สิทธิความจุความถี่ 2) ใบพิกัดเส้นทางบิน
3) การทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน 4) การใช้อากาศยานเช่า 5) เที่ยวบินเช่าเหมาลำ
ประโยชน์ที่จะได้รับ ปัจจุบันมีสายการบินของไทยทำการบินไปยังกัมพูชา 4 สายการบิน ได้แก่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด และบริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ส จำกัด
ทำการบินรวมจำนวน 108 เที่ยวต่อสัปดาห์
สำหรับสายการบินของกัมพูชา คือ Cambodia
Angkor Air ทำการบินมายังไทยจำนวน 7 เที่ยวต่อสัปดาห์
ซึ่งปริมาณการจราจรในเส้นทางระหว่างไทยและกัมพูชามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียและจากการรวมตัวกันของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ดังนั้น การเจรจาปรับปรุงสิทธิการบินกับฝ่ายกัมพูชาในครั้งนี้
เป็นไปเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์การทำการบินในปัจจุบัน
เพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการบินในอนาคต
11. เรื่อง
บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐเม็กซิโกว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐเม็กซิโกว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ
ให้ กต. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ในนามของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นจุดริเริ่มในความตั้งใจของคู่ภาคีในการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการของประเทศทั้งสองบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกัน
ซึ่งได้ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
ส่งเสริมการศึกษาและโครงการที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม
การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ สิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกอบรม
ความร่วมมือในลักษณะไตรภาคี และความร่วมมือในรูปแบบอื่นที่ตกลงร่วมกัน
ทั้งนี้
การจัดทำบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการของไทยกับเม็กซิโก
แบบใต้ – ใต้ (South
– South Cooperation) และการดำเนินการไตรภาคี
ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในระดับรัฐบาลและระดับประชาชน
เพิ่มบทบาทของไทยในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในภูมิภาคลาตินอเมริกา นอกจากนี้
การดำเนินงานความร่วมมือดังกล่าวยังจะเป็นช่องทางให้ไทยขยายความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา
ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบและตลาดใหม่ของภาคธุรกิจไทย
อีกทั้งยังส่งเสริมบทบาทเชิงรุกของไทยในเวทีระหว่างประเทศ
โดยใช้ความร่วมมือทางวิชาการเป็นเครื่องมือในการดำเนินความสัมพันธ์ภายนอกภูมิภาค
12. เรื่อง
การลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน
(พน.) เสนอ ดังนี้
1.
รับทราบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เรื่อง ความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนลาว
ที่มีการแก้ไขตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
2. มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ดังกล่าวโดยไม่ต้องให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)
3. มอบหมายให้ พน.
สามารถดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงร่างบันทึกความเข้าใจฯ ได้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย
และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
30 มิถุนายน 2558 (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
13. เรื่อง
ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารสุดท้ายของการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ครั้งที่ 17 และร่างปฏิญญาเกาะมาร์การิตา
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างเอกสารสุดท้าย
(Draft
Final Document) ของการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ครั้งที่ 17
2.
เห็นชอบร่างปฏิญญาเกาะมาร์การิตา (Draft Declaration of the Island of
Margarita)
3. ให้ กต.
รับรองร่างเอกสารสุดท้ายฯ และร่างปฏิญญาเกาะมาร์การิตา
4.
หากมีการแก้ไขร่างเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญ
หรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กต. พิจารณาและดำเนินการได้เลย
โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
สาระสำคัญของร่างเอกสาร 2
ฉบับ มีดังนี้
1. ร่างเอกสารสุดท้าย (Final
Document) ของการประชุมฯ
ซึ่งสะท้อนท่าที พัฒนาการ
และการดำเนินการของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในเรื่องต่าง ๆ ในระดับโลกและภูมิภาค
เช่น ปัญหาการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดยที่ประชุมคณะกรรมการประสานงานกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ณ นครนิวยอร์ก เป็นผู้ดำเนินการเจรจาและจัดทำร่างเอกสาร
เพื่อเสนอให้ที่ประชุมสุดยอดฯ พิจารณา อย่างไรก็ตาม อาจมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม
ก่อนที่จะได้รับการรับรองในที่ประชุมสุดยอดฯ
2. ร่างปฏิญญาเกาะมาร์การิตา
(Draft
Declaration of the Island of Margarita)เป็นการย้ำหลักการต่าง
ๆ ที่กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดให้ความสำคัญ เช่น การเคารพในอำนาจอธิปไตย
สิทธิการกำหนดใจตนเองของประชาชน การระงับกรณีพิพาทโดยสันติ
การงดเว้นจากการคุกคามและใช้กำลัง การพัฒนาที่ยั่งยืน
การคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม ร่างปฏิญญาฯ ยังอยู่ระหว่างการเจรจาปรับถ้อยคำ
และหากประเทศสมาชิกตกลงได้ จะเสนอให้ที่ประชุมสุดยอดฯ รับรองต่อไป ในส่วนของไทย
คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กแจ้งข้อคิดเห็นว่าในหลักการ
เอกสารดังกล่าวไม่ขัดกับท่าทีและผลประโยชน์ของไทย จึงน่าจะยอมรับเอกสารดังกล่าวได้
14. เรื่อง
ขออนุมัติร่างแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชน (Joint Press Statement) ของการประชุมประจำปีระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ครั้งที่
6
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชน (Joint Press Statement) ของการประชุมประจำปีระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ครั้งที่
6 (The Sixth Annual Consultation between the Prime Minister of Thailand
and the Prime Minister of Malaysia)
2.
หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชนดังกล่าวโดยไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้
ให้ กต. ดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
สาระสำคัญ
ร่างแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชนฯ
มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือทวิภาคีที่ทั้งสองประเทศได้ดำเนินการร่วมกัน
ประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเร่งรัด พัฒนา
และ/หรือผลักดันให้เกิดความคืบหน้าเพื่อประโยชน์ของการดำเนินความสัมพันธ์ทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง
โดยประเด็นสำคัญที่จะมีการหยิบยกขึ้นหารือระหว่างการประชุมฯ ประกอบด้วย
ความร่วมมือด้านความมั่นคง และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
แต่งตั้ง
|
15. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง
นางสาวจารุนันท์ สุทธิประภา
ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2559 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
16.
เรื่อง การพิจารณาอนุมัติให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเลขาธิการ กปร.
(สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเสนอแต่งตั้ง
นายดนุชา สินธวานนท์
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
17.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงพาณิชย์)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงพาณิชย์
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย ดังนี้
1. นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค
อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการค้าภายใน
2. นางสาวบรรจงจิตต์
อังศุสิงห์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
3. นางสาวผ่องพรรณ
เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
4. นายวิชัย โภชนกิจ
ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559
เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการและสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
---------------------------------------------
ที่มา; เว็บ รัฐบาลไทย
ที่มา; เว็บ รัฐบาลไทย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น