หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

รายการคืนความสุขให้คนในชาติ 23 กันยายน 2559

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 

-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่

-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559

            -คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

 ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่
 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
    
               
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

รายการคืนความสุขให้คนในชาติ 23 กันยายน 2559

รายการคืนความสุขให้คนในชาติ 23 กันยายน 2559

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 23 กันยายน 2559 เวลา 20.15 น.
พิธีกร: (พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค) สวัสดีครับ ผมพลตรีวีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขออนุญาตต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการคืนความสุขให้กับคนในชาติ สำหรับวันนี้รายการของเรามาจัดกันพิเศษครับ ซึ่งผมได้มีโอกาสได้รับเกียรติให้มาสนทนากับท่านนายกฯ ที่นครนิวยอร์ก ของประเทศสหรัฐอเมริกา ในโอกาสที่ท่านนายกฯ เดินทางมาเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 71 ครับ และในขณะนี้ผมก็ได้อยู่กับท่านนายกฯ แล้วนะครับสวัสดีครับ
นายกรัฐมนตรี: สวัสดีครับ สวัสดีพ่อแม่พี่น้องคนไทยที่รับชมอยู่ทางบ้าน แล้วก็อาจจะชมอยู่ต่างประเทศด้วยครับ คนไทยทุกคน
พิธีกร: แน่นอนว่าในการมาเข้าร่วมประชุมครั้งนี้นี่ ท่านนายกฯ คงจะต้องมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายมาเล่าให้เราฟัง แต่ว่าก่อนจะถึงช่วงนั้น ปกติแล้วในช่วงแรกของรายการ ท่านนายกฯ ก็ใช้โอกาสนี้เป็นการให้กำลังใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ใช้ขีดความสามารถของตัวเองจนกระทั่งประสบความสำเร็จได้อย่างงดงามในโอกาสนี้ ท่านนายกฯ จะมีใครในใจเป็นพิเศษไหมครับ
นายกรัฐมนตรี: ช่วงนี้ถ้าตรงกับเทรนด์ของเรานะ วันนี้ก็คงต้องพูดถึงการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกมส์ 2016 เราได้มีโอกาสติดตามชมกัน ทุกโอกาสที่มี ผมเองด้วยนะ ได้รับรายงานผลเป็นระยะๆ จนกระทั่งถึงวันสุดท้ายนี่ ก็ทราบว่าของเราได้ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมสามารถทำลายสถิติของประเทศไทยทุกครั้งผ่านๆ มา ได้เหรียญทองเหรียญรางวัลมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ เดิมเท่าที่ผมพบ เขาบอกว่าตั้งความหวังไว้เพียงแค่ 4 เหรียญทอง แต่สุดท้ายทำได้ถึง 6 เหรียญทอง 6 เหรียญเงิน และ 6 เหรียญทองแดงครับ ซึ่งผลงานครั้งนี้นั้น ทำให้คนไทยและนักกีฬาทั้งหมดมีความสุขและภาคภูมิใจ สิ่งที่ผมเคยบอกไว้แล้วว่า คงไม่ใช่เฉพาะเรื่องของเหรียญรางวัล เป็นของขวัญ เป็นเกียรติประวัติ ความภาคภูมิใจสำหรับนักกีฬา แต่สิ่งที่เราได้เพิ่มเติมมาก็คือศักยภาพของพวกเรากันเองครับ แล้วในการที่ผู้พิการไทยของเรานั้นได้รับการพัฒนา ทั้งในเรื่องของการกีฬา ในเรื่องของผู้ให้การสนับสนุน ประสิทธิภาพของทีมงาน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่พร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ก็อยากจะเชิญชวนว่า โอกาสต่อไปก็อยากให้ภาคเอกชน ได้เข้ามาร่วมกันส่งเสริมวงการกีฬาคนพิการไทยให้มากยิ่งขึ้น เพื่อจะสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ด้อยโอกาส ไม่ให้ถูกทอดทิ้ง แล้วก็หลอมรวมพลังเขาขึ้นมาให้เป็นพลังในการพัฒนาชาติด้วยกันครับ
พิธีกร: แล้วในช่วงที่ผ่านมานอกจากในเรื่องของการให้กำลังใจ ในเรื่องของการสร้างสถานภาพของเขาในสังคมแล้วนี่ ทั้งในเวทีในประเทศแล้วก็เวทีระหว่างประเทศ รัฐบาลยังมีการให้กำลังใจ และให้โอกาสกับผู้พิการทางสายตา เช่น โครงการ From Street to Stars ในการให้พวกนักดนตรีคนพิการได้มีโอกาสมาใช้ความสามารถนอกเหนือจากเรื่องเหล่านี้แล้วนี่มีอย่างอื่นเพิ่มเติมไหมครับ อย่างเช่น เรื่องของสวัสดิการของคนเหล่านี้ครับ
นายกรัฐมนตรี: หลายอย่างเขาเริ่มต้นมาตั้งแต่คุณมณเฑียร บุญตัน ใช่ไหม แล้วเป็นเรื่องของดนตรีวณิพก ผมก็ให้มาขับเคลื่อนให้ไปสู่สากลให้มากยิ่งขึ้น มีการขึ้นทะเบียน มีอะไรต่างๆ เยอะแยะ ให้เขาได้มีโอกาสในการที่จะมีรายได้ของเขา แล้วก็ทราบว่าหลายบริษัทก็สนใจเหมือนกันในเรื่องของการร้องเพลงนี่นะ ในส่วนของคนพิการอื่นๆ เราก็ได้ให้มีการออกบัตรประจำตัวคนพิการ ทำให้รู้ว่ามีคนพิการในประเทศทั้งสิ้นประมาณ1.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 2.43 ของประชากรทั้งประเทศ ไม่ใช่น้อยนะครับ เพราะฉะนั้นเราต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลคนพิการให้เหมาะสม ให้มีประสิทธิภาพ เราจะได้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และการกำหนดนโยบายต่างๆ ของภาครัฐได้ สำหรับให้กับคนพิการที่ยังไม่ทั่วถึง ไม่สอดคล้องกับในส่วนของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ที่เรียกว่า e-Government ปัจจุบันเราเห็น 3 อย่างด้วยกันคือ
เรื่องที่ 1 คือการจัดทำระบบฐานข้อมูลคนพิการที่กล่าวไปแล้ว ให้ครบถ้วนและเชื่อมโยง อำนวยความสะดวกในการจัดสวัสดิการและการพัฒนาอาชีพให้อย่างเหมาะสมทุกกลุ่มทุกฝ่าย
เรื่องที่ 2 คือการจ่ายเงินอุดหนุน “เบี้ยผู้พิการ” จะได้สบายขึ้น ผ่านระบบ“พร้อมเพย์ (PromptPay)” นะครับ ที่เราจัดทำภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติของรัฐบาล
ประการที่ 3 คือการ “จับคู่” คนพิการกับนายจ้าง มี 2 ประเภทครับ อันแรกคือ ผ่านระบบฐานข้อมูล Online โดยบูรณาการทั้งข้อมูลและการทำงาน ในลักษณะ “ประชารัฐ” เพื่อจะให้พี่น้องคนพิการมีงานทำมากขึ้น รวดเร็วขึ้น รายละเอียดตามจอภาพครับ ผมอยากให้ครอบครัวและชุมชนได้ช่วยเหลือกันดูแลผู้พิการ อย่างน้อยให้ได้รับรู้ข่าวสารเหล่านี้ ให้เข้าถึงโอกาสและการบริการภาครัฐ เขาจะได้รู้สึกว่าไม่ถูกทอดทิ้ง เราไม่เคยทอดทิ้งประชาชนกลุ่มใดเลยครับ
ปีนี้รัฐบาลส่งเสริมให้ผู้พิการได้รับการจ้างงานแล้ว 34,601 ราย ในหน่วยงานภาครัฐ และสถานประกอบการเอกชน รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่นายจ้างในการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการ มีสถานประกอบการได้ปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว 11,443 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 97.07 ของสถานประกอบการทั้งหมดที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป ที่จะต้องรับคนงานตามสัดส่วนที่เป็นคนพิการสำหรับสถานประกอบการที่ลักษณะงานไม่เอื้อให้รับผู้พิการเข้าทำงาน ก็จะส่งเงินเข้า “กองทุนส่งเสริมคนพิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” เป็นรายปีให้ เพื่อนำไปใช้ในทางอื่นๆ ให้กับคนพิการ เช่น โครงการส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการเพื่อประกอบอาชีพ ปัจจุบันมีผู้สมัครอยู่ในกลุ่มต่างๆ เหล่านั้น จำนวน 120 กลุ่ม 120 กลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกจากพัฒนาสังคมฯ จังหวัด รัฐบาลก็ให้เงินสนับสนุนตามโครงการฯ แล้วกลุ่มละ 50,000 บาท มีผู้ได้รับประโยชน์ 3,015 คน เป็นต้น ทั้งนี้ ก็ยืนยันว่า“ทรัพยากรบุคคล” ทุกประเภทของเรา ถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าของประเทศชาติเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราจะต้องส่งเสริมในแนวทางที่ถูกต้อง แล้วก็ทำให้เขาเป็นพลังของสังคมไม่ใช่ภาระของสังคมอีกต่อไปครับ
พิธีกร: อีกประเด็นหนึ่งที่อยากจะขออนุญาตเรียนถามท่านนายกฯ ครับว่าในช่วงก่อนจะเดินทางมาสหรัฐอเมริกามีประเด็นที่สำคัญมากก็คือในเรื่องของการพัฒนาระบบขนส่งทางอากาศของไทย   ซึ่งท่านนายกฯก็ได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรม หรือว่าไปเปิดกิจกรรม 2 แห่ง ด้วยกัน ท่านนายกฯ พอจะพูดเรื่องราวเหล่านี้ ได้ไหมครับ
นายกรัฐมนตรี: ก็อยากจะกล่าวถึงว่าการที่เราจะพัฒนาในเรื่องของความเชื่อมโยง ที่เขาเรียกว่า Connectivity นั้นมีหลายอย่างด้วยกัน ก็คือในเรื่องของความเชื่อมโยงที่มีตัวตน กายภาพ     สนามบิน ท่าเรืออะไรเหล่านี้ อีกอันก็คือไม่มีตัวตนคือความเชื่อมโยงของบุคลากร ของชุมชน ปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นก่อนมาผมได้ไปเยี่ยมชมโครงการพัฒนาท่าอากาศยานของไทย 2 แห่งด้วยกัน
อันแรกคือโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ซึ่งจริงๆแล้วได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2553 แล้ว แต่ไม่ทราบว่าติดขัดอะไร รัฐบาลนี้ก็ผลักดันให้เกิดขึ้นมาได้ เพราะว่าหากเราจะเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้เจริญเติบโตขึ้นเพื่อจะรองรับกิจการขนส่งทางอากาศซึ่งนับวันจะมากขึ้นเรื่อยๆ มีความจำเป็นนะครับ ช้าไม่ได้ เสียโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เรากำหนดว่าเราจะเป็น “ศูนย์กลางการบินในภูมิภาคอาเซียน” ก็เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาการเชื่อมโยงในอาเซียนแล้วก็จะไปสู่ช่องทางหรือเส้นทางอื่นๆอีกด้วย จะเชื่อมโยงกับทางอากาศ ทางน้ำ ทางบก ทางราง อีกด้วย สำหรับที่สุวรรณภูมินั้น โครงการ 2ประกอบด้วย การก่อสร้างส่วนขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันออกอาคารเทียบเครื่องบินรอง และระบบสาธารณูปโภค คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2562 อีก 3 ปีนะ ก็ไม่นานแล้วก็ไม่เร็วจนเกินไป ไม่นานจนเกินไป ก็ต้องใช้ความอดทน เราจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้น จาก 45 ล้านคนต่อปีเป็น 60 ล้านคนต่อปี
อันที่ 2 คือการเปิดอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศของท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต เป็นการพัฒนาเมืองในปีงบประมาณ 2553-2557 ก็มีในเรื่องของการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลักให้ได้มาตรฐานสากล การก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ การขยายลานจอดอากาศยาน และการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ อีกด้วย ให้รองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้เสริมการเป็น “ศูนย์กลางการบินในภูมิภาค” โครงการนี้จะทำให้ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตสามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจากเดิม 6.5 ล้านคนต่อปี เป็น 12.5 ล้านคนต่อปีครับ อันนี้ก็เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลเราที่ต้องส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงรุก ซึ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นกิจกรรมหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของที่จะอาจเรียกได้ว่าทั้งประเทศ และของจังหวัดภูเก็ตด้วยนะครับ เพราะเชื่อมโยงกัน เพราะฉะนั้นเราก็ต้องการจะขยายกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวใหม่ๆ รวมทั้งกลุ่มประเทศอาเซียน ที่จะเปิดเสรีการบินกับเราเพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตก็จะมากขึ้น ผมเองก็ได้กำชับให้การท่าอากาศยานฯ ได้เร่งพัฒนาสนามบินอื่นๆ คู่ขนานกันไปด้วย เช่น อู่ตะเภา ดอนเมือง และอีกหลายแห่งให้รองรับซึ่งกันและกัน ให้ได้มาตรฐานในการก่อสร้างทั้งหมด เพื่อความโปร่งใสก็ได้ให้ใช้หน่วยตรวจสอบ หรือการตรวจสอบ ที่เรียกว่า COST มาใช้ เหมือนทุกๆ โครงการก่อสร้างในประเทศไทย เพื่อป้องกันความเสียหายจากการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งผมก็ระวังไม่อยากให้เกิดขึ้นในรัฐบาลนี้ ทั้ง 2 โครงการเหล่านั้น เป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมของประเทศ นอกจากภายในแล้วก็ต้องเชื่อมโยงภายนอกด้วย เราอย่ามองแค่ในประเทศอย่างเดียว จัดระเบียบภายในประเทศให้ดีแล้วก็เชื่อมโยง CLMVT ข้างนอกเราให้ได้ จากนั้นก็จะไปประชาคมโลกอื่นๆ อีกด้วย ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ
นอกจากนั้นแล้วก็จะได้มีโอกาสในการอำนวยความสะดวกของประชาชนคนไทยในประเทศ แล้วก็ยกระดับคุณภาพชีวิต เพราะว่าในการเพิ่มเติมอะไรก็แล้วแต่ จะเห็นว่ามีคนเข้ามา 12 ล้านบ้าง 6.5 ล้านบ้าง อะไรเหล่านี้ ต้องถามว่าคนที่เข้ามาขนาดนี้ เราพร้อมที่จะรองรับเขาไปที่ไหน อย่างไร ก็ตามไปสู่การพัฒนาพื้นที่ด้วย ก็จะสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างห่วงโซ่มูลค่า เยอะแยะมากมาย นั่นแหละคือเหตุผลที่เราต้องมีการลงทุน เดี๋ยวจะหาว่าเอ๊ะลงทุนแพงๆ ทำไปเพื่ออะไร จะทำให้คนในท้องถิ่นสามารถที่จะเกิดธุรกิจเชื่อมโยง มีรายได้เพิ่ม เตรียมตัวเองไว้เรื่องการท่องเที่ยวต่างๆ พร้อมอาหารการกิน สถานที่ที่น่าอยู่ น่าเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ อะไรก็แล้วแต่ เพราะแต่ละเมืองของเราน่าท่องเที่ยวทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องไม่ให้มีผลกระทบกับคนในพื้นที่ ผมถึงบอกว่าเราขยายสนามบิน ขยายการขนส่งทางราง แล้วถามว่าคนในพื้นที่เขาได้ประโยชน์อะไรบ้าง นั่นแหละคือสิ่งที่ผมมอบภารกิจให้ท่าน ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่เฉพาะกระทรวงคมนาคมอย่างเดียวนะ ต้องมองว่าประชาชนจะได้รับประโยชน์อะไรด้วย และเศรษฐกิจถึงจะดีขึ้นนะ
พิธีกร: แล้วยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยด้วยนะครับ
นายกรัฐมนตรี: อันนี้ก็คือแข่งขันก็คือหมายความว่าถ้าเรามีสาธารณูปโภคพื้นฐาน หรือมี Logistic ที่ดีในประเทศ ใครก็อยากจะมาลงทุนกับเรา ใครก็อยากคบค้าสมาคม อันนี้เป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทย รวมความไปถึงคนไทยด้วยนะ ที่สามารถจะไปผลิตได้ถึงต้นทางเลยที่วัตถุดิบ แล้วก็ขนส่งทางราง ทางรถ ทางอากาศบ้างอะไรบ้าง ก็สามารถที่จะลดเวลาลงไปได้ ใช่ไหม บางอย่างก็ลดต้นทุนลงไปได้อีก ภารกิจการลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต
พิธีกร: ท่านนายกฯ ครับ แล้วที่ภูเก็ตนี่ นอกเหนือจากการเปิดอาคารผู้โดยสารที่สนามบินแล้วนี่ ยังมีกิจกรรมสำคัญๆ อีก 2 กิจกรรม ก็คือ เรื่องของงาน Startup Thailand กับ Digital Thailand ตรงนี้มีแนวความคิดอย่างไรครับ ว่าทำไมต้องเลือกภูเก็ต แล้วก็ Smart City นี่จากการที่เป็น Digital Thailand ทำให้ภูเก็ตเป็น Smart City ได้อย่างไรครับ
นายกรัฐมนตรี: วันนี้เราก็ทราบอยู่แล้วนะครับว่า จังหวัดภูเก็ตเป็นเกาะใช่ไหม เกาะขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และขึ้นชื่อว่าเป็นไข่มุกแห่งอันดามันสวยงาม มีธรรมชาติที่สวยงาม วิถีการดำเนินชีวิต วัฒนธรรมประเพณี มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม มีอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ หลายอย่าง เป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในระดับโลก คราวนี้การที่เราจะทำให้มีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นตามจากนั้นมา จากที่ยูเนสโก (UNESCO) เขายกระดับให้เมืองภูเก็ตเป็น “เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร” เราก็มองประเด็นนี้ก่อน เรามองไว้ทั้งหมด 10 เมือง 10Smart City ซึ่งแต่ละเมืองเขามีความแตกต่างกัน ที่ภูเก็ตเขามีความพร้อมในด้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว แล้วก็การลงทุนในเรื่องของการใช้ Digital มากอยู่แล้วในพื้นที่เหล่านั้นอาจจะเป็นเมืองดิจิตอลก็ได้ในอนาคต เราก็เอาศักยภาพของเขามาทำก่อน คือ 10 เมืองเราทำพร้อมกันไม่ได้ เราต้องเอาตรงไหนที่มีศักยภาพก่อน ดังนั้น จ.ภูเก็ต จึงได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 2 จังหวัด Super Cluster และ จ.เชียงใหม่ อีกเมืองหนึ่ง อีสานก็มีเมืองหนึ่งนะ ของแก่น ก็ขับเคลื่อนไปด้วยกัน แต่ทุกอย่างจะมีต้นทุนต่างกัน เราจะทำทั้งหมดนั่นแหละ ต่อไปก็ 10 จังหวัด ต่อไปก็จังหวัดที่เหลือให้ครบ 76+1 จังหวัด เพราะอย่างนั้นประเทศไทยก็จะเจริญเข้มแข็ง ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะทำให้เกิดได้เร็วขึ้น ผมก็มองว่ากลไกประชารัฐสำคัญที่สุด ในการขับเคลื่อนพัฒนาในกรอบไทยแลนด์ 4.0ประเทศเรามีทั้ง 4.0 มี 3.0, 2.0, 1.0 ทำอย่างไรทั้งหมดจะไป 3.0 เท่ากันทั้งหมด แล้วไป 4.0 ได้โดยเร็ว ภูเก็ตนี่เขาค่อนข้างจะพร้อมอยู่แล้ว ต้องผลักดันอีกนิดหน่อยก็สามารถที่จะพัฒนาศักยภาพ และความพร้อมในการพัฒนาเป็น “เมืองอัจฉริยะ (Smart City)” ตามนโยบายของรัฐบาล จุดแข็งของเขาก็ในเรื่องของการบริการภาครัฐร่วมกับภาคประชาสังคม ประชาชนในพื้นที่ ภาคเอกชนเหล่านี้ ที่เราเรียกว่าประชารัฐสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม ในการสร้างมูลค่าเพิ่มอาทิ ด้านการเกษตร มีสับปะรดภูเก็ต รสชาติอร่อย นมแพะ กุ้งมังกรเจ็ดสีภูเก็ต (Lobster)ต่อไปก็ด้านการแปรรูปมีผ้าบาติก และด้านการท่องเที่ยวมีท่องเที่ยวชุมชน
ทั้งนี้ เป็นการร่วมคิดร่วมทำ ผมก็บอกให้ไปทำไอ้นั่นสิ ถ้าเราเพิ่มคนเข้ามา โรงแรมอาจจะน้อยเกินไปไม่พอ ก็ไปทำที่พักแรมอยู่ตามหมู่บ้าน ชุมชน ใช่ไหม ที่เรียกว่าโฮมสเตย์ ก็จะเป็นการ “ระเบิดจากข้างใน” โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมทั้งหมด ก็เจริญเติบโตจากภายใน ข้างนอกก็เข้าไปเติม ก็เสริมกันทั้งคู่ อันนี้แนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่แล้วนะครับ จะเน้นการทำงานอย่างบูรณาการ ทุกวันนี้การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลนี้ก็คือทุกกระทรวง ทุกหน่วยงานจะต้องแก้ปัญหาด้วยกัน ร่วมกับประชาชนไปด้วย บริหารทั้งแกน X และแกน Y บนลงข้างล่าง ข้างล่างขึ้นข้างบน แล้วทางระดับก็คือประชาชนในพื้นที่ประชารัฐด้วยกัน ก็จะเริ่มวางแผนทั้งฐานราก ตรงกลาง แล้วก็ข้างบนไปด้วย จะสร้างห่วงโซ่ใหม่ขึ้นมา มีคุณค่ามากขึ้น สร้างนวัตกรรม อันนี้ก็สอดคล้องไปกับเรื่องของการดำเนินการของรัฐบาลตามนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจ ในรูปแบบคลัสเตอร์ อันนี้ก็คงจะเป็นคลัสเตอร์ด้านอาหาร การท่องเที่ยว มีศักยภาพอยู่แล้วแล้วก็ใช้การขับเคลื่อนด้วยสังคมดิจิทัลของรัฐบาลในปัจจุบัน ก็จะมีการผลักดันให้เกิดโครงการต่าง ๆ มากมายทั้งโครงสร้างพื้นฐาน แล้วก็ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ เพื่อจะรองรับการก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ 7 มิติ ได้แก่ มิติเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม สุขอนามัย การศึกษา และ ธรรมาภิบาล โดยเราให้กระทรวง ICT (เดิม) หรือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดท.) หรือกระทรวง DE ใหม่ ชื่อไทยๆ ย่อว่า ดท. เป็นเจ้าภาพหลักในการบูรณาการแผนปฏิบัติการทั้งหมดของ Phuket Smart City ให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ วันนี้เราต้องพัฒนาดิจิตอลไปด้วย เพราะลดต้นทุนหลายอย่างได้ ด้วยการใช้ดิจิตอลให้เข้าถึงข้อมูลต่างๆ จะได้เข้ามาดูแลเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งในเรื่องการแปรรูปสินค้าเกษตร สร้างนวัตกรรมให้มีมูลค่าสูงขึ้น ไม่อย่างนั้นก็ราคาตกอยู่แบบนี้แหละ เราต้องทำงานร่วมกับ BOI ในการกำหนดแนวทางการส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนในโครงการดังกล่าวด้วย
พิธีกร: ท่านนายกฯครับ เมือสักครู่ท่านนายกฯ พูดถึงคลัสเตอร์ทางเศรษฐกิจ ขออนุญาตเรียนถามนิดหนึ่งครับว่า แนวความคิดนี่ ตอนนี้เราให้ความสำคัญกับภูเก็ตเป็นหลัก จังหวัดอื่นๆ ข้างๆ นี่เขาอาจจะสงสัยว่าเขาจะมีโอกาสได้รับประโยชน์จากการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็นเมืองอัจฉริยะSmart City ไหม ตรงนี้จะมีการดูแลจังหวัดข้างเคียงไหมครับ
นายกรัฐมนตรี: คงไม่อยากให้คิดแบบนั้นนะ เพราะประเทศไทยมี 76+1 กรุงเทพฯ ใช่ไหมล่ะ เพราะฉะนั้นผมได้บอกแล้วว่าการเจริญเติบโต จะเจริญเติบโตเป็นภูมิภาคก่อน ภาคใต้มีกี่จังหวัดล่ะ ในกี่จังหวัดนั้นเราก็กำหนดพื้นที่ไหนที่เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ในกลุ่มนั้นก็ต้องมีกลุ่มที่เป็นแกนกลางใช่ไหมเล่า เพราะฉะนั้นภูเก็ตก็เป็นแกนกลางของ 5 จังหวัด ก็มีทั้ง ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ และตรัง วันนั้นก็มีการประชุมร่วม กรอ.ส่วนกลางและภูมิภาคด้วย ว่าจะทำอย่างไรให้กลุ่มจังหวัดเขามีความเข้มแข็งขึ้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคใต้ใช่ไหม ถ้าในกลุ่มนี้ เพราะในภาคใต้ก็มีอยู่หลายกลุ่มด้วยกัน ทั้งประเทศมีอยู่ 4 ภาคแล้วทั้งหมดมี 18 กลุ่มจังหวัด ทั้งหมดก็คือ 76+1จังหวัด เพราะฉะนั้นถ้าเราไปเริ่มภูมิภาคก่อน ก็ต้องหาจุดศูนย์กลางก่อน จุดเริ่มต้นให้ได้ก่อน จากนั้นก็จะเกิดขึ้นมาโดยรอบ ต้องเชื่อมโยงด้วยLogisticทั้งหมด วันนั้นก็มีการประชุมร่วมกันด้วย เช่นในภาพรวมของกลุ่มจังหวัดเราก็ได้แก่การยกระดับเมือง สปา น้ำพุร้อนเค็ม ซึ่งมีเพียง 2 แห่งในโลก ก็การรักษาโรคได้ตามความเชื่อ แล้วการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ด้วย เป็นเกลือแร่ เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ แล้วก็สนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ซึ่งจะตามมาด้วย
อันที่สองก็ต้องดูเรื่อง Logistic เส้นทาง “อันดามัน โรแมนติกโรด” ระยะทาง 40 กิโลเมตร มีเส้นทางจักรยานอีก 30 กิโลเมตร เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว สองโครงการดังกล่าวนั้นก็คาดว่าถ้าทำได้ จะเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว จาก 40 ล้านบาทต่อปีในปัจจุบัน เป็น 2,500 ล้านบาทต่อปีในอนาคต ถ้าเราพัฒนาอย่างครบวงจร อันที่ 3 คือการยกระดับเส้นทางเชื่อมโยงท่องเที่ยวอันดามันเป็น 4 ช่องทางจราจร หลายเส้นทางด้วยกันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เส้นทางสาย 4 เพชรเกษม ช่วงระนอง – ราชกรูด – ตะกั่วป่า – เขาหลัก ระยะทางประมาณ 270 กิโลเมตร แล้วก็สาย 4027 อีก 13 กิโลเมตร เป็นโครงข่ายคมนาคมสายหลัก แล้วก็สามารถสนับสนุนการท่องเที่ยวที่รองรับคนที่เข้ามามากขึ้น จะทำให้คนในเมือง คนในเมืองเขาก็การท่องเที่ยวเยอะ การจราจรติดขัด คนในเมืองเขาก็บ่นเอา ก็เราไม่ดูแลเขานี่ใช่ไหม ภาคการท่องเที่ยว การขนส่ง ภาคการเกษตร เชื่อมโยงอ่าวไทย – อันดามัน สามโครงการนี้ ในที่ประชุมผมก็ส่งให้ลงมติกันเห็นชอบร่วมกันในหลักการดังกล่าวนั้น ผมก็ต้องมาดูเรื่องงบประมาณใช่ไหมเล่า ที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน รายได้ประเทศอยู่ตรงไหน ผมก็ให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องไปศึกษารายละเอียดและกรอบงบประมาณ อันไหนที่มีอยู่ในแผนงานอยู่แล้ว อันที่ยังไม่อยู่ก็ไปปรับแผนงานดูสิได้ไหม หรือไม่ถ้ามีงบกลางเหลือจ่าย เราก็จะจัดสรรให้ ต้องใช้เวลาครับ สำหรับรายจังหวัดอื่น ๆ ก็มี จังหวัดพังงา มีถนนอยู่เส้นหนึ่งที่จะต้องเคลือบผิวจราจร เพราะว่าลื่นไถล อาจจะผิวถนนไม่ได้มาตรฐาน เส้นทางหมายเลข 4 และ 4311 ก็ให้กระทรวงคมนาคมรับเรื่องไปบรรจุในแผนงบประมาณปี 2560 เพราะว่าอันตราย ผมให้ก่อน ต่อไปคือโครงการก่อสร้างถนนและสะพานที่เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า ก็ศึกษารายละเอียดความเป็นไปได้เพราะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไปดูความคุ้มค่าการลงทุนด้วย เพราะใช้งบประมาณสูง ในเรื่องจังหวัดกระบี่ ก็เสนอโครงการก่อสร้างสะพานลันตาช่วงแรก คือบ้านหิน – บ้านคลองหมาก ก็ให้ไปศึกษาเหมือนกันนะครับเร่งศึกษาโครงการ จังหวัดชุมพร ก็ได้เสนอโครงการศึกษาเส้นทางรถไฟ ชุมพร – ท่าเรือน้ำลึกระนอง ก็ให้ไปศึกษาความเป็นไปได้ระบบโลจิสติกส์ดังกล่าว อีกจังหวัดหนึ่งคือจังหวัดตรัง เสนอโครงการพัฒนาท่าอากาศยานตรัง ผมก็ได้สั่งการให้พิจารณาจัดทำงบประมาณในการจัดทำโครงการ และให้ไปศึกษาความเป็นไปได้เพราะบางทีก็ต้องดูความคุ้มค่าการลงทุนเหมือนกัน จังหวัดใกล้กันนี่
พิธีกร: ครับทีนี้ขออนุญาตเรียนถามท่านนายกฯเกี่ยวกับเรื่องของการเดินทางมาสหรัฐอเมริกาเพื่อเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญครั้งที่ 71 ซึ่งดูจากกำหนดการแล้ว ท่านนายกฯได้เข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างมากโดยเริ่มต้นตั้งแต่การประชุมสุดยอดผู้นำด้านผู้ลี้ภัย อยากให้ท่านนายกฯเล่าให้ฟังว่าในบทบาทของประเทศไทยเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย เราได้มีการดำเนินการอย่างไร และทำไมเราจึงได้รับเชิญมา และเราได้บอกอะไรกับกลุ่มประเทศที่เกี่ยวข้องในเรื่องราวเหล่านี้บ้างครับ
นายกรัฐมนตรี: ผมก็พูดให้เขารู้ว่าเราทำอะไรมาบ้างในเรื่องเหล่านี้ครับ หลายประเทศอาจจะไม่เข้าใจ อาจจะมองประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ แต่เราได้ทำทุกอย่างตามพันธะสัญญาโลก วันนี้ถ้าเรามองดูปัจจัยภายนอกนะ ในโลกนี้คนกว่า65 ล้านคนต้องพลัดถิ่น ในจำนวนนี้ กว่า 21 ล้านคน เป็นการโยกย้ายถิ่นฐานที่ไม่ปกติ ไม่สมัครใจ อาทิเช่น จากภัยสงคราม ความยากจน อะไรต่างๆ แล้วแต่ ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนไปสู่ถิ่นฐานใหม่ ทั้งยุโรปและภูมิภาคอื่นๆ ของโลก มันก็เป็นภาระหนักของประเทศนั่นแหละ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศแรกรับ (หรือประเทศกลางทาง) เราอยู่ในฐานะประเทศกลางทาง ซึ่งก็ต้องแรกรับจากที่อพยพผ่านเราไปที่อื่น เราตกอยู่ในสภาวะนั้นมากว่า 40 ปีมาแล้วนะ รัฐบาลไทย คนไทยเราก็มีความเอื้ออารีและให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมมาโดยตลอด อันแรกคือกลุ่มผู้ไร้ถิ่นฐาน คนไร้สัญชาติจำนวนกว่าล้านคน วันนี้ก็กลายเป็นคนไทยไปบ้างแล้ว ปัจจุบันเราได้ให้ที่พักพิงแก่ผู้หนีภัยการสู้รบจากชายแดนนอกบ้านเราประมาณ 1 แสนคน ที่ยังคงเหลืออยู่ในประเทศไทย เดิมเข้ามาเกือบ 5 ล้านคนใน 30 ปีที่ผ่านมา แล้วก็ค่อยๆลดไปเรื่อยๆ ไปประเทศที่สามบ้าง กลับประเทศต้นทางเองบ้าง ก็เหลือประมาณปัจจุบันเกือบแสนคน อันนี้เราไม่นับรวมผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติอีกกว่า 3 ล้านคนทั่วประเทศซึ่งรวมความไปถึงพวกที่เป็นแรงงานต่างด้าวด้วยที่ว่าสามล้าน ตรงกลางน่ะไม่มากนักหรอก ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ เพราะมาแล้วก็ไป แต่เป็นภาระของเราถ้าหากว่าต้องดูแลนานๆ นะ วันนี้เราต้องจัดงบประมาณของประเทศไทยเราประมาณ 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี เทียบแล้วก็ประมาณร้อยละ 0.05 ของ GDP เรา ให้เป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าสวัสดิการอื่น ๆ ที่จำเป็น ไม่ต่างจากคนไทยเลยรวมทั้งให้การศึกษาและฝึกอาชีพให้กับผู้หนีภัย ในพื้นที่พักพิง ให้มีความรู้ มีอาชีพ ถ้าเขามีโอกาสกลับคืนประเทศบ้านเกิด และจะได้ใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขมีอาชีพมีรายได้ของเขา
นอกจากนั้นที่สำคัญก็คือเรื่องกฎหมาย ต้องมีการปรับปรุง บังคับใช้กฎหมาย อาทิเรื่องของการออกสูติบัตรรับรองการเกิดแก่เด็กที่เกิดใหม่ทุกคนในพื้นที่พักพิง ประมาณ 3,000 กว่ารายวันนี้ เพื่อขจัดปัญหาบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ แล้วก็กำลังพิจารณา พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย อันนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ในเวทีโลกเขาให้ความสำคัญอยู่ เพื่อไม่ส่งบุคคลกลับไปสู่อันตราย อันนี้ต้องแยกให้ออกที่เข้ามาพวกหนึ่ง อีกพวกหนึ่งเข้ามาแล้วก็ผิดกฎหมายคนเข้าเมือง เพราะเรามีกฎหมายคนเข้าเมืองอย่างเดียวเอง ฉะนั้นเราจะส่งกลับไปไหนมาไหน ก็ต้องดูต้นทาง มีการพิสูจน์สัญชาติอีก ก็กำลังพิจารณาเรื่องนี้อยู่ครับ ไม่ฉะนั้นก็ไม่สอดคล้องกัน แล้วก็มีปัญหาความขัดแย้งเวลาจะส่งไปไหน ก็ยังไม่รู้เลยว่าจะออกมาอย่างไร เป็นการพิจารณาของคณะผู้ร่างกฎหมายอยู่ครับ ก็ต้องดูประเทศเราด้วย ว่าเกิดผลกระทบอะไรหรือไม่
นอกจากการทำกฎหมายแล้ว เราก็กำลังพิจารณาจัดทำระบบคัดกรองให้เป็นมาตรฐานสากล ต้องแยกให้ออก สำคัญคืออย่าไปแยกครอบครัวเขา จะได้ลดความเสี่ยงของการตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ หรืออนุญาตให้เหยื่อค้ามนุษย์ที่จะต้องเป็นพยาน เดิมนี้ถ้าเป็นของประเทศไหนต้องส่งกลับไปเลย แต่คดียังไม่จบ เสร็จแล้วคดีก็ยุติไม่ได้ ก็อนุญาตให้เขาอยู่แล้วก็สามารถทำงานได้อย่างถูกกฎหมายจนกว่าคดีจะสิ้นสุด โดยให้มีการขยายเวลาไปเป็น 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปีเพื่อให้ยุติคดีให้ได้โดยเร็วนะครับ แล้วก็หารือกับประเทศเพื่อนบ้านเรา เพื่อจะส่งผู้หนีภัยกลุ่มนำร่องเกือบ 100 คน ที่มีความสมัครใจกลับบ้าน เดิมเขาคาดหวังที่จะไปประเทศที่สาม แต่เขาอยู่มานานแล้วไม่ได้ไปสักที ก็เหลืออยู่แสนกว่าคน เขาก็อยากกลับบ้านนะพูดถึงจริงๆ แล้วเราก็สร้างอาชีพให้เขามีรายได้ วันหน้าเขาก็กลับไปพัฒนาประเทศเขาสิ ให้ได้มีชีวิตอย่างปกติสุข ดีกว่ามาอยู่แบบหลบๆซ่อนๆหรืออถูกควบคุมอยู่ในศูนย์อยู่แบบนี้ ผมสงสารเขานะเห็นใจ จุดยืนของเราไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามอยู่ในแผ่นดินไทย เราก็ต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ต้องดูแลเขาด้วยหลักสิทธิมนุษยชนต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ “ต้นทาง” ก็คือประเทศที่มีความยากลำบาก มีสงคราม ประชาชนเขาเดือดร้อน เขาต้องอพยพ นั่นคือประเทศต้นทาง เราจะแก้เขาอย่างไร ก็ต้องแก้ด้วยการพัฒนา ยุติความขัดแย้ง สร้างพื้นที่ปลอดภัย สร้างพื้นที่การพัฒนาให้เขาอยู่ ให้เขาดูแลกันเองให้ได้ไหม โดยประเทศภายนอกก็ส่งเงินทุนกองทุนไปให้เขา ให้เขาดูแลตัวเองให้ได้แล้วกัน
อันที่สองคือ ประเทศกลางทาง แบบประเทศไทย ก็ต้องมาช่วยดูแลเราสิว่า ระหว่างที่เขามาอยู่กับเรานี้เป็นภาระมากเกินไปหรือเปล่า ก็อาจจะมีการให้ความช่วยเหลือบ้างกับประเทศกลางทาง รวมถึงประเทศทางยุโรปด้วยนะ แล้วเราต้องมีระบบคัดกรองเพื่อคัดแยกผู้หนีภัย ให้ช่วยเหลือและคุ้มครองให้ได้ เรารองรับภาระมากในทุกวันนี้ ต้องได้รับความช่วยเหลือด้านงบประมาณอีกนะ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เราก็ใช้ไปเยอะแล้ว รวมความไปถึงในเรื่องของการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ถ้าเราเอาเขาอยู่นาน ๆ ก็จะเกิดธุรกิจการค้ามนุษย์ขึ้นมาทันที แล้วอีกหน่อยก็จะเป็นที่พักคอยของผู้ที่จะลักลอบออกนอกประเทศ มาสะสมเป็นที่พักคอยในประเทศไทย แล้วก็จะมีกระบวนการนำส่งไปโน่นไปนี่ ก็เป็นเรื่องของการค้ามนุษย์ เราก็แก้ไขไปแล้วนะ ในส่วนของประเทศปลายทาง สำคัญที่สุดก็คือว่าหลายประเทศเป็นที่น่ายินดี ในการประชุมเขาก็พร้อมที่จะรองรับผู้หนีภัยไปตั้งถิ่นฐานใหม่ เป็น 2 เท่า ประเทศทางยุโรป เพราะฉะนั้นต้องหางบประมาณ หา กองทุนไปดูแลด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ที่ประชุมพูดถึงเรื่องนี้อยู่ ว่าจะช่วยเหลือทั้งเงินทั้งการรองรับผู้หนีภัยเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ผมก็เลยเสนอไปว่าต้องดูเงินทุนเหล่านี้ด้วยนะ ประเทศต้นทาง ประเทศกลางทาง แล้วก็ประเทศปลายทางจะทำกันอย่างไรถ้าสมมติว่าเรายังแก้ปัญหาที่ปลายเหตุอยู่แบบนี้คือ รับคน รับคน โดยเราไม่ไปแก้ต้นทางเลย ก็จะไม่ลดปริมาณคนออกนอกประเทศ เราต้องทำอย่างที่เขาจะไม่เกิดสงคราม ระงับสงครามให้ได้โดยเร็ว แล้วก็พัฒนาเขาให้มีความรู้ มีการศึกษา จะได้ไม่มีความขัดแย้ง ความขัดแย้งสวนใหญ่เกิดจากความยากจน ถ้าเราพัฒนาตั้งแต่ต้นทางก็จะไม่เกิดอีก วันนี้เกิดหลายพื้นที่ ก็อพยพไปเรื่อยๆ แล้ววันหน้าทำอย่างไร ถ้าเราไม่แก้ทั้งระบบ ผมก็เสนอในที่ประชุมไปแบบนี้เขาก็รับฟังไป ในที่ประชุมหลายประเทศเห็นด้วยหลายอย่างนะ
พิธีกร: เห็นว่าปีนี้ให้ความสำคัญเรื่องนี้มากเลยใช่ไหมครับ เพราะว่าเป็นการจัดขึ้นครั้งแรก แล้วก็เป็นการจัดขึ้นโดยความริเริ่มของประธานาธิบดีบารักโอบามา
นายกรัฐมนตรี: เป็นความตั้งใจของท่าน แล้วครั้งนี้ก็ถือว่าให้เกียรติประเทศไทยนะ เพราะจากที่ทางสหรัฐฯ ได้ติดตามมานี้ จะเห็นว่าประเทศไทยทำหน้าที่นี้ได้ดี ก็ได้เชิญผมไปร่วมประชุมด้วย ในครั้งแรก ผมก็ได้เล่าให้เขาฟังอย่างที่ว่าเมื่อสักครู่นี้ แล้วก็เสนอหนทางปฏิบัติ ต้นทาง ปลายทาง กลางทาง ในที่ประชุมก็ตอบรับดีครับ ทางสหรัฐอเมริกา โดยคุณแดเนียลรัสเซลล์ ก็ได้กล่าว ขอบคุณประเทศไทยที่ดำเนินการใน 3 เรื่องจนเป็นรูปธรรมนะครับ ก็คือเรื่องที่ 1.มาตรการดูแลผู้ลี้ภัยไม่ปกติและได้เข้าร่วมประชุมสุดยอดระดับผู้นำด้านผู้ลี้ภัยของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เรื่องที่ 2. คือเรื่องของการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และประมง เรื่องที่ 3. ก็คือในการที่ประเทศไทยลงสัตยาบันสัญญาปารีสในการลดโลกร้อน
อีกประการหนึ่งก็คือในเรื่องของการร่วมกันรับรองแถลงการณ์นิวยอร์กสำหรับผู้หนีภัยและผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ทุกประเทศต้องร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างแก้กันเอง แก้ไม่ได้หรอกครับทุกปัญหา ฉะนั้นต้องมีเวทีในเชิงนโยบาย หารือกันทั้ง 3 ส่วน เราต้องเข้มแข็งไปด้วยกัน แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คงไม่มีใครอยากออกจากบ้านตัวเองก็อยากอยู่ประเทศตัวเองทั้งหมดเป็นพื้นที่ ที่ดิน ผืนดินที่น่าภูมิใจ เกิดที่นี่ ตายที่นี่ ไม่มีใครอยากไปที่อื่นหรอกครับ ถ้าไม่เดือดร้อน เพราะฉะนั้นเราต้องกลับมามองใหม่ แก้ปัญหาที่ต้นเหตุก่อนให้ได้โดยเร็ว เพื่อจะลดปริมาณคนที่ออกมาให้มากขึ้น แล้วก็ที่อพยพไปแล้วก็ดูแลเขาให้ดีขึ้น ส่วนประเทศตรงกลางทางก็ต้องดูแลเขาหน่อย ไม่ใช่ทิ้งภาระไว้ให้เขานานๆ เขาก็ไม่อยากรับไว้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นไม่ใช่หน้าที่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง ของคนใดคนหนึ่ง ทุกๆคน ประชาคมโลกต้องให้ความสำคัญนะครับ เราพูดไว้แล้วว่าเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เหมือนที่รัฐบาลนี้กำลังทำอยู่
พิธีกร: และนอกเหนือจากเรื่องผู้ลี้ภัย ปีนี้ดูเหมือนว่าสหประชาชาติยังให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชนทั่วโลก โดยมี“การประชุมระดับสูงเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ” ตรงนี้ทำไมประเทศไทยจึงได้มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นพิเศษครับ
นายกรัฐมนตรี: บทบาทนี้เป็นบทบาทของ G77 ซึ่งเราก็เป็นประธานในปีนี้ ต้องขอบคุณท่านทูต ซึ่งก็เดินหน้าในเรื่องนี้มาจนกระทั่งเป็นผลสำเร็จ จริงๆ แล้วเราเป็นคนผลักดันเรื่องนี้ในกลุ่ม G77 จนสำเร็จลงมาได้ เรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ (หรือ AMR) ที่พูดง่ายๆ คือ “การดื้อยาฆ่าเชื้อโรค – ยาแก้อักเสบ – ยาปฏิชีวนะ” หลายคนก็เรียกแตกต่างกันออกไปก็คือยาปฏิชีวนะนั่นแหละซึ่งเป็นประเด็นท้าทายของมนุษยชาติ คนส่วนใหญ่มักมองว่าไกลตัวซื้อยามากินแล้วก็หาย แต่ความจริงเป็นภัยเงียบที่ต้องการความร่วมมือระหว่างประเทศ ถ้าไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ มันอาจจะส่งผลกระทบในวงกว้าง ต่อระบบสุขภาพของโลกในอนาคตโลกก็จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ที่มีรายได้ที่แตกต่าง ขีดความสามารถในการรับมือก็ไม่เหมือนกัน ระบบสุขภาพ การเข้าถึงยาและบริการก็ไม่เหมือนกัน การบริการทางการแพทย์ก็แตกต่างกันอยู่มาก ถึงแม้ว่าต้นตอของปัญหานั้น อาจไม่ได้เกิดในประเทศ แต่ก็อาจได้รับผลกระทบในทางอ้อมในที่สุดอยู่ดี ดังนั้น การสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนและประชาคมโลก เป็นเรื่องเร่งด่วนสำคัญที่สุด ฉะนั้นถึงทำให้เกิดการประชุมในครั้งนี้ ท่านเอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติท่านก็ดูแลเรื่องนี้อย่างเต็มที่ มีคณะทำงานมีอะไรต่างๆ เพื่อจะพูดคุยกับ 134 ประเทศ ก็เป็นผลสำเร็จออกมาแล้วก็ผลักดันให้มาสู่การประชุมครั้งนี้ได้ด้วย
พิธีกร: ซึ่งตรงนี้ก็ถือเป็นบทบาทหลักของไทยในฐานะเป็นประธานกลุ่ม G77 ใช่ไหมครับ
นายกรัฐมนตรี: ใช่ มีหลายอย่างด้วยกันนะ G77 ที่ประเทศเราเดินหน้า ปีเดียวนะก็เป็นผลสำเร็จได้มากพอสมควร ดื้อยานี่ถ้าสมมติเราใช้ไปมากเรื่อยๆ ไม่ควบคุม วันหน้าต้องใช้ยาแรงขึ้นๆ ราคาก็สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายก็ไม่เพียงพอ บางคนกินยาปฏิชีวนะแล้วกินไม่ครบ พอหายก็เลิกกิน เลิกทาน เขามีระยะเวลาให้ทานต่อไปจนครบ ต้องกินให้ครบจำนวนและขนาด ตามเวลาที่แพทย์เขาสั่งไว้ ไม่ฉะนั้นจะดื้อยา พอคราวหน้าก็กินไม่หาย แนวโน้มของคนไทยในการใช้ยาฆ่าเชื้อมีมากกว่า 1 หมื่นล้านบาทต่อปี ถ้าลดตรงนี้ไปได้ ค่าใช้จ่ายจะลดลง เพราะยาฆ่าเชื้อตัวเก่าที่เคยใช้ก็ไม่ได้ผล มันดื้อไปแล้ว ต้องไปใช้ยาตัวใหม่ ราคาแพง และผมก็ฟังมาว่า ผู้ผลิตเขาลงทุนสูง ในเรื่องของการคิดค้นยาแต่ละชนิดขึ้นมามันแพง ก็ต้องขายของแพงแล้วถ้าเราต้องไปซื้อของแพงมาก ๆ ไหวไหมล่ะ อีกหน่อยก็ตายกันหมดเพราะเชื้อมันดื้อยา และไม่สามารถใช้ยารักษาที่มีในปัจจุบันได้อีกต่อไป และระหว่างรอเขาคิดค้นยาใหม่ก็ตายไปแล้ว ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้น โอกาสเสียชีวิตก็มากขึ้นเรื่อยๆ แล้วโรคนี้ถ้าไม่กำจัดตั้งแต่ต้นตอมันก็แพร่กระจายไประบาดในชุมชน โรคติดต่อ เราเคยคุมได้ ก็คุมไม่ได้กลับมาอีกเพราะว่ายาปฏิชีวนะใช้ไม่ได้ผล และเชื้อบางเชื้อก็ถ่ายทอดไปรหัสพันธุกรรมดื้อยา ไปสู่เชื้อสายพันธุ์อื่นได้ใช่ไหม ทำให้เกิดปัญหาการดื้อยามันจะแรงขึ้น เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญวันนี้ ทุกคนก็ไม่ควรไปซื้อยามากินเอง ใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ เภสัชกร สั่ง-แนะนำอย่างไรก็กินไปตามนั้นรับประทานยาให้ครบ แม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม ถ้าเจ็บป่วย บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา เช่น ไข้หวัดทั่วๆไป ก็พักผ่อน ออกกำลังกาย รักษาสุขภาพ รับประทานอาหารถูกหลักอนามัย วันนี้ทุกคนเรียนรู้ทางโทรทัศน์บ้าง ทางโฆษณาโซเชียลมีเดีย ซื้อยากินเองกันหมด ก็เชื่อว่ามันดี เสร็จแล้วปรากฏว่าบางครั้งไม่ถูกต้อง จึงต้องระมัดระวังนะครับ การดำเนินการเหล่านี้ต้องเป็นการให้ความรู้แก่ประชาชน หลายคนเป็นหมอเอง รู้หมดตัวเองเป็นอะไร จะซื้อยาอย่างไร รู้หมด เพราะว่าอ่านหนังสือเยอะ ดูโฆษณา แล้วก็เอ๊ะเป็นโน่นหรือเปล่าเป็นนี่หรือเปล่า สงสัยไปเรื่อยแล้วก็ซื้อยามากินเอง วิตามิน บางทีก็ซื้อกินจนเกินความต้องการของร่างกาย แล้วมันก็แพงแสนแพง ต้องระมัดระวังนะครับศึกษาให้ดี
นายกรัฐมนตรี: อันนี้ต้องรวมความไปถึง คน สัตว์ พืช ด้วยนะ เพราะมันเชื่อมโยงกัน ต่างฝ่ายอยู่ในวงจรอาหารกัน เพราะฉะนั้นก็ติดต่อกันได้ ภาคการเกษตรก็ต้องเข้าไปดูแล วันนี้เราจัดให้มีระบบสุขภาพ และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงยา วัคซีน สมุนไพร เครื่องมือการตรวจวินิจฉัย และบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานที่ราคาไม่สูงนักแต่ต้องมีประสิทธิภาพอย่างเท่าเทียม วันนี้ปัญหาเราคือรายได้ประเทศมันน้อย เพราะฉะนั้นเราต้องดูแลคนทุกคน มากขึ้นทุกปี คนเกิดมากขึ้น แล้วก็สูงวัยมากขึ้น ตายช้า เงินจำนวนนี้ก็ใช้สูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีนะเพราะฉะนั้นเราจะต้องใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการป้องกันการติดเชื้อก่อนดีกว่า ให้มีภูมิคุ้มกันแล้วก็สนับสนุนการวิจัยและพัฒนายาและการรักษาของเราเองภายในประเทศด้วย อันนี้สำคัญที่สุดครับการป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไข
พิธีกร: แน่นอนครับว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าที่ผ่านมาหลายๆคนอาจจะอาศัยการรักษาด้วยการเข้าไปดูในกูเกิ้ล แล้วก็ซื้อยามาทานเอง แล้วก็อย่างที่ท่านนายกฯได้กล่าวไปแล้ว ถือว่าเป็นภัยเงียบ ผมคิดว่าเป็นมหันตภัยเงียบเลยก็ว่าได้นะครับ เพิ่มเติมจากเรื่องที่เรากำลังคุยอยู่นี่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพของคนแล้ว ก็ยังมีอีกเรื่องหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งปีนี้และปีที่ผ่านมาสหประชาชาติให้ความสำคัญมาก ก็คือเรื่องการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศของโลกวันนี้เราได้มีบทบาทนี้อย่างไรเพิ่มเติมครับ ท่านนายกฯได้มีกิจกรรมสำคัญอีกหนึ่งกิจกรรมก็คือ ในเรื่องของการไปให้สัตยาบันความตกลงปารีส อยากให้ท่านนายกฯ เล่าให้ฟังสักนิดหนึ่งครับ
นายกรัฐมนตรี: อันนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมานานแล้วนะ หลายประเทศก็รู้ มันมีความสำคัญ แต่วันนี้การทำสัตยาบันก็ยังไม่ครบ ประเทศไทยก็เป็นที่น่าภาคภูมิใจ เขาก็ขอบคุณเราที่เราได้ร่วมลงสัตยาบันในเรื่องนี้ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับหลายๆประเทศ เพราะมีผลกระทบทั้งสิ้น วันนี้ใน G77 เราก็ขับเคลื่อนเรื่องนี้ โดยใช้หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้ามาด้วย เพราะหลายประเทศมีความแตกต่างกัน บางประเทศก็ภัยพิบัติ จากน้ำท่วม ฝนแล้วดินถล่ม อะไรเหล่านี้ โดยเฉพาะประเทศหมู่เกาะ วันนี้เราก็ใช้แนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้แนะนำไป ก็ประมาณสัก 20 ประเทศได้นำไปใช้แล้วโดยเฉพาะประเทศหมู่เกาะและวันนี้สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการลงสัตยาบันครั้งนี้เป็นไปตามพันธะสัญญาของสหประชาชาติในช่วงศตวรรษหน้า ก็คือในช่วง 2015 – 2030 ที่จะต้องลดโลกร้อนลงให้ได้ 2 องศา ของเราเองก็ต้องไปลงสัตยาบันไว้ เราก็ต้องร่วมมือกับเขาเหมือนกัน การที่จะให้ลดลง ไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศาทั้งโลกนี้ หลายประเทศต้องรวมกัน ในอาเซียนก็รวมกับอาเซียน ไม่ใช่ประเทศไทยประเทศเดียว ตัวประเทศไทยลดให้ได้ภายใน 2030 เราก็สัญญากับเขาแล้วนะ เพราะฉะนั้นต้องไปทุกอย่าง ตั้งแต่การใช้เครื่องยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อจะลดก๊าซ Co2ช่ไหม ไม่ใช่ง่ายๆ อยู่ดี ๆ จะบอกว่าลดลงเท่านั้น 20-30 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 30 ปี มันลดด้วยอะไรล่ะ ต้องลดลงด้วยหลายๆ อย่าง ด้วยโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยการใช้ยานพาหนะ ด้วยการเปลี่ยนเครื่องยนต์ ด้วยการใช้พลังงานที่เป็นไบโอดีเซล หรือ แก๊สโซฮอล์ อะไรอย่างนี้ ซึ่งมันแพงทั้งสิ้น ในปัจจุบันแต่เราก็พยายามทำเต็มที่ วันนี้ก็เป็นที่น่ายินดีที่จีน - สหรัฐฯ เป็น 2 ประเทศที่เขาก็รับได้ว่าเขาปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดของโลก ได้ให้สัตยาบันฯ แล้ว และอีก 60 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศลาว ที่ให้สัตยาบันฯ เช่นกัน ถ้าเราคิดเป็นอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกัน ร้อยละ 47.76 นะ ทั้งหมดที่ว่ามาแล้วเมื่อสักครู่นี้ ประเทศไทยก็ได้ยื่นไปแล้วสัตยาบันฯดังกล่าว ในการประชุมในครั้งนี้เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 เราก็ไปแสดงความรับผิดชอบร่วมกับทุกประเทศในโลก เป็นสัญญาณว่าไทยมีความแน่วแน่ที่จะมุ่งสู่ความเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ เราต้องร่วมกัน จัดทำ Roadmap หลายกระทรวงด้วยกันที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม เราจะต้องลดให้ได้ ร้อยละ 20 -25 ภายในปี ค.ศ. 2030 15 ปี ที่เหลือนี้ ทำอย่างไรเราจะใช้พลังงานทดแทนให้มากยิ่งขึ้น แต่ต้องไม่เกินสัดส่วนของแผนจีดีพี กำหนดไว้แล้ว 60 : 40 60 คือพลังงานเดิม 40 คือพลังงานทดแทน ก็มีปัญหาเรื่องระบบสายส่ง มีปัญหาเรื่องราคาค่าไฟฟ้ารับซื้อ มีปัญหาเรื่องความมีเสถียรภาพของไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ต้องค่อยๆ สร้างไป เรื่องการใช้โรงงานพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากขยะ ซึ่งสร้างได้บ้างไม่ได้บ้าง บางพื้นที่ก็ถูกต่อต้าน และขยะเราต้องไปดูสิว่าพอเพียงกันหรือเปล่า เพราะว่าหลาย ๆ แห่งก็ไม่ไหวเหมือนกัน เรื่องการใช้โรงงานพลังไฟฟ้าที่เกิดจากขยะ ซึ่งสร้างได้บ้างไม่ได้บ้าง บางท้องที่ก็ถูกต่อต้าน แล้วขยะเราก็ไม่รู้ว่าพอเพียงกันหรือเปล่า เพราะหลายๆแห่งก็ไม่ไหวเหมือนกัน แล้วเราก็ต้องลดการใช้ถุงพลาสติก ผมมีความคิดนะว่าทำอย่างไรจะลดได้ วันนี้เราลดเดือนละได้ไม่กี่ล้านตัน ถึงแม้จะให้ลดไม่กี่วัน วันนี้ผมก็มีกระทรวงทรัพย์ฯ เห็นบอกว่าถ้าจะมาเพิ่มได้มากขึ้น เป็นมากวันขึ้น ก็ลดได้อีกหลายล้านถุง แล้วก็ส่งเสริมการใช้ถุงผ้า เป็นไปได้ไหมว่าในส่วนของสถานประกอบการถ้าไม่เอาถุงผ้ามาจะต้องเสียค่าถุงพลาสติก
พิธีกร: หลายประเทศทำกันนะครับ
นายกรัฐมนตรี: เราก็น่าจะได้แบบนี้ อะไรที่เสียแล้วดีนะ น่าจะร่วมมือดี ถุงผ้าท่านก็มีอยู่แล้วที่บ้าน ก็ถือมา ขอเถิดครับลองดูนะ อย่าให้ผมต้องบังคับเลย เรื่องใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เป็นภาระ เพราะว่าเป็นร้อยปี ไม่เสื่อมสลาย เสร็จแล้วก็ตกไปตามพื้นดิน ลงไปในน้ำทะเล สัตว์ก็กินเข้าไป ก็ตายอีก นี่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก คนช่วยเถิดครับ ผมจะดูเลยนะ ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป เป็นไปได้ไหม หรือไม่ก็ลดราคา บาทหนึ่งก็ได้ถ้าเขาเอาถุงผ้ามา ถ้าไม่เก็บเงินเขาล่ะก็ ไปหาวิธีการมานะ อย่าให้รัฐต้องสั่งทุกอันเลย เรื่องการบุกรุกป่าเหมือนกัน ไฟป่าจริงๆก็จุดทั้งนั้นล่ะ ก็ทำให้เกิดหมอกควัน ภาระหมอกควันของอาเซียนก็เยอะ ตอนนี้ก็หารือกับรอบบ้านไปแล้ว ขจัดหมอกควันให้ได้โดยเร็ว แล้วก็อาจจะต้องลดการขนส่งทางถนน เพราะสร้างแก๊ส สร้าง Co2 ออกมา เราก็ไปเร่งเรื่องการขนส่งทางราง วันนี้เราก็พัฒนาการขนส่งทางราง มีการสร้างทางคู่เพิ่มอะไรเหล่านี้ ราคาถูกเรื่องการขนส่ง เหลือปัญหาอย่างเดียว เร็วหรือเปล่า ก็ต้องมาทำทางคู่ ต่อให้มีรถไฟวิ่งได้เร็วกว่านี้ ก็วิ่งได้เท่านี้ เพราะต้องไปรอสถานีหน้า เพราะทางสวนกันไม่ได้ ต้องสร้างทางคู่ ที่นี้จะสร้างพร้อมกันหมดก็ไม่ได้อีก ระยะแรกเราก็สร้างไว้ 5 ที่ เพื่อจะอยู่ในแผนแม่บทของการพัฒนาระยะยาว ใครเป็นรัฐบาลก็มาทำต่อก็แล้วกันนะ ที่สำคัญที่สุดคือเราต้องทำทุกอย่างนี้ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันนี้เราต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนา แล้วก็ควบคู่ไปกับการรักษาสมดุลทางธรรมชาติด้วย ที่ผ่านมา 30 ปีที่ผ่านมาเราเปลี่ยนประเทศเราจากเกษตรอย่างเดียวมาเป็นเกษตรอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมายโดยบางทีก็หลงลืมความสมดุลทางธรรมชาติ วันนี้ต้องกลับมาสู่อันนั้นจะได้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0ยั่งยืน สมดุลในทุกมิติ หากจะพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรม ก็เป็นอุตสาหกรรมสีเขียวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
พิธีกร: ครับ ก็เป็นอีกบทบาทหนึ่งของรัฐบาลไทยภายใต้การนำของท่านนายกรัฐมนตรี ที่แสดงให้ประชาคมระหว่างประเทศได้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความรับผิดชอบต่อโลก ถือว่าสำคัญมากๆ บทบาทหนึ่ง ทีนี้มาถึงการประชุมอีกอันหนึ่งซึ่งถือว่ามีความสำคัญนะครับ คือการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 71 ครั้งนี้ มีความสำคัญอะไรเป็นพิเศษ อย่างไรบ้างครับท่านนายกฯ ครับ
นายกรัฐมนตรี: อันแรกก็คือเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ 2 ท่านด้วยกัน ท่านแรกคือเลขาธิการสหประชาชาติ ท่านที่สองคือ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2 ท่านเปลี่ยนแปลงในปีนี้พร้อมกัน อันที่สองประเทศไทยเข้าร่วมการประชุม ทั้งในฐานะประเทศสมาชิก และมีบทบาทสำคัญคือการเป็นประธานกลุ่มประเทศ G77 ซึ่งเราก็ได้เสนออะไรไปบ้าง ในประเด็นนี้นะ อันที่สาม ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติครบ 70 ปี เป็นปีแรกที่เริ่มต้นนำวาระสำคัญของโลกสู่การปฏิบัติ เช่น ในกรอบเซนไดเรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ความตกลงปารีสเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เราเพิ่งร่วมให้สัตยาบันฯ ไป และที่สำคัญ คือวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งทั้งโลก ต้องช่วยกันผลักดันสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง แล้วเราต้องปรับแนวทางการพัฒนาประเทศของเรานั้น ทางรัฐบาลเราให้สอดคล้องแนวทางต่างๆเหล่านั้นของสหประชาชาติด้วย เพื่อจะนำประเทศเราไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ผมให้ความสำคัญก็คือ อย่างน้อยเราก็ต้องทำตาม UN กำหนดไว้นะ แล้วเราก็มาพัฒนาเพิ่มเติมในส่วนกรอบของเราด้วย ทำให้ดีกว่า 3 เสาหลักที่ต้องรักษาอย่างสมดุลระหว่างกัน ก็คือในเรื่องของความมั่นคง สิทธิของประชาชน สันติภาพ สิ่งที่ต้องดูสำคัญที่สุดต่อไปคือ กรณีผู้โยกย้ายถิ่นฐานที่ไม่ปกติ ที่เราเห็นว่ามีทั้งทางบก ทางทะเล ลักลอบเข้ามา หรือไม่ก็มาทางเรือ จริงๆแล้วเขาไม่ได้อยากมาประเทศไทย เขาอยากไปประเทศอื่น แต่ทีนี้ก็มาถูกจับด้วยกฎหมายลักลอบเข้าเมือง เราก็มีกฎหมายนี้ ไม่จับก็ไม่ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นที่ผ่านมานั้นเป็นตัวอย่างความเชื่อมโยงของ 3 เสาหลักดังกล่าว ถ้ามั่นคงไม่ดี อย่างอื่นก็ไม่ดีตามไปหมด ความมั่นคงเกิดจากใครล่ะ ประชาชน มนุษย์ เราต้องดูแลเขาทุกคน ทุกหมู่ ทุกฝ่าย แล้วก็ประเทศในโลกนี้ทุกประเทศ จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน เพราะว่าเกิดผลกระทบประเทศหนึ่ง ต้องไปสู่อีกประเทศหนึ่งแน่นอน เพราะโลกไร้พรมแดนแล้ว ก็อยากจะเตือนไปถึงสื่อต่าง ๆ ด้วย มีเดียต่าง ๆ ต้องระมัดระวังในการที่ท่านแพร่สิ่งที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง สิ่งที่บิดเบือนออกไป ทำให้ต่างชาติเขาเข้าใจประเทศไทยผิด แล้วก็เศรษฐกิจต่างๆ ก็จะแย่ลง เพราะเขาไม่มาลงทุนยัง เขาก็นึกว่าเป็นอย่างที่เขียนไป ไม่ว่าจะปัญหาภาคใต้ ไม่ว่าจะปัญหาเศรษฐกิจไทย การขัดแย้งทางการเมือง ก็เป็นเรื่องภายในของเรา แล้วเราก็ต้องแก้กันให้ได้ ทำไมต้องโวยวายให้คนอื่นเขาต้องมาเป็นห่วงเป็นใย แล้วท่านจะหวังอะไรให้เศรษฐกิจดีขึ้น เพราะเศรษฐกิจต้องเชื่อมโยงกันทั้งหมด ทั้งต่างประเทศ ในประเทศ แล้วก็ไปของชุมชน ข้างล่างที่เรียกว่าประชารัฐ เป็นต้นตอทั้งหมดที่จะทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่ารากเหง้าของปัญหา
เพราะฉะนั้น การพัฒนาที่ยั่งยืน ทำอย่างไรที่จะให้ปรัชญาเศรษฐกิจเพียงพอของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ควบคู่ไปกับเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนของ UN อันนี้สำคัญนะ เราจะต้องเป็นสะพานเชื่อมโยงเหล่านี้ให้ได้ หาจุดเชื่อมโยงให้ลงตัว ไม่มีประเทศไหนอยู่ได้เพียงลำพังหรอก ถ้าเราส่งเสริมเกื้อกูลกัน เข้มแข็งไปด้วยกัน เข้าใจถึงปัญหาที่มีความแตกต่างกัน แล้วเราใช้คำว่าไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ก็ไปด้วยกันทั้งประเทศ เศรษฐกิจต้องดีขึ้น ไม่ใช่ใครตก ไม่มีใครดีขึ้น แบบวันนี้หรอก หลายประเทศก็ตก หลายประเทศก็ดี ส่วนใหญ่จะตกมากกว่านะ เพราะฉะนั้นการเชื่อมโยงระดับโลกนี่สำคัญ แล้ววันนี้น่าภาคภูมิใจนะครับที่เราได้เป็นประธานกลุ่มประเทศ G77 ในครั้งนี้ แล้วก็ได้เข้าร่วมในการประชุมของกลุ่มประเทศ G20 เป็นครั้งแรก ที่นครหางโจว ที่ผ่านมา ไทยก็มีส่วนร่วมได้มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อจะผลักดัน ขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ในลักษณะที่เรียกว่าหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เราก็ทำตัวเป็นสะพานเชื่อมโยง G77 กับ G20 เป็นครั้งแรก อันนี้ก็เป็นตัวอย่างการเชื่อมโยงระดับชาติโดยใช้กลไกประชารัฐในประเทศ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของคนไทย อันนี้ก็เป็นความพยายามของรัฐบาลเรา แล้วก็ใช้โอกาสเหล่านี้ในการที่จะแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อให้ทั้งชาวไทยและชาวโลกได้รับการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ใช่เพียงเพื่อเราในวันนี้ แต่เพื่อเยาวชนรุ่นหลังในอนาคตด้วยครับ
พิธีกร: ท่านนายกฯ ครับ ดูเหมือนว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 1 ปีหลังนี้มีความคืบหน้า มากมายแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญของประเทศไทยที่ได้รับการ ต้องบอกว่าอย่างกว้างขวางเลย ในเวทีโลกเลยก็ว่าได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเราเป็นประเทศที่มีความรับผิดชอบต่อโลก ตรงนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรครับ นายกรัฐมนตรี: คือผมเคยพูดกับเขาไปแล้วนะ พูดกับทั้งในประเทศต่างประเทศ ไม่ว่าจะผืนดิน ผืนน้ำ อากาศ วันนี้ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่ของคนไทย ไม่ใช่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง เป็นของคนทั้งโลก เราควรให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้เพราะมีผลกระทบทุกประเทศ เพราะฉะนั้นในเรื่องที่มีความสำคัญ เรื่องน้ำใช่ไหม ซึ่งประเทศไทยปีนี้ก็โชคดี ทำไมไม่ชื่นชมประเทศ คนไทยไม่ชื่นชมรัฐบาลไทยในปีที่ผ่านมา 58 ถึง 59 บริหารจัดการน้ำจนกระทั่งไม่มีปัญหาแล้วในเรื่องน้ำแล้งมากนัก ทุกปีจะต้องจ่ายค่าเยียวยาเยอะแยะไปหมด บริหารน้ำอย่างเท่าที่เรามีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วก็ปี 59 ก็จากฝนตกใช่ไหม ตกมากตกน้อยก็แล้วแต่ เป็นสภาพภูมิอากาศอย่างไร ได้สั่งงานไว้หลายเรื่อง ในประเทศไทยผมก็ห่วงเรื่องการระบายน้ำออกนอกพื้นที่ แต่ไม่ใช่ระบายทิ้ง ต้องระบายไปหาที่กักเก็บให้ได้ ไม่อย่างนั้นวันหน้าก็แล้งน้ำเหมือนเดิม ดูแลประชาชนไม่ให้เดือดร้อน มีแผนเผชิญเหตุ จัดหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ทหาร ทั้งท้องถิ่น ออกไปช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย ในด้านอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค และฟื้นฟูความเสียหายโดยด่วน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันยามยากลำบาก ทุกคนต้องช่วยกัน ไม่ต้องร้องขอหรอก ใครเห็นก็ช่วยกันคนละไม้คนละมือก็ดีขึ้นเอง
เรื่องภัยเงียบหรือที่ถามเมื่อสักครู่นี้ หลายคนอาจมองไม่เห็นเพราะไม่เดือดร้อนกับตัวเอง ท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อนะ ด.ญ.จีรภัทร ทองชุม หรือ น้องจีจี้ เมื่อ 18 กันยายนที่ผ่านมานั้น ครบรอบ 6 ปีเต็มที่หายตัวไปจากอ้อมอกพ่อแม่ ใครไม่ใช่พ่อแม่ไม่รู้หรอก เราก็สงสัยว่าคาดว่าถูกลักพาตัว ปัญหาเด็กหายนี่สำคัญ เป็นปัญหาหนึ่งของประเทศไทย ที่เราต้องช่วยกันระมัดระวังนะครับ กลุ่มเด็กเล็กที่อายุระหว่าง 4-8 ขวบ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ถูกลักพาตัว เพราะฉะนั้นวิธีการที่จะลดปัญหาเหล่านี้ลงได้คือ พ่อแม่ต้องไม่ปล่อยบุตรหลานของท่านให้อยู่แต่เพียงลำพัง เพราะเด็กขนาดนี้ยังไม่รู้เรื่องรู้ราวเท่าไรหรอก ก็ควรจะสอนลูก เตรียมทักษะให้ลูกในการที่ไม่รับของคนแปลกหน้า ไม่ไปไหนกับคนแหลกหน้า ต้องสั่งให้ชัดเจน แล้วก็ฝึกให้เป็นนิสัย ถ้าจะไปเที่ยวไหนก็ตาม เด็กเล็ก ๆ นี่ ควรจะมีชื่อที่อยู่ ติดใส่กระเป๋าเด็กไว้ สำหรับกลุ่มเด็กโตก็เหมือนกัน ประมาณสัก 95% ที่หายออกจากบ้านนี่เป็นการหนีไป เพราะว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัว พ่อแม่ก็ต้องมีบทบาทความสำคัญในการให้ความรัก และความอบอุ่นในช่องทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่ให้แต่ของ แต่ไม่ให้ความรัก บางทีพ่อแม่ก็ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการหาเงิน วันนี้ค่าครองชีพก็สูงขึ้น เหล่านี้เป็นภาพสะท้อนปัญหา แล้วก็ทำให้ปัญหาการค้ามนุษย์ทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ผู้หญิง เหล่านี้ อยากให้ช่วยกันเป็นหูเป็นตา มีอะไรผิดปกติ ผิดสังเกตก็ช่วยบอกกันด้วย แจ้งเจ้าหน้าที่ เด็กขอทาน เด็กเร่ขายของ เด็กเร่ร่อน อาจจะเป็นเด็กที่หายไปก็ได้ เพราะฉะนั้นวันนี้เราได้สร้างศูนย์รับคนขอทานไปแล้ว ที่ธัญบุรี ของ พม. วันนี้ก็กรุณาแจ้งมาแล้วกัน ศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทร. 1300 ได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง เรื่องกรณีน้องจีจี้ เสียใจนะครับ เห็นใจพ่อแม่ญาติพี่น้องขอให้ได้กลับมาเร็วๆ นะครับ แล้วก็เด็กทุกคนด้วยที่หายตัวไป มีหลายราย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังไม่ล้มเลิกความพยายามในทุกวิถีทางหากใครทราบเบาะแสใดๆ ก็กรุณาแจ้งด้วย ทีนี้เด็กที่หายไปนานๆ เปลี่ยนไปอย่างไร จำกันไม่ได้ เป็นที่น่าเห็นใจ เพราะว่ากลับมาก็จำพ่อแม่ไม่ได้ กลายเป็นคนอื่นไปอีก เพราะฉะนั้นเราต้องระมัดระวังตั้งแต่ต้น อย่าปล่อยปละละเลยเขาก็แล้วกัน
อีกเรื่องหนึ่งเมื่อสองวันที่ผ่านมานี่ ผมก็เป็นกังวลเกี่ยวกับเรื่องที่เรือล่ม ตายไปตั้ง 28 คน เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะอาจจะด้วยความประมาท เท่าที่ผมตรวจสอบบรรทุกคนเกินอัตราจำนวนมาก แล้วน้ำก็เชี่ยว แล้วไปกระแทกโป๊ะ หรือเสาอะไรสักอย่าง เห็นว่าทะลุไปตั้ง 9 เมตรกว่า รูกว้าง 9.6 เมตร ขนาดใหญ่ เรือก็คว่ำ ก็จม แล้วคนอยู่ใต้ท้องเรือเยอะ ก็เสียใจด้วยนะครับ เป็นพี่น้องชาวมุสลิมส่วนใหญ่ ไปทำบุญ ไปอะไรสักอย่างด้วยกัน แล้วก็เหมาเรือกลับมา เรือเท่าที่ผมทราบบรรทุกได้ไม่ถึง 100 แต่ทราบว่าบรรทุกมา 200 กว่าคน มันเกินไปตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ บริษัทต่างๆ ผมสั่งงานไปแล้วว่าจะต้องรับผิดชอบดูแลค่าเสียหาย เยียวยา มีความผิดทางอาญาด้วย เรื่องอุปกรณ์การช่วยชีวิตมีพอเพียงหรือไม่ ปล่อยปละละเลยให้คนขึ้นอย่างไร ไม่ว่าเขาจะให้เงินเท่าไรก็ต้องไม่ไป คนจะจ้างถ้าเขาคิดถูกที่สุด แล้วไม่ปลอดภัยก็อย่าไปอีก ก็ไม่ตายทั้งคู่ ก็ไม่เดือดร้อนทั้งคู่ เป็นห่วงนะครับ
พิธีกร: ท่านนายกฯ เหนื่อยไหมครับ คือต้องคิดทุกเรื่อง
นายกรัฐมนตรี: ถ้าเป็นเวลาปกติผมคงพูดว่าเหนื่อยนะ แต่วันนี้ผมไม่เหนื่อยหรอก 2 ปีที่เข้ามาผมไม่รู้สึกเหนื่อยเพราะผมมีกำลังใจที่จะทำงานให้กับพ่อแม่พี่น้องคนไทยเยอะแยะ ผมเห็นแววตาเขา ทุกคนที่มาพบผม เขาก็ฝากความหวังไว้ที่ผมเยอะพอสมควร ยิ่งเขามารักผมมากขึ้น หรือมารับรองผมมากขึ้น เวลาผมไปเยี่ยมเยือนเขา มันกดดันผมนะว่าผมต้องทำอะไรให้เขาให้สำเร็จ คำว่าสำเร็จของผมคือแก้ปัญหาเดิมไม่ให้กลับไปที่เดิม อันที่สองคือให้เดินไปข้างหน้า อันดับที่สามคือไม่ให้กลับที่เก่าใหม่ แล้วก็วางพื้นฐานประเทศให้เข้มแข็ง ด้วยความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน อันนี้เป็นทั้งของไทย และของสหประชาชาติด้วย นั่นแหละทำให้ผมไม่เหนื่อย ยังไงก็ไม่เหนื่อย ถึงจะโมโหบ้างผมก็ไม่เหนื่อย ธรรมดามนุษย์
พิธีกร: ท่านนายกฯ ครับ มาสหรัฐครั้งนี้ดูเหมือนว่าประเทศไทยจะมีภาพลักษณ์ที่เป็นเชิงบวกมากขึ้น ตรงนี้ท่านนายกฯ มองว่าเกิดขึ้นจากอะไรครับ
นายกรัฐมนตรี: ก็เกิดจากอันแรกคือบ้านเมืองปกติ ซึ่งที่ผ่านมาเขาก็ชื่นชมอยู่แล้ว เท่าที่ผมพบปะกับผู้นำหลายประเทศ ซึ่งวันนี้มีความคุ้นเคยกันมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งแรกที่ผมภูมิใจแล้วก็ตื้นตันใจก็คือเขาถามถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระอาการอย่างไร อะไรต่างๆ เหล่านี้นะ ผมก็บอกว่าท่านก็ทรงพระชนมายุมาก ท่านก็ทรงออกงานไม่ค่อยสะดวก ต้องอยู่ในความดูแลของหมอ แต่ท่านก็ทรงงานผ่านคณะองคมนตรีอยู่แล้ว เพราะท่านเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระราชอำนาจทั้งหมดทั้ง 3 อำนาจ ท่านพระราชทานให้กับรัฐบาล ทุกรัฐบาลก็ไปใช้ให้ดีแล้วกัน วันนี้ท่านก็ทรงคาดหวังมาโดยตลอดให้คนไทยมีความสุข วันนี้พวกเราช่วยกันทำให้พระองค์ท่านมีความสุขเถิด ทรงมีพระชนมายุมากแล้ว
อันที่สองที่เขาชื่นชมหรือ เขาบอกว่าประทับใจในความเป็นคนไทย มีรอยยิ้ม มีน้ำใจ มีความโอบอ้อมอารีอันที่สามคือเรื่องอาหาร ติดใจมากอาหารไทย วันนี้ผมนั่งเครื่องลุฟท์ฮันซ่ามา ผมเห็นมี ต้มข่าไก่ ถึงแม้จะรสชาติแปลก ๆ จากของเราบ้าง แต่ก็โอเคล่ะถือว่ามีชื่อเสียง ขึ้นเครื่องบินลุฟท์ฮันซ่า แล้วผมก็ถามเขาว่า แล้ววันนี้กับวันที่แล้ว เขาบอกพอใจวันนี้ สถานการณ์วันนี้ เพราะว่าบ้านเมืองสงบ ไม่มีการประท้วง เขาก็สามารถไปเที่ยวเล่นที่โน่นที่นี่ได้โดยสะดวก คนไทยก็ต้องอดทนนะ เพราะเราปล่อยให้สถานการณ์เหล่านั้นเป็นมายาวนาน ความขัดแย้งสูง ถ้าเราไม่ลดลงไป สิ่งเหล่านี้ก็ไม่เกิดขึ้น ประชาชนก็ไม่มีความสุข เศรษฐกิจก็เดินหน้าไม่ได้ เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญครับ
พิธีกร: นอกเหนือจากนโยบายที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดให้กับผู้ปฏิบัติได้ดำเนินการนะครับ ผมคิดว่า ประเด็นสำคัญก็คือน่าจะเป็นเรื่องของการปฏิบัติที่เกิดขึ้นทำให้เราได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกเพิ่มมากขึ้น ท่านนายกฯ มองตรงนี้ไหมครับ
นายกรัฐมนตรี: สิ่งสำคัญผมคิดว่าไม่ต่างกันหรอกแต่ละประเทศ การที่เราเอาปัญหาทุกปัญหามากางออกมา แต่แตกต่างตรงไหนรู้ไหม แตกต่างตรงที่ทำอย่างไร เรารู้ว่าปัญหาเรามีอะไรทับซ้อนอยู่บ้าง เสร็จแล้วถึงไปดูว่า เราต้องการอะไรเป็นสิ่งสุดท้าย สุดท้ายก็มีเป้าหมายของแต่ละเรื่อง แต่ละกิจกรรม แต่นี่สำคัญสุดคือตรงกลาง คือกระบวนการ กระบวนการในการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาเหล่านี้สำคัญ เพราะฉะนั้นจะต้องมีทั้งวิธีการ กระบวนการ มีทั้งกฎหมาย มีอะไรเยอะแยะไปหมด ท่านจะเห็นว่ารัฐบาลแก้ปัญหามา 2 ปี บางอย่างก็เสร็จไว บางอย่างก็ยังไม่เสร็จ เพราะต้องทำทั้งต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ต้นทางก็คือการแก้ไขความขัดแย้งของเดิมให้ยุติเสียก่อน แล้วเราถึงจะได้ปัญหาออกมา เสร็จแล้วก็มาสู่การปฏิบัติ แล้วติดกฎหมายเข้าไปอีก ก็ต้องแก้กฎหมายอีก อะไรอีกใช่ไหม แล้วท้ายสุดก็คือสิ่งที่เราต้องการก็คือประชาชนมีความสุขใช่ไหม
วันนี้ต้องขอขอบคุณคณะทูตถาวรประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ที่มาเตรียมงาน เตรียมการให้ผมอย่างเต็มที่ ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศทุกคน ทั้งอยู่ที่นี่และที่มาจากกรุงเทพฯ แล้วก็ต้องไม่ลืมคนไทยที่มาต้อนรับในวันแรกด้วย พวกนี้เขาก็เป็นห่วงใยประเทศชาติ ถึงแม้เขาจะมีถิ่นพำนักอยู่ที่นี่ก็ตาม เขาก็เป็นห่วงเป็นใย เขาฝากความหวังไว้กับผมนะ ผมก็รับไป ทุกครั้งที่มาเขาก็มารับผมทุกครั้ง แต่ผมก็บอกว่าเราขัดแย้งต่อไปไม่ได้อีกแล้ว
อันที่สองคือสถานทูตด้านกรุงวอชิงตัน ก็มีส่วนร่วมในการเตรียมการเหล่านี้ไว้ด้วย มากี่ครั้งแล้วนะ  มา 4 ครั้งแล้ว ผมได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่งครับ ท่านประธานาธิบดีก็ได้ฝากบุคคลใกล้ชิดมาบอกว่าชื่นชมประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งครั้งนี้ 3 อย่างด้วยกัน ครั้งแรกก็คือเรื่องการดำเนินการต่อผู้ลี้ภัยของไทย ช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน อันที่สองคือการลงสัตยาบันอนุสัญญาปารีส สาม การแก้ปัญหา IUU เรื่องประมง 3-4 อย่างนี้ท่านประธานาธิบดีฝากขอบคุณมาถึงผมแล้วก็ถึงประเทศไทย ผมก็บอกว่าเป็นเรื่องของคนไทยทุกคน แล้วก็ให้เขารู้ว่ารัฐบาลผมทำทุกอย่างที่เป็นพันธะสัญญาโลก ไม่ได้บิดพลิ้วอะไรเลย สิ่งสำคัญคือ ถึงแม้ว่าคนไทยจะเดือดร้อนจากมาตรการต่างๆ เหล่านี้ แต่ผมคิดว่าวันหน้าเขาเข้าใจวันนี้ก็ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวประมงต้องเดือดร้อนแน่นอนครับ เพราะปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลายาวนานจนกระทั่งหลายอย่างจากผิดกลายเป็นถูก แล้วก็เชื่อมั่นว่าถูกอยู่แล้ว แล้วก็บังคับใช้กฎหมายไม่ได้ อย่างเช่น การบุกรุกป่าอะไรต่างๆ เหล่านี้ ผิดมาตั้งนานแล้ว แล้วยิ่งปล่อยไป ความเสียหายก็มากขึ้น ๆ พอเรารื้อกลับมาที่เดิมก็เดือดร้อน แต่รัฐบาลนี้ก็พยายามจะแก้ปัญหาว่าจะแก้เขาได้อย่างไร การบุกรุกป่าไม่ใช่เอาเขาออกมาแล้วผลักไล่ไสส่งไปไหนก็ได้ ไม่ใช่ หาที่อยู่ให้เขา สิ่งนี้ยากแต่ผมก็พยายามคิดทุกอย่าง นอกกรอบบ้าง ในกรอบบ้าง แล้วอยู่ที่การปฏิบัติ ขับเคลื่อนให้เป็นผลสัมฤทธิ์ก็แล้วกัน
พิธีกร: ครับวันนี้ต้องกราบขอบพระคุณท่านนายกฯ เป็นอย่างสูงที่ได้กรุณาสละเวลามาเล่าเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ แล้วก็มีสาระให้ทุกท่านได้รับฟังกันนะครับ ขอบคุณมากครับ
นายกรัฐมนตรี: ขอบคุณครับ สวัสดีครับ

ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

-คลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม