อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 404/2559ผลประชุม ก.พ.อ. 5/2559
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2559 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ว่าที่ประชุมได้รับทราบรายงานการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย และรับทราบ การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ จำนวน 59 ราย
รา ยงานการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตามที่คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระบบอุดมศึกษา ซึ่งมีนายถนอม อินทรกำเนิด เป็นประธาน ได้นำเสนอผลการศึกษาในประเด็นที่น่าสนใจในด้านต่าง ๆ ดังนี้
ผลกระทบจากการเปลี่ยนสถานภาพจาก ข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ที่มีต่อศักยภาพของอาจารย์ในด้านการผลิตผลงานวิจัย ระดับการศึกษา และ ตำแหน่งทางวิชาการ ในภาพรวมพบว่ามีการเพิ่มจำนวนพนักงานมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งมีสัดส่วนจำนวน พนักงานมหาวิทยาลัยต่อจำนวนข้าราชการ คิดเป็น 25:75 แต่ในปี 2558 สัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 72:28
-
ด้าน
ศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการ ด้านผลงานวิจัย จาก ฐานข้อมูลนานาชาติ Scopus ช่วงปี 2547-2556 มีการตีพิมพ์ผลงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 2,354 บทความ เป็น 9,387 บทความ หรือเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ย 780 บทความ/ปี ซึ่งการเพิ่มขึ้นของบทความวิจัยเกิดขึ้นอย่างคู่ขนานกับการเพิ่มขึ้นของพนักงานมหาวิทยาลัยด้วย แสดงให้เห็นว่าพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นบุคลากรกลุ่มหลักที่ผลิตผลงานวิจัย นอกจากนี้ ผลการศึกษาระบุว่าคุณภาพของบทความวิจัยก็มีคุณภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการเปรียบเทียบจำนวนครั้งของการอ้างอิงผลงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2547 มีจำนวน 633 ครั้ง ในขณะที่ปี 2556 มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นถึง 112,053 ครั้ง
-
ด้าน ศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการ ด้านระดับการศึกษา ในภาพรวม ปี 2549 สัดส่วนคุณวุฒิของบุคลากรสายวิชาการระดับการศึกษาปริญญาตรี : โท : เอก คิดเป็น 14 : 59 : 27 และมีสัดส่วนคุณวุฒิของบุคลากรสายวิชาการเป็น 7 : 50 : 43 ในปี 2558 โดยเฉพาะจำนวนอาจารย์วุฒิปริญญาเอกในปี 2558 มีจำนวน 27,867 คน เพิ่มขึ้น 2.5 เท่าในระยะ 9 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2549 ผลจากการเพิ่มขึ้นดังกล่าวทำให้สัดส่วนอาจารย์วุฒิปริญญาเอก ต่อจำนวนอาจารย์ทั้งหมด เพิ่มจาก 27% ในปี 2549 เป็น 43% ในปี 2558
-
ด้าน ศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการ ด้านตำแหน่งทางวิชาการ ในภาพรวมจะเห็นการเพิ่มบุคลากรตำแหน่ง "อาจารย์" อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ตำแหน่งทางวิชาการอื่น ๆ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ มีจำนวนการเพิ่มค่อนข้างคงที่ ส่วนตำแหน่ง ศาสตราจารย์แม้จะมีจำนวนน้อย แต่ก็มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผลกระทบต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อองค์กร ซึ่งพนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพ มีความผูกพันสูงกว่าข้าราชการและพนักงานตั้งแต่ต้น 2 ด้าน คือ ด้านความผูกพันต่องานที่ปฏิบัติ และความผูกพันต่อองค์กรที่ปฏิบัติงาน
ผลกระทบจากการเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในด้านบริหารงานบุคคลและด้านงบประมาณการเงิน
-
ด้านบริหารงานบุคคล ผลการศึกษาพบว่า "ระบบพนักงานมหาวิทยาลัย" ได้สร้างระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานไว้ในข้อบังคับการบริหารงานบุคคลของแต่ละมหาวิทยาลัยและในสัญญาจ้างงาน และผลการศึกษายังพบด้วยว่าผลกระทบจากการเลื่อนไหลบุคลากรที่มีคุณภาพจากมหาวิทยาลัยที่จัดตั้งใหม่ไปสู่มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียง และจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาคไปมหาวิทยาลัยส่วนกลาง ล้วนมีผลกระทบต่อคุณภาพมหาวิทยาลัยที่ตั้งใหม่และในภูมิภาคมีคุณภาพด้อยลงด้วย นอกจากนี้การบรรจุอาจารย์ที่เน้นระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยหลายแห่งให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยขาดการตรวจสอบในเชิงคุณภาพ ซึ่งพบว่ามหาวิทยาลัยจำนวนไม่น้อยที่บรรจุจากผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในประเทศและต่างประเทศที่ขาดความเชื่อมั่นในด้านคุณภาพ
-
ด้านการเงินและงบประมาณ พบว่ารัฐต้องจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นในการเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย เนื่องจากการเพิ่มค่าตอบแทนเป็น 1.7 เท่าของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ และ 1.5 เท่าในสายสนับสนุน และต่อไปเมื่อมหาวิทยาลัยมีแต่พนักงานมหาวิทยาลัย รัฐจะต้องหาเงินมาเพิ่มค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มากยิ่งขึ้น แต่เมื่อพนักงานมหาวิทยาลัยเกษียณจากงานแล้ว รัฐจะลดภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ด้วย ซึ่งจะต้องมีการศึกษาต่อไปว่าจะมีการลดลงเพียงใด สำหรับภาระด้านงบประมาณนั้น มหาวิทยาลัยก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับรัฐ เพราะต้องบริหารเงินที่รัฐให้มาในหมวดอุดหนุนทั่วไปและรายได้ของมหาวิทยาลัย เป็นค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น แต่รายได้จากแหล่งสำคัญ คือ เงินบำรุงการศึกษามีแนวโน้มลดลง มหาวิทยาลัยจึงจำเป็นต้องแสวงหารายได้จากแหล่งอื่น ๆ ซึ่งเป็นภาระที่กระทำได้ยากยิ่ง อย่างไรก็ตามผลกระทบด้านบวกก็คือ การบริหารจัดการด้านการเงินใน
หมวดอุดหนุนทั่วไป ทำให้สามารถออกข้อบังคับและระเบียบต่าง ๆ ให้สนองตอบพันธกิจและการเปลี่ยนแปลงในสภาพการณ์ใหม่ ๆ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น สามารถจัดหางบประมาณมาสนับสนุนงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยเพื่อผลิตผลงาน และอาจแปลงผลงานเหล่านั้นเป็นรายได้เพิ่มเติม
ข้อเสนอของการศึกษาในครั้งนี้ มี 3 ประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
-
ให้มีพระราชบัญญัติการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกฎหมายกลางสำหรับมหาวิทยาลัยที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำ เพื่อให้เกิดความสมดุล และไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างบุคลากรในมหาวิทยาลัย
-
ให้มีระบบกลไกในการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้ผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ ธรรมาภิบาล และวิสัยทัศน์ สามารถสร้างศรัทธาจากบุคลากรทุกภาคส่วน
-
ควรมีการศึกษาวิจัยเฉพาะเรื่องในเชิงลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนถึงผลกระทบจากการเปลี่ยน
สถานภาพของมหาวิทยาลัยไทย ที่มีต่อการบริหารมหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ เช่น การได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ เป็นต้น
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า ข้อเสนอใน 2 ประเด็นแรก เป็นสิ่งที่ตรงใจมาก และสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และมติที่ประชุมในครั้งนี้มีความเห็นเพิ่มเติม โดยประเด็นแรก : ขอให้คณะอนุกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำร่างพระราชบัญญัติ การบริหารงานบุคคล ซึ่งเป็นกฎหมายกลางในการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศให้เสร็จสิ้น เพื่อนำเสนอที่ประชุม ก.พ.อ.ได้พิจารณาโดยเร็ว ส่วนประเด็นที่สอง : เห็นว่าควรกำหนดระบบกลไกการสรรหาผู้บริหารที่ชัดเจนไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย และ ประเด็นที่สาม : ควรให้มีการศึกษาเพื่อหาคำตอบในเชิงลึก ซึ่งต้องเน้นผลการดำเนินงานที่มีผลโดยตรงต่อคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยขอให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อศึกษาวิจัยเชิงลึกต่อไป
รับทราบการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ 59 ราย
ที่ประชุมรับทราบการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์ และให้ความเห็นชอบการได้รับเงินประจำตำแหน่งดังกล่าว จำนวน 59 ราย ดังนี้
สถาบันผศ.
(ราย) รศ.
(ราย) รวม
1) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (เดิม)
19 16 35
2) มหาวิทยาลัยราชภัฏ
6 4 10
3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
14 - 14
รวม
39 20 59
ส่วนหนึ่งของคณะกรรมการ ก.พ.อ. ที่เข้าร่วมประชุม
ภายหลังประชุม รมว.ศธ.ในนามคณะกรรมการ ก.พ.อ. ได้มอบของที่ระลึกแด่
นพ.กำจร ตติยกวี ปลัด ศธ. และ น.ส.อาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ กกอ.
ซึ่งทั้งสองท่านเป็นคณะกรรมการใน ก.พ.อ. ที่จะเกษียณอายุราชการในปีนี้
และมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีต่อ รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการ กกอ.
ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะกรรมการ ก.พ.อ. และผู้บริหาร สกอ. ที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 404/2559ผลประชุม ก.พ.อ. 5/2559
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2559 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ว่าที่ประชุมได้รับทราบรายงานการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย และรับทราบ การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ จำนวน 59 ราย
- ด้าน
ศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการ ด้านผลงานวิจัย จาก ฐานข้อมูลนานาชาติ Scopus ช่วงปี 2547-2556 มีการตีพิมพ์ผลงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 2,354 บทความ เป็น 9,387 บทความ หรือเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ย 780 บทความ/ปี ซึ่งการเพิ่มขึ้นของบทความวิจัยเกิดขึ้นอย่างคู่ขนานกับการเพิ่มขึ้นของพนักงานมหาวิทยาลัยด้วย แสดงให้เห็นว่าพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นบุคลากรกลุ่มหลักที่ผลิตผลงานวิจัย นอกจากนี้ ผลการศึกษาระบุว่าคุณภาพของบทความวิจัยก็มีคุณภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการเปรียบเทียบจำนวนครั้งของการอ้างอิงผลงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2547 มีจำนวน 633 ครั้ง ในขณะที่ปี 2556 มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นถึง 112,053 ครั้ง ด้าน ศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการ ด้านระดับการศึกษา ในภาพรวม ปี 2549 สัดส่วนคุณวุฒิของบุคลากรสายวิชาการระดับการศึกษาปริญญาตรี : โท : เอก คิดเป็น 14 : 59 : 27 และมีสัดส่วนคุณวุฒิของบุคลากรสายวิชาการเป็น 7 : 50 : 43 ในปี 2558 โดยเฉพาะจำนวนอาจารย์วุฒิปริญญาเอกในปี 2558 มีจำนวน 27,867 คน เพิ่มขึ้น 2.5 เท่าในระยะ 9 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2549 ผลจากการเพิ่มขึ้นดังกล่าวทำให้สัดส่วนอาจารย์วุฒิปริญญาเอก ต่อจำนวนอาจารย์ทั้งหมด เพิ่มจาก 27% ในปี 2549 เป็น 43% ในปี 2558 ด้าน ศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการ ด้านตำแหน่งทางวิชาการ ในภาพรวมจะเห็นการเพิ่มบุคลากรตำแหน่ง "อาจารย์" อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ตำแหน่งทางวิชาการอื่น ๆ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ มีจำนวนการเพิ่มค่อนข้างคงที่ ส่วนตำแหน่ง ศาสตราจารย์แม้จะมีจำนวนน้อย แต่ก็มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้านบริหารงานบุคคล ผลการศึกษาพบว่า "ระบบพนักงานมหาวิทยาลัย" ได้สร้างระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานไว้ในข้อบังคับการบริหารงานบุคคลของแต่ละมหาวิทยาลัยและในสัญญาจ้างงาน และผลการศึกษายังพบด้วยว่าผลกระทบจากการเลื่อนไหลบุคลากรที่มีคุณภาพจากมหาวิทยาลัยที่จัดตั้งใหม่ไปสู่มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียง และจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาคไปมหาวิทยาลัยส่วนกลาง ล้วนมีผลกระทบต่อคุณภาพมหาวิทยาลัยที่ตั้งใหม่และในภูมิภาคมีคุณภาพด้อยลงด้วย นอกจากนี้การบรรจุอาจารย์ที่เน้นระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยหลายแห่งให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยขาดการตรวจสอบในเชิงคุณภาพ ซึ่งพบว่ามหาวิทยาลัยจำนวนไม่น้อยที่บรรจุจากผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในประเทศและต่างประเทศที่ขาดความเชื่อมั่นในด้านคุณภาพ - ด้านการเงินและงบประมาณ พบว่ารัฐต้องจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นในการเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย เนื่องจากการเพิ่มค่าตอบแทนเป็น 1.7 เท่าของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ และ 1.5 เท่าในสายสนับสนุน และต่อไปเมื่อมหาวิทยาลัยมีแต่พนักงานมหาวิทยาลัย รัฐจะต้องหาเงินมาเพิ่มค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มากยิ่งขึ้น แต่เมื่อพนักงานมหาวิทยาลัยเกษียณจากงานแล้ว รัฐจะลดภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ด้วย ซึ่งจะต้องมีการศึกษาต่อไปว่าจะมีการลดลงเพียงใด สำหรับภาระด้านงบประมาณนั้น มหาวิทยาลัยก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับรัฐ เพราะต้องบริหารเงินที่รัฐให้มาในหมวดอุดหนุนทั่วไปและรายได้ของมหาวิทยาลัย เป็นค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น แต่รายได้จากแหล่งสำคัญ คือ เงินบำรุงการศึกษามีแนวโน้มลดลง มหาวิทยาลัยจึงจำเป็นต้องแสวงหารายได้จากแหล่งอื่น ๆ ซึ่งเป็นภาระที่กระทำได้ยากยิ่ง อย่างไรก็ตามผลกระทบด้านบวกก็คือ การบริหารจัดการด้านการเงินใน
หมวดอุดหนุนทั่วไป ทำให้สามารถออกข้อบังคับและระเบียบต่าง ๆ ให้สนองตอบพันธกิจและการเปลี่ยนแปลงในสภาพการณ์ใหม่ ๆ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น สามารถจัดหางบประมาณมาสนับสนุนงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยเพื่อผลิตผลงาน และอาจแปลงผลงานเหล่านั้นเป็นรายได้เพิ่มเติม
ข้อเสนอของการศึกษาในครั้งนี้ มี 3 ประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
- ให้มีพระราชบัญญัติการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกฎหมายกลางสำหรับมหาวิทยาลัยที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำ เพื่อให้เกิดความสมดุล และไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างบุคลากรในมหาวิทยาลัย
- ให้มีระบบกลไกในการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้ผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ ธรรมาภิบาล และวิสัยทัศน์ สามารถสร้างศรัทธาจากบุคลากรทุกภาคส่วน
- ควรมีการศึกษาวิจัยเฉพาะเรื่องในเชิงลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนถึงผลกระทบจากการเปลี่ยน
สถานภาพของมหาวิทยาลัยไทย ที่มีต่อการบริหารมหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ เช่น การได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ เป็นต้น
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า ข้อเสนอใน 2 ประเด็นแรก เป็นสิ่งที่ตรงใจมาก และสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และมติที่ประชุมในครั้งนี้มีความเห็นเพิ่มเติม โดยประเด็นแรก : ขอให้คณะอนุกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำร่างพระราชบัญญัติ การบริหารงานบุคคล ซึ่งเป็นกฎหมายกลางในการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศให้เสร็จสิ้น เพื่อนำเสนอที่ประชุม ก.พ.อ.ได้พิจารณาโดยเร็ว ส่วนประเด็นที่สอง : เห็นว่าควรกำหนดระบบกลไกการสรรหาผู้บริหารที่ชัดเจนไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย และ ประเด็นที่สาม : ควรให้มีการศึกษาเพื่อหาคำตอบในเชิงลึก ซึ่งต้องเน้นผลการดำเนินงานที่มีผลโดยตรงต่อคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยขอให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อศึกษาวิจัยเชิงลึกต่อไป
ที่ประชุมรับทราบการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์ และให้ความเห็นชอบการได้รับเงินประจำตำแหน่งดังกล่าว จำนวน 59 ราย ดังนี้
ผศ. (ราย) | รศ. (ราย) | รวม | |
1) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (เดิม)
| 19 | 16 | 35 |
2) มหาวิทยาลัยราชภัฏ
| 6 | 4 | 10 |
3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
| 14 | - | 14 |
รวม
| 39 | 20 | 59 |
ส่วนหนึ่งของคณะกรรมการ ก.พ.อ. ที่เข้าร่วมประชุม
ภายหลังประชุม รมว.ศธ.ในนามคณะกรรมการ ก.พ.อ. ได้มอบของที่ระลึกแด่
นพ.กำจร ตติยกวี ปลัด ศธ. และ น.ส.อาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ กกอ.
ซึ่งทั้งสองท่านเป็นคณะกรรมการใน ก.พ.อ. ที่จะเกษียณอายุราชการในปีนี้
และมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีต่อ รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการ กกอ.
ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น