หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

นายกรัฐมนตรีแถลงผลงานรัฐบาลครบรอบ 2 ปี

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 

-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่

-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559

            -คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

 ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่
 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
                                                    
                                       
                     
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

นายกรัฐมนตรีกล่าวชี้แจงในโอกาสครบรอบ 2 ปี การดำเนินงานของรัฐบาล

นายกรัฐมนตรีกล่าวชี้แจงในโอกาสครบรอบ 2 ปี การดำเนินงานของรัฐบาล

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวเนื่องในโอกาสครบรอบ 2 ปี การดำเนินงานของรัฐบาล
วันนี้ (15ก.ย.59) เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวเนื่องในโอกาสครบรอบ 2 ปี การดำเนินงานของรัฐบาล ดังนี้
สวัสดีครับ พี่น้องสื่อมวลชน และพี่น้องประชาชนไทยที่รักทุกท่าน
วันนี้ผมมีความรู้สึกยินดีที่ได้มาพบกันอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องประชาชนที่อยู่ทางบ้านที่ติดตามชมทางโทรทัศน์ ที่น่ายินดีกว่านั้นคือการได้เห็นรอยยิ้มกลับคืนสู่ใบหน้าของคนไทย ที่เราเคยได้รับสมญานามว่า“สยามเมืองยิ้ม” แต่สิ่งนั้นห่างหายไปจากสังคมไทยมากว่า 10 ปี
ในส่วนของวันนี้สิ่งที่ผมต้องการคือการหากันให้เจอระหว่างรัฐบาล ข้าราชการ ประชาสังคม นักสิทธิมนุษยชน เอ็นจีโอต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนทุกอาชีพ ทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายหากันให้เจอ ถ้าหากันไม่เจอก็จะเป็นอยู่แบบเดิม และไม่เข้าใจซึ่งกันและกันทำให้การทำงานก็จะยากขึ้นไปเรื่อย ๆ

สภาพปัญหาของประเทศที่สั่งสม
อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ไม่ค่อยจะสงบสุข  สถานการณ์ในประเทศไทยไม่ค่อยสงบสุขนัก การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างเชื่องช้า เศรษฐกิจไม่ได้รับการปฏิรูปทั้งระบบ เกิดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมในสังคม  ประชาชนจำนวนมากมีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต สังคมมีความสับสนวุ่นวาย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กระทำได้จำกัด การวิจัย การพัฒนา ไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ไม่ต่อเนื่อง  ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก เพราะฉะนั้นประชาชนก็ไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม อันนี้คือปัญหาหลักของผู้มีรายได้น้อยด้วย
การที่ประเทศไม่มีแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะยาวที่ชัดเจน ทำให้ประเทศขาดทิศทางในการพัฒนา  การบริหารราชการแผ่นดินให้ความสำคัญน้อยกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมาทั้ง 11 แผน การดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศที่ขาดความสมดุล  รวมไปถึงการใช้จ่ายงบประมาณที่ซ้ำซ้อน ไม่คุ้มค่า       ขาดความต่อเนื่อง ประชาชนได้รับประโยชน์น้อย ไม่ทั่วถึง การถือครองทรัพยากรตลอดจนความเจริญกระจุกอยู่เพียงบางพื้นที่ บางกลุ่ม บางพวก  ขณะที่ประชาชนส่วนหนึ่งต้องประสบกับความยากจน ความไม่เท่าเทียม คนทำมากได้น้อย เหล่านี้นำไปสู่ปัญหาทางการเมืองที่รุนแรงขัดแย้ง สร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของประเทศในสายตาชาวต่างชาติ รวมทั้งเป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์  โดยที่กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้อย่างเต็มที่เพื่อช่วยทุเลาสถานการณ์ได้อย่างจริงจัง  และที่สำคัญหลายภาคส่วนไม่ได้น้อมนำหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานมากว่า 40 ปี เป็นเข็มทิศนำทาง ทำให้ประเทศเผชิญกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นซึ่งถือเป็นปัญหาร้ายแรงที่สุดของชาติ
ทุกประเด็นเหล่านี้คือปัญหาที่ทาบทับประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ประเทศไทยจาเป็นต้องมีการปฏิรูปประเทศ ตามสิ่งท้าทายและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาของโลกศตวรรษที่ 21 เราจำเป็นต้องมีการปฏิรูปประเทศในทุกระบบ ให้ครบวงจร  เพื่อมิให้ประเทศไทยกลายเป็นชาติที่ไร้การพัฒนา และถูกทิ้งรั้งไว้เบื้องหลัง

แนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล และคสช.
จากที่ รัฐบาล คสช. เข้ามาบริหารตั้งแต่ 22 พ.ค. 2557 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นให้หมดไป  รัฐบาลมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการบริหารราชการแผ่นดินโดยยึดโยงประชาชนเป็นศูนย์กลาง  ยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง และยึดหลักธรรมาภิบาล สุจริตโปร่งใสเป็นสำคัญตลอดมา เพื่อเป้าหมายสำคัญในการวางรากฐานให้รัฐบาลในอนาคตได้บริหารประเทศอย่างมีธรรมาภิบาลภายใต้กฎกติกาที่เหมาะสมกับประเทศไทย และป้องกันอย่างที่สุดที่จะไม่ให้สภาพปัญหาแบบเดิมกลับมาเกิดขึ้นอีกในประเทศไทย ขอให้ทุกคนกลับไปทบทวนดูว่าเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง จนได้เกิดความร่วมมือกับเราในวันนี้
ในเรื่องของการกำหนดแนวนโยบายทุกด้านของรัฐบาล อยู่บนหลักคิดที่จะต้องขจัดเงื่อนไขอันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาในอดีต ต้องเสริมโอกาส สร้างความเข้มแข็งและดำรงความเสมอภาคเท่าเทียมในปัจจุบัน  รวมทั้งต้องนำไปสู่การวางรากฐานประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศในอนาคต
สำหรับการกำหนด “แผนงาน” ในทุกนโยบายของรัฐบาล จึงประกอบด้วยมาตรการทั้ง
ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ในทุกมิติ วันนี้เราอยู่ในระยะสั้นและระยะกลางที่จะต้องวางพื้นฐานก่อนเพื่อจะส่งต่อตาม Road Map และในทุกองคาพยพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระบบตามหลัก “บูรณาการ” เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อย่าเอ่ยแต่เพียงคำว่า “บูรณาการ” อย่างเดียว พูดกันมาตลอด “บูรณาการ ประสานงาน” แต่ไม่ได้เข้าใจว่าจะต้องทำกันอย่างไร วันนี้รัฐบาลได้กำกับดูแลให้ทุกหน่วยงานทำซึ่งทุกคนก็ทำงานกันได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ มีผลงานปรากฏออกมา
การกำหนด “กิจกรรม-โครงการ” ในทุกแผนงานของรัฐบาล จึงมีทั้งกิจกรรมหลัก กิจกรรมรอง และกิจกรรมเสริมในกิจกรรมเดียวกัน เพื่อจะกำหนดห้วงเวลาใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อสังคมสามารถจับต้องได้โดยรวมอย่างชัดเจน
รัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศในช่วงที่สถานการณ์ ทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศไม่สงบสุขนัก ในทุกมิติ  อาทิ ด้านความมั่นคง ภายในประเทศก็มีความแตกแยก บ้านเมืองวุ่นวาย แบ่งฝักฝ่าย  ภายนอกประเทศ ก็มีภัยจากการก่อการร้าย สถานการณ์การสู้รบในหลายประเทศ
ด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ การค้าการลงทุนซบเซา ขณะที่เศรษฐกิจโลกอยู่ภาวะขาลง อัตราการเติบโตชะลอตัว  เศรษฐกิจของโลกในปี 2558 มีการขยายตัวในเกณฑ์ “ต่ำ” อย่างน่าใจหาย เพียงร้อยละ 3.0 ต่ำกว่าที่ประมาณการณ์ ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2559 ก็ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ต่ำเพียง ร้อยละ 3.1  รวมทั้งประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ อย่างสหรัฐฯ ญี่ปุ่น กลุ่มประเทศยูโรโซน และประเทศจีนการขยายตัวก็ชะลอลง ซึ่งทุกประเทศกำลังแก้ปัญหานี้ทั้งสิ้นทั้งภายใน ภายนอก
ด้านสังคม ภายในประเทศเองมีปัญหาความเหลื่อมล้ำ การกระจุกตัวของความมั่งคั่งและโอกาส  ในขณะที่ภาพรวมของสถานการณ์โลก ยังมีปัญหาด้านสังคมมิใช่น้อย  ทั้งการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานที่ไม่ปกติ การอพยพลี้ภัย ความอดอยาก ความไม่เท่าเทียม  ภัยธรรมชาติที่คร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก และโรคระบาดที่ทุกประเทศต้องคอยเตรียมการรับมือ
ด้านการต่างประเทศ การขาดความเข้าใจในบริบทของประเทศไทย ได้นาไปสู่การตั้งคำถาม และความอ่อนไหวต่อความเชื่อมั่นในประเทศไทย ในมุมมองของหลายประเทศ  ขณะที่สถานการณ์โลกเกิดปรากฏการณ์ขึ้นมากมาย การเกิดพันธสัญญาระหว่างประเทศใหม่ ๆ การรวมกลุ่มของประเทศเพื่อเจรจาการค้าและสร้างอำนาจต่อรองในเวทีโลก เราต้องเตรียมการรับมือ
สิ่งที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นล้วนเป็นเรื่องที่รัฐบาลปัจจุบันต้องนามาคิด มากำหนดเป็นนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติจริง และเป็นการทางานต่อเนื่องจากปีแรกในการบริหารราชการแผ่นดิน ที่รัฐบาลต้องเข้าบริหารจัดการ เพื่อการแก้ไขปัญหา และการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ในห้วง 2 ปีแรกที่รัฐบาลและ คสช. เข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน  แม้ว่าจะต้องเผชิญกับความยากลำบากปัญหาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกตามที่ได้กล่าวมาแล้ว  เมื่อระยะเวลาผ่านไป ผลการทำงานของรัฐบาลเป็นที่ประจักษ์ มีผลสัมฤทธิ์ปรากฏออกมา ทำให้มุมมองและการประเมินที่หน่วยงาน องค์กรต่างๆ มีต่อประเทศไทยเป็นไปในทิศทางที่ “ดีขึ้น” อย่างน่าพอใจ เราทำงาน คิดเอง ทำเองอย่างเดียวไม่พอต้องรับฟังเสียงจากคนข้างนอกและต่างประเทศด้วย สะท้อนผลการทำงานของรัฐบาลในทุกด้าน สรุปได้ดังนี้
1. ด้านเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศซึ่งส่งผลกระทบในทางที่ดี กับทุกๆ ด้านที่เหลือ มีผลการประเมินที่น่าสนใจ ได้แก่
-  ความเสี่ยงด้านความไม่แน่นอนทางการเมือง “ดีขึ้น 7 อันดับ” จาก อันดับที่ 58 (ปี 57) เป็นอันดับที่ 51    (ปี 2559)
-  ความโปร่งใสในการบริหารงานภาครัฐ “ดีขึ้น 22 อันดับ” จาก อันดับที่ 57 (ปี 2557) เป็นอันดับที่ 25 (ปี 2559)
- จำนวนเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) “ลดลง” กว่าร้อยละ 50
- จำนวนคดียาเสพติด “ลดลง” กว่าร้อยละ 50 จาก 4 แสนคดี (ปี 2556) เหลือ 2 แสนคดี (ปี 2558)
- ผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น (CPI) เกือบ 180 ประเทศ ทั่วโลก  ตั้งแต่ปี 2556 –2558 อันดับของประเทศไทย “ดีขึ้น” ทุกๆ ปี อย่างต่อเนื่อง  โดยในปี 2556 ก่อนที่รัฐบาลนี้ และ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ เราอยู่อันดับที่ 102  ปัจจุบันเราอยู่อันดับที่ 76 (“ดีขึ้น” เกือบ 30 อันดับ)  ทั้งนี้ สถาบันและองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ได้ประเมินสถานการณ์คอร์รัปชั่นของไทย ในสายตานานาชาติ ว่า “ดีที่สุด” ในรอบ 6 ปี และมีความโปร่งใส “ดีที่สุด” ในรอบ 10 ปี
2. ด้านความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการแข่งขัน ทางเศรษฐกิจและสังคม มีผลการประเมินที่น่าสนใจ ได้แก่
- อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) มีแนวโน้ม “สูงขึ้น + ต่อเนื่อง” จาก 0.8%
(ปี 2557) เป็น 3.2% (ปี 2559)
- สัดส่วนมูลค่า SMEs ต่อ GDP มีแนวโน้ม “สูงขึ้น + ต่อเนื่อง” จาก 39.6% (ปี 2557) เป็น 42.3% (ปี 2559)
- ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการคมนาคมทางบก “ดีขึ้น 22 อันดับ” จาก อันดับที่ 48 (ปี 2556) เป็นอันดับที่ 26 (ปี 2559)
- ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการคมนาคมทางอากาศ “ดีขึ้น 3 อันดับ” จาก อันดับที่ 23 (ปี 2556) เป็นอันดับที่ 20 (ปี 2559)
- ความน่าลงทุนระหว่างประเทศ “ดีขึ้น 3 อันดับ” จาก อันดับที่ 31 (ปี 2556) เป็นอันดับที่ 28 (ปี 2559)
- องค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศการจัดอันดับดัชนี e-Government ประเทศไทยได้ “เลื่อนขึ้น” 25 อันดับ จาก 102 ในปี 2014 เป็นอันดับ 77 ปี 2016 จาก 193 ประเทศ
- มหาวิทยาลัย WASEDA ของญี่ปุ่น ประกาศผลการจัดอันดับ  e-Government ปี 2016 ประเทศไทยได้อันดับที่ 21 จาก 65 ประเทศ ขยับ “ดีขึ้น” 2 อันดับ จากปี 2014 ที่ได้อันดับที่ 23
- สถาบันการจัดการนานาชาติ (IMD) จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ปี 2559 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ 28 (ปี 2558 อันดับที่ 30  ดีขึ้น 2 อันดับ)
- ปี 2558 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ เกือบ 30 ล้านคน (มากเป็นอันดับ 11 ของโลก) สร้างรายได้เข้าประเทศ 1.44 ล้านล้านบาท (สูงเป็นอันดับ 6 ของโลก)
- ปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย มีแนวโน้ม “สูงขึ้น + ต่อเนื่อง” จาก 8.0% (ปี 2556) เป็น 8.5% (ปี 2558)
- อัตราการเจ็บป่วยต่อประชากรพันคน “ลดลง + ต่อเนื่อง”  และอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบก (ต่อประชากร “แสน” คน) “ลดลง” จาก 11.3 คน (ปี 2556) เหลือ 9.7 คน (ปี 2558)
- ผลการจัดอันดับประเทศที่มี “ความทุกข์ยาก น้อยที่สุดในโลก” ของ Website “บลูมเบิร์ก”ให้ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 จากทั้งหมด 74 ประเทศทั่วโลก  และเป็นประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก เป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องกัน  นอกจากนี้ นิตยสารนิวส์ แอนด์เวิลด์ รีพอร์ต ได้จัดอันดับ 60 ประเทศที่ดีที่สุด ประจำปี 2016 โดยประเทศไทยได้ถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 21 ของโลก  อันดับสูงสุดในอาเซียน  และระบุด้วยว่า ประเทศไทยน่าท่องเที่ยวผจญภัย และเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 4 จาก 60 ประเทศที่ดีที่สุด  ซึ่งวัดจากความสวยงามทางธรรมชาติ มรดกทางประเพณีและวัฒนธรรม ลักษณะประชากรและคุณภาพชีวิต โอกาสในการประกอบการ โอกาสด้านธุรกิจ การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเมือง
3. ด้านกฎหมายและการต่างประเทศ มีผลการดำเนินงานที่น่าสนใจ ได้แก่
- ออกกฎหมายที่สำคัญ จำเป็นได้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์
- การแก้ปัญหางาช้าง ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ทำให้รอดพ้นจากการถูกคว่ำบาตรทางการค้าจาก CITES ซึ่งมูลค่าทางเศรษฐกิจ มากกว่า 47,000 ล้านบาทต่อปี
- การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งรัฐบาลนี้ ถือเป็น “วาระแห่งชาติ”  มีความคืบหน้า จนสหรัฐอเมริกา ได้ปรับระดับในรายงานการค้ามนุษย์ หรือ TIP Report ประจำปี 2559 ให้ประเทศไทย “ดีขึ้น” ซึ่งอาจจะส่ง “ผลดี” ต่อการแก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย (IUU) ของทาง EU กำลังติดตามอยู่ เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกันระหว่างการค้ามนุษย์และการประมงที่ผิดกฎหมาย  โดยสินค้าประมงไทย มีมูลค่าการส่งออก กว่า 240,000 ล้านบาทต่อปี ถ้าเราไม่ปรับตรงนี้ มูลค่าการส่งออกดังกล่าวก็จะหายไป
รัฐบาลอยากเรียนให้พี่น้องประชาชน และสื่อมวลชนทุกท่านทราบว่า  รัฐบาลพยายามบริหารประเทศในทุกมิติ ทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม รวมถึงด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ได้รับการเสนอในเรื่องของการปฏิรูปจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 42 เรื่อง ซึ่งรัฐบาลได้นำมาขับเคลื่อนและผลักดันไปแล้ว จำนวน 37 เรื่อง ส่วนที่เหลือในเรื่องอื่น ๆ ก็จะมีการดำเนินการต่อไป ซึ่งรายละเอียดของการดำเนินงานกว่าจะสัมฤทธิ์ผลเช่นนี้ ท่านรองนายกแต่ละด้านจะมาสรุปในรายละเอียดให้ทุกท่านฟังอีกครั้งต่อจากนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่อาจจะสรุปทุกเรื่องให้ครบถ้วนได้ในเวลาอันสั้น แต่ยืนยันว่ารัฐบาลได้ลงมือทำแล้ว เพื่อสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้กับประเทศ อยู่ที่พวกเราทุกคนจะรักษากันต่อไปอย่างไร
ผมขอขอบคุณท่านรองนายกรัฐมนตรี ท่านรัฐมนตรี ท่านรัฐมนตรีช่วย ข้าราชการ พี่น้องประชาชน ภาคเอกชน ทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเพื่อเดินหน้าประเทศ และมีส่วนต่อความสำเร็จของประเทศในห้วงที่ผ่านมา และจะขอกล่าวถึงผลการดำเนินงานภาพรวมในแต่ละด้าน ดังนี้
ในด้านความมั่นคง รัฐบาลทำให้การเผชิญหน้า ความแตกแยก แบ่งฝักฝ่ายลดน้อยลง คนไทยอยู่กันอย่างสงบสุขมากขึ้น  สถานการณ์ในพื้นที่ชายแดนใต้ เราเน้นการพูดคุย เพื่อแสดงความจริงใจ ใช้การแก้ไขปัญหาด้วย “สันติวิธี” เน้นการพัฒนาพื้นที่ให้เจริญทั้งด้านจิตใจ สังคม การศึกษา และเศรษฐกิจ เพื่อให้ทุกคนอยู่ดีกินดีมีความสุข รวมทั้งส่งเสริมการวิจัย การพัฒนา นวัตกรรม เพื่อความมั่นคงมีเสถียรภาพและศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในอนาคต รวมทั้งวางแนวทางการปฏิรูปกองทัพ ปฏิรูปตำรวจ เพื่อให้เป็นสถาบันที่เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ในทุกโอกาส  รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไว้เพื่อคนไทยทุกคน
ในด้านเศรษฐกิจ มีการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและ ICT เพื่อลดต้นทุนและยกระดับโลจิติกส์ของประเทศ กระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคด้วยการสร้างโครงข่ายการคมนาคมทั้งทางบก ทางอากาศ ทางน้ำ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่ ประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง CLMV+ ประเทศในกลุ่มอาเซียน ASEAN+ และทุกภูมิภาคของโลก  มีการผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษในทุกภูมิภาค สนับสนุนผู้ประกอบการรายใหม่ ทั้ง กลุ่ม startup + SME +OTOP โดยใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน และสนับสนุนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน  ปฏิรูปการเกษตรกรรมโดยใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิต  รวมทั้งวางระบบการบริหารจัดการน้ำที่ครอบคลุมทั้งประเทศ  แก้ไขกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการประกอบธุรกิจ (Ease of doing business)  และที่สำคัญคือการผลักดันประเทศเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล
ในด้านสังคม มีการปราบปรามผู้มีอิทธิพล ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกระดับโดยการตั้งกลไกในแต่ละหน่วยงาน  การจัดระเบียบสังคม จัดระเบียบรถโดยสารสาธารณะ  การจัดการปัญหาการบุกรุกคูคลองพื้นที่สาธารณะ  ผลักดันสวัสดิการทางสังคม เพื่อดูแลผู้ด้อยโอกาสและผู้มีรายได้น้อย กำหนดให้เด็กไทยเรียนดีอย่างมีคุณภาพ 15 ปี ที่สำคัญมีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้ทุกคนในสังคมมีความสุขร่วมกัน คนมีมากก็ควรแบ่งปันมาก ด้วยภาษีมรดก ภาษีที่ดิน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคม
ในด้านการต่างประเทศ ผมและคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศทำงานอย่างหนักในทุกเวทีระดับนานาชาติ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของประเทศ เพื่อตอบสนองและผ่อนคลายหลายสิ่งตามความคาดหวังและพันธสัญญาที่เราได้ให้ไว้ในช่วงหลายรัฐบาลที่ผ่านมา รวมทั้งแสดงบทบาทนำในเวทีโลกด้วยการกล่าวถ้อยแถลงในเรื่องของนโยบายการต่างประเทศเชิงรุก อย่างสร้างสรรค์ และสมดุล จนได้รับความไว้วางใจให้เป็นประธานกลุ่มประเทศG77 รวมทั้งให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาของประเทศตามหลักสากล อาทิ การแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย (IUU) ปัญหาการบินพลเรือนที่ไม่ได้มาตรฐาน (ICAO) ปัญหาการค้ามนุษย์ การค้างาช้าง (CITES)
ในด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม รัฐบาลมุ่งสร้างความยุติธรรมในสังคมด้วยการทำกฎหมายให้เป็นกฎหมาย กฎหมายฉบับใดที่ยังล้าสมัยเราต้องปรับปรุง เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และรัฐต้องไม่เสียประโยชน์ ปฏิรูประบบงานราชการและการให้บริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพ (ง่าย +สะดวก+รวดเร็ว) รวมทั้งออกกฎหมายใหม่ที่สอดคล้องกับกฎบัตร พันธะใหม่ ๆ ที่ประเทศต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง  เพื่อไม่ให้กฎหมายกลายเป็นอุปสรรค แต่ต้องเป็นเครื่องมือที่สร้างความยุติธรรมและกติกาที่เป็นธรรม  ที่สำคัญกฎหมายต้องสามารถสนับสนุนการบริหารงานราชการแผ่นดินในทุกมิติ
ที่ผ่านมารัฐบาล และ คสช. ทำบางอย่างสำเร็จแล้ว  บางอย่างเริ่มทำตามห้วงเวลา  บางอย่างกำลังวางแผนไว้สำหรับอนาคตเพื่อจะให้เกิดความต่อเนื่อง จัดทำแม่บทไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการ  ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามรัฐธรรมนูญใหม่  ทั้งการออกกฎหมายลูก  กฎหมายในเชิงบูรณาการหน่วยงานและงบประมาณ  การจัดทำแผนงาน แยกเป็นกิจกรรม ที่มี Road map ในทุกกิจกรรมหลัก
กล่าวโดยสรุป ในช่วงระยะเวลาที่ 1 สองปี ในปีแรกและปีที่สองนี้ ขณะนี้เรากำลังอยู่ในระยะที่ 2 โดยระยะแรกเป็นการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว และพี่น้องประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหานั้นรัฐบาล คสช. ขอบคุณในความร่วมมือของพี่น้องประชาชน ข้าราชการ ภาคธุรกิจ เอกชน ที่เข้าใจและ
สนับสนุนให้รัฐธรรมนูญ และ คำถามพ่วง ผ่านการลงประชามติ ตามหลักการสากล ตลอดจนให้กำลังใจในการทำงานของรัฐบาลเสมอมา

แนวทางการดำเนินงานในอนาคต
ปัจจุบันเป็นระยะที่ 2 ของ Road Map คือการเริ่มต้นปฏิรูปในเชิงโครงสร้างที่สามารถทำได้ ปฏิรูปการบริหารราชการที่จะสามารถทำได้ก่อน  และการจัดทำแผนที่นำทางไปสู่อนาคตตามวิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ขอย้ำอีกครั้งว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ ถ้าเราไม่ทำวันนี้ โอกาสของประเทศไทย โอกาสของคนไทยจะสูญเสียไปอย่างมหาศาลและยากที่จะเรียกกลับคืนมาได้
เราจำเป็นต้องนาเอาปัจจัยภายในของประเทศเรา อาทิ  อัตลักษณ์ ประเพณี  ความเป็นคนไทย ความแตกต่างทางความคิด ความสามารถในการแข่งขัน ทุนทางทรัพยากรของประเทศ และปัจจัยภายนอกมาเป็นตัวกำหนด ว่าประเทศไทยจะเดินไปอย่างไร ควรจะทำอย่างไร ด้วยวิธีการใด จึงจะเกิดผลดีที่สุดกับประชาชนคนไทย  ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ และจะดำเนินต่อไป โดยที่ประเทศไทยต้องปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ได้แก่ ปัญหาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง  การขยายตัวทางเศรษฐกิจแนวใหม่ที่มีการแข่งขันสูงขึ้น  มีเสรีมากขึ้น มีกรอบกติกา พันธสัญญาใหม่ ๆ มากมายที่เราต้องยึดถือปฏิบัติ  การมีมติแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (BREXIT)  การค้า การแข่งขันด้วยนวัตกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องที่เราจะต้องเตรียมการให้พร้อม ให้เกิดความได้เปรียบด้านราคาและมูลค่าการส่งออกของประเทศไทยซึ่งน้อยลงตามลำดับ เราต้องทำสิ่งเหล่านี้ให้สูงขึ้นให้ได้ ราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ  ปัญหาภัยธรรมชาติ   น้ำท่วม ฝนแล้ง ปัญหายาเสพติด  ภัยจากการก่อการร้าย  อาชญากรรมข้ามชาติ  โรคระบาด  การโยกย้ายถิ่นฐานที่ไม่ปกติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความเสี่ยงของประเทศไทย หากไม่เตรียมการ ไม่ปฏิรูปตนเอง ไม่ปฏิรูปการทำงาน หามาตรการใหม่ๆ มารองรับ มีแผนเผชิญเหตุ เราก็จะเผชิญปัญหาเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
นอกเหนือจากการรักษา “โมเมนตัม” ในการบริหารประเทศ ทั้ง 6 มิติ เพื่ออนาคตของประเทศดังกล่าวแล้ว  ภารกิจสำคัญของรัฐบาลในอนาคตจากนี้ คือ การสร้างฐานรากสู่อนาคต ตามโมเดล “ไทยแลนด์ 4.0” ประกอบด้วย 10 ภารกิจหลัก คือ (1) การเตรียม “คนไทย 4.0” สู่ประเทศโลกที่ 1 (2) การเร่งพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ (3) การเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (4) การสร้างความเข้มแข็งในวิสาหกิจไทย(5) การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา (6) การสร้างความเจริญเติบโต ที่กระจายสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น ผ่านจังหวัด – กลุ่มจังหวัด (7) การเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ภายในประเทศ (8) การสร้างสังคมที่เป็นธรรม สังคมแห่งโอกาส และสังคมที่เกื้อกูลแบ่งปันกัน (9) การบูรณาการอาเซียน และการเชื่อมโยงไทยสู่ประชาคมโลก รวมทั้ง (10) การขับเคลื่อนประเทศ ผ่านกลไก “ประชารัฐ”
สิ่งสำคัญที่สุดที่รัฐบาลจะเร่งดาเนินการอย่างต่อเนื่องในระยะที่ 2 ของการบริหารราชการแผ่นดิน คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการศึกษาตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ  การวางระบบการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ประชาชนแข็งแรง มีสุขภาพดี“สร้างนำซ่อม” (ส่งเสริมให้มีสุขภาพแข็งแรง ดีกว่าเน้นเรื่องการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยแล้ว) การวางระบบประกันสุขภาพที่ต้องเอื้อประโยชน์ที่ดีขึ้นแก่ประชาชน สนับสนุนการลงทุนภายในประเทศด้วยการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ทันสมัยไปพร้อมกับปรับปรุงของเดิมที่ล้าสมัย ไม่สมบูรณ์ ไม่ก่อให้เกิดรายได้เท่าที่ควร การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ  รวมทั้งเร่งผลักดัน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ หรือกลุ่ม S Curve และอุตสาหกรรมอนาคต หรือ New S Curve  ปฏิรูปการเกษตรกรรมโดยใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิต  เป็นสิ่งที่ต้องทำไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดการสร้างอาชีพและการจ้างงาน  รวมถึงการพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งต้องสัมพันธ์กับความต้องการแรงงานภายในประเทศและในประเทศเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้เราจำเป็นต้องเปลี่ยนจากการค้าขายสินค้าเกษตรต้นน้ำ ไปสู่การสร้างสินค้าเกษตรนวัตกรรมเพื่อการแข่งขัน เพราะรายได้ของประเทศ ปัจจุบัน 70% มาจากการส่งออก และส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรกรรมต้นน้ำที่มีมูลค่าไม่สูง ต้องมีการแปรรูป มีการเพิ่มมูลค่า มีการสร้างห่วงโซ่ให้เกิดขึ้นต่อกันให้ได้
อุตสาหกรรมพื้นฐานในประเทศจำเป็นต้องมีการปรับปรุง สร้างนวัตกรรมเพื่อการแข่งขัน  ต้องหารายได้มากขึ้นจากทั้งการค้า และการลงทุน การปรับโครงสร้างการเกษตร และทางด้านอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน เพราะฉะนั้นในครอบครัวจะต้องมี 2 งาน คืองานด้านด้านการเกษตรอีกด้านหนึ่งคืองานอุตสาหกรรมที่จะมีลูกหลานจบการศึกษาออกมาแล้วไปทำงานในโรงงานต่าง ๆ และให้มีโอกาสปรับเป็นหัวหน้างานด้วย ซึ่งเราต้องพัฒนาตนเองทั้งหมด จะได้มีรายได้เลี้ยงดูพ่อแม่ระหว่างที่รอผลผลิตที่กำลังจะออกมา ไม่ใช่ทำเกษตรอย่างเดียว ก็จะไปไม่ได้ทั้งหมด วันข้างหน้าก็จะมีปัญหามาก แต่ไม่ได้ที่จะทอดทิ้งเกษตรกร ไม่ให้บอกว่าจะต้องเลิกทำ ก็ให้ไปตัดสินใจ เชื่อฟังแนวทางของรัฐบาลที่ได้แนะนำไปหลายอย่าง
สิ่งที่รัฐบาลทำมาตลอดและจะดำเนินการต่อไปคือการดูแลประชาชนผู้ด้อยโอกาสและผู้มีรายได้น้อยให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีมาตรฐาน มีศักดิ์ศรี และมีโอกาสทางสังคมที่ดียิ่งขึ้น
รัฐบาลมุ่งมั่นการทำงานแบบบูรณาการให้เกิดการประสานสอดคล้อง เชื่อมโยง เพราะทุกปัญหาของหลายหน่วยงานมีความเกี่ยวข้องและมีผลกระทบซึ่งกันและกัน  จากเดิมที่อาจมีการบริหารราชการในลักษณะบนลงล่าง เป็นแท่งงานของแต่ละกระทรวง ใช้งบประมาณของตนเองขาดจากกัน ปัจจุบันเราต้องบริหารงานทั้ง ล่างขึ้นบน  บนลงล่าง ในแนวตั้ง และแนวนอน โดยใช้กลไกประชารัฐควบคู่กันไป ฟังความต้องการ เอาปัญหาของประชาชนมาเป็นตัวกำหนด และไปสู่วิธีการว่าจะทำอย่างไร ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการ ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ทั้งหมดนี้ตีกรอบออกมาแล้วแยกเป็นกิจรรมหลัก กิจกรรมย่อย และกิจกรรมเสริมอยู่ในนี้ แล้วทำบูรณาการออกไปก็จะทำให้งานสำเร็จทุกเรื่อง ประเทศก็มีอนาคต  โดยต้องแยกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งรายได้มาก รายได้ปานกลาง รายได้น้อย มาทำให้เกิดห่วงโซ่ในการทำงาน  ห่วงโซ่ทางธุรกิจ เศรษฐกิจก็จะดีขึ้นและเอื้อประโยชน์ต่อคนที่มีรายได้น้อย ถ้าไปทำอันใดอันหนึ่งอย่างเดียวไม่ได้ เพราะไม่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน เราไม่มีเงินเพียงพอและงบประมาณจำกัด เราทิ้งจะใครไว้ไม่ได้
สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด ผมอยากเพื่อให้พี่น้องประชาชนได้มองเห็นอนาคตว่า 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยควรเป็นอย่างไร ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันเสนอแนะข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์  รัฐบาลต่อไปที่มีธรรมาภิบาลจะต้องดำเนินการอย่างไรให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นได้จริงและต่อเนื่อง  เพื่อให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ความขัดแย้ง ความเหลื่อมล้า ความไม่เป็นธรรม

ปัญหาข้อขัดข้องบางประการ
ปัญหาที่เราพบมาวันนี้ หลายอย่างรัฐบาลดำเนินการได้ด้วยความรวดเร็ว เกิดผลสำเร็จ บางเรื่องยังติดขัดบ้าง  เนื่องจากปัจจัยหลายประการ อาทิ กฎหมายที่ไม่ทันสมัย ไม่ทันต่อสถานการณ์  ประชาชนบางกลุ่มยังไม่เปิดใจรับการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ อาจจะยังไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง  ผมได้โทษประชาชน เพียงแต่ต้องเรียนรู้ว่าจะอยู่กันอย่างไร ฉะนั้นเราต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้น โครงการพัฒนาหลายโครงการไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะไม่ผ่านการทำประชาพิจารณ์ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA และการประเมินผลกระทบสุขภาพ EHIA แม้โครงการดังกล่าวจะมีการพัฒนา หรือมีการใช้เทคโนโลยีหรือเทคนิคใหม่ ๆ แล้วก็ตาม  เพราะประชาชนไม่ให้ความสำคัญกับข้อมูลหลักการที่ถูกต้อง บางส่วนเป็นเพราะไม่เชื่อมั่นกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานของรัฐในการดำเนินโครงการต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมาเพราะของเก่าทำไปแล้วแก้ไขไม่ได้ ไม่ว่าจะเรื่องน้ำเสีย อากาศเสีย ต่าง ๆ เหล่านี้ เพราะฉะนั้นข้าราชการก็ต้องปรับตัวเองตรงนี้ ทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจให้ได้ ของใหม่จะได้เกิดขึ้น ขณะที่ประชาชนก็ต้องเรียนรู้เข้าใจซึ่งกันและกัน จะได้ไม่ต่อต้านคัดค้านโครงการที่จะดำเนินการ ทุกอย่างเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการปฏิรูป ตั้งแต่ตัวเอง องค์กร หน่วยงาน ภาคธุรกิจ ไปถึงประชาชนทุกคน อยากขอให้ประชาชนเปิดใจ มั่นใจ และในการทำงานของรัฐบาลปัจจุบันในวันนี้ อย่ามองแต่เฉพาะสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นกันเป็นกลุ่ม ๆ ถ้ามองอย่างนั้นอย่างอื่นพันกันไปหมด ไปไม่ได้ เพราะงบประมาณอันเดียวกัน มาจากรัฐบาลเดียวกัน ประประเทศไทยไม่สามารถย่ำอยู่กับที่ได้ จำเป็นต้องพัฒนาต่อไปไม่หยุดยั้ง
การแก้ปัญหาที่ผ่านมา เราพยายามบริหารราชการและแก้ปัญหาของประเทศด้วยกฎหมายปกติภายใต้ระบอบประชาธิปไตย การใช้อำนาจพิเศษเป็นไปเพียงเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย รักษาสถาบันเกิดการบูรณาการในทางสร้างสรรค์ และเพื่อไม่ให้ติดขัดในการทำงานร่วมกัน เพราะทุกหน่วยงานมีกฎหมายเฉพาะ ซึ่งอาจจะทำให้ล่าช้า ไม่ทันต่อเวลาและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลาจำกัดที่เราเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินอยู่ขณะนี้ ซึ่งรัฐบาลก็มีการใช้ทั้งกฎหมายปกติและกฎหมายพิเศษตามแนวทางนี้ตลอดไป เมื่อสถานการณ์สถานการณ์ดีขึ้นก็ผ่อนคลาย อย่าไปทำให้ย้อนกลับไปที่เดิมอีก
การเมืองที่ไม่มีธรรมาภิบาล ไม่เคารพกฎหมาย เบี่ยงเบนประเด็น หาผลประโยชน์เพื่อกลุ่มตนพวกพ้อง ไม่เคารพกระบวนการยุติธรรม เหล่านี้ล้วนเป็นการทำลายชาติและเป็นภัยร้ายแรงของประเทศจะต้องถูกขจัดให้หมดไปจากแผ่นดินไทย
แม้ว่ารัฐบาลนั้นจะทำได้ดีเพียงไร ในการแก้ไขปัญหาจัดทำกฎหมายปรับโครงสร้าง ก็ระบุยังมีการบิดเบือน เราก็อย่าไปขยายให้เขา ทำให้ไม่ใช่ในประเทศอย่างเดียวเมื่อไร ไปต่างประเทศด้วย หนังสือพิมพ์ทุกฉบับ เว็บไซต์ทุกอัน เป็นต่างประเทศหมด และถ้าเขียนไม่ดีขึ้นมา ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ถ้าตรงผมไม่ว่า แต่ถ้าไม่ตรง ทำลายประเทศของท่านเอง โดยการอ้างประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ดีทุกอย่าง ให้ทุกอย่างแล้วเป็นอย่างไรบ้านเมือง ผู้บริหารราชการแผ่นดินทำอย่างไร ก็ขอเวลาแค่เปลี่ยนผ่านเพื่อประเทศไทย ต่างชาติก็ต้องเข้าใจ ผมก็ไม่อยากจะกล่าวอ้างหรอก ไม่ใช่มีเฉพาะประเทศไทยหรอก  ทุกประเทศก็ล้วนผ่านวันเวลายากลำบากมาทั้งสิ้น เราช้าไปหน่อย วันนี้เราถูกกำหนดกรอบโดยปัจจัยภายในภายนอกเยอะแยะไปหมด เราอย่าดึงกันเอง ด้วยการไม่เคารพกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้อื่น อย่าหาว่ารัฐบาลละเมิดสิทธิมนุษยชน ท่านก็ไปละเมิดสิทธิมนุษยชนคนอื่นอยู่เหมือนกัน ทุจริตเวลา ทุจริตถนนหนทาง การใช้ถนน    อะไรต่าง ๆ ก็แล้วแต่ที่ผิดกฎหมาย นั่นคือทุจริตเหมือนกันทั้งสิ้น ไม่ใช่เฉพาะเงินตราอย่างเดียว มีการทำงานแบบไร้ธรรมาภิบาล  แสวงหาผลประโยชน์เพื่อกลุ่มและพวกพ้อง ถ้ามี บอกมา อย่าไปพูดกล่าวหาให้เสียหาย พูดไม่มีหลักฐาน อย่าพูด ต้องเข้ากระบวนการยุติธรรม ถ้ามีแจ้งมา ผมตรวจสอบให้ทุกอัน เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็แล้วแต่ ความหวังดีบางทีก็ทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานในวันนี้และวันหน้า ข้าราชการก็หมดกำลังใจ ประชาชนก็ไม่รู้ว่าอันไหนถูกหรือผิด สับสนอลหม่านไปหมด ไม่มีรัฐบาลไหนที่มาพูดแบบนี้ มาบอกท่านแบบนี้หรอก เพราะฉะนั้นอย่าไปตกเป็นเครื่องมือ หรือหลงเชื่อข้อมูลจากผู้ไม่หวังดีเหล่านี้ ต้องไม่ให้คนเหล่านี้มาชี้นำ มามีอิทธิพล อย่าไปเป็นปากเสียงให้เขา คนที่ทำผิดกฎหมาย แล้วไม่ให้กลับมามีที่ยืนในสังคมไทยได้อีกต่อไป
สรุปจบ
อีกประมาณ 1 ปีเศษข้างหน้า จะไปสู่ระยะที่ 3 ของ Road Map คือการมอบหน้าที่กับรัฐบาลชุดใหม่ภายหลังจากการเลือกตั้ง ผมไม่เคยดึงรั้งอะไรไว้เลย เป็นไปตาม Road Map ตั้งแต่ต้นมา ทำได้ก็ทำไป ต้องรองรับในเรื่องของการเตรียมการ ในการส่งผ่านเหล่านี้ ถ้าเราเปลี่ยนผ่านตรงนี้ วางพื้นฐานให้ได้สำเร็จ อะไรสำเร็จบ้าง  กำลังวางแผนอะไรต่อไป เรามีโอกาสยกฐานะไปสู่ “ประเทศในโลกที่ 1” ประเทศพัฒนาแล้ว มีรายได้เฉลี่ยประชากรสูงขึ้น ค่าจ้างแรงงานก็สูงขึ้น วันนี้ผมเห็นทุกคนก็เรียกร้องอยู่ จะทำอย่างไรเงินทองงบประมาณ ทั้งหมดที่พูดมานี้โครงสร้างยังไม่เกิด แต่จะเกิดแน่นอนและพันมาสู่ห่วงโซ่คุณค่า ทุกคนก็ได้เงินรายได้ทั้งหมด เราจะต้องทำให้ประเทศเราเป็นพัฒนาแล้ว รายได้เฉลี่ยสูงขึ้น ระบบสวัสดิการที่สมบูรณ์ ไม่ใช่ไม่สมบูรณ์ ถ้าเอาสมบูรณ์  มาก ๆ ก็เงินมาก เงินมากก็หาเงินได้หรือยัง ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ก็ต้องไปแก้ไขด้วยการใช้งบประมาณโดยรักษาตัวเอง ป้องกันตัวเอง พัฒนาเรื่องสมุนไพร เรื่อง Public Health Care เรื่องสุขภาพ ต้องช่วยกันทั้งหมด ปัญหาสังคมก็ตามไปสู่ปัญหาอาชญากรรม ต้องช่วยกันให้ลดลง ความสุขสงบก็จะเกิดขึ้นทุกพื้นที่ ผู้คนจะมีระเบียบวินัย เศรษฐกิจเข้มแข็ง ประเทศไทยจะมีที่ยืนในเวทีโลกอย่างสง่างาม
ท้ายสุดนี้ผมขอขอบคุณพี่น้องประชาชนอีกครั้งที่เข้าใจ และไม่เข้าใจก็มีอยู่บ้าง และไว้วางใจรัฐบาล ขอยืนยันว่ารัฐบาล คสช. จะอยู่เคียงข้างท่านเสมอ ขอให้ท่านอยู่เคียงข้างกับประเทศไทย ไม่ต้องเคียงข้างกับผมหรอก เคียงข้างประเทศไทยของท่าน ร่วมแรงร่วมใจ ร่วมมือกันในการปฏิรูปประเทศ ไปสู่ประเทศที่เจริญก้าวหน้า ทุกอย่างนั้นเป็นความหวัง เป็นความตั้งใจของผม และคณะรัฐมนตรีทุกคน ตลอดจนข้าราชการทุกคนในวันนี้ ผมก็เชื่อมั่นว่าเป็นความหวังของคนไทยทุกคนด้วย ทุกอย่างนั้นจะเป็นจริงได้ถ้าคนไทยทุกคนร่วมมือร่วมใจเดินไปด้วยกัน เราจะต้องเจริญเติบโตและแข็งแกร่งไปด้วยกัน  Stronger Together ความสำเร็จเหล่านี้เป็นความสำเร็จร่วมกันของพวกเราทุกคน และของประเทศไทยในอนาคต ขอบคุณครับ

ที่มา ; เว็บรัฐบาลไทย

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

-คลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม