อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 397/2559
ศธ.จับมือสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สร้างมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษ โดยอิงมาตรฐานสากล CEFR และร่วมมือผลักดันมาตรฐานอาชีพผู้สอนภาษาอังกฤษ
โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว - เมื่อวันพุธที่ 21 กันยายน 2559 นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการแถลงข่าวความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการและสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ในการสร้างมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษของผู้เรียน โดยอิงมาตรฐานสากล CEFR และความร่วมมือผลักดันมาตรฐานผู้สอนภาษาอังกฤษโดยมี ผู้บริหารจาก สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วม อาทิ นายไมเคิล เดวิด เซลบีย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานกรรมการบริหารสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ, นายวีระชัย ศรีขจร ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ, สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอดจนผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และองค์กรหลัก
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การร่วมประชุมและแถลงข่าวครั้งนี้ ถือเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และสถาบันภาษา โดยเป็น การรับมอบมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการวัดระดับทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ตลอดจนเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรและการประเมินผลของผู้เรียนในทุกระดับ อีกทั้งได้รับมอบมาตรฐานอาชีพผู้สอนภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ประเมินความสามารถในการสอนของครูภาษาอังกฤษชาวต่างชาติ
หากเรามองภาพใหญ่ จะเห็นว่าผลการประเมินการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยยังคงมีอันดับต่ำมาก เมื่อเทียบกับหลายประเทศในโลก รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการจึงพยายามยกระดับการใช้ภาษาอังกฤษ โดยมีแนวทางดำเนินงานที่สำคัญ เช่น Boot Camp การอบรมภาษาอังกฤษสำหรับครูไทย ซึ่งขณะนี้ได้ขยายไปในระดับภูมิภาค 18 ศูนย์ทั่วประเทศ คาดว่าภายใน 4-5 ปีข้างหน้าจะให้การอบรมครูผู้สอนของไทยได้ครบถ้วน และภายในเดือนพฤศจิกายนนี้จะเพิ่มชั่วโมงเรียนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้น ป.1-3 จากเดิม 1 คาบ/สัปดาห์ เป็น 5 คาบ/สัปดาห์ รวมทั้งจัดการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมพัฒนาการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษด้วยหลักสูตร Echo Hybrid ซึ่งเป็นการพัฒนาแอพพลิเคชันที่สามาถเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษต่าง ๆ ได้มากขึ้น และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ที่มีการอ้างอิงกรอบมาตรฐานการประเมินความสามารถทางภาษาจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป หรือ CEFR (Common European Framework of Reference for Languages)
ในส่วนของความร่วมมือครั้งนี้ เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษแบบองค์รวม ดังนี้
การยกระดับมาตรฐานการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้เรียน ทั้งด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ตำราเรียน และการประเมิน โดยมาตรฐานนี้จะระบุถึงทักษะที่ผู้เรียนแต่ละระดับต้องรู้อย่างชัดเจน โดยอ้างอิงตามกรอบมาตรฐานสากล (Common European Framework of Reference for Languages : CEFR) ซึ่งได้จำแนกผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่ม 6 ระดับความสามารถ ดังนี้ ระดับ A1 สามารถใช้และเข้าใจประโยคง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ระดับ A2สามารถใช้และเข้าใจประโยคในชีวิตประจำวันในระดับกลาง ระดับ B1 สามารถพูด เขียน และจับใจความสำคัญของข้อความทั่ว ๆ ไปได้ จัดการกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ระหว่างการเดินทางในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ ระดับ B2 สามารถใช้ภาษาในระดับดี พูดและเขียนได้แทบทุกเรื่องอย่างถูกต้อง คล่องแคล่วขึ้น รวมทั้งอ่าน และทำความเข้าใจกับบทความที่มีเนื้อหายากขึ้นได้ ระดับ C1 สามารถพูดแสดงความรู้สึกได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องหยุดคิดหาคำศัพท์ เขียนข้อความที่ซับซ้อนได้ชัดเจนถูกต้องตามโครงสร้างไวยากรณ์ ระดับ C2 สามารถใช้ภาษาได้อย่างดีเยี่ยมใกล้เคียงเจ้าของภาษา
แต่ในมาตรฐาน ที่ได้ปรับปรุงครั้งนี้ จะให้มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับ "บริบท" ของสังคมไทย โ ดยจะนำมาตรฐานCEFR ข้างต้นมาปรับให้เข้ากับบริบทของไทย โดยเรียกเป็น CEFR-T เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ที่นำมาปรับ เช่น ญี่ปุ่นใช้ CEFR-J หรือเวียดนามใช้ CEFR-V เป็นต้น โดยยกตัวอย่างคำว่า ant หรือมด ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ง่ายมากสำหรับคนไทย เพราะพบเห็นได้มากมาย จึงกำหนดไว้ที่ระดับ 1 ต่างจาก CEFR สำหรับชาวยุโรปที่บรรจุศัพท์นี้ไว้ในระดับ 5-6 เพราะไม่ค่อยเห็นมด
หลังจากนี้ สถาบันภาษาดังกล่าวจะนำไปออกแบบและจัดทำหลักสูตรทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ให้เป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัด ที่จะกำหนดไว้ใน CEFR-T ต่อไป ซึ่งอาจจะแบ่งเป็น 10 ระดับ ต่างไปจาก ญี่ปุ่นที่มี 12 ระดับ หรือ CEFR ที่เป็นต้นแบบซึ่งมี 6 ระดับ โดยการกำหนดเกณฑ์ของผู้เรียนให้สมเหตุสมผล เช่น ป.6 เดิมได้ระดับ A1 แต่เมื่อเพิ่มชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษเข้าไป อาจจะเพิ่มเป็นขั้นต่ำ A3 หรือระดับมหาวิทยาลัยขณะนี้ตั้งไว้ C1 เท่านั้น เพราะหากเรา ตั้งเกณฑ์ครั้งแรกไว้สูงจนเกินไป ก็จะล้มเหลว จึงจะค่อย ๆ ขยับขึ้นไป คาดว่าจะเริ่มใช้ได้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้
การยกระดับมาตรฐานอาชีพผู้สอนภาษาอังกฤษ ในการประเมินความสามารถด้านการสอนของครูภาษาอังกฤษชาวต่างชาติ เพื่อใช้เสมือนใบประกอบวิชาชีพ เพราะครูผู้สอนต่างชาติที่แม้จะพูดภาษาอังกฤษได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสอนภาษาอังกฤษได้ทุกคน เราจึงต้องควบคุมเพื่อไม่ให้ Backpacker หรือซำเหมา เดินเข้ามาสอนภาษาอังกฤษกันได้ง่าย ๆ ซึ่งคุรุสภาพร้อมจะนำไปพิจารณาดำเนินการออก ใบประกอบวิชาชีพครูให้ได้ตามมาตรฐานนี้เหมือนกัน โดยพร้อมให้การประเมินภายในสิ้นปีนี้
นอกจากนี้ จะมีความร่วมมือต่อเนื่องในการพัฒนาพิมพ์เขียวข้อสอบ (Test Specifications) ตามมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษในแต่ละระดับ เพื่อให้สถานศึกษาและหน่วยทดสอบต่าง ๆ สามารถผลิตข้อสอบที่ได้มาตรฐานเทียบเสียงสากล โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี 2560
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 397/2559
ศธ.จับมือสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สร้างมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษ โดยอิงมาตรฐานสากล CEFR และร่วมมือผลักดันมาตรฐานอาชีพผู้สอนภาษาอังกฤษ
โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว - เมื่อวันพุธที่ 21 กันยายน 2559 นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการแถลงข่าวความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการและสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ในการสร้างมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษของผู้เรียน โดยอิงมาตรฐานสากล CEFR และความร่วมมือผลักดันมาตรฐานผู้สอนภาษาอังกฤษโดยมี ผู้บริหารจาก สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วม อาทิ นายไมเคิล เดวิด เซลบีย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานกรรมการบริหารสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ, นายวีระชัย ศรีขจร ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ, สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอดจนผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และองค์กรหลัก
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การร่วมประชุมและแถลงข่าวครั้งนี้ ถือเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และสถาบันภาษา โดยเป็น การรับมอบมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการวัดระดับทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ตลอดจนเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรและการประเมินผลของผู้เรียนในทุกระดับ อีกทั้งได้รับมอบมาตรฐานอาชีพผู้สอนภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ประเมินความสามารถในการสอนของครูภาษาอังกฤษชาวต่างชาติ
หากเรามองภาพใหญ่ จะเห็นว่าผลการประเมินการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยยังคงมีอันดับต่ำมาก เมื่อเทียบกับหลายประเทศในโลก รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการจึงพยายามยกระดับการใช้ภาษาอังกฤษ โดยมีแนวทางดำเนินงานที่สำคัญ เช่น Boot Camp การอบรมภาษาอังกฤษสำหรับครูไทย ซึ่งขณะนี้ได้ขยายไปในระดับภูมิภาค 18 ศูนย์ทั่วประเทศ คาดว่าภายใน 4-5 ปีข้างหน้าจะให้การอบรมครูผู้สอนของไทยได้ครบถ้วน และภายในเดือนพฤศจิกายนนี้จะเพิ่มชั่วโมงเรียนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้น ป.1-3 จากเดิม 1 คาบ/สัปดาห์ เป็น 5 คาบ/สัปดาห์ รวมทั้งจัดการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมพัฒนาการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษด้วยหลักสูตร Echo Hybrid ซึ่งเป็นการพัฒนาแอพพลิเคชันที่สามาถเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษต่าง ๆ ได้มากขึ้น และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ที่มีการอ้างอิงกรอบมาตรฐานการประเมินความสามารถทางภาษาจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป หรือ CEFR (Common European Framework of Reference for Languages)
ในส่วนของความร่วมมือครั้งนี้ เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษแบบองค์รวม ดังนี้
การยกระดับมาตรฐานการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้เรียน ทั้งด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ตำราเรียน และการประเมิน โดยมาตรฐานนี้จะระบุถึงทักษะที่ผู้เรียนแต่ละระดับต้องรู้อย่างชัดเจน โดยอ้างอิงตามกรอบมาตรฐานสากล (Common European Framework of Reference for Languages : CEFR) ซึ่งได้จำแนกผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่ม 6 ระดับความสามารถ ดังนี้ ระดับ A1 สามารถใช้และเข้าใจประโยคง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ระดับ A2สามารถใช้และเข้าใจประโยคในชีวิตประจำวันในระดับกลาง ระดับ B1 สามารถพูด เขียน และจับใจความสำคัญของข้อความทั่ว ๆ ไปได้ จัดการกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ระหว่างการเดินทางในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ ระดับ B2 สามารถใช้ภาษาในระดับดี พูดและเขียนได้แทบทุกเรื่องอย่างถูกต้อง คล่องแคล่วขึ้น รวมทั้งอ่าน และทำความเข้าใจกับบทความที่มีเนื้อหายากขึ้นได้ ระดับ C1 สามารถพูดแสดงความรู้สึกได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องหยุดคิดหาคำศัพท์ เขียนข้อความที่ซับซ้อนได้ชัดเจนถูกต้องตามโครงสร้างไวยากรณ์ ระดับ C2 สามารถใช้ภาษาได้อย่างดีเยี่ยมใกล้เคียงเจ้าของภาษา
แต่ในมาตรฐาน ที่ได้ปรับปรุงครั้งนี้ จะให้มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับ "บริบท" ของสังคมไทย โ ดยจะนำมาตรฐานCEFR ข้างต้นมาปรับให้เข้ากับบริบทของไทย โดยเรียกเป็น CEFR-T เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ที่นำมาปรับ เช่น ญี่ปุ่นใช้ CEFR-J หรือเวียดนามใช้ CEFR-V เป็นต้น โดยยกตัวอย่างคำว่า ant หรือมด ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ง่ายมากสำหรับคนไทย เพราะพบเห็นได้มากมาย จึงกำหนดไว้ที่ระดับ 1 ต่างจาก CEFR สำหรับชาวยุโรปที่บรรจุศัพท์นี้ไว้ในระดับ 5-6 เพราะไม่ค่อยเห็นมด
หลังจากนี้ สถาบันภาษาดังกล่าวจะนำไปออกแบบและจัดทำหลักสูตรทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ให้เป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัด ที่จะกำหนดไว้ใน CEFR-T ต่อไป ซึ่งอาจจะแบ่งเป็น 10 ระดับ ต่างไปจาก ญี่ปุ่นที่มี 12 ระดับ หรือ CEFR ที่เป็นต้นแบบซึ่งมี 6 ระดับ โดยการกำหนดเกณฑ์ของผู้เรียนให้สมเหตุสมผล เช่น ป.6 เดิมได้ระดับ A1 แต่เมื่อเพิ่มชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษเข้าไป อาจจะเพิ่มเป็นขั้นต่ำ A3 หรือระดับมหาวิทยาลัยขณะนี้ตั้งไว้ C1 เท่านั้น เพราะหากเรา ตั้งเกณฑ์ครั้งแรกไว้สูงจนเกินไป ก็จะล้มเหลว จึงจะค่อย ๆ ขยับขึ้นไป คาดว่าจะเริ่มใช้ได้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้
การยกระดับมาตรฐานอาชีพผู้สอนภาษาอังกฤษ ในการประเมินความสามารถด้านการสอนของครูภาษาอังกฤษชาวต่างชาติ เพื่อใช้เสมือนใบประกอบวิชาชีพ เพราะครูผู้สอนต่างชาติที่แม้จะพูดภาษาอังกฤษได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสอนภาษาอังกฤษได้ทุกคน เราจึงต้องควบคุมเพื่อไม่ให้ Backpacker หรือซำเหมา เดินเข้ามาสอนภาษาอังกฤษกันได้ง่าย ๆ ซึ่งคุรุสภาพร้อมจะนำไปพิจารณาดำเนินการออก ใบประกอบวิชาชีพครูให้ได้ตามมาตรฐานนี้เหมือนกัน โดยพร้อมให้การประเมินภายในสิ้นปีนี้
นอกจากนี้ จะมีความร่วมมือต่อเนื่องในการพัฒนาพิมพ์เขียวข้อสอบ (Test Specifications) ตามมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษในแต่ละระดับ เพื่อให้สถานศึกษาและหน่วยทดสอบต่าง ๆ สามารถผลิตข้อสอบที่ได้มาตรฐานเทียบเสียงสากล โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี 2560
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น