กกต. ชงร่าง กม.เลือกตั้งกำหนด 'ใบเหลือง-ส้ม-แดง-ดำ' โทษสูงสุดตัดสิทธิ์ตลอดชีวิต
อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ทะเลจีนใต้ และหมู่เกาะสแปรทลีย์
ชนวนแห่งความขัดแย้งด้านสิทธิครอบครอง
บริเวณทะเลจีนใต้กล่าวได้ว่าเป็นเส้นทางการจราจรทางทะเลที่คับคั่งที่สุดเป็นอันดับสองของโลก ประมาณกันว่าเกือบครึ่งหนึ่งของเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ระดับซุปเปอร์แทงเกอร์จะต้องเดินทางผ่านเส้นทางทะเลจีนใต้ นอกจากนี้พื้นที่ในเขตทะเลจีนใต้ยังมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ เนื่องจากคาดว่าในบริเวณนี้มีแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และมีหลายประเทศที่ต้องใช้พลังงานจำนวนมาก
ทะเลจีนใต้เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิค โดยมีอาณาบริเวณจากทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ครอบคลุมจากประเทศสิงคโปร์ และช่องแคบมะละกา ไปจนถึงพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณช่องแคบไต้หวัน ในบริเวณพื้นที่ทั้งหมดนั้น มีทั้งแนวปะการัง หินโสโครก และเกาะเล็กเกาะน้อยประมาณ 200 เกาะ ในแนวหมู่เกาะสแปรทลีย์ (Spratly Islands) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands) เกาะหรือโขดหินเหล่านี้จำนวนมากเป็นเพียงยอดแหลมโผล่ขึ้นมาจากทะเล เป็นอุปสรรคในการเดินเรือ และไม่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานใดๆ โดยพื้นที่รวมทั้งสิ้นของ หมู่เกาสแปรทลีย์มีไม่ถึง 3 ตารางไมล์ ซึ่งเป็นเนื้อที่อันน้อยนิด แต่ทว่ามีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์และการเมืองยิ่งนัก เพราะหากสามารถอ้างสิทธิการเป็นเจ้าของเหนือดินแดนดังกล่าวได้สำเร็จ ก็จะนำไปสู่การอ้างสิทธิเพิ่มเติมในน่านน้ำใกล้เคียง และย่อมรวมถึงทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอันมหาศาล ใต้ท้องทะเลอีกด้วย
ที่ผ่านมาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเซียตะวันออก มีอัตราสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ถึงแม้ว่าจะประสบกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเมื่อประมาณ 3 ปีก่อนก็ตาม โดยที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงเช่นนี้ ย่อมควบคู่กันกับความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น มีการคาดกันกันว่าในช่วงระยะเวลา 20 ปีจากนี้ไป การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเซียตะวันออกจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และการใช้พลังงานโดยเฉพาะน้ำมันจะเพิ่มขึ้นทุกปี เฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี โดยที่เกือบครึ่งหนึ่งจะมาจากประเทศจีน ซึ่งจะทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นจาก ระดับ 12 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2543 เป็นกว่า 20 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในปี 2563 หรือเพิ่มขึ้นถึง 2 ใน 3 ของระดับการใช้พลังงานในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมัน จากแถบตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งการขนส่งน้ำมัน รวมทั้งการขนส่งสินค้าอื่นๆ เข้าสู่ภูมิภาคนี้ ส่วนใหญ่จะต้องผ่านทางช่องแคบมะละกา แล้วต่อไปยังพื้นที่ส่วนอื่นของทะเลจีนใต้ ก่อนขนส่งต่อไปยังประเทศต่างๆ ในเอเซีย-แปซิฟิค ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ ของทะเลจีนใต้ต่อภูมิภาคเป็นอย่างยิ่ง
การอ้างสิทธิในเขตทะเลจีนใต้
ขณะนี้มีความขัดแย้งในหลายประเด็นเกี่ยวกับการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ในทะเลจีนใต้ แต่จุดที่มีความขัดแย้งที่สุดและได้รับการจับตามองจากทั่วโลกคือ การอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปรทลีย์ และหมู่เกาะพาราเซล และบ่อยครั้งที่ความขัดแย้งนี้เกี่ยวพันถึงการอ้างสิทธิเหนือทรัพยากรธรรมชาติน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ดังสามารถสรุปได้พอสังเขปดังนี้
- จีนได้เผยแพร่แผนที่ทางการของตน โดยแสดงเขตพื้นที่คลุมเครือว่า อาจจะครอบคลุมบริเวณหมู่เกาะนาทูนา อันเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ของอินโดนีเซียด้วย ทำให้อินโดนีเซียตอบโต้ด้วยการจัดซ้อมรบทางทหารที่ใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยมีมาในบริเวณหมู่เกาะนาทูนาในปี พ.ศ. 2539
- ฟิลิปปินส์ได้ทำการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสท ในแหล่ง “มาลาปายา และคามาโก” ซึ่งอยู่ในน่านน้ำที่จีนกำลังอ้างสิทธิ โดยที่จีนไม่เคยได้ทักท้วงมาก่อน
- แหล่งก๊าซธรรมชาติหลายแห่งของมาเลเซีย บริเวณนอกชายฝั่งของเกาะซาราวัค ก็อยู่ในน่านน้ำที่จีนอ้างสิทธิ แต่จีนก็ไม่เคยทักท้วงการพัฒนาแหล่งก๊าซเหล่านี้เช่นเดียวกันกับแหล่งก๊าซของฟิลิปปินส์
- เวียดนามและจีน ต่างอ้างสิทธิเหนือแหล่งน้ำมันในพื้นที่นอกชายฝั่งเวียดนาม โดยจีนอ้างสิทธิในพื้นที่ทางตะวันตกของหมู่เกาะสแปรทลีย์นี้ว่าเขต Wan Bei-21 (WAB-21) ซึ่งเป็นเขตที่เวียดนามเรียกว่า Block 133, 134, 135 ความขัดแย้งนี้ทำให้บริษัทโคโนโค และปิโตรเวียดนาม ไม่สามารถเข้าเจาะสำรวจบริเวณดังกล่าวได้ตามกำหนด นอกจากนี้แหล่งน้ำมัน Dai Hung (หมีใหญ่) ของเวียดนามก็อยู่ในเขตน่านน้ำที่จีนอ้างสิทธิเช่นกัน
- ในพื้นที่บริเวณอ่าวไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลจีนใต้ที่มีก๊าซธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ แต่ยังไม่มีการกำหนดเส้นแบ่งเขตแดนในทะเลจีนใต้ที่ชัดเจน แม้กระนั้นได้มีหลายบริษัทที่ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อทำการขุดสำรวจไปแล้ว แต่ยังไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้ในบริเวณ ที่ยังมีข้อพิพาทกันระหว่างกัมพูชากับไทย ในส่วนพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับเวียดนาม โดยได้มีการเจรจาตกลงกันได้ตั้งแต่เมื่อเดือนสิงหาคม 2540 อีกทั้งได้มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ในการสำรวจและพัฒนาในพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย และมาเลเซีย-เวียดนาม (อันหลังมีผลตั้งแต่ 4 มิถุนายน 2536)
การอ้างสิทธิต่างๆ นี้มีรากฐานมาตั้งแต่ในประวัติศาสตร์ แต่ก็อยู่บนหลักการซึ่งเป็นที่ยอมรับกันเป็นสากล ซึ่งอนุญาตให้แต่ละประเทศสามารถอ้างสิทธิเหนืออาณาเขตนอกชายฝั่งบริเวณที่เป็นไหล่ทวีปของประเทศนั้นๆ ได้ รวมทั้งอนุสัญญาสหประชาชาติปี 2525 ว่าด้วยกฎหมายทางทะเล (United Nations Convention on the Law of the Sea)
กฎหมายทางทะเลของสหประชาชาติ
อนุสัญญาสหประชาชาติปี 2525 ได้กำหนดแนวทางต่างๆ เกี่ยวกับสถานภาพของหมู่เกาะต่างๆ เขตไหล่ทวีป เขตทะเลปิด และขอบเขตน่านน้ำ บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกรณีของทะเลจีนใต้มีดังนี้
- มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติว่า “ทุกรัฐมีสิทธิกำหนดเขตน่านน้ำทางทะเลของตน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล”
- มาตรา 55-75 นิยามแนวความคิดของเขตเศรษฐกิจเฉพาะ (Exclusive Economic Zone: EEZ) ซึ่งหมายถึง พื้นที่ที่อยู่ในรัศมี 200 ไมล์ทะเล ถัดจากน่านน้ำของประเทศนั้นๆ โดยประเทศหรือรัฐชายฝั่งของเขตเศรษฐกิจเฉพาะ จะมี “อำนาจอธิปไตยในการสำรวจและใช้ การอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต ในบริเวณน่านน้ำเหนือพื้นทะเลบริเวณนั้น รวมทั้งพื้นทะเลและชั้นดินใต้พื้นทะเลบริเวณนั้นด้วย…”
- มาตรา 76 นิยามคำว่าเขตไหล่ทวีปของประเทศหนึ่งๆ ว่า เป็นบริเวณที่ “ประกอบด้วยพื้นทะเลและชั้นดินของพื้นที่ใต้ผิวน้ำ ที่ครอบคลุมบริเวณ ที่ถัดจากน่านน้ำของประเทศนั้นๆ ไปตลอดแนวที่ทอดยาวตามธรรมชาติ ของเขตแดนทางบกของประเทศ จนถึงสุดขอบทวีปหรือจนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเล…” บทบัญญัตินี้มีความสำคัญเนื่องจากมาตรา 77 กำหนดให้แต่ละประเทศสามารถใช้ “อำนาจอธิปไตยเหนือเขตไหล่ทวีปเพื่อวัตถุประสงค์แห่งการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่นั้น”
- มาตรา 121 ซึ่งกำหนดว่าบริเวณโขดหิน หินโสโครก ที่ไม่เอื้อต่อการตั้งถิ่นอาศัยของมนุษย์ หรือไม่สามารถดำรงชีพในเชิงเศรษฐกิจของตนเองได้อย่างยั่งยืน จะไม่สามารถกำหนดเป็นเขตเศรษฐกิจเฉพาะ หรือเขตไหล่ทวีปได้
การกำหนดเขตเศรษฐกิจเฉพาะตามบทบัญญัติดังกล่าว ก่อให้เกิดความเป็นไปได้ ที่จะมีการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ ที่คาบเกี่ยวกันในบริเวณที่เป็นกึ่งทะเลปิด เช่นทะเลจีนใต้ เพราะประเทศใดก็ตามที่สามารถให้ประชากรของตนตั้งถิ่นฐานบนเกาะต่างๆ ในภูมิภาคแถบนี้ได้ ก็จะสามารถอ้างสิทธิเพื่อขยายเขตน่านน้ำของตนออกมาได้ ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้อ้างสิทธิหลายประเทศในแถบทะเลจีนใต้ เมื่อต่างฝ่ายต่างพยายามที่จะจัดตั้งถิ่นฐานบนเกาะต่างๆ (ส่วนใหญ่จะเป็นกองกำลังทหาร) เพื่อมิให้ขัดต่อบทบัญญัติของมาตรา 121 ในการอ้างสิทธิเหนือบริเวณนั้นๆ ของตน
อนุสัญญาด้านกฎหมายทางทะเล ยังกำหนดให้ประเทศที่มีการอ้างสิทธิในพื้นที่ทับซ้อนกัน แก้ปัญหาดังกล่าว โดยการเจรจาตกลงกันบนพื้นฐานแห่งความจริงใจ การใช้หลักการ “พื้นที่พัฒนาร่วม (Joint Development Area)” ดังกรณีในอ่าวไทย นับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาการอ้างสิทธิในทะเลจีนใต้ ที่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี
ความขัดแย้งในภูมิภาคและการแก้ปัญหา
ผู้อ้างสิทธิในอาณาบริเวณหมู่เกาะสแปรทลีย์ต่างก็เข้าถือครองเกาะต่างๆ ในหมู่เกาะนี้ และ/หรือจัดตั้งกองกำลังทหารและสร้างป้อมปราการตามแนวปะการังต่างๆ ประเทศบรูไน ซึ่งไม่ได้อ้างสิทธิเหนือบริเวณใดของหมู่เกาะสแปรทลีย์ และไม่ได้เข้าครอบครองเกาะใดๆ แต่ได้ประกาศเขตเศรษฐกิจเฉพาะซึ่งครอบคลุมแนวปะการังลูอิซา (Louisa Reef) ไว้ด้วย
ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา มีการปะทะกันประปรายของกองทหารกลุ่มเล็กๆ การปะทะครั้งรุนแรงที่สุดเกิดขึ้นในปี 2517 เมื่อจีนบุกเข้ายึดครองหมู่เกาะพาราเซลจากเวียดนาม และในปี 2531 เมื่อกองทัพเรือของจีนและเวียดนาม เกิดปะทะกันขึ้นบริเวณแนวปะการังจอห์นสัน (Johnson Reef) ในหมู่เกาะสแปรทลีย์ ส่งผลให้เรือของเวียดนามจมไปหลายลำและลูกเรือกว่า 70 คน เสียชีวิต
อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทนำ ในการใช้แนวคิดริเริ่มทางการทูต และข้อตกลงความร่วมมือต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาในทะเลจีนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเจรจาผ่านเวทีประชุมของกลุ่มความร่วมมือประชาชาติ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ทำให้เกิดกระบวนการไกล่เกลี่ยโดยสันติวิธีในการแก้ปัญหาการอ้างสิทธิปกครองเหนือบริเวณต่างๆ กลุ่มสมาชิกอาเซียนประกอบด้วยประเทศต่างๆ ในแถบทะเลจีนใต้ ยกเว้นจีนและไต้หวัน และได้จัดการประชุมคณะทำงานกลุ่มต่างๆ กับจีนและไต้หวัน ในประเด็นปัญหา ที่เกี่ยวข้องอันเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือและมิตรภาพ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการแก้ปัญหาขัดแย้งอื่นๆ ที่รุนแรงกว่าในภูมิภาคนี้ อินโดนีเซียได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานดังกล่าวเป็นครั้งแรกในปี 2533 นอกจากนี้ ประเด็นความขัดแย้งต่างๆ เหล่านี้ยังได้ถูกหยิบยกขึ้นหารือกันในเวทีหารือของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Regional Forum: ARF) ซึ่งเป็นระดับการประชุมที่ใหญ่กว่าและจัดขึ้นพร้อมกับการประชุม ASEAN Post Ministerial Conference โดยมีประเทศเข้าร่วมประชุม 22 ประเทศ ซึ่งล้วนมีบทบาทด้านความมั่นคงของภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค และรวมถึงสมาชิกอาเซียนทั้งหมดด้วย
ในปี 2539 รัฐมนตรีอาเซียนได้มีมติเห็นพ้องกันว่า ควรจะมีการจัดทำระเบียบปฏิบัติ (Code of Conduct) ของภูมิภาคสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในทะเลจีนใต้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการด้านต่างๆ เช่น การศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ การปราบปรามโจรสลัดและขบวนการค้ายาเสพติด โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 ภาคีอาเซียนได้ผลักดันให้มีการกำหนดระเบียบปฏิบัติโดยทั่วไปสำหรับการแก้ปัญหาข้อพิพาท ซึ่งยกร่างโดยฟิลิปปินส์และเวียดนาม แต่การทำความตกลงในลักษณะดังกล่าวจำเป็นต้องให้ประเทศที่ไม่ได้เป็นภาคีอาเซียน เช่น จีนและไต้หวัน เข้ามามีส่วนร่วมด้วยเพื่อให้เกิดความรอบด้านและครอบคลุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในประเด็นนี้ จีนซึ่งเป็นสมาชิกของ ARF ได้แย้งว่าการแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องเขตแดนควรเป็นประเด็นหารือระดับทวิภาคี อย่างไรก็ดี สมาชิก ARF อื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ต่างให้เหตุผลว่าสมาชิก ARF ทั้งหมดล้วนมีความสนใจในประเด็นต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคนี้ และเห็นว่าเป็นการเหมาะสมแล้วที่มีการหารือประเด็นเหล่านี้กันในระดับเวที ARF ความเห็นในประเด็นดังกล่าวมีหลากหลาย อาทิเช่น
- จีนได้เริ่มเปิดการเจรจากับกลุ่มอาเซียนเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง “ระเบียบปฏิบัติ” ซึ่งจะใช้กำหนดการปฏิบัติการต่างๆ ของผู้อ้างสิทธิทั้งหลาย แต่ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากภาคีอาเซียนต้องการผลักดันให้เกิดพันธะผูกพันที่ชัดเจนเพื่อยับยั้งการเข้ายึดครองแนวปะการังหรือการก่อสร้างใหม่เพิ่มเติมจากเดิม ในขณะที่ฝ่ายจีนต้องการพันธะผูกพันแบบกว้างๆ เพื่อยับยั้งการกระทำที่อาจจะ “ทำให้สถานการณ์ยุ่งยากมากขึ้น”
- รัฐมนตรีต่างประเทศของมาเลเซีย นายซาเอ็ด ฮามิด บิน ซาเอ็ด จาฟาร์ อัลบาร์ กล่าวว่า เขาเชื่อว่าประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้เคยเห็นพ้องกันว่า กรณีพิพาทเรื่องเขตแดนเป็นเรื่องภายในอาเซียน และไม่ควรนำเข้าสู่เวทีหารือระหว่างประเทศอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหา
- เวียดนามได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อเจรจากับจีนแบบทวิภาคี เพื่อแก้ปัญหาแนวเขตแดนที่เป็นกรณีพิพาทกันอยู่ในบริเวณอ่าวตังเกี๋ย (ซึ่งจีนเรียกว่า Beibu Wan และเวียดนามเรียกว่า Vinh Bac Bo) และบริเวณหมู่เกาะสแปรทลีย์ ตลอดจนแนวเขตแดนบนบก นอกจากนี้ เวียดนามยังต้องการให้รวมปัญหาข้อพิพาทในบริเวณหมู่เกาะพาราเซลไว้ใน “ระเบียบปฏิบัติ” ฉบับใดฉบับหนึ่ง แต่ความคิดนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของภาคีอาเซียนอื่นๆ เนื่องจากกรณีพิพาทบริเวณหมู่เกาะพาราเซล เป็นปัญหาระหว่างเวียดนามกับจีนเท่านั้น
ทรัพยากรธรรมชาติ
น้ำมัน
เป้าหมายด้านทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ทะเลจีนใต้ที่สำคัญที่สุดคือน้ำมัน เนื่องจากมีการค้นพบน้ำมันบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลจีนใต้ของประเทศต่างๆ หลายแห่งมีการประมาณกันว่าปริมาณน้ำมันสำรองที่ได้รับการยืนยันแล้ว (proven reserves) สูงถึง 7.7 พันล้านบาร์เรล ในขณะที่ปัจจุบันมีการผลิตรวมของทั้งภูมิภาค อยู่ที่ระดับกว่า 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยการผลิตน้ำมันของมาเลเซียมีปริมาณเกือบครึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตรวมของภูมิภาค
ด้วยเหตุที่มีการค้นพบน้ำมันทั่งอาณาบริเวณอื่นของทะเลจีนใต้ จึงมีการคาดการณ์กันว่าบริเวณหมู่เกาะสแปรทลีย์ จะเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมันอีกแหล่งหนึ่ง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ยังไม่ได้มีการตรวจสอบ และยืนยันตัวเลขปริมาณน้ำมันสำรอง ที่แท้จริงในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเป็นทางการ เพียงแต่จีนได้คาดการณ์ไว้ในด้านดีว่า สแปรทลีย์ จะกลายเป็น อ่าวเปอร์เซียที่สองของโลก
ก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซธรรมชาติอาจจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากที่สุดในทะเลจีนใต้ โดยพบมากในประเทศบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ จากการสำรวจประมาณกันว่า ร้อยละ 60-70 ของทรัพยากรไฮโดรคาร์บอนในภูมิภาคเป็นก๊าซธรรมชาติ โดยอเมริกาคาดว่าจะมีปริมาณก๊าซธรรมชาติทั้งที่ขุดพบแล้วและยังไม่ขุดพบทั้งสิ้น 266 ล้านล้านลบ.ฟ. และที่เกาะสแปรทลีย์มีประมาณ 35 หมื่นล้านลบ.ฟ. ในขณะที่นักวิเคราะห์จากจีนคาดว่าจะมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองสูงถึง 2,000 ล้านล้านลบ.ฟ. ซึ่งเป็นตัวเลขที่แตกต่างกันมากและยังหาข้อสรุปไม่ได้
ในส่วนของปริมาณความต้องการคาดกันว่าความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศกำลังพัฒนาในเขตทะเลจีนใต้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ต่อปีในช่วง 2 ทศวรรษหน้าซึ่งจะทำให้ปริมาณความต้องการก๊าซธรรมชาติสูงถึง 20 ล้านล้านลบ.ฟ.ต่อปี ภายในปี 2563 หรือคิดเป็น 4 เท่าของระดับในปัจจุบัน และอาจเพิ่มสูงกว่านี้ก็เป็นได้หากการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ในขณะนี้มาเลเซียไม่ได้เป็นเพียงผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของภูมิภาค แต่ยังเป็นผู้ผลิตก๊าซรายใหญ่ของภูมิภาคอีกด้วย ถึงแม้ว่าการพัฒนาการจัดหาก๊าซธรรมชาติของมาเลเซียจะชะงักงันในช่วงที่ผ่านมา แต่การพัฒนาการจัดหาก๊าซธรรมชาติในแหล่งอื่นๆ ของภูมิภาคยังดำเนินต่อไป โดยเฉพาะในเขตอ่าวไทย บริเวณชายฝั่งประเทศจีนและเวียดนาม รวมทั้งบริเวณหมู่เกาะนาทูนาของอินโดนีเซีย
ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)
จากข้อมูลพบว่าการขนส่ง LNG ประมาณสองในสามของปริมาณการค้า LNG ทั้งโลกในปี 2541 จะต้องผ่านเส้นทางทะเลจีนใต้ เนื่องจากประเทศทางเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน เป็นผู้ใช้ LNG มากเป็นอันดับที่ 1, 2 และ5 ของโลกตามลำดับ ซึ่งผู้ผลิต LNG รายใหญ่จะกระจายอยู่ตาม พื้นที่ในแถบทะเลจีนใต้ รวมทั้งในแถบตะวันออกกลาง โดยมีบรูไน และมาเลเซีย เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของภูมิภาคนี้ ซึ่งในปี 2541 ปริมาณการผลิตรวมกันของทั้งสองประเทศนี้ เทียบเท่ากับร้อยละ 25 ของปริมาณการผลิต LNG ทั้งโลก
สรุป
โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า พื้นที่ทะเลจีนใต้ มีความสำคัญทั้งในเชิงเศรษฐกิจ และเชิงยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านพลังงาน ของเอเซียตะวันออกอย่างมาก โดยประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงต้องพึ่งพาการใช้พลังงาน ที่ขนส่งผ่านเส้นทางนี้สูงมาก (ประมาณร้อยละ 60 ของความต้องการพลังงานในประเทศนั้น) และแม้แต่ประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เอง ก็ยังคงต้องพึ่งพารายได้จากการค้าขายทรัพยากรพลังงาน ที่ขุดพบได้ในอาณาบริเวณของประเทศตน และด้วยผลประโยชน์อันมหาศาลนี้เอง ที่นำไปสู่ความขัดแย้งที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น ตราบใดที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติในการอ้างสิทธิที่คาบเกี่ยวกันได้ การจัดตั้งกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยโดยสันติวิธี และจัดทำ “ระเบียบปฏิบัติ” ที่ยอมรับร่วมกัน จึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นหลักประกันต่อความความมั่นคงและความสงบสุขของภูมิภาค
ที่มา; http://www2.eppo.go.th/vrs/VRS51-07-Spratly.html
ที่มา; http://www2.eppo.go.th/vrs/VRS51-07-Spratly.html
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น