อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 401/2559
สกอ.จัดประชุมแนะแนวการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
สำหรับเยาวชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดการประชุมแนะแนวการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา สำหรับเยาวชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม เมื่อวันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2559 ณ โรงแรมซากุระ แกรนด์ วิว
นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวรายงานถึงการประชุมครั้งนี้ว่า เป็นโครงการที่ริเริ่มจากความมุ่งมั่นของรัฐบาลชุดปัจจุบันและกระทรวงศึกษาธิการในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ความสำคัญในการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา และการพัฒนาการศึกษาสู่การประกอบอาชีพของเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เยาวชนเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนให้ได้มีโอกาสศึกษาต่ออย่างต่อเนื่องในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกำลังสำคัญในการนำพาความรู้และประสบการณ์กลับมาพัฒนาท้องถิ่นภูมิลำเนาอย่างยั่งยืน
ซึ่ง พล.อ. สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีดำริให้ สกอ. จัดเวทีประชุมสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการ และครูโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับทราบข้อมูลและสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนต้องการเรียนมหาวิทยาลัยในประเทศ
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและเจตจำนงดังกล่าว สกอ. ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ตอบแทนสังคมและประเทศชาติ จึงได้จัดการประชุมแนะแนวการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาสำหรับเยาวชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งนี้ขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการแนะแนวการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในระดับอุดมศึกษาและสายอาชีพหรืออาชีวศึกษา ให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อนำข้อมูลและความรู้ ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ ไปเผยแพร่และถ่ายทอดให้ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนรวมทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดความสนใจ และมีผลต่อการตัดสินใจในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษามากขึ้น พร้อมทั้งรับทราบนโยบายของ สกอ. ในการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ตลอดจนเพื่อรับฟังปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาการศึกษาให้ยั่งยืนสืบไป
การประชุมในครั้งนี้ สกอ. ได้เชิญผู้บริหารสถานศึกษา และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน ผู้อำนวยการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา และวิทยาลัยชุมชน ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมประชุมจำนวนประมาณ 360 คน
ภายหลังพิธีเปิด ได้รับเกียรติจาก ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา บรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง "ทางเลือกและการจัดวางเส้นทางการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา" และจะมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายหน่วยงาน มาให้ความรู้เกี่ยวกับการเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และการศึกษาต่อสายอาชีพ สำหรับเยาวชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ ได้กล่าวในพิธีเปิดในประเด็นต่าง ๆ โดยสรุป ดังนี้
-
ขอบคุณผู้บริหารและครูที่เสียสละวันหยุดมาเข้าร่วมประชุม
การประชุมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสพิเศษที่ไม่ได้รบกวนผู้บริหารและครูผู้สอนมาเข้าร่วมประชุมในห้วงเวลาของการเรียนการสอน ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกท่านที่เสียสละเวลาในวันหยุดมาร่วมประชุม จึงหวังว่าการใช้วันหยุดและการเสียสละในวันนี้จะคุ้มค่าต่อวันข้างหน้า เพราะเราจะมีส่วนสำคัญในการสร้างการรับรู้ตามรอยยุทธศาสตร์พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนางานให้ไปสู่ความสำเร็จ เพื่อให้เด็กที่เราฝันหรือคาดหวังไว้ไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งเด็ก ๆ เหล่านั้นจะกลับมาสู่การพัฒนาบ้านของเราให้เป็นคนที่มีคุณภาพและศักยภาพต่อไป
-
ความก้าวหน้าของ การทำงานด้านต่างๆ ที่เกิดจากบุคลากรทุกระดับ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสทำงานและเดินทางไปตรวจเยี่ยมสถานศึกษาหลายแห่ง แต่ก็ยังมีอีกหลายแห่งที่ยังไม่มีโอกาสได้ไป ซึ่งการเดินทางไปตรวจเยี่ยม เพื่อต้องการให้กำลังใจ ดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนในส่วนที่ดูแลกันได้ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ และช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก็พบว่ามีความก้าวหน้าต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่มาโดยตลอด ซึ่งเกิดจากบุคลากรในพื้นที่ทุกระดับช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันปฏิบัติ และช่วยกันปรึกษาหารือกันจนเกิดผลสำเร็จตามจุดเน้นหรือกลยุทธ์
อย่างไรก็ตาม ได้ย้ำอยู่เสมอว่า "เรื่องความปลอดภัย" ต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากฝ่ายความมั่นคงช่วยดำเนินการให้ดีขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา แม้จะยังไม่ปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม แต่ระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมามีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2558 มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 1 ราย ส่วนปีนี้มีนักเรียน 1 รายเสียชีวิต เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุด จึงต้องใช้ความพยายามและความร่วมมือให้มากขึ้น
ในเรื่องของ "การพัฒนาคุณภาพการศึกษา" เป็นเรื่องหลักอีกเช่นกัน โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาไปมากในหลายเรื่อง เช่น
- หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้นซึ่งคณะกรรมการการศึกษาเอกชนที่มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน ได้ให้ความเห็นชอบหลักสูตร โดยให้ใช้ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อน เพื่อเป็นการทบทวนการใช้หลักสูตรก่อนที่จะนำไปใช้ขยายผลในภาคต่างๆ ต่อไป
- การจัดการศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ และ กศน. เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนทั้งสายสามัญและสายอาชีพ
- ผลสอบ O-NET และ I-NET สูงขึ้นตามลำดับ ถือเป็นสิ่งที่วัดผลคุณภาพการศึกษาได้เชิงประจักษ์ อย่างไรก็ตามจะพยายามให้ผลการทดสอบดังกล่าวสูงขึ้นและทัดเทียมกับภาคอื่น ๆ ให้ได้
- การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ และในปีการศึกษานี้จะเริ่มขยายเข้าสู่โรงเรียนขนาดกลางแบบเล็ก ๆ รวมทั้งโรงเรียน ตชด . และโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล รวมทั้งจะได้ขยายการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ในโรงเรียนต่าง ๆ ให้มากขึ้น
- โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ ซึ่งได้ดำเนินการใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย โดยให้แต่ละตำบลคัดเลือกโรงเรียนเพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยคิดวางแผนพัฒนาและสนับสนุน ตำบลละ 1 โรงเรียน
- โครงการรณรงค์ให้นักเรียน ป.1 อ่านออกเขียนได้ในวิชาภาษาไทย 100℅ แต่เป้าหมายในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จะพยายามให้มีเปอร์เซ็นต์เด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ลดลงให้มากที่สุด ทั้งนี้เพราะภาษาไทยเป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการเรียนวิชาอื่น ๆ และการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
- สะเต็มศึกษา ซึ่งจะมีการเพิ่มจำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการให้มากขึ้น
- ผลการสำรวจวัดผลความพึงพอใจการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่พึงพอใจมากถึง 98% ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทุนการศึกษา หรือโครงการสานฝันฯ
- โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันเปิดทำการสอนแล้ว 6โรงเรียน ในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยในปีการศึกษาหน้าจะเพิ่มเรื่องดนตรีและศิลปวัฒนธรรมอีกด้วย และ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการลงนามความร่วมมือกับ สกอ. และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาไปแล้ว เพื่อให้เด็กที่จบจากโรงเรียนห้องเรียนกีฬาเหล่านี้ ได้รับทุนการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาอาชีวศึกษาจนจบปริญญาตรี ถือเป็นความสมบูรณ์ที่เราจะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เด็กในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง
-
แนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณหน้า จะเน้น สร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจ
สำหรับแนวทางดำเนินงานในปีงบประมาณ 2560 รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่าจะเน้นไปที่ "การสร้างการรับรู้และการสร้างความเข้าใจ" ในการดำเนินงานตามแนวทางนโยบายการด้านต่าง ๆ ให้มากขึ้น เช่น เรื่องทุนการศึกษา อาจจะมีครูและนักเรียนเข้าใจในตัวอำเภอ แต่อาจจะยังไม่กระจายไปยังโรงเรียนทุรกันดาร ได้อย่างทั่วถึง จึงขอความร่วมมือให้ช่วยกันสร้างการรับรู้และความเข้าใจขยายผลให้มากขึ้น เพราะจะมีส่วนสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
-
ย้ำถึงความสำคัญของการแนะแนวทุนการศึกษาต่อ
รมช.ศึกษาธิการ ได้กล่าวถึงประเด็นการประชุมในครั้งนี้ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 กันยายน 2559 ว่า สกอ. ได้เตรียมการจัดประชุมครั้งนี้เป็นอย่างดี ซึ่งต้องขอชมเชยว่ามีการวางแผนที่ดีมาก จึงถือว่าสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง ส่วนความสำเร็จอีกครึ่งหนึ่งอยู่ที่การปฏิบัติว่าจะสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่
พร้อมทั้งย้ำถึงสิ่งสำคัญที่ครูและผู้บริหารเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ คือ เพื่อให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้เรียนหรือลูกหลานของเราในพื้นที่ให้มีความก้าวหน้าทางการศึกษาต่อไป ซึ่งก็คือการได้รับโอกาสเรื่องทุนการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพราะการพัฒนาประเทศในปัจจุบันจะออกแนวประชารัฐ รวมทั้งไทยแลนด์ 4.0 ดังนั้นการเรียนในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งไม่จำเป็นต้องเรียนสายสามัญเพื่อมุ่งเข้ามหาวิทยาลัยเท่านั้น เพราะปัจจุบันยังมีทางเลือกในการเรียนต่อสายอาชีวศึกษาที่มีความจำเป็นมากเช่นกัน เพราะหากเรียนในสาขาที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ก็จะส่งผลถึงการมีงานทำ และปัจจุบันการเรียนสายอาชีวศึกษาสามารถเรียนต่อได้จนจบปริญญาตรีได้เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องเรียนสายสามัญหรือในมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว
สกอ.มีทุนการศึกษาจำนวนมาก ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจำนวน 156 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้มีถึงครึ่งหนึ่งที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการให้ทุนการศึกษาต่าง ๆ แก่นักเรียน ไม่ว่าจะเป็นทุนที่รับโดยตรง ทุนสอบเข้า หรือทุนสำหรับเด็กที่มีครอบครัวฐานะยากจน ฯลฯ จึงขอให้ สกอ. ได้ชี้แจงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การให้ทุนต่าง ๆ ให้เข้าใจ เพื่อผู้บริหารและครูแนะแนวจะได้นำไปถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ในโรงเรียนต่อไป หรือผู้บริหารสามารถนำเรื่องนี้ไปแจ้งให้ที่ประชุมในส่วนราชการระดับอำเภอได้รับทราบ เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงมากขึ้น โดยเฉพาะในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลที่มีโอกาสรับรู้เรื่องต่าง ๆ น้อยกว่า
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวย้ำด้วยว่า ขอให้ สกอ.รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวทางดำเนินการจากการประชุมครั้งนี้ หากมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก ขอให้นำไปหารือ ต่อยอด หรือดำเนินการในห้วงเวลาต่อไปให้มีความเข้มข้นและเกิดความสมบูรณ์ต่อไป และขอให้ทุกท่านน้อมนำ "ยุทธศาสตร์พระราชทาน" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ "เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา" ไปใช้เป็นแนวทางการทำงาน โดยให้นำไปวิเคราะห์งานในหน้าที่และทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 401/2559
สกอ.จัดประชุมแนะแนวการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
สำหรับเยาวชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สกอ.จัดประชุมแนะแนวการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
สำหรับเยาวชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวรายงานถึงการประชุมครั้งนี้ว่า เป็นโครงการที่ริเริ่มจากความมุ่งมั่นของรัฐบาลชุดปัจจุบันและกระทรวงศึกษาธิการในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ความสำคัญในการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา และการพัฒนาการศึกษาสู่การประกอบอาชีพของเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เยาวชนเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนให้ได้มีโอกาสศึกษาต่ออย่างต่อเนื่องในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกำลังสำคัญในการนำพาความรู้และประสบการณ์กลับมาพัฒนาท้องถิ่นภูมิลำเนาอย่างยั่งยืน
ซึ่ง พล.อ. สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีดำริให้ สกอ. จัดเวทีประชุมสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการ และครูโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับทราบข้อมูลและสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนต้องการเรียนมหาวิทยาลัยในประเทศ
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและเจตจำนงดังกล่าว สกอ. ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ตอบแทนสังคมและประเทศชาติ จึงได้จัดการประชุมแนะแนวการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาสำหรับเยาวชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งนี้ขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการแนะแนวการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในระดับอุดมศึกษาและสายอาชีพหรืออาชีวศึกษา ให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อนำข้อมูลและความรู้ ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ ไปเผยแพร่และถ่ายทอดให้ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนรวมทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดความสนใจ และมีผลต่อการตัดสินใจในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษามากขึ้น พร้อมทั้งรับทราบนโยบายของ สกอ. ในการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ตลอดจนเพื่อรับฟังปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาการศึกษาให้ยั่งยืนสืบไป
การประชุมในครั้งนี้ สกอ. ได้เชิญผู้บริหารสถานศึกษา และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน ผู้อำนวยการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา และวิทยาลัยชุมชน ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมประชุมจำนวนประมาณ 360 คน
ภายหลังพิธีเปิด ได้รับเกียรติจาก ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา บรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง "ทางเลือกและการจัดวางเส้นทางการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา" และจะมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายหน่วยงาน มาให้ความรู้เกี่ยวกับการเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และการศึกษาต่อสายอาชีพ สำหรับเยาวชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย
- ขอบคุณผู้บริหารและครูที่เสียสละวันหยุดมาเข้าร่วมประชุม
การประชุมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสพิเศษที่ไม่ได้รบกวนผู้บริหารและครูผู้สอนมาเข้าร่วมประชุมในห้วงเวลาของการเรียนการสอน ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกท่านที่เสียสละเวลาในวันหยุดมาร่วมประชุม จึงหวังว่าการใช้วันหยุดและการเสียสละในวันนี้จะคุ้มค่าต่อวันข้างหน้า เพราะเราจะมีส่วนสำคัญในการสร้างการรับรู้ตามรอยยุทธศาสตร์พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนางานให้ไปสู่ความสำเร็จ เพื่อให้เด็กที่เราฝันหรือคาดหวังไว้ไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งเด็ก ๆ เหล่านั้นจะกลับมาสู่การพัฒนาบ้านของเราให้เป็นคนที่มีคุณภาพและศักยภาพต่อไป
ความก้าวหน้าของ การทำงานด้านต่างๆ ที่เกิดจากบุคลากรทุกระดับ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสทำงานและเดินทางไปตรวจเยี่ยมสถานศึกษาหลายแห่ง แต่ก็ยังมีอีกหลายแห่งที่ยังไม่มีโอกาสได้ไป ซึ่งการเดินทางไปตรวจเยี่ยม เพื่อต้องการให้กำลังใจ ดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนในส่วนที่ดูแลกันได้ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ และช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก็พบว่ามีความก้าวหน้าต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่มาโดยตลอด ซึ่งเกิดจากบุคลากรในพื้นที่ทุกระดับช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันปฏิบัติ และช่วยกันปรึกษาหารือกันจนเกิดผลสำเร็จตามจุดเน้นหรือกลยุทธ์
อย่างไรก็ตาม ได้ย้ำอยู่เสมอว่า "เรื่องความปลอดภัย" ต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากฝ่ายความมั่นคงช่วยดำเนินการให้ดีขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา แม้จะยังไม่ปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม แต่ระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมามีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2558 มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 1 ราย ส่วนปีนี้มีนักเรียน 1 รายเสียชีวิต เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุด จึงต้องใช้ความพยายามและความร่วมมือให้มากขึ้น
ในเรื่องของ "การพัฒนาคุณภาพการศึกษา" เป็นเรื่องหลักอีกเช่นกัน โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาไปมากในหลายเรื่อง เช่น
- หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้นซึ่งคณะกรรมการการศึกษาเอกชนที่มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน ได้ให้ความเห็นชอบหลักสูตร โดยให้ใช้ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อน เพื่อเป็นการทบทวนการใช้หลักสูตรก่อนที่จะนำไปใช้ขยายผลในภาคต่างๆ ต่อไป
- การจัดการศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ และ กศน. เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนทั้งสายสามัญและสายอาชีพ
- ผลสอบ O-NET และ I-NET สูงขึ้นตามลำดับ ถือเป็นสิ่งที่วัดผลคุณภาพการศึกษาได้เชิงประจักษ์ อย่างไรก็ตามจะพยายามให้ผลการทดสอบดังกล่าวสูงขึ้นและทัดเทียมกับภาคอื่น ๆ ให้ได้
- การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ และในปีการศึกษานี้จะเริ่มขยายเข้าสู่โรงเรียนขนาดกลางแบบเล็ก ๆ รวมทั้งโรงเรียน ตชด . และโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล รวมทั้งจะได้ขยายการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ในโรงเรียนต่าง ๆ ให้มากขึ้น
- โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ ซึ่งได้ดำเนินการใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย โดยให้แต่ละตำบลคัดเลือกโรงเรียนเพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยคิดวางแผนพัฒนาและสนับสนุน ตำบลละ 1 โรงเรียน
- โครงการรณรงค์ให้นักเรียน ป.1 อ่านออกเขียนได้ในวิชาภาษาไทย 100℅ แต่เป้าหมายในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จะพยายามให้มีเปอร์เซ็นต์เด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ลดลงให้มากที่สุด ทั้งนี้เพราะภาษาไทยเป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการเรียนวิชาอื่น ๆ และการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
- สะเต็มศึกษา ซึ่งจะมีการเพิ่มจำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการให้มากขึ้น
- ผลการสำรวจวัดผลความพึงพอใจการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่พึงพอใจมากถึง 98% ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทุนการศึกษา หรือโครงการสานฝันฯ
- โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันเปิดทำการสอนแล้ว 6โรงเรียน ในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยในปีการศึกษาหน้าจะเพิ่มเรื่องดนตรีและศิลปวัฒนธรรมอีกด้วย และ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการลงนามความร่วมมือกับ สกอ. และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาไปแล้ว เพื่อให้เด็กที่จบจากโรงเรียนห้องเรียนกีฬาเหล่านี้ ได้รับทุนการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาอาชีวศึกษาจนจบปริญญาตรี ถือเป็นความสมบูรณ์ที่เราจะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เด็กในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง
แนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณหน้า จะเน้น สร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจ
สำหรับแนวทางดำเนินงานในปีงบประมาณ 2560 รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่าจะเน้นไปที่ "การสร้างการรับรู้และการสร้างความเข้าใจ" ในการดำเนินงานตามแนวทางนโยบายการด้านต่าง ๆ ให้มากขึ้น เช่น เรื่องทุนการศึกษา อาจจะมีครูและนักเรียนเข้าใจในตัวอำเภอ แต่อาจจะยังไม่กระจายไปยังโรงเรียนทุรกันดาร ได้อย่างทั่วถึง จึงขอความร่วมมือให้ช่วยกันสร้างการรับรู้และความเข้าใจขยายผลให้มากขึ้น เพราะจะมีส่วนสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
- ย้ำถึงความสำคัญของการแนะแนวทุนการศึกษาต่อ
รมช.ศึกษาธิการ ได้กล่าวถึงประเด็นการประชุมในครั้งนี้ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 กันยายน 2559 ว่า สกอ. ได้เตรียมการจัดประชุมครั้งนี้เป็นอย่างดี ซึ่งต้องขอชมเชยว่ามีการวางแผนที่ดีมาก จึงถือว่าสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง ส่วนความสำเร็จอีกครึ่งหนึ่งอยู่ที่การปฏิบัติว่าจะสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่
พร้อมทั้งย้ำถึงสิ่งสำคัญที่ครูและผู้บริหารเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ คือ เพื่อให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้เรียนหรือลูกหลานของเราในพื้นที่ให้มีความก้าวหน้าทางการศึกษาต่อไป ซึ่งก็คือการได้รับโอกาสเรื่องทุนการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพราะการพัฒนาประเทศในปัจจุบันจะออกแนวประชารัฐ รวมทั้งไทยแลนด์ 4.0 ดังนั้นการเรียนในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งไม่จำเป็นต้องเรียนสายสามัญเพื่อมุ่งเข้ามหาวิทยาลัยเท่านั้น เพราะปัจจุบันยังมีทางเลือกในการเรียนต่อสายอาชีวศึกษาที่มีความจำเป็นมากเช่นกัน เพราะหากเรียนในสาขาที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ก็จะส่งผลถึงการมีงานทำ และปัจจุบันการเรียนสายอาชีวศึกษาสามารถเรียนต่อได้จนจบปริญญาตรีได้เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องเรียนสายสามัญหรือในมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว
สกอ.มีทุนการศึกษาจำนวนมาก ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจำนวน 156 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้มีถึงครึ่งหนึ่งที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการให้ทุนการศึกษาต่าง ๆ แก่นักเรียน ไม่ว่าจะเป็นทุนที่รับโดยตรง ทุนสอบเข้า หรือทุนสำหรับเด็กที่มีครอบครัวฐานะยากจน ฯลฯ จึงขอให้ สกอ. ได้ชี้แจงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การให้ทุนต่าง ๆ ให้เข้าใจ เพื่อผู้บริหารและครูแนะแนวจะได้นำไปถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ในโรงเรียนต่อไป หรือผู้บริหารสามารถนำเรื่องนี้ไปแจ้งให้ที่ประชุมในส่วนราชการระดับอำเภอได้รับทราบ เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงมากขึ้น โดยเฉพาะในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลที่มีโอกาสรับรู้เรื่องต่าง ๆ น้อยกว่า
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวย้ำด้วยว่า ขอให้ สกอ.รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวทางดำเนินการจากการประชุมครั้งนี้ หากมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก ขอให้นำไปหารือ ต่อยอด หรือดำเนินการในห้วงเวลาต่อไปให้มีความเข้มข้นและเกิดความสมบูรณ์ต่อไป และขอให้ทุกท่านน้อมนำ "ยุทธศาสตร์พระราชทาน" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ "เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา" ไปใช้เป็นแนวทางการทำงาน โดยให้นำไปวิเคราะห์งานในหน้าที่และทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น