ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบออนไลน์ ชุด สรุปย่อ ความรอบรู้ทั่วไป
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดย ติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
บทวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ของประเทศไทยโดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch Ratings
การเลือกตั้งของประเทศไทยที่ยังไม่เสร็จสิ้นไม่ช่วยบรรเทาความตึงเครียดทางการเมืองของประเทศที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดย Fitch Ratings เห็นว่า การแบ่งฝ่ายทางการเมืองที่ยืดเยื้อและตึงเครียดมาถึง 5 เดือนมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อการดำเนินงานทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงินเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่อยู่ในกลุ่มอันดับความน่าเชื่อถือเดียวกัน
ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องใหม่ และระดับความผันผวนทางการเมืองนับเป็นปัจจัยหนึ่งในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ตั้งแต่มีการปฏิวัติโดยทหารเพื่อขับไล่อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2549 ความแตกแยกทางการเมืองของไทยได้จุดชนวนให้เกิดการชุมนุมประท้วงขนาดใหญ่บนท้องถนนโดยฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองในปี 2551 2552 และ 2553 แต่เศรษฐกิจไทยได้ยืนหยัดต่อพัฒนาการเหล่านี้ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงที่ไม่คาดคิดเมื่อช่วงปลายปี 2554 ดังจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 2.9 ระหว่างปี 2551 – 2556
ซึ่งยังสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศที่อยู่ในกลุ่มอันดับความน่าเชื่อถือเดียวกันที่อยู่ที่ร้อยละ 2.6 เล็กน้อย
อย่างไรก็ดี การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ยังไม่เสร็จสิ้นได้สื่อให้เห็นว่า การคุมเชิงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจะยังคงดำเนินติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ทั้งนี้ Fitch คิดว่าความตึงเครียดทางการเมืองได้ถูกนับรวมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้ว ดังจะเห็นได้จากผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาสที่ 4 ของปี 2556 ที่หดตัวลงประมาณร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราการเติบโตของการค้าปลีก ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจลดต่ำลงไปอยู่ในระดับเดียวกับช่วงที่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ซึ่งการแผ่วลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ส่งผลให้ประมาณการการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในปี 2557 ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับลดลงไปถึงร้อยละ 2 มาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 รวมถึงการคงแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
Fitch คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาดีขึ้นเมื่อความตึงเครียดทางการเมืองคลี่คลายลง ซึ่งจะสนับสนุนการคาดการณ์ของ Fitch ถึงการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่ร้อยละ 3.5
ในปี 2557 แต่หากการเผชิญหน้าทางการเมืองยังยืดเยื้อและตึงเครียดมากขึ้น อาจทำให้ผลการดำเนินการทางเศรษฐกิจไทยแย่ลงโดยเปรียบเทียบกับประเทศที่อยู่ในกลุ่มอันดับความน่าเชื่อถือเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้ความแข็งแกร่งของอันดับความน่าเชื่อถืออ่อนแอลง
การชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนและยืดเยื้อขึ้นกว่าที่ Fitch คาดการณ์ไว้ในปัจจุบัน อาจส่งผลกระทบต่อระบบธนาคารผ่านการด้อยค่าของคุณภาพสินทรัพย์ จากการที่สัดส่วนหนี้ของภาคเอกชนไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
ในไตรมาส 3 ของปี 2556 จากร้อยละ 60 เมื่อสิ้นปี 2552 อย่างไรก็ดี Fitch ตระหนักดีว่าในช่วงที่ผ่านมาระบบธนาคารของประเทศไทยได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งในการรองรับความเสี่ยงโดยมีสัดส่วนเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงชั้นที่ 1 ตามระบบ System-Wide Basis เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 12.4 จากร้อยละ 11.3
ของความเสี่ยงถ่วงน้ำหนักของสินทรัพย์ ในปี 2552 แต่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าการคาดการณ์อย่างมีนัยสำคัญและต่อเนื่องอาจจะค่อยๆ กัดกร่อนความสามารถในการรองรับความเสี่ยงได้
สถานะภาคต่างประเทศของไทยยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนต่ออันดับความน่าเชื่อถือ โดยสินทรัพย์ต่างประเทศที่มีสภาพคล่องอยู่ในระดับที่สูงกว่าหนี้สินต่างประเทศที่มีสภาพคล่องถึง 2 เท่า (รวมการถือครองหนี้สกุลเงินบาทโดยผู้ที่มีถิ่นฐานในต่างประเทศ) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วดีกว่าค่ากลาง
ของกลุ่มอันดับความน่าเชื่อถือ BBB จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ความเสี่ยงจากความยุ่งเหยิงทางการเมืองยังอยู่ห่างไกลจากการนำไปสู่แรงกดดันต่อสภาพคล่องภายนอก
ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
โทร. 02 265 8050 ต่อ 5505, 5518
ที่มา : กระทรวงการคลัง
ผู้นำเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องใหม่ และระดับความผันผวนทางการเมืองนับเป็นปัจจัยหนึ่งในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ตั้งแต่มีการปฏิวัติโดยทหารเพื่อขับไล่อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2549 ความแตกแยกทางการเมืองของไทยได้จุดชนวนให้เกิดการชุมนุมประท้วงขนาดใหญ่บนท้องถนนโดยฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองในปี 2551 2552 และ 2553 แต่เศรษฐกิจไทยได้ยืนหยัดต่อพัฒนาการเหล่านี้ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงที่ไม่คาดคิดเมื่อช่วงปลายปี 2554 ดังจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 2.9 ระหว่างปี 2551 – 2556
ซึ่งยังสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศที่อยู่ในกลุ่มอันดับความน่าเชื่อถือเดียวกันที่อยู่ที่ร้อยละ 2.6 เล็กน้อย
อย่างไรก็ดี การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ยังไม่เสร็จสิ้นได้สื่อให้เห็นว่า การคุมเชิงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจะยังคงดำเนินติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ทั้งนี้ Fitch คิดว่าความตึงเครียดทางการเมืองได้ถูกนับรวมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้ว ดังจะเห็นได้จากผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาสที่ 4 ของปี 2556 ที่หดตัวลงประมาณร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราการเติบโตของการค้าปลีก ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจลดต่ำลงไปอยู่ในระดับเดียวกับช่วงที่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ซึ่งการแผ่วลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ส่งผลให้ประมาณการการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในปี 2557 ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับลดลงไปถึงร้อยละ 2 มาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 รวมถึงการคงแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
Fitch คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาดีขึ้นเมื่อความตึงเครียดทางการเมืองคลี่คลายลง ซึ่งจะสนับสนุนการคาดการณ์ของ Fitch ถึงการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่ร้อยละ 3.5
ในปี 2557 แต่หากการเผชิญหน้าทางการเมืองยังยืดเยื้อและตึงเครียดมากขึ้น อาจทำให้ผลการดำเนินการทางเศรษฐกิจไทยแย่ลงโดยเปรียบเทียบกับประเทศที่อยู่ในกลุ่มอันดับความน่าเชื่อถือเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้ความแข็งแกร่งของอันดับความน่าเชื่อถืออ่อนแอลง
การชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนและยืดเยื้อขึ้นกว่าที่ Fitch คาดการณ์ไว้ในปัจจุบัน อาจส่งผลกระทบต่อระบบธนาคารผ่านการด้อยค่าของคุณภาพสินทรัพย์ จากการที่สัดส่วนหนี้ของภาคเอกชนไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
ในไตรมาส 3 ของปี 2556 จากร้อยละ 60 เมื่อสิ้นปี 2552 อย่างไรก็ดี Fitch ตระหนักดีว่าในช่วงที่ผ่านมาระบบธนาคารของประเทศไทยได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งในการรองรับความเสี่ยงโดยมีสัดส่วนเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงชั้นที่ 1 ตามระบบ System-Wide Basis เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 12.4 จากร้อยละ 11.3
ของความเสี่ยงถ่วงน้ำหนักของสินทรัพย์ ในปี 2552 แต่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าการคาดการณ์อย่างมีนัยสำคัญและต่อเนื่องอาจจะค่อยๆ กัดกร่อนความสามารถในการรองรับความเสี่ยงได้
สถานะภาคต่างประเทศของไทยยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนต่ออันดับความน่าเชื่อถือ โดยสินทรัพย์ต่างประเทศที่มีสภาพคล่องอยู่ในระดับที่สูงกว่าหนี้สินต่างประเทศที่มีสภาพคล่องถึง 2 เท่า (รวมการถือครองหนี้สกุลเงินบาทโดยผู้ที่มีถิ่นฐานในต่างประเทศ) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วดีกว่าค่ากลาง
ของกลุ่มอันดับความน่าเชื่อถือ BBB จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ความเสี่ยงจากความยุ่งเหยิงทางการเมืองยังอยู่ห่างไกลจากการนำไปสู่แรงกดดันต่อสภาพคล่องภายนอก
ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
โทร. 02 265 8050 ต่อ 5505, 5518
ที่มา : กระทรวงการคลัง
ผู้นำเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ที่มา ; เว็บกระทรวงศึกษาธิการ
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น