อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ ปกติ ปี 2560
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 46/2560 ศธ. ปรับปรุง แก้ไขหลักเกณฑ์การได้มาของวิทยฐานะ
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ เตรียมปฏิวัติระบบวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่ โดย น้อมนำพระราชกระแสฯ ด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไขหลักเกณฑ์การได้มาของวิทยฐานะ ซึ่งจะไม่เน้นจัดทำเอกสารผลงานวิชาการจำนวนมาก แต่เน้นระบบตอบแทนให้ ครูที่มุ่งการสอนหนังสือ มีการประเมินทั้งคุณภาพและปริมาณการสอน โดยทดลองใช้และรับฟังความเห็น ก่อนประกาศใช้ภายใน 3 เดือนนี้ (หรือภายในเดือนพฤษภาคม 2560)
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันศุกร์ที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา ได้มีมติให้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขหลักเกณฑ์การได้มาของวิทยฐานะ โดยนำพระราชกระแสฯ ด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้เป็นแนวทาง ความว่า “ปัญหาปัจจุบันคือ ครูมุ่งเขียนงานวิทยานิพนธ์ เขียนตำราส่งผู้บริหาร เพื่อให้ได้ตำแหน่งและเงินเดือนสูงขึ้น แล้วบางทีก็ย้ายไปที่ใหม่ ส่วนครูที่มุ่งการสอนหนังสือกลับไม่ได้อะไรตอบแทน ระบบไม่ยุติธรรม เราต้องเปลี่ยนระเบียบตรงจุดนี้ การสอนหนังสือต้องถือว่าเป็นความดีความชอบ หากคนใดสอนดี ซึ่งส่วนมากคือมีคุณภาพและปริมาณ ต้องมี reward” (5 ก.ค. 55) และ“ครูบางส่วนเวลาสอนนักเรียนจะสอนไม่หมดแต่เก็บไว้บางส่วน หากนักเรียนต้องการรู้ทั้งหมดวิชา ก็ต้องเสียเงินไปสมัครเรียนพิเศษกับครูท่านนั้น จะเป็นการสอนในโรงเรียนหรือส่วนตัวก็ตาม” (5 ก.ค. 55) นั้น
การประชุมครั้งนี้ ได้ร่วมพิจารณาแนวทางการ แก้ไขหลักเกณฑ์การได้มาของวิทยฐานะ โดยนำพระราชกระแสฯ ด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้เป็นแนวทาง ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้แก้ไข หลักเกณฑ์การได้มาของวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่ให้เสร็จสิ้นและประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่ภายใน 3 เดือน โดยหลักเกณฑ์ใหม่จะไม่มีการจัดทำด้วยเอกสารผลงานทางวิชาการจำนวนมาก แต่จะเป็นระบบที่ยุติธรรมสำหรับครู ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพในการสอน โดยใช้แฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Portfolio) เป็นตัวนำ
โดยครูทุกคนทั้งประเทศจะมี ID และ Password สำหรับใช้ในการ Login เข้าไปบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลด้วยตนเอง ว่าสอนกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ผ่านการอบรมอะไรบ้าง ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาจะเป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และความรับผิดชอบในการประเมินทั้งหมดจะจบที่สถานศึกษาหรือจังหวัดนั้น ๆ โดยไม่ต้องเสนอให้ส่วนกลางหรือ ก.ค.ศ.พิจารณา แต่ก็จะมีมาตรการควบคุมความรับผิดชอบของครูหรือผู้บริหารสถานศึกษา หากมีการฮั้วหรือรายงานเท็จ จะมีความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญาด้วย ถือเป็นการปฏิวัติระบบวิทยฐานะใหม่ของประเทศ
ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือน ก่อนที่จะประกาศใช้หลักเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่ ขอให้สำนักงาน ก.ค.ศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดให้มี Focus Group เพื่อรับฟังความเห็นว่า ระบบใหม่ขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง ก่อนที่จะประกาศใช้จริง
จากการประชุมครั้งนี้ ทำให้รับทราบข้อมูลด้วยว่า มีข้าราชการครูจำนวนมากที่ไม่มีวิทยฐานะ แยกเป็นข้าราชการครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 33,190 คน หรือประมาณร้อยละ 10 ของครู สพฐ.ทั้งหมด ส่วนข้าราชการครูสังกัดสำนักงาน กศน. มีจำนวน 431 คน หรือประมาณร้อยละ 20 และข้าราชการครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่ยังไม่มีวิทยฐานะ รวม 4,198 คน หรือร้อยละ30 สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากครูไม่มีเวลาทำผลงานทางวิชาการ และต้องเสียเวลาในการจัดทำเอกสารผลงานทางวิชาการจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ครูที่ขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะจากเชี่ยวชาญเป็นเชี่ยวชาญพิเศษนั้น ยังคงจำเป็นต้องใช้หลักเกณฑ์เดิมคือ เน้นการจัดทำผลงานการวิจัย
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า หลักเกณฑ์ใหม่นี้ เชื่อว่าจะเป็นระบบที่สร้างความเป็นธรรมและค่าตอบแทนให้เกิดขึ้นกับครู ที่มุ่งการสอนหนังสือ ซึ่งจะมีการกำหนดเกณฑ์ในการประเมินสำหรับครูที่มีปริมาณการสอนและคุณภาพการสอน เช่น การสอนเด็กพิเศษ ซึ่งมีการเตรียมการสอนที่ยุ่งยากกว่าสอนเด็กนักเรียนปกติทั่วไป ก็จะมีคะแนนเพิ่มขึ้น และการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ ก็จะยังคงมีอยู่ เพื่อสร้างมาตรฐานและจรรยาบรรณทางวิชาชีพครู แต่จะไม่ประเมินด้วยระยะเวลาถี่จนเกินไป ซึ่งจะพยายามลดภาระต่าง ๆ ในการประเมินสำหรับครูให้มากที่สุด ส่วนข้าราชการครูที่อยู่ระหว่างการยื่นผลงานเพื่อขอรับการประเมินวิทยฐานะที่ค้างท่อในเวลานี้กว่า 3,000 คนนั้น มอบ ก.ค.ศ.ไปพิจารณา ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับการพิจารณา ส่วนตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ที่ประชุมก็เห็นตรงกันว่าอาจจะเปลี่ยนไปใช้เงินประจำตำแหน่ง เพื่อสะท้อนความเป็นจริงและสอดคล้องกับระบบบริหารมาตรฐานสากล
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า หลักเกณฑ์ใหม่นี้สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องมีการแก้ไขกฎหมายอะไร ถือเป็นนิยามใหม่ของการประเมินวิทยฐานะครู ที่ไม่ใช่เป็นหลักเกณฑ์ Performance Agreement :PA ซึ่งเท่ากับยกเลิกเกณฑ์ PA และแนวทางใหม่นี้จะใช้ Portfolio เป็นตัวนำกับคน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มรายใหม่ที่จะขอรับการประเมินวิทยฐานะ กลุ่มที่ค้างการประเมินซึ่งมีประมาณ 3,000 คน และกลุ่มที่ได้รับวิทยฐานะไปแล้ว จะต้องมีการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะเอาไว้เช่นเดิม
การใช้ Portfolio นี้ เป็นแนวทางในการประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) ซึ่งจะเป็นการบันทึกประวัติ การพัฒนาวิชาชีพ ของครูทุกคน ทั้งปริมาณการสอน เช่น จำนวนชั่วโมงการสอน ความยากง่ายในการสอน การสอนเด็กพิเศษ การสอนในโรงเรียนกันดาร ซึ่งจะมีคะแนนที่แตกต่างกัน และคุณภาพการสอน ซึ่งจะดูจากผลของการพัฒนาตนเอง การเข้ารับการอบรมทางไกล การอบรมออนไลน์ ผลงานการสอนที่ได้จัดทำขึ้น ฯลฯ
พร้อมทั้ง จะนำระบบ IT เข้ามาช่วยบันทึกรวบรวมข้อมูลของครูทุกคน เพื่อไม่ให้ครูต้องยุ่งยากในการจัดทำเอกสารหลักฐานอีก และในระหว่างนี้จะมีการรับฟัง ประชาพิจารณ์หลักเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ รวมทั้งเตรียมการจัดทำระบบ IT เพื่อรองรับ e- Portfolio และทดลองใช้ให้มั่นใจ ก่อนจะประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่นี้ ภายใน 3 เดือน
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 46/2560 ศธ. ปรับปรุง แก้ไขหลักเกณฑ์การได้มาของวิทยฐานะ
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ เตรียมปฏิวัติระบบวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่ โดย น้อมนำพระราชกระแสฯ ด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไขหลักเกณฑ์การได้มาของวิทยฐานะ ซึ่งจะไม่เน้นจัดทำเอกสารผลงานวิชาการจำนวนมาก แต่เน้นระบบตอบแทนให้ ครูที่มุ่งการสอนหนังสือ มีการประเมินทั้งคุณภาพและปริมาณการสอน โดยทดลองใช้และรับฟังความเห็น ก่อนประกาศใช้ภายใน 3 เดือนนี้ (หรือภายในเดือนพฤษภาคม 2560)
การประชุมครั้งนี้ ได้ร่วมพิจารณาแนวทางการ แก้ไขหลักเกณฑ์การได้มาของวิทยฐานะ โดยนำพระราชกระแสฯ ด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้เป็นแนวทาง ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้แก้ไข หลักเกณฑ์การได้มาของวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่ให้เสร็จสิ้นและประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่ภายใน 3 เดือน โดยหลักเกณฑ์ใหม่จะไม่มีการจัดทำด้วยเอกสารผลงานทางวิชาการจำนวนมาก แต่จะเป็นระบบที่ยุติธรรมสำหรับครู ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพในการสอน โดยใช้แฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Portfolio) เป็นตัวนำ
โดยครูทุกคนทั้งประเทศจะมี ID และ Password สำหรับใช้ในการ Login เข้าไปบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลด้วยตนเอง ว่าสอนกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ผ่านการอบรมอะไรบ้าง ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาจะเป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และความรับผิดชอบในการประเมินทั้งหมดจะจบที่สถานศึกษาหรือจังหวัดนั้น ๆ โดยไม่ต้องเสนอให้ส่วนกลางหรือ ก.ค.ศ.พิจารณา แต่ก็จะมีมาตรการควบคุมความรับผิดชอบของครูหรือผู้บริหารสถานศึกษา หากมีการฮั้วหรือรายงานเท็จ จะมีความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญาด้วย ถือเป็นการปฏิวัติระบบวิทยฐานะใหม่ของประเทศ
ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือน ก่อนที่จะประกาศใช้หลักเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่ ขอให้สำนักงาน ก.ค.ศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดให้มี Focus Group เพื่อรับฟังความเห็นว่า ระบบใหม่ขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง ก่อนที่จะประกาศใช้จริง
จากการประชุมครั้งนี้ ทำให้รับทราบข้อมูลด้วยว่า มีข้าราชการครูจำนวนมากที่ไม่มีวิทยฐานะ แยกเป็นข้าราชการครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 33,190 คน หรือประมาณร้อยละ 10 ของครู สพฐ.ทั้งหมด ส่วนข้าราชการครูสังกัดสำนักงาน กศน. มีจำนวน 431 คน หรือประมาณร้อยละ 20 และข้าราชการครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่ยังไม่มีวิทยฐานะ รวม 4,198 คน หรือร้อยละ30 สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากครูไม่มีเวลาทำผลงานทางวิชาการ และต้องเสียเวลาในการจัดทำเอกสารผลงานทางวิชาการจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ครูที่ขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะจากเชี่ยวชาญเป็นเชี่ยวชาญพิเศษนั้น ยังคงจำเป็นต้องใช้หลักเกณฑ์เดิมคือ เน้นการจัดทำผลงานการวิจัย
พร้อมทั้ง จะนำระบบ IT เข้ามาช่วยบันทึกรวบรวมข้อมูลของครูทุกคน เพื่อไม่ให้ครูต้องยุ่งยากในการจัดทำเอกสารหลักฐานอีก และในระหว่างนี้จะมีการรับฟัง ประชาพิจารณ์หลักเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ รวมทั้งเตรียมการจัดทำระบบ IT เพื่อรองรับ e- Portfolio และทดลองใช้ให้มั่นใจ ก่อนจะประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่นี้ ภายใน 3 เดือน
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์และกำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีปกติและพิเศษ ปี 2560
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์และกำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีปกติและพิเศษ ปี 2560
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น