หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

คู่มือ ติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค

คู่มือ ติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค
คู่มือ ติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 


-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ ปกติ ปี 2560

-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้





 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 83/2560
การประชุมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จังหวัดระยอง

จังหวัดระยอง - กระทรวงศึกษาธิการ มอบ กศจ.ระยอง จัดเตรียมแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัด เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ที่ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ และนายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมประชุมกับทุกภาคส่วนในจังหวัดระยอง
เมื่อวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 ณ ห้องประชุมปทุมวัน วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี อำเภอเมืองระยอง, พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) จังหวัดระยอง โดยมีนายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง, ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายธวัชชัย อุ่ยพานิช ศึกษาธิการจังหวัดระยอง, รวมทั้งผู้แทนภาคส่วนราชการ, ภาคเอกชน, สถานศึกษา, สถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมประชุม

พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์  รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จังหวัดระยองถือเป็นจังหวัดที่สามของพื้นที่ EEC ที่จะต้องวางแผนจัดการศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและความพร้อมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการค้า การลงทุน การคมนาคม ตลอดจนการขนส่ง ที่จะต้องมีการพัฒนาให้เกิดความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียนได้ไม่ยากนัก โดยเฉพาะด้านการศึกษา ซึ่งผู้เรียนมีคุณภาพการศึกษาอยู่ในเกณฑ์น่าพึงพอใจ และจากผลการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2558 ทั้งระดับชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 มีระดับคะแนนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศเกือบทุกวิชา ประกอบกับยังเป็นพื้นที่ที่มีสถานศึกษาที่สำคัญ อาทิ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ สถาบันวิทยสิริเมธี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง เป็นต้น ถือเป็นฐานในการผลิตและพัฒนากำลังคนตามแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัด เพื่อไปขับเคลื่อน EEC ให้ตรงกับเป้าหมายพัฒนาประเทศของรัฐบาลต่อไป
จึงขอให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) สร้างการรับรู้แก่ประชาชนและสาธารณชน เกี่ยวกับการดำเนินงานบูรณาการการศึกษาในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อให้ทุกฝ่ายได้สะท้อนกลับถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานดังกล่าว และพร้อมที่จะร่วมกันขับเคลื่อนงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและบริบทของตนเองต่อไป
ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ยินดีที่จะร่วมดำเนินงานขับเคลื่อนการบูรณาการศึกษาเพื่อพัฒนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งถือเป็นรูปแบบพิเศษของพิเศษ ที่จะต้องพิเศษมากกว่าปกติ พร้อมทั้งจะนำข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะจากการประชุม นำไปสู่การปรับปรุงและแก้ไขให้การดำเนินงานราบรื่น มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นตามเป้าหมายที่วางไว้

นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผวจ.ระยอง กล่าวว่า จังหวัดระยองมีภูมิประเทศเป็นที่ราบชายฝั่ง และได้ชื่อว่าเป็นเมืองสามขา คือ ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคการท่องเที่ยว ในส่วนของการศึกษา มีสถานศึกษารวม 304 แห่ง คือ มหาวิทยาลัย 1 แห่ง สถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา 11 แห่ง โรงเรียน 248 แห่ง (สังกัด สพฐ. 225 แห่ง และสังกัดท้องถิ่น 23 แห่ง) โรงเรียนเอกชน 30 แห่ง โรงเรียนพระพุทธศาสนา 4 แห่ง สถานศึกษาของ กศน. 8 แห่ง และสถานศึกษาของ ปตท. 2 แห่ง (สถาบันวิทยสิริเมธี และโรงเรียนกำเนิดวิทย์) ได้จัดทำแผนจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาจังหวัดระยอง ปี 2560-2564 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมสนับสนุน การบูรณาการหลักสูตร การจัดการศึกษา และการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับบริบทของหน่วยงานการศึกษา
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาผู้บริหาร คณาจารย์ ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
กศจ.ระยอง มีความคาดหวังว่าการศึกษาจะช่วยสร้างให้เด็ก เยาวชน และชาวระยอง มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีศักยภาพในการขับเคลื่อนและพัฒนาจังหวัด ให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมสีเขียว เป็นเมืองท่องเที่ยว และเกษตรชีวภาพที่น่าอยู่อาศัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีสิ่งสำคัญในการดำเนินงาน คือ มุ่งหวังให้บุคลากรทางการศึกษาทุกระดับและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน มีความเข้าใจ ให้ความสำคัญ และร่วมมือกันจัดการศึกษาแบบบูรณาการในแต่ละระดับอย่างเข้มข้น จริงจัง มากยิ่งขึ้นไปอีก

นายธวัชชัย อุ่ยพานิช ศึกษาธิการจังหวัด กล่าวถึงรายละเอียดแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดระยอง ว่า กศจ. ระยอง ได้จัดประชุมชี้แจงและประกาศใช้แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดระยอง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 ภายใต้วิสัยทัศน์ “คุณธรรมนำสังคมแห่งการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนและชีวิตอย่างสมดุล รักษ์ระยอง บนวิถีประชาคมโลก” และได้กำหนดเป้าประสงค์การจัดการศึกษาแต่ละระดับ ดังนี้
  • ปฐมวัย รักระยอง มองประชาคมโลก
  • ประถมศึกษา ภูมิใจในความเป็นระยอง รู้จักประชาคมโลก
  • มัธยมศึกษาตอนต้น รักษ์ระยอง อยู่ร่วมกับประชาคมโลก
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา พัฒนาระยองสู่ความยั่งยืนบนพื้นฐานความเป็นประชาคมโลก
โดยได้ดำเนินโครงการสำคัญ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาแบบบูรณาการรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ดังนี้
  • โครงการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายโรงเรียน โรงงาน ที่จะมีการพัฒนาอบรมครูฝึกในสถานประกอบการ ให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
  • โครงการพัฒนาอาชีพให้กับผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสและเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต
  • โครงการบริหารจัดการศึกษาเชิงพื้นที่จังหวัดระยอง โดยระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สสค. เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในระยะยาว
  • โครงการจัดทำหลักสูตรเพื่อการมีงานทำของจังหวัดระยอง เน้นเป้าหมายพัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัยถึงระดับอาชีวศึกษา ใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ คุณลักษณะพิสัย ทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ และความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
  • โครงการจัดเก็บข้อมูลความต้องการแรงงานจังหวัดระยอง โดยบูรณาการเชื่อมโยงตามนโยบายประชารัฐ คือภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อจัดทำฐานข้อมูล ความสามารถในการผลิตกำลังคนอาชีวศึกษา และความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการ ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงและตรงกับสถานการณ์ปัจจุบัน
  • โครงการจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาตากสินระยอง (อบจ.ระยอง) เพื่อเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาที่มีความเป็นเลิศในสาขาวิชาเฉพาะทาง รองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกและ Thailand 4.0
นอกจากนี้ มีโครงการสำคัญที่ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา อาทิ สมาคมเพื่อชุมชน, มหกรรมการศึกษา Rayong Educaton Expo, เพื่อนชุมชนติวเตอร์, ทุนการศึกษาต่าง ๆ เป็นต้น

รศ.ดร.ธานินทร์ ศิลป์จารุ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) วิทยาเขตระยอง กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมุ่งจัดการศึกษาเน้นวิศวะปฏิบัติ ตามหลักสูตรเยอรมนี (เทคนิคไทย-เยอรมัน) ใน 3 สาขาวิชา คือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาการบริหารจัดการ โดยกำหนดเกณฑ์การรับผู้เรียนในสัดส่วน ระยอง 50 : อื่น ๆ 50 เพื่อผลิตคนรองรับการพัฒนาจังหวัดโดยคนระยองเอง
ในส่วนของการให้บริการวิชาการ ได้ดำเนินการในหลายส่วน ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์ทดสอบให้กับภาคอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านโลจิสติกส์ ด้านอนุรักษ์พลังงาน โรงงานกำจัดขยะ-บำบัดน้ำเสีย-อากาศเสีย เป็นต้น, โครงการสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการ ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ ผลิตและคิดค้นนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมภายในจังหวัด, การให้บริการข้อมูลและเป็นที่ปรึกษา, การเตรียมเปิดหลักสูตร “เตรียมวิศวะ” เพื่อปูทางผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา ก้าวสู่การเป็นวิศวะไทย-เยอรมันพันธุ์แท้ เป็นต้น

นายสมชาย ธำรงสุข ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก กล่าวว่า ปัจจุบันดำเนินการจัดการศึกษาร่วมกับ มจพ. วิทยาเขตระยอง ตามหลักการของเทคนิคไทย-เยอรมัน ในรูปแบบทวิภาคี โดยมีจุดเน้นสำคัญ คือ การพัฒนาให้ผู้เรียนมีสมรรถนะจากการปฏิบัติงานจริง
นอกจากนี้ ได้วางแผนงานเพื่อเพิ่มปริมาณผู้เรียนสายอาชีพ ในปีการศึกษา 2560 ภายใต้หลักการสำคัญ คือ
  • การทำให้วิทยาลัยเป็นเลิศทางการศึกษาเฉพาะทาง เน้นเปิดสาขาวิชาใหม่รองรับภาคอุตสาหกรรม
  • การปรับค่านิยมและภาพลักษณ์ โดยจัดทวิภาคีร่วมกับโรงเรียน จัดตั้งเครือข่ายร่วมกัน การศึกษาดูงาน ฯลฯ
  • การประกันคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษา ที่จะต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะดีและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ การจัดหาตลาดแรงงานรองรับ การให้ทุนการศึกษา การทำให้เห็นเส้นทางความก้าวหน้าของอาชีพที่ชัดเจน เป็นต้น
  • การจัดการอาชีวศึกษาร่วมกับต่างประเทศ โดยจัดในภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคยุโรป
  • ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการมีส่วนร่วมจัดสรรทรัพยากรในการจัดอาชีวศึกษา

นายธีรยล แสงอำนาจเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดระยอง กล่าวว่า กศน.เน้นจัดการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชาชนวัยแรงงาน ผู้ด้อยโอกาส ผู้ขาดโอกาส และผู้พลาดโอกาส โดยมีสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้เพื่อจัดการศึกษาสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ รวม 182 แห่ง ได้แก่ กศน.อำเภอ 8 แห่ง กศน.ตำบล 58 แห่ง และแหล่งเรียนรู้ 116 แห่ง
ในส่วนของการบูรณาการจัดการศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมของประชาชนในการรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก แบ่งเป็น 3 ยุทธศาสตร์ คือ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการท่องเที่ยว โดยดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัด อาทิ จัดหลักสูตร ปวช.ทวิศึกษา เปิดสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีน ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชน การจัดทำสื่อการเรียนรู้ เป็นต้น
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการเรียนรู้ในชุมชน โดยส่งเสริมทักษะอาชีพต่าง ๆ แก่สตรีและชุมชน ได้แก่ หลักสูตรเบเกอรี่ หลักสูตรผ้าควิลน์ หลักสูตรนวดแผนไทย นอกจากนี้ได้จัดหลักสูตรตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการตลาด โครงการเสริมสร้างสุขภาพชีวิตผู้สูงอายุ โครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทและเศรษฐกิจพอเพียงด้วย
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านคุณภาพแรงงาน ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพและคุณภาพแรงงานด้านช่างพื้นฐานในทุกวันอาทิตย์ โดยจัดสอนภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้านแก่ผู้ประกอบการ นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้สนใจ

นายปรัชญา สมะลาภา ประธานหอการค้าจังหวัดระยอง ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการศึกษาว่า ควรพัฒนาให้การจัดการศึกษาของจังหวัด มีความยืดหยุ่นและแปรผันตามความต้องการทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความต้องการแรงงานในอนาคตที่จะผูกโยงกับนโยบายของรัฐบาลและความต้องการของผู้ที่ใช้แรงงาน ดังนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลและหารือร่วมกับผู้ใช้แรงงานในพื้นที่โดยตรง เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สายการบินพาณิชย์ เป็นต้น รวมทั้งการสนับสนุนการเป็น Smart City ของจังหวัดระยอง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลา
โดยคาดหวังว่า การศึกษาจะช่วยสนับสนุน จัดทำ หรือคัดสรรเนื้อหา และสื่อการเรียนการสอนมาเผยแพร่ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยอาจจัดหาครูที่มีความรู้ความสามารถ มาถ่ายทอดความรู้และทักษะวิชาที่เข้าใจได้ยาก เป็นต้น

นายสุรพล สุทธจินดา ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง ว่า เป็นจังหวัดอุตสาหกรรมที่มีนิคมอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรมร่วมกับเอกชน เขตประกอบอุตสาหกรรม ตลอดจนชุมชนอุตสาหกรรม และสวนอุตสาหกรรม ทั้งสิ้น 23 แห่ง บนเนื้อที่ 80,000 ไร่ มีผู้อยู่ในกำลังแรงงาน (ข้อมูลไตรมาสที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2559) รวม 545,564 คน เป็นผู้มีงานทำ 540,053 คน และเป็นผู้ว่างงาน 4,750 คน

นายปิยะ ปิตุเตชะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง กล่าวให้ข้อเสนอแนะว่า การศึกษาคือหัวใจของการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน โดย อบจ.ระยอง เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา จึงได้สร้างโรงเรียนระบบ 2 ภาษา และมีความเป็นเลิศเฉพาะทาง ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และแผนการเรียน GSMP (Gifted Science Mathematics Program) ด้านวิชาชีพ ด้านดนตรี กีฬา พร้อมกับปลูกจิตสำนึกความเป็นไทย โดยปัจจุบันเปิดสอนแล้ว 3 แห่ง คือ
  • โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง เปิดสอนระดับอนุบาล 1 - ป.6 ปัจจุบันมีนักเรียน 2,097 คน
  • โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินบ้านค่าย (วัดหวายกรอง) เป็นโรงเรียนที่ถ่ายโอนมาจาก สพป.ระยอง เขต 1 ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านค่าย เปิดสอนระดับอนุบาล 1 - ป.6 ปัจจุบันมีนักเรียน 1,713 คน
  • โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง เปิดสอนระดับ ม.1 - ม.6 ปัจจุบันมีนักเรียน 2,749 คน
นอกจากนี้ ในอนาคตมีโครงการที่จะจัดตั้งวิทยาเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาตากสินระยอง เพื่อผลิต ต่อยอด และพัฒนากำลังคนที่มีความเป็นเลิศในสาขาวิชาเฉพาะทาง รองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกและ Thailand 4.0

ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร นายกสถาบันวิทยสิริเมธี ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า จากการเป็นผู้บุกเบิกนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเมื่อหลายสิบปีก่อน ประกอบกับการสนับสนุนและลงทุนด้านการศึกษาในพื้นที่จังหวัดระยองจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งสถานศึกษาความเป็นเลิศเฉพาะทางในพื้นที่จังหวัดระยอง การรับผู้เรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนาสถานศึกษา “สถาบันวิทยสิริเมธี” ให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของอาเซียน เป็นต้น
แต่พบว่าโจทย์สำคัญด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาคนในจังหวัดระยอง ยังถูกมองข้าม และยังมีคนระยองบางส่วนนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนโรงเรียนดี ๆ ในกรุงเทพฯ ดังนั้นจะทำอย่างไรให้มีสถานศึกษาที่ดี ๆ และมีมหาวิทยาลัยชั้นนำเกิดขึ้นในจังหวัดระยอง เพื่อดึงลูกหลานชาวระยองให้เรียนอยู่ในจังหวัดและมีสมรรถนะรองรับการพัฒนาจังหวัดเมื่อจบการศึกษา รวมทั้งการเตรียมการรองรับภาวะเด็กเกิดน้อยลง ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น การศึกษาจะวางแผนรองรับสังคมผู้สูงอายุที่จะเกิดขึ้นได้อย่างไรด้วย

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีข้อเสนอแนะในประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
  • การแก้ไขกฎ ระเบียบ เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาและการจัดสรรทรัพยากรในท้องถิ่น
  • การปรับระบบจัดสรรงบประมาณ จากหารยาว เปลี่ยนเป็นการจัดสรรตามบริบทของพื้นที่และนโยบายพิเศษ เช่น พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ควรได้รับงบประมาณเหมาะสมกับการดำเนินงานในลักษณะพื้นที่พิเศษ เป็นต้น
  • การอาชีวศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนากำลังคนนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามบริบทในแต่ละพื้นที่
  • การพัฒนาครู สิ่งสำคัญของการบูรณาการการศึกษารองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ คือการพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะ ความรู้ ความสามารถด้านวิชาชีพใน 5 อุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) และ 5 อุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve)
  • การปรับกระบวนการเรียนการสอน การศึกษาขั้นพื้นฐานทุกระดับชั้นจะต้องปรับการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะอาชีพที่เกิดขึ้นในอนาคต เช่น การพัฒนาผู้เรียนตามหลัก EF (Executive Function) ที่เป็นการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก นำไปสู่การปรับใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียน และการทำงาน
  • การสร้างคน หลักการสร้างคนเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด จะต้องเน้นสร้างคนให้สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อให้เราหลุดพ้นจากการพึ่งพาองค์ความรู้จากต่างชาติ และวางเป้าหมายเพื่อให้จังหวัดระยองพัฒนาและก้าวหน้าได้ด้วย “แนวคิดของสมชาย หลักการของสมศรี” ให้ได้

ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น 

เกณฑ์และกำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีปกติและพิเศษ ปี 2560

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม