อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ ปกติ ปี 2560
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 63/2560
UNESCO จัดสัมมนา เปิดตัว "รายงานการติดตามผลการศึกษาทั่วโลก ประจำปี 2559 การศึกษาเพื่อมนุษย์และโลกของเรา
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายสดุดีและถวายพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9: "การสืบสานพระราชปณิธานสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน" ในการสัมมนาเปิดตัว "รายงานการติดตามผลการศึกษาทั่วโลก ประจำปี 2559 การศึกษาเพื่อมนุษย์และโลกของเรา: สร้างสรรค์อนาคตให้ยั่งยืนเพื่อปวงชน: National Launch of the 2016 Global Education Monitoring Report" เมื่อวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ โดยมีนายควาง-โจ คิม ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ และสำนักงานเพื่อการศึกษาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก, ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นางมากิ ฮายาชิกาวะ หัวหน้าแผนการศึกษาที่มีคุณภาพโดยรวม สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ, นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ผู้แทนหน่วยงานภาคการศึกษา, ผู้แทนสถาบันการศึกษา ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชน เข้าร่วมงาน
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นที่รักและเคารพของปวงชนชาวไทย เพราะพระองค์มีต้นแบบที่งดงามคือสมเด็จย่า การสืบสานพระราชปณิธานของในหลวง รัชกาลที่ 9 สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันมุ่งมั่นปฏิบัติ แม้ว่าเราจะเสียขวัญและเสียกำลังใจไปมากพอสมควรจากการเสด็จสวรรคตของพระองค์ แต่ประเทศไทยต้องดำเนินต่อไป เราจึงต้องไม่ท้อแท้ ไม่เคว้งคว้าง อย่ามัวแต่เศร้าโศกเสียใจ ต้องร่วมกันพัฒนาประเทศ อีกทั้งการน้อมนำกระแสพระราชดำรัสของในหลวง รัชกาลที่ 9 ใส่เกล้าฯ นำไปสู่การปฏิบัติ จะทำให้พระองค์ท่านไม่เสด็จจากพวกเราไปไหนพระองค์ท่านจะประทับสถิตเสถียรอยู่ในดวงใจของปวงชนชาวไทยตลอดไป
การจัดงานของยูเนสโกในครั้งนี้ เป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวง ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะได้นำข้อมูลต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ขอให้ผู้ที่เป็นครูบาอาจารย์เดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ด้วยการห่วงใยลูกหลานเยาวชน มีความเมตตายิ่ง กรุณายิ่ง ร่วมกันสร้างชาติให้ยั่งยืนเพื่ออนาคตในวันข้างหน้า และขอให้ทุกคนหา Idol หรือต้นแบบในการดำรงชีวิต เพราะหากไม่มีแบบอย่างก็จะทำให้หลงทางในการดำเนินชีวิตได้
นายควาง-โจ คิม ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ กล่าวถึงร ายงานการติดตามผลการศึกษาทั่วโลกปี 2559 ว่า เป็นรายงานประจำปีขององค์การยูเนสโก และเป็นรายงานฉบับแรกของชุดรายงาน 15 ปี เพื่อติดตามดูการจัดการศึกษาของประเทศต่างๆ และประเมินดูว่าโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาในปี ค.ศ.2030 ที่จะสร้างหลักประกันให้การศึกษามีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน รวมทั้งการส่งเสริมให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาตลอดชีวิตมีความเป็นไปได้มากน้อยอย่างไร การประเมินนี้เป็นเครื่องมือของยูเนสโก ในการกระตุ้นให้ประเทศสมาชิกได้พัฒนาปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาของแต่ละประเทศ เพื่อบรรลุเป้าหมายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งรายงานดังกล่าว ระบุว่า
1. ในโลกใบนี้ (190 ประเทศ) ยังมีเด็กและเยาวชนรวม 263 ล้านคน ที่ไม่ได้เข้าโรงเรียน ในจำนวนนี้ 61 ล้านคน ไม่ได้เข้าโรงเรียนระดับประถมศึกษา, 60 ล้านคน ไม่ได้เข้าโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 142 ล้านคน ไม่ได้เข้าโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แม้แต่กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง (พัฒนาแล้ว) ก็ยังไม่สามารถบรรลุผลให้เยาวชนของตนเองเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาได้ทุกคน
2. ในด้านการศึกษาระบุว่า สิ่งที่นำมาใช้ในห้องเรียน เช่น ตำรา สื่อการเรียนต่าง ๆ รวมทั้งกระบวนการจัดการเรียนการสอน มีส่วนสำคัญต่อคุณภาพการศึกษา ซึ่งในประเทศที่ยากจนนักเรียน 3 คน ต้องใช้หนังสือร่วมกันเพียง 1 เล่มเท่านั้น ในขณะที่ครูส่วนใหญ่ใช้เวลาในห้องเรียนเพียงร้อยละ 60-65 เท่านั้นในการทุ่มเทให้กับการเรียนการสอน และยังมีปัญหาเรื่องความเท่าเทียมทางการศึกษา โดยเฉพาะเรื่องเพศสภาพ ความพิการ และการย้ายถิ่น
3. การวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของโลก ซึ่งวัดเฉพาะการเรียนรู้ทางการอ่านและความรู้ทางคณิตศาสตร์ ก็ยังมีข้อสงสัยในเรื่องเนื้อหาที่จะมาประเมินมาตรฐานของเครื่องมือ และเกณฑ์ที่จะใช้ในการประเมิน อย่างไรก็ตาม มีคำถามว่าการวัดผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวเหมาะสมและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างไร และจะนำผลประเมินที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างไร
4. ด้านปฐมวัย มีเพียง 50 ประเทศจาก 190 ประเทศเท่านั้น ที่กำหนดให้ระดับการศึกษาปฐมวัยเป็นการศึกษาภาคบังคับ และในจำนวน 50 ประเทศมี 38 ประเทศที่กำหนดว่าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งพบว่าร้อยละ 80 ของเด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาที่สมวัย ซึ่งปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเด็กคือสภาพแวดล้อมที่บ้านโดยเฉพาะบ้านที่มีกิจกรรมทำร่วมกันและบ้านที่มีหนังสือตั้งแต่ 3-10 เล่มขึ้นไป
5. ด้านอาชีวศึกษา มี 140 ประเทศที่มีกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ซึ่งจะมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีพในระดับอาชีวศึกษา เพราะจะช่วยให้ผู้เรียน ผู้จัดการศึกษา และนายจ้าง หันมาสนใจกับผลสัมฤทธิ์ และความสามารถทางการปฏิบัติมากกว่าคุณวุฒิ
6. การอุดมศึกษา พบว่ามีคนเรียนอุดมศึกษามากขึ้นเป็น 207 ล้านคนในปี ค.ศ.2015 และผู้ที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษามีปัจจัยสำคัญคือรายได้ของผู้เรียน หรือฐานะทางการเงินของครอบครัว ในส่วนของคุณภาพการอุดมศึกษา วัดกันเพียงการจัดลำดับของมหาวิทยาลัย ซึ่งสนใจเฉพาะการวิจัยมากกว่าคุณภาพการสอนและการเรียนรู้ของผู้เรียน
7. ด้านทักษะการทำงาน พบว่าทักษะการรู้หนังสือทำให้คนได้รับโอกาสการทำงานสูงขึ้นเกือบสองเท่า ในขณะที่ทักษะทาง ICT มีความจำเป็นมากขึ้นที่ผู้เรียนในทุกระดับต้องพัฒนา ทั้งนี้ ยังไม่มีหลักฐานใดที่ระบุว่าต้องพัฒนาทักษะที่เชื่อว่าจำเป็น เช่น ความเพียรพยายาม ความคิดสร้างสรรค์ การควบคุมอารมณ์ หรือทักษะทางสังคม
8. การรู้หนังสือและการคิดคำนวณเป็นเป้าหมายของการพัฒนาการศึกษาโลก โดยมีข้อสังเกตว่า การรู้หนังสือไม่ใช่เป็นเพียงชุดของทักษะขั้นพื้นฐานเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงทักษะการรู้หนังสือเพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับทักษะการคิดคำนวณ พบว่ามีผู้ใหญ่ที่ยังขาดทักษะการอ่านออกเขียนได้ในระดับที่ใช้งานได้จริง ซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิง
9. แม้ว่าแต่ละประเทศจะรับรู้และเห็นชอบว่าการพัฒนาที่ยั่งยืน และความเป็นพลเมืองโลกมีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องทำให้คนในประเทศตระหนักรู้ในประเด็นนี้ แต่กลับพบว่าประเทศส่วนใหญ่ในโลกไม่ได้บรรจุเรื่องนี้ไว้ในหลักสูตร และมีครูเพียงร้อยละ 8 เท่านั้นที่รู้และเข้าใจในเรื่องนี้
10. ห้องเรียนที่แออัดและการมีครูไม่เพียงพอยังคงเป็นปัญหาทั่วโลก
นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ได้เสนอแนวโน้มการศึกษาของโลกต่อการบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามวาระการศึกษาปี ค.ศ.2030 โดยการศึกษาจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังส่งเสริมให้คนมีบทบาทต่อการพัฒนาโลกในบริบทต่าง ๆ อาทิ การรักษาสภาพแวดล้อม การรับมือกับภัยพิบัติ การขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างสันติภาพ เป็นต้น
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 63/2560
UNESCO จัดสัมมนาเปิดตัว "รายงานการติดตามผลการศึกษาทั่วโลก ประจำปี 2559 การศึกษาเพื่อมนุษย์และโลกของเรา
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายสดุดีและถวายพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9: "การสืบสานพระราชปณิธานสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน" ในการสัมมนาเปิดตัว "รายงานการติดตามผลการศึกษาทั่วโลก ประจำปี 2559 การศึกษาเพื่อมนุษย์และโลกของเรา: สร้างสรรค์อนาคตให้ยั่งยืนเพื่อปวงชน: National Launch of the 2016 Global Education Monitoring Report" เมื่อวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ โดยมีนายควาง-โจ คิม ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ และสำนักงานเพื่อการศึกษาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก, ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นางมากิ ฮายาชิกาวะ หัวหน้าแผนการศึกษาที่มีคุณภาพโดยรวม สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ, นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ผู้แทนหน่วยงานภาคการศึกษา, ผู้แทนสถาบันการศึกษา ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชน เข้าร่วมงานม.ล.ปนัดดา ดิศกุล กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นที่รักและเคารพของปวงชนชาวไทย เพราะพระองค์มีต้นแบบที่งดงามคือสมเด็จย่า การสืบสานพระราชปณิธานของในหลวง รัชกาลที่ 9 สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันมุ่งมั่นปฏิบัติ แม้ว่าเราจะเสียขวัญและเสียกำลังใจไปมากพอสมควรจากการเสด็จสวรรคตของพระองค์ แต่ประเทศไทยต้องดำเนินต่อไป เราจึงต้องไม่ท้อแท้ ไม่เคว้งคว้าง อย่ามัวแต่เศร้าโศกเสียใจ ต้องร่วมกันพัฒนาประเทศ อีกทั้งการน้อมนำกระแสพระราชดำรัสของในหลวง รัชกาลที่ 9 ใส่เกล้าฯ นำไปสู่การปฏิบัติ จะทำให้พระองค์ท่านไม่เสด็จจากพวกเราไปไหนพระองค์ท่านจะประทับสถิตเสถียรอยู่ในดวงใจของปวงชนชาวไทยตลอดไปการจัดงานของยูเนสโกในครั้งนี้ เป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวง ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะได้นำข้อมูลต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ขอให้ผู้ที่เป็นครูบาอาจารย์เดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ด้วยการห่วงใยลูกหลานเยาวชน มีความเมตตายิ่ง กรุณายิ่ง ร่วมกันสร้างชาติให้ยั่งยืนเพื่ออนาคตในวันข้างหน้า และขอให้ทุกคนหา Idol หรือต้นแบบในการดำรงชีวิต เพราะหากไม่มีแบบอย่างก็จะทำให้หลงทางในการดำเนินชีวิตได้
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์และกำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีปกติและพิเศษ ปี 2560
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์และกำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีปกติและพิเศษ ปี 2560
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น