อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ ปกติ ปี 2560
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 57/2560
ศธ.จัดประชุมสัมมนา " การขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการ" แก่ศึกษาธิการภาคและคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด
กระทรวงศึกษาธิการจัดประชุมสัมมนา "การขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา และการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการ" เมื่อวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ศึกษาธิการภาค และคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เข้าร่วมประชุมสัมมนาในครั้งนี้
● น้อมนำ แนวพระราชดำริ และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ใส่เกล้าฯ และมอบเป็นนโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติแก่หน่วยงานในสังกัด
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระประชวรนั้น พระองค์ทรงมีความเป็นห่วงเป็นใยเกี่ยวกับการศึกษา เพื่อต้องการให้การศึกษาไทยมี "คุณภาพและคุณธรรม" แต่รัฐบาลสมัยนั้นไม่มีใครนำพระราชกระแสรับสั่งของพระองค์ใส่เกล้าฯ นำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
จนกระทั่งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตนได้กลับมาประเทศไทยเพื่อมาทำงานด้านนี้ และเมื่อ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้น้อมนำแนวพระราชดำริ และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ใส่เกล้าฯ และมอบเป็นนโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติแก่หน่วยงานในสังกัด โดยได้แถลงเป็นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการแล้ว เมื่อครั้งรับตำแหน่งวันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2559
นอกจากนี้ จากการที่ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่รัฐมนตรีนั้น พระองค์ทรงขอให้ผู้บริหารทุกคนสืบสานพระราชปณิธานด้านการศึกษาของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาให้เกิดเป็นรูปธรรม เพราะพระราชปณิธานของพระองค์ท่านถือเป็นพรอันสูงสุด รวมทั้งพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจะน้อมนำแนวพระราชดำริ และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ 10 ใส่เกล้าฯ และมอบเป็นนโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติแก่หน่วยงานในสังกัดต่อไป
ใน การ สืบสานพระราชปณิธานด้านการศึกษาของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น พระองค์ได้ทรงมีแนวพระราชกระแสฯ ที่ได้ทรงพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ เกี่ยวกับนักเรียน ครู และการศึกษาที่สำคัญ ดังนี้
สำหรับ พระบรมราโชบายด้านการศึกษาของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีใจความสำคัญว่า "การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนใน 2 ด้าน คือ ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้อง 2) การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานชีวิตหรืออุปนิสัยที่มั่นคงเข้มแข็ง อาทิ การสร้างบุคลิกและอุปนิสัยที่ดีงาม (Character Education)"
● การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี
นอกจาก การน้อมนำแนวพระราชกระแสฯ ด้านการศึกษา และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา มาปรับใช้กับนโยบายด้านการศึกษาแล้ว กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายภายใต้ กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ใน 6 ด้าน คือ 1) ความมั่นคง 2) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ 4) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม 5) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
● มอบหมายภารกิจและหน่วยงานในความรับผิดชอบของ รมช.ศึกษาธิการ
ในการมอบหมายภารกิจและหน่วยงานที่รับผิดชอบให้กับ รมช.ศึกษาธิการ ได้แบ่งงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี โดยคำนึงถึงความถนัดของ รมช.ศึกษาธิการ ดังนี้
1) พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รับผิดชอบเรื่องความมั่นคงทางการศึกษาและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น การจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 เขตของไทย การจัดการศึกษาแบบบูรณาการเมืองต้นแบบ "สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ใน 3 เมือง ที่สุไหงโก-ลก เบตง และหนองจิก รวมทั้งโรงเรียนในบริเวณเขตพื้นที่สูงจังหวัดชายแดนภาคเหนือ หรือพื้นที่ชายขอบ การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง และมอบหมายภารกิจให้ดูแลหน่วยงาน 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.)
2) ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รับผิดชอบเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) รวมทั้งศึกษาธิการภาค, โครงการเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียนคุณธรรม, โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติและโรงเรียนตามโครงการในพระราชดำริ, คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ, สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) (ITD), งานด้านการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงศึกษาธิการ และมอบหมายภารกิจให้ดูแลหน่วยงานสำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา (สกศ.)
สำหรับองค์กรวิชาการของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.), สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.), สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน กคศ.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.), สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.), สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) นั้น รมว.ศึกษาธิการ รับผิดชอบและดูแลด้วยตนเอง ยกเว้นบางเรื่องใน สกอ. เช่น การ Reprofile สถาบันอุดมศึกษา การจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษา ได้มอบให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบเพิ่มเติม
● ขอให้ กศจ.เน้นการทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ได้ยกพระราชดำรัสฯ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2556 ซึ่งขอให้ทั้งกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย ที่เคยขึ้นชื่อว่าเป็นกระทรวงอมตะที่เคยมีเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันมากเป็นอันดับ 1-2 ของทุกกระทรวง โดยขอให้นำพระราชดำรัสของพระองค์ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ห้ามไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้น
● PISA in Thailand
จากการที่ได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุม Education World Forum 2017 ที่สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 23-28 มกราคมที่ผ่านมา โดยมีรัฐมนตรีด้านการศึกษากว่า 70 ประเทศทั่วโลก มาประชุมร่วมกันมากที่สุด ได้มีโอกาสพบปะและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเชิงนโยบายกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจากสหราชอาณาจักร และอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งผู้แทนจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) ซึ่งเป็นผู้จัดสอบ PISA(The Programme for International Student Assessment) ก็เห็นตรงกันว่าผลการสอบ PISA ในกลุ่มโรงเรียนของไทยมีการกระจายใกล้เคียงกับผลสอบ O-NET และจากข้อมูลความจริงกลับพบด้วยว่า ผลการประเมิน PISA ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาไม่ได้แพ้โรงเรียนทั่วไป แต่คะแนนต่ำที่สุด กลับเป็นโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ซึ่งอยู่ในอันดับท้ายของคะแนนมาตรฐาน PISA ต่างจากโรงเรียนชั้นนำ เช่น มหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งมีคะแนนชนะสิงคโปร์ขาดลอย และติดอันดับต้นของโลกด้วย
ส่วนผลสอบ PISA ของเวียดนาม ซึ่งสูงขึ้นมาติดอันดับ 8 ของโลก ในขณะที่ไทยได้อันดับ 54 จาก 72 ประเทศ วิเคราะห์ได้ว่าเด็กที่ยากจนที่สุด 10% สุดท้ายของเวียดนาม ก็ยังได้คะแนนสอบสูงกว่าทุกประเทศของยุโรปที่ถือว่ารวยที่สุดของประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งผลวิเคราะห์เห็นว่า "ความอยากรู้อยากเห็น" ในการเรียนหนังสือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้น ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่จะทำอย่างไรให้เด็กนักเรียนอยากมาโรงเรียน และอยากเรียนหนังสือ ซึ่งสามารถใช้บทเรียนนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาได้
● นโยบายการพัฒนาโรงเรียน ICU
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า จากการเดินทางไปรับฟังสภาพปัญหาและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกับครูและผู้บริหารของโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ "โรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือและพัฒนาเป็นพิเศษอย่างเร่งด่วน" หรือโรงเรียน ICU (Intensive Care Unit) ที่จังหวัดเชียงใหม่ สกลนคร นนทบุรี ทำให้ทราบปัญหาของโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการหลายรูปแบบ มีทั้งโรงเรียนขนาดใหญ่ระดับจังหวัด เช่น อนุบาลนนทบุรี จนถึงโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งเปรียบเสมือนผู้ป่วย ICU ที่สามารถเป็นใครก็ได้ หากมีปัญหารุนแรงจนยากที่จะแก้ไข ซึ่งขณะนี้มีสมัครเข้ามาแล้วกว่า 5,000 โรง บางโรงเรียนที่จังหวัดสกลนคร ขอเพียงแค่ได้ห้องสมุดใหม่ก็พ้นจาก ICU แล้ว หรือบางโรงบอกว่า เพียงเปลี่ยนผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนก็พ้นจาก ICU แล้ว
● นโยบายงบประมาณ
นโยบายโรงเรียน ICU ถือเป็นตัวอย่างแรกของการ ปฏิรูปการศึกษาให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยจะเน้นพัฒนาจากจุดที่สำคัญที่สุด คือ โรงเรียน ในรูปแบบที่ไม่ตายตัวปรับเปลี่ยนได้ตามบริบท (No One Size Fits All) พร้อมปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานจากระดับล่างขึ้นมาสู่ระดับบน (Bottom Up) เป็นการรับฟังปัญหามาจากพื้นที่ ไม่ใช่เป็นสั่งการลงไปจากส่วนกลาง หรือการจัดอบรมสัมมนาจะดูจากความต้องการของครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ และแนวทางนี้จะสอดรับกับระบบการจัดสรรงบประมาณแบบใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการด้วย โดยจะจัดสรรแบบ Bottom Up หรือนโยบายตำราเรียนก็จะเปลี่ยนใหม่ที่จะช่วยให้ประหยัดงบประมาณได้อีกปีละ 2,000 ล้านบาท
● วัฒนธรรมในกระทรวงศึกษาธิการ
จะเริ่มต้นโดยเน้นไปที่ "การตรงต่อเวลา และมีวินัย" เป็นลำดับแรก โดยการตรงต่อเวลาได้เริ่มใช้ในการประชุมของกระทรวงศึกษาธิการทุกครั้ง และการประชุมแต่ละครั้งหากเป็นเรื่องใหญ่มาก ๆ จะใช้เวลาไม่เกิน 1.30 ชั่วโมงเท่านั้น จะไม่ให้เสียเวลามานั่งประชุมกันนาน ๆ อีกต่อไป จึงฝากหน่วยงานต่าง ๆ บริหารจัดการประชุมให้มีประสิทธิภาพด้วย และหากเรื่องใดที่สำคัญมาก ขอให้ผู้บริหารเบอร์ 1 ลงไปดูเอง เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการเสริมสร้างศักยภาพการทำงานเป็นทีม “รวมพลังสร้างสรรค์ทีม” (The Synergy Teamwork for education: Transformation Ministry of Education in collaboration with C.P. Group) ภายใต้คอนเซ็ปท์ "MOE One Team" จะมีเบอร์ 1 คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ลงไปดูเอง ส่วนการสร้างวินัย ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะมีกิจกรรมโครงการต่าง ๆ เช่น นโยบายตำราเรียน ที่จะช่วยให้เด็กมีวินัยใช้หนังสือเรียนมากขึ้น
● "ปนัดดา" ให้นโยบายพัฒนาศึกษาธิการภาคและศึกษาธิการจังหวัด
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะ รับผิดชอบเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) รวมทั้งศึกษาธิการภาค กล่าวให้นโยบายพัฒนาศึกษาธิการภาค และศึกษาธิการจังหวัดใน 7 ประเด็น คือ
-
กศจ. มีหน้าที่สำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ แนวทาง การจัดการศึกษา และส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับทุกประเภท ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สามารถกำหนดทิศทางการศึกษาของจังหวัดให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของสังคมของจังหวัด
-
การจัดการศึกษาในลักษณะ กศจ. ไม่ใช่การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการแต่เพียงหน่วยงานเดียวอีกต่อไป แต่ยังคงหมายถึงบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน ภาคเอกชนในจังหวัด เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการศึกษาของจังหวัดอีกด้วย
-
เป้าหมายของการจัดการศึกษา คือ การทำให้เป็นคนดี มีความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และมีน้ำใจ
-
การสร้างเด็กไทยให้เป็นคนดีให้สำเร็จ บทบาทของชุมชนจะเข้ามามีส่วนสำคัญ โดยความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน ศาสนสถาน และโรงพยาบาล เพื่อให้เด็กเป็นคนดี มีสุขภาพอนามัยที่ดี
-
จังหวัดจะต้องร่วมกับสถานศึกษา ในการสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้มีทัศนคติที่ถูกต้อง (Basic Attitude) มีพื้นฐานชีวิตที่เข้มแข็ง (อุปนิสัย) และส่งเสริมให้เด็กสามารถเลือกเส้นทางชีวิต เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทักษะในการทำงาน
-
การส่งเสริมกิจการลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอเป็นประธานกรรมการลูกเสือจังหวัด/อำเภอ ขอให้ดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม และการบำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครอบครัว สังคม และชาติบ้านเมือง
-
สถานศึกษาที่อยู่ในความรับผิดชอบในจังหวัด ขอให้มีการติดตาม ตรวจสอบความพร้อมของสถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอน ทั้งในด้านอาคาร สถานที่ บุคลากร หากพบแห่งใดมีปัญหาให้ กศจ.พิจารณาดำเนินการแก้ไข โดยบริหารจัดการในระดับพื้นที่ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนก่อน หากมีข้อปัญหาอุปสรรคที่เกินกำลัง ขอให้รายงานและปรึกษามายังส่วนกลางต่อไป
-
กศจ. มีหน้าที่สำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ แนวทาง การจัดการศึกษา และส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับทุกประเภท ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สามารถกำหนดทิศทางการศึกษาของจังหวัดให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของสังคมของจังหวัด
การจัดการศึกษาในลักษณะ กศจ. ไม่ใช่การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการแต่เพียงหน่วยงานเดียวอีกต่อไป แต่ยังคงหมายถึงบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน ภาคเอกชนในจังหวัด เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการศึกษาของจังหวัดอีกด้วย
เป้าหมายของการจัดการศึกษา คือ การทำให้เป็นคนดี มีความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และมีน้ำใจ
การสร้างเด็กไทยให้เป็นคนดีให้สำเร็จ บทบาทของชุมชนจะเข้ามามีส่วนสำคัญ โดยความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน ศาสนสถาน และโรงพยาบาล เพื่อให้เด็กเป็นคนดี มีสุขภาพอนามัยที่ดี
จังหวัดจะต้องร่วมกับสถานศึกษา ในการสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้มีทัศนคติที่ถูกต้อง (Basic Attitude) มีพื้นฐานชีวิตที่เข้มแข็ง (อุปนิสัย) และส่งเสริมให้เด็กสามารถเลือกเส้นทางชีวิต เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทักษะในการทำงาน
การส่งเสริมกิจการลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอเป็นประธานกรรมการลูกเสือจังหวัด/อำเภอ ขอให้ดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม และการบำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครอบครัว สังคม และชาติบ้านเมือง
สถานศึกษาที่อยู่ในความรับผิดชอบในจังหวัด ขอให้มีการติดตาม ตรวจสอบความพร้อมของสถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอน ทั้งในด้านอาคาร สถานที่ บุคลากร หากพบแห่งใดมีปัญหาให้ กศจ.พิจารณาดำเนินการแก้ไข โดยบริหารจัดการในระดับพื้นที่ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนก่อน หากมีข้อปัญหาอุปสรรคที่เกินกำลัง ขอให้รายงานและปรึกษามายังส่วนกลางต่อไป
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์และกำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีปกติและพิเศษ ปี 2560
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์และกำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีปกติและพิเศษ ปี 2560
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น